วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เมา63


พล.ร.ต.ธานี ผุดผาด ผบ.กลน.กร.ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่องเอ็นบีที เกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยทางน้ำ ปี 2554


 ผู้บัญชาการกองเรือลำน้ำ ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่องเอ็นบีที เกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยทางน้ำ โดยผู้สื่อข่าวได้ถามว่า
โดยปกติภารกิจของ     กองเรือลำน้ำ ถ้าไม่ช่วยน้ำท่วมโดยตรง แล้วทำหน้าที่อะไร
“ หน่วยทหารทั่วๆ ไป เรามีหน้าที่ป้องกันประเทศโดยพื้นที่รับผิดชอบของ กองเรือลำน้ำ ได้แก่บริเวณตามลำแม่น้ำอาณาเขตและลำน้ำสำคัญในประเทศ โดยจะมีหน่วย นรข.ซึ่งเราเรียกว่าหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง ซึ่งปฎิบัติหน้าที่ที่ จ.เชียงราย ถึง จ.อุบลราชธานี กำลังพลส่วนใหญ่ที่ส่งไปปฎิบัติราชการส่วนมาก กองเรือลำน้ำ จะเป็นหน่วยฝึกศึกษาที่กองเรือลำน้ำ ส่งไปปฎิบัติราชการ ที่ หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง ”
ส่วนภารกิจน้ำท่วมครั้งนี้กองทัพเรือได้มอบหมายให้กองเรือลำน้ำเข้าไปช่วยเหลือในรูปแบบใดบ้าง
“ เริ่มตั้งแต่เริ่มมีวิกฤติที่ จ.อยุธยา ประมาณวันที่  ๔ ตุลาคม ๒๕๕๔ ทาง ผบ.ทร.ท่าน พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานทุกหน่วยงานของกองทัพเรือ ให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่โดย กองทัพเรือ เราได้ แบ่งออกเป็นหน่วยงานหลักเป็น ๒ หน่วย ก็คือ หน่วยบรรเทาสารณภัยทางน้ำ และหน่วยบรรเทาสารณภัยทางบก ซึ่ง ทางบกก็มีหน้าที่ดูแลพื้นที่รับผิดชอบ ๑๖ เขตในกรุงเทพฯ โดยกองเรือลำน้ำ รับผิดชอบ ในการบรรเทาสารณภัยทางน้ำตามแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ จ.ปทุมธานี  จ.นนทบุรี และจ.สมุทรปราการ
ส่วนในการช่วยเหลือในรูปแบบของสถานีเรือ
“ เป็นแนวความคิดของ ผบ.ทร. เมื่อเกิดวิกฤติเราจะทำอย่างไร ประชาชนที่อยู่ บริเวณ ๒ ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งไม่ห่างจาก กองบัญชาการ กองทัพเรือ และกองเรือลำน้ำมากนัก มีการกำหนดจุด การเคลื่อนย้าย การอพยพผู้คนเมื่อเกิดวิกฤติ โดยเราได้ประสานงานกับชุมชนต่างๆไว้แล้ว ส่วนการเตรียมเรือ เช่นเรือด่วนเจ้าพระยา เรือของกรุงเทพ ก็ดี ร่วมทั้ง เรือของกรมขนส่งทหารเรือ ในการเตรียมว่าชุมชนที่มีความเสี่ยงถ้าเกิดวิกฤติเราจะอพยพอย่างไร โดยที่เราได้กำหนดไว้ ๔ จุด คือ บริเวณตั้งแต่ วัดประยูรวงศาราม ถึง สะพานพระราม ๖  ในส่วนแพช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ไปตั้งตามจุด มีแนวความคิดว่า ถ้ามีพื้นที่ที่ไม่ไกลที่จะช่วยเหลือประชาชนได้จะสะดวกยิ่งขึ้น มีความคิดจะจัดทำสถานี เป็นแพช่วยเหลือผู้ประสบภัยลอยน้ำ ก็คือในแพจะมีศูนย์พักพิงชั่วคราว รับผู้อพยพได้ ๕๐ คน ต่อแพ โดยเราก็สามารถที่จะส่งต่อไปยังขนส่งทางบกได้ หรือก็ที่จุดอื่นที่เราได้ประสานกับหน่วยราชการ ตามริมฝั่งแม่น้ำไว้แล้ว เรามีความประสงค์ว่า เป็นศูนย์พักพิงชั่วคราว ส่วนในเรื่องของการเดินทางที่ไม่สะดวก ก็จะจัดแพทย์เคลื่อนที่ มีสุขาลอยน้ำ ผมได้พูดคุยกับประชาชนในพื้นที่น้ำท่วม ทำให้ประชาชนรู้สึกพึงพอใจมากที่เราได้เอาแพมาอยู่ประจำจุด  อีกประการหนึ่งพอมีข่าวประกาศออกไป พี่น้องประชาชนได้ทราบข่าวว่าเรามีจุดอยู่บริเวณนี้ก็จะมาใช้บริการ ถ้าหน่วยงานใดที่มีความประสงค์ที่จะมาช่วยเหลือผู้ประสบภัย ก็มาที่นี้ได้ เราจะอำนวยความสะดวกให้ จะเห็นว่าผมจะมีเรือเล็กหลายลำ ที่จะนำพาไปส่งให้ความช่วยเหลือไปถึงได้เร็ว เรามีการสำรวจทุกวันว่าตรงไหนไปไม่ถึง เวลามีหน่วยงานมา เราจะพาไปจุดให้ความช่วยเหลือที่ไปไม่ถึง  โดยคิดว่าสามารถจะช่วยพี่น้องประชาชนที่อยู่บริเวณนั้นได้ดี  สำหรับภารกิจของกองเรือลำน้ำนั้น จะมีภารกิจในการขนส่งถุงยังชีพเป็นจำนวนมาก จึงได้ขอรับการสนับสนุนจาก กองเรือทุ่นระเบิด โดยได้จัดเรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้น จำนวน ๖ ลำ พร้อมเรือยาง เข้ามาร่วมทำงานกับกองเรือลำน้ำ โดยจะใช้เรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้นและเรือยาง บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำสาขาต่างๆ สำหรับสายด่วนของกองทัพเรือ หมายเลข ๐๒๔๗๕๓๓๑๕ และก็หมายเลข ๐๒๔๗๕๓๓๑๖ หรือถ้ามีข้อมูล โทรสาร ๐๒๔๗๕๓๓๑๔ เรามีผู้รับสายตลอด ๒๔ ชั่วโมง นะครับ เมื่อมีความต้องการความช่วยเหลือเข้ามาต้องได้รับการแก้ไข ถ้าอยู่นอกพื้นที่เรา เราจะติดต่อให้จนกว่าจะได้รับการช่วยเหลือ ”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น