วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ปชป.ย้ำแก้‘ส.ว.’ มิชอบตั้งแต่เริ่ม บี้ปูควบคุม‘แดง’เมื่อ 18 พ.ย.56

ปชป.ย้ำแก้‘ส.ว.’ มิชอบตั้งแต่เริ่ม บี้ปูควบคุม‘แดง’


ทีมกฎหมาย ปชป.ยันแก้ รธน.ที่มา ส.ว.มิชอบตั้งแต่ต้น แฉกดบัตรแทน-กำหนดวันแปรญัตติไม่ถูกต้อง-ขัดกันแห่งผลประโยชน์-เปลี่ยนรูปแบบของรัฐ ระบุหาก
ยุบพรรคกรรมการทั้ง 6 พรรคต้องถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี "องอาจ" จวก "ยิ่งลักษณ์" ให้ท้ายคนเสื้อแดงชุมนุม 19-20 พ.ย. เพื่อกดดันศาล จี้ยับยั้งและรับผิดชอบ "ปู"
วอนทุกคนรับฟังด้วยเหตุผล อย่าใช้อารมณ์
    ในวันพุธที่ 20 พฤศจิกายน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะอ่านคำวินิจฉัยประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราว่าด้วยเรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
อาจขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 68 กำลังเป็นที่จับตาว่าคำวินิจฉัยจะออกมาอย่างไร ทั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ หนึ่งในผู้ยื่นร้องต่อศาล
รัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยเรื่องดังกล่าว ให้สัมภาษณ์ว่า ประเด็นที่ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญจะชี้ให้เห็นว่ามีสมาชิกรัฐสภากดบัตรลงคะแนนแทนกัน ซึ่งมีหลักฐานทั้งภาพและ
เสียงยืนยันว่าเป็นการลงคะแนนขณะมีการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากไม่ใช่เจ้าของบัตร ก็เป็นการขัดรัฐธรรมนูญ และการลงชื่อในหลักการและเหตุผลก็เป็นการลง
ชื่อปลอม เนื่องจากมีการแก้ไขหลักการและเหตุผลทั้งหมด และต้องมีผู้รับรองถูกต้อง
    "เมื่อเป็นญัตติที่ไม่ชอบมาตั้งแต่ต้นตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ พิจารณาไปก็ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ"
     นายวิรัตน์กล่าวต่อว่า รัฐธรรมนูญบังคับให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญทำเป็นสามวาระต่อเนื่องกันไป เมื่อเสร็จวาระหนึ่ง ก็ต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อ
กำหนดวันแปรญัตติ โดยเวลาประมาณ 04 .00 น. วันที่ 1 เมษายน มีการเสนอให้กำหนดวันแปรญัตติภายใน 15 วัน แต่มีผู้เสนอให้เป็นอย่างอื่น ทำให้นายสมศักดิ์ เกียรติสุ
รนนท์ ประธานรัฐสภา ขอตรวจสอบองค์ประชุม ผลปรากฏว่าองค์ประชุมไม่ครบ แต่นายสมศักดิ์ได้กำหนดให้แปรญัตติภายใน 15 วัน ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะวาระ 1
ยังไม่เสร็จสิ้น แต่กลับมีการกำหนดวันแปรญัตติ
    ต่อมาเช้าวันเดียวก็นัดประชุมคณะกรรมาธิการฯ แต่ก็ไม่สามารถดำเนินการได้ กระทั่งวันที่ 4 เมษายน มีการนัดประชุมร่วมเพื่อลงมติอีกครั้ง ซึ่งกำหนดวัน
แปรญัตติภายใน 15 วัน ครบในวันที่ 18 เมษายน แต่ประธาน กมธ.วิสามัญเห็นว่าต้องนับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ไม่ใช่วันที่ 4 เมษายน ทำให้สมาชิกรัฐสภาที่ขอยื่นคำแปร
ญัตติภายในวันที่ 18 เมษายน เช่น นายชวน หลีกภัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ไม่มีสิทธิ์แปรญัตติ การกำหนดวันแปรญัตติ
จึงขัดต่อรัฐธรรมนูญ
    นอกจากนี้ มีสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ยื่นแปรญัตติไว้ 160 คน แต่ได้อภิปรายเพียง 7 คน ทำให้ประเด็น 31 ประเด็นไม่สามารถอภิปรายได้อย่างครอบ
คลุม และไม่ครบคน มีการปิดปากสมาชิกรัฐสภา และยังมีการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 122 ที่กำหนดว่า สมาชิกรัฐสภาต้องปราศจากผลประโยชน์ใน
การเสนอกฎหมาย แต่พบว่ามีการกำหนดให้ ส.ว.สามารถลงเลือกตั้งได้มากกว่า 1 วาระ ไม่ห้ามบุพการี ลูก ภรรยา และสามีลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยส.ส.เสียงข้างมากล็อบบี้
ให้ ส.ว.ลงคะแนนให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 เพื่อแลกกับการสนับสนุนให้แก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ ส.ว. โดยเห็นชัดว่านายนิคม ไวยรัชพานิช ประธาน
วุฒิสภา ให้สัมภาษณ์ว่าจะไปลงเลือกตั้ง ส.ว.อีกครั้ง
    "นายนิคมที่ร่วมเสนอแก้รัฐธรรมนูญ ก็ไม่ควรนั่งเป็นประธาน สมาชิกทักท้วงตลอดวลา แต่ก็ไม่เป็นผล และนายนิคมก็พยายามอภิปรายสนับสนุนการแก้ไข
ไม่ได้ทำตัวเป็นกลาง มีผลประโยชนทับซ้อน และการเสนอแก้ครั้งนี้ก็ขัดต่อหลักการรัฐธรรมนูญไทยและทั่วโลกที่ต้องมีหลักถ่วงดุลและตรวจสอบ เพื่อให้เกิดดุลยภาพคาน
อำนาจซึ่งกันและกัน แต่การแก้รัฐธรรมนูญรอบนี้ลดการตรวจสอบของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรตรวจสอบอื่นๆ"
    ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์กล่าวอีกว่า ที่สำคัญคือการแก้ไขขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพราะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ โดยเรื่อง ส.ว.ที่รัฐ
ธรรมนูญกำหนดไว้ แต่เสียงข้างมากต้องการล้ม ส.ว.สรรหาที่มีระยะเวลาดำรงตำแหน่งอีก 3 ปี ซึ่งถือเป็นหนึ่งในรูปแบบของรัฐ เพราะมีเป้าหมายครองเสียงข้างมาก 120
เสียงขึ้นไปในสมาชิกวุฒิสภา เพื่อกำหนดการแต่งตั้งถอดถอนคนในองค์กรอิสระต่างๆ ของระบอบทักษิณ
    "เรื่องที่ยื่นต่อศาลให้วินิจฉัยความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีการเริ่มต้นใหม่เท่านั้น แต่มี ส.ว.สรรหาคนอื่นได้ยื่นให้ยุบพรรคการเมือง 6 พรรค ซึ่ง
ศาลได้รวบรวมเป็นสำนวนเดียวกันในการพิจารณา หากมีการยุบพรรค ก็จะส่งให้กรรมการบริหารพรรคการเมืองทั้ง 6 พรรคถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองไป 5 ปี อย่างไรก็ตาม
พร้อมยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะออกมาอย่างไรก็ตาม" นายวิรัตน์กล่าว
    นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ประธาน ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ขอวิงวอนทุกฝ่ายให้เคารพการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ
เปิดโอกาสให้ทำหน้าที่อย่างอิสระโดยไม่ได้รับแรงกดดันจากฝ่ายใดทั้งสิ้น การพูดผลวินิจฉัยล่วงหน้าเป็นความพยายามชี้นำและกดดันการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น
และยังมีคนเสื้อแดงที่เป็นมวลชนของรัฐบาลมีพฤติกรรมกดดันศาลรัฐธรรมนูญ โดยพยายามสร้างเงื่อนไขกดดันหลายประการคือ พยายามกดดันให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ไปตามที่กลุ่มของตัวเองต้องการโดยแกนนำเสื้อแดงออกมาบอกว่า ถ้าผลวินิจฉัยออกมาในทางลบ จะมีมาตรการตอบโต้อย่างรุนแรง สอง ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไม่ตรง
ตามที่ตัวเองต้องการ จะใช้เป็นข้ออ้างไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ    
    "ซึ่งเชื่อว่าคนเหล่านี้ได้รับการส่งสัญญาณจากคนในรัฐบาลให้ทำแบบนี้ เพราะ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้เรียกแกนนำคนเสื้อแดง ไม่ว่าจะ
เป็นนายจตุพร พรหมพันธุ์ และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เข้าร่วมประชุมพรรคเพื่อไทยกับนายกฯ แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนเสื้อแดงและรัฐบาลนั้นเป็นเนื้อเดียวกัน ดังนั้น
การกดดันศาลรัฐธรรมนูญของคนเสื้อแดงจึงเป็นสิ่งที่นายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบต่อพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในครั้งนี้ ถ้านายกฯ ไม่ห้ามปรามหรือไม่ส่งสัญญาณยุติ
พฤติกรรมดังกล่าว น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็คือผู้ที่มีส่วนสำคัญในการกดดันศาลรัฐธรรมนูญด้วย"
    นายองอาจกล่าวด้วยว่า แกนนำคนเสื้อแดงยังเตรียมที่จะจัดการชุมนุมใหญ่วันที่ 19-20 พ.ย.56 ซึ่งตรงกับวันที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยประเด็นนี้
ปฏิเสธไม่ได้ว่าแกนนำคนเสื้อแดงต้องการใช้มวลชนกดดันศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้คำวินิจฉัยตรงกับความต้องการของตัวเอง ดังนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ต้องยับยั้งพฤติกรรมของคน
เหล่านี้ ทั้งการกดดันด้วยวาจาและการกระทำ
    ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวถึงวันที่ 20 พ.ย. ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยคำร้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีความกังวล
ใจหรือไม่ว่า เรื่องนี้คงไม่สามารถก้าวล่วงอะไรได้ ในข้อเท็จจริงแล้วเราก็พยายามรับฟังกันด้วยเหตุและผล คงต้องขออนุญาต ทุกอย่างต้องขอให้ประชาชนรับฟังด้วยเหตุและ
ผล อย่าใช้อารมณ์ ทุกอย่างเชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาด้วยความละเอียดรอบคอบ และดูในเรื่องกติกาต่างๆ อย่างสมบูรณ์ และเราอยากเห็นบ้านเมืองก้าวไปสู่ความสงบ
สุข สองสามปีที่ผ่านมาเรามีบรรยากาศไปในทิศทางที่ดีแล้ว ก็อยากเห็นบรรยากาศเหล่านี้ต่อไป
    ขณะที่นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย กล่าวว่า รู้สึกกังวลกับการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 20 พ.ย.นี้ เพราะประเดประดังมาเยอะ การ
แก้รัฐธรรมนูญจะถือว่าขัดรัฐธรรมนูญไม่ได้ โดยรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถ้าไม่ได้แก้ไข พรรคเพื่อไทยคงไม่ได้เข้ามาเป็นรัฐบาล เป็นสิ่งที่เราประกาศไว้ ซึ่งการแก้ก็เป็นไปตาม
ครรลอง ตามกติกา ในชั้นแรกก็จะเอาแบบ ส.ส.ร.ปี 40 เมื่อศาลแนะนำให้แก้รายมาตราก็ทำตามนั้น
    ส่วนนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา กล่าวว่า จะยื่นพยานหลักฐานใหม่ที่น่าเชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญกระทำการล่วงละเมิดพระราชอำนาจ และปฏิบัติ
หน้าที่โดยมิชอบเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข อันจะนำไปสู่การตรวจสอบเพิ่มเติมว่าศาลรัฐธรรมนูญกระทำผิดตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ประกอบมาตรา 157 หรือไม่ ต่ออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในวันที่ 18 พ.ย. หลังจากศาลรัฐธรรมนูญนัดฟังคำวินิจฉัยคำ
ร้องของผู้ร้องทั้ง 4 กรณีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. ในวันที่ 20 พ.ย.นี้ ทั้งที่กระบวนการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวเสร็จสิ้นทั้ง 3 วาระแล้ว และ
นายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 150 คือได้นำร่างขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว และกำลังอยู่ในพระบรมราช
วินิจฉัยของพระมหากษัตริย์ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 151.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น