วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สน.รนภ.ยศ.ทร.ได้จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ เทคนิคการเขียนบทความอย่างมืออาชีพ ในวันศุกร์ที่ ๑๗ ก.พ.๕๕

สน.รนภ.ยศ.ทร.ได้จัดกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ เทคนิคการเขียนบทความอย่างมืออาชีพ ในวันศุกร์ที่ ๑๗ ก.พ.๕๕ เวลา ๐๙๐๐-๑๖๐๐ ณ ห้องประชุมอาคารราชนาวิกสภา ชั้น ๒ เพื่อให้กำลังพลของหน่วยได้มีความรู้ในการเขียนบทความอย่างมีคุณภาพ



























รักแท้ไม่แคร์ตะปุ่มตะป่ำ เปิดใจชีวิตคู่ท้าวแสนปมอินเดีย





วันที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เวลา 01:05 น.  ข่าวสดออนไลน์


รักแท้ไม่แคร์ตะปุ่มตะป่ำ เปิดใจชีวิตคู่ท้าวแสนปมอินเดีย


 เดลี่เมล์รายงานวันที่ 28 ก.พ. เปิดตัวคู่รักชาวอินเดียที่ฝ่ายชายเป็นท้าวแสนปม ทั้งตัวมีตุ่มตะปุ่มตะป่ำ แต่ฝ่ายหญิงไม่รังเกียจใช้ชีวิตคู่กันมา และมีลูกชายด้วยกัน 3 คน
 ท้าวแสนปมแห่งแดนภารตะ มีชื่อว่า โมฮัมหมัด อุมาร์ อายุ 62 ปี อาศัยอยู่ในเมืองไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย เล่าว่า ตนเองเริ่มมีตุ่มขึ้นที่มือตั้งแต่อายุ 14 ปี จากนั้นก็ค่อยๆ ลามไปทั่วร่าง จนตะปุ่มตะป่ำทั้งตัว ผู้คนที่เห็นต่างพากันกลัวและรังเกียจ หมอบอกว่า หากแต่งงาน และมีลูก ลูกก็อาจเป็นแบบเดียวกับตน
 กระทั่ง อุมาร์อายุ 28 ปี พบรักกับฟาร์ฮัน-อัน-นิสา และแต่งงานกัน โดยฝ่ายหญิงไม่รังเกียจที่อุมาร์มีรูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์ เพราะรู้ว่าเป็นคนดี
 "ฉันรู้สึกได้ว่าอุมาร์เป็นผู้ชายที่ดี มีจิตใจดีและมีน้ำใจ ครอบครัวฉันเตือนว่า ในอนาคตอาจต้องลำบาก หากโรคผิวหนังของเขาแย่ไปกว่านี้ แถมยังไปปรึกษาหมอแทนฉัน แต่ฉันตัดสินใจเสี่ยง" ฟาร์ฮัต กล่าว
 จากนั้นทั้งสองตัดสินใจมีลูก และโชคดีที่ทุกคนสุขภาพแข็งแรง ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ
 สำหรับโรคดังกล่าว เรียกว่า NEUROFIBROMATOSIS หรือ NF เกิดจากความผิดปกติของยีน ดังนั้นจึงถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกได้ โดยมีผลทางเซลล์ประสาทเส้นใย ปรากฏอาการทางผิวหนัง เป็นรอยจ้ำๆ ก่อน จากนั้นจะนูนเป็นตุ่ม ซึ่งไม่มีทางรักษาตุ่มนูนเหล่านี้ แม้ว่าจะใช้การผ่าตัด หรือวิธียิงเลเซอร์
 อุมาร์ กล่าวว่า ชีวิตนี้ถ้าไม่มีภรรยาคนนี้ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร ภรรยาเป็นพรในชีวิต ตนโชคดีจริงๆ

วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เมา66

พลทหาร วรรณวิวัฒน์ สังข์เสือ  เป็นกำลังพลของกองเรือลำน้ำ อีกนายหนึ่งที่มีความสำคัญของกองทัพเรือในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมของประเทศไทย ปี ๒๕๕๔ โดยเจ้าตัวก็ภูมิใจที่มีส่วนในการช่วยเหลือฯ ได้ให้สัมภาษณ์กับผู้สัมภาษร์ว่า
“ ในเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดครั้งนี้ ในตอนแรกเลยกระผมยังไม่เคยขับเรือมาก่อน เหตุการณ์นี้เป็นครั้งแรกในชีวิตของผมที่ได้ลองขับเรือเพลายาว และตัวกระผมได้มีส่วนร่วมหลายเหตุการณ์ ตั้งแต่ ที่ประปามหาสวัสดิ์ เป็นที่แรก ที่ต่อมาคือ เขตบางแค ถนนเพชรเกษม กระผมจะขอเล่าเหตุการณ์ที่สำคัญและประทับใจพอสังเขปดังนี้
ประปามหาสวัสดิ์ เขตบางใหญ่ ในวันแรกที่ผมไปลงพื้นที่ที่นั้น ผมยังไม่รู้เลยว่าผมไปทำอะไร เมื่อผมไปถึงที่ประปา ผมเห็นเรือเพลายาว ชื่อกองทัพเรือ ติดข้างเรือ จอดอยู่ในน้ำ  ๒ ลำ และมีประจำเรือชุดเก่า ยืนอยู่ที่หน้าประปา แต่ว่ากระผมเป็นชุดใหม่ที่ต้องเปลี่ยนในวันนั้น พอทำธุระส่วนตัวเสร็จ ชุดช่วยเหลือชุดเก่าก็กลับต่อมาผู้ควบคุมผมก็ได้บอกว่าให้ลองไปขับเรือเพลายาวดู เพื่อที่จะขับเป็นพอผมทดลองขับเรือได้ระยะหนึ่ง ก็พอที่จะนำเรือไปตามที่ต้องการได้แล้ว ก็มีเหตุการณ์ที่ต้องช่วยเหลือในตอนนั้นทันที่เลย ทำให้ผมตื่นเต้นมากการที่เราขับเรือคนเดียวก็ไม่มีปัญหาอะไรแต่นี้ กระผมต้องขับเรือที่มีผู้โดยสารไปกับเรือ แต่ผมก็นำเรือไปโดยไม่ประมาท จนนำทุกชีวิตไปส่งถึงจุดหมายโดยปลอดภัย และไม่มีอันตรายใดๆ เกิดขึ้นจนเสร็จภารกิจในที่สุด
เขตบางแค ถนนเพชรเกษม  ในเขตพื้นที่นี้เป็นการขับเรือที่ยากมากที่สุดที่เคยขับมา เพราะมีการก่อสร้างบนถนนเพชรเกษม เกือบตลอดสาย อุปสรรคที่นั้นคือ แผงกั้นที่ก่อสร้างอยู่ได้ กีดขวางเส้นทางการสัญจรและยังมรรถบรรทุกขนาดใหญ่ ที่ยังวิ่งไปมาได้อยู่มีการสัญจรเป็นจำนวนมากทำให้การนำเรือเป็นไปอย่างลำบากที่สุดที่เคยขับมา และประชาชนต้องการความช่วยเหลือเป็นจำนวนมาก ทั้งชาวบ้านที่ต้องการออกมาจับจ่ายซื้อของใช้ต่างๆ คนทำงาน ที่ต้องเข้าออกจากที่พัก ทั้งวัน ในการปฏิบัติงานที่นั้นเป็นการปฎิบัติงานที่ลำบากและเหนื่อยที่สุดที่เคยทำมา พราะมีคนมาใช้บริการตั้งแต่เช้าจนเย็น บางที่ก็ค่ำมืดเลย
มีความรู้สึกว่า เมื่อเหตุการณ์ต่างๆผ่านไป ความเหนื่อยล้าหายไปเมื่อไรที่ได้ผ่านไปในพื้นที่ที่ประสบภัย เมื่อนึกถึงภาพความรู้สึกเก่าๆ ก็มีความภาคภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือ ในพื้นที่ที่เดือดร้อนนั้น ในฐานะที่กระผมเป็นทหารคนหนึ่ง กระผมมีความรู้สึกภูมิใจที่ได้ช่วยเหลือประชาชนและทำประโยชน์ให้กับสังคมและ กองทัพเรือ

เมา65


พ.จ.อ.จิรายุ โพธิ์ศรีทอง เป็นผู้มีภาวะผู้นำที่เยี่ยมยอดคนหนึ่งของกองทัพเรือ สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ดีเมื่อเกิดภาวะวิกฤติน้ำท่วมในการไปช่วยน้ำท่วม ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา
พ.จ.อ.จิรายุ โพธิ์ศรีทอง เป็นกำลังพลของกองเรือลำน้ำคนหนึ่งที่ได้ให้การช่วยเหลือหญิงท้องแก่ด้วยการนำขึ้นเรือยางเพื่อนำส่งยังศูนย์แพทย์ชั่วคราว แต่หญิงท้องแก่ทนไม่ไหว แพทย์ ทหารเรือ และชาวบ้านต้องช่วยกันทำคลอดบนเรือยาง โดยทารกที่คลอดออกมาเป็นเพศชาย สภาพแข็งแรงสมบูรณ์ น้ำหนักตัว 3,000 กรัม  และถูกนำตัวส่งศูนย์แพทย์ชั่วคราวก่อนจะส่งต่อทางเฮลิคอปเตอร์ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลสังฆราช อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ได้เล่าถึงเหตุการณ์ว่า
“ เมื่อวันที่ ๑๓ ต.ค.๕๔ ได้รับมอบหน้าที่ให้เป็นหัวหน้าชุดการปฏิบัติของหมู่เรือช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัย บริเวณเชิงสะพานปรีดีพนมยงค์ ซางเป็นเส้นทางเดียวที่การช่วยเหลือทางบกสามารถเข้าถึง ณ วันนั้นได้ ในเวลา ประมาณ ๑๕๐๐ ได้รับการประสานทางโทรศัพท์จากผู้ประสบภัยว่า มีคนท้องต้องการอพยพออกมาจากพื้นที่น้ำท่วม พร้อมทั้งแจ้งพิกัดคร่าว ๆ อยู่บริเวณตลาดหัวฬอ จึงได้จัดเรือยางพร้อมเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่นำทาง โดยขอรับการสนับสนุนจากชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งคุ้นเคยเส้นทางเป็นอย่างดีออกไปปฎิบัติภารกิจดังกล่าว โดยได้กระชับกับเจ้าหน้าที่ประจำเรือเมื่อถึงจุดนัดหมายและพบผู้ประสบภัย แล้วให้ประเมินสถานะภาพผู้ประสบภัยและรายงานกลับมายังจุดจอดเรือซึ่งตั้งเป็นฐานปฏิบัติการ แต่ในขณะนั้น การติดต่อสื่อสารทางวิทยุไม่สามารถติดต่อสื่อสารได้เนื่องจากระยะทางไกลกับฐานฯ มีตึกและอาคารมากมายบังคลื่นสัญญาณ เมื่อเรือที่ออกไปช่วยเหลือเดินทางเข้ามาในระยะที่สามารถติดต่อกันได้ประมาณ ๑ กม.จากฐานได้รับแจ้งว่า ผู้ที่จะช่วยเหลือนั้นเป็นสตรีมีครรถ์ใกล้จะคลอดแล้วขณะนี้มีน้ำคล่ำไหลออกมาทางช่องคลอด จึงได้ให้เจ้าหน้าที่สื่อสารประจำฐานฯ ประสานกับหน่วยกู้ชีพอยุธยา เพื่อขอรับการสนับสนุนรถพยาบาลและทีมแพทย์ในการทำคลอดโดยด่วนที่สุดแต่จากภาพสถานการณ์ในขณะนั้นการจราจรทางบกเป็นไปด้วยความลำบากมาก จึงได้เตรียมการในเบื้องต้นในกรณีที่ต้องทำคลอดเอง เป็นต้นว่า กาละมัง,น้ำดื่มสะอาด ,ผ้าสะอาด ซึ่งได้จากการบริจาคเตรียมไว้สำหรับให้กับผู้ประสบภัย แต่ที่ฐานฯ นั้นยังไม่มีใครมีความรู้เรื่องในการทำคลอดเลย จึงได้วิ่งขึ้นไปประกาศขอความร่วมมือจากประชาชนที่อยู่บริเวณนั้น ว่า “ ใครก็ได้ครับที่มีความรู้เรื่องการทำคลอดหรือเคยทำคลอดมาบ้างหรือสตรีที่เคยมีบุตรมาแล้วให้มากับผมเดี่ยวนี้” เพื่อมาร่วมกันแก้ไขสถานการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นคือ การทำคลอด เมื่อเรือช่วยเหลือนำสตรีมีครรถ์กำลังจะคลอดเดินทางมาใกล้จะถึงฐาน ฯ ประมาณ ๑๐๐ เมตร เจ้าหน้าที่ประจำเรือได้ตะโกนแจ้งว่า “หัวเด็กโผล่ออกมาแล้ว” ผมคิดอะไรไม่ออกจึงได้ตะโกนกลับไปว่า “ ให้เอามือดันไว้ก่อนอย่าพึ่งให้ออกมา” ในขณะนั้นมีสตรีคนหนึ่งทำงานอยู่หน่วยอาสากู้ภัย ได้กระโดดลงมาที่ฐาน และลงไปในเรือขณะเรือเข้าเทียบฐานฯ ในขณะเดียวกันนั้นเองทีมแพทย์ที่ได้ประสานไว้ได้เดินทางมาถึงพอดี เมื่อแพทย์ลงเรือเด็กก็คลอดออกมาแพทย์จึงได้ดำเนินการตามกรรมวิธีทำคลอดของแพทย์ต่อไป พวกเราทหารเรือทุกนายที่อยู่ฐาน ก็คอยช่วยให้กำลังใจในการทำคลอด เหตุการณ์จึงผ่านไปได้ด้วยดีและปลอดภัยทั้งแม่และลูก จากนั้นพวกเราได้ช่วยกันนำแม่และลูกส่งขึ้นรถพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลที่หน่วยแพทย์ในศุนย์อพยพ พวกเราทหารเรือได้ตั้งชื่อให้เด็กคนนี้ว่า น้อง นาวี และตั้งชื่อเล่นว่า น้องโบ๊ต ”
จากเหตุการณ์ดังกล่าวถือว่าประสบการณ์ในการทำงานของ พ.จ.อ.จิรายุ ฯ ซึ่งเป็นกำลังพลของ   กองเรือลำน้ำกองเรือยุทธการ คนหนึ่งที่มีความสามารถในการตันสินใจในการแก้สถานการณ์เฉพาะหน้าได้ดีมาก จึงไม่ทำให้เกิดเหตุการณ์อันตรายกับแม่และเด็กได้

เมา64



กำลังพลของกองเรือลำน้ำได้กลายเป็นผู้ขับเรือหางยาวโดยอัตโนมัติ ในเหตุการณ์น้ำท่วม ประเทศไทย ปี 2554

พ.จ.ท.ศุภกร ทัดเจริญ ตำแหน่ง พันจ่าเรือ เรือตรวจการณ์ลำน้ำ หมู่เรือตรวจการณ์ที่ ๒ หมวดเรือที่ ๓ กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ เป็นอีกนายทหารประทวนผู้หนึ่งที่ขับเรือหางยาวบนถนนในกรุงเทพ โดยเจ้าตัวไม่เคยปฎิบัติมาก่อนในชีวิตรับราชการ แต่ในสถานการณ์ขณะนั้น ต้องปฎิบัติให้ได้ ทำไมเรือตรวจการณ์ลำน้ำ และเรือจู่โจมลำน้ำ เรายังขับเรือได้เลย นับประสาอะไรกับเรือหางยาว ลำเล็ก ๆ จะขับเรือไม่ได้ โดยได้เล่าและกล่าวว่า
“ หลังจากที่ได้รับการฝึกขับเรือหางยาวจาก กองเรือลำน้ำ แล้ว กระผมก็ได้มีโอกาสเป็นส่วนร่วมในการช่วยเหลือประชาชนจากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ปี ๒๕๕๔ โดย กระผมเองได้มีส่วนร่วมตั้งแต่ นิคมอุสาหกรรมนวนครและพื้นที่เขตจังหวัดปทุมธานีโดยรวม ศูนย์ธรรมศาสตร์รังสิต คลองประปา (สนับสนุนการประปานครหลวง)และพื้นที่เขตบางแค ถนนเพชรเกษม กระผมขออนุญาตเล่าเหตุการณ์ที่สำคัญและที่ประทับใจพอสังเขปดังนี้
นิคมอุตสาหกรรมนวนคร เมื่อลงพื้นที่ ก็เกิดความรู้สึกว่าในภาวะน้ำท่วมเช่นนี้เรือเพลายาวมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากสะดวกต่อการเข้าพื้นที่น้ำตื้น ก็สามารถยกหางเรือเดินหน้าเบาช่วยในการนำเรือได้ สำหรับประชาชนที่ประสบอุทกภัยนั้น เมื่อเห็นแล้วความเหนื่อยล้าก็ทยอยหายไปเพราะเห็นความลำบากของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนนั้นเมื่อเทียบกับเราแล้วเขาเหล่านั้นลำบากยิ่งกว่าเราเยอะนัก บางท่าน อายุมากเคลื่อนไหวร่างกายลำบากต้องไปอาศัยอยู่ชั้นที่ ๒ ชั้นที่ ๓ ของตึก พวกเราก็นำเรือเทียบชั้น ๒ ของตึก เพราะชั้นล่างน้ำท่วมหมดให้ปีนหรือค่อยๆ โรยตัวลงมาและตามซอกมุมต่างๆ ของตึกเพื่ออพยพไปอยู่พื้นที่อื่นๆ รวมถึงผู้ติดอยู่ตามโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นเวลากลางคืนก็ยิ่งลำบากมากขึ้น ทัศนวิสัยในการนำเรือ การขนย้ายอุปสรรคจากการมองการค้นหา ผู้ต้องการความช่วยเหลือความคุ้นเคยในการนั่งเรือของผู้ประสบอุทกภัย บางท่านพึ่งเคยนั่งเรือครั้งแรกพวกเราก็ค่อยแนะนำและให้ความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัย แต่โดยรวมเหตุการณ์ต่างๆ ก็ผ่านไปได้ด้วยดี จากความร่วมมือของพวกเราและ หน่วยงานต่างๆ ที่มีโอกาสร่วมงานกัน เช่น ทหารบก สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ฯลฯ
ศูนย์ธรรมศาสตร์รังสิต เรือของเราได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมตั้งแต่ศูนย์ธรรมศาสตร์น้ำยังไม่ทะลักเข้ามา ภารกิจก็คือให้การสนับสนุนพื้นที่โดยรอบเพื่อลดกระแสความเครียดของชุมชนโดยรอบซึ่งถูกน้ำท่วมเพราะศูนย์ธรรมศาสตร์มีผนังกั้นน้ำโดยรอบมิให้น้ำเข้าศูนย์อพยพ ศูนย์จึงขอความร่วมมือจากเรือของเราคอยแจกอาหาร น้ำดื่ม ทั้ง ๓ เวลา และยารักษาโรคเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นโดยการจัดสรรสี่งของบริจาค ของเจ้าหน้าที่ของศูนย์และนักศึกษาของ ม.ธรรมศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่มีจิตอาสามาร่วมกันทำงาน รวมถึงรับผู้ป่วยมาเข้ารับการรักษาในศูนย์ฯ เพราะในศูนย์นั้นจัดเป็นโรงพยาบาลชั่วคราว จนเมื่อวันที่           เวลาประมาณ เที่ยงคืน ผนังกันน้ำด้าน ศวทช.ได้รั่วซึมเข้ามาภายในศูนย์พวกเราได้นำเรือและพานักศึกษาตรวจสอบหาจุดรั่วซึมรอบๆ บริเวณดังกล่าว แต่ไม่พบ เวลาประมาณ ๐๒๐๐ ผนังกั้นน้ำบริเวณดังกล่าวได้แตกจนน้ำทะลักเข้าศูนย์ เมื่อไม่สามารถป้องกันได้แล้วทางศูนย์จึงเรียกเราและหน่วยงานของทหารบก เข้าร่วมประชุมแผนการอพยพประชาชนในวันรุ่งขึ้นต่อไป เมื่อเลิกประชุมปัญหาเรื่องกระแสไฟฟ่และน้ำถูกน้ำเข้าท่วมเครื่องปั่นไฟฟ้าของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์รังสิต พอดี จ.อ.ไพโรจน์ ฯ เป็นเจ้าหน้าที่กองช่างของเรา ได้ไปร่วมขับเรือด้วยจีงได้ไปร่วมกันกับพวกเจ้าหน้าที่ทหารเรือของเราอีก ๓ นาย ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่เพื่อสูบน้ำออกจากเครื่องปั่นไฟฉุกเฉินของโรงพยาบาล จำนวน ๒ เครื่อง ผ่านไปได้ด้วยดี อีก ๑ วันต่อมา ทางทหารบก ขอให้เราช่วยสอนขับเรือเพลายาวให้กับเจ้าหน้าที่ทหารบกเนื่องจากช่อง ๓ ได้น้ำเรือมาช่วยในการขนย้ายอีก ๕ ลำ ทางผมได้ชี้แจ้งว่าไม่สามารถสอนแล้วมามาปฎิบัติงานจริงได้เลยเนื่องจากอันตรายเพราะขณะนี้น้ำสูงประมาณ ๒ เมตรกว่า แล้วถ้าเกิดอุบัติเหตุอาจเกิดความสูญเสียได้เพราะมีทั้งเด็กและผู้สูงอายุนั่งเรือไปด้วย จึงกระจายกำลังพลของทหารเรือเราที่สามารถขับเรือได้ทั้งหมดประจำเรือเพลายาวทุกลำ และให้เจ้าหน้าที่ของทหารบก มาเป็นประจำเรือในละลำที่ทหารเรือเราเป็นผู้ขับ และเรือของทหารบกอีกจำนวนหนึ่ง ร่วมกันทำงาน ประมาณ ๒ วัน จึงอพยพประชาชนออกเกือบหมดยังคงเหลืออยู่แต่เจ้าหน้าที่ของศูนย์และพวกเรากับทหารบก และผู้ประสบภัยส่วนหนึ่งที่ยังไม่มีที่จะไป ความเป็นอยู่เริ่มลำบากมากขึ้นเมื่อน้ำเข้าท่วมเต็มพื้นที่ศูนย์ทั้งหมดจนอีกวันรุ่งขึ้นก็สามารถขนย้ายคนทั้งหมดออกจากพื้นที่ และชุดสุดท้ายคือ เจ้าหน้าที่ของศูนย์นักศึกษาทั้งหมดคงเหลือแต่ผู้เฝ้าของภายในศูนย์เวรยามตามอาคารพัก จนศูนย์ประกาศปิดศูนย์อพยพ เราจึงขออนุญาตศูนย์เราเดินทางกลับที่ตั้งปกติ เพื่อรอรับภารกิจในพื้นที่อื่นต่อไป
สนับสนุนการประปานครหลวง  บรรทุกกระสอบทรายข้ามฝั่งคลองที่น้ำทะลักไม่ให้น้ำเสียเข้าคลองประปาเพื่อแก้ปัญหาในการผลิตน้ำประปาของ กรุงเทพมหานคร ได้ร่วมงานกับ การประปานนครหลวงเขตต่างๆ
เขตบางแค ถนนเพชรเกษม  ในการขับเรือนั้นเกิดอุปสรรคมากเพราะมีการสร้างเกาะกลางถนนมีการสร้างรถไฟฟ้าประกอบกับการนำเรือลำบากเพราะมีรถวิ่งด้วยคลื่นจากรถจากเรือที่วิ่งเร็วต้องระมัดระวังอันตรายมากกว่าพื้นที่อื่นๆ ที่ผ่านมา ประกอบกับประชาชนต้องการความช่วยเหลือเป็นจำนวนมากในการเข้าออกจากบ้านพักเพื่อไปทำงานและกลับจากทำงาน เราจะปฎิบัติงานทั้งวันตั้งแต่ เช้า ถึง เย็น พอประมาณ เวลา ๒๐๐๐ ของแต่ละวัน เราจะปิดท่าเรือให้บริการประชาชนเนื่องจากทัศนวิสัยในการนำเรือไม่ดีอาจเกิดอันตรายได้
ความรู้สึกโดยรวม  เมื่อเหตุการณ์ต่างๆ ผ่านไป ความเหนื่อยหายไป ครั้งใดที่ผมมีโอกาสขับรถผ่านพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย เมื่อมองย้อนภาพกลับไปรู้สึกภาคภูมิใจเมื่อครั้งพื้นที่ตรงนี้ได้รับความเดือดร้อนนั้น กระผมในฐานะที่เป็นทหารเรือคนหนึ่งรู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมช่วยเหลือประชาชนและสังคม เมื่อคราวที่ประสบทุกข์ต้องการความช่วยเหลือ ถึงแม้ว่าอาจเป็นจุดเล็กน้อยแต่ก็เกิดความภูมิใจที่ได้ทำประโยชน์ให้กับสังคม และกองทัพเรือ ”

เมา63


พล.ร.ต.ธานี ผุดผาด ผบ.กลน.กร.ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่องเอ็นบีที เกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยทางน้ำ ปี 2554


 ผู้บัญชาการกองเรือลำน้ำ ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่องเอ็นบีที เกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยทางน้ำ โดยผู้สื่อข่าวได้ถามว่า
โดยปกติภารกิจของ     กองเรือลำน้ำ ถ้าไม่ช่วยน้ำท่วมโดยตรง แล้วทำหน้าที่อะไร
“ หน่วยทหารทั่วๆ ไป เรามีหน้าที่ป้องกันประเทศโดยพื้นที่รับผิดชอบของ กองเรือลำน้ำ ได้แก่บริเวณตามลำแม่น้ำอาณาเขตและลำน้ำสำคัญในประเทศ โดยจะมีหน่วย นรข.ซึ่งเราเรียกว่าหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง ซึ่งปฎิบัติหน้าที่ที่ จ.เชียงราย ถึง จ.อุบลราชธานี กำลังพลส่วนใหญ่ที่ส่งไปปฎิบัติราชการส่วนมาก กองเรือลำน้ำ จะเป็นหน่วยฝึกศึกษาที่กองเรือลำน้ำ ส่งไปปฎิบัติราชการ ที่ หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง ”
ส่วนภารกิจน้ำท่วมครั้งนี้กองทัพเรือได้มอบหมายให้กองเรือลำน้ำเข้าไปช่วยเหลือในรูปแบบใดบ้าง
“ เริ่มตั้งแต่เริ่มมีวิกฤติที่ จ.อยุธยา ประมาณวันที่  ๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ ทาง ผบ.ทร.ท่าน พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานทุกหน่วยงานของกองทัพเรือ ให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่โดย กองทัพเรือ เราได้ แบ่งออกเป็นหน่วยงานหลักเป็น ๒ หน่วย ก็คือ หน่วยบรรเทาสารณภัยทางน้ำ และหน่วยบรรเทาสารณภัยทางบก ซึ่ง ทางบกก็มีหน้าที่ดูแลพื้นที่รับผิดชอบ ๑๖ เขตในกรุงเทพฯ โดยกองเรือลำน้ำ รับผิดชอบ ในการบรรเทาสารณภัยทางน้ำตามแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ จ.ปทุมธานี  จ.นนทบุรี และจ.สมุทรปราการ
ส่วนในการช่วยเหลือในรูปแบบของสถานีเรือ
“ เป็นแนวความคิดของ ผบ.ทร. เมื่อเกิดวิกฤติเราจะทำอย่างไร ประชาชนที่อยู่ บริเวณ ๒ ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งไม่ห่างจาก กองบัญชาการ กองทัพเรือ และกองเรือลำน้ำมากนัก มีการกำหนดจุด การเคลื่อนย้าย การอพยพผู้คนเมื่อเกิดวิกฤติ โดยเราได้ประสานงานกับชุมชนต่างๆไว้แล้ว ส่วนการเตรียมเรือ เช่นเรือด่วนเจ้าพระยา เรือของกรุงเทพ ก็ดี ร่วมทั้ง เรือของกรมขนส่งทหารเรือ ในการเตรียมว่าชุมชนที่มีความเสี่ยงถ้าเกิดวิกฤติเราจะอพยพอย่างไร โดยที่เราได้กำหนดไว้ ๔ จุด คือ บริเวณตั้งแต่ วัดประยูรวงศาราม ถึง สะพานพระราม ๖  ในส่วนแพช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ไปตั้งตามจุด มีแนวความคิดว่า ถ้ามีพื้นที่ที่ไม่ไกลที่จะช่วยเหลือประชาชนได้จะสะดวกยิ่งขึ้น มีความคิดจะจัดทำสถานี เป็นแพช่วยเหลือผู้ประสบภัยลอยน้ำ ก็คือในแพจะมีศูนย์พักพิงชั่วคราว รับผู้อพยพได้ ๕๐ คน ต่อแพ โดยเราก็สามารถที่จะส่งต่อไปยังขนส่งทางบกได้ หรือก็ที่จุดอื่นที่เราได้ประสานกับหน่วยราชการ ตามริมฝั่งแม่น้ำไว้แล้ว เรามีความประสงค์ว่า เป็นศูนย์พักพิงชั่วคราว ส่วนในเรื่องของการเดินทางที่ไม่สะดวก ก็จะจัดแพทย์เคลื่อนที่ มีสุขาลอยน้ำ ผมได้พูดคุยกับประชาชนในพื้นที่น้ำท่วม ทำให้ประชาชนรู้สึกพึงพอใจมากที่เราได้เอาแพมาอยู่ประจำจุด  อีกประการหนึ่งพอมีข่าวประกาศออกไป พี่น้องประชาชนได้ทราบข่าวว่าเรามีจุดอยู่บริเวณนี้ก็จะมาใช้บริการ ถ้าหน่วยงานใดที่มีความประสงค์ที่จะมาช่วยเหลือผู้ประสบภัย ก็มาที่นี้ได้ เราจะอำนวยความสะดวกให้ จะเห็นว่าผมจะมีเรือเล็กหลายลำ ที่จะนำพาไปส่งให้ความช่วยเหลือไปถึงได้เร็ว เรามีการสำรวจทุกวันว่าตรงไหนไปไม่ถึง เวลามีหน่วยงานมา เราจะพาไปจุดให้ความช่วยเหลือที่ไปไม่ถึง  โดยคิดว่าสามารถจะช่วยพี่น้องประชาชนที่อยู่บริเวณนั้นได้ดี  สำหรับภารกิจของกองเรือลำน้ำนั้น จะมีภารกิจในการขนส่งถุงยังชีพเป็นจำนวนมาก จึงได้ขอรับการสนับสนุนจาก กองเรือทุ่นระเบิด โดยได้จัดเรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้น จำนวน ๖ ลำ พร้อมเรือยาง เข้ามาร่วมทำงานกับกองเรือลำน้ำ โดยจะใช้เรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้นและเรือยาง บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำสาขาต่างๆ สำหรับสายด่วนของกองทัพเรือ หมายเลข ๐๒๔๗๕๓๓๑๕ และก็หมายเลข ๐๒๔๗๕๓๓๑๖ หรือถ้ามีข้อมูล โทรสาร ๐๒๔๗๕๓๓๑๔ เรามีผู้รับสายตลอด ๒๔ ชั่วโมง นะครับ เมื่อมีความต้องการความช่วยเหลือเข้ามาต้องได้รับการแก้ไข ถ้าอยู่นอกพื้นที่เรา เราจะติดต่อให้จนกว่าจะได้รับการช่วยเหลือ ”

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การก่อการร้ายในอินเดีย ทำไมมุมไบ ทำไมอินเดีย?

ในวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา อินเดียได้เผชิญกับการก่อการร้ายครั้งร้ายแรงอีกครั้ง หลังจากเหตุการณ์ระเบิดสามจุดซ้อนกลางเมืองมุมไบ ซึ่งเป็นเมืองหลวงทางเศรษฐกิจและการเงินของอินเดีย ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 17 ราย และมีผู้บาดเจ็บนับร้อย โดยเชื่อว่าเป็นฝีมือของกลุ่ม Indian Mujahedeen จากเหตุการณ์ในครั้งนี้มีการตั้งคำถามถึงการรักษาความปลอดภัยในเขตเมืองมุมไบ เนื่องจากเมืองมุมไบเพิ่งผ่านเหตุการณ์การก่อการร้ายครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของอินเดียในปี 2008 โดยชายมุสลิมกลุ่มจิฮัดจำนวน 10 คนที่แอบเข้าเมืองมุมไบมาจากประเทศปากีสถาน เข้ามากราดยิงผู้คนกลางเมืองมุมไบกว่า 3 วัน ทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 170 คน ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นระทึกขวัญและสยองขวัญเป็นอย่างมาก แม้ทางการอินเดียและมุมไบจะออกมาแถลงว่าได้มีการจัดการรักษาความปลอดภัยอย่างดีที่สุดแล้ว แต่หลังจากการก่อการร้ายที่ผ่านมาครั้งล่าสุดก็คงจะพอเห็นได้ว่านี่คงไม่ใช่ครั้งสุดท้ายที่อินเดียจะประสบกับเหตุการณ์การก่อการร้ายเช่นนี้อีก คำถามคือทำไมช่วงที่ผ่านมาอินเดียถึงประสบกับการก่อการร้ายอยู่บ่อยครั้ง และทำไมมุมไบถึงเป็นเป้าหมายของกลุ่มก่อการร้าย
อินเดียนั้นมีเมืองที่เสี่ยงต่อการถูกโจมตีโดยผู้ก่อการร้ายอยู่สองเมืองคือเดลีและมุมไบ เดลีนั้นเป็นเมืองหลวง เป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการและรัฐบาล รวมถึงสถานทูต ส่วนมุมไบนั้นเป็นเมืองหลวงทางเศรษฐกิจและการเงินของอินเดีย แต่เดลีนั้นhindu - muslim 92อยู่ทางตอนเหนือของประเทศใจกลางชมพูทวีป ซึ่งเข้าถึงยากกว่าโดยเฉพาะกลุ่มก่อการร้ายที่มาจากประเทศคู่อริอย่างปากีสถาน หรือแม้แต่กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงในประเทศอินเดียเองก็ตาม กลับกันเมืองมุมไบนั้นมีความเปราะบางทั้งทางภูมิศาสตร์และสภาพสังคม กล่าวคือมุมไบนั้นตั้งอยู่ริมชายฝั่ง เข้าถึงได้ง่ายกว่า การก่อการร้ายในปี 2008 กลุ่มก่อการร้ายก็ใช้วิธีลักลอบเดินทางด้วยเรือเล็กเข้ามาขึ้นฝั่งเมืองมุมไบ ทางด้านสังคมมุมไบเป็นเมืองหนึ่งที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ปัจจุบันมุมไบมีประชากรกว่า 20.5 ล้านคน และคาดกันว่าน่าจะขึ้นไปถึง 23 ล้านคนภายในปี 2015 ถึงแม้จะเป็นเมืองหลักทางเศรษฐกิจแต่ประชากรส่วนใหญ่นั้นยากจน ส่วนใหญ่เป็นผู้อพยพเข้ามาหางานทำ และอาศัยอยู่ในสลัม มุมไบจึงกลายเป็นเมืองหนึ่งที่มีความแตกต่างด้านชนชั้นมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และรัฐก็ไม่สามารถเข้าไปดูแลได้อย่างทั่วถึง เช่นกันในการก่อการร้ายในปี 2008 เมื่อกลุ่มก่อการร้ายได้ลักลอบเดินทางทางเรือมาขึ้นที่ชายฝั่งเมืองมุมไบซึ่งบางส่วนเป็นแหล่งอาศัยของคนจรจัดmumbai blast 2006 อันที่จริงแล้วก็มีคนเห็นกลุ่มคนนี้ขึ้นฝั่งเช่นกัน ซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติ แต่ก็ไม่มีใครสนใจ และไม่มีใครแจ้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ
อันที่จริงไม่เพียงแต่มุมไบเท่านั้น สังคมอินเดียโดยทั่วไปก็เปราะบางเช่นกัน โดยเฉพาะในเรื่องศาสนาซึ่งเป็นเหตุผลเบื้องหลังของการก่อการร้ายส่วนใหญ่ในอินเดีย และเมืองอย่างมุมไบมักจะกลายเป็นเหยื่อของการก่อการร้ายบ่อยครั้ง คนในมุมไบเชื่อว่าการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในมุมไบปัจจุบันนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ที่ชาวฮินดูเข้าทำลายมัสยิด Babri ในแคว้นอุตรประเทศ (Uttar Pradesh) ในเดือนธันวาคม 1992 ซึ่งเป็นมัสยิดเก่าแก่อายุกว่า 400 ปี สร้างในศตวรรษที่ 16 โดยกษัตริย์โมกุน ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 1000 รายซึ่งส่วนใหญ่เป็นมุสลิม สาเหตุที่ชาวฮินดูต้องการทำลายมัสยิดดังกล่าวเป็นเพราะมีผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวฮินดูท่านหนึ่งดำริให้สร้างวัดฮินดู ณ สถานที่ที่เป็นมัสยิด Babri โดยเชื่อว่าเป็นสถานที่กำเนิดของพระราม แต่ทางรัฐบาลต้องการจะปกป้องมัสยิดดังกล่าวเนื่องด้วยเป็นโบราณสถาน และเพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกันระหว่างชาวฮินดู กับชาวมุสลิม โดยทางการอินเดียได้ส่งหน่วยรักษาความปลอดภัยไปคุ้มครองมัสยิด แต่ก็ไม่สามารถตรึงกำลังไว้ได้ ส่งผลให้ชาวฮินดูเข้าไปทำลายมัสยิด และสังหารชาวมุสลิม ซึ่งก่อให้เกิดความตึงเครียดทั้งในด้านการเมืองและสังคมของอินเดียในตอนนั้นอย่างมาก และส่งผลให้เกิดการปะทะกันระหว่างชาวมุสลิมกับชาวฮินดูหลายพื้นที่ในอินเดียรวมทั้งมุมไบ และหลังจากนั้นราว 2 เดือน ในวันที่ 12 มีนาคม 1993 มุมไบก็ต้องประสบกับการก่อการร้ายครั้งใหญ่เมื่อมีระเบิดกลางเมืองมุมไบ 13 จุดซ้อนภายใน 75 นาที ทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 250 คน และบาดเจ็บกว่า 800 คน ซึ่งถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวใต้ดินของกลุ่มก่อการร้ายเป็นครั้งแรก ต่อมาในปี 1998 ได้เกิดจลาจลที่เกิดจากการปะทะกันระหว่างชาวมุสลิมและชาวฮินดูขึ้นสองครั้งในอินเดีย แต่ถูกเพิกเฉยโดยรัฐบาล หนำซ้ำยังมีข่าวว่านักการเมืองและข้าราชบางรายมีส่วนร่วมในเหตุจลาจลด้วย แต่ก็ไม่มีการสืบสวนอย่างจริงจังจากรัฐบาลแต่อย่างใด ทำให้ชาวมุสลิมกล่าวหาว่ารัฐบาลอินเดียนั้น เป็นพวกต่อต้านมุสลิม (Anti-Muslim) ซึ่งกลายเป็นเมล็ดพันธุ์แห่งความขัดแย้งระหว่างชาวฮินดูและมุสลิมโดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างมุมไบ
จากนั้นมาภาพพจน์ของมุมไบที่อินเดียพยายามจะสร้างให้เป็นเมืองอันทันสมัยทั้งทางด้านเทคโนโลยีและสังคม ก็ตกต่ำลงเรื่อยๆ กลายเป็นเมืองที่เปราะบาง เต็มไปด้วยความขัดแย้ง เต็มไปด้วยชุมชนแออัด นักการเมืองที่โกงกิน และมีโลกธุรกิจใต้Mumbai terrorism 2008ดินที่น่ากลัว และประสบกับภัยจากการก่อการร้ายอย่างต่อเนื่องดังนี้

บทความพิเศษ: บทวิเคราะห์สงครามการก่อการร้ายหลังยุคบิน ลาเดน

หลังจากปฏิบัติการสังหารบิน ลาเดน ของรัฐบาลสหรัฐฯ เสร็จสิ้น ท่ามกลางความคลุมเคลือในเรื่องต่างๆ ตั้งแต่วิธีการโจมตี ไปถึงการสังหารและศพของบิน ลาเดน แต่ก็ยังคงมีอีกหนึ่งคำถามที่พูดถึงกันอย่างกว้างขวาง นั่นคือสถานการณ์หลังยุคบิน ลาเดน นั้นจะเป็นเช่นไร ทั้งในสถานการณ์การต่อต้านการก่อการร้ายในระดับโลก รวมถึงนโยบายของประเทศสหรัฐฯ ที่มีต่อสงครามต่อต้านการก่อการร้าย หรือที่รัฐบาลสหรัฐเรียกว่า “War on terror” และนโยบายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจะเป็นเช่นไรต่อไป อันที่จริงแล้ว ก็คงเป็นเรื่องยากที่จะหาข้อสรุปที่เป็นคำตอบเด็ดขาดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่อาจจะสามารถคาดการณ์ได้พอประมาณโดยหาจุดอ้างอิงจากข้อเท็จจริงและทฤษฎี รวมถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ซึ่งในบทวิเคราะห์นี้ จะทำการวิเคราะห์คร่าวๆ ถึงอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้นหลังยุคบิน ลาเดน ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเสียชีวิตของบิน ลาเดน ที่มีต่อการก่อการร้ายระดับโลก และนโยบายของสหรัฐฯ
แม้รัฐบาลสหรัฐฯ จะประกาศถึงความสำเร็จของปฏิบัติการทางทหารที่มีชื่อว่า Geronimo ที่เข้าสังหารบิน ลาเดน หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ส่งทหารเข้าอัฟกานิสถานนับเป็นเวลาได้ 10 ปี แต่ก็ถือว่าเป็นปฏิบัติการค้นหาตัวบุคคลที่ใช้เวลานานและใช้งบประมาณมากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ และก็ไม่ใช่จุดจบของสงครามต่อต้านการก่อการร้าย รวมถึงตัวก่อการร้ายเอง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญหลายประเทศเห็นตรงกันว่า การสังหารบิน ลาเดน นั้น คงไม่ทำให้การก่อการร้ายยุติ อย่างไรก็ตาม จะว่าไปแล้วตัวบิน ลาเดน เอง ในช่วงหลังๆ ก็ค่อนข้างเสียอิทธิพลต่อความคิดและการกระทำของมุสลิมส่วนใหญ่ จากตัวเลขของ Pew Research Center ที่ได้ทำการสำรวจความเชื่อมั่นต่อตัวบิน ลาเดน เปรียบเทียบระหว่างปี 2546 และปี 2554 จะเห็นได้ดังนี้

การฝึกร่วมผสม Cobra Gold 2012

เมื่อวันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมากองกำลังจากหน่วยนาวิกโยธินของสามประเทศได้แก่ ประเทศไทย เกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกา ได้ทำการฝึกภาคการโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก ตามแนวชายหาดยาว ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งการฝึกครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในการฝึกร่วมผสม Cobra Gold 2012 ที่มีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างขีดความสามารถของกำลังพล การฝึกปฏิบัติการร่วมกับมิตรประเทศเพื่อเตรียมความพร้อมกับสถานการณ์ต่างๆ ทั้งทางทหารและ ภารกิจอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการบ ทั้งในระดับยุทธการและยุทธวิธี รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการฝึกซ้อมเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในกองทัพ รวมไปถึงการประสานความร่วมมือในกรอบของการรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค

พร้อมกันนี้ยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างมิตรประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยกับสหรัฐฯมีความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นมาเป็นเวลาอันยาวนานที่สุดในภูมิภาค ซึ่งในครั้งนี้เป็นการฝึกครั้งที่ 31 โดยครั้งแรกนั้นได้ถูกจัดขึ้นเมื่อปี 2499

เหตุระเบิด 14 กุมภาฯ - การโดนลูกหลงของประเทศไทย

เหตุการณ์ระเบิด 3 จุดในย่านสุขุมวิทเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา แม้ว่าจะใช่หรือไม่ใช่การก่อการร้ายก็ตาม แต่ภาพข่าวที่ออกไปสู่สายตาชาวโลก รวมถึงการประกาศเตือนประชาชนของตนจากประเทศต่างๆ ให้ระมัดระวังในการเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยนั้น ก็ทำให้ภาพพจน์ประเทศไทยออกมาไปในทางลบเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในแง่ของการเฝ้าระวังการก่อการร้ายจากการที่มีคำเตือนว่าไทยอาจจะเป็นเป้าหมายของกลุ่มก่อการร้ายเมื่อต้นปีที่ผ่านมา สำหรับคนไทย แน่นอนว่าเมื่อดูจากรูปการณ์แล้วอาจจะสบายใจได้ไปเปราะหนึ่งว่าการก่อการที่ชาวอิหร่านกลุ่มดังกล่าวกำลังคิดวางแผนแล้ว “แผนแตก” นั้น ไม่ได้มีเป้าประสงค์ต่อชีวิตคนไทยโดยตรง แต่น่าจะมีเป้าหมายเพียงสังหารบุคคล ส่วนบุคคลที่ว่านั้นทางตำรวจก็ออกมากล่าวว่าผู้ต้องหายอมรับว่าเป็นนักการทูตของอิสราเอลที่เป็นเป้าหมาย ซึ่งเหมือนกับเหตุการณ์การพยายามสังหารนักการทูตอิสราเอลที่เกิดขึ้นในประเทศอินเดียและจอร์เจียก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยคนไทยก็น่าจะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น สาเหตุคืออะไร และสายตาของสื่อต่างๆ ทั่วโลกมองเหตุการณ์ที่เกิดในประเทศไทยเช่นนี้อย่างไร
เหตุการณ์ระเบิดสามจุดซ้อนในย่านกลางเมืองของกรุงเทพฯ อย่างสุขุมวิทนั้น สร้างความตื่นตระหนกให้กับคนไทยเป็นอย่างมาก จนถึงตอนนี้เหตุการณ์เริ่มจะแน่ชัดแล้วว่าเกิดจากความขัดแย้งกันระหว่างประเทศอิสราเอลกับประเทศอิหร่าน และประเทศไทยกลายเป็นฉากหนึ่งของการก่อการซึ่งหมายสังหารบุคคลสำคัญของอิสราเอล นอกเหนือไปจากประเทศอินเดียและประเทศจอร์เจียที่เกิดเหตุการณ์พยายามสังหารนักการทูตของอิสราเอลโดยชาวอิหร่านไปก่อนหน้านั้น ซึ่งทางอิสราเอลออกมากล่าวว่าแผนการรวมถึงอุปกรณ์ที่ตรวจพบในไทยคล้ายกับที่พบในอินเดียและจอร์เจีย และเป็นไปได้ที่จะเป็นกลุ่มคนจากเครือข่ายเดียวกันและวางแผนจะทำการคล้ายคลึงกันแต่กลับมา “แผนแตก” เสียก่อน ในขณะเดียวกันอิหร่านก็ออกมาปฏิเสธเสียงแข็งว่าทางรัฐบาลอิหร่านไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอินเดีย จอร์เจีย และไทย แม้ว่าผู้ก่อการจะเป็นชาวอิหร่านก็ตาม
ช่วงตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงต้นปีนี้ สหรัฐฯ ได้พุ่งเป้าหมายใหม่ไปที่อิหร่าน โดยใช้ข้ออ้างเรื่องโครงการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่าน ความขัดแย้งในเรื่องเก่าแต่รอบใหม่นี้ส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และพันธมิตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศอิสราเอล กับประเทศอิหร่านถึงจุดเปราะบางอีกครั้ง แต่หากย้อนกลับไปเมื่อช่วงสองปีที่ผ่านมาจะพบว่ามีความพยายามหยุดยั้งการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ของอิหร่านโดยการสังหารนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์ของอิหร่านไปถึง 4 คนและโจมตีบริเวณโรงปฏิบัติการโครงการนิวเคีลยร์ของอิหร่านอีกราว 2-3 ครั้งในช่วงปี 2010 – 2012 ซึ่งทางอิหร่านสงสัยว่าจะเป็นหน่วย Mossad ซึ่งเป็นหน่วยข่าวกรองและสายลับของอิสราเอลและ CIA ของสหรัฐฯ เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ฉะนั้นต้นสายปลายเหตุที่น่าจะเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในไทยนั้นก็น่าจะเกิดจากความต้องการ “เอาคืน” ของอิหร่าน โดยการพยายามสังหารบุคคลสำคัญของประเทศอิสราเอล

เก็บภาพเกาะเกร็ดมาฝากให้ชมกัน

@...เก็บภาพเกาะเกร็ดมาฝาก...อย่างจุใจครับ...@
บ้านเกร็ดน้อย น้ำอ้อมผ่านในย่านเกร็ด
ขุดคลองเสร็จเกิดเกาะเหมาะเหลือหลาย
ชื่อเกาะเกร็ดเสร็จสมัยอยุธยาปลาย
พระเจ้าท้ายสระโปรดเกล้าฯพรธนบุรี

คุมคนหมื่นเศษขุดคลองเดือนสาม
แล้วเสร็จตามความมุ่งหมายปลายเดือนสี่
จุลศักราช1084 จัตวาศกตกพอดี
เทียบเป็นปี2265พุทธศักราชไทย

เมื่อแรกขุดกว้าง 6 วา ลึก 6 ศอก
ความยาวบอก 39 เส้นเป็นข้อไป
คลองลัดเกร็ดจึงมีชื่อระบือไกล
เดี๊ยวนี้ใหญ่ลึกกว้างทางสัญจร


สรุป เกาะเกร็ด
มีเนื้อที่ 4,500 ไร่ 4,008 ตารางกิโลเมตร 1 ตำบล
 7 หมู่บ้าน 5 วัด พลเมือง 6085 คน

.....................................................................
@...เกาะเกร็ดอยู่ไม่ไกลจากที่พักผมมากนัก
พูดไปแล้วเหมือนใกล้เกลือกินด่าง 
ไม่เคยไปสัมผัสเยือนเกาะเกร็ดเลย
พอว่างมีโอกาสเลยโทรหาเพื่อนชวนกันข้ามไปเกาะเกร็ดกันครับ
( อา.10 กพ.2551 )

.........................................................
@...มองผ่านเกาะเกร็ดจากบนสะพานพระราม 4




@...แผนที่ข้ามไปเกาะเเกร็ดที่วัดกลางเกร็ด


สามารถข้ามไปเกาะเกร็ดได้ 2 จุด คือ
1.ท่าเรือวัดสนามเหนือ
2.ท่าเรือวัดกลางเกาะ
#...ผมข้ามเรือจากวัดกลางเกร็ด ยังท่าเรือป้าฝ้าย
เมื่อข้ามมาแล้วก็จะเริ่มทัวร์เกาะเกร็ด
จากจุดท่าเรือป้าฝ้าย  หากเดินตรงไประยะทางจะไกลมากประมาณ 5 กม.
แต่ผมเลี้ยวขวาผ่านวัดฉิมพลีสุทธาราม...
ผ่านหมู่บ้าน OTOP...ไปยังวัดปรมัยยิกาวาส
@...แผนที่เกาะเกร็ด


@...เรามาเริ่มการเดินทางเลยครับ...





@...ร้านก๋วยเตี๋ยวริมทางเดินนี้..มีรังนกเต็มต้นไม้เลย

@...วัดป่าเลไลย์


วัดฉิมพลี
 ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเกร็ด มีโบสถ์ขนาดล็กงดงามมาก
 และยังมีสภาพสมบูรณ์แบบเดิมเป็นส่วนใหญ่
หน้าบันจำหลักไม่เป็นเทพทรงราชรถ
ล้อมรอบด้วยลายดอกไม้ ซุ้มประตูยอดมณฑป
ซุ้มหน้าต่างแบหน้านาง ยังคงให้เห็นความงามอยู่
ฐานโบสถ์โค้งแบบเรือสำเภา


@...หมู่บ้าน OTOP

@...ย่านเตาครก
เหลือเพียงให้ศึกษาครับ...


@..อีกเตาที่อยู่คนละข้างระหว่างทางเดิน

@...ขณะเดินชมจะไม่เหงา  มีทั้งสินค้ามากมายตามรายทาง
 และผู้คนนักท่องเที่ยวเดินสวนกันไปมา...



@..บ้านเรือนไทยหลังนี้สวยงามมากครับ
ยิ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยายิ่งดูมีเสน่ห์มากขึ้น
( ดูเหมือนจะเป็นร้านอาหาร  หรือเปล่า ? ..ไม่แน่ใจครับ )

 หมู่บ้านเครื่องปั้นดินเผา 
ตั้งอยู่บริเวณสองบ้างทางเดินรอบเกาะเกร็ดทั้งด้านซ้าย
 และด้านขวาของวัดปรมัยยิกาวาส
เป็นหมู่บ้านที่ทำเครื่องปั้นดินเผาภาชนะของใช้ในชีวิตประจำวัน
 เช่น กระถาง ครก อ่างน้ำ เป็นต้น
แหล่งใหญ่และเก่าแก่ของจังหวัดนนทบุรี
สามารถชมขั้นตอนต่างๆในการทำเครื่องปั้นดินเผ่า
ตั้งแต่การเตรียมดินจนถึงวิธีการนำเข้าเตาเผา

@...เริ่มที่ปากทางเข้า...
พบรูปปั้นนูนต่ำ...โชว์ไว้อย่างสวยงาม...


@..ตากกันเห็นๆเลยครับ...

@..นักท่องเที่ยวกำลังมุงดูช่างกำลังปั้นขึ้นรูป..ครับ
อยากจะลองปั้นเองก็ได้ครับ...เสียค่าปั้น 20.บาท...




@..นี่...ก็อีกบ้านหลังหนึ่งที่ปั้นกันเห็นๆๆๆ

@...นี่แหละดินที่เขาจะเอาไปตัด..แล้วไปปั้นขึ้นรูปครับ...

@...กำลังขึ้นรูป

@...เตาเผา
( ผมรอน้องสาวคนนี้ไม่ไหว..เลยถ่ายมาด้วยซะเลย..ฮิฮิฮิ... )

@...สินค้าประเภทขนม และของเล่นเก่าๆก็มีขาย
( น้องๆรุ่นใหม่กำลังสนใจ...เพราะเกิดไม่ทัน...ถามใหญ่เลย...)





@...ภาพวาด..ที่สื่อถึงวิถีชีวิตชาวเกาะเกร็ด...( ในอดีต )

@...บรรยากาศดีๆ...กินอาหารริมแม่น้ำเจ้าพระยา

@...แล้วก็เดินมาถึงวัดปรมัยยิกาวาส
วัดปรมัยยิกาวาส
ตั้งอยู่ที่ตำลบลเกาะเกร็ด
เยื้องท่าเรือสุขาภิบาลปากเกร็ดไปทางใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร
 และอยู่ตรงข้ามกับท่าเรือวัดสนามเหนือ
 เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร
 สร้างแบบรามัญ เดิมวัดนี้เป็นวัดเก่า ชื่อวัดปากอ่าว
   ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ
 ให้ปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งวัด และโปรดให้สร้างพระเจดีย์รามัญ
บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระราชทานนาม "วัดปรมัยยิกาวาส"
เนื่องจาก ศิลปะการสร้างมีลักษณะแบบมอญ พระเจดีย์ทุกองค์สร้างแบบมอญ
 และพระพุทธรูปพระประธาน ในโบสถ์ สลักด้วยหินอ่อนแบบมอญด้วย
จึงเรียกกันว่า "วัดมอญ"
ภายในวัดมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง และบานประตู
 หน้าต่างโบสถ์ประดับลายปูนปั้นสวยงาม
   วัดปรมัยยิกาวาสเป็นวัดเดียวที่ยังเก็บรักษาพระไตรปิฎกภาษามอญไว้
 ถือเป็นวัดศูนย์กลางของชุมชนชาวมอญ และมีโบราณวัตถุสมัยอยุธยาตอนปลาย


@...องค์พระประธานภายในอุโบสถวัดปรมัยยิกาวาส

@...พระรีอริยะเมตตรัย..ที่อยู่ด้านนอกริมแม่น้ำเจ้าพระยา


พระเจดีย์มุเตา
 เป็นเจดีย์ทรงรามัญ ตั้งอยู่ด้านเหนือของวัดติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา
สันนิษฐานว่าสร้างโดยชาวมอญที่อพยพเข้ามารุ่นแรกในสมัยกรุงธนบุรี
 เป็นเจดีย์เก่าแก่ มีลักษณะเอียงแทบจะตกลงแม่น้ำเจ้าพระยา
เป็นลักษณะที่เห็นได้ชัดเจน


@...อาจารย์กำลังแนะนำนักศึกษา..
ในการวาดรูปวิวพระเจดีย์มุเตา ...


@...มีเรือให้เหมาชมรอบเกาะด้วยครับ...

@...เอ้า..!...ป้ายเยอะแยะเลย...จะไปทางไหนดีเนาะเรา....?

@...ไปทางนี้ก็แล้วกัน...


@...เครื่องปั้นดินเผาสวยๆทั้งนั้น..


@...เอ๊ะ...คนนี้เหมือนคุ้นๆนะ...
( เหมือนพระเอกรุ่นเก่าจังฮิ...)

@..ขอทิ้งท้ายด้วยโคมไฟสวยๆครับ...


...........................................................................................................................





@...ขอขอบคุณ
บางภาพและข้อมูลจากในอินเตอร์เน็ต..ครับ