วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แนวโน้มเกมการเมืองปี 2556




กองเรือลำน้ำช่วยน้ำท่วม ปี 54



สงคราม-2



สงครวม-1



นักรบแห่งสายน้ำ กองเรือลำน้ำ



สุดยอดข่าวแห่งปี 2555



สุดยอดข่าวแห่งปี 2555
 

ช่วยไม่ได้.. 18+


ช่วยไม่ได้.. 18+
 

รวมอุบัติเหตุเฉียดฉิว เมื่อ 28 ธ.ค.55



รวมอุบัติเหตุเฉียดฉิว
 

7จุดเสี่ยง7วันอันตราย . เมื่อ 28 ธ.ค.55



7จุดเสี่ยง7วันอันตราย .
 

สรุปวิเคราะห์ข่าว จาก นสพ.วันที่ 28 ธ.ค.55





สรุปวิเคราะห์ข่าววันที่ 28 ธ.ค.55
รธน.รายมาตราควบคู่ทำประชามติเชื่อลุยโหวตวาระ3'เพื่อไทย'ไม่เอาแน่อ้างเสี่ยงถูกยื่นตีความจนศาลรธน.จับดอง
          28ธ.ค.2555 มีความชัดเจนขึ้นอีกระดับสำหรับแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล โดย นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าในแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทยว่า ต้องรอข้อสรุปจากการสัมมนาของพรรคระหว่างวันที่ 6-7 มกราคม 2556 ที่เขาใหญ่ก่อน ซึ่งได้มีการศึกษาข้อมูลกันมาอย่างเพียงพอแล้ว และไม่ควรจะทอดเวลาออกไปให้เนิ่นนานกว่านี้อีกแล้ว อย่างไรก็ตาม แนวทางหรือข้อสรุปอาจจะไม่ใช่แค่ 1, 2 หรือ 3 แต่อาจจะเห็นภาพในลักษณะของการแก้ไขแบบ 2 แนวทางควบคู่กันไปก็ได้
          "ทั้งนี้ ในพรรคเพื่อไทยก็มีคนที่เสนอรูปแบบนี้ ซึ่งผมเห็นด้วย โดยเบื้องต้นอาจจะมีการแก้ไขเป็นรายมาตรา 2-3 มาตราในระหว่างที่กำลังดำเนินการทำประชามติ เหมือนเป็นการรักษามะเร็งร้ายที่ต้องรีบตัดออกไปก่อนที่จะลุกลามจนเป็นอันตรายต่อชีวิต ซึ่งผมเห็นว่ามี 3 มาตราที่ต้องรีบแก้ คือ มาตรา 190 ที่เหมือนเป็นการใส่กุญแจมือฝ่ายบริหารเอาไว้หากต้องมีการไปเจรจากับต่างประเทศ บางเรื่องไม่ควรเปิดเผยแต่ก็ต้องมาแบไต๋ในเวทีรัฐสภาจนเขารู้กันหมด มาตรา 237 ที่เกี่ยวข้องกับการยุบพรรคการเมือง หากแก้ไขตรงนี้ก็จะทำให้พรรคการเมืองเข้มแข็งมากขึ้น ที่ผ่านมาถูกยุบพรรคกันง่ายเกินไป และมาตรา 68 ที่ต้องแก้ไขให้ปริมาณของคดีเข้าสู่ศาลน้อยลง โดยมีสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นตัวคัดกรอง เชื่อว่าการแก้ไขใน 3 มาตราดังกล่าวจะใช้เวลาไม่นาน เพราะมาตรา 190 และ 237 นั้นเคยมีการศึกษามามากแล้ว ใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงก็น่าจะผ่านวาระ 1 ได้ แต่ที่จะเถียงกันนานหน่อยคือมาตรา68"ที่ปรึกษากฎหมายพ.ต.ท.ทักษิณกล่าวยันมีประชามติ-ปัดลงมติวาระ3
          นายนพดล กล่าวว่า สำหรับแนวทางการทำประชามติที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่นั้น ถือเป็นการทำตามสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน และเป็นการสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่ดีอีกด้วย วันนี้เรายังไม่ได้คิดหาแนวทางรณรงค์มากมายนัก เนื่องจากพรรคเองก็ยังไม่ได้ข้อสรุปเสียทีเดียว แต่ยืนยันว่าจะทำตามกฎหมาย ไม่มีการขนคนมาแน่นอน เพียงแต่รัฐบาลต้องสื่อสารและขยันพูด ขยันชี้แจงให้มากหน่อย ทั้งนี้ หากทำประชามติแล้วปรากฏว่าแพ้โหวตก็ไม่มีปัญหาในแง่ของความรับผิดชอบ รัฐบาลบอกว่าจะทำครั้งเดียว แต่ศาลรัฐธรรมนูญบอกให้ทำ 2 ครั้ง ดังนั้นถ้าเดินตามศาลรัฐธรรมนูญโดยให้มีการทำประชามติในครั้งแรกแล้วไม่ผ่านก็ไม่ควรจะเป็นความผิดของรัฐบาล
          ส่วนแนวทางการโหวตวาระ 3 เลยนั้น นายนพดล กล่าวว่า มองว่าโอกาสที่พรรคจะเลือกแนวทางนี้ริบหรี่หรือแทบจะเป็นศูนย์ เพราะหากดึงดันโหวตไปก็ไม่แน่ใจว่าส.ส.และส.ว.ที่เคยโหวตผ่านวาระ 1 และ 2 นั้น ยังจะกล้าโหวตในวาระ 3 อีกหรือไม่ เพราะอาจจะกลัวว่าจะถูกยื่นถอดถอนได้ และถึงแม้ว่าจะโหวตวาระ 3 ผ่านไปได้ก็ตาม แต่ก็คงจะถูกยื่นตีความอีกโดยส.ส.พรรคประชาธิปัตย์หรือกลุ่ม 40 ส.ว. ซึ่งกระบวนการอาจจะไปค้างเติ่งอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญเป็นปีๆก็ได้ดังนั้นจึงไม่ควรจะทำให้ต้องเสียเวลา
  

สารส้ม
ปี2555เป็นปีที่ทักษิณชินวัตรแสดงบทบาททางการเมืองอย่างออกนอกหน้า
          ชัดเจนว่า เขายังไม่เลิกยุ่งเกี่ยวกับการเมืองไทยซ้ำยังถูกครหาว่า ที่บ้านเมืองติดหล่ม ก้าวไม่พ้นปัญหาความขัดแย้ง ความแตกแยก กระทั่งสาละวนอยู่กับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญอยู่ทุกวันนี้ก็เพราะทักษิณ
          วาทะแห่งปีของทักษิณ คือ "ช่างแม่มัน"1) เมษายน 2555 ทักษิณไปปราศรัยที่ประเทศกัมพูชา ประกาศถึงใครก็ตามที่ไม่เอาด้วยกับแนวทางปรองดองล้างผิดให้ตนเอง พ่วงไปกับ คนฆ่าทหาร ฆ่าประชาชน บอกว่า "ช่างแม่มัน"ทักษิณอ้างว่า ถ้าไม่ปรองดอง ตนก็อยู่เมืองนอกต่อไป "ถ้าพี่น้องไม่เอาปรองดอง ให้ผมอยู่เมืองนอกไปก็ไม่ว่าอะไร แต่ต้องหยุดตั้งสติคิดว่าแล้วใครได้ ใครเสีย รบต่อไปพ่อค้าอาวุธรวยอย่างเดียว"
          พฤติกรรมและคำพูดดังกล่าว สะท้อนให้เห็นเจตนาซ่อนเร้นเสมือนยื่นเงื่อนไขแกมข่มขู่ประเทศไทยกลายๆ ว่าถ้าไม่ยอมทักษิณ ไม่รับแนวทางปรองดองของทักษิณคือไม่ยอมนิรโทษลบล้างความผิดให้ทักษิณด้วยประเทศชาติก็อาจจะไม่มีความสงบสุข
         รู้สึกไม่ต่างกับการจับความสงบสุขและความปรองดองในชาติเป็นตัวประกัน         ทักษิณไม่แยแสแม้กระทั่งความรู้สึกของผู้สูญเสียที่เป็นคนเสื้อแดงเองถึงขนาดให้สัมภาษณ์ว่า
          "แม้แต่แม่ของ น.ส.กมลเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาที่เสียชีวิตระหว่างสลายชุมนุมราชประสงค์ แม้ยังไม่หายโกรธที่ลูกถูกทหารยิง และไม่อยากให้มีนิรโทษกรรมก็เป็นเรื่องธรรมดาแต่เราต้องฟังประโยชน์ส่วนใหญ่และให้ส่วนน้อยยอมเสียสละ"
         เรียกร้องให้ทุกฝ่ายเสียสละเพื่อบรรลุความต้องการแห่งผลประโยชน์ของตนเอง
         2)นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะผู้นำฝ่ายค้านอภิปรายกลางสภาผู้แทนราษฎร
          บอกว่า "มาท้าทายผมว่า อย่านิรโทษให้คน 2 ต่อ 2 ระหว่างผม นายสุเทพ กับนายจตุพร (พรหมพันธุ์) และนายณัฐวุฒิ (ใสยเกื้อ)... ผมท้า ให้ 2 ต่อ1เลยคืออย่านิรโทษผมนายสุเทพและพ.ต.ท.ทักษิณชินวัตร)"
          ถามผ่านสภา ผ่านรัฐบาล ฝากไปถึงทักษิณไม่ต้องนิรโทษให้นายอภิสิทธิ์และไม่ต้องนิรโทษให้นายสุเทพ และ ไม่นิรโทษให้ทักษิณ... เอาไหม?
         ถ้าเอาเชื่อว่าความวุ่นวายในชาติก็จะเบาบางลงไปมากเพราะไม่ต้องพะวงกับวาระส่วนตัวของนักการเมือง
          ถ้าทักษิณบริสุทธิ์ใจ พรรคเพื่อไทยสุจริตใจ และแกนนำเสื้อแดงไม่ใช่ขี้ข้าทักษิณ ไม่ได้ต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวของทักษิณ ทำไมจะไม่เอา
          ปรากฏว่า ฝ่ายทักษิณไม่มีทีท่าตอบรับ ที่เคยปากเก่ง ปากดี เงียบเป็นอมสากที่บงการ สั่งการ ปลุกระดม ใช้บริวารแกนนำและกองกำลังแบ่งงานกันทำที่ผ่านมาทั้งหมดนั้นทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวของใคร
          ใครจะตายก็ "ช่างแม่มัน" ใช่ไหม?
         3)รายงานฉบับสมบูรณ์ของคอป.ซึ่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์เคยแถลงนโยบายต่อรัฐสภาว่า
          "สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระและได้รับความร่วมมือ จากทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ในการตรวจสอบและค้นหาความจริงจากกรณีความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การสูญเสียชีวิต บาดเจ็บทางร่างกายและจิตใจรวมทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน"
          แต่เมื่อรายงาน คอป.ปรากฏข้อเท็จจริงที่แสลงใจทักษิณและแกนนำ เสื้อแดง โดยยืนยันว่าการชุมนุมเคลื่อนไหวของเสื้อแดงนั้น มีกองกำลังติดอาวุธชุดดำปฏิบัติการใช้อาวุธสงครามโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐจากในพื้นที่ของคนเสื้อแดง เป็นการชุมนุมที่ศาลยุติธรรมเคยชี้ว่าผิดกฎหมาย ใช้ความรุนแรง เช่น
          รายงาน คอป. หน้า 112 ระบุว่า "...คนชุดดำปฏิบัติการโจมตีเจ้าหน้าที่ก่อนด้วยอาวุธสงคราม โดยก่อนและขณะโจมตี คนชุดดำพร้อมอาวุธสงครามอยู่ปะปนอยู่กับผู้ชุมนุม โดยผู้ชุมนุมและการ์ด นปช.ไม่ได้ห้ามปรามหรือ ขัดขวางการปฏิบัติการด้วยอาวุธของคนชุดดำแต่อย่างใด ทั้งยังกลับได้รับการสนับสนุนหรือร่วมมือจากการ์ดนปช.จำนวนหนึ่งด้วย..."
          แถม คอป.ยังระบุถึงรายละเอียดพฤติกรรมของการชุมนุมเสื้อแดงอีกหลายประเด็น เช่น การยึดอาวุธจากเจ้าหน้าที่ การคุกคามหน่วยแพทย์ พยาบาลและสื่อมวลชนการทำลายทรัพย์สินของราชการและเอกชนฯลฯ
         ปรากฏว่า ทักษิณ ชินวัตร ให้สัมภาษณ์นักข่าวต่างชาติว่า รายงาน คอป.เป็นเพียงความเห็นของคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่มีน้ำหนักอะไร
          รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ไม่นำพาต่อข้อเสนอของ คอป. เก็บดองเรื่องจนถึงวันนี้ ความจริงจะเป็นอย่างไรก็ "ช่างแม่มัน"
        4) ทักษิณประกาศผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ สั่งการให้มีการทำประชามติ ใช้เงินแผ่นดิน ใช้อำนาจรัฐ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งการปูทางกลับบ้านแบบเท่ๆ
          ประเทศชาติต้องมาเสียเวลากับการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ แทนที่จะแก้รายมาตรา ซึ่งสามารถทำได้ผ่านรัฐสภา เสียเวลา เสียเงินแผ่นดิน ก็ "ช่างแม่มัน" ใช่หรือไม่? และเสี่ยงผิดกฎหมาย ผิดรัฐธรรมนูญ เกิดความแตกแยกวุ่นวายรอบใหม่ ก็เพราะ "ช่างแม่มัน" นั่นเอง
        5) ทักษิณประกาศให้รัฐบาลน้องสาวเดินหน้านโยบายอภิมหาประชานิยมต้องการปั่นกระแสให้ตนเองได้รับการสนับสนุนตามแนวทางปรองดองล้างผิดให้คนโกง   ถลุงเงินแผ่นดินอีกหลายล้านล้านบาทจำนำข้าว เสียหายปีละมากกว่าแสนล้านบาท ระบบการค้าการส่งออกข่าวพินาศย่อยยับ มูลค่าส่งออกหดหาย     การทุจริตโกงกินบานตะไท ภาระหนี้สินของชาติพุ่งสูงลิ่วแต่ก็ "ช่างแม่มัน" ใช่หรือไม่?
         6) ประเทศชาติและประชาชนจะตกอยู่ในวงล้อมของปัญหาความเดือดร้อน รอให้รัฐบาลน้องสาวทักษิณทำหน้าที่แก้ไขเยียวยามากมายมหาศาลเพียงใดไม่ว่าจะเป็นปัญหาค่าครองชีพสูงลิ่วราคาพืชผลตกต่ำไฟใต้ลุกโชนงบน้ำท่วมรั่วไหลหนี้ท่วมประเทศยาเสพติดระบาดหนักฯลฯ
         แต่ภารกิจหลักของรัฐบาลยิ่งลักษณ์กลับยังคงเป็นนโยบาย"เอาพี่กลับบ้าน"
          ก็เพราะเรื่องอื่นๆ "ช่างแม่มัน" นั่นเอง--จบ--

.....แนวหน้า
ลองทบทวนเส้นทางแนวคิดทำประชามติก่อนโหวตรัฐธรรมนูญ วาระที่ จะพบว่าค่อนข้างเป็นระบบ มีขั้นตอน และมีน้ำหนัก
         เริ่มจากวันที่ 11ธันวาคม น.ส.ยิ่งลักษณ์ชินวัตรเป็นผู้เปิดเกม โดยรับว่าได้หารือกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องการให้ประเทศมีทางออกและสงบ ซึ่งได้น้อมนำกระแสพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่5ธันวาคมที่ผ่านมาว่าจะทำอย่างไรให้บ้านเมืองมั่นคงอยู่รอดปลอดภัยไปด้วยความสงบ  จึงคิดว่าน่าจะมีกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน คือทำประชามติเรื่องแก้รัฐธรรมนูญตามคำแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญ  ต่อมาวันที่ 14 ธันวาคม คณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ก็มีมติ "ขานรับ" โดยให้คณะรัฐมนตรีไปออกมติจัดให้มีการออกเสียงประชามติ วันที่ 18 ธันวาคม ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเรื่องดังกล่าว แล้วเห็นว่าการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายที่สลับซับซ้อนและมีแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน  จึงเห็นชอบให้ตั้งคณะทำงานศึกษาวิธีการออกเสียงประชามติและจัดเวทีสานเสวนา ประกอบด้วย รมว.ยุติธรรม, รมว.มหาดไทย, รมว.ศึกษาธิการ, รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรตามที่กฎหมายกำหนด หลังจากนั้นให้ทำข้อสรุปเสนอที่ประชุมครม.พิจารณาต่อไป  เส้นทางแนวคิด"ประชามติ"แม้จะหนักแน่นเป็นขั้นตอนดังกล่าว แต่การที่คณะรัฐมนตรีมีมติเพียงแค่ให้มีคณะทำงานศึกษาวิธีการออกเสียงประชามติ ไม่ใช่ให้ทำประชามติเลยทันทีทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ติดตามมาในทันทีว่าคณะรัฐมนตรียังไม่"สุกงอมเพียงพอ" และเริ่มมีกระแส"คิดต่าง"จากทั้งในคณะรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทยและมวลชนเสื้อแดง โดยในคณะรัฐมนตรี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ใช้วิธีไม่เข้าร่วมประชุม แต่ออกมาพูดภายนอกว่า ไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติ เพราะเป็นเรื่องยาก ต้องใช้เสียงสนับสนุนมากถึง25ล้านเสียงจึงจะสำเร็จ  พร้อมกับได้เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราใน9ประเด็นแทนซึ่งจะง่ายและประสบความสำเร็จได้มากกว่า   ขณะเดียวกัน ในวันที่ 22 ธันวาคม ในงานคอนเสิร์ต "ต้านรัฐประหาร สร้างประชาธิปไตย" ที่โบนันซ่าเขาใหญ่ จ.นครราชสีมา ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาตินปช.(คนเสื้อแดง)
          แกนนำคนสำคัญ อาทิ นางธิดา ถาวรเศรษฐ ประธาน นปช. นายจตุพร พรหมพันธุ์ รวมทั้ง ส.ส.เพื่อไทย อย่าง นพ.เหวง โตจิราการ ส.ส.บัญชีรายชื่อเป็นต้นได้ร่วมกันออก"ปฏิญญาโบนันซ่า"  ย้ำจุดยืนสำคัญ 3 เรื่อง 1) ให้รัฐบาลเดินหน้าโหวตรัฐธรรมนูญวาระที่ 3  2) ให้ยอมรับเขตอำนาจศาลโลก (ไอซีซี) 3) นิรโทษกรรมให้ผู้ชุมนุมทางการเมืองทุกกลุ่มยกเว้นบรรดาแกนนำ  จุดยืนในข้อที่1ชัดเจนว่าคนเสื้อแดงไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติ นายจตุพร ให้เหตุผลว่าการทำประชามติไม่มีทางประสบความสำเร็จ เนื่องจากเสียงประชาชนที่สนับสนุนไม่มีทางถึงกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ คือจำนวน24ล้านเสียง  การทำประชามติจึงเป็นหนทางสู่หายนะและเหมือนการเดินหน้าลงเหวดีๆนี่เอง "อย่าไปลงเหวเลย"นั่นคือคำพูดที่นายจตุพรย้ำ   แทบจะทันทีพ.ต.ท.ทักษิณชินวัตรอดีตนายกรัฐมนตรีได้โฟนอินมายังเวทีเสื้อแดงในคืนวันเดียวกันว่า
         "เราต้องแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยที่ถูกต้องวันนี้เราขอยืนยันว่าเป็นภารกิจของรัฐบาลและสภาชุดนี้แน่นอน"
          "แต่จะแก้อย่างไร บางคนให้โหวตวาระ 3 ไปเลย ถามว่าทำได้ไหม ผมว่าทำได้แต่ไม่ผ่าน 2 ขั้นตอน 1.กลุ่มที่พร้อมชนกับเรา คือเสียงสนับสนุนในสภาคือต้องได้326เสียงโอกาสไม่ถึงสูงมาก2.ศาลรัฐธรรมนูญอาจบอกว่าขัดคำสั่งศาล"
          "ถามว่าถ้าจะประชามติต้องมีเสียงสนับสนุนถึง 24.3 ล้านเสียง จะผ่านได้ ผมไม่หนักใจเลยผมเคยผ่านการเลือกตั้งมาหมูมาก คิดว่าประชาชนจะออกมาใช้เสียงกันมากเพื่อให้ได้รัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย"
         คำพูดดังกล่าวตอกย้ำว่าพ.ต.ท.ทักษิณยังคงมุ่งมั่นกับการทำประชามติและเชื่อว่า"หมูมาก"ไม่ใช่การเดินลงเหวอย่างที่นายจตุพรว่าขณะที่ นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ได้มาขยายความเหตุที่ไม่เดินหน้าลงมติในวาระที่ 3 ตามที่แกนนำเสื้อแดงเสนอเพราะเกรงว่าหากฝืนโหวต อาจมี ส.ส. และ ส.ว. บางคนเกรงจะขัดต่อคำวินิจฉัยและคำแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญ อาจถูกถอดถอนหากลงมติในวาระที่3โดยไม่มีการทำประชามติก่อนซึ่งอาจทำให้เสียงไม่พอ และทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ"แท้ง"การออกมาการันตี เรื่องการทำประชามติ "หมูมาก" ของ พ.ต.ท.ทักษิณ น่าจะทำให้เกิดข้อยุติได้ โดยเฉพาะในพรรคเพื่อไทย และคนเสื้อแดง  แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ใช่เช่นนั้น เพราะการประชุมพรรคเพื่อไทย เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม  แม้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง   แต่ก็ยังไม่อาจมีมติ เรื่องการทำประชามติได้ เป็นแค่แนวกว้างๆ 3 แนวทางตามเดิม คือ 1.เดินหน้าลงมติในวาระที่ 3 2.เสนอแก้ไขรายมาตรา และ 3.ทำประชามติโดยมีการชี้แจงว่า จะมีการหารือในการสัมมนาที่เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา ระหว่างวันที่ 6-7 มกราคม 2556 อีกครั้ง  ซึ่งก็ยังไม่มีใครยืนยันได้ว่า จะมีข้อสรุป ภาวะลังเล ไม่แน่ใจ เช่นนี้ ไม่เป็นผลดีต่อกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่พรรคเพื่อไทยชูเป็นนโยบายอย่างแน่นอน
          ยิ่งหากเลือกเดินทาง "ประชามติ" ซึ่งแม้ พ.ต.ท.ทักษิณ จะบอกว่า "หมูมาก" แต่ภาวะที่ไร้เอกภาพ ไม่เป็นหนึ่งเดียว อย่างที่เกิดขึ้นตอนนี้ ก็น่าห่วงการขับเคลื่อนให้ชาวบ้านถึง 24 ล้าน-25 ล้านคนออกมาลงประชามติ และครึ่งหนึ่งของคนจำนวนนี้ต้องออกเสียงให้แก้รัฐธรรมนูญด้วย ว่าจะสำเร็จหรือไม่ที่น.ส.ยิ่งลักษณ์มาออกตัวว่าถ้าแก้ทั้งฉบับไม่ได้ก็แก้รายมาตรา ในด้านหนึ่งคล้ายจะคลายปมผูกมัดทางการเมืองล่วงหน้า  แต่อีกด้าน ในฐานะผู้จุดพลุ "ประชามติ" ก็ดูเหมือนไม่มั่นใจว่า จะเคี้ยวหมูได้ง่ายๆ ฅเหมือนพี่แม้ว!--จบ--

.....มติชนสุดสัปดาห์
รายงานพิเศษ: ข้อเสนอ 3 แนวทางในการแก้ไข 'รัฐธรรมนูญ' 3 พลังใน 'เพื่อไทย'

          ทั้งๆ ที่ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 อันเป็นที่มาแห่งการออก "แถลงการณ์" พรรคร่วมรัฐบาลเมื่อวันที่14ธันวาคมระบุว่า
          "คณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลได้เสนอไว้ในรายงานว่า ในกรณีที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ประสงค์มิให้เกิดข้อโต้แย้งคัดค้านทั้งปวง คณะรัฐมนตรีอาจจัดให้มีการออกเสียงประชามติตามรัฐธรรมนูญมาตรา165ได้ แต่ต้องทำความเข้าใจกับสังคมให้ชัดเจนว่า เป็นเรื่องการแก้ปัญหาความขัดแย้งและความปรารถนาดี มิใช่ประเด็นให้มาเรียกร้องความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรี หากประชามติไม่ผ่านหรือสมาชิกรัฐสภาอาจเสนอให้มีกฎหมายเฉพาะให้ออกเสียงประชามติในเรื่องนี้หรือแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา165เพิ่มเติมการทำประชามติมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เข้าไป"
          อันเป็นที่มาของ "พรรคร่วมรัฐบาล จึงเห็นชอบร่วมกันว่า คณะรัฐมนตรีจึงควรจัดให้มีการจัดออกประชามติเพื่อให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าสมควรจะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ2550ให้มีความชอบธรรมเป็นประชาธิปไตยและเป็นธรรมขึ้นหรือไม่"  และนี่คือฐานที่มาของมติครม.ให้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาวิธีการออกประชามติขึ้นมาเมื่อวันที่18ธันวาคม  อันเท่ากับเป็นบาทก้าวแรกของแนวทาง"ประชามติ"
          น่าสังเกตว่า แม้พรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ อันได้แก่ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา พรรคพลังชล จะเห็นด้วยกับข้อเสนอของคณะศึกษาฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินแนวทางประชามติแต่ปัญหาที่คุกรุ่นอยู่ขณะนี้กลับปรากฏขึ้นในพรรคเพื่อไทย   แนวทาง 1 เห็นว่าควรเดินหน้าโหวตร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ผ่านวาระ1วาระ2มาแล้วให้ผ่านวาระ3ไปเลย
           แนวทาง1เห็นว่าควรเสนอแก้ไขเป็นรายมาตรา แนวทาง 1 เห็นว่าควรดำเนินตามข้อเสนอของคณะทำงานฯ และรวมถึงคณะศึกษาฯ อันเป็นไปตามมติครม.นั่นคือการเดินหน้าประชามติ  การประชุมพรรคเพื่อไทยเมื่อวันที่25ธันวาคมก็ยังไม่มีข้อยุติในเรื่องนี้
          "ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะใช้แนวทางแก้ไขวิธีใด เพราะแต่ละแนวทางมีข้อดีข้อเสียต่างกัน จึงขอให้รอข้อสรุปจากคณะทำงานศึกษาข้อกฎหมายและวิธีการออกเสียงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะมานำเสนอในการสัมมนาพรรคเพื่อไทยวันที่ 6-7 มกราคม 2556 ที่เขาใหญ่ นครราชสีมา"  เป็นอันว่าความแจ่มชัดของพรรคเพื่อไทยว่าจะเลือกเดินแนวทางใดต้องรอให้ผ่านมติจาก  ที่ประชุมในวันที่6-7มกราคมเสียก่อน เป็นการรอคอยที่ระทึกใจอย่างยิ่ง สภาพที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ แนวทางแก้ไขเป็นรายมาตรา เป็นการเสนอจาก ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง แนวทางการเดินหน้าโหวตวาระ3ไปเลยเป็นการเสนอจากคนเสื้อแดง  ขณะที่แนวทางประชามติมีข้อเสนอจาก2ส่วนสำคัญ ส่วนหนึ่ง เป็นการแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาในที่ชุมนุมคนเสื้อแดงของพ.ต.ท.ทักษิณชินวัตรส่วนหนึ่งเป็นการแสดงออกก่อนหน้านี้ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ชินวัตร  และได้รับการขานรับอย่างคึกคักทั้งในรัฐบาลและในพรรคเพื่อไทย  แม้ว่าเป้าหมายในที่สุดของ 3 แนวทางคือ เป้าหมายในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่กรรมวิธีที่แตกต่างกันบ่งบอกถึงพื้นฐานทางความคิดทางการเมืองอันแตกต่างกัน
          มติพรรคเพื่อไทยออกมาเช่นใดสะท้อนว่ากลุ่มความคิดนั้นคือผู้กุมการนำในพรรค--จบ--

.....มติชนสุดสัปดาห์
คอลัมน์: เล่าหลังไมค์: สิ้นชาติขาดใจ ไม่ตายก็คางเหลือง
         
          กวาดตาไปที่หน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ในช่วงปลายปีอย่างนี้ ล้วนเต็มไปด้วยข่าวการจัดอันดับข่าวแห่งปี บุคคลแห่งปี ตั้งฉายาให้ผู้นาประเทศ รัฐบาลและผู้นาเหล่าทัพ  ภาพรวมของการจัดอันดับ การตั้งฉายาที่กลั่นมาจาก มันสมองของสื่อมวลชนประจำหน่วยงานนั้นๆ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ถึงความตื้นเขินไม่ประสีประสาทางภาษาแต่ยังพอมีคะแนนความกล้าหาญติดปลายนวมอยู่บ้างเล็กๆน้อยๆพอไม่ให้ขมขื่น
         ไม่ต่างจากสำนักโพลล์ที่ทำให้ประชาชนตาเหลือกและสมเพชเมื่อโพลล์รับใช้นักการเมืองมากกว่ารับใช้ความจริง
          มองจากข่าวการจัดอันดับ ฉายารัฐบาล และผลโพลล์ประกอบกันแล้ว ดูท่าว่านายกรัฐมนตรีหญิงของไทย กำลังตกอยู่ในวงล้อมของเหล่าขันทีที่มาเกิดใหม่ในหน้าที่แตกต่างกัน บ้างเป็นสื่อมวลชนสิ้นลาย บ้างเป็นนักวิชาการหากิน ขณะที่ของเดิม ก็ยั้วเยี้ยไปด้วย "ข้าทาสบริวาร" ที่ไม่ยอมถูกปลดปล่อย!!!
          หันไปดูสื่อต่างประเทศซึ่งกำลังแข่งกันรายงานภัยพิบัติจากธรรมชาติซึ่งลามไปทั่วโลกอันเป็นผลพวงที่เกิดมาจาก ความบ้าคลั่งการบริโภคอุตสาหกรรมหนักที่ไม่มีวันสิ้นสุด จนโลก ละลาย พายุหิมะที่เกิดในหลายประเทศทั่วโลก ไม่ได้ช่วยให้คริสต์มาสสีขาวสวยมากไปกว่าที่เคยสวย แต่ความหนาวเย็นได้คร่าชีวิตผู้คนไปมากมาย และเป็นสัญญาณว่า ในฤดูร้อนที่กำลังจะเปลี่ยน คลื่นความร้อนก็เป็นเสมือนมัจจุราชที่กำลังคืบคลานตามมาติดๆ
          โลกใบนี้กำลังจะเปลี่ยนไปในทางเลวร้าย ฟ้าจะถล่ม ดินจะทลาย สื่อมวลชนทั่วโลกอาศัยการเปลี่ยนปี เรียกร้องให้รัฐบาลของตนหามาตรการร่วมกันเพื่อนำโลกให้รอดพ้นจากหายนะที่กำลังมาเยือน
         อย่างไรก็ตามโลกใบนี้ที่กำลังอ่อนยวบก็ยังสละเวลาโค้งคำนับกับการจากลาและปรบมือต้อนรับการมาใหม่ในรูปโฉมอื่นของ Newsweek  นิตยสารข่าวผู้ทรงอิทธิพลรายสัปดาห์ฉบับหนึ่งซึ่งถึงกาลเวลาต้องปรับเปลี่ยน และ THE LAST PRINT ISSUE ON DEC 31, 2012   ก็ทำหน้าที่ปิดฉากรูดม่านให้กับนิตยสารข่าวที่จะหันหัวเรือไปสู่โลกออนไลน์แทน
          อายุอานามของ "NEWS - WEEK"  ตั้งแต่ฉบับ The First issue of Newsweek on Feb 17, 1933 มาถึงฉบับ The Last Print Issue on Dec 31, 2012  ยืนยันรับใช้คนอ่าน ด้วยข่าวสาร ความจริง เจาะลึก มาถึง 79 ปี จากกระดาษจะเปลี่ยน ไปออนไลน์ แต่ความจริงยังอยู่ อุดมการณ์ยังครบถ้วน ไม่ตกหล่น
          ทางด้าน นสพ.NewYork Time  ก็มีรายงานหน้าหนึ่งแทรกเข้ามาเหมือนเตือนประชาชนชาวอเมริกันให้ระมัดระวังการบริโภคในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีใหม่  เพราะประเทศสหรัฐกำลังมีปัญหาใหญ่ที่จะต้องเผชิญอย่างแน่นอนในปีหน้าฟ้าใหม่ อันเนื่องมาจากคำพูดของฝ่ายการคลังสหรัฐที่แย้มว่า รัฐบาลบารัคโอบามากำลังมีมาตรการฉุกเฉินออกมาหลังปีใหม่เพื่อชะลอวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐไปให้ได้จนผ่านไตรมาสที่1
          หันมาดูรัฐบาลของเรา นายกรัฐมนตรียังเบิกบานกับเทศกาลปีใหม่ เธอมีความสุขกับความอวยพรที่มาในรูปของฉายาหวานเจี๊ยบและโพลล์จากทุกสำนัก ขณะที่พี่ชายของเธอยังวุ่นวายกับการร้องแรก แหกกระเชอที่จะกลับบ้านให้ได้โดยไม่ติดคุก และไม่สนใจวิธีการที่จะทำให้ได้กลับมา ไม่ว่าจะเหยียบศาลหรือย่ำยีรัฐธรรมนูญของไทยก็เถอะ
          วิกฤติหนี้สินของสหรัฐ รวมกับวิกฤติหนี้ในยุโรปย่อมมีผลกระทบกับบ้านเราแน่นอนถ้าผู้บริหารประเทศยังวุ่นวายกับการ แต่งตัว และพาลูกผัวสำเริงสำราญงานเทศกาล หรืออลหม่านอยู่กับ การช่วยพี่ชายกลับบ้าน ขนาดพลิกประเทศ เปลี่ยนรากเหง้า คว่ำรากฐาน และบ้าคลั่งโยนประชานิยมให้ประชาชนเสพติดแสดงว่าไม่ช้าไม่นานเราคงกระเป่าฉีกและโอนเอนบนบ่อโคลนแห่งความเสี่ยง
          แนวโน้มว่าประชานิยมทั้ง โครงการจำนำข้าวและรถคันแรกจะพาเราย่อยยับมากกว่าฉุดให้เราเติบโต เมื่อเงินงบประมาณจำนวนมากมายถูกสาดลงไปไม่ยั้ง เพียงเพื่อต้องการผลลัพธ์ทางการเมือง ประชานิยมแบบนี้จะทำให้ประชาชนเสพติดจนงมงาย หลงเชื่อ อ่อนแอ และจำนนไม่มีเงื่อนไขข้อแม้
          ท่าทีที่รัฐมนตรีคลังของไทยที่พยายามจะกู้เงินเข้ามาโปะ เพื่อให้สนองตอบโครงการที่ถือเป็นเรือธงของพรรคเพื่อไทย เป็นกลไกของรัฐบาลในการบริหารประชาชนให้จูงจมูกได้ง่าย และเป็นเครื่องมือ ในการหว่านพืชเสพติดของทักษิณ  แต่การกู้เงินระยะข้างหน้าถูกนักวิชาการวิจารณ์ว่า จะทำต่อไปอีกไม่ได้แล้ว เพราะมีการกู้มาจนติดเพดานแถมรัฐบาลยังกู้เงินมาเองและโกงกันเอง
          ประเด็นนี้ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ จากพรรคประชาธิปัตย์เขียนในเฟซบุ๊คว่า "ก็ไม่ต่างกับนักธุรกิจที่กู้แบงก์แล้ว ตัวเองไม่จ่ายหนี้คืน แถมล้มบนฟูก สุดท้ายประชาชนเป็นหนี้โดยไม่รู้ตัว โดยประเทศที่มีวินัยการคลังที่ดี จะมีกฎหมายชัดเจนว่า การจัดงบประมาณในแต่ละปี รัฐบาลกู้ตามใจตนเองไม่ได้ จะมีเพดานเงินกู้ที่กฎหมายกำหนดตายตัว รัฐบาลจำเป็นต้องหามาตรการฉุกเฉิน ถ้างั้นรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดินไม่ได้ ถังแตก เงินเกลี้ยงกระเป๋า"
          ด้าน นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีคลังของ ประชาธิปัตย์ ก็เขียนเฟซบุ๊คติติงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ว่า มาตรการฉุกเฉินของสหรัฐที่กำลังประกาศออกมานั้นจะชะลอวิกฤติเศรษฐกิจไปได้จนถึงมีนาคม"ถึงเวลานั้นคงตัวใครตัวมันเพราะเป็นเส้นตายปัญหาวิกฤติหนี้ของสหรัฐ"
          ขณะที่บ้านเรามีปัญหาวิกฤติ สื่อมวลชนกับการรับรู้และความกล้าในการรายงานความจริง อีกด้านหนึ่งของโลกใบนี้ มีการพูดถึงเมืองไทยในสถานการณ์ที่ไม่สู้จะดีนัก
          เพราะสำนักข่าว Deutsche Presse-Agentur (German Press Agency ) สำนักข่าวที่ใหญ่สุดในเยอรมนี มีออฟฟิศอยู่ใน 80 ประเทศทั่วโลก รายงานข้อมูลของธนาคารโลกเกี่ยวกับสถานการณ์ข้าวของไทยว่า ประเทศไทยผลาญงบประมาณไปกับโครงการรับจำนำข้าวที่อาจสูงถึง 4,800 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 150,000 ล้านบาทต่อหนึ่งฤดูกาลเก็บเกี่ยว เนื่องจากรัฐบาลได้เข้าไปซื้อข้าวจากผู้ผลิตในราคาที่สูงกว่าตลาด ธนาคารโลกยังบอกด้วยว่า รัฐบาลไทยจะต้องเผชิญกับการสูญเสียเงินอีกมโหฬารจากบรรดานโยบายประชานิยมที่นำรัฐบาลชุดนี้เข้าสู่อำนาจเมื่อปีที่แล้ว
          หน่วยงานด้านการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลกระบุว่า โครงการรับจำนำข้าวได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสร้างภาระทางการเงินให้กับรัฐบาลนี้มากที่สุด โดยต้องสูญเสียงบประมาณ 115,000 ล้านบาท ถึง 150,000 ล้านบาทต่อหนึ่งฤดูกาลเก็บเกี่ยว ซึ่งข้าวไทยนั้นสามารถเพาะปลูกได้ปีละ 1-3 ครั้ง ภายใต้โครงการดังกล่าว รัฐบาลจ่าย 15,000 บาทต่อตันสำหรับข้าวขาวธรรมดา ส่วนข้าวหอมมะลินั้นจะต้องรับซื้อถึงตันละ 20,000 บาท
          ธนาคารโลกประเมินว่า รัฐบาลไทยได้ใช้จ่ายไปกับโครงการนี้ ในปีงบประมาณที่ผ่านมาถึง 376,000 ล้านบาท ซึ่งสิ้นสุดลงเมื่อ วันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา และจะใช้งบประมาณอีก 450,000 ล้านบาท ในปีงบประมาณปัจจุบัน คิดเป็น 3.8 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) นอกจากนี้ สต๊อกข่าวของรัฐยังสะสมไปถึง 12 ล้านตันในขณะนี้ และไม่สามารถที่จะระบายให้ลดลงได้ เนื่องจากข้าวไทยมีราคาสูงกว่าราคาข้าวในตลาดโลกถึงตันละ 200 เหรียญ หรือประมาณ 6,000 บาท "การแทรกแซงตลาดข้าวของรัฐบาลได้สร้างหายนะให้กับผู้ส่งออกข้าวภาคเอกชน โดยในปีนี้การส่งออกได้ตกลงไป 40-50 เปอร์เซ็นต์" สื่อ 4 ภาษาจากเยอรมนี ระบุ อย่างไรก็ตาม ธนาคารโลกประเมินว่าเศรษฐกิจไทยอาจเติบโตขึ้น 4.7 เปอร์เซ็นต์ สูงขึ้นจาก 4.5 เปอร์เซ็นต์ ตามคาดการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม หลังจากการฟื้นตัวจากเหตุการณ์น้ำท่วม
          ด้าน นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม สส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ บอกว่า ครบรอบการอภิปราย 1 เดือนแล้ว ก็ถึง เวลาที่รัฐบาลควรออกมาชี้แจงว่า ทำไมต้องขายข้าวแบบจีทูจีให้ ไอ้ปาล์ม ไอ้โจ หรือเสี่ยเปี๋ยง ซึ่งรัฐบาลต้องอธิบายให้ชัดเจน รวมถึง การโอนเงินที่ไม่ใช่ในรูปแบบจีทูจีด้วย เพราะตามการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย หากรัฐบาลไม่สามารถชี้แจงต่อสังคมได้ เมื่อมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจเกิดขึ้น ต้องรับผิดชอบทั้งในด้านของกฎหมาย ซึ่งขณะนี้พรรคฝ่ายค้านได้ยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบแล้ว แต่อีกสิ่งที่ต้องรับผิดชอบคือ การรับผิดชอบทางการเมือง โดยเฉพาะรัฐมนตรี ที่หากชี้แจงไม่ได้ต้องลาออกสถานเดียว ซึ่งคนที่รับผิดชอบในเรื่องนี้โดยตรง ไม่ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรนายกรัฐมนตรี หรือนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะต้องมีคนใดคนหนึ่งลาออกเพื่อรับผิดชอบ
          หันไปอ่านเฟซบุ๊คของนายกรณ์ จาติกวณิช อีกรอบเรื่อง นโยบายประชานิยมรถคันแรกแล้วขนลุก เขาเขียนว่า รถคันแรก ติดยัน รถคันสุดท้าย...11 เดือนปีนี้ รถเพิ่ม 1.29 ล้านคันทั่วประเทศ เดือน 11 เดือนเดียวเพิ่ม 1.48 แสนคันทั่วประเทศ รถคันแรก ประมาณการเกิน 1 ล้านคัน ยาวคันละ 2.5 เมตรวาง ต่อกันได้ 2,500 กิโลเมตร วิ่งจากแม่สายไปเบตง กลับมากรุงเทพฯ ได้พอดี ลองมองไปในอนาคตของนโยบาย "รถคันแรก" ไปด้วย กันครับว่า.. สิ่งเหล่านี้จะตามมาในปีหน้าหรือไม่ เร็วแค่ไหน อย่างไร ...รถติดทั้งแผ่นดิน-ที่จอดรถเต็ม-อุบัติเหตุมือใหม่-ปล่อยถูกยึดไฟแนนซ์พังทั้งระบบ-คดีฟ้องร้องเต็มศาล-สินค้าอื่นขายไม่ได้กำลังซื้อหด-ขาดดุลการค้าเพิ่ม-ตลาดรถมือสองแย่
          อ่านข่าวจากต่างแดน แล้วหันมาเปรียบเทียบกับข่าวในเมืองไทย พบได้ทันทีว่า วิกฤติเศรษฐกิจที่ใช้เงินเกินตัวจนกินตัวและฉุดเราล่มสลาย คงได้เห็นประชาชนเป็นหนี้เป็นสินล้นพ้นตัว ตกงาน และสังคมทรามตกต่ำเพราะภาวะเศรษฐกิจ บ้านเมืองจะวุ่นวายขายปลาช่อน แต่นักการเมืองอยู่รอดปลอดภัย โดยเฉพาะตระกูลชินวัตรยังเสวยสุขบนกองเลือดและน้ำตาของประชาชนต่อไป ไม่แคล้วระเบิดเวลาอารมณ์ของคนไทยจะปะทุอีกครั้งและมองไปข้างหน้าไม่พ้นภาพที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ วาดไว้ให้ นสพ.บางกอกโพสต์ได้บันทึกบนหน้าหนึ่งฉบับก่อนปีใหม่ไม่กี่วันว่า "ถ้านายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ยังขืนเดินตามรอยเท้าพี่ชายไม่แคล้วเธอคงเป็นอีกคนที่จะไม่มีแผ่นดินอยู่"
          ข่าวแบบนี้หาอ่านได้ยากเย็น ท่ามกลางข่าวฉายาและ ผลโพลล์ที่ลวงตาและหวานเจี๊ยบเจื้อยแจ้วจนชายกระโปรงนารี ชุ่มฉ่ำ.ลาทีปีมะโรง สวัสดีปีมะเส็งที่โลกออนไลน์เปรียบเป็นปีมะเส็งเคร็งของรัฐบาลงูจังอีโป้.สวัสดีปีใหม่คะ
          แนวโน้มว่าประชานิยมทั้ง โครงการจำนำข้าวและรถคันแรกจะพาเราย่อยยับ มากกว่าฉุดให้เราเติบโต เมื่อเงินงบประมาณ จำนวนมากมายถูกสาดลงไปไม่ยั้ง เพียงเพื่อต้องการผลลัพธ์ทางการเมือง--จบ--

.....แนวหน้า
ป๋าชี้อยู่ร่วมกันได้ แตกต่าง ไม่ใช่แตกแยก

          ปูเปิดใจ-เสถียรภาพปีหน้า มติปชป.ส่งสุขุมพันธุ์ชิงผู้ว่า อภิสิทธิ์-กรณ์งดออกเสียง
          เปิดบ้าน - พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เปิดบ้านสี่เสาเทเวศร์ ให้พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม นำผบ.เหล่าทัพและผบ.ตร.เข้าขอพรเนื่องในวันปีใหม่เมื่อวันที่27ธ.ค.
          ป๋าเปิดบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ ให้บิ๊กทหารเข้าขอพรปีใหม่ ย้ำคิดต่างกันได้แต่ต้องไม่ใช่ความแตกแยก วอนให้เริ่มกันด้วยความรัก ความสามัคคี และให้อภัยกัน นายกฯปู ให้สัมภาษณ์พิเศษข่าวสด-เครือมติชนมั่นใจปีหน้ารัฐบาลยังมีเสถียรภาพปึ้ก เพราะมาจากประชาชน ยืนยันทำงานให้คนทั้งประเทศ ไม่ใช่คนใดคนหนึ่ง ลั่นไม่ท้อถอยที่จะสร้างความปรองดอง ส่วนการแก้รัฐธรรมนูญนั้นดำเนินการแน่ อยู่ที่ว่าจะใช้วิธีการใดเท่านั้น ด้านประชาธิปัตย์เคาะแล้วมติ9ต่อ6ส่งชายหมูชิงผู้ว่าฯกทม.อีกสมัย
          ปูให้สัมภาษณ์พิเศษข่าวสด
          น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์พิเศษในเครือข่าวสด-มติชน ถึงเสถียร ภาพการเมืองในปี 2556 ว่า มั่นใจเพราะเราถือว่ามาโดยระบอบประชาธิปไตย ซึ่งหวังว่าจะได้ทำงานอย่างเต็มที่ และพิสูจน์กันด้วยวิถีทางประชาธิปไตย ส่วนจะอยู่ครบเทอม 4 ปีหรือไม่นั้น เราจะทำงานอย่างเต็มที่แล้วให้ประชาชนตัดสินว่าจะให้โอกาสเราทำงานแค่ไหน รัฐบาลพยายามจะสร้างบรรยากาศให้เกิดความสงบ ความสามัคคีปรองดอง จะเห็นว่าพอความขัดแย้งการเมืองลดลงจากปีที่ผ่านต่างชาติก็มีความมั่นใจในเรื่องเศรษฐกิจมากขึ้น
          เมื่อถามว่ารัฐบาลจะก้าวข้ามพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้อย่างไร นายกฯ กล่าวว่า ปัญหาการ เมืองเกิดจากความขัดแย้ง การจะให้คนที่มีความเห็นไม่ตรงกันมาตรงกันในวันเดียวมันไม่ได้ ต้องใช้เวลาปรับจูนกัน ต้องทำความเข้าใจในเนื้อหาให้ชัดเจน เมื่อทุกคนสบายใจเราจะค่อยๆก้าวเดินด้วยความมั่นคงความขัดแย้งจะลดลง
          เมื่อถามว่าหนักใจหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า เป็นหน้าที่และเป็นสิ่งที่ยาก แต่เราต้องไม่ย่อท้อ ซึ่งคนไทยทุกคนอยากเห็นประเทศมีทางออก ส่วนความขัดแย้งทางความคิดนั้น ขอให้เปลี่ยนมาเป็นความคิดเห็นที่ต่างบนวิถีทางประชาธิปไตย อย่าขัดแย้งจนเกิดความรุนแรงหรือนอกเหนือกฎหมาย
          ยันแก้แน่รธน.-แต้ต้องหาวิธี
          เมื่อถามว่าการสร้างความปรองดองเป็นเรื่องเร่งด่วนของรัฐบาลใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า การแก้รัฐธรรมนูญเป็นหนึ่งในนโยบายรัฐบาล แต่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำแนะนำในเรื่องการทำประชา มติก่อนลงวาระ 3 หรือการแก้ไขรายมาตรา เราจึงต้องช่วยกันหาทางออก วันนี้เราอยู่ในกลไกที่รับฟังทุกทางออก รัฐบาลจะเป็นตัวกลางระดมความคิดการมีส่วนร่วมครั้งนี้ให้ตกผลึกในสังคม
          "วันนี้เราจะคุยกันในแง่ของวิธีการ อาจจะใช้วิธีโหวตวาระ 3 วิธีทำประชามติ วิธีแก้รายมาตรา จึงต้องคุยกันให้ชัดเจน คนจะได้ไม่คลางแคลงใจ และจริงๆ แล้วตัวเนื้อหาการแก้รัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องของรัฐสภา รัฐบาลมีหน้าที่บริหารประเทศให้เดินไปได้ และเราไม่ได้บอกรัฐสภาให้เดินอย่างไร แต่เราจะบอกประชาชนถึงขบวนการมีส่วนร่วมมากกว่า แต่การตัดสินใจอย่างไรเป็นเรื่องของรัฐสภา เราถือว่าเราแยกบทบาทกันชัดเจน" นายกฯ กล่าว
          ต่อข้อถามว่ารัฐบาลจะเดินหน้าทำประชามติหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ขณะนี้เรามอบให้คณะทำงานไปศึกษาทางออกอยู่ เพื่อให้เกิดการยอมรับของประชาชน ซึ่งอาจจะไม่ใช่ข้อกฎหมายก็ได้ เพื่อเสนอกลับไปที่รัฐสภา สิ่งที่เราอยากเห็นคือประชาชนต้องการอะไร กลไกอะไรที่ทำให้เกิดการยอมรับมากกว่า ไม่เช่นนั้นมันไม่มีข้อสรุป เราจะถามประชาชนว่าวิธีไหนที่คนไทยทั้งประเทศคิดว่าเป็นวิธีที่เรายอมรับร่วมกัน เราจะได้เสนอทางออกนั้น
          ไม่แทงกั๊ก-สับขาหลอกแดง
          เมื่อถามว่าแสดงว่าอาจจะไม่ใช้วิธีการทำประชามติ นายกฯ กล่าวว่า อาจเป็นประชาเสวนา วิธีทำโพล วิธีทำประชามติ วิธีไหนก็ได้ที่สังคมยอมรับ ส่วนที่พรรคร่วมรัฐบาลเห็นด้วยกับการทำประชามติแล้วนั้น นายกฯ กล่าวว่า พรรคร่วมรัฐบาลเสนอมา 2 ทาง คือ เห็นด้วยกับการทำประชามติ หรือการแก้รายมาตรา ซึ่งเปิดทางออกไว้ แต่ไม่มีข้อว่าเราจะไปอย่างไร เราจึงควรคุยกันว่าเนื้อหาที่จะแก้ เราแก้รายมาตราตอบโจทย์ได้หรือไม่ และสภาเอาด้วยหรือไม่ เพราะคนที่โหวตคือส.ส.ที่มาจากตัวแทนประชาชนทั้งประเทศ
          เมื่อถามว่าคนเสื้อแดงต้องการให้รัฐบาลลงมติวาระ 3 เพื่อแก้รัฐธรรมนูญไปเลย น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ต้องพูดคุยกัน ตนให้คณะทำงานไปพูดคุย เพราะเราต้องฟังทุกทางเลือก แล้วคุยกันค่อยๆ หาวิธีให้เหลือทางเลือกสุดท้าย ซึ่งรัฐบาลไม่ได้ตีเส้นทั้งเรื่องวิธีการและเงื่อนเวลา แต่ตีเส้นอย่างเดียวคือความสามัคคีที่เราต้องเห็นพร้อมกัน ต่อข้อถามว่าเหมือนรัฐบาลจะแทงกั๊ก แม้กระทั่งกับคนเสื้อแดง นายกฯ กล่าวว่า ไม่ได้แทงกั๊ก และไม่ได้สับขาหลอก เพราะเราก็ไม่รู้คำตอบ คนที่โหวตทั้งหมดคือประชาชน รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของประชาชน ทุกคนควรมีส่วนร่วมถ้ามีส่วนร่วมแค่นิดเดียวก็ไม่ใช่ฉบับของประชาชน
          เมื่อถามว่ารัฐบาลเล่นหลายขามากเกินไปหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาประชุมกันตลอดว่าให้ทำประชามติ นายกฯ กล่าวว่า จะทำประชามติเรื่องอะไรก็ยังไม่ตกผลึกเลย ต่อข้อถามว่าจะถามว่าแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า วันนี้คนเสื้อแดงมีจุดยืน ฝ่ายค้านก็มีจุดยืน พรรคการเมืองก็มีจุดยืน ประชาชนและนักวิชาการก็มี ดังนั้น อะไรที่เขาเรียกว่าเป็นส่วนรวมมากที่สุด เราควรจะเสนออย่างนั้น ซึ่งตอนนี้อยู่ในขั้นตอนรวบรวมข้อมูล ถ้ารวบรวมข้อมูลแล้วทุกคนคิดว่าประชามติดีที่สุด เราก็เสนอประชามติ แต่ก็อยู่ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รัฐสภา วุฒิสภาด้วยไม่ใช่รัฐบาลคนเดียว
          ย้ำทำเพื่อประชาชนไม่ใช่พี่ชาย
          ผู้สื่อข่าวถามว่าชื่อของพ.ต.ท.ทักษิณ แทรกเป็นปมปัญหามาตลอด ทำอย่างไรถึงจะก้าวข้ามหรือลดแรงเสียดทานลงได้ โดยเฉพาะฝ่ายที่เห็นต่าง นายกฯ กล่าวว่า เราต้องคุยกันให้เนื้อหามีความชัดเจน ระบุประโยชน์ของประชาชนให้ชัด ก็จะเห็นถึงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนว่ารัฐบาลต้องการเห็นการขับเคลื่อน และประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนเป็นที่ตั้ง
          "หนังยังไม่ทันฉาย เราจะบอกว่าตอนจบเป็นอย่างไรคงไม่ได้ ขอให้หนังท่อนกลางได้ฉายก่อนเพื่อให้ผู้ชมได้ดูตั้งแต่ต้นก่อนแล้วค่อยบอกว่าตอนจบเป็นอย่างไร"นายกฯ กล่าว
          เมื่อถามว่ายืนยันว่ารัฐบาลไม่ได้ทำเพื่อพ.ต.ท. ทักษิณ นายกฯ กล่าวว่า รัฐบาลมีหน้าที่ทำงานเพื่อประชาชนและคนไทยทั้งประเทศ ดูเรื่องของส่วนรวมเป็นที่ตั้งซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญรัฐบาลไม่ได้กำหนดกรอบเวลาแต่คณะทำงานสามารถเสนอเรื่องต่อครม.ได้ทันที
          ต่อข้อถามว่าปัญหามือที่มองไม่เห็นที่เคยสร้างปัญหาไว้กับรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ นายกฯ กล่าวว่า วันนี้มีแต่สองมือเท่านั้น เรามีหน้าที่ทำงาน เชื่อว่าประชาชนจะมองเห็น และตนไม่ห่วง ไม่ว่าจะเป็นการเมืองหรือเศรษฐกิจ เรามีหน้าที่ต้องทำงานต่อไปให้ดีที่สุด ส่วนปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น ก็เดินหน้าต่ออย่างเข้มข้น โดยจะลงในรายละเอียด ปิดช่องว่างขั้นตอนต่างๆของหน่วยงานโดยใช้ระบบไอที หรือคอมพิวเตอร์เข้ามาตรวจ เพื่อลดการซ้ำซ้อนปิดช่องว่างการทุจริตให้มากที่สุดอย่างไรก็ตามรัฐบาลพร้อมรับการตรวจสอบ
          ป๋าให้พร-ชี้แตกต่างไม่แตกแยก
          ที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม นำผบ.เหล่าทัพ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และผบ.ตร. เข้าขอพรวันปีใหม่จาก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เพื่อเป็นมิ่งขวัญกำลังใจแก่เหล่าข้าราชการทหารและตำรวจ ทั้งนี้ พล.อ.เปรมกล่าวอวยพรพร้อมให้โอวาทแก่คณะทหารว่า ตนภูมิใจมากที่กองทัพยังให้ความเมตตาเข้ามาอวยพรทุกปี นี่คือสิ่งที่ตนไม่สามารถถอดชีวิตจิตใจออกจากความเป็นทหารได้ เมื่อกองทัพได้รับคำชมเชย ตนก็พลอยได้หน้าไปด้วย แต่เมื่อกองทัพโดนเจ็บๆ หนักๆ ตนก็เจ็บด้วย วันนี้ขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับชาติบ้านเมือง แต่ไม่เกี่ยวกับการ เมือง วันนี้เราคงมองเห็นว่าคนไทยแตกแยกกันและแบ่งฝ่าย ที่จริงต้องมองให้ลึกลงไปมากกว่านั้นว่าเราไม่ได้แตกแยกกัน เรามีความคิดแตกต่างแต่เราไม่มีความคิดแตกแยกกัน
          "ถ้าเราเอาสัญญาประชาคมของกองทัพบกที่ว่า เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มาคิดใคร่ครวญดูว่าถ้าเรานึกถึงเรื่องดังกล่าว ความแตกต่างก็แตกต่างกันไป เราอาจจะพูดได้ว่าเรามีความคิด ความเชื่อที่แตกต่างกันอย่างฉันมิตรก็ไม่เสียหายอะไร เพราะถ้าเห็นบ้านเมืองแตกแยกกันก็จะเป็นอุปสรรคต่อการรักชาติของคนไทยด้วยกัน ถ้าเราเห็นความแตกต่างด้วยความเป็นมิตรกัน บ้านเมืองจะอยู่เย็นเป็นสุข ที่แย่ไปกว่านั้นบางคนเห็นว่าคนที่เห็นแตกต่างเป็นคนผิด เป็นคนไม่ดี นี่เป็นอุปสรรคต่อความรักความสามัคคีของคนในชาติเดียวกัน หากเรามุ่งไปที่ชาติเป็นใหญ่ เรื่องความแตกต่างก็จะเป็นเรื่องที่อยู่ร่วมกันได้"ประธานองคมนตรีกล่าว
          ให้เริ่มที่ความรัก-สามัคคี-อภัย
          พล.อ.เปรมกล่าวว่า อีกเรื่องหนึ่งที่อยากพูดคือเรื่องขวัญและกำลังใจคนในชาติเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเราเกิดขวัญเสียกำลังใจพอดี เราก็จะทำงานได้ลำบาก แต่ถ้าเรามีขวัญกำลังใจดีเหมือนที่ พล.อ.อ. สุกำพลกำลังบำรุงขวัญกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้สูงขึ้น เราจะได้ผู้ที่มีพลังต่อสู้เพื่อชาติบ้านเมืองได้ เรื่องนี้ไม่ต้องพูด เพราะพล.อ.อ.สุกำพลเป็นทหารมาแต่เล็กแต่น้อยและเดี๋ยวนี้ยังเป็นทหารอยู่ ถึงแม้จะเป็นรัฐมนตรีก็เป็นทหาร ทั้งนี้ วิธีการสร้างขวัญกำลังใจมีหลายวิธี วิธีที่ดีที่สุดคือสร้างความศรัทธาให้เกิดขึ้นในชาติบ้านเมือง และกองทัพน่าจะเป็นตัวอย่างในเรื่องนี้ว่ากองทัพจะดูแลชาติบ้านเมืองไว้ได้ ไม่มีที่จะทำไม่ได้ พูดแบบนี้คนในชาติก็จะมีกำลังใจ ทหารก็มีกำลังใจ ถ้าเรามีกำลังใจแล้วชาติบ้านเมืองก็จะเหมือนคนแข็งแรง ไม่มีโรคภัย
          พล.อ.เปรมกล่าวให้พรปีใหม่ว่า ในสถาน การณ์บ้านเมืองขณะนี้ขอให้ถือเอาวันปีใหม่เป็นวันที่เราจะเพิ่มความรักความสามัคคีให้ชาติบ้านเมือง ด้วยการให้อภัยซึ่งกันและกัน และช่วยกันรักชาติบ้านเมือง ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระสยาม เทวาธิราชปกป้องชาติบ้านเมืองและคนไทยให้มีแต่ความคิดที่ดีปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีเพื่อให้ความดีในชาติบ้านเมืองเกิดขึ้นเพื่อให้เกิดความสงบสุข
          บิ๊กโอ๋ปลื้มพรป๋า-ให้เป็นมิตร
          ด้านพล.อ.อ.สุกำพลให้สัมภาษณ์ภายหลังเข้าขอรับพรปีใหม่ว่า สิ่งที่พล.อ.เปรมแสดงความเห็นส่วนตัวก็ตรงกับที่พวกเราได้ทำวันนี้ กองทัพเราต้องทำตัวเป็นหนึ่งเดียวกันก่อน แต่ที่อยู่ด้วยกันมา 1 ปี ถือว่าเรามีความเป็นหนึ่งเดียวกันอยู่แล้ว จะเห็นว่าไปไหนก็ไปด้วยกัน เพียงแต่ต้องยืนเพื่อรักษาแชมป์ให้ได้ ส่วนเรื่องการเมืองก็เป็นเรื่องของการเมือง เราจะไม่ไปยุ่งเกี่ยว จะเป็นกองทัพอย่างที่พล.อ.เปรมระบุว่าเป็นกองทัพของชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน หากสังคมเห็นว่ากองทัพเป็นของประชาชนจริงๆ แล้วทุกอย่างจะโอเค ทั้งนี้ พล.อ.เปรมพูดได้น่าคิดและดียิ่งว่า ความเห็นที่แตกต่างเป็นไปได้ แต่ต้องเป็นมิตรกัน ซึ่งวันนี้บางครั้งเราไม่เป็นมิตรกัน ดังนั้น กองทัพต้องเป็นตัวอย่างก่อนว่ากองทัพต้องเป็นของรัฐบาลและประชาชน ไม่ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แม้ทหารจะมีเห็นซ้ายเห็นขวาบ้าง แต่ต้องเป็นไปตามที่พล.อ.เปรมพูด
          รมว.กลาโหมกล่าวว่า ส่วนเรื่องขวัญกำลังใจนั้น วันนี้ผบ.เหล่าทัพมีขวัญกำลังใจดี เพราะตนเป็นคนพูดตรงๆ ไม่มีซ่อนเงื่อน ส่วนระดับนายทหารชั้นประทวน เราจะให้ขวัญกำลังใจ และจะให้เป็นนายทหารตามคุณความดีที่ทำมา ยืนยันว่าตอนนี้กองทัพมีขวัญกำลังใจดี ส่วนที่สื่อมวลชนตั้งฉายาตนว่าตามล่าหน้าหล่อนั้นความจริงต้องตั้งว่าตามล่าหาความจริงเพราะความจริงก็คือความจริง
          ผบ.เหล่าทัพตบเท้าขอพรโอ๋
          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้เวลา 08.30 น. ที่สโมสรกองทัพบก เทเวศร์ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ปลัดกระทรวงกลาโหม นำผบ.เหล่าทัพและผบ.ตร. พร้อมด้วยข้าราชการทหารจากกระทรวงกลาโหม และ 4 เหล่าทัพ เข้าอวยพรและขอรับพรจากพล.อ.อ.สุกำพล เนื่องในโอกาสปีใหม่
          พล.อ.อ.สุกำพลกล่าวให้พรปีใหม่ พร้อมระบุการทำงานร่วมกับผบ.เหล่าทัพมาเกือบ 1 ปี ได้ทบทวนตัวเอง ถือว่ามีบุญที่มีพี่น้องดีๆ และร่วมมือกัน ไม่มีนโยบายที่พูดคุยกันแล้วน้องไม่ทำ ขอให้เป็นอย่างนี้ตลอดไป ตนเป็นคนฟังน้องทุกคนและฟังเหตุผล คนเรารักกันต้องเตือนกันและพูดคุยกันจะดีที่สุด ถ้าตอบ เยส อย่างเดียวคงไม่ถูก ตนจะฟังคนที่เตือนตน และให้ความเห็น เหตุผล ซึ่งปีที่ผ่านมาเราเข้าใจกันมากขึ้น ดังนั้นปีต่อไปจะต้องทำกระทรวงกลาโหมดีขึ้นเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
          บิ๊กตู่อยากให้ทำตามที่ป๋าแนะ
          ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ให้สัมภาษณ์ว่า พล.อ.เปรมระบุว่า เรื่องการมีความคิดเห็นที่แตกต่างไม่เป็นไร แต่อย่านำความเห็นที่แตกต่างนั้นมาเป็นความขัดแย้งของคนในชาติ ซึ่งเราต้องช่วยกันทำ ตนในฐานะทหารก็เอาใจช่วยในการทำให้ประเทศชาติปลอดภัย และทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ทั้งนี้ การปกป้องประเทศชาตินั้น ไม่ใช่เฉพาะการนำอาวุธออกมาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องปกป้องด้วยการประพฤติและปฏิบัติดี ไม่นำความขัดแย้งไปขยายและไม่ทำให้ประชาชนเกิดความแตกแยก
          "เหตุการณ์ต่างๆ ล้วนมีบทเรียน อย่านำเรื่องใหม่มาพันกับเรื่องเก่า หรือนำเรื่องเก่ามาพันกับเรื่องใหม่ ไม่เช่นนั้นจะก้าวไปข้างหน้าไม่ได้ ผมอยากให้ทุกคนนำแนวทางของพล.อ.เปรม เรื่องการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความเห็นต่าง ซึ่งคำว่าการอยู่ร่วมกัน ไม่ใช่การรบราฆ่าฟัน อีกทั้งนำแนวทางพระราชดำรัสที่ทรงรับสั่งเมื่อวันที่ 5 ธ.ค. ที่ผ่านมา เรื่องคุณธรรม หากทุกคนมีคุณธรรมจะทำให้บ้านเมืองเกิดความเรียบร้อย เพราะคุณธรรมคือความดีงามที่อยู่ในจิตใจของมนุษย์ทุกคนต้องรู้ว่าอะไรดีหรือไม่ดี อะไรผิดหรือถูก และจะต้องปลูกฝังคุณธรรม หากมีคุณธรรม จริยธรรมก็จะตามมา สองคำนี้แยกกันไม่ออกเพราะจริยธรรมคือกรอบความดีงามที่กำหนดไว้"พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
          เผยปูลาพักผ่อนกับครอบครัว
          เวลา 15.35 น. ที่ ขส.ทบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางกลับจากปฏิบัติภารกิจที่ จ.เชียงใหม่ ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ใดๆ
          เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงพรรคประชาธิปัตย์ มีมติส่งม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ลงสมัครผู้ว่าฯกทม.อีกสมัย โดยนายกฯ หันมายิ้ม แต่ไม่ตอบคำถาม และเมื่อถามถึงฉายา "ปูกรรเชียง" ของสื่อทำเนียบ น.ส.นิ่งลักษณ์ก็ไม่ตอบเช่นกันโดยได้แต่ยิ้มและกล่าวก่อนขึ้นรถเพียงว่า "สวัสดีปีใหม่นะคะ"
          รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่า ในช่วงเทศกาลวันหยุดส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์จะใช้ช่วงเวลาวันที่ 28-30 ธ.ค. ไปพักผ่อนกับครอบครัวเป็นการส่วนตัวที่เกาะฮ่องกง ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีกำหนดเดินทางตั้งแต่คืนวันที่ 27 ธ.ค. โดยในวันที่ 28 ธ.ค. ซึ่งเป็นวันทำงานวันสุดท้ายของปี น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ทำหนังสือแจ้งลาอย่างเป็นทางการต่อเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแล้ว ทั้งนี้ ในวาระงานของทำเนียบรัฐบาล ก็ไม่ได้แจ้งวาระงานของนายกรัฐมนตรีมีเพียงวาระงานของนายกิตติรัตน์ณระนองรองนายกฯเท่านั้น
          รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเผยว่า เช้าวันเดียวกันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้มอบหมายตัวแทนนำจดหมายอวยพรปีใหม่ในนามของตนไปมอบให้พล.อ.เปรม เนื้อหาเป็นการขอพรเนื่องในเทศกาลปีใหม่ และขอประทานโทษที่ไม่ได้ไปอวยพรด้วยตัวเอง เนื่องจากติดภารกิจที่ จ.เชียงใหม่
          พท.ยัน 10 ม.ค.ชัดเจนผู้ว่าฯกทม.
          ด้านนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์กรณีสื่อมวลชนทำเนียบรัฐบาลตั้งฉายา "สิงห์สำรอง" ว่า ไม่มีคอมเมนต์ เพราะสื่อก็ตั้งฉายาเป็นประจำทุกปีส่วนฉายาที่ตั้งให้ตนนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนต่างคิดกันได้
          นายจารุพงศ์กล่าวถึงพรรคประชาธิปัตย์มีมติส่งม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ลงชิงผู้ว่าฯ กทม. อีกครั้งว่า เป็นไปตามที่คาดไว้ ในส่วนของพรรคเพื่อไทยนั้นหลังวันที่10ม.ค.2556ถึงจะมีความชัดเจนในเรื่องการประกาศตัวบุคคลที่จะลงสมัครผู้ว่าฯกทม.
          เมื่อถามว่าที่ประกาศตัวช้า เพราะยังมีปัญหาเรื่องตัวบุคคล นายจารุพงศ์กล่าวว่า แล้วแต่ใครจะคิด พรรคเพื่อไทยมีความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งเราประชุมกันทุกสัปดาห์ ยืนยันว่าพรรคมีความพร้อมส่งบุคคลลงสมัครผู้ว่าฯ กทม. แต่เรื่องแบบนี้ต้องรอจังหวะการประกาศเท่านั้น
          ณัฐวุฒิไม่ซีเรียสฉายาไพร่เทียม
          นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ กล่าวถึงสื่อมวลชนทำเนียบตั้งฉายา "ไพร่เทียม" ว่า เป็นสีสัน และเป็นเรื่องปกติที่สื่อทำงานมา 1 ปี แล้ววิจารณ์ ตนเคารพสิทธิเสรีภาพ ไม่ซีเรียส ส่วนแง่มุมที่วิจารณ์จะตรงกับข้อเท็จจริงมากน้อยแค่ไหน คิดว่าตนยังมีเวลาพอที่จะพิสูจน์ตัวเองได้ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะไหน เชื่อว่าประชาชนที่ติดตามมีดุลพินิจไตร่ตรอง แต่มีบางประเด็นที่เห็นว่าน่าจะทำให้เกิดความชัดเจน เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันคือกรณีตนได้เป็นรัฐมนตรีแล้วทำให้นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช.พลาดจากตำแหน่ง อันนี้ไม่เป็นข้อเท็จจริง อาจเกิดความสับสนได้ ตลอดเวลา ตนและนายจตุพร ยืนเคียงข้างและอยู่ในสถานะเดียวกันในทุกเรื่อง การถูกแต่งตั้งนั้นเราต่างอยู่ในสถานะผู้ถูกเลือก จึงเคารพผู้มีอำนาจตัดสิน
          นายณัฐวุฒิกล่าวว่า ส่วนฉายารัฐบาล "พี่คนแรก" ก็เป็นมุมมองของสื่อ แต่ยืนยันได้ว่าในฐานะรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะต้องรับผิดชอบต่อประชาชนทั้งประเทศ เป็นไปไม่ได้ที่จะทำเพื่อคนคนเดียว แต่อาจเกิดขึ้นต่อเมื่อรัฐบาลที่มาจากรัฐ ประหาร ที่ผ่านมาผลสำรวจจากประชาชนสะท้อนผลการทำงานรัฐบาลน่าจะอธิบายได้อย่างดี
          ปชป.บี้จำนำข้าว-เต้นโต้กลับ
          ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภา คนที่ 2 ทำหน้าที่ประธาน ที่ประชุมพิจารณากระทู้ถามสดของ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ที่ถามนายกฯ เรื่องการระบายข้าวแบบจีทูจีว่า เรื่องนี้เคยถูกฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้ว โดยปกติรัฐมนตรีคนไหนไม่สามารถชี้แจงได้ถือว่าตายคาสภา ดังนั้น นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ ซึ่งนายกฯมอบให้ชี้แจงแทนนั้น ก็ถูกแบกศพออกนอกสภาเรียบร้อยแล้ว และจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการชี้แจง จึงขอถามว่าขณะนี้รัฐบาลและนายบุญทรง ที่ถูกกล่าวหาว่าทุจริต พัวพันกับกระบวนการฟอกเงินนั้น จะชี้แจงอย่างไร ส่วนที่รัฐบาลบอกว่าจะตรวจสอบย้อนหลังไป 3 ปีนั้น ขอท้าให้ตรวจสอบย้อนหลังไป 4 ปี ซึ่งตรงกับรัฐบาลพรรคพลังประชาชนด้วย
          นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ ชี้แจงว่า หลังจากตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบในเรื่องนี้ย้อนหลังไป 3 ปี รวมถึงการระบายข้าวของรัฐบาลชุดที่ผ่านมาก็มีความคืบหน้า ซึ่งคณะกรรมการได้นำเสนอรายงานเบื้องต้นต่อนายบุญทรงแล้ว แต่กรณีนี้มีหลายรายละเอียดที่ต้องติดตามตรวจสอบเพิ่มเติมให้เกิดความชัดเจนก่อน ดังนั้น รมว.พาณิชย์ จึงระบุว่าจะแถลงผลการตรวจสอบได้ในต้นเดือนม.ค. 2556 ส่วนประเด็นการซื้อขายข้าวนั้น รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ และตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ โดยไม่มีอะไรแตกต่างจากรัฐบาลชุดที่แล้วที่ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบในเรื่องการระบายข้าว และขณะนี้เรื่องก็อยู่ที่ป.ป.ช.เช่นกัน ยืนยันว่ารัฐมนตรีมีความมั่นใจเช่นกันว่าจะชี้แจงได้ และฝ่ายค้านจะมาถือเอาการอภิปรายเป็นข้อสรุปไม่ได้และการตรวจสอบขณะนี้กำลังเดินหน้าอยู่
          พท.บี้กทม.เยียวยาน้ำท่วมอืด
          จากนั้น นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย ตั้งกระทู้ถามสดถึงแนวทางแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี 2554 ว่า รัฐบาลอนุมัติเงินเยียวยาน้ำท่วมให้แก่จังหวัดต่างๆ จบแล้วใช่หรือไม่ และการที่ส.ก.ขอยื่นญัตติในสภากรุงเทพมหานคร เพื่อขออนุมัติเงินช่วยเหลือประชาชน สรุปว่าการช่วยเหลือเยียวยาน้ำท่วมคนกทม.เป็นของกทม.หรือของรัฐบาล ทั้งนี้ ยังพบว่าในบางพื้นที่ของกทม.ที่เสียหายเหมือนกัน แต่ได้รับการเยียวยาไม่เท่ากัน และแอบอ้างชื่อไปรับเงิน จึงเกิดคำถามว่ากทม.ส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจจริงหรือไม่ เพราะมีปัญหาการร้องเรียนมาแทบทุกเขตว่าไม่ได้รับเงิน เมื่อทวงถามทางกทม.ก็บอกว่ารัฐบาลยังไม่อนุมัติเงินมา และเงินงวดสุดท้าย 1,142 ล้านบาท สรุปเป็นเงินของใครที่กทม.นำมาจ่ายเยียวยา
          ด้านนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯและรมว.ต่างประเทศ ชี้แจงว่า การเยียวยาน้ำท่วมในพื้นที่กทม. ครม.อนุมัติเงินงวดสุดท้ายให้กทม.เรียบร้อยแล้ว ทั้งหมดรวม 3,108 ล้านบาท ส่วนการจ่ายเงินเยียวยาก็เป็นหน้าที่ของกทม. ส่วนที่มีการแอบอ้างชื่อแสดงให้เห็นว่ากทม.ไม่ได้ตรวจสอบข้อมูลที่แท้จริงและจ่ายเงินแบบไม่มีประ สิทธิภาพเป็นเหตุให้เงินเยียวยาไม่เพียงพอ กทม.ต้องพูดความจริงว่าเอาเงินไปใช้อย่างไรบ้างและสภากทม.ต้องชี้แจงในประเด็นนี้ และกรณีแผนจัดการน้ำท่วม รัฐบาลจะเข้าไปก้าวก่ายการทำงานของกทม.มากไม่ได้ รัฐบาลจึงอยากให้ประชาชนช่วยตรวจสอบผู้บริหารของกทม.ด้วย ส่วนการลอกท่อ รัฐบาลและกรมราชทัณฑ์ก็ให้การสนับสนุน แต่การลอกคูคลองมีปัญหาเรื่องสิ่งก่อสร้างที่กีดขวาง ซึ่งรัฐบาลไม่ได้นิ่งดูดายอยากขอให้กทม.ช่วยชี้แจงให้ประชาชนทราบด้วย
          อ๋อยย้ำให้แก้รธน.โดยใช้ส.ส.ร.
          วันเดียวกัน นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ให้สัมภาษณ์ถึงรัฐบาลและพรรคเพื่อไทยยังไม่ได้ข้อสรุปการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เป็นธรรมดา เนื่องจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่คลุมเครือ จึงเกิดปัญหา เมื่อความเห็นไม่ตรงกันคงต้องใช้เวลาสั้นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและหาทางออกที่ดีที่สุด หรือหากจะเสียหายก็ต้องเสียหายน้อยที่สุด ส่วนตัวมองว่าต้องตั้งหลักก่อนว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีเนื้อหาที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และขัดหลักนิติธรรมในหลายมุม ถ้าไม่แก้ให้เป็นประชาธิปไตยจะเกิดวิกฤตรุนแรงยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องแก้ให้ได้และแก้ในหลายเรื่อง แต่ไม่ควรแก้รายมาตรา เพราะที่ผ่านมาแก้เพียงมาตราเดียวยังใช้เวลาหลายเดือนและต้องทำผ่านรัฐสภา ซึ่งจะถูกกล่าวหาว่าทำเพื่อตัวเองได้ ดังนั้น จำเป็นต้อง มีส.ส.ร.ที่มาจากประชาชนเข้ามาแก้ไข จึงควรตั้งธงการแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยผ่านส.ส.ร.
          นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ส่วนการทำประชามตินั้น ตนมองว่าค่อนข้างซับซ้อนและอาจไม่มีข้อยุติ เพราะไม่มีบทบัญญัตติตามรัฐธรรมนูญรองรับ นอกจากนั้นการลงมติตามมาตรา 165 ต้องใช้เสียงมากเป็นพิเศษ แตกต่างจากการลงมติผ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ดังนั้น ถ้าทำประชามติเพื่อขอคำปรึกษาก็ใช้เพียงเสียงข้างมากเท่านั้น แต่จะมีปัญหาว่าใครจะเป็นผู้ขอทำ ถ้ารัฐบาลขอทำจะเป็นการก้าวก่ายฝ่ายนิติบัญญัติหรือไม่ ดังนั้น การทำประชามติไม่ใช่เรื่องง่าย ที่สำคัญมีความเสี่ยงสูงมากที่เสียงจะไม่ถึง และทำให้แก้รัฐธรรม นูญไม่ได้อีกเลย เท่าที่ดูก็เหลือทางเดียวคือการเดินหน้าลงมติวาระ 3 หากไปเจอปัญหาข้างหน้าก็ตามไปแก้กัน หากเสียงไม่พอก็ยังตั้งหลักใหม่ได้ และเกิดความเสียหายน้อยว่าการลงมติตามมาตรา 165
          นายจาตุรนต์ กล่าวว่า ตนได้เสนอแนวทางเดินหน้าลงมติวาระ 3 ต่อที่ประชุมพรรค ซึ่งส.ส. ส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมประชุมเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.ต่างก็ไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติ อย่างไรก็ตาม การใช้เวลาตัดสินให้รอบคอบ ถือเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเป็นเรื่องซับซ้อน แต่การใช้เวลาย่อมมีขีดจำกัด เพราะเรื่องล่วงเลยมานานแล้วต้องเร่งหาข้อสรุปให้ได้ในแนวทางใดทางหนึ่ง
          มติปชป.ส่งชายหมูลงผู้ว่าฯอีก
          เวลา 10.30 น. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เรียกประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคทั้ง 19 คน เพื่อพิจารณารายชื่อบุคคลทั้ง 4 คน ที่เสนอตัวลงสมัครผู้ว่าฯ กทม. ที่คณะกรรมการคัดเลือก ที่มีนายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นประธาน พิจารณาเสร็จแล้ว โดยใช้เวลาพิจารณานานกว่า4ชั่วโมง
          ภายหลังการประชุม นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ว่า คณะกรรมการบริหารพรรค มีมติเสียงข้างมากเลือกม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. เป็นตัวแทนของพรรค ลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. โดยพิจารณาจากรายชื่อผู้สมัครทั้ง 4 คน ที่คณะกรรมการคัดเลือกเสนอมา และมีกรรมการบริหารพรรคเสนอชื่อของนายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคให้ที่ประชุมร่วมพิจารณา
          ให้อภิรักษ์เป็นผอ.เลือกตั้งสู้ศึก
          นายชวนนท์กล่าวว่า สาเหตุที่เลือกม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เนื่องจากตลอดการทำงาน 4 ปีที่ผ่านมามีผลงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม และเชื่อมั่นว่าแนวนโยบายที่ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์วางไว้จะเอาชนะใจคน กทม.ได้ ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบให้นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน รองหัวหน้าพรรค เป็นผอ.เลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. ในการกำหนดยุทธศาสตร์ร่วมกัน คาดว่าในเร็วๆ นี้ นายอภิสิทธิ์ จะเชิญม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ นายอภิรักษ์ และนายกรณ์ มาร่วมหารือ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน คาดว่าภายใน 1-2 วันนี้ จะมีความคืบหน้าเรื่องการหาเสียง โดยวันที่ 28 ธ.ค. นายอภิสิทธิ์ จะแถลงข่าวร่วมกับม.ร.ว.สุขุมพันธุ์
          "กรรมการบริหารพรรคทุกคนยืนยันว่าจะร่วมผลักดันให้ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้เป็นผู้ว่าฯ กทม. อีกสมัย ส่วนที่กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ เตรียมแจ้งข้อกล่าวหากับ 11 ผู้บริหารกทม. ในความผิดฐานร่วมกันประกอบกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค คือการต่อสัญญาให้บริษัท บีทีเอสซี บริหารส่วนต่อขยายโครงการรถไฟฟ้า บีทีเอส โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทานจาก รมว.มหาดไทยนั้น เราประเมินแล้วว่าอาจมีการดำเนินการในลักษณะดังกล่าว เพื่อดิสเครดิตม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ในระหว่างที่มีการเลือกตั้ง แต่เชื่อว่าม.ร.ว.สุขุมพันธุ์พร้อมชี้แจงในทุกประเด็น และเรามั่นใจว่าม.ร.ว.สุขุมพันธุ์จะเป็นตัวแทนของพรรคที่สมบูรณ์และเอาชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ได้"นายชวนนท์กล่าว
          กอร์ปศักดิ์โพสต์ฉะกก.บห.พรรค


.....เว็บไซต์ข่าวสด
คอลัมน์: ในประเทศ: จากข้อหาฉกรรจ์สู่จุดยืนขวางแก้ไข รธน.50 การต่อสู้ 'ทาร์ซานกับปูตีกรรเชียง'ยืดเยื้อยาวนานข้ามปี
          ก่อนเกิดเหตุการณ์สลายการชุมนุมแยกราชประสงค์ปี 2553 ในช่วงรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 2 ปีก่อนหน้านั้น ดร.วีรพงษ์ รามางกูร เขียนบทความเรื่อง"ประชาธิปัตย์ต้องการปฏิรูป"ผ่านคอลัมน์คนเดินตรอกประชาชาติธุรกิจ
         แน่นอนว่ามีคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยจำนวนมากและข้อเขียนที่ถูกนำไปอ้างอิงมากที่สุด
          ตอนหนึ่ง ดร.โกร่ง บอกว่า "พรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถเข้าถึงหรือไม่พยายามเข้าถึงคนระดับล่าง ไม่ว่าจะเป็นภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลาง และแม้แต่ในกรุงเทพฯ พรรคไม่เน้นที่จะสร้างผลงาน แต่เน้นในการทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม ทุกวิถีทาง พรรคจึงกลายเป็นทาร์ซาน พยายามจะช่วยเจนนี่โดยการโหนเถาวัลย์ โหนกระแส และโหนทหาร แล้วให้เจนนี่คอยกอดเอว พอเจนนี่จับพลาดในที่สุดทาร์ซานก็ต้องป้องปากโห่อย่างโหยหวนลั่นป่า"
          "การทำตัวเป็นทาร์ซานจะไปถึงที่หมายโดยวิธีโหน จึงต้องละทิ้งอุดมการณ์ประชาธิปไตย อุดมการณ์ทางกฎหมาย ความถูกต้อง จารีต ประเพณี ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ร่วมมือกับทหารสร้างทางตันเพื่อเชื้อเชิญให้ทหารปฏิวัติ ทำลายรัฐธรรมนูญ เพื่อให้พรรคฝ่ายตรงกันข้ามถูกยุบ ให้นักการเมือง ฝ่ายตรงกันข้ามถูกตัดสิทธิทางการเมือง และสนับสนุนรัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติ จะตอนพรรคการเมืองไม่ให้โต สร้างองค์กรอิสระที่ไม่มีใครตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นผลเสียกับตัวเองด้วยในระยะยาวแต่ก็ยอมทำ ทำให้พรรคเสียคะแนนจากผู้คนที่หัวก้าวหน้าและคนรุ่นใหม่อย่างน่าเสียดาย"
          จากนั้นไม่นาน รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ก็ต้องผ่านเหตุการณ์รุนแรงปี 2553 ถัดมา 2 ปี ทั้ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตั้งข้อหา ก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล และข่าวนี้ คือ ที่สุดของ "ข่าวการเมือง" แห่งปี 2555 จากผลสำรวจของเอแบคโพลล์
         คดี99ศพอาจทำให้ทั้งอภิสิทธิ์และสุเทพต้องเดินขึ้นลงบันไดศาลอาญาไปอีกนานหลายปีกว่าจะมีคำตัดสินของศาลฎีกา
         บางทีกว่าจะรู้ว่าคำพิพากษาตัดสินลงโทษหรือยกประโยชน์ให้จำเลยทั้งอภิสิทธิ์และสุเทพอาจเลิกเล่นการเมืองไปแล้ว
          แต่อีกประเด็นหนึ่งที่รุนแรง หนักหน่วงไม่แพ้กัน คือ ข้อวิจารณ์ของ ดร.โกร่ง เรื่องการละทิ้งอุดมการณ์ประชาธิปไตย ในสถานการณ์ปัจจุบันที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ที่เป็นผลพวงมาจากการรัฐประหาร ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ต่อต้าน และคัดค้าน การแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทยทุกรูปแบบทั้งๆที่ครั้งหนึ่งรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ก็เคยแก้ไขรายมาตรามาแล้ว
          จุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ มีทั้งเสียงที่สนับสนุนและเสียงที่วิจารณ์อย่างดุเดือดบนโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก และแน่นอนว่า เสียงวิจารณ์พรรคประชาธิปัตย์ชั่วโมงนี้แรงกว่าสุ้มเสียงของดร.โกร่งเมื่อปี2551หลายเท่า
          หนึ่งในนั้นคือ บทวิพากษ์ของ โอ๊ค พานทองแท้ ชินวัตร ทายาทของอดีตนายกฯ ทักษิณ ที่เฟซข้อความว่า การยืนยันไม่แก้รัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ร่างในยุคเผด็จการ ถือว่าเป็นสิ่งที่แปลกแล้ว สำหรับพรรคเก่าแก่ที่เหลืออยู่พรรคเดียวในเมืองไทยที่ชื่อ "พรรคประชาธิปัตย์" การเน้นไปที่มาตรา 309 เพียงมาตราเดียวของหัวหน้าพรรคยิ่งแปลกประหลาด
          "พรรคประชาธิปัตย์แสดงท่าทีปกป้อง ม.309 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งเป็นเสมือนประตูสู่เผด็จการ คุณปู่พิชัย รัตตกุล มีความเห็นเป็นอย่างไรครับ"
         "โอ๊คพานทองแท้"รุกหนักถึงขั้นเสนอให้พิชัยรัตตกุลกลับมาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
         อีกครั้งแต่พรรคที่มีอายุกว่า66ปีใคร(ล่ะ)จะฟังเด็กเมื่อวานซืน
          ขณะที่นายอภิสิทธิ์ ยืนยันว่า "ถ้าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ของรัฐบาลเพื่อไทย ไม่แตะต้อง 3 เรื่อง หนึ่งคือ ต้องไม่กระทบกระเทือนสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ สอง ต้องไม่กระทบความเป็นอิสระของตุลาการ สาม ต้องไม่เป็นการล้มคดี ถ้ายืนยันว่าเงื่อนไขทั้ง 3 เรื่องนี้ไม่แตะแล้ว เราพร้อมยกมือให้"
          ผ่านจากปี 2555 ไปสู่ปี 2556 เชื่อว่า สังคมไทยก็ยังคงถกเถียงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 อยู่ต่อไป และนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ได้รับฉายาจากนักข่าวทำเนียบว่า "ปูตีกรรเชียง" ก็อาจต้อง ตีกรรเชียง เลี่ยงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ออกไปเรื่อยๆ เพื่อหลีกเลี่ยงจุดแตกหักกับพรรคประชาธิปัตย์พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยองค์การพิทักษ์สยามและมือที่มองไม่เห็นอีกมากมาย
          การตีกรรเชียง เพื่อหวังต่ออายุรัฐบาลไปให้ยาวนานที่สุด อาจสอดรับกับกรุงเทพโพลล์ ที่ระบุว่า นักการเมืองของไทยที่มีผลงานสร้างสรรค์มากที่สุดในรอบปี 2555 คือ อันดับ 1 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ร้อยละ 52.1 อันดับ 2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร้อยละ 16.3
          นี่คือ เรื่องของทาร์ซานโหนกระแส กับ ปูตีกรรเชียง--จบ--

.....มติชนสุดสัปดาห์
เดิมพันท่อน้ำเลี้ยง?
         ประทับความชัดเจนให้ฝั่งพรรคเพื่อไทยไปเลย
          ตามคิวล่าสุดที่นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยว่า ป.ป.ช.ได้มีการนำประเด็นการไต่สวนการทุจริตโครงการจัดซื้อระบบคอมพิวเตอร์กระทรวงสาธารณสุข วงเงิน 911 ล้านบาท ในสมัยที่ เจ๊หน่อยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็น รมว.สาธารณสุขเข้ามาในที่ประชุมแต่ยังไม่มีการลงมติชี้มูลความผิดแต่อย่างใด
          เพราะ ป.ป.ช.พิจารณาแล้ว พบว่ายังขาดหลักฐานบางส่วน ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการพิจารณาอยู่ 1–2 ประเด็น จึงได้ให้คณะทำงานที่มีนายวิชัย วิวิตเสวี และนายปรีชา เลิศกมลมาศ ป.ป.ช.เป็นผู้รับผิดชอบไปทำการหาข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมสอบพยานเพิ่มเติมอีกประมาณ 10 ปาก แล้วนำมารายงานต่อที่ประชุมป.ป.ช.อีกครั้งภายในระยะเวลาประมาณ1ดือนก่อนเข้าสู่การพิจารณาอีกครั้ง
         “เงื้อดาบค้างให้เสียวระทึกไปอีกพักใหญ่
          เอาเป็นว่า ในอารมณ์ของนักเลือกตั้ง โดยชนักปักหลัง ชะตาของ เจ๊หน่อยอยู่ในกำมือของอรหันต์ ป.ป.ช. ก็น่าจะไม่สะดวกในการขับเคลื่อนทางการเมือง ตามท้องเรื่องแม้จะอยากลงชิงเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม.เต็มแก่ แต่ก็ไม่กล้าเดินหน้าลุยแบบเต็มตัว ยึกๆยักๆปากก็บอกถอย แต่ใจจะสู้
         ออกอาการกล้าๆกลัวๆ
          แต่มาถึงตรงนี้น่าจะชัวร์แล้ว เจอช็อต ป.ป.ช.กระตุกอารมณ์ ก็ตัดไปได้กับจังหวะ เจ๊หน่อยจะเปลี่ยนใจกลับมากระโดดลงชิงผู้ว่าฯ กทม.ไม่ว่าจะในนามพรรคเพื่อไทยหรือลุยเองในนามอิสระ
          ไฟต์บังคับเปิดทางให้ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ รอง ผบ.ตร. เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ได้สิทธิตัวยืนของพรรคเพื่อไทยแทบจะร้อยเปอร์เซ็นต์
         อยู่ที่ว่าจะใส่เสื้อพรรคตรงๆหรือจะเบี่ยงไปลงอิสระโดยเพื่อไทยสนับสนุน
          แต่ที่ยังเคลียร์โจทย์กันไม่ได้ ในบรรยากาศสถาบันประชาธิปไตยสไตล์ยี่ห้อประชาธิปัตย์ ถึงนาทีนี้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์เพิ่งจะมีมติเสียงข้างมากส่งม.ร.ว.สุขุมพันธุ์บริพัตรผู้ว่าฯกทม.ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกรอบ
          หลังจากเปิดปฏิบัติการยื้อกันมานาน จนเซียนการเมืองอ่านไต๋ว่า ถ้าให้ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ลงรักษาแชมป์ตามประเพณีปฏิบัติ ป่านนี้ก็ชัดเจนไปนานแล้วที่ยื้อลากเกมมาถึงวันนี้ก็เพราะว่าจะหักดิบไม่ให้
          แน่นอน ในเงื่อนไขที่เข้าใจได้ว่า ไฟต์บังคับเดิมพันประชาธิปัตย์แพ้ไม่ได้ ในฐานะแชมป์เก่าเจ้าสังเวียนเมืองกรุงที่ครองพื้นที่มาหลายสมัยทั้งในระดับท้องถิ่นและการเมืองเลือกตั้งสนามใหญ่ถ้าพลาดท่าแพ้ให้พรรคเพื่อไทยโดยกระแสลามกระเทือนการเมืองภาพใหญ่แน่
          และตามกระแสโพล คุณชายสุขุมพันธุ์ก็อยู่ในสถานการณ์เสี่ยง ไว้ใจไม่ได้ แถมล่าสุดยังเจอกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ออกหมายเรียกคดีเซ็นสัญญารถไฟฟ้าบีทีเอสโดยฝ่าฝืนกฎหมาย
         ก็ยิ่งหน้าช้ำไปกันใหญ่
          แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ว่ากันในมุมของเซียนเลือกตั้งก็ยังทุ่มแทงเต็ง เชื่อว่าพ่อยกแม่ยกเมืองกรุงยังปักใจอยู่ที่ยี่ห้อประชาธิปัตย์ ต่อให้ส่ง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ก็ถือแต้มต่ออยู่ดี
         ในเงื่อนไขที่พรรคเพื่อไทยไม่มีทางหนีจริตคนกรุงที่แหยงเสื้อแดงหมั่นไส้ทักษิณพ้น
         เรื่องของเรื่องชนะแน่แต่ก็มีหลายเสียงในประชาธิปัตย์ต้องการเปลี่ยนมวยใหม่
          เหตุผลลึกจริงๆน่าจะอยู่ที่ คุณชายสุขุมพันธุ์ทำตัวเป็นรัฐอิสระ ไม่ขึ้นตรงกับส่วนกลางของพรรคประชาธิปัตย์มาแต่ไหนแต่ไร โดยการจัดการทุกอย่างของกทม.จะรู้กันอยู่แค่รองเฟซบุ๊กนายธีระชนมโนมัยพิบูลย์รองผู้ว่าฯกทม.คนรู้ใจเท่านั้น
         แม้แต่คนตระกูลเวชชาชีวะยังโดนเด้งจากศาลาว่าการกทม.แบบไม่ไว้หน้า
          เป็นจุดสะบั้นสายสัมพันธ์ กระตุกระยะห่างเหินระหว่างทีมงาน กทม.กับทำเนียบรัฐบาล ที่ขณะนั้นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีแทบไม่ได้ต่อสายถึงกัน
         รวมถึงปัจจัยสนับสนุนต่างๆจากทางกทม.ที่ส่งมาบำรุงพรรคประชาธิปัตย์ก็ขาดหายไปด้วย
          เพียงแต่สถานการณ์ ณ วันนั้น พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลที่มี เทพเทือกนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้จัดการใหญ่คุมหัวจ่ายกระทรวงต่างๆเลยไม่มีปัญหาเรื่องปัจจัยสนับสนุนต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับวันนี้พรรคประชาธิปัตย์สลับขั้วมาอยู่ที่นั่งฝ่ายค้าน
         สถานการณ์ท่อน้ำเลี้ยงเหือดแห้งเต็มที
          ก็เหลือแค่ กทม.ที่จะเป็นแหล่งปัจจัยสนับสนุนการขับเคลื่อนทางการเมือง เรื่องของเรื่องเลยอยากเปลี่ยนมวยที่ไว้ใจได้มายึดเก้าอี้ผู้ว่าฯ กทม.แทนคุณชายสุขุมพันธุ์เพื่อส่งกำลังบำรุงช่วยขับเคลื่อนค่ายประชาธิปัตย์
          ที่ยังไม่มีเค้าว่า เมื่อไหร่จะได้กลับมาเป็นรัฐบาล.ทีมข่าวการเมือง

.....เว็บไซต์ไทยรัฐ
พลวัต ตัวเลขคะแนน ความนิยม'ประชามติ'

         ไม่ว่าความเห็นต่อการทำประชามติว่าเหมือนเข็นครกขึ้นภูเขาไม่ว่าความเห็นต่อการทำประชามติว่าเหมือนกับเดินลงเหว
          ในที่สุด ก็เท่ากับเป็นการยอมรับยอมรับว่ายากลำบากเป็นอย่างยิ่งในการที่จะขยายจำนวนเสียงจาก 15 ล้านเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554 ให้ทะยานไปยัง24.6ล้านนั้น
          เพราะเป็นจำนวนที่มากกว่า 9 ล้านแม้ว่าเมื่อผนวกรวมเสียงของ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา พรรคพลังชล เข้ามาจะอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านเศษๆ
          กระนั้น 8 ล้านที่เหลืออยู่ก็หืดขึ้นคอการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรกล่าวผ่านโฟนอิน ณ โบนันซ่า เขาใหญ่ นครราชสีมาเมื่อกลางดึกของวันที่ 22 ธันวาคม ว่า
         "หมูมาก"จึงขัดกับอุปมาของบางท่านที่ว่าเหมือนกำลังเดินลงเหวขัดกับอุปมาของบางท่านที่ว่าเหมือนเข็นครกขึ้นภูเขา
         8ล้านเสียงหมูจริงละหรือ
          องยอมรับว่า ตัวเลข 15-17 ล้านต้เสียงของ พรรคเพื่อไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคชาติพัฒนา พรรคพลังชลเป็นตัวเลขเมื่อเดือนกรกฎาคม 2554
          ขณะที่ปัจจุบันเป็นเดือนธันวาคม 2555 ขณะที่กว่าทุกอย่างจะได้บทสรุปผ่านมติเห็นชอบของ ครม. และลงมือปฏิบัติในทางเป็นจริงก็น่าจะเป็นเดือนพฤษภาคม2556
          คำถามก็คือ เป็นไปได้หรือว่าจำนวนเสียงจะมีลักษณะ "สถิต"คำถามก็คือ เป็นไปได้หรือว่าจำนวนเสียงจะลดลง กระทั่งความพยายามที่จะทะยานไปแตะ24.6ล้านเป็นเรื่องเหลือเชื่อ
          อิมพอสซิเบิล ดรีมคำตอบอันมาจากพรรคประชาธิปัตย์ย่อมเป็นในทางลบมากกว่าบวก คำตอบอันมาจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยย่อมเป็นในทางลบมากกว่าบวก
         ขณะที่คำตอบจากพรรคเพื่อไทยไม่น่าจะเป็นไปในทางลบ
         เช่นเดียวกับขณะที่คำตอบจากพรรคชาติไทยพัฒนาพรรคชาติพัฒนาพรรคพลังชลไม่น่าจะเป็นไปในทางลบ
          ประเด็นอยู่ที่ว่ามองเห็นพลวัตหรือไม่ามว่าความนิยมที่มีต่อพรรคไทยรักถไทยอันมีจุดเริ่มมาจากการเลือกตั้งเดือนมกราคม 2544 และมีจุดโดดเด่นเป็นอย่างมากในเดือนกุมภาพันธ์2548คืออะไร
          คำตอบอันเป็นหนึ่งเดียว คือ นโยบายคำตอบอันสะท้อนลักษณะรูปธรรมเป็นอย่างมาก คือ จำนวน ส.ส.ที่ได้รับเลือกทะยานไปยัง 377 จากทั้งสิ้น500
         ถามว่าจุดเด่นของพรรคเพื่อไทยคืออะไร
         ถามว่าจุดเด่นของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ชินวัตรคืออะไร1 คือพรรคเพื่อไทยแสดงให้เห็นว่าเป็นพรรคที่ต่อยอดความสำเร็จจากพรรคพลังประชาชนและพรรคไทยรักไทย
         1คือการแปรนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่เป็นจริง
         ผลสำรวจ"ที่สุดของความคิดสร้างสรรค์แห่งปี2555"อันมาจากศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพหรือกรุงเทพโพลล์คือ
          นโยบายสร้างสรรค์มากที่สุด เรียงตามลำดับ ดังนี้ นโยบายรับจำนำข้าวเปลือกนโยบายรถยนต์คันแรก นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท นโยบายปราบปรามยาเสพติดนโยบายปรับอัตราเงินเดือนปริญญาตรี15,000บาท
         อย่ามองข้ามผลสะเทือนของนโยบายเป็นอันขาด
         ส้นแบ่งอย่างมีนัยสำคัญของการทำเประชามติและรัฐธรรมนูญพ.ศ.2550คืออะไร
          1 รัฐธรรมนูญเป็นมรดกของขบวนการรัฐประหาร 1 ขบวนการรัฐประหารคือเงื่อนปมแห่งปัญหาอันตกค้างมาจากก่อนและหลังปี 2549
          ประชามติคือทางออกของปัญหาตกค้างทั้งหมดนี้--จบ--


.....มติชน
2556 บททดสอบนายกฯ เพื่อพี่


         สุภชาติเล็บนาค
          โดนโขกสับทุกวิถีทาง แต่วันนี้นายกฯ ปู ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ยังยืนหยัดเป็นนายกรัฐมนตรีได้โดยไม่บอบช้ำอย่างที่หลายฝ่ายสบประมาทไว้ตั้งแต่แรก
          แม้จะไม่เคยมีประสบการณ์ทางการเมืองเลย และมีเวลาสู้ศึกระหว่างหาเสียงเพียงแค่ 49 วันก่อนเลือกตั้ง แต่ในที่สุด 1 ปีครึ่งของรัฐบาลชุดนี้ นายกฯ ปู และ ครม.ก็ไม่ได้สะดุดอะไรมากจนเป็นปัญหามัดตัว เหมือนกับที่นอมินี 2 คนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ อย่าง สมัคร สุนทรเวชและสมชายวงศ์สวัสดิ์เจอเมื่อ4ปีก่อน
          1 ปีที่ผ่านมา นายกฯ ปู ถูกโจมตีหลายเรื่องเช่น กรณี ว.5 โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ ที่นัดพบปะพูดคุยกับนักธุรกิจแบบอินไซเดอร์ หรือการอ่านโพย อ่านสคริปต์ พูดผิดพูดถูก รวมถึงไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนได้ ถามเรื่องการรับมือกับอุทกภัย รวมถึงการแก้ปัญหาการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวที่กลายเป็นแผลใหญ่รั่วไหลและผลาญงบประมาณประเทศ
          ถามว่าทำไมนายกฯ ปู ถึงยังยิ้มสวย แต่งตัวงามสง่า เดินเฉิดฉายอยู่ได้ในวันนี้ ก็จะพบว่านายกฯ ปู ไม่ได้อยู่ได้ด้วยตัวเองคนเดียว หากแต่อยู่ที่ทีมงานที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ระดมกันมาเป็นมันสมองให้ เริ่มตั้งแต่ สุรนันทน์ เวชชาชีวะ ซึ่งถูกส่งมาเป็นเลขาธิการนายกฯ คอยกลั่นกรองข้อมูลรวมถึงจัดการวาระงานให้นายกฯปูจนเป็นคนที่นายกฯขาดไม่ได้คนหนึ่ง
         ส่วนภาพใหญ่ก็ได้บ้านเลขที่111อาทิภูมิธรรมเวชยชัยเลขาธิการพรรคเพื่อไทย
          พงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ และ รมว.ศึกษาธิการ หรือ วราเทพ รัตนากร รมต.ประจำสำนักนายกฯ คอยทำหน้าที่ดูแลการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ประชานิยม ให้เป็นไปตามที่วางแผนไว้แต่แรก ส่วนในพื้นที่รัฐสภานั้นนายกฯ ปู มีมือขวาที่เชี่ยวกราก เขี้ยวลากดินอย่าง ร.ต.อ.เฉลิมอยู่บำรุงรองนายกฯคอยต่อปากต่อคำกับฝ่ายตรงข้ามให้และสส.เสื้อแดงเป็นผนังกำแพงตอบโต้แทนรัฐบาล
          ขณะที่ด้านนอกสภานั้น หนีไม่พ้นแนวร่วมคนเสื้อแดงที่คอยปกป้องนายกฯ ปู อย่างเข้มแข็งแม้จะกระทบกระทั่งกันบ้างบางครั้ง เมื่อจตุพรพรหมพันธุ์แกนนำคนสำคัญไม่ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีจนน้อยเนื้อต่ำใจแต่ทั้งจตุพรและธิดา
         ถาวรเศรษฐ์ประธานคนเสื้อแดงก็ถือคติว่าจะต้องยึดภาพการปกป้องรัฐบาลไว้ให้ได้
          แต่สุดท้ายที่กล่าวถึงไม่ได้ก็คือ บารมีของทักษิณ เจ้าของนโยบายประชานิยมให้น้องสาวใช้หาเสียง และวางยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนช่วยรัฐบาลทั้งในและต่างประเทศภายใต้กรอบ"ทักษิณคิดเพื่อไทยทำ"
         เหล่านี้จึงทำให้นายกฯปูอยู่ในโอบอ้อมของเหล่ากุนซือน้อยใหญ่และพี่ชายที่เป็นแรงดึงดูด
          สร้างคะแนนนิยมให้กับคนชั้นล่าง รวมถึงเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้านเผด็จการ อย่างที่ฝ่ายนักวิชาการอ้าง เพื่อจำใจสนับสนุนทักษิณ
          ว่ากันว่า ภาพความเป็นผู้หญิงของยิ่งลักษณ์ทำให้ฝ่ายตรงข้ามไม่กล้าเปิดเกมชนตรงๆ เพราะจะทำให้กลายเป็นภาพรังแกผู้หญิง จึงเลือกที่จะหันไปโจมตีเรื่องการทุจริตแต่ "Woman Touch" หรือเสน่ห์ผู้หญิงที่เรียบร้อยไม่ก้าวร้าวทำให้สามารถสร้างคอนเนกชันให้กับผู้เล็กผู้ใหญ่ได้ไม่น้อย โดยเฉพาะในกองทัพหรือชนชั้นนำที่เคยเป็นไม้เบื่อไม้เมากับพรรคเพื่อไทยมาก่อนจนมีความสัมพันธ์ที่ไม่ขึงตึงเหมือนแต่ก่อน
          ขณะเดียวกัน ภาพความใหม่และไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองมาก่อน ก็ทำให้คนไทยเลือกที่จะให้โอกาส ลืมความผิดพลาดในเรื่องเล็กๆน้อยๆ เช่น การอ่านผิดอ่านถูก หรือการตอบคำถามที่ตะกุกตะกัก ไม่เชี่ยวชาญแบบที่อดีตนายกฯ คนก่อนๆ เคยสร้างมาตรฐานไว้ก่อนหน้านี้
          แต่ในปี 2556 เชื่อขนมกินได้เลยว่ายิ่งลักษณ์จะต้องเดินบนถนนที่ขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อมากขึ้นแน่นอน เพราะนโยบายประชานิยมหลายตัวเริ่มพ่นพิษ เช่น โครงการรับจำนำข้าว ที่จะเริ่มออกดอกออกผลในปีนี้ ตั้งแต่ต้นทางที่โรงสีไปจนถึงปลายทางอย่างสต๊อกข้าวของรัฐบาลที่จะล้นมากขึ้นรวมถึงงบประมาณที่รั่วไหลจะมีปัญหารุนแรงมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้หากไม่ได้รับการควบคุมที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
          ตามมาด้วยโครงการบริหารจัดการน้ำมูลค่า3.5 แสนล้านบาท ที่จะเริ่มเบิกจ่ายเงินกันตั้งแต่ต้นปี 2556 เนื่องจากมีเสียงเรียกร้องจากนักวิชาการและวิศวกรเป็นจำนวนมาก ว่า แผนงานและเป้าหมายของรัฐบาลแต่ละเรื่องไม่มีเป้าหมาย ขณะเดียวกันก็ไม่แน่ใจว่าผลงานของแต่ละบริษัทจะสามารถแก้ปัญหาด้านทรัพยากรน้ำของประเทศได้จริงหรือไม่ที่สำคัญที่สุดก็คือจะป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตในแต่ละโครงการได้อย่างไร
          หรือเรื่องที่สร้างความตะขิดตะขวงใจให้กับชนชั้นกลางในเมืองอย่างโครงการรถคันแรก ซึ่งรถยนต์ส่วนใหญ่จะออกสู่ท้องถนนตั้งแต่ต้นปีถึงปลายปีหน้าก็จะทำให้การจราจรในเมืองใหญ่ต้องพบกับวิกฤตอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนอาจฟาดไปถึงรัฐบาลได้พอเจ็บๆคันๆ
          ไม่นับรวมปัญหาที่ส่อจะเป็นวิกฤตการเมือง อย่างการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือการจัดเวทีประชาเสวนา 108 เวทีทั่วประเทศ เพื่อความปรองดองของประเทศซึ่งหาก 24.5 ล้านเสียง เป็นเรื่องหมูๆจริงคำถามที่ถามต่อมาก็คือว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับนั้นมีหลักใหญ่ใจความเพื่ออะไร
          ถ้าคำตอบที่ออกมาหนีไม่พ้นการแก้ไขปัญหาเพื่อช่วยพ.ต.ท.ทักษิณ ให้พ้นผิด ก็จะเป็นตัวการสำคัญที่นายกฯ ปู ต้องเผชิญหน้ากับกระแสต่อต้านอย่างหนักหน่วงอีกครั้ง
          แต่หากสลัดภาพออกได้ด้วยการกระชับอำนาจคนของตัวเองเข้ามามากขึ้น และขจัดปัญหาภาพลักษณ์การทุจริตเชิงนโยบายในแต่ละโครงการออกได้ คะแนนนิยมก็จะพุ่งสูงขึ้นจนฉุดไม่อยู่ แต่หากตีกรรเชียงไม่รู้ร้อนรู้หนาว หรือยึดแต่เพียงว่าจะช่วยพี่ชายอย่างเดียว โดยไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหมก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะฉุดคะแนนนิยมให้ทรุดต่ำต่อไป เพราะภาพลักษณ์ความเป็นผู้หญิงและความประสีประสาทางการเมืองไม่ใช่เรื่องที่จะนำมาอ้างได้ตลอด
          เหล่านี้คือเส้นทางที่นายกฯ ปู เลือกได้ ว่าจะให้รัฐนาวาของตัวเองล่องไปทางไหน จะกระชับอำนาจโดยตัดขาด มีอิสระจาก "พี่คนแรก" ไม่ใช้อำนาจช่วยเหลือคนคนเดียว หรือจะทำเพื่อประชาชนอย่างแท้จริงผลของการกระทำจะชี้วัดทิศทางการเมืองปีหน้าและคะแนนนิยมในตัวนายกฯ ปูในที่สุด--จบ--

.....โพสต์ ทูเดย์
เปิด 'รายงานพรรคร่วม' ปม'ม.291'-ประชามติก่อนแก้รธน.
          หมายเหตุ - สาระสำคัญส่วนหนึ่งของรายงานคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลกรณีปัญหาการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ที่มีนายโภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภาเป็นประธาน ซึ่งเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ จำนวน 50 หน้า โดยกำหนดไว้ 6 หัวข้อใหญ่ที่เพิ่งยกร่างเสร็จเป็นที่เรียบร้อย ทั้งนี้ "มติชน" ขอยกความเห็นของ "คณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล" ที่มีต่อการทำประชามติก่อนการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม ในวาระที่ 3 มานำเสนอ
         ความเห็นคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
          ประเด็นที่สอง การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่สามารถกระทำได้หรือไม่
          ข้อที่เป็นปัญหาก็คือ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในประเด็นนี้มีผลผูกพันทุกองค์กรตามรัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรคห้าหรือไม่ หรือเป็นเพียงคำแนะนำที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอาจปฏิบัติตามหรือไม่ก็ได้กล่าวคือ
          คำวินิจฉัยหน้าที่ 25 ย่อหน้าที่ 4 ระบุว่า "การตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นกระบวนการที่ได้ผ่านการลงประชามติโดยตรงของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ประชาชนจึงเป็นผู้สถาปนารัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ ดังนั้น การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญมาตรา291แม้จะเป็นอำนาจของรัฐสภาก็ตาม
          แต่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยการยกร่างใหม่ทั้งฉบับยังไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้ได้มาโดยการลงประชามติของประชาชนก็ควรจะได้ให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญได้ลงประชามติเสียก่อนว่า สมควรจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ หรือรัฐสภาจะใช้อำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราก็เป็นความเหมาะสมและเป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะดำเนินการดังกล่าวนี้ได้ซึ่งจะเป็นการสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา291"
          คณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล เห็นว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อนำไปสู่การยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับจะกระทำได้หรือไม่นั้น มิใช่ประเด็นแห่งคดีโดยตรง เพราะประเด็นแห่งคดีโดยตรง คือ มีการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือมีการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา68หรือไม่
          โดยเหตุนี้ นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จึงกล่าวไว้ในความเห็นส่วนตนว่า "ประเด็นที่ 2 นี้เป็นการพิจารณาถึงกระบวนการพิจารณาถึงกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 มิใช่การพิจารณาวินิจฉัยประเด็นหลักเกี่ยวกับการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 โดยตรง" นอกจากนั้น นายบุญส่ง กุลบุปผา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ อีกท่านหนึ่ง ได้กล่าวไว้ในคำวินิจฉัยส่วนตนว่า "ศาลไม่มีอำนาจไปวินิจฉัยถึงหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ
          นอกจากนั้น ถ้อยคำในประเด็นที่ 2 ของศาลรัฐธรรมนูญยังมีความหมายไม่ชัดเจนว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะต้องให้ประชาชนลงประชามติก่อน และหากรัฐสภาได้ลงมติวาระที่สามไปโดยไม่ได้ให้ประชาชนลงประชามติเสียก่อน เมื่อมีเรื่องกลับมาสู่ศาลรัฐธรรมนูญอีก ศาลรัฐธรรมนูญจะมีความเห็นว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญทั้งฉบับไม่สามารถกระทำได้ตามมาตรา291
          นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาคำวินิจฉัยส่วนตนของนายจรูญ อินทจาร ที่ว่า "หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและพัฒนาการการเมืองของประเทศให้ก้าวหน้าย่อมกระทำได้โดยการใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย ซึ่งแสดงออกโดยการลงประชามติ เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งได้รับฉันทามติจากปวงชนชาวไทย โดยการทำประชามติก่อนที่พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย" เห็นได้ชัดว่ารัฐธรรมนูญแก้เพิ่มเติมฉบับนี้ ก็จัดทำให้มีการทำประชามติเช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญ 2550 คือ ทำประชามติเมื่อยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อยแล้วนั่นเอง มิใช่การทำประชามติก่อนจะมีร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่แปลกมาก
          คณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเห็นว่า การดำเนินการให้มีการลงประชามติว่าสมควรจะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ก่อนที่จะมีการลงมติในวาระที่สาม อาจเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อให้สังคมเห็นว่า พรรคร่วมรัฐบาลอยากให้เกิดความปรารถนาดีต่อกัน และเพื่อขจัดข้อโต้แย้งคัดค้านทั้งปวงออกไป แต่การทำประชามติโดยอาศัยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2550 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552ยังต้องพิจารณาว่าจะจัดทำประชามติโดยการตราเป็นพระราชบัญญัติเฉพาะหรือโดยการดำเนินการของคณะรัฐมนตรี
          ซึ่งถ้าเป็นกรณีคณะรัฐมนตรีก็มี 2 กรณี คือ ขอข้อยุติหรือขอคำปรึกษา การขอข้อยุติต้องใช้เสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติเสียก่อน จึงจะนับคะแนนระหว่างผู้เห็นชอบและไม่เห็นชอบต่อไป ซึ่งเป็นเรื่องไม่ง่าย และถ้าจะดำเนินการโดยคณะรัฐมนตรีที่แม้จะเป็นความปรารถนาดี ยังอธิบายยากว่าหากร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมเสนอโดย ส.ส.หรือ ส.ส.ร่วมกับ ส.ว. หรือประชาชน 50,000 คนแล้ว จะสามารถทำประชามติก่อนยกร่างหรือระหว่างการพิจารณาของรัฐสภาได้อย่างไร
          เนื่องจากรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติกรณีเหล่านี้ไว้ กรณีมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เข้าไปในกรณีนี้หากทำในขณะนี้ ก็จะทำให้การลงมติวาระที่สามโดยรัฐสภาต้องรอจนกว่าจะมีผู้เสนอร่างกฎหมายหรือร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว จะต้องผ่านสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาหรือรัฐสภาแล้แต่กรณีจนมีการลงปรมาภิไธยและบังคับใช้เป็นกฎหมายจากนั้นจึงจะเข้าสู่กระบวนการทำประชามติ
         การดำเนินการต่อไปกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งรอการลงมติในวาระที่สาม(จากหน้าที่47)
          เมื่อพิจารณาประกอบกับคำวินิจฉัยในประเด็นที่สองแล้ว คณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมิได้ห้ามมิให้รัฐสภาลงมติร่างรัฐธรรมนูญวาระที่สาม เพราะการลงมติวาระที่สามของรัฐสภามิได้เป็นการล้มล้างการปกครอง ตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง เนื่องจากเมื่อรัฐสภาลงมติผ่านร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในวาระที่สามแล้ว
          ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวก็ยังไม่เป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แต่อย่างใด รัฐธรรมนูญ 2550 ยังคงดำรงอยู่จนกว่าประชาชนจะมีประชามติเห็นชอบและทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ทั้งหมดเป็นเพียงเรื่องของสภาร่างรัฐธรรมนูญที่จะยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ภายใต้กรอบของร่างมาตรา 291/11 วรรคห้าเท่านั้น คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในประเด็นนี้จึงมุ่งเน้นไปที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ สภาร่างรัฐธรรมนูญจะจัดทำขึ้นว่ามีบทบัญญัติใดเข้าข่ายข้อห้ามตามที่กล่าวมาหรือไม่มิใช่ประเด็นว่ารัฐสภามีอำนาจลงมติในวาระที่สามหรือไม่
         ข้อเสนอแนะคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล(จากหน้าที่49)
         1)รัฐสภามีอำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญที่จะลงมติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในวาระที่สาม
          2) คณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลตระหนักดีว่า สังคมไทยยังมีความขัดแย้งกันอยู่มาก การลงมติวาระที่สาม จึงควรพิจารณาใช้ช่วงจังหวะให้รอบคอบและก่อนจะลงมติ รัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลควรรณรงค์ทำความเข้าใจให้ประชานส่วนใหญ่เห็นความจำเป็นของการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมีความชอบธรรมยึดมั่นในหลักนิติธรรมเป็นรัฐธรรมนูญของประชาชนอย่างแท้จริง
          3) สำหรับการทำประชามตินั้น เนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญที่รอการลงมติอยู่ในวาระที่สาม ได้มีการบัญญัติถึงเรื่องการลงประชามติไว้แล้ว ว่าเป็นการลงประชามติก่อนจะเป็นกฎหมาย กล่าวคือ เมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว จะนำไปให้ประชาชนลงประชามติว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่ ถ้าประชาชนเห็นชอบและทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ก็จะเป็นกฎหมายใช้บังคับต่อไป เช่นเดียวกับการลงประชามติเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ถ้าประชาชนไม่เห็นชอบก็ตกไป ดังนั้น การทำประชามติเมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว จึงเป็นสิ่งที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและสอดคล้องกับคำแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญ
          ในกรณีที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องประสงค์มิให้เกิดข้อโต้แย้งคัดค้านทั้งปวง คณะรัฐมนตรีก็อาจจัดให้มีการออกเสียงประชามติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 165 ได้ แต่ต้องทำความเข้าใจกับสังคมให้ชัดเจนว่า เป็นเรื่องการแก้ปัญหาความขัดแย้งและความปรารถนาดี มิใช่ประเด็นให้มาเรียกร้องความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรีหากประชามติไม่ผ่าน
          4) ในระหว่างนี้หากจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราควบคู่กันไปด้วย สามารถกระทำได้โดยสมควรที่จะแก้รัฐธรรมนูญที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันก่อนเช่นมาตรา237และมาตราอื่นๆที่ขัดต่อหลักประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม
          5) ส่วนกรณีที่ว่าหากมีการลงมติวาระที่สามแล้ว จะยังคงมีการฟ้องร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญอีกหรือไม่ หรือจะมีกระบวนการต่อต้านในรูปแบบต่างๆ อีกหรือไม่ เห็นว่า โดยบริบทของสังคมปัจจุบันซึ่งยังคงมีความแตกแยก แบ่งฝักแบ่งฝ่ายอยู่ คงไม่มีหลักประกันใดๆ ว่าจะไม่มีเหตุเช่นนั้น แต่รัฐสภาและรัฐบาลจะต้องทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นหลักในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขต่อไป
--จบ--
          --มติชน ฉบับวันที่ 29 ธ.ค. 2555 (กรอบบ่าย)--
คอลัมน์: ตรวจการบ้าน: ผมคัดค้านการล้มล้างรัฐธรรมนูญ
          การแก้ไขรัฐธรรมนูญ "รอบใหม่" ของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยกำลัง "ลูกผีลูกคน" กล่าวคือ ชัดเจนว่าจะทำ แต่ไม่ชัดเจนว่าจะทำอย่างไร ทำเมื่อไหร่ ท่ามกลางกระแสต่อต้านที่เริ่มมีหนาหูขึ้นเรื่อย "ทีมข่าวการเมืองเดลินิวส์" ได้สัมภาษณ์ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา ในฐานะที่ 1ในผู้ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยจนทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ต้องค้างคาอยู่ในวาระ 3 ถึงความพยายามครั้งล่าสุดของรัฐบาล "พี่คนแรก"
         มองความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งใหม่ของรัฐบาลอย่างไร
          ผมก็ยังยืนยันโดยหลักการว่าที่คัดค้านนั้นคือคัดค้านการล้มล้างรัฐธรรมนูญเพราะการที่จะมาบอกว่าแก้ไขเพียงมาตราเดียวไม่เห็นจะเป็นอะไรทั้งที่พรรคประชาธิปัตย์แก้ไขถึง 2 มาตรา แต่การแก้ไขมาตรา 291นั้นเป็นการแก้ไขหัวใจของรัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ฉะนั้นผมยืนยันอยู่เช่นเดิมว่ายังคัดค้านการล้มล้างรัฐธรรมนูญ
          ในการคัดค้านผมก็อยากเรียนว่ามิใช่มีเจตนาที่จะต้องการปกป้องรัฐธรรมนูญซึ่งหลายฝ่ายกล่าวหาว่ามาจากเผด็จการ จริง ๆ แล้ว คมช. ไม่ใช่เป็นผู้จัดการหรือเข้าไปมีส่วนร่วมในการร่างเลย ลองไปดูว่าในช่วงที่มีการร่างรัฐธรรมนูญปี 50 นั้นเกิดมีข่าวหรือไม่ว่า คมช. เข้าไปเกี่ยวข้อง ผมยืนยันได้ว่าไม่มี เป็นเพียงข้อกล่าวหา แน่นอนว่าเมื่อมีการปฏิวัติล้มล้างรัฐธรรม นูญปี 2540 ก็ต้องร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมา ถ้าไม่ร่างใหม่ก็ไม่สามารถมีประชาธิปไตยได้แบบทุกวันนี้เพราะฉะนั้นการจะอ้างว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นผลไม้พิษมาจากต้นไม้พิษ ผมว่าอย่าพูดเพียงส่วนเดียว อย่าใช้เป็นวาทกรรมมาอ้างเพื่อไปล้มล้าง ถ้าคิดว่าสิ่งใดที่มาจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ดี คณะรัฐบาลทั้งสมัคร สมชาย ยิ่งลักษณ์ก็มาจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ไม่ดีเช่นเดียวกัน ผมคิดว่าต้องเข้าใจในความมุ่งหมายของผู้ที่ต้องการจะล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่าเขามีความมุ่งหมายอยู่ 3 ประการ
         ความมุ่งหมาย3ประการมีอะไรบ้าง
          ประการที่ 1 ต้องการล้มล้างความผิดที่เกิดขึ้นมาก่อนการรัฐ ประหารแล้วเป็นคดีที่สืบเนื่องมาจากคณะปฏิวัติที่ไปตั้ง คตส. ขึ้นมาดำเนินการซึ่งคณะปฏิวัติก็มิได้ไปยึดทรัพย์แต่ใช้กระบวนการยุติธรรม คตส. ทำหน้าที่เหมือนอัยการ สิ่งต่าง ๆ คณะปฏิวัติไม่เคยเข้าไปก้าวล่วงในอำนาจ ประเด็นที่ 2 ต้องการขจัดกระบวนการใด ๆ ก็ตามที่ขัดขวางการยึดอำนาจเบ็ดเสร็จของทุนสามานย์ เช่น องค์กรอิสระต่าง ๆ ประเด็นที่ 3 ประเด็นนี้ผมพึงระมัดระวังอยู่เสมอในการที่จะกล่าวอ้างถึงสถาบัน แต่ตรงนี้จำเป็นที่จะต้องเอามาพูด คือเขามีเจตนาชัดเจนที่จะล้มล้างอำนาจบางส่วนของพระมหากษัตริย์ อันนี้ผมยืนยันได้เพราะว่าแกนนำคนหนึ่งไปพูดไว้บนเวทีปราศรัยในช่วงที่ผ่านมาว่าต้องการให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเพียงสัญลักษณ์ ซึ่งตรงนี้ผมยืนยันว่าผมคัดค้านอย่างสุดชีวิต ทั้ง 3 ประเด็นจึงเป็นมูลเหตุที่ต้องการล้มล้าง ถ้าคุณมองว่ารัฐธรรมนูญปี 50 ส่วนไหนไม่เป็นประชาธิปไตยก็ไปแก้เป็นรายมาตรา การแก้ไขรายมาตราผมไม่ได้คัดค้านแต่ต้องเป็นการแก้ที่ประชาชนและประเทศชาติได้ประโยชน์ อย่าเป็นเพียงแค่ปัญหาของนักการเมืองเท่านั้น
          มองอย่างไรที่พรรคเพื่อไทยเอาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมาหาทางออกเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับด้วยความพยายามที่จะทำประชามติ
          ผมว่าศาลรัฐธรรมนูญท่านเพียงแต่ว่าถ้าจะทำการแก้ไขไม่ควรไปทำโดยมาตรา 291 คือแก้มาตราเดียว แต่ควรไปถามประชาชนก่อนเพราะรัฐธรรมนูญมาจากการลงประชามติ ฉะนั้นก่อนที่จะไปแก้ไขโดยตั้ง ส.ส.ร. ต้องไปถามประชาชนก่อนว่ารัฐธรรมนูญปี 50 ไม่ดีตรงไหน แต่ท่านไม่ได้บอกให้ล้มล้างแต่นี่แสดงให้เห็นว่าเจตนาล้มล้างรัฐธรรมนูญยังชัดเจนเพราะมีการนำเอาคำวินิจฉัยตรงนี้ออกมาแล้วหาทางที่จะล้มล้างต่อไปโดยใช้คำวินิจฉัยเป็นเงื่อนไข
         มองว่ารัฐธรรมนูญปี50มีปัญหาตรงไหนถึงต้องแก้ไข
          ทุกวันนี้มีการอ้าง 2 เรื่องคือ 1. ประชาชนต้องการ 2. ไม่เป็นประชาธิปไตยและเป็นสิ่งที่หาเสียงไว้จึงต้องดำเนินการ ผมต้องเรียนว่าสมัยพรรคเพื่อไทยหาเสียงไว้มีหลายเรื่อง ทำไมต้องเจาะจงเรื่องนี้ผมไม่อยากให้อ้างประชาชนเพราะผลสำรวจความต้องการ 5 อันดับแรกของประชาชนพบว่าของแพงจราจรความเดือดร้อนต่างๆยังไม่เห็นได้รับการแก้ไขประชาชนไม่เห็นบอกเลยว่าเดือดร้อนจากรัฐธรรมนูญปี50
          ผมอยากเรียนว่าประชาชนส่วนไหนที่อ่านรัฐธรรมนูญเข้าใจรัฐธรรมนูญอย่างถ่องแท้ ผมเรียนว่าผมเพิ่งมาอ่านรัฐธรรมนูญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านนี่เองยังเข้าใจยาก แล้วประชาชนที่ไหนที่บอกว่าไม่ต้องการรัฐธรรมนูญก็ไปชี้นำว่ารัฐธรรมนูญมาจาก คมช. พูดเพียงแค่นั้น แต่ปิดบังข้อเท็จจริงเอาไว้
         มองความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยการทำประชามติอย่างไร
          ผมยืนยันว่านี่เป็นวิธีการหาหนทางว่าทำอย่างไรถึงจะล้มล้างรัฐธรรมนูญปี 50 อย่างที่ใช้วิธีการตามมาตรา 291 ก็พูดให้ประชาชนฟังว่าแก้มาตราเดียว แต่มาวันนี้เอาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมาเพื่อหาวิธีการที่จะล้มล้างรัฐธรรมนูญให้ได้ จึงทำให้ผมเห็นว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยมีเจตนาอย่างชัดเจนว่าต้องการล้มล้าง
         ทำไมพรรคเพื่อไทยถึงต้องล้มล้างรัฐธรรมนูญปี50
          ผมเรียนว่ารัฐธรรมนูญปี 50 มีบทบัญญัติมาจากรัฐธรรมนูญปี 40 ที่ว่ากันว่าดีที่สุด แล้วเอามาใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดในสมัยที่พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกฯ ใหม่ ๆ จากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณเห็นช่องว่าง ถ้าไม่เข้าไปแทรกแซงในเรื่องที่เป็นระบบการตรวจสอบผมว่ารัฐธรรมนูญปี 40 ก็ยังใช้ได้อยู่ แต่ พ.ต.ท.ทักษิณเห็นช่องทางของการได้มาซึ่งองค์กรอิสระว่าสามารถใช้กระบวนการต่าง ๆ แทรกแซงได้ก็เลยครอบงำ นี่จึงเป็นปัญหาใหญ่ของรัฐธรรมนูญปี 40 พอรัฐธรรมนูญปี 50 เอาของปี 40 มาประมาณ 80% โดยยกมาใน 3 ประเด็นคือ 1. เพิ่มสิทธิเสรีภาพการมีส่วนร่วมของประชาชน 2. แก้ไขกระบวนการสรรหาขององค์กรอิสระเพื่อไม่ให้การเมืองเข้ามาแทรกแซง 3. ให้มี ส.ว. ที่มาจากการสรรหา รัฐธรรมนูญปี 50 มีเพิ่มเข้ามา 3 หลักการใหญ่ ๆ ถามว่ามีอะไรเสียบ้าง ไม่เป็นประชาธิปไตยตรงไหน จะมีกล่าวอ้างอย่างเดียวคือ ส.ว. มาจากสรรหา ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งซึ่งตรงนี้ต้องไปอธิบายว่าทำไมผู้ร่างเขามีเหตุผลตรงนี้
         ทำไมผู้ร่างถึงกำหนดให้มีส.ว.สรรหา
          ต้องย้อนกลับไปดูจะพบว่า ส.ว. แต่เดิมมีการแต่งตั้งโดยนายกฯก็ปรากฏว่า ส.ว. กลายเป็น ส.ส. ของฝ่ายรัฐบาล แต่วัตถุประสงค์คือให้เป็นสภาที่ปรึกษาคอยกลั่นกรองคอยคาน ไม่ใช่รัฐบาลทำอะไรก็ตามไปหมด แต่เมื่อแต่งตั้งโดยผู้บริหารก็ไปตอบสนองผู้บริหารจึงมองว่าหนทางนี้ไม่ดี ต่อมาก็มี ส.ว. จากการเลือกชุดแรกคือปี 43 เริ่มต้นมาดีในช่วง 1-2 ปีแรกแต่พอปี 44 พ.ต.ท.ทักษิณ เข้ามา ส.ว. ประมาณ 80 คนมีข่าวว่ารับเงินเดือนพรรคการเมือง ต้องรู้นะครับว่า ส.ว. เป็น 1 ในกระบวนการสรรหาองค์กรอิสระฉะนั้นเมื่อสามารถครอบครองวุฒิสภาได้ก็ครอบงำองค์กรอิสระได้ ระยะหลังส.ว.ปี43ไม่เป็นที่ไว้วางใจของประชาชนพอมาปี49เลือกชุดใหม่เข้ามากลายเป็นสภาผัวสภาเมียสภาหมอนข้าง
          อันนี้ผมชี้ให้เห็นนะครับและในการร่างของ ส.ส.ร. ปี 50 ผมทราบว่าเขาให้ ส.ว. มาจากการสรรหาทั้งหมด 150 คน แต่ถกเถียงกันที่สุดก็ลงตัวที่ครึ่งทางทั้งเลือกตั้งทั้งสรรหาต้องยอมรับว่าถ้าประชาธิปไตยของเราสดใสงอกงามไม่ต้องมีการซื้อเสียง ส.ว. ไม่ต้องไปหาฐานเสียงทางการเมืองใช้ความรู้ความสามารถเข้ามาเป็นได้ ขั้นนั้นผมว่าไม่จำเป็นต้องมี ส.ว. สรรหาแต่เมื่อขณะนี้ประเทศไม่พร้อมผมคิดว่ายังมีความจำเป็นอยู่แล้วท่านดูบทบาทของ ส.ว. สรรหาเราไม่ได้เป็นฝ่ายค้าน แต่เราทำหน้าที่คัดค้านถ่วงดุล ท้วงติง สิ่งไหนรัฐบาลทำถูกก็ให้การสนับสนุนแต่ถ้าทำไม่ถูกเราคัดค้าน
          ประเด็นที่บอกว่าไม่เชื่อมโยงประชาชนถามว่า ส.ว.สรรหาเสียหายที่ไหน ผมเรียนว่านักเลือกตั้งมักจะอ้างวิธีการเลือกตั้งว่าเป็นประชาธิปไตย ถ้าหากว่าการเลือกตั้งดีทำให้ประเทศชาติเจริญก็ไม่จำเป็นต้องมีผลสำรวจของประชาชนออกมาหรอกว่าคนที่คอร์รัปชั่นมากที่สุดคือนักการเมือง ก็มาจากการเลือกตั้ง ประชาชนเลือกมาทำไมถึงยังคอร์รัปชั่น ฉะนั้นไม่ใช่เป็นบทพิสูจน์ว่าการมาจากการเลือกตั้งจะดีที่สุด ประชาธิปไตยที่กินโกงชาติผมว่าเลวร้ายกว่าเผด็จการทหารนะครับ.
         "ถ้าหากว่าการเลือกตั้งดีทำให้ประเทศชาติเจริญก็ไม่จำเป็นต้องมีผลสำรวจของประชาชนออกมาหรอกว่าคนที่คอร์รัปชั่นมากที่สุดคือนักการเมือง ก็มาจากการเลือกตั้ง ประชาชนเลือกมา ทำไมถึงยังคอร์รัปชั่น ฉะนั้นไม่ใช่เป็นบทพิสูจน์ว่าการ มาจากการเลือกตั้งจะดีที่สุด ประชาธิปไตยที่กินโกงชาติผมว่าเลวร้ายกว่าเผด็จการทหารนะครับ"--จบ--
          --เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 29 ธ.ค. 2555 (กรอบบ่าย)