วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กลุ่ม40 ส.ว.หนุนประชามติ เชื่อไม่ผ่าน เมื่อ 25 ธ.ค.55




40 ส.ว.หนุนประชามติ เชื่อไม่ผ่าน เผยหงายไพ่ต้องการจะลบล้างรัฐธรรมนูญ มาตรา 309
          -->                                    ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุมวุฒิสภาวันนี้ โดยมีนางพรทิพย์ โล่ห์วีระ จันทร์รัตนปรีดา รองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 ทำหน้าที่เป็นประธาน โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุม นายประสาร มฤคพิทักษ์ ส.ว.สรรหา หารือว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็น"บางบอนเรียงมาตรา" หรือ"ปฏิญญาเขาใหญ่" ในที่สุดก็ต้องศิโรราบให้"ดูไบประกาศิต" ความจริงศาลรัฐธรรมนูญได้ชี้ทางสว่างไว้แล้วว่า โดยลำพังรัฐสภาสามารถแก้ไขรายมาตราได้ แต่ผู้ที่แก้ไขก็ไม่เลือก แต่เลือกวิถีทางซึ่งเป็นปัญหาเพราะการแก้ไขเรียงมาตราเป็นวิธีที่หงายไพ่ โปร่งใสเปิดเผยว่า ต้องการจะลบล้างรัฐธรรมนูญ มาตรา 309 ใช่หรือไม่ เพื่อต้องการยกเลิกองค์กรอิสระ หรือควบคุมให้อยู่ในอำนาจ ซึ่งกำลังทำหน้าที่ในการตรวจสอบถ่วงดุลอย่างเข้มข้นอยู่ รวมถึงการจะไปยกเลิกมาตรา 66 และ 67 ให้อำนาจชุมชนพิทักษ์ดิน น้ำ ป่า อากาศ ไว้อย่างแข็งขัน แต่เป็นวิธีการที่เผยไต๋มากเกินไปจึงไม่เลือก อยากเรียนว่าประกาศิตดูไบ ประชามติเดินหน้าไปเลยประชาชนจะได้เรียนรู้ เข้าใจ ได้อย่างชัดแจ้ง ตนไม่ใช่หมอดูแต่บอกได้ว่าพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลจะมีความล้มเหลวเป็นที่หมาย
          ด้านนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา หารือว่า การออกเสียงประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ การขัดแย้งของรัฐบาลกับแกนนำนปช. จะโหวตคว่ำวาระ 3 หรือเดินหน้าโหวตวาระ 3 คิดว่าการลงประชามติที่คนทางไกลเสนอมา ชอบแล้ว การเดินหน้าประชามติเป็นทางออกของบ้านเมืองตอนนี้ ในฐานะที่เป็นผู้เข้าชื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เข้าข่ายขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 หรือไม่ ยืนยันว่าศาลรัฐธรรมนูญให้คำวินิจฉัย ไม่ใช่ให้คำปรึกษา ซึ่งศาลเห็นว่าอำนาจสูงสุดในการสถาปนาองค์กรสูงสุดทางบ้านเมืองและอำนาจที่จะทำรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่เป็นของประชาชน ซึ่งมีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญ เมื่อองค์กรที่ถูกขัดตั้งขึ้นมาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นไปไม่ได้ที่องค์กรที่รับอำนาจจากรัฐธรรมนูญจะใช้อำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เหมือนการแก้กฎหมายอื่นตามรัฐธรรมนูญ
          นายสมชาย กล่าวว่า รัฐสภาเป็นองค์กรที่ถูกจัดตั้งโดยรัฐธรรมนูญจึงไม่มีอำนาจที่แก้ไขรัฐธรรมนูญ การตรารัฐธรรมนูญเป็นกระบวนลงประชามติโดยประชาชน การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291แม้จะเป็นอำนาจของรัฐสภา แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับก็ยังไม่สอดคล้องกับเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ที่ต้องกล่าวย้ำเพราะมีการสับสนในการให้ข่าวของผู้ที่เกี่ยวข้อง ยืนยันว่าการออกเสียงประชามติเป็นแค่สิทธิ์ไม่ใช่หน้าที่ การไม่ไปออกเสียงประชามติ ไม่มีความผิดตามรัฐธรรมนูญ แต่จะผิดถ้ากระทำผิดตามมาตรา 43 และมาตรา 38 แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552 จึงขอให้คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.)คำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย ให้การออกเสียงประชามติเป็นไปอย่างโปร่งใสยุติธรรม เมื่อผลออกมาอย่างไรก็ต้องเคารพตามนั้น
          ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น