สรุปคอลัมนิสต์ที่น่าสนใจ เมื่อ 23
ธ.ค.55
คอลัมน์ หน้า 3 ไทยรัฐ
·
พฤติกรรมเชิงลบ จมวิกฤติศรัทธา
ตรวจสอบการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาตลอดปีที่ผ่านมา
ทั้งสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาปรากฏว่า ที่ผ่านมาในภาพรวมถือว่า ฝ่ายนิติบัญญัติได้ทำหน้าที่ในการพิจารณาออกกฏหมายมาบังคับใช้
อยู่ในระดับพอใช้ได้สำหรับภาพทางบวกที่ชัดเจนที่สุด ก็คือ
ในช่วงอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และ รมต.เป็นรายบุคคล ต้องยอมรับว่า
การอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ ส.ส.ฝ่ายค้าน เตรียมทำการบ้านมาอย่างดี มีข้อมูลหลักฐานประกอบการอภิปรายชัดเจน
การอภิปรายไม่ไว้วางใจคราวนี้ ภาพรวมคนฟังได้เนื้อหาสาระ
ได้ประโยชน์มากกว่าการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมาขณะเดียวกัน
ถ้ามองพฤติกรรมในทางลบของ ส.ส.ในรอบปีนี้ ก็ต้องยอมรับว่า
ยังอยู่ในสภาพที่สังคมส่ายหน้า ใช้เวลาของการประชุมสภาฯ เล่นเกมการเมือง ตีรวน
ทะเลาะเบาะแว้ง ด่าทอ แบ่งขั้ว แบ่งฝ่าย เล่นสงครามน้ำลายกันไม่เลิกรา ขณะที่
กมธ.ก็ถูกมองว่า เป็นแค่เครื่องมือทางการเมือง
ไม่ได้ทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติที่จะต้องตรวจสอบฝ่ายบริหาร ส่วน ส.ว.
ก็มีสภาพไม่แตกต่างกันนัก เพราะมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันชัดเจน ทำให้ภาพการทำงานของ
ส.ว.หนีไม่พ้นวังวนการเมือง 2 ขั้ว มาถึงวันนี้เริ่มเปิดสมัยประชุมรัฐสภา
สมัยสามัญนิติบัญญัติอีกครั้ง ส.ส.และ ส.ว. ต้องทบทวนบทบาทการทำหน้าที่ของตัวเอง
อย่าให้พฤติกรรมด้านลบฉุดจมวิกฤติศรัทธา
คอลัมน์หน้า 3 มติชน
·
พิษรัฐประหาร 49 “รัฐบาล – ปชป.”
อ่วม “การเมือง” ยังร้อน
ขณะที่ร่างแก้ไข
รธน. มาตรา 291
ยังค้างเติ่งอยู่ในสภา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ
ก็มีความเห็นว่า ควรประชามติเลยว่า จะแก้ไข รธน.หรือไม่
แต่ข้อแนะนำดังกล่าวกลับสุ่มเสี่ยงต่อการขยายผลกลายเป็นเรื่องโค่นล้มรัฐบาล ดังนั้น
รัฐบาลจึงต้องหาทางทำอย่างไรให้ปมยกร่าง รธน. ผ่านพ้นไปได้ ขณะที่ฝ่ายค้าน
โดยเฉพาะพรรคปชป. เองก็คงตระหนักว่า คดีของ นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ
นั้นหนักหนาสาหัสไม่ใช่น้อย โดยนายอภิสิทธิ์ ตั้งข้อสงสัยว่า
ขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นนายกฯ และสั่งการในฐานะนายกฯ
ทำไมจึงไม่ดำเนินคดีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
ทำไมจึงดำเนินคดี นายอภิสิทธิ์ ในข้อหา “ร่วมกันก่อให้เกิดการฆ่าผู้อื่นเสียชีวิต
โดยเจตนาเล็งเห็นผล” อย่างไรก็ตาม
ขณะที่การดำเนินคดีค่อยๆแจ้งข้อหา ข่าวคราวที่ปรากฏ ย่อมส่งผลกระทบต่อพรรคปชป.
และการทำหน้าที่ของพรรคปชป. ในฐานะพรรคฝ่ายค้าน ทั้งนายอภิสิทธิ์ และพรรคปชป.
จึงต้องสะสางการบ้านนี้ น่าสังเกตว่า ทั้งการบ้านของฝ่ายรัฐบาล และการบ้านของฝ่ายค้าน
ล้วนเป็นผลพวงที่เกิดขึ้นจากการยึดอำนาจ เมื่อวันที่ 19 ก.ย.
49 เป็นผลพวงที่สร้างความเสียหายยาวนานมาหลายปีแล้ว
แต่ยังไม่มีทีท่าว่าจะเยียวยากันได้ แม้ปี 2555 กำลังสิ้นสุดลง
แต่ดูเหมือนบาดแผลทางการเมืองจากการยึดอำนาจยังไม่หมดสิ้น
คอลัมน์ หน้า 3 ข่าวสด
·
เกมประชามติ เปิดโปงจุดยืน?
รัฐบาลเพื่อไทยภายใต้การนำของ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แสดงจุดยืนชัดเจนถึงการเดินหน้าแก้ไขรธน. ฉบับรัฐประหาร 19 กันยาฯ 2549
หรือฉบับผลไม้พิษ กระนั้นก็ตามถึงรัฐบาลจะยอมถอยก้าวแรกด้วยการประกาศจัดทำประชามติก่อนการแก้ไข
รธน. ทั้งฉบับตามคำแนะนำของศาล รธน. แต่ปัญหาไม่ได้หมดไป
แถมยังมีโจทย์ยากผุดขึ้นมาใหม่เก่ยวกับข้อกฏหมาย หลักเกณฑ์การทำประชามติ
ที่มีด่านหินให้ต้องผ่านถึง 2 ด่านด้วยกัน ซึ่งหากการทำประชามติไม่ผ่าน
เชื่อว่าฝ่ายตรงข้ามย่อมไม่พลาดโอกาสนำความเพลี่ยงพล้ำมาขยายผลทางการเมือง
เรียกร้องให้รัฐบาลและนายกฯ แสดงความรับผิดชอบอย่างใดอย่างหนึ่งต่อความพ่ายแพ้เสียงประชามติ
ด้วยข้ออ้างว่า ไม่สามารถปฏิบัติตามนโยบายและสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนได้สำเร็จ ปัญหาทางเทคนิคที่รัฐบาลต้องเผชิญก็เรื่องหนึ่ง
แต่ยังไม่น่าหนักใจเท่าความเคลื่อนไหวของฝ่ายค้านประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ ถึงกับออกดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้ประชานร่วมกัน “คว่ำประชามติ” ด้วยข้อกล่าวอ้างเดิมๆ
ว่าความพยายามแก้ไข รธน. ของรัฐบาล เพื่อล้างผิดคนโกง ช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณความเคลื่อนไหวของ
ปชป. ยังขัดแย้งกับพฤติกรรมของตนเองสมัยเป็นรัฐบาล และเมื่อดคำพูด
และพฤติกรรมในอดีต มาประกบกับพฤติกรรมปัจจุบันจะเห็นว่า ขบวนการต่อต้านการแก้ไข
รธน.ปี 2550 ไม่เพียงเป็นอุปสรรคใหญ่ของรัฐบาล
เท่านั้น แต่ยังเป็นการเปิดโปงถึงจุดยืนน่าอเนจอนาถของนักการเมืองบางคนอีกด้วย
คอลัมน์ สถานการณ์ร้อน เดลินิวส์
·
“คอนกรีต – ลูกรัง” ทางเลือกแก้รัฐธรรมนู ทาง “กลับบ้าน” ที่ “ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ”
ต้องยอมรับว่า
ตลอด 1
ปีที่ผ่านมาเป็นปีที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย
สาละวนวุ่นวายและเพียรใช้ความพยายามอย่างยิ่งที่จะแก้ไข รธน. ให้จงได้
เพราะหากย้อนกลับไปดูเส้นทางของความพยายามทางการเมืองจะพบว่า มีวิธีคิดและจังหวะที่ประสานสอดรับชนิดที่เรียกว่า
คิดกันมาล่วงหน้า การแก้ไข รธน.
ไม่ว่าจะด้วยวิธีการทางไหน ดูเหมือนจะเต็มไปด้วย “ขวากหนาม”
ทั้งสิ้น จะทางคอนกรีต คือ
การทำประชามติ ก็ไม่ง่าย จะทางลูกรัง ขรุขระอย่างการเดินหน้าโหวตของก็ “ล่อแหลม” ในทางการเมืองเกินไป หนทางกลับบ้านของ
พ.ต.ท.ทักษิณ จึงไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
แม้จะคิดจะทำจนทำให้พรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล มีน้องสาวอย่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์
เป็นนายกฯหญิงคนแรกก็ตาม จึงอาจกล่าวได้ว่า ปี พ.ศ. 2555
ที่กำลังผ่าน จึงเป็นปีที่พรรคเพื่อไทย “หมกหมุ่น”
กับการแก้ไขกติกาบ้านเมืองโดยแท้ และเชื่อว่า ปี พ.ศ.2556 ที่กำลังคืบคลานเข้ามาก็จะเป็นอีกปีที่พรรคเพื่อไทย
จะได้พยายามแก้ไขทั้งฉบับหรืออีกนัยหนึ่งคือ การฉีกรัฐธรรมนูญให้จงได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น