อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2554
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพถ่ายจากดาวเทียม RADARSAT-2 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554 แสดงพื้นที่ประสบภัยพิบัติบริเวณภาคกลางของไทย | |
ระยะเวลา: | 25 กรกฎาคม 2011 – ปัจจุบัน (193 วัน) |
ยอดเสียชีวิต: | 813[1] |
ความเสียหาย: | 1.44 ล้านล้านบาท (ธนาคารโลกประเมิน) |
พื้นที่ประสบภัย: | 65 จังหวัด 684 อำเภอ 4,920 ตำบล 43,636 หมู่บ้าน[2] |
อุทกภัยดังกล่าวทำให้พื้นดินกว่า 150 ล้านไร่ (6 ล้านเฮกตาร์) ซึ่งในจำนวนนี้เป็นทั้งพื้นที่เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมใน 63 จังหวัด 684 อำเภอ ตั้งแต่จังหวัดเชียงใหม่ สุโขทัย ตาก พิษณุโลก กำแพงเพชร ทางภาคเหนือ ไปจนถึง พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ปทุมธานี นครนายก นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ ปราจีนบุรี กรุงเทพมหานคร ในที่ราบลุ่มภาคกลาง ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ นครราชสีมา ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง
ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 4,086,138 ครัวเรือน 13,595,192 คน บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 2,329 หลัง บ้านเรือนเสียหายบางส่วน 96,833 หลัง พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะได้รับความเสียหาย 11.20 ล้านไร่ ถนน 13,961 สาย ท่อระบายน้ำ 777 แห่ง ฝาย 982 แห่ง ทำนบ 142 แห่ง สะพาน/คอสะพาน 724 แห่ง บ่อปลา/บ่อกุ้ง/หอย 231,919 ไร่ ปศุสัตว์ 13.41 ล้านตัว มีผู้เสียชีวิต 813 ราย (44 จังหวัด) สูญหาย 3 คน (จ.แม่ฮ่องสอน 2 ราย จ.อุตรดิตถ์ 1 ราย)[5]
อุทกภัยครั้งนี้ถูกกล่าวขานว่าเป็น "อุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดทั้งในแง่ของปริมาณน้ำและจำนวนผู้ได้รับผลกระทบ"[6]
[แก้] สาเหตุ
อุทกภัยครั้งนี้เริ่มขึ้นในระหว่างฤดูมรสุม เมื่อพายุหมุนนกเตนขึ้นฝั่งทางตอนเหนือของเวียดนาม ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทำให้เกิดอุทกภัยในหลายจังหวัดเริ่มตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม[7] ภายในสัปดาห์แรกของอุทกภัยก็มีรายงานผู้เสียชีวิตถึงสิบสามคน[8] อุทกภัยดำเนินต่อไปในสิบหกจังหวัดขณะที่ฝนยังคงตกลงมาอย่างหนัก และภายในเวลาไม่นานอุทกภัยก็ลุกลามไปทางใต้เมื่อแม่น้ำเจ้าพระยาได้รับน้ำปริมาณมากจากแม่น้ำสาขา และส่งผลกระทบต่อหลายจังหวัดในภาคกลาง จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม ยี่สิบห้าจังหวัดยังได้รับผลกระทบ และเสี่ยงต่ออุทกภัยเพิ่มเติม เนื่องด้วยเขื่อนส่วนใหญ่มีระดับน้ำใกล้หรือเกินความจุ[9]ปริมาณฝนในเดือนีนาคมเหนือพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยอยู่ที่ 344% มากกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งไม่ปกติ โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพลได้รับปริมาณน้ำฝน 242.8 มิลลิมเตร มากกว่าปกติ 25.2 มิลลิเมตร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมเป็นต้นมา เขื่อนได้สะสมน้ำแล้ว 245.9 มิลลิมเตร หรือ 186% มากกว่าค่าปกติ[10]
โดยก่อนหน้านี้ได้เกิดอุทกภัยและดินถล่มทางภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคมแล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 53 คน[11] และสร้างความเสียหายมากกว่า 500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ[12]
- ดูเพิ่มที่ อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ. 2553
[แก้] ภาคเหนือ
จังหวัดที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมได้แก่[แก้] พะเยา
วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ศูนย์ราชการอำเภอดอกคำใต้หยุดให้บริการหลังเกิดน้ำท่วมสูง น้ำยังเข้าท่วมบ้านเรือนมากกว่า 2,000 หลัง ถนนสายพะเยา-เชียงคำถูกน้ำท่วมสูงจนรถไม่สามารถวิ่งผ่านได้ ขณะที่โรงเรียนมากกว่า 6 แห่ง ต้องหยุดการเรียนการสอนอย่างไม่มีกำหนด ด้านสำนักงานเทศบาลเมืองดอกคำใต้ เร่งให้เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือชาวบ้านโดยการขนย้ายสิ่งของ และนำกระสอบทรายเข้าป้องกัน[19][แก้] น่าน
วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554 น้ำจากลำน้ำน่านและลำน้ำสาขา ไหลเข้าท่วมบ้านกว่า 1,000 หลังคาเรือน ขณะที่ในเขตเทศบาลเมืองน่าน น้ำได้เข้าท่วมตามถนนและชุมชนใกล้ลำน้ำน่าน รถเล็กไม่สามารถผ่านตามถนนได้ น้ำยังเข้าท่วมในเขตอำเภอภูเพียง ถนนระหว่างอำเภอสันติสุขกับอำเภอภูเพียงถูกตัดขาด[20][แก้] เชียงใหม่
จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 16 อำเภอ รวมทั้งเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ พื้นที่เกษตรได้รับความเสียหาย 22,237 ไร่ ปศุสัตว์ 1,286 ตัว ประมงเสียหาย 95 บ่อ บ้านเรือนเสียหาย 1,557 หลัง ถนนเสียหาย 59 สาย สะพาน 21 แห่ง เหมืองฝาย 103 แห่ง มูลค่าความเสียหายประมาณ 11,357,333 บาท[21]นายแพทย์ชัยพร พรหมสิงห์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนายมัยที่ 10 เปิดเผยว่า โรงพยาบาลได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมซึ่งระดับน้ำได้ไหลเข้าท่วมชั้นล่างของอาคารผู้ป่วยระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร ทำให้ต้องใช้รถหกล้อขนาดใหญ่ส่งต่อผู้ป่วยจำนวน 5 ราย ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลนครพิงค์[22]
วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554 เกิดเหตุน้ำล้นเขื่อนแม่กวงเข้าท่วมอำเภอสันทราย ราษฎรได้รับผลกระทบกว่า 1,000 ครัวเรือน วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 น้ำได้เข้าท่วมเขตตัวเมืองเชียงใหม่ ทำให้โรงแรมกว่า 10 แห่งได้รับผลกระทบ โดยนักท่องเที่ยวบ้างขอย้ายโรงแรม และบ้างที่จองพักล่วงหน้าได้ขอเลื่อนเข้าพัก ด้านบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ประเมินมูลค่าความเสียหายจากอุทกภัยครั้งนี้ไว้ที่ 7-8 พันล้านบาท[23] สราวุฒิ แซ่เตี๋ยว นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ระบุว่า รายได้จากการท่องเที่ยวและค้าขายในจังหวัดเชียงใหม่สูญแล้วกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ยังคาดจำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้น 20% จากปีที่แล้ว เพราะจังหวัดจะจัดกิจกรรมหลายอย่างในช่วงฤดูท่องเที่ยว[24]
[แก้] เชียงราย
อ่างเก็บน้ำห้วยสัก ตำบลท่าสุด อำเภอเมือง ฐานดินพังทลาย จึงต้องซ่อมแซมก่อนที่อ่างเก็บน้ำจะแตก ที่ถนนสายแม่สรวย-ดอยวาวี บริเวณหมู่ 8 ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย ดินพังทลายเป็นทางกว้างประมาณ 100 เมตร และลึกกว่า 20 เมตร[25] ไม่สามารถสัญจรได้ และต้องซ่อมแซมอีกครั้งหลังเพิ่งซ่อมแซมมาได้ไม่นาน ส่วนถนนเขตเทศบาลนครเชียงรายเกิดน้ำท่วมขัง จนโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ต้องนำรถพยาบาลออกมารับผู้ป่วย[26][แก้] อุตรดิตถ์
จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับความเสียหายใน 4 อำเภอ 13 ตำบล 48 หมู่บ้าน[27] ทางหลวงหมายเลข 1146 ช่วงกิโลเมตรที่ 4-5 ได้รับความเสียหาย รถยนต์ไม่สามารถสัญจรผ่านได้ ที่อำเภอเมือง พบว่าฝายน้ำล้นชำรุดและท่อลอดเหลี่ยมได้รับความเสียหายหลายจุด ที่อำเภอฟากท่า น้ำป่าไหลเข้าท่วม 2 ตำบล 5 หมู่บ้าน ที่อำเภอน้ำปาด น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วม สะพานข้ามบ้านนาน้ำพราย ตำบลเด่นเหล็ก ชำรุดเสียหายวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554 เกิดน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มที่บ้านห้วยเดื่อ ตำบลน้ำไผ่ อำเภอน้ำปาด ส่งผลให้สะพานบ้านห้วยเดื่อ และสะพานบ้านต้นขนุนขาด น้ำป่าได้พัดบ้านเรือนไปทั้งสิ้น 12 หลัง มีผู้สูญหาย 7 คน บาดเจ็บ 3 คน บ้านพักครูโรงเรียนบ้านห้วยคอม หมู่ที่ 4 ตำบลน้ำไผ่ ถูกน้ำป่าพัดหายไป 1 หลัง และช่วง 2.20 น. น้ำป่าได้พัดพาคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนไปกับกระแสน้ำ[28]
[แก้] แพร่
จังหวัดแพร่ทั้งจังหวัดมีฝนตกหนักติดต่อกัน 2 วัน 2 คืน ปริมาณน้ำที่ตกลงมามากในพื้นที่ต้นน้ำ ส่งผลให้น้ำป่าไหลเป็นปริมาณมาก น้ำป่าที่ไหลจากด้านตะวันออกของเขตเทศบาลเมืองแพร่เข้าท่วมตัวเมือง รถยนต์ไม่สามารถสัญจรเข้าออกได้ อำเภอสูงเม่น น้ำแม่มาน น้ำแม่สาย มีน้ำป่าไหลทะลักเข้าท่วมบ้านสบสาย มีระดับสูงถึง 1 เมตร อำเภอเด่นชัย ลำห้วยแม่พวกซึ่งเป็นลำห้วยขนาดใหญ่ที่สุดของอำเภอ มีน้ำป่าทะลักรุนแรง ท่วมโรงเรียนบ้านห้วยไร่ที่อำเภอลอง น้ำแม่ต้า น้ำป่าทำให้บริเวณทางเข้าสถานีรถไฟบ้านปิน ตัดทางรถไฟ ซึ่งการรถไฟได้ส่งพนักงานเข้าซ่อมอย่างรวดเร็วให้กลับมาใช้การได้ หมู่บ้านสบสาย ตำบลสบสาย อำเภอสูงเม่น และตำบลแม่ปาน อำเภอลอง มีน้ำเข้าท่วมถนนหลายพื้นที่ และที่ตำบลทุ่งแล้ง อำเภอลอง หมู่ 1 หมู่ 9 ระดับน้ำบางจุดเข้าท่วมบ้านเรือนกว่า 2 เมตร เจ้าหน้าที่กู้ภัยพานพิทักษ์อำเภอร้องกวาง ประสบอุบัติเหตุเรือล่มขณะออกช่วยเหลือประชาชน แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต[29]
[แก้] ลำพูน
วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 น้ำป่าจากดอยปงแม่ลอบได้ไหลเข้ามาสมทบกับแม่น้ำลี้ที่ไหลผ่านตัวอำเภอบ้านโฮ่ง และไหลรวมกันเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในอำเภอบริเวณกว้างตั้งแต่เช้า ถนนลำพูน-ลี้ ถูกน้ำท่วมสูง รถเล็กไม่สามารถวิ่งผ่านได้[30] วันที่ 3 สิงหาคม 2554 จังหวัดลำพูนมีพื้นที่ประสบภัย 4 อำเภอ 23 ตำบล 243 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับผลกระทบ 35,001 คน 10,790 ครัวเรือน มีบ้านเรือนราษฎร ตลิ่ง พนังกั้นน้ำ นาข้าวได้รับความเสียหาย[31] วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554 ประจักษ์จิตต์ อภิวาท รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เปิดเผยว่า มีประชาชนอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับเงินช่วยเหลือครัวเรือนละ 5,000 บาท รวม 5 อำเภอ จำนวน 2,299 ครัวเรือน[32][แก้] ลำปาง
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางประกาศให้ทั้งจังหวัดเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉิน ที่ผ่านมามีประชาชนได้รับความเดือดร้อนจำนวน 153,173 คน นาข้าวเสียหายกว่า 30,000 ไร่ และมูลค่าค่าความเสียหายเบื้องต้นประเมินไว้สูงกว่า 1 ร้อยล้านบาท[33][แก้] แม่ฮ่องสอน
น้ำท่วมส่งผลให้ถนนเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้านนาจลองถูกตัดขาด และพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย ระดับน้ำในลำน้ำปายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว[34] ด้านผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่อำเภอแม่สะเรียง หลังบ้านเรือนในพื้นที่ได้รับความเสียหาย 540 หลังคาเรือน และสะพานแม่น้ำเงาขาด[35]ที่อำเภอปาย แม่น้ำปายเริ่มเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรตำบลปางหมู อำเภอเมือง ขณะที่บริเวณชุมชนเคหะในเขตเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วม เนื่องจากท่อระบายน้ำระบายน้ำไม่ทัน ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า ในพื้นที่อำเภอปาย พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายจากพายุหมุนนกเตน และถนนสายบ้านแม่ของและบ้านนาจลอง ตำบลแม่นาเติง น้ำท่วมขังไม่สามารถสัญจรผ่านได้[36]
[แก้] ภาคกลาง
จังหวัดที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมได้แก่[แก้] กรุงเทพมหานคร
ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 น้ำเริ่มท่วมบริเวณถนนพหลโยธินช่วงอนุสรณ์สถาน และพบเพิ่มเติมในพื้นที่อื่น ๆ อีก ทั้งมีไฟฟ้าดับในบางพื้นที่ การถ่ายรูปสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 ต้องเลื่อนออกไป[37] ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่เพิ่มสูงขึ้นได้ไหลเข้าท่วมตลาดพระเครื่อง ย่านท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554[38]วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานครมีประชาชนได้รับความเดือดร้อนแล้ว 73 ชุมชน 3,384 ครัวเรือน ทางกรุงเทพมหานครพยายามเร่งระบายน้ำออกทางประตูระบายน้ำ 3 แห่ง นอกจากนี้ ทางสำนักงานเขตได้เตรียมกระสอบทรายห้าแสนใบมอบให้กับประชาชนไปใช้ทำคันกันน้ำชั่วคราว[39] ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ทำให้เกิดน้ำท่วมขังหลายจุด[40]
วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานครได้จัดพิธีบวงสรวงพระแม่คงคาเพื่อขอให้น้ำลดอย่างรวดเร็ว[41] แต่ไม่ค่อยได้รับการตอบสนองอย่างเห็นชอบเท่าใดนัก[42][43] ด้วยปริมาตรน้ำมากที่สุดเป็นอันดับสองที่มีแนวโน้มจะท่วมกรุงเทพมหานคร ซึ่งนับเป็นปริมาณน้ำมากที่สุดนับแต่ พ.ศ. 2485[44] หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลมักมีข้อมูลที่ขัดแย้งกันและชวนสับสน[45] นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เรียกร้องให้ประชาชนในชาติสามัคคีกันเพื่อรับมือกับน้ำที่ไหลบ่ามาอย่างไม่ขาดสาย[46] อย่างไรก็ดี พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เคยแถลงยืนยันก่อนหน้านี้ว่า กรุงเทพมหานครจะไม่ประสบอุทกภัย
แม่น้ำเจ้าพระยาและสถานีสูบน้ำรอบกรุงเทพมหานครระบายน้ำอย่างน้อย 420,000,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน อย่างไรก็ดี การปล่อยน้ำจากเขื่อนต้นน้ำกรุงเทพมหานคร ประกอบกับฝนที่ตกลงมาเพิ่มเติม ทำให้มีการประเมินว่าน้ำอุทกภัย 16,000,000,000 ลูกบาศก์เมตรจะต้องระบายออก[47] ปริมาณน้ำที่มุ่งสู่กรุงเทพมหานครมีปริมาตร 16 ลูกบาศก์กิโลเมตร กรมชลประทานพยากรณ์ว่า หากไม่มีฝนตกลงมาอีก น้ำปริมาณนี้จะลงสู่ทะเลใช้เวลา 30 ถึง 45 วัน[47]
วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554 น้ำได้เอ่อท่วมที่ตลาดรังสิต และบริเวณถนนพหลโยธิน ซอยพหลโยธิน 87 ซอยพหลโยธิน 85[48]
วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554 สินค้าหลายอย่างเริ่มขาดแคลน รถทหารวิ่งสัญจรบนถนนในกรุงเทพมหานครทั้งกลางคืนและช่วงเช้า ชายชราผู้หนึ่งประสบอุบัติเหตุบนรถทหารขณะที่รถกำลังวิ่ง[49] ประชาชนนำรถยนต์ของตนจอดบนทางด่วนแม้มีคำสั่งห้าม[50] ประชาชนส่วนหนึ่งเดินทางไปต่างจังหวัดหลังรัฐบาลแนะนำเช่นนั้น[51]
วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรมีคำสั่งให้กรุงเทพมหานครเปิดประตูระบายน้ำคลองสามวา 1 เมตร ฝ่ายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องการให้เปิดเพียง 75-80 เซนติเมตร โดยทางผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอ้างเหตุผลว่า เพื่อป้องกันเขตนิคมอุตสาหกรรมบางชัน ขณะที่ทางม็อบปิดถนนนิมิตใหม่เรียกร้องให้เปิดประตูระบายน้ำ 1.5 เมตร[52]
วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เกิดความขัดแย้งอย่างหนักที่คลองสามวา[53] โดยประชาชนสองกลุ่มในเขตคลองสามวาและเขตมีนบุรี[54] ไม่พอใจในเรื่องขอการระบายน้ำผ่านประตูคลองสามวา มีการบุกรุกทำลายทรัพย์สินของทางราชการ แม้ว่านายกรัฐมนตรีจะมีคำสั่งให้เปิดประตูขึ้น 1 เมตรแล้วก็ตาม หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ออกคำสั่งตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจป้องกันเจ้าหน้าที่ของกรุงเทพมหานครเต็มความสามารถ[55] ซึ่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครกล่าวว่า ไม่สามารถไว้ใจตำรวจได้อีกต่อไป เพราะเพิกเฉยและไม่ต้องการขัดแย้ง หรือกลัวถูกชาวบ้านทำร้าย จึงจำเป็นต้องใช้อำนาจดังกล่าวลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง[56]
วันที่ 7 พฤศจิกายน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศให้เขตคลองสามวาเป็นเขตอพยพทั้งเขต ส่งผลให้มีพื้นที่อพยพเพิ่มขึ้นเป็น 12 เขต [57] วันที่ 8 พฤศจิกายน กรุงเทพมหานครได้ประกาศพื้นที่อพยพเพิ่มเติมในเขตบึงกุ่ม และยังแจ้งเตือนสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 2 แขวงของเขตบึงกุ่ม[58] วันที่ 9 พฤศจิกายน มีการประกาศเขตอพยพแล้ว 13 เขต ได้แก่ เขตดอนเมือง เขตสายไหม เขตหลักสี่ เขตบางเขน เขตคลองสามวา เขตบางพลัด เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา เขตบางแค เขตภาษีเจริญ เขตหนองแขม เขตจตุจักร วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 นิคมอุตสาหกรรมบางชันแจ้งเหตุฉุกเฉินระดับที่ 1 ไปยังผู้ประกอบการ 93 ราย[59]
วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแจ้งพื้นที่อพยพเพิ่มเติมในเขตบางกอกน้อย เขตจอมทอง และเขตบางบอน[60] ทหารได้ออกแผนปฏิบัติการแผนมะรุมมะตุ้มเพื่อกู้นิคมอุตสาหกรรมบางชันและถนนเสรีไทย[61]
วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานครได้ออกประกาศอพยพในพื้นที่เขตบางขุนเทียน[62] วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ประกาศอพยพในเขตพญาไท[63] แต่ต่อมาได้มีการแจ้งยกเลิกประกาศอพยพ[64] วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครประกาศอพยพในพื้นที่แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน บริเวณถนนบางขุนเทียน ตั้งแต่แยกพระราม 2 ถึงทางรถไฟสายวงเวียนใหญ่-มหาชัย[65] วันที่ 19 พฤศจิกายน ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม สรุปรายงานสถานการณ์สาธารณภัยว่ากรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ประสบภัยจำนวน 36 เขต จาก 50 เขต[66]
[แก้] กำแพงเพชร
จังหวัดกำแพงเพชรมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 11 อำเภอ 77 ตำบล 954 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 190,057 คน 67,192 ครัวเรือน บ้านถูกน้ำท่วมขังรวม 5,691 หลัง พื้นที่การเกษตรคาดว่าเสียหาย 902,536 ไร่ ฝาย 4 แห่ง คอสะพาน 2 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 1 แห่ง โรงเรียน 4 แห่ง โรงพยาบาล 1 แห่ง มีผู้เสียชีวิต 6 ราย[67][แก้] พิจิตร
ฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับน้ำป่าจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ ไหลลงมาจนลำคลองล้นและทะลักเข้าท่วมนาข้าว 5 ตำบล ประกอบด้วย ตำบลวังกรด ตำบลลำปะดา ตำบลบางไผ่ ตำบลหอไกร ช่วงใกล้เก็บเกี่ยววันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ที่ตำบลบางลาย อำเภอบึงนาราง ถูกน้ำท่วมมาเกือบ 1 เดือนแล้ว ซึ่งทางจังหวัดคาดว่าน้ำจะท่วมไม่ต่ำกว่า 3 เดือน รวมไปถึงความเสียหายในพื้นที่เกษตรกรรมที่คาดว่าจะกลับมาเพาะปลูกได้อีกครั้งต้นปีหน้า[68]
[แก้] นนทบุรี
วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554 สถานการณ์น้ำที่อำเภอบางใหญ่ ระดับน้ำเพิ่มขึ้นประมาณ 5 เซนติเมตร แต่ไหลแรงและเชี่ยวขึ้น ในขณะที่พื้นที่น้ำท่วมครอบคลุมทั้ง 6 ตำบล 69 หมู่บ้านแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่เทศบาลตำบลบางม่วง ขณะที่การสัญจรผ่านถนนกาญจนาภิเษกติดขัดอย่างหนัก ผ่านได้เฉพาะรถใหญ่และรถโฟร์วิลล์เท่านั้น ซึ่งทางอำเภอได้ประสานรถของกองทัพบก กองทัพเรือ และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานครในการรับส่งชาวบ้านไป 3 จุดหลัก คือถนนบรมราชชนนี แยกบางพูน และถนนวัดลาดปลาดุก[69][แก้] นครนายก
วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554 จังหวัดนครนายก เกิดฝนตกติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ที่ หมู่ 8 ตำบลเขาพระ อำเภอเมืองนครนายก น้ำเข้าท่วมบ้านเรือนกว่า 100 หลังพงษ์สวัสดิ์ ธีระวัฒนกุล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาพระ เปิดเผยว่า น้ำได้เอ่อท่วมบ้านเรือนได้รับความเสียหาย 100 หลังคาเรือน ระดับน้ำท่วมสูงเฉลี่ย 60 เซนติเมตร การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ได้ประสานความช่วยเหลือจากทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครนายก จัดรถแบคโฮมาขุดถนนที่ถูกน้ำท่วมตัดขาดบริเวณหมู่ทึ่ 12 โดยจะใช้เสาคอนกรีตทำสะพานชั่วคราว
สัมฤทธิ์ พิจารณา ชาวบ้านหมู่ที่ 8 ตำบลเขาพระ กล่าวว่า น้ำได้สูงเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 1.00 น. จากนั้นน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ชาวบ้านไม่สามารถขนย้ายสิ่งของออกมาได้ทัน[70]
[แก้] พิษณุโลก
ที่อำเภอชาติตระการ[71] ถนนถูกตัดขาดหลายสาย และปริมาณน้ำยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เร่งส่งเรือท้องแบน 3 ลำเข้าพื้นที่ เตรียมอพยพชาวบ้าน เนื่องจากถนนเส้นทางสายชาติตระการ-บ่อภาค ถูกตัดขาดหลายช่วง ชาวบ้านในหมู่ 3 หมู่ 4 และหมู่ 10 ของตำบลบ่อภาค ประชาชนไม่สามารถใช้เส้นทางสัญจรเข้าออกหมู่บ้านได้[แก้] ลพบุรี
วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554 ที่จังหวัดลพบุรี ภายหลังฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องเมื่อ 2 วันที่ผ่านมา ทำให้น้ำป่าจากภูเขาในเขตอำเภอพัฒนานิคม ไหลท่วมตำบลนิคมสร้างตนเอง ตั้งแต่เช้าวันที่ 4 กันยายน พื้นที่เกษตรเสียหายเป็นวงกว้าง และน้ำป่ายังทะลักท่วมบ้านเรือนตำบลเขาสามยอด ท่าศาลา และกกโก อำเภอเมือง[72][แก้] สมุทรสงคราม
วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ได้เกิดความโกลาหลขึ้นเมื่อชาวบ้านได้รับแจ้งให้ขนของขึ้นที่สูง เพราะเขื่อนแม่กลองปล่อยน้ำ 784 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลงแม่น้ำแม่กลอง[73] ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงครามสั่งการให้สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดฯ จัดตั้งศูนย์อำนวยการรับแจ้งและให้ความช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง ภายในวันเดียวกัน[แก้] สมุทรสาคร
น้ำได้เข้าท่วมในตลาดสดเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย และเกิดโรคระบาดมากับน้ำเน่า เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม จุลภัทร แสงจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ประกาศพื้นที่เสี่ยงประสบภัยพิบัติน้ำท่วมในบางพื้นที่ทั้ง 3 อำเภอ รวม 38 แห่ง[74]วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 น้ำท่วมบริเวณสามแยกอ้อมน้อยตัดกับถนนเพชรเกษม เจ้าหน้าที่ทหารต้องนำรถยีเอ็มซีมาบริการประชาชนเข้าออกโรงพยาบาลมหาชัย 2 ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน ในขณะที่โรงงานที่อยู่บนถนนเศรษฐกิจ 1 ที่อยู่ละแวกนั้น ต้องนำกระสอบบรรจุทรายมากั้นบริเวณหน้าโรงงาน[75]
[แก้] สระบุรี
วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554 ฝนที่ตกลงมาทั้งวันทำให้น้ำป่าไหลหลากท่วมริมถนนมิตรภาพ กิโลเมตรที่ 22-23 ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอยอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลมวกเหล็กช่วยกันบรรจุทรายใส่ถุงปุ๋ย นำไปวางกั้นกันน้ำป่าที่เริ่มไหลทะลักเข้ามาล้นคลองน้ำที่ไหลผ่านกลางโรงพยาบาล โดยโรงพยาบาลเตรียมแผนย้ายผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลอื่น
ต่อมา อ่างเก็บน้ำเขารวก ขนาดบรรจุน้ำประมาณ 7,500 ลูกบาศก์ แตก ทำให้น้ำไหลทะลักลงสู่เบื้องล่าง เบื้องต้นมีบ้านถูกน้ำพัดสูญหายไป 1 หลังคาเรือน มีอีกหลังคาเรือนหนึ่งยังไม่ทราบชะตากรรม กำลังตรวจสอบ ยังไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต[76]
[แก้] สิงห์บุรี
วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554 ทวีศักดิ์ นุ่มฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานฯ ที่ประสบอุทกภัย หยุดการเรียนการสอน นอกจากนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินทร์บุรี และหอสมุดแห่งชาติอินทร์บุรี ได้รับผลกระทบเช่นกันโดยถูกน้ำเข้าท่วมสูงกว่า 60 เซนติเมตร เจ้าหน้าที่ต้องขนย้ายวัตถุโบราณไว้บนอาคารชั้น 2 นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปศิลาและใบเสมาสมัยทวาราวดีที่ไม่สามารถขนย้ายได้ต้องปล่อยจมน้ำ และปิดให้บริการชั่วคราว[77][แก้] สุโขทัย
วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554 น้ำท่วมพื้นที่ย่านเศรษฐกิจเทศบาลเมืองสวรรคโลก ร้านค้าหลายแห่งปิดทำการ[78] ถนนสายจรดวิถีถ่อง ทางหลวงหมายเลขที่ 101 ต้องปิดการสัญจรช่วงเข้าเขตเทศบาลเมืองสวรรคโลก เพราะมีน้ำท่วมขังสูง 50 เซนติเมตร ด้านโรงพยาบาลสวรรคโลกถูกน้ำท่วมสูงจนคนไข้ใหม่ไม่สามารถรับบริการได้ สถานที่ราชการ ที่ทำการอำเภอและโรงพักทุกจุดได้รับผลกระทบ โรงเรียนทุกโรงในพื้นที่ต้องสั่งหยุดการเรียนการสอน พื้นที่หลายหมู่บ้านของตำบลย่านยาว คลองกระจง และท่าทอง กำลังถูกแม่น้ำยมที่เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่อย่างหนัก[แก้] สุพรรณบุรี
น้ำจากแม่น้ำท่าจีนได้เอ่อล้นแนวเขื่อนและกระสอบทรายพังทลาย น้ำท่วมเขตเศรษฐกิจของตลาดเก้าห้อง 100 ปี อำเภอบางปลาม้า กว่า 300 ห้องถูกน้ำท่วม เจ้าหน้าที่เทศบาลร่วมกับกำลังทหารจากกองพลทหารราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์ จังหวัดกาญจนบุรี กว่า 120 นาย เร่งหาทางกู้น้ำท่วม ได้ช่วยกันนำกระสอบทรายทำแนวเขื่อนกั้นน้ำ เพื่อจะสูบระบายน้ำออกขณะที่ช่วงสายวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554 น้ำยังเอ่อล้นไหลข้ามถนนช่วงสายตลาดเก้าห้อง-ตลาดคอวัง อำเภอบางปลาม้า หลายจุด ระดับน้ำสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง น้ำเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนประชาชนเป็นวงกว้างมากขึ้น ชาวบ้านหลายรายขนย้ายสิ่งของไม่ทัน ต้องใช้เรือแทนรถสัญจรไปมา ขณะที่คนป่วยก็ต้องใช้เรือเดินทางมารักษาที่โรงพยาบาล[79]
[แก้] ปทุมธานี
ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีได้ประกาศภัยพิบัติ 2 อำเภอ[80] น้ำท่วมเข้าบริเวณตลาดบางเตย ตำบลบางเตย อำเภอสามโคก และเข้าท่วมสถานีตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 10-20 เซนติเมตร[81] เมื่อเวลา 22.00 น. วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554 พันตำรวจโทประเสริฐ พิมเสน สารวัตรเวรสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองปทุมธานี ได้รับแจ้งเหตุรถชนกันบนสะพานปทุมธานี 2 จำนวน 7 คัน มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต 1 ราย โดยฝนทำให้ถนนลื่น รถชนตามกันเป็นทอด ๆ[82] วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ธีรวัฒน์ สุดสุข นายอำเภอเมืองปทุมธานี เปิดเผยว่า ได้รับข้อมูลว่าพื้นที่ชั้นนอกทุกทิศทางถูกมวลน้ำก้อนใหญ่ความสูงตั้งแต่ 1-2 เมตร ล้อมรอบ ขณะที่แนวป้องกันในหมู่บ้านเมืองเอกหลายจุดเกิดการรั่วซึม[83]ทางด้านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งตั้งอยู่ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง ที่เปิดศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัยมาตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม[84] ได้ทำคันดินกั้นน้ำรอบบริเวณมหาวิทยาลัย คงเหลือแต่เพียงด้านที่ติดกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เท่านั้น จนเมื่อเวลาประมาณ 1.30 น. ของวันที่ 22 ตุลาคม[85] หลังคันกั้นน้ำของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียพังลงส่งผลให้ทะลักเข้าท่วม สวทช. และทะลักต่อมายังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต อย่างต่อเนื่อง จนท่วมเต็มพื้นที่ในเวลา 19.00 น.[86] ต่อมาวันที่ 23 ตุลาคม ทางมหาวิทยาลัยติดต่อไปยังองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ เพื่อขอรถโดยสารมาเคลื่อนย้ายผู้พักพิงจากศูนย์พักพิงของมหาวิทยาลัยไปพักพิงที่ราชมังคลากีฬาสถานแทน[87] และในวันที่ 28 ตุลาคม ทางศูนย์พักพิงผู้ประสบอุทกภัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ออกแถลงการณ์ปิดศูนย์พักพิงและชี้แจงแนวทางการดำเนินการกับเงินและสิ่งของที่ได้รับบริจาคมา[88]
[แก้] นครปฐม
วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 จังหวัดนครปฐม น้ำท่วมทั้งจังหวัด โดยใน 4 อำเภอ ได้แก่อำเภอบางเลน นครชัยศรี สามพราน พุทธมณฑล น้ำขึ้นต่อเนื่องวันละ 3-5 เซนติเมตร หลายชุมชนในตำบลบางภาษี อำเภอบางเลน ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ[89][แก้] นครสวรรค์
น้ำท่วมนาข้าวในตำบลบางพระหลวง หมู่ 2 อำเภอเมืองนครสวรรค์ น้ำในคลองบางพระหลวง คลองสาขาของแม่น้ำน่าน เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนพื้นที่หมู่ 2 ตำบลบางพระหลวง อำเภอเมือง[90] ที่อำเภอชุมแสง พื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมนับหมื่นไร่ ถนนหลายสายเริ่มขาด ประชาชนเริ่มขาดแคลนน้ำ และเจ็บป่วยด้วยโรคที่มากับน้ำ พื้นที่เลี้ยงสัตว์ถูกน้ำท่วมทั้งหมด โดยเฉพาะที่ตำบลบางเคียน อำเภอชุมแสง เกษตรกรเลี้ยงวัวเนื้อต้องต้อนวัวมาเลี้ยงข้างถนน ฝูงวัวไม่มีหญ้ากินเพราะน้ำท่วมหมด บางรายต้องต้อนฝูงวัวไปเลี้ยงยังหมู่บ้านอื่นระยะทางหลายสิบกิโลเมตรเรือท้องแบนของทหารค่ายจิระประวัติล่มที่บริเวณต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างเข้าช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วม เป็นเหตุให้ทหารจมน้ำเสียชีวิตไป 1 นาย[91]
เมื่อเวลา 1.00 น. ของวันที่ 6 ตุลาคม น้ำในแม่น้ำปิงเกิดทะลักแนวขั้นเขื่อนดิน บริเวณหมู่ 10 ตำบลวัดไทร อำเภอเมืองนครสวรรค์ ทำให้ชุมชนกว่า 60 หลังคาเรือนถูกน้ำท่วม ชาวบ้านต้องตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อเก็บทรัพย์สินและหนีเอาตัวรอด นอกจากนี้ ยังขยายวงกว้างไปสมทบกับน้ำที่ทะลักเข้าท่วมก่อนหน้านี้ และไหลเข้าท่วมพื้นที่หมู่บ้านจัดสรรหลายพันยูนิต จนผู้นำหมู่บ้านต้องจุดพลุแจ้งเตือนและประกาศเสียงตามสายเร่งขนย้ายทรัพย์สินจนโกลาหลทั้งคืน[92]
[แก้] สมุทรปราการ
วันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เชิดศักดิ์ ชูศรี ผู้ว่าสมุทรปราการ เผยน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมถนนหลายสายในจังหวัด สูงกว่า 50 เซนติเมตร โดยอิมพีเรียล เวิลด์ สำโรง มีน้ำท่วมเป็นทางยาวกว่า 1 กิโลเมตร รถเล็กไม่สามารถผ่านได้[93][แก้] ชัยนาท
วันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554 เขื่อนเจ้าพระยาได้ระบายน้ำเพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน ส่งผลให้พื้นที่ท้ายเขื่อนของอำเภอสรรพยามีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีก ชาวบ้านกว่า 50 ครัวเรือนต้องทำเพิงพักริมถนน ส่วนทหารเร่งนำเอากระสอบทรายไปกั้นเป็นแนวบริเวณคลองชลประทานบางสารวัตร เพื่อไม่ให้น้ำท่วมขยายวงกว้างขึ้น[94][แก้] เพชรบูรณ์
วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554 น้ำท่วมที่อำเภอหล่มสักส่งผลให้โรงเรียนสิรินคริสเตียนสั่งปิดการเรียนการสอนอย่างไม่มีกำหนด[95] ขณะที่บ้านเรือนถูกน้ำท่วมกว่า 500 หลังคาเรือน การจราจรเป็นไปด้วยความยากลำบาก น้ำท่วมสูง 60 เซนติเมตรและส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรเสียหายกว่าหนึ่งหมื่นไร่[96] วันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554 น้ำป่าจากเขาวังทองไหลท่วมหลายหมู่บ้านในเขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ น้ำป่าไหลท่วมหลายหมู่บ้านรอบนอกเขตอำเภอเมือง ขณะที่ถนนหลายสายมีน้ำท่วมสูงกว่า 60 เซนติเมตร รถสัญจรผ่านไม่ได้[97] ต่อมาวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554 น้ำป่าสักขยายวงกว้างในพื้นที่อำเภอหนองไผ่ ระดับน้ำจากแม่น้ำป่าสัก ซึ่งไหลเข้าท่วมพื้นที่ 10 ตำบล ในเขตอำเภอหนองไผ่ ได้ขยายวงกว้าง ถนนหลายสายถูกน้ำท่วมเป็นระยะทางยาวกว่า 3 กิโลเมตร[98][แก้] พระนครศรีอยุธยา
ที่อำเภอเสนา อำเภอบางบาลและอำเภอผักไห่ ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้เพิ่มสูงขึ้นจนล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ ส่งผลให้พืชผลการเกษตรของชาวบ้านทั้งสองอำเภอเสียหายอย่างหนัก[99] ไม่สามารถขายหรือส่งออกได้ ทั้งยังส่งกลิ่นเหม็นยามกลางคืน ประชาชนหวั่นเกรงปัญหาโรคระบาดในพื้นที่วันที่ 4 ตุลาคม น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลเข้าท่วมบ้านเรือนติดกับด้านหลังวัดไชยวัฒนาราม ตำบลบ้านป้อม ระดับน้ำสูง 2 เมตร เมื่อเวลา 14.30 น. วันเดียวกัน สุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และคณะ ลงพื้นที่ตรวจสถานการณ์น้ำท่วมโบราณสถานในจังหวัด โดยจากการตรวจสอบพบว่า โบราณสถานในเขตเกาะเมืองได้รับความเสียหายเกือบทั้งหมดแล้ว ด้านโสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ทางกรมจะให้วิศวกร สถาปนิกและนักโบราณคดีตรวจสอบโครงสร้างโบราณสถาน คาดใช้งบประมาณการบูรณะกว่า 200 ล้านบาท[100]
มีรายงานเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ว่า สถานการณ์อุทกภัยในจังหวัด น้ำได้ไหลเข้าท่วมพื้นที่ 16 อำเภอ โดยบางอำเภอน้ำท่วมจนไม่สามารถสัญจรได้ ในคืนวันที่ 5 ตุลาคม คันกั้นน้ำของนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ตำบลบางพระครู อำเภอนครหลวง พังลง ส่งผลให้น้ำเข้าท่วมโรงงานในนิคมกว่า 46 แห่ง ถนนโรจนะซึ่งเป็นถนนสายหลักเข้า-ออกตัวเมืองพระนครศรีอยุธยา น้ำท่วมสูงกว่า 80 เซนติเมตร น้ำยังไหลเข้าท่วมชุมชนเจ้าพ่อจุ้ย บ้านเรือนถูกน้ำท่วมกว่า 1,000 หลังคาเรือน ด้านวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ประเมินความเสียหายเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท ด้านพากร วังศิราบัตร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ความสูญเสียภาพรวมภาคอุตสาหกรรมอาจสูงถึงวันละ 1,000 ล้านบาท[101]
[แก้] อ่างทอง
ที่อำเภอป่าโมก น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 6 จำนวน 10 หลังคาเรือน[102] บางจุดน้ำท่วมสูงเกือบ 1 เมตร ทำให้ชาวบ้านต้องเร่งสร้างสะพานชั่วคราว เพื่อเข้าออกภายในบ้าน[แก้] อุทัยธานี
จังหวัดอุทัยธานี เกิดน้ำท่วมเป็นพื้นที่รวม 5 อำเภอ 37 ตำบล 291 หมู่บ้าน 17,156 ครัวเรือน 55,608 คน พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะได้รับความเสียหาย 46,865 ไร่ บ่อปลา 335 บ่อ ถนนเสียหาย 217 สาย ฝาย 1 แห่ง เหมือง 8 แห่ง วัด 23 แห่ง โรงเรียน 10 แห่ง สถานที่ราชการ 30 แห่ง มีผู้เสียชีวิต 5 ราย [103][แก้] ภาคใต้
จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ได้แก่[แก้] พังงา
วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 สมเกียรติ อินทรคำ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพังงา เปิดเผยว่า สถานการณ์โดยร่วมทั้งจังหวัดพังงา มี 36 ตำบล 220 หมู่บ้าน 4,070 ครัวเรือน ราษฎร 18,712 คน ได้รับความเดือดร้อน[104][แก้] ระนอง
ที่จังหวัดระนอง เกิดฝนตกหนักในพื้นที่อำเภอสุขสำราญ ตั้งแต่คืนวันที่ 24 สิงหาคม ทำให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือน และโรงเรียนดำรงค์ศาสน์ที่อยู่ริมคลองกำพวน พื้นที่หมู่ที่ 2, 3 และหมู่ที่ 5 รวมทั้งตลาดกำพวน และวัดสถิตย์ธรรมมาราม ด้านองค์การบริหารส่วนตำบลกำพวน ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้นชาสันต์ คงเรือง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า หลายอำเภอในจังหวัดเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากหลายพื้นที่ ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ซึ่งได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้เตรียมความพร้อมอพยพไปอยู่ในที่ปลอดภัยแล้ว[105]
[แก้] ชุมพร
พินิจ เจริญพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย ดินและหินถล่มจังหวัดชุมพร ได้มีหนังสือด่วนที่สุดถึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดชุมพร ประกาศเตือนภัย ช่วงวันที่ 27-30 ตุลาคม 2554 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติดังนี้ 1. แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้ทราบ เตรียมการป้องกันระมัดระวังอันตราย ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ในช่วงเวลาดังกล่าว และให้ติดตามประกาศเตือนภัย จากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด 2. แจ้งเตือนชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือในช่วงดังกล่าว และห้ามเรือเล็กออกจากฝั่งในระยะนี้[106][แก้] นครศรีธรรมราช
วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554 หลังฝนตกหนักในหลายพื้นที่นานกว่า 3 วัน ทำให้เกิดน้ำท่วมขังแล้วในบางพื้นที่ อย่างเช่น ที่โครงการหมู่บ้านจัดสรรจามจุรี บ้านหนองตะลุมปุ๊ก หมู่ที่ 10 ตำบลหนองบัวศาลา อำเภอเมือง ที่เป็นพื้นที่ถูกน้ำท่วมซ้ำซากนานกว่า 4 ปี ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักตลอดทั้งวานนี้ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมภายในหมู่บ้านแล้วประมาณ 10 เซนติเมตร ขณะที่บริเวณถนนปากทางเข้าหมู่บ้านและพื้นที่โดยรอบมีน้ำท่วมขังสูงกว่า 35 เซนติเมตร โดยทางองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวศาลาใช้รถกระจายเสียงออกประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนที่อาศัยภายในหมู่บ้านเตรียมอพยพข้าวของไว้บนที่สูง และให้นำรถยนต์ขนาดเล็กออกมาจอดไว้ที่ริมถนนด้านหน้าหมู่บ้าน[107][แก้] สตูล
วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554 น้ำท่วมสตูลขยายวงกว้าง 4 อำเภอ ชาวบ้านเดือดร้อนกว่า 2 พันครัวเรือน อำเภอควนโดนประสบภัยหนักที่สุด บางหลังท่วมถึงหลังคาบ้าน ทหารและองค์การบริหารส่วนตำบลเร่งให้ความช่วยเหลือ สถานการณ์น้ำท่วมต่อมาได้ขยายวงกว้างแล้วเป็น 4 อำเภอ คือ อำเภอควนกาหลง ควนโดน ท่าแพและละงู โดยอำเภอควนโดนน้ำได้เข้าท่วมพื้นที่หมู่ 1, 2, 4, 5, 7 และ 9 โดยเฉพาะหมู่ 7 บ้านบูเก็ตยามู ระดับน้ำสูงเกือบ 2 เมตร บางจุดท่วมถึงหลังคาบ้าน ได้รับความเดือดร้อนกว่า 100 ครัวเรือน ทางทหารกองร้อย 5 พัน 2 และอส.ควนโดนได้นำเต้นท์ไปกางข้างถนนเพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้อาศัยชั่วคราวขณะที่น้ำยังไหลทะลักเข้ามามากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนที่อำเภอท่าแพ น้ำได้ท่วมพื้นที่ตำบลท่าแพ หมู่ 2, 3, 4, 5, 6 และ 9 ชาวบ้านกว่า 700 ครัวเรือนได้รับความเดือนร้อน[108][แก้] สงขลา
วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ทางจังหวัดสงขลาได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเพิ่มเป็น 8 อำเภอ 42 ตำบล 276 หมู่บ้าน จากที่เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ได้ประกาศ 5 อำเภอ[109] โดยมีราษฎรได้รับความเดือดร้อน 20,078 ครัวเรือน 4,983 คน อพยพ 459 คน แต่ระดับน้ำเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง[110] วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ที่พื้นที่บ้านคลองปอม ต.บ้านพรุ พื้นที่บ้านทุ่งลุง ต.พะตง ซึ่งอยู่ในเขต อ.หาดใหญ่ปรากฏว่าฝนตกกระหน่ำอย่างหนักและต่อเนื่องในช่วงบ่ายวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554จนถึงขณะนี้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ก็ยังคงมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมจนบ้านเรือน ทรัพย์สิน และภาคการเกษตรของประชาชนได้รับความเสียหายชนิดไม่ทันตั้งตัว[111][แก้] กระบี่
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกระบี่ออกประกาศเตือนให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนัก อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มได้ และงดเรือเล็กออกจากฝั่ง หลังฝนตกหนักในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 [112] ทำให้ปริมาณน้ำในคลองกระบี่ใหญ่ ซึ่งเป็นคลองที่รับน้ำจากน้ำตกห้วยโต้ อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา ตำบลทับปริก อำเภอเมืองกระบี่ เพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว น้ำเป็นสีโคลน พัดเอากิ่งไม้ ต้นไม้มาเป็นจำนวนมาก เรือประมงกว่า 100 ลำงดเดินเรือ[113] ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในจังหวัดกระบี่[แก้] ภูเก็ต
ชัยรัตน์ สุขบาล รองนายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ว่า ฝนที่ตกสะสมมาตั้งแต่ช่วงเย็นวานนี้ ต่อเนื่องมาจนถึงช่วงเช้าของวันที่ 25 สิงหาคม ส่งผลให้ถนนหลายสายของป่าตองประสบปัญหาน้ำท่วมขัง ประกอบกับน้ำทะเลหนุน ทำให้การระบายน้ำทำได้ยาก ทางเทศบาลฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปแก้ปัญหาในการขุดลอกคลองและระบายน้ำในจุดต่าง ๆ มีน้ำไหลเข้าท่วมบ้านเรือน รวมถึงโรงพยาบาลป่าตองด้วย สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ นับว่าหนักสุดในรอบ 8 ปี หลังเหตุการณ์สึนามิ พ.ศ. 2547 นอกจากนี้ ในพื้นที่ยังมีปัญหาดินสไลด์ ที่บริเวณถนน 50 ปี นอกจากนี้มีรายงานว่า ที่บริเวณหมู่ที่ 5 บ้านหัวควน ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ น้ำท่วมขังบ้านเรือนประมาณ 10 หลัง น้ำท่วมสูงประมาณ 50 เซนติเมตร ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพ[114]ฝนตกหนักตั้งแต่คืนวันที่ 4 ตุลาคม ถึง 5 ตุลาคม ส่งผลให้หลายพื้นที่เกิดน้ำท่วมขังหลายจุด อาทิ ตำบลรัษฎา ตำบลฉลอง อำเภอเมือง และเขตเทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ โดยที่หมู่บ้านพร้อมพันธ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง มีน้ำท่วมขัง ประชาชนในหมู่บ้านเกือบ 200 หลังคาเรือนได้รับความเดือดร้อน น้ำท่วมสูง 50 เซนติเมตร เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลรัษฎา นำกระสอบทรายไปกั้น[115]
[แก้] ตรัง
วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554 ได้เกิดน้ำท่วมในอำเภอปะเหลียนและอำเภอย่านตาขาว หลังฝนตกหนักติดต่อกันนาน 2-3 วัน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 337 ครัวเรือน[116]วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดตรัง ปริมาณน้ำยังท่วมสูงขึ้นในหลายหมู่บ้าน เพราะมีฝนตกลงมาเป็นระยะ เช่น หมู่ 7 ตำบลนาโยงใต้ ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น 20 เซนติเมตร ทำให้พื้นที่น้ำท่วมขยายวงกว้าง ชาวบ้านเดือดร้อนนับร้อยหลังคาเรือน บางจุดระดับน้ำสูงถึง 2 เมตร จนต้องอพยพไปอาศัยเต็นท์ริมถนนแทน ส่วนพื้นที่การเกษตร ตำบลนาโยงใต้และนาบินหลาถูกน้ำท่วมไปแล้วกว่า 500 ไร่[117]
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง สรุปสถานการณ์น้ำท่วมหลังจากที่เกิดฝนตกลงมาอย่างหนักติดต่อกัน ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน รวมระยะเวลา 5 วัน ว่า มีรายงานน้ำท่วมขังในพื้นที่ตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด ระดับน้ำโดยเฉลี่ยสูงประมาณ 20-70 เซนติเมตร ส่วนใหญ่เป็นบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มติดกับคลองลำภูรา ซึ่งเชื่อมต่อกับแม่น้ำตรัง
สรุปสถานการณ์น้ำท่วมขังในจังหวัดตรังล่าสุด พบว่า มีพื้นที่ได้รับผลกระทบแล้ว 7 หมู่บ้าน 3 ตำบล 2 อำเภอ คือ อำเภอห้วยยอด จำนวน 129 ครัวเรือน และอำเภอเมืองตรัง จำนวน 55 ครัวเรือน รวมชาวบ้านประสบภัย 184 ครัวเรือน[118]
[แก้] ปัตตานี
วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 น้ำท่วมใน 12 อำเภอของจังหวัดปัตตานี รวม 219 หมู่บ้าน 59 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 3,000 ครัวเรือน จังหวัดปัตตานีได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติ 1 อำเภอ คือ อำเภอเมือง[119] ในหลายพื้นที่ ประชาชนต้องอพยพขึ้นไปอาศัยในเต็นท์บนถนนที่ทางหน่วยราชการจัดไว้ให้ ทั้งนี้ระดับน้ำได้ท่วมสูงเกือบ 2 เมตร [120] หลายโรงเรียนต้องปิดการเรียนการสอนวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปัตตานี ประกาศให้พื้นที่ทั้งจังหวัดเป็นพื้นที่เกิดภัยพิบัติ เพราะน้ำเหนือจากจังหวัดยะลายังไหลลงสูงแม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำสายบุรีอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำได้ล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ราบลุ่ม ประชาชนได้รับความเดือดร้อนหลายพันครัวเรือน ซึ่งขณะนี้หลายหน่วยงานเร่งเข้าให้ความช่วยเหลือ สรุปพื้นที่เกิดภัยพิบัติทั้ง 12 อำเภอ รวมทั้งสิ้น 60 หมู่บ้าน 247 ตำบล ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 59,784 คน 14,125 ครัวเรือน ส่วนพื้นที่ติดแม่น้ำทั้งสองสายยังมีระดับน้ำอยู่ที่ 1-2 เมตร[121]
[แก้] ยะลา
วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ในพื้นที่จังหวัดยะลา ฝนตกหนักติดต่อกันทำให้น้ำเอ่อล้นหลายพื้นที่ ทำให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อนกว่า 200 ครัวเรือน และมีผู้เสียชีวิตจากการถูกน้ำพัดแล้วจำนวน 2 ราย[122]วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 แวโรจน์ สายทองแท้ หัวหน้างานปกป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา กล่าวว่า ระยะนี้ เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก ทำให้น้ำในแม่น้ำปัตตานีและสายบุรีเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนที่อยู่ริมชายฝั่งและเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ราบลุ่มในเขตเทศบาลนครยะลา และในพื้นที่ หมู่ 3 ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนเพิ่มเป็น 1,000 ครัวเรือน[123] วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาอุทกภัย จังหวัดยะลา สรุปมี 5 อำเภอประสบปัญหาน้ำท่วมแล้ว ขณะที่ประชาชนเดือดร้อนกว่า 2 หมื่นคน[124]
[แก้] นราธิวาส
วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ธนน เวชกรกานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่มจังหวัดนราธิวาส ได้ประกาศให้พื้นที่ทั้งจังหวัดเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อย่างไรก็ตาม ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ รายงานสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสว่า มีพื้นที่เดือดร้อน 63 ตำบล 221 หมู่บ้าน มีผู้ประสบภัย 48,583 คน รวม 13,473 ครัวเรือน เจ้าหน้าที่ได้อพยพชาวบ้าน 82 ครัวเรือน 388 คน นอกจากนี้ ในพื้นที่อำเภอจะแนะ มีผู้เสียชีวิตเนื่องจากมีโรคประจำตัวและยืนแช่น้ำเป็นเวลานานอีก 1 ราย[125][แก้] พัทลุง
วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 จังหวัดพัทลุงยังมีฝนตกหนักทั้งจังหวัด ทำให้น้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัดไหลเข้าท่วมบ้านเรือนอย่างต่อเนื่อง ระดับน้ำสูง 0.8-1 เมตร ถนนหลายสายรถเล็กไม่สามารถผ่านได้ บางเส้นเฉพาะเรือเท่านั้นที่ผ่านได้ ขณะที่พื้นที่โซนล่างริมทะเลสาบสงขลาในอำเภอเขาชัยสน, บางแก้ว, ปากพะยูน และควนขนุน ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำเหนือจากเทือกเขาบรรทัด หลายหมู่บ้านน้ำท่วมสูงจนชาวบ้านต้องใช้เรือสัญจร[126] เวลา 13.00 น. ธนกร ตะบันพฤกษ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพัทลุง ได้สรุปรายงานสภาพน้ำท่วมในจังหวัด พบว่าทุกพื้นที่ยังมีฝนตกหนักต่อเนื่องและมีน้ำท่วมเป็นวงกว้างทุกอำเภอ ทางจังหวัดประกาศให้ทุกอำเภอเป็นเขตภัยพิบัติฉุกเฉินแล้ว [127]วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 น้ำได้เข้าท่วมถนนเอเซียขาขึ้นพัทลุง-หาดใหญ่ โดยน้ำท่วมถนนระยะทางประมาณ 700 เมตร และมีชาวบ้านจมน้ำเสียชีวิต 1 คน ขณะที่ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูนถูกระบุว่าเป็นพื้นที่ประสบอุทกภัยบริเวณกว้างและร้ายแรง[128]
วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 กันภัย พลพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลฝาละมี กล่าวว่า พื้นที่ตำบลฝาละมี มี 11 หมู่บ้าน 3,170 ครัวเรือน ประชากร 10,585 คน และในวันที่ 21-24 พฤศจิกายน มีฝนตกหนักน้ำได้ไหลเข้าท่วมในพื้นที่หมู่ 3, 4, 6, 7 และ 8 ทางสำนักงานฯ ได้รับรายงานมีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย[129]
วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554 สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพัทลุงยังคงน่าเป็นห่วง โดยฝนที่ตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่อง ทำให้น้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัดได้ไหลทะลักท่วมในพื้นที่อำเภอกงหรา, อำเภอตะโหมด, อำเภอศรีบรรพต, อำเภอเมือง, อำเภอเขาชัยสน, อำเภอศรีนครินทร์, อำเภอบางแก้ว และอำเภอป่าพะยอม ทำให้บ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตร สวนยางพาราและนาข้าวจมอยู่ใต้น้ำ ถนนหลายสายมีน้ำท่วมสูง ชาวบ้านกว่า 30,000 ครัวเรือนได้รับความเดือดร้อน[130]
[แก้] สุราษฎร์ธานี
ธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลากและคลื่นลมแรง ตั้งแต่วันที่ 20-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 มีพื้นที่ประสบความเสียหายทั้งสิ้น 6 อำเภอ โดยทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี สรุปความเสียหายล่าสุด มีชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน 26 ตำบล 143 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 18,979 ครัวเรือน 56,168 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 259 ไร่ ถนนชำรุด 35 สาย คอสะพาน 14 แห่ง ท่อระบายน้ำ 60 แห่ง วัดเสียหาย 3 แห่ง บ่อปลา 5 บ่อ มูลค่าความเสียหายในเบื้องต้น 27 ล้านบาท[131]วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ผู้ประกอบการบริเวณชายหาดเฉวงได้ติดธงแดงห้ามนักท่องเที่ยวลงเล่นทะเลเพราะคลื่นลมแรง และเตือนห้ามเรือเล็กออกจากฝั่ง ประเสริฐ จิตมุ่ง นายอำเภอเกาะสมุย ได้สั่งการให้ปลัดอำเภอร่วมกับศูนย์อนุรักษ์จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังดูนักท่องเที่ยวบริเวณเกาะเฉวง และจัดตั้งศูนย์เตรียมการป้องกันอุทกภัย ณ ที่ว่าการอำเภอ เกาะสมุย[132]
[แก้] ภาคตะวันตก
จังหวัดที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมได้แก่[แก้] ตาก
น้ำป่าจากเทือกเขาแม่ระเมิงและดอยผาหม่นได้ไหลทะลักลงลำห้วยแม่สลิด ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยางกระแสน้ำยังไหลบ่าเข้าท่วมโรงเรียนบ้านแม่อุสุ ตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง ทางโรงเรียนต้องปิดการเรียนการสอน พื้นที่ทำการเกษตรได้รับความเสียหายเป็นวงกว้าง[133] ผู้ว่าราชการจังหวัดตากยังสั่งการให้นายอำเภอทุกอำเภอ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทุกระดับ ห้ามลา ห้ามหยุด ให้อยู่เตรียมพร้อมระดับสูงสุดของพายุนกเตน[แก้] ประจวบคีรีขันธ์
วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ชาวบ้านป่าละอู ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ และตำบลบึงนคร อำเภอหัวหิน กว่า 1,500 คน ซึ่งอยู่ในจุดบริเวณแม่น้ำปราณไหลผ่าน ในพื้นที่แถบภูเขาได้รับความเดือดร้อนหลังเกิดฝนตกหนักในเทือกเขาตะนาวศรีหลายวันติดต่อกัน ส่งผลเกิดน้ำป่าไหลทะลักจากต้นแม่น้ำเพชรบุรี จุดที่เฮลิคอปเตอร์ตกในป่าแก่งกระจาน น้ำป่าทะลักไหลลงแม่น้ำปราณบุรีกลางดึก ทำให้เส้นทางการคมนาคมถูกตัดขาด[134][แก้] เพชรบุรี
ในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ที่บริเวณทางลอดใต้ถนนเพชรสี่แยกทางหลวง ตำบลบ้านหม้อ อำเภอเมืองเพชรบุรี ชุดป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 15 เข้าช่วยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานบำรุงทางเพชรบุรี กรมทางหลวง ขนกระสอบไปกั้นน้ำและสูบน้ำที่ท่วมขังถนนทางลาดถนนเพชรเกษม หลังเกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี และน้ำท่วมบริเวณทางลอดถนนเพชรเกษม[135] สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดเพชรบุรีครอบคลุมพื้นที่ 8 อำเภอ และตำบลถ้ำรงค์ มีประชาชนได้รับความเดือดร้อน 500 หลังคาเรือน รวม 1,500 คน บางแห่งมีระดับน้ำสูงถึง 3 เมตร ถนนทางเข้าหมู่บ้านหลายสายถูกน้ำท่วม ประชาชนไม่สามารถสัญจรด้วยรถยนต์ได้ ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554 องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำรงค์ได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ออกช่วยเหลือชาวบ้าน ทางตำรวจตระเวนชายแดนได้นำเรือท้องแบนไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย[136][แก้] ราชบุรี
ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ฝนที่ตกต่อเนื่องทำให้จังหวัดราชบุรีเกิดน้ำท่วมขังหลายพื้นที่ โดยเฉพาะที่อำเภอสวนผึ้ง เกิดน้ำป่าจากเทือกเขาตะนาวศรีไหลทะลักเข้าท่วมในพื้นที่การเกษตร และได้พัดเอาตลิ่งริมลำธารหายไปเป็นวงกว้าง นอกจากนี้คอสะพานในหมู่บ้านห้วยคลุม หมู่ 6 ตำบลสวนผึ้ง ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลักที่ใช้เดินทางเข้าไปยังหมู่บ้านห้วยคลุม ถูกน้ำป่าพัดจนคอสะพานขาดถึง 2 แห่ง ชาวบ้านไม่สามารถสัญจรได้ เส้นทางเข้าออกหมู่บ้านถ้ำหินและศูนย์อพยพบ้านถ้ำหิน หมู่ 5 ตำบลสวนผึ้ง ถูกน้ำป่าซัดจนถนนพัง และน้ำไหลเชี่ยวรถผ่านไม่ได้ ชาวบ้านรวมทั้งผู้อพยพในศูนย์บ้านถ้ำหิน กว่า 1,000 ครอบครัว ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก ขณะที่บางแห่งมีดินไหลลงมา[137][แก้] ภาคตะวันออก
จังหวัดที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมได้แก่[แก้] ฉะเชิงเทรา
ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม - 6 กันยายน พ.ศ. 2554 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่องเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ลุ่มต่ำริมฝั่งคลองหลวงแพ่ง คลองเปรง และคลองอุดมชลจร และแม่น้ำบางปะกง มีพื้นที่ประสบภัย 6 อำเภอ 15 ตำบล 65 หมู่บ้าน ได้แก่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอแปลงยาว อำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางคล้า อำเภอคลองเขื่อน และอำเภอพนมสารคาม ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 19 ครัวเรือน คาดว่าบ้านเรือนจะได้รับความเสียหายประมาณ 27 หลังคาเรือน พื้นที่การเกษตร 2,521 ไร่ บ่อปลา 2 บ่อ ถนนลูกรัง 28 สาย[138][แก้] ตราด
ฝนตกหนักตลอดคืนจนถึงช่วงเช้าวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554 ทำให้เกิดน้ำท่วมถนนสุขุมวิทช่วงหน้าเมืองตราด-สามแยกโรงพยาบาลตราด ถนนเทศบาล 5 ถนนวิวัฒนะ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด ระดับน้ำท่วม 30- 80 เซนติเมตร ขณะที่บริเวณสามแยกทางไปอำเภอคลองใหญ่ ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมืองตราด น้ำท่วมถนนสาย 318 หน้าห้างเทสโก้โลตัส ยาวประมาณ 200 เมตรระดับความสูง 50- 90 เซนติเมตร ทำให้ถนน 1 ด้านรถยนต์ไปมาไม่ได้ 1 ช่องทางจราจร ส่วนของตำบลท่ากุ่ม หมู่ 4 บ้านคลองสะบ้า มีน้ำท่วมพื้นที่สวนยางพารากว่า 100 ไร่ ความสูงกว่า 1 เมตร พร้อมกันนี้ที่บ้านทุ่งไก่ดัก น้ำได้ไหลท่วมโรงอาหารของโรงเรียนวัดทุ่งไก่ดัก ความสูงประมาณ 30- 40 เซนติเมตร[139][แก้] สระแก้ว
สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554 อ่างเก็บน้ำช่องกล่ำบน ช่องกล่ำล่าง คลองทราย ได้ล้นแล้ว[140] ทำให้ทางจังหวัดต้องติดตามสถานการณ์น้ำจากชลประทานสระแก้วอย่างต่อเนื่อง[141][แก้] ปราจีนบุรี
วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554 น้ำในแม่น้ำปราจีนบุรี ซึ่งได้รับน้ำมาจากด้านอำเภอกบินทร์บุรี และอำเภอประจันตคาม ส่งผลให้ระดับน้ำสูงขึ้นไหลท่วมถนนในเขตเทศบาลเมืองปราจีนบุรี โดยเฉพาะวัดแก้วพิจิตรถูกน้ำท่วมขังสูงกว่า 60 เซนติเมตร นอกจากนี้รวมโบราณสถานต่าง ๆ และยังมีน้ำท่วมขังในบางพื้นที่ เช่น อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอศรีมหาโพธิ [142][แก้] เมืองพัทยา
ตลอดคืนของวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554 มีลมพัดแรงและมีฝนตกอย่างหนักต่อเนื่องตลอดทั้งคืน ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำและพื้นที่แอ่งกระทะจนบ้านเรือนประชาชนในเขตเมืองพัทยา ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก บริเวณชุมชนวัดธรรมสามัคคี ชุมชนเขาตาโล ย่านพัทยาใต้ และชุมชนเนินพลับหวานย่านพัทยากลาง ซึ่งถือเป็นย่านชุมชนที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่นและเป็นพื้นที่ติดทางรถไฟ พบว่าปริมาณน้ำได้เอ่อท่วมเข้าบ้านเรือนประชาชนสร้างความเสียหายและได้รับความเดือดร้อนกระจายเป็นวงกว้าง[143][แก้] ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยมีแม่น้ำสามสายหลัก คือ แม่น้ำโขง มูล และชี ซึ่งทุกสายเกิดเหตุน้ำท่วมในปีนี้ เฉพาะในจังหวัดขอนแก่นเพียงจังหวัดเดียว น้ำท่วมพื้นที่เกือบ 350,000 ไร่ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ซึ่งปกติจัดสรรงบประมาณ 50 ล้านบาทต่อปี ได้เพิ่มงบพิเศษอีก 50 ล้านบาทในปีนี้ และจนถึงขณะนี้ได้ใช้ไปแล้วกว่า 80 ล้านบาท[144]จังหวัดที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมได้แก่
[แก้] นครราชสีมา
อิทธิพลจากพายุโซนร้อนนกเตนทำให้เขตเทศบาลนครนครราชสีมาและพื้นที่ใกล้เคียงมีฝนตกลงมาอย่างหนักเวลานานกว่า 3 ชั่วโมง เมื่อช่วงเย็นวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 จนส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ทั่วเมือง ระดับน้ำสูงเฉลี่ยประมาณ 30-40 เซนติเมตร เนื่องจากท่อระบายน้ำภายในเขตเทศบาลเกิดอุดดัน แต่หลังทางเทศบาลนครนครราชสีมาได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกทำการกำจัดเศษปฏิกูลที่อุดตันท่อน้ำแล้ว ระดับน้ำลดลงจนเข้าสู่ภาวะปกติเมื่อเวลาประมาณ 23.00 น.วันที่ 29 กรกรฎาคม พ.ศ. 2554 ที่บริเวณปากทางเข้าหมู่บ้านจัดสรรโครงการหมู่บ้านไฮซ์แลน 2 และโครงการหมู่บ้านจามจุรี ภายในชุมชนบ้านหนองตะลุมปุ๊ก หมู่ที่ 10 ตำบลหนองบัวศาลา อำเภอเมืองนครราชสีมา น้ำจากอ่างกักเก็บน้ำกลางชุมชนได้เอ่อเข้าท่วมถนนและบ้านเรือนนับ 10 หลังคาเรือน เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเกินความจุกักเก็บ ระดับน้ำเฉลี่ยประมาณ 30 เซนติเมตร แต่ระดับน้ำเริ่มทรงตัวและลดลงบ้างหลังทางองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวศาลานำเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่เร่งระบายน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำ[145]
วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาประกาศให้จังหวัดนครราชสีมา เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติจากเหตุอุทกภัย 18 อำเภอในเบื้องต้น จังหวัดนครราชสีมา ได้รับรายงานว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นในพื้นที่รวม 79 ตำบล 721 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือนร้อนกว่า 19,000 หลังคาเรือน ใน 18 อำเภอของจังหวัด พื้นที่การเกษตรซึ่งส่วนใหญ่เป็นนาข้าว ถูกน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมนับหมื่นไร่ ถนนมากกว่า 70 สายถูกตัดขาด[146]
[แก้] มหาสารคาม
จังหวัดมหาสารคามได้รับผลกระทบน้ำท่วมใน 4 อำเภอ คือ อำเภอเมืองมหาสารคาม เชียงยืน กันทรวิชัย และอำเภอโกสุมพิสัย น้ำชีที่ท่วมขังไร่นา ส่งผลให้หญ้าที่ใช้เลี้ยงสัตว์ขาดแคลน ทางปศุสัตว์ได้สำรองหญ้าแห้งไว้จำนวน 40 ตัน เพื่อเตรียมแจกจ่ายให้กับเกษตรกร[147][แก้] ยโสธร
วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ปริมาณน้ำจากจังหวัดกาฬสินธุ์ได้ไหลเข้าสมทบในพื้นที่จังหวัดยโสธร ทำให้น้ำในแม่น้ำชีเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เอ่อเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรในตำบลเขื่องคำและขุมเงิน อำเภอเมืองยโสธร เสียหายกว่า 1 หมื่นไร่ ถนนทางเข้าหมู่บ้านถูกน้ำท่วมสูงเกือบ 1 เมตร ชาวบ้านต้องใช้เรือเป็นพาหนะ ล่าสุดน้ำได้ไหลเข้าท่วมโรงเรียนบ้านคุยตับเต่า สูงกว่า 50 เซนติเมตร ทางโรงเรียนสั่งปิดการเรียนชั่วคราว 10 วัน[148][แก้] ร้อยเอ็ด
วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554 พิทยา กุดหอม ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า จากร่องมรสุมที่พัดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ฝนตกลงในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ปริมาณน้ำจากลำน้ำยังเพิ่มสูงขึ้น ท่วมพื้นที่ทางการเกษตรและบ้านเรือนได้รับความเสียหาย 5 อำเภอ 31 ตำบล 301 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 75,200 คน 18,246 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 2 ราย โดยจังหวัดร้อยเอ็ดได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนเบื้องต้น สมศักดิ์ ขำทวีพรหม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด มอบหมายให้สำนักงานป้องกันบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดร้อยเอ็ดนำถุงยังชีพไปแจกจ่ายช่วยเหลือประชาชนรวม 5,000 กว่าชุด และได้จัดสรรงบประมาณลงไปในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมแล้ว นอกจากนี้ได้มีการจัดหาเครื่องสูบน้ำ 30 กว่าเครื่องและเรือท้องแบน 6 ลำ ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย[149][แก้] ศรีสะเกษ
วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554 ที่โรงเรียนตรางสวาย ตำบลดองกำเม็ด อำเภอขุขันธ์ น้ำท่วมขังสูง 30 เซนติเมตร เต็มบริเวณหน้าโรงเรียน สนามกีฬาใช้การไม่ได้ โดยตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาฝนตกหนัก นักเรียนหลายคนครอบครัวให้หยุดเรียนเพราะเป็นห่วงเรื่องสุขภาพ ในส่วนเกษตรกรที่มีฝูงปศุสัตว์ น้ำท่วมที่หลายพื้นที่ทำให้ไม่มีที่เลี้ยงวัวควาย จึงได้นำมาผูกเลี้ยงไว้ริมทาง[150][แก้] บุรีรัมย์
วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ตลอดทั้งน้ำเหนือจากจังหวัดนครราชสีมาและลำน้ำสาขาต่าง ๆ ได้ไหลมาสมทบลงลำน้ำมาศ อำเภอลำปลายมาศ ทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงอย่างรวดเร็วและท่วมถนนและสะพานเชื่อมบ้านผักกาดหญ้า เทศบาลตำบลลำปลายมาศกับบ้านแท่นพระ ตำบลหนองคู ยาวกว่า 300 เมตร โดยน้ำได้ไหลบ่าท่วมถนนสูงกว่า 20 เซนติเมตร ส่วนบริเวณสะพานถูกน้ำท่วมสูงเกือบ 1 เมตร รถทุกชนิดไม่สามารถสัญจรผ่านได้[151]วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ผลจากการระบายจากอ่างเก็บน้ำในจังหวัดสุรินทร์ และอ่างเก็บน้ำลำตะคองทำให้ปริมาณน้ำชีและแม่น้ำมูลหนุนสูงเข้าท่วมจังหวัดบุรีรัมย์ ทั้ง 2 ด้าน ท่วมนาข้าวกว่า 1 แสนไร่ ส่งผลให้ผลผลิตปีนี้อาจไม่ดีตามที่คาด[152]
[แก้] สุรินทร์
วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554 ประชาชนชาวสุรินทร์ได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วม 15,178 ครัวเรือน อำนวย จันทรัฐ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ และฝายชลประทานขนาดกลางในเขตจังหวัดสุรินทร์ทั้ง 18 แห่ง มีบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ส่วนลำน้ำชีพบระดับน้ำล้นตลิ่ง การระบายน้ำทำได้รวดเร็ว เพราะฝายชลประทานไม่ได้ยกระดับเก็บกักน้ำในลำห้วย และมีน้ำท่วมขังในนาข้าวบริเวณที่ลุ่มริมลำน้ำชีน้อย ส่วนแม่น้ำมูล มีน้ำท่วมขังในนาข้าวเล็กน้อย สาเหตุเกิดจากฝนตกหนักในพื้นที่ เกิดอุทกภัยในพื้นที่หมู่ที่ 8 ตำบลบะ อำเภอท่าตูม นาข้าวเสียหาย 200 ไร่ อำเภอกาบเชิง อำเภอพนมดงรัก นาข้าวและไร่มันสำปะหลัง เสียหาย 10,800 ไร่ ราษฎรได้รับความเดือดร้อนจำนวน 15,178 ครัวเรือน[153][แก้] อำนาจเจริญ
สถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ปิยะปัญญา ภู่ขวัญเมือง ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดอำนาจเจริญ แจ้งว่า สถานการณ์น้ำในลำน้ำธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญเกิดจากลำน้ำ 3 สาย คือ แม่น้ำโขง มีพื้นที่ได้รับผลกระทบประมาณ 600 ไร่ ลำน้ำเซบาย มีพื้นที่น้ำท่วมรวม 27,000 ไร่ และลำน้ำเซบก มีพื้นที่น้ำท่วมทั้งหมด 18,480 ไร่ สรุปพื้นที่น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ประมาณ 17,000 ไร่ และโครงการชลประทานอำนาจเจริญได้จัดตั้งเครื่องสูบน้ำ 5 เครื่อง ระบายน้ำจากพื้นที่การเกษตรบริเวณแก้มลิงหนองยาง 5 เครื่อง เพื่อสูบระบายน้ำออกจากแก้มลิงลงสู่ลำเซบาย[154][แก้] ขอนแก่น
วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554 สถานการณ์น้ำท่วมในอำเภอเมืองขอนแก่น น้ำจากลำน้ำพอง ซึ่งรับน้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์ที่ระบายน้ำวันละ 45 ล้านลูกบาศก์เมตร หลังน้ำในอ่างเกินความจุกักเก็บ ท่วมพื้นที่ 4 หมู่บ้านในพื้นที่ตำบลบึงเนียม ระดับน้ำสูงกว่า 3 เมตร ทำให้ชาวบ้านกว่า 2,000 คน อพยพมาอาศัยอยู่ที่ศูนย์พักชั่วคราวผู้ประสบภัยในโรงเรียนกีฬาขอนแก่น[155][แก้] กาฬสินธุ์
น้ำป่าจากเทือกเขาภูพานไหลเข้าท่วมพื้นที่นาข้าวได้รับความเสียหายจำนวน 4 พันไร่[156] นอกจากนี้ยังทำให้คอสะพานชำรุด วันที่ 21 ตุลาคม สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเฉพาะพื้นที่อำเภอกมลาไสยและฆ้องชัย ยังอยู่ในขั้นวิกฤติหนัก เพราะเขื่อนอุบลรัตน์ยังเร่งระบายน้ำเฉลี่ยวันละ 43 ล้านลูกบาศก์เมตร จนส่งผลให้ระดับน้ำชีสูงขึ้นต่อเนื่อง และล้นพนังกั้นเป็นระยะทางกว่า 50 กิโลเมตร น้ำสูงกว่าพนังกว่า 1 เมตร โดยเฉพาะที่พนังกั้นบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 21-22 ตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย ถูกกระแสน้ำเซาะจนพนังดินแตกรวม 6 จุด เจ้าหน้าที่ไม่สามารถซ่อมแซมได้หมด ส่งผลให้น้ำไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย เพิ่มอีก 10 หมู่บ้าน กว่า 1,570 หลังคาเรือน รวมถึงนาข้าวถูกน้ำชีท่วมแล้วอย่างน้อย 100,000 ไร่[157][แก้] ชัยภูมิ
26 สิงหาคม พ.ศ. 2554 สถานการณ์น้ำชีล้นตลิ่งยังหนุนสูงต่อเนื่องเข้าท่วมบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตรนับหมื่นไร่ในหลายพื้นที่ ทั้งปริมาณน้ำป่าหลากบนเทือกเขาภูแลนคา ยังส่งผลให้ระดับน้ำล้นสันเขื่อนลำปะทาวไหลเข้าตัวเมืองเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ ทั้ง 25 ชุมชน และต้องสั่งปิดโรงเรียนชั่วคราวรวมกว่า 7 แห่งมาตั้งแต่วานนี้[158][แก้] มุกดาหาร
วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เกิดน้ำป่าไหลลงจากภูพานเอ่อเข้าท่วมชุมชนโคกสุวรรณ เขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร ทั้งที่ไม่เคยถูกน้ำท่วมมาก่อน นาข้าวจ่มใต้น้ำนับหมื่นไร่ บ้านเรือนนับร้อยหลังคายังถูกน้ำท่วม และระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นจนเข้าท่วมบ้านเรือนในตำบลผึ่งแดด อำเภอเมือง[159] มีผู้ได้รับความเดือดร้อนจำนวน 40,809 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 47,562 ไร่ บ่อปลา 693 บ่อ ถนนเสียหาย 383 สาย ท่อระบายน้ำ 50 แห่ง ฝายน้ำจำนวน 10 แห่ง ส่วนตลาดอินโดจีน ในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร ซึ่งน้ำได้ท่วมบริเวณชั้นใต้ดิน มีพ่อค้าแม่ค้าได้รับความเดือดร้อนจำนวน 400 คน[160][แก้] นครพนม
หลายชุมชนในเขตเทศบาลเมืองนครพนมเกิดน้ำท่วมขังสูงประมาณ 40 เซนติเมตร[161] โดยเฉพาะชุมชนหน้าโรงพยาบาลนครพนม น้ำเอ่อท่วมบ้านเรือนหลายสิบหลัง บริเวณตลาดสดเทศบาลเมืองฯ และโรงพยาบาล น้ำข่วมขังสูงประมาณ 25 ถึง 30 เซนติเมตร[162] หลังเกิดฝนตกหนักทั้งวันด้วยอิทธิพลพายุหมุนนกเตน ส่งผลเกิดน้ำป่าทะลักลงมาจากเทือกเขาภูลังกาจำนวนมากเมื่อตอนใกล้สว่างวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 โดยกระแสน้ำไหลหลากท่วมบ้านเรือนนับ 100 หลัง ตามเส้นทางน้ำผ่าน ขณะที่นาข้าวนับพันไร่ใต้เทือกเขาภูลังกาจมอยู่ใต้น้ำ[แก้] อุบลราชธานี
น้ำจากแม่น้ำโขงได้เอ่อล้นเข้าไปตามลำน้ำสาขาต่าง ๆ เข้าท่วมไร่นานับ 1 พันไร่ ทำให้ต้นข้าวนาปีที่ได้ปักดำแล้วเสร็จใหม่ ๆ จมอยู่ใต้น้ำไร่มัน พร้อมทั้งต้นปาล์ม กว่า 100 ไร่จมอยู่ใต้น้ำเช่นเดียวกัน[163] ส่วนระดับน้ำในแม่น้ำโขง ก็ได้ขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง วันละ 50 ถึง 100 เซนติเมตร[แก้] อุดรธานี
สรุปความเสียหายในจังหวัดอุดรธานี ไร่นาน้ำท่วมเสียหายกว่า 1.4 แสนไร่ ทั้งจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ 14 อำเภอ 102 ตำบล 1,110 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 51,327 ครัวเรือน พื้นที่นาข้าวเสียหาย 143,809 ไร่ บ่อปลา 1,257 บ่อ ถนนเสียหาย 582 สาย[164] ถนนโพศรี ถนนศรีสุข ถนนประจักษ์ศิลปาคม และถนนอุดรดุษฎีจมอยู่ในน้ำทั้งสาย และน้ำยังท่วมต่อเนื่องไปถนนนิตโย หน้าตลาดสดหนองบัว และนอกจากนี้น้ำยังท่วมเข้าไปในตลาดสดเทศบาล 1–2 ด้วย โดยเฉพาะถนนโพศรี ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี มีน้ำท่วมสูงประมาณครึ่งเมตร[แก้] หนองคาย
ผลกระทบจากพายุนกเตน ทำให้จังหวัดหนองคายน้ำท่วมหนักที่สุดในรอบ 40 ปี ย่านเศรษฐกิจใจกลางเมืองถูกน้ำท่วมขังสูงกว่า 1 เมตร กินพื้นที่กว่า 50% คิดมูลค่าความเสียหายเบื้องต้นประมาณ 10 ล้านบาท[165][แก้] บึงกาฬ
ระดับน้ำในแม่น้ำสงครามสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล้นตลิ่งเข้าท่วม 3 หมู่บ้าน พื้นที่ตำบลดอนหญ้านาง อำเภอพรเจริญ บ้านเรือนถูกน้ำท่วมกว่า 200 หลัง นอกจากนี้ยังมีพื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมอีกกว่า 3 พันไร่[166][แก้] สกลนคร
พายุนกเต็นฝนถล่มจังหวัดสกลนครทั้งจังหวัด ทะเลสาบหนองหานน้ำเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์[167] จ่อเอ่อท่วมพื้นที่การเกษตรหลายพันไร่ เตือนแม่โขงจ่อวิกฤตพื้นที่การเกษตรจังหวัดสกลนคร ได้รับผลกระทบน้ำท่วมแล้ว 9 อำเภอ สำหรับ อำเภอโพนนาแก้ว ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมหนักที่สุด มีพื้นที่การเกษตรจมใต้น้ำหลายหมื่นไร่[168][แก้] เลย
ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องทำให้ปริมาณน้ำสะสมบนเทือกเขาในอำเภอเชียงคาน น้ำได้ไหลจากตำบลเขาแก้วและธาตุ เข้าท่วมบ้านศรีพัฒนา หมู่ 5 และบ้านจอมศรี หมู่ 8 ตำบลนาสี อำเภอเชียงคาน น้ำท่วมนาข้าวกว่า 1,000 ไร่ และบ่อปลาที่ชาวบ้านเลี้ยงกว่า 100 บ่อ ได้รับความเสียหาย ส่วนกระแสน้ำที่ไหลผ่านตำบลนาสีได้ไหลเข้าท่วม ตลาดสามแยกบ้านธาตุ หมู่ 2 เทศบาลตำบลธาตุ[169]กระแสน้ำยังเอ่อล้นท่วมทางสายบ้านธาตุ-ปากชม บริเวณกิโลเมตรที่ 5 บ้านผาพอด หมู่ 13 ตำบลธาตุ เส้นทางขาด อำเภอด่านซ้าย อำเภอภูเรือ ได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรเสียหายเป็นจำนวนมาก ที่บ้านนาข่า ตำบลปากหมัน อำเภอด่านซ้าย แม่น้ำหมันที่ไหลผ่านอำเภอด่านซ้าย[170] และตำบลนาดี นาหอ ปากหมัน นาข่า ไหลบรรจบกับแม่น้ำเหือง ที่บ้านนาข่า ตำบลปากหมัน เกิดน้ำไหลหลาก เอ่อริมตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน บ้านข้าราชการครูโรงเรียนบ้านนาข่า ขยายเป็นวงกว้าง บางหลังน้ำท่วมจนเกือบมิดหลัง และพื้นที่การเกษตรข้าว ข้าวโพด ได้รับความเสียหายกว่า 1,000 ไร่
[แก้] หนองบัวลำภู
ตำบลวังปลาป้อม อำเภอนาวัง ซึ่งเป็นจุดแรกที่รับน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยลิ้นควาย พบว่าปริมาณน้ำได้สูงขึ้นและเอ่อเข้าท่วมพื้นที่ทำการเกษตรในตำบลวังปลาป้อม ในบริเวณริมลำน้ำพะเนียง เป็นบริเวณกว้างกว่า 200 ไร่ และน้ำในลำน้ำพะเนียงได้เอ่อเข้าท่วมพื้นที่ทำการเกษตรตลอดสองฝากของลำน้ำที่เป็นที่ลุ่ม[171][แก้] ผลกระทบและความเสียหาย
วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ศูนย์ปฏิบัติการรองรับเหตุฉุกเฉิน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ศปฉ.ปภ.)[172] และศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์ อุทกภัยวาตภัยและดินโคลนถล่ม (ศอส.)[173] รายงานตรงกันเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันว่า ยังมีพื้นที่ประสบอุทกภัยประเทศไทยตอนบน 10 จังหวัด 83 อำเภอ 579 ตำบล 3,851 หมู่บ้าน เฉพาะกรุงเทพมหานคร 36 เขต ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,658,981 ครัวเรือน 4,425,047 ราย ฟื้นฟู 55 จังหวัด ประสบอุทกภัยรวม 65 จังหวัด และอ่างเก็บน้ำไม่สามารถรับน้ำเพิ่มได้อีกจำนวน 8 อ่างจาก 33 อ่างทั่วประเทศ นับตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 รายงานเสียชีวิตรวม 680 ราย สูญหาย 3 ราย มากที่สุดจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวน 139 รายในภาคใต้พื้นที่ที่ประกาศภาวะฉุกเฉินตั้งแต่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 มี 8 จังหวัด 65 อำเภอ 362 ตำบล 2,057 หมู่บ้านได้แก่ จังหวัดตรัง พัทลุง นครศรรธรรมราช ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสุราษฏร์ธานี พื้นที่ทางการเกษตรเสียหาย 118,358 ไร่ วัด/มัสยิด 7 แห่ง โรงเรียน 30 แห่ง สถานที่ราชการ 10 แห่ง ถนน 783 แห่ง สะพานและคอสะพาน 113 แห่ง ฝาย 19 แห่ง ปศุสัตว์ 5,777 ตัว ประมง 1,086 บ่อ เสียชีวิต นับจากวันดังกล่าว 9 ราย
[แก้] การศึกษา
วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554 วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า สถานศึกษาทั่วประเทศถูกน้ำท่วมกว่า 2,000 แห่ง มูลค่าความเสียหายประมาณ 1,400 ล้านบาท[174] นอกจากนี้ จนถึงวันที่ 19 กันยายน มีโรงเรียน 1,053 แห่งถูกบังคับให้ต้องปิดภาคเรียนก่อนกำหนด[175] โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 30 กันยายน สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติได้เลื่อนสอบแบบทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) และแบบทดสอบความถนัดทางวิชาชีพ (PAT) จากเดิมที่สอบเดือนตุลาคม ไปสอบเดือนธันวาคม เพราะนักเรียนในพื้นที่น้ำท่วมอาจไม่สามารถมาสอบได้ และโรงเรียนสนามสอบกว่าสองร้อยแห่งถูกน้ำท่วม[176]วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ตนได้เห็นชอบให้เลื่อนการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร และให้โรงเรียนจัดการเรียนการสอนชดเชยตามที่สำนักการศึกษาเสนอเพื่อความปลอดภัยของนักเรียนและลดปัญหาการเดินทางของนักเรียนและผู้ปกครอง รวมทั้งเกิดความพร้อมในการเรียนการสอนของโรงเรียน โดยในพื้นที่ที่ยังมีระดับน้ำท่วมสูง ใน 7 เขต[177]
[แก้] เกษตรกรรม
ประเทศไทยมีสัดส่วนการค้าข้าวในระดับโลกประมาณ 30% และธัญพืชหลัก 25% ซึ่งไม่คาดว่าจะรอดพ้นจากอุทกภัยครั้งนี้[178] เหตุการณ์นี้จะมีผลกระทบต่อราคาข้าวในระดับโลกโดยรวม ในประเทศ ชาวนาข้าวโดยปกติแล้วไม่มีทุนสำรอง ผลกระทบต่อชาวนานั้นจะเป็นครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด เพราะพวกเขาสูญเสียทั้งการลงทุนในพืชผลการเกษตร และต้องรอทำเงินเมื่อน้ำอุทกภัยลดลงก่อนปลูกพืชใหม่วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 อภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า ร่วมกับธนาคารโลกและหน่วยงานในพื้นที่ในการสำรวจผลกระทบจากภัยพิบัติ อุทกภัย ด้านการเกษตร ปี 2554 ในพื้นที่ศึกษา จ.นครสวรรค์และลพบุรี พบว่าสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบ และเครื่องมือเครื่องจักร อุปกรณ์การเกษตรได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก[179]
วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554 รายงานสรุปของศูนย์ปฏิบัติการรองรับเหตุฉุกเฉิน กรมบรรเทาและป้องกันสาธารภัย (ศปฉ.ปภ.)[180] แจ้งว่า ด้านพืช เกษตรกร 1,284,106 ราย พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย 12.60 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าว 9.98 ล้านไร่พืชไร่ 1.87 ล้านไร่ พืชสวนและอื่นๆ 0.75 ล้านไร่ ด้านประมง เกษตรกร 130,041 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำคาดว่าจะเสียหาย แบ่งเป็น บ่อปลา 215,531 ไร่ บ่อกุ้ง/ปู/หอย 53,557 ไร่ กระชัง/บ่อซีเมนต์ 288,387ตารางเมตร ด้านปศุสัตว์ เกษตรกร 254,670 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 30.32 ล้านตัว แปลงหญ้า 17,776 ไร่
[แก้] อุตสาหกรรม
วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554 กำแพงกั้นน้ำสูง 10 เมตรในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานการผลิตหลายแห่ง พังลง[181] กระแสน้ำที่ไหลแรงได้ขัดขวางความพยายามสร้างกำแพงกั้นน้ำใหม่ และส่งผลให้ทั้งพื้นที่ไม่สามารถใช้การได้ หนึ่งในโรงงานผู้ผลิตรายใหญ่ ฮอนด้า ถูกทิ้งไว้โดยเข้าถึงไม่ได้อย่างแท้จริง[182]ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์เป็นอันดับสองของโลก ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนการผลิตของโลกอย่างน้อย 25%[183] หลายโรงงานที่ผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ถูกน้ำท่วม ทำให้นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมบางคนพยากรณ์ว่าฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์จะขาดแคลนทั่วโลกในอนาคต[184]
เศรษฐกิจของประเทศอื่นนอกเหนือจากประเทศไทยจะได้รับผลกระทบอย่างสำคัญจากอุทกภัยด้วยเช่นกัน ซึ่งประเทศที่จะได้รับผลหนักที่สุดนั้นคือ ญี่ปุ่น[185] ธุรกิจญี่ปุ่นซึ่งมีฐานการผลิตในประเทศไทย มีทั้งโตโยต้า ฮิตาชิ และแคนอน นักวิเคราะห์รายหนึ่งพยากรณ์ว่ากำไรของบริษัทโตโยตาอาจถูกตัดลง 200,000 ล้านเยน และตัวเลขนี้เป็นเพียงการสูญเสียกำไรเท่านั้น รายได้ลูกจ้างในไทยและญี่ปุ่นยังได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน[185]
สำหรับบางบริษัทและประเทศ ผลกระทบนั้นอาจไม่มีแต่ในทางลบ ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่ และประเทศอย่างอินเดียจะมีบริษัทที่ได้กำไรเมื่อก้าวเข้ามาเติมเต็มปัจจัยที่ขาดแคลนนั้น[186]
วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554 จิรบูลย์ วิทยสิงห์ เลขาธิการสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทย[187] ประธานกิตติมศักดิ์ สมาคมของขวัญ ของชำร่วยไทย และของตกแต่งบ้าน ระบุว่า จากเหตุน้ำท่วมส่งผลต่อการส่งออกด้วย เพราะว่าผู้ประกอบการสินค้าของขวัญ ซึ่งทั้งหมดเป็นผู้ประกอบการรายย่อย 3,000 รายได้รับผลกระทบ โดยร้อยละ 20 ต้องหยุดการผลิต ขณะที่ร้อยละ 80 ขาดวัตถุดิบในการผลิต ทำให้คาดว่ายอดการส่งออกของปีนี้ จะเหลือเพียง 95,000 ล้าน ขยายตัวเพียงร้อยละ 5 จากเดิมที่คาดไว้ว่าอยู่ที่ร้อยละ 8[188]
[แก้] เศรษฐกิจ
ร้านค้าหลายร้านไม่สามารถผลิตวัตถุดิบหรือส่งผลิตภัณฑ์ทันต่อความต้องการของผู้บริโภค เพราะมีการซื้อสินค้าไปกักตุนและการขนส่งลำบาก ทั้งโรงงานไม่สามารถผลิตวัตถุดิบได้ ทำให้หลายฝ่ายกังวลเรื่องการขึ้นราคาสินค้า โดยเฉพาะสินค้าเกี่ยวกับการป้องกันอุทกภัยที่หมดอย่างรวดเร็ว แม้ว่าน้ำท่วมจะลดลงบ้างแล้ว ห้างและร้านค้าบางร้านยังไม่สามารถเปิดให้บริการหรือเปิดให้บริการได้ไม่เต็มรูปแบบเพราะขาดวัสดุหรือวัตถุดิบผลิตสินค้าขณะที่หนังสือพิมพ์รายงานว่า วัตถุดิบในการผลิตฮาร์ดดิสก์เสียหายและโรงงานหยุดผลิตอาจทำให้ราคาสินค้าเทคโนโลยีสูงขึ้น ซึ่งเมื่อรวมกับการจัดส่งที่ลำบากจะยิ่งทำให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นและอาจส่งผลกระทบทั่วโลก เพราะไทยเป็นแหล่งผลิตใหญ่ของโลกในปัจจุบัน[189]
กระทรวงพาณิชย์แก้ไขปัญหาด้วยการจับกุมผู้ค้าสุกร[190] และผู้ค้าทรายที่ขึ้นราคาเกินกำหนด[191]
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยประเมินมูลค่าความเสียหายไว้ที่ 156,700 ล้านบาท ความเสียหายส่วนใหญ่มาจากผลกระทบที่มีต่ออุตสาหกรรมการผลิต โดยมีโรงงาน 930 แห่งใน 28 จังหวัดได้รับผลกระทบ รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานี ยังมีการประเมินว่าอุทกภัยครั้งนี้ส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงร้อยละ 0.6 ถึง 0.9[192]
วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 กระทรวงพาณิชย์ประกาศนำเข้าไข่ไก่ 7 ล้านฟอง ปลากระป๋อง 4 แสนกระป๋อง และน้ำดื่ม 1 ล้านขวดจากประเทศมาเลเซียและเขตบริหารพิเศษฮ่องกงอย่างเร่งด่วน[193] ข้อมูลจากกรมการค้าภายใน พบว่า เฉพาะพื้นที่กรุงเทพมหานคร ราคาไข่ไก่และไข่เป็ดเพิ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 สูงสุดในปีนี้ ทั้งราคาขายปลีกและส่ง[194]
จากการอพยพผู้คนในนิคมอุตสาหกรรม ได้ส่งผลกระทบต่อการผลิตของบริษัทต่างชาติในประเทศไทย[195] หุ้นในตลาดหลักทรัพย์กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลงอย่างรวดเร็ว[196] รวมถึงราคาหุ้นในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรมและกลุ่มยานยนต์[197] นิคมอุตสาหรรมในประเทศ 7 แห่ง ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยครั้งนี้ [198]
ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 แอนเน็ต ดิกซอน ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า พบความเสียหายรวมประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นความเสียหายจากทรัพย์สินคงที่ เช่น บ้าน โรงงาน มูลค่าประมาณ 6.6 แสนล้านบาท และความสูญเสียจากค่าเสียโอกาส เช่น การผลิต อีกประมาณ 7 แสนล้านบาท ธนาคารโลกได้ประเมินเป็นผลกระทบต่อจีดีพีของไทยให้ลดลงประมาณ 1.2% เหลือ 2.4% จากเดิมที่คาดไว้ 3.6%[199]
ทั้งนี้ปัญหาขยะราวสี่หมื่นตันส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ[200] ทำให้รัฐต้องลงทุนในการทำลายขยะในปริมาณมากกว่าที่จะรับได้ในยามปกติ[201]
ได้มีการลดราคาสินค้าจำนวนมากโดยอ้างเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย[202] การหยุดขายสินค้ายังคงมีอยู่แม้หลังบางพื้นที่ซึ่งอุทกภัยผ่านพ้นไปแล้ว โดยร้านค้าต่างอ้างเหตุอุทกภัยทำให้โรงงานไม่สามารถส่งวัตถุดิบเพื่อการผลิต[203]
วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2554 สำนักงานเศรษฐกิจการคลังปรับประมาณการเศรษฐกิจไทย พ.ศ. 2554 ขยายตัวร้อยละ 1.1 โดยเฉพาะความเสียหายต่อภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตร แต่คาดว่า มาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาลที่ออกมา จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ใน พ.ศ. 2555 โดยจะขยายตัวได้ร้อยละ 5[204]
[แก้] การท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวได้รับความเสียหายในรูปแบบของค่าเสียโอกาสในการนำรายได้เข้าสู่ประเทศรวมถึงชื่อเสียงของประเทศเนื่องจากหลายประเทศได้ออกเตือนภัยให้นักท่องเที่ยวระวัดระวังในการเข้าประเทศไทย รวมถึงไม่ควรเข้าสู่เมืองหลวงของประเทศไทยและเมืองใหญ่สำคัญเช่นจังหวัดเชียงใหม่โดยในหลายประเทศ อาทิ ประเทศจีน[205] ฮ่องกง[206] และประเทศสิงคโปร์ ได้ออกคำเตือนในการเข้าประเทศไทย ต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สุรพล เศวตเศรนี เสนอว่าความเสียหายรวมอาจสูงถึง 825 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการท่องเที่ยวระหว่างประเทศและภายในประเทศลดลง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยคาดว่านักท่องเที่ยวระหว่าง 220,000 ถึง 300,000 คนจะยกเลิกการเดินทางมายังประเทศไทย[207] เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวนั้นสูงกว่าใน พ.ศ. 2553 มาโดยตลอด กระทั่งปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 การเดินทางมาท่าอากาศยานกรุงเทพเพิ่มขึ้น 6.7% เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 การเดินทางมายังภูเก็ตเพิ่มขึ้น 28.5%[207]
วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554 สุรพล เศวตเศรนี เปิดเผยอีกว่า จากการประเมินสถานการณ์น้ำลดภายในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา นักท่องเที่ยว ต่างชาติ ลดลงราว 200,000 คน สูญรายได้จากการท่องเที่ยวไป 8,500 ล้านบาท แต่เมื่อสถานการณ์มีแนวโน้ม สิ้นสุดภายในเดือนธันวาคม คาดนักท่องเที่ยวต่างชาติจะลดลงราว 300,000 คน และสูญเสียรายได้กว่า 25,580 ล้านบาท[208]
วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554 สุวัตร สิทธิหล่อ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกับสุรพล เศวตเศรนี แถลงข่าวสรุปสถานการณ์นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 11 เดือนแรกของ พ.ศ. 2554 พบว่าเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานักท่องเที่ยวลดลง 17.92% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว หรือจาก 1,478,856 คนเมื่อปี 2553 เหลือ 1,213,826 คนในปีนี้[209]
[แก้] การสาธารณสุข
ปัญหายาขาดแคลนและปัญหาโรคที่มากับน้ำ รวมถึงสุขภาพจิตของประชาชนมีเพิ่มขึ้นในช่วงอุทกภัย[210]เช่น ที่โรงพยาบาลศรีสะเกษประสบปัญหาการขาดยาและเวชภัณฑ์ หลังโรงงานในเขตจังหวัดปริมณฑลถูกน้ำท่วม ส่งผลให้โรงพยาบาลต้องลดปริมาณการจ่ายยาให้ผู้ป่วยเรื้อรัง จากครั้งละ 3 เดือน เป็น 1 เดือน และหมุนเวียนยาร่วมกับโรงพยาบาลใกล้เคียง เพื่อช่วยกระจายยาให้คนไข้[211] คณะกรรมการอาหารและยาอำนวยความสะดวกเป็นผู้สั่งยาโดยตรงกับบริษัทในต่างประเทศ หากเกิดกรณีที่ผู้ประกอบการหรือเภสัชกรต้องการยานั้น ๆ ขณะที่กระทรวงสาธารณสุขพบผู้ประสบอุทกภัยเจ็บป่วยแล้ว 1.6 ล้านราย ส่วนใหญ่เป็นโรคน้ำกัดเท้า ผื่นคัน ไข้หวัดใหญ่[212]วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเตือนอันตรายจากสัตว์มีพิษในช่วงน้ำท่วม พร้อมกับแนะนำวิธีป้องกันสัตว์มีพิษเข้ามาในบ้าน[213]
วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 นายแพทย์พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยสถานการณ์ผู้ถูกไฟฟ้าดูดจากภาวะน้ำท่วมล่าสุดว่า ขณะนี้ตัวเลขที่รายงานอย่างเป็นทางการของผู้ถูกไฟฟ้าดูดอยู่ที่ 45 รายแล้ว ซึ่งหากไม่มีการดำเนินการ อาจจะเพิ่มขึ้นเกือบถึง 100 รายได้ ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยมีประเทศใดมีผู้เสียชีวิตจากไฟฟ้าดูดในช่วงอุทกภัยมากเท่านี้มาก่อน[214]
วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ในงานประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการ "ผนึกกำลัง ร่วมใจ สู้ภัยน้ำท่วม" กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า มีจำนวนผู้ประสบภัยที่เข้ารับการคัดกรองสะสม 119,237 ราย ในจำนวนนี้มีความเครียดสูง 6,704 ราย ซึมเศร้า 8,317 ราย และผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 1,441 รายแล้ว นอกจากนี้ ยังได้รายงานยอดผู้เสียชีวิตจากสถานการณ์อุทกภัย โดยเป็นข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มียอดผู้เสียชีวิต 728 รายแล้ว เป็นการเสียชีวิตจากไฟฟ้าดูด 102 ราย จมน้ำเสียชีวิตและอื่น ๆ 626 ราย สูญหาย 2 ราย[215]
วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 นายแพทย์ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ยอดรวมของผู้ที่ถูกไฟฟ้าช็อตและดูดเสียชีวิต จากสถานการณ์น้ำท่วมนั้นอยู่ที่ 102 ราย พบว่า 73% ของผู้เสียชีวิตถูกไฟดูดไฟฟ้าช็อตในที่พักอาศัยของตน พื้นที่ที่มีเกิดเหตุมากที่สุด คือ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี กรุงเทพมหานครและจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยุธยาตามลำดับ[216]
วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554 รายงานสรุปของศูนย์ปฏิบัติการรองรับเหตุฉุกเฉิน กรมบรรเทาและป้องกันสาธารภัยแจ้งว่ามีผู้เสียชีวิตจากไฟฟ้าช็อตทั้งหมดทั่วประเทศ 48 ราย น้ำพัด 26 ราย เรือล่ม 22 ราย จมน้ำ 568 ราย[217]
โฆษกยูนิเซฟแนะนำให้ทุกคนอยู่ห่างจากแหล่งน้ำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้[218]
[แก้] การขนส่งคมนาคม
วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 (ถนนสายเอเชีย) ปิดการจราจรเพราะน้ำท่วมจนรถไม่สามารถสัญจรได้[219]วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554 กรมทางหลวงรายงานว่า น้ำท่วมถนน 117 สายทาง ในพื้นที่ 21 จังหวัด ซึ่งในจำนวนนี้ผ่านได้ 49 สายทาง ผ่านไม่ได้ 88 สายทาง[220]
การบินไทยได้จัดเที่ยวบินพิเศษจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังท่าอากาศยานพิษณุโลกเมื่อกลางเดือนตุลาคม เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่และผู้ประสบอุกภัยในพื้นที่ในราคาต้นทุน ได้แก่ เที่ยวบิน TG8706 และ TG8707 เบื้องต้นจะสิ้นสุดทำการบินวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554[221] นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรได้ขอให้การบินไทยเพิ่มเที่ยวบินลงภาคใต้และพิจารณาราคาเป็นพิเศษ เพราะเป็นห่วงว่าหากน้ำท่วมเส้นทางพระราม 2 แล้วจะทำให้การเดินทางจากกรุงเทพมหานครไปภาคใต้ไม่สะดวก[222] วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่การบินไทย ประกาศลดราคาตั๋วโดยสารทางเครื่องบิน 47-58% จากราคาปกติ เปิดจำหน่ายระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน - 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ในเส้นทางกรุงเทพมหานครสู่ทุกจุดบินของการบินไทยในภาคใต้[223]
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพเปลี่ยนเส้นทางรถโดยสารประจำทางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่งผลให้ผู้โดยสารไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง[224] นอกจากนี้ยังมีบริการรถสาธารณะบนทางด่วน[225] ขณะที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยขอความร่วมมือไม่ให้ใช้ทางด่วนเป็นที่จอดรถ[226] แต่ประชาชนยังจอดรถบนทางด่วน ซึ่งทำให้เกิดอุบัติเหตุ[227] และเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรม รวมทั้งทำให้ทางด่วนยกระดับหลายเส้นทางมีการจราจรแออัด เพราะรถจอดซ้อนคันหรือจอดบริเวณทางขึ้นและลงทางด่วน[228]
วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ศูนย์ควบคุมและสั่งการการจราจร บชน. (บก.02) สั่งปิดถนน 29 สายรอบกรุงเทพมหานครและปริมณฑล[229] รวมถึงแนะนำเส้นทางที่ควรหลีกเลี่ยงยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 มีเส้นทางที่สั่งปิดทั้งหมด 50 เส้นทาง แบ่งเป็นปิดตลอดเส้นทาง 17 เส้นทาง ปิดไม่ตลอดเส้นทาง 21 เส้นทาง ควรหลีกเลี่ยง 21 เส้นทาง[230] วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ถนนเศรษฐกิจในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เจ้าหน้าที่ตำรวจได้สั่งปิดการจราจร[231]
วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เจ้าหน้าที่ตำรวจกรุงเทพมหานครได้สั่งขยายการปิดจราจรใน 5 เส้นทางเดิมโดยปิดการจราจรในถนนเหล่านี้มากขึ้นและเพิ่มการปิดจราจรไม่ตลอดสาย 1 เส้นทางและแนะนำให้หลีกเลี่ยงอีก 5 เส้นทาง[232] วันเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ปิดการจราจรถนนเพชรเกษมบริเวณปากซอยวัดเทียนดัดและซอยหมอศรี ฝั่งขาเข้ากรุงเทพมหานครในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม[233] ในขณะที่จังหวัดนนทบุรีปิด 7 เส้นทางรวมถึงการทางพิเศษตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2554 โดยปิดเป็นบางช่วง[234]
วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ปิยะวัฒน์ มหาเปารยะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เปิดเผยว่า ปัญหาน้ำท่วมส่งผลให้สำนักงานไปรษณีย์ถูกน้ำท่วม 38 แห่ง จากทั้งหมด 1,200 แห่ง มีไปรษณีย์ภัณฑ์ธรรมดาตกค้างประมาณ 1.5 ล้านชิ้น จากปกติซึ่งจะมีไปรษณียภัณฑ์หมุนเวียนวันละ 5 ล้านชิ้น ทำให้มียอดจดหมายตกค้างเฉลี่ย 1 ใน 3 ของปริมาณงานที่ต้องนำจ่าย แต่บริษัทฯ ยังเปิดทำงานตามปกติ ส่วนพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าไปจ่ายไปรษณีย์ภัณฑ์ได้เจ้าหน้าที่จะเปิดถุงเมล์เพื่อนำจดหมายไปคัดแยกตามเขตพื้นที่แล้วเรียงลำดับตามหน้าซองที่จ่าไว้ และเมื่อระดับน้ำลดจะให้บุรุษไปรษณีย์รีบนำส่งจดหมายให้ถึงมือผู้รับทันที[235]
ที่ท่าอากาศยานดอนเมืองเครื่องบินของกองทัพอากาศและการบินไทยที่อยู่ในช่วงซ่อมบำรุงมีปัญหาในการขนย้ายเนื่องจากไม่สามารถขึ้นบินได้จึงเสียหายจากเหตุกาณ์น้ำท่วมท่าอากาศยาน[236]
[แก้] ปฏิกิริยา
[แก้] ภายในประเทศ
[แก้] การประกาศภาวะฉุกเฉินและภาวะภัยพิบัติ
มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน ดังนี้ จังหวัดนครสวรรค์ทั้งจังหวัด, จังหวัดปทุมธานี 2 อำเภอ, จังหวัดตาก จังหวัดลำปาง และจังหวัดลพบุรีทั้งจังหวัด วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2554 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน ในเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร [237] นับเป็นการยกระดับประกาศภายหลังที่ประกาศเป็นเขตภัยพิบัติฉุกเฉินไว้เรียบร้อยแล้ว ตลอดจนมีการประกาศภาวะภัยพิบัติในกรุงเทพมหานคร 17 เขต ประกาศวันที่ 12 ตุลาคม 2554, จังหวัดชลบุรี 10 อำเภอ ประกาศ 30 กันยายน 2554, จังหวัดบุรีรัมย์ 6 อำเภอ ประกาศ 2 ตุลาคม 2554, จังหวัดสมุทรสาคร 3 อำเภอ ประกาศ 7 ตุลาคม 2554[238], จังหวัดขอนแก่น 26 อำเภอ และจังหวัดภูเก็ตประกาศภัยพิบัติจากดินถล่มทั้งจังหวัด ประกาศเมื่อ 5 ตุลาคม 2554, จังหวัดน่าน ประกาศ 10 อำเภอ และจังหวัดจันทบุรี 8 อำเภอ[239]จนถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประกาศภาวะภัยพิบัติฉุกเฉินตามระเบียบกระทรวงการคลังในกรุงเทพมหานครรวม 32 เขต[240] ต่อมาวันที่ 26 พฤศจิกายน จังหวัดนราธิวาส[241] ได้ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติทั้งจังหวัด วันที่ 27 พฤศจิกายน จังหวัดปัตตานี ได้ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติ ทั้งจังหวัด[242]
[แก้] ความขัดแย้งเรื่องการกั้นน้ำ
การใช้พนังกั้นน้ำท่วมส่งผลให้เกิดความขัดแย้งหลายครั้งระหว่างประชาชนทั้งสองด้าน ฝั่งที่ถูกน้ำท่วมรู้สึกโกรธที่พวกตนได้รับผลกระทบอย่างไม่เป็นธรรม และมักพยายามทำลายพนังกั้นน้ำเหล่านี้ ซึ่งบางครั้งส่งผลให้เกิดการเผชิญหน้ากันด้วยอาวุธ ชาวนาในจังหวัดพิจิตร และอื่น ๆ ต่อสู้เพื่อรักษาพนังกระสอบทรายและบานระบายน้ำ[243][244] ราษฎรในพื้นที่รอบนอกกรุงเทพมหานครยังรู้สึกไม่พอใจที่บ้านของตนถูกน้ำท่วม แต่กรุงเทพมหานครได้รับการป้องกัน[245] การโต้เถียงกันว่าการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์นั้น ก็มีขึ้นด้วยเช่นกันวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554 ชาวบ้านตำบลหน้าโคก อมฤตและ ตำบลนาคู ลำตะเคียน ลาดชิด ลาดชะโด ได้ปะทะกันเนื่องจากชาวบ้านตำบลหน้าโคก อมฤตต้องการให้เปิดประตูระบายน้ำซึ่งคาดว่าจะส่งผลต่อขาวบ้านในตำบลอื่น ๆ และได้ประท้วงปิดถนนผักไห่ แยกจักราช [246]
วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554 ชาวบ้านประมาณ 500 คนทำลายแนวกระสอบทรายในจังหวัดชัยนาท[247]
วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554 ชาวบ้านตำบลบ้านกุ่ม อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยากว่า 200 คนบุกจะไปพังประตูน้ำบางกุ้ง ที่ตั้งอยู่ หมู่ 9 ตำบลบ้านกุ่ม ซึ่งกั้นน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยากับทุ่งนาฝั่งตะวันออกจำนวน 50,000 กว่าไร่ เขตติดต่อของทุ่งอำเภอบางบาล, อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอป่าโมง จังหวัดอ่างทอง หลังจากหมดความอดทนกับสภาพน้ำท่วมสูงในชุมชนติดแม่น้ำเกือบ 3 เมตรจนไม่มีที่อยู่อาศัย[248]
วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ที่บริเวณถนนสายปทุมธานี-สามโคก เกิดคันกั้นน้ำแตกหลายจุด ส่งผลให้น้ำเข้าท่วมบ้านชุมชนกฤษณา 2 ซึ่งมีผู้อยู่อาศัยประมาณ 3,000 คน โดยชาวบ้านบางส่วนได้รวมตัวกันออกมาปิดถนนประท้วงทั้งขาเข้าและขาออก ถนนสายปทุมธานี-สามโคก ทำให้การจราจรเป็นอัมพาต[249] กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงว่า พวกตนไม่พอใจเมื่อทราบข่าวว่าทางจังหวัดสั่งให้ทหารนำกระสอบทรายมากั้นบริเวณเส้นทางถนนปทุมธานี-สามโคก (สี่แยกสันติสุข) เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำจากตำบลกระแชงไหลผ่านมาเข้าในเขตอำเภอเมืองและลาดหลุมแก้ว และจะปิดถนนจนกว่าจะได้รับคำตอบที่พอใจ
วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ชาวบ้านกว่า 200 คน ได้รวมตัวชุมนุมปิดถนนพระราม 2 ฝั่งขาเข้าบริเวณหน้าการไฟฟ้าบางขุนเทียน เนื่องจากตกลงกันไม่ได้เรื่องการปิดกั้นน้ำในพื้นที่ โดยทางเคหะชุมชนธนบุรี 1 ได้นำกระสอบทรายมาปิดกั้นคลองระบายน้ำ ทำให้น้ำเอ่อล้นไปทางเคหะชุมชนธนบุรี 2 จนชาวบ้านไม่พอใจอยากให้เจ้าหน้าที่รื้อกระสอบทรายออก[250] วันเดียวกัน ชาวบ้านชุมชนหมู่บ้านธนินทร 1 ได้ทำลายคันกั้นน้ำในพื้นที่เขตดอนเมืองบริเวณถนนวิภาวดีรังสิตขาออกโดยมีการอ้างว่า การุณ โหสกุล ได้ติดต่อและได้รับอนุญาตจาก ศปภ. แล้ว[251] และชาวบ้านร่มเกล้า กรุงเทพมหานคร ประมาณ 300-400 คน รวมตัวประท้วงปิดถนนร่มเกล้าบนสะพานจากมีนบุรีไปสุวรรณภูมิ มากกว่า 2 ชั่วโมง เรียกร้องให้เปิดประตูระบายน้ำบึงขวางอีก 1 เมตร จากเดิมที่เปิดอยู่แล้ว 1 เมตร เมื่อผู้สื่อข่าวสอบถามไปยังกรมชลประทาน กล่าวว่าได้ โอนอำนาจไปให้สำนักระบายน้ำของกรุงเทพมหานครแล้ว[252]
วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ชาวบ้านหมู่บ้านการ์เด้นโฮม ซอยพหลโยธิน 60 อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ได้รื้อคันกั้นน้ำออกทั้งหมด รวมระยะทาง 16 เมตร บริเวณถนนจันทรุเบกษาแยกกรมควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ[253] ขณะที่จุมพล สำเภาพล รองปลัดกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า พื้นที่เขตสายไหมตอนใต้อาจได้รับผลกระทบจากน้ำ เวลา 13.00 น. ชาวบ้านจากชุมชน ริเวอร์ ปาร์ค วัดประยูร เซียร์รังสิต ชุมชนริมคลองคูคต-ลำลูกกา คลอง 1 ชุมชนปิดถนนทางด่วนโทลล์เวย์ ขาเข้าบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าเซียร์รังสิต เกิดเหตุการณ์ผู้ชุมนุมปะทะกับประชาชนผู้ใช้เส้นทาง โดยมีรถยนต์คันหนึ่งได้เคลื่อนรถขับไล่ดันชาวบ้านให้ออกจากถนน จนทำให้ชาวบ้านระงับอารมณ์ไม่อยู่ กระโดดขึ้นไปบนหลังคารถ พร้อมทั้งทุบกระจกรถคันดังกล่าว[254]
วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ชาวบ้านที่บริเวณริมถนนรังสิต-นครนายก ช่วงหน้าหมู่บ้านฟ้าลากูน ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ได้มีกลุ่มตัวแทนชาวบ้านจากชุมชนต่าง ๆ จำนวน 13 ชุมชน ที่อยู่ริมคลองรังสิตประยูรศักดิ์ โดยชาวบ้านเรีบกร้องให้รัฐบาลรื้อคันกั้นน้ำออกทั้งหมดและชาวบ้านบางส่วนได้ทำลายคันกั้นน้ำ[255]
ขณะที่กลุ่มชาวบ้านกว่า 100 คน ที่พักอาศัยอยู่ในซอยสนามกีฬาจังหวัดปทุมธานี รื้อแนวกระสอบทรายยักษ์ ที่บริเวณเกาะกลางและบริเวณริมถนนติวานนท์ ชาวบ้านได้ใช้มีดกรีดตัดกระสอบทรายบิ๊กแบ็กจนขาดเป็นแนวยาวประมาณ 10 เมตร และชาวบ้านในซอยโรงเรียนจารุศร ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ประมาณ 100 คน ได้ชุมนุมบริเวณด้านข้างสถาบันเอไอที เพื่อมาเจรจากับทางสถาบันเอไอที โดยยื่นข้อเรียกร้อง 2 ข้อคือ 1. ขอให้สถาบันเอไอที ลดจำนวนการสูบน้ำจาก 12 เครื่อง ให้เหลือ 6 เครื่อง เพื่อลดผลกระทบจากน้ำที่ถูกสูบออกมายังพื้นที่ชุมชน และ 2. ขอให้ลอกคลอง และผักตบชวาที่ขวางทางน้ำ ตั้งแต่บริเวณต้นคลองจนถึงบริเวณท้ายคลองริมทางรถไฟ[256]
[แก้] การประท้วงปิดถนน
วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ชาวบ้านในตำบลบึงคำพร้อย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานีกว่า 100 คน รวมตัวกันปิดถนนบริเวณสะพานสายไหมหทัยราษฎร์ แขวงและเขตสายไหม เพื่อเรียกร้องให้กรุงเทพมหานครเปิดประตูระบายน้ำขึ้นอีก 20 เซนติเมตร หลังชาวบ้านในพื้นที่ถูกน้ำท่วมขังมานานกว่า 2 เดือนแล้ว[257]วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในอำเภอบางใหญ่ อำเภอบางบัวทอง อำเภอไทรน้อยและอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี กว่า 200 คน ได้รวมตัวประท้วงปิดถนนหน้าศาลากลางจังหวัดนนทบุรี เรียกร้องต้องการพบวิเชียร พุฒิวิญญู ผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อทวงถามความคืบหน้าในการเปิดประตูน้ำตามคลองต่าง ๆ ในพื้นที่ หลังเคยมีการเจรจาตกลงกันว่าชาวบ้านจะสามารถกลับเข้าบ้านพักในวันที่ 1 ธันวาคม นี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจนับร้อยต้องมารักษาความสงบ เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมกีดขวางเส้นทางการจราจร[258]
วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ชาวบ้านซอยรามอินทรา เลขคี่ ซอย 1 - 39 เดินรวมตัวเข้าปิดถนนรามอินทราซอย 5 หลังจากส่งตัวแทนเข้าหารือกับผู้อำนวยการเขตบางเขน และผู้อำนวยการกองพัฒนาการระบบหลัก สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร แล้วยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเรื่องวิธีการระบายน้ำ[259]
วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ที่ปากซอยพหลโยธิน 48 มีชาวบ้านจากชุมชนพหลโยธิน 48 แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน จำนวนกว่า 200 คน ชุมนุมประท้วงหลังถูกน้ำท่วมขังภายในซอยสูงกว่า 1 เมตร นานกว่า 1 เดือน ผู้ประท้วงเรียกร้องให้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำบริเวณชุมชน เพื่อเร่งระบายน้ำลงคลองสอง และให้เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำที่ประตูระบายน้ำคลองลาดพร้าว เพื่อระบายน้ำที่ท่วมชุมชนโดยเร็ว พร้อมกับขอพบตัวแทนจาก ศปภ. หรือกรุงเทพมหานคร[260] ต่อมาทางกลุ่มผู้ประท้วงได้ปิดถนนพหลโยธินขาเข้า หลังจากไม่มีตัวแทนมาเจรจา จนกระทั่ง ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา กรรมการและเลขานุการ ในคณะกรรมการ ยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) เป็นตัวแทนจาก ศปภ. เดินทางมาพบกลุ่มผู้ประท้วงและเจรจา กระทั่งผู้ประท้วงพอใจและสลายตัว
วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ชาวบ้านตำบลกระทุ่มล้ม อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม รวมตัวปิดถนนพุทธมณฑล สาย 4 เรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาน้ำท่วม เนื่องจากในพื้นที่ ต.กระทุ่มล้ม มีน้ำท่วมขังนานกว่า 1 เดือน และกำหนดระยะเวลาแก้ไขปัญหาภายใน 3 วัน โดยนายกเทศมนตรีเมืองกระทุ่มล้มเข้าเจรจากับกลุ่มชาวบ้าน เบื้องต้นชาวบ้านเสนอข้อเรียกร้อง 5 ข้อ ด้านนายกเทศมนตรี กล่าวว่า จะพยายามทำตามข้อเรียกร้อง โดยชาวบ้านบางส่วนต้องการให้ตอบสนองข้อเรียกร้องทันที[261]
[แก้] การเมือง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยขัดแย้งกันเองถึงขั้นต้องให้หัวหน้าพรรคช่วยเจรจาและเป็นสักขีพยาน และมีการตำหนิการทำงานของหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะจากคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ และจิรายุ ห่วงทรัพย์[262] ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี[263]หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้สัมภาษณ์แก่นักข่าวตัดพ้อว่า รัฐบาลไม่ค่อยให้การช่วยเหลือ เช่น มอบกระสอบทรายและเครื่องสูบน้ำล่าช้า[264] ต่อมา ปรเมศวร์ มินศิริ เจ้าของเว็บไซด์ thaiflood ได้ประกาศลาออกจากศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยเพราะไม่พอใจที่หน่วยงานของรัฐไม่ยอมเปิดเผยข้อมูลเชิงลึกและไม่ให้ร่วมเข้าประชุม[265]
พีระศักดิ์ หินเมืองเก่า ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ถูกย้ายให้ไปเป็นผู้ตรวจราชการโดยระบุในคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 522/2554 [266] ด้วยเหตุผลว่า จำเป็นและเพื่อประโยชน์ของทางราชการในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอันเนื่องมาจากสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม และมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในการประสานราชการระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2554
ในกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครได้ย้ายโฆษกกรุงเทพมหานคร โดยให้วสันต์ มีวงศ์ เป็นโฆษกกรุงเทพมหานคร และให้เจตน์ โศภิษฐ์พงศธร พ้นจากตำแหน่งโฆษกกรุงเทพมหานครปฏิบัติตำแหน่งหน้าที่ที่ปรึกษาผู้ว่าฯกรุงเทพมหานครเพียงตำแหน่งเดียวและในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554นายเจริญรัตน์ ชุติกาญจน์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ได้ลงนามในคำสั่งย้ายนางวัชราภรณ์ กวยะปาณิก ผู้อำนวยการเขตบางเขนไปช่วยราชการที่สำนักงานปลัดกรุงเทพมหานคร เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง เนื่องจากตรวจสอบพบว่ามีการแจ้งเท็จเกี่ยวกับการกำจัดขยะในพื้นที่เขตบางเขนแก่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[267]
[แก้] การให้ความช่วยเหลือ
[แก้] ภาครัฐ
วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีลงมติเห็นชอบให้รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐนำหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาการให้ความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการก่อสร้างอันเนื่องจากเหตุอุทกภัย[268]ปฏิบัติการเฝ้าตรวจและบรรเทาสาธารณภัยอุทกภัยแบบรวมศูนย์เริ่มขึ้นในกลางเดือนสิงหาคม นายกรัฐมนตรีที่เพิ่งดำรงตำแหน่ง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เดินทางเยี่ยมจังหวัดที่ประสบอุทกภัยเริ่มตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม และมอบหมายให้สมาชิกคณะรัฐมนตรีและสมาชิกรัฐสภาเยี่ยมราษฎรที่ได้รับผลกระทบ โดยสัญญาจะสนับสนุนองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น[269] ศูนย์สนับสนุนการอำนวยการบริหารสถานการณ์ อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่มถูกจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ภายใต้กำกับของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เพื่อประสานงานความพยายามเตือนภัยและบรรเทาภัยพิบัติ[270] รัฐบาลยังได้จัดสรรงบประมาณบรรเทาอุทกภัยเพิ่มเติมให้แก่จังหวัดที่ได้รับผลกระทบ[271]นายกรัฐมนตรียังให้คำมั่นว่าจะลงทุนในโครงการป้องกันระยะยาว รวมทั้งการก่อสร้างคลองระบายน้ำ
กองทัพได้ระดมกำลังพลเพื่อกระจายความช่วยเหลือแก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบ กลุ่มและองค์การพลเรือนก็ได้มีส่วนเช่นกัน โดยอาสาสมัครช่วยกันจัดถุงยังชีพและส่งความช่วยเหลือไปยังบางพื้นที่ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยได้ถูกจัดตั้งขึ้นที่ท่าอากาศยานดอนเมืองเพื่อประสานงานการส่งความช่วยเหลือ สนามกีฬาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตใช้เป็นที่พักพิงแก่ผู้อพยพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อย่างไรก็ดี หลายคนในพื้นที่ประสบภัยไม่ยอมละทิ้งบ้านเรือนของตนด้วยกลัวว่าจะถูกปล้น ด้านตำรวจได้ตอบสนองประชาชนโดยตั้งศูนย์ปฏิบัติการปราบปรามอาชญากรรมขึ้นเพื่อปฏิบัติภารกิจพิเศษในการป้องกันอาชญากรรมในช่วงมีเหตุการณ์อุทกภัย[272] ขณะที่หน่วยงานของรัฐได้จัดองค์กรพิเศษเช่น กรมประมงจัดหน่วยพิเศษเพื่อจับจระเข้ในนาม หน่วยปฏิบัติเฉพาะกิจผู้ประสบเหตุจระเข้หลุดรอดจากอุทกภัย และศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอุทกภัยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย[273]ตำรวจตระเวณชายแดนตั้ง ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้จัดเรือหลายร้อยลำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อขับดันน้ำด้วยใบจักรเพื่อเพิ่มการไหลน้ำลงสู่ทะเล อันเป็นเทคนิคซึ่งทรงเสนอโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพื่อช่วยเร่งการไหลของน้ำผ่านคลองลาดพร้าวที่แคบกว่ามาก[274] ยิ่งลักษณ์ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องนี้โดยโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ผู้เรียกปฏิบัติการนี้ว่าเป็นการ "เสียเวลา" เพราะทะเลมีคลื่นสูงในขณะนั้น[275] ด้านสมิทธ ธรรมสโรช อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาและประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ยังวิพากษ์วิจารณ์ปฏิบัติการดังกล่าวเช่นกัน โดยอ้างว่า "การเร่งเรือกลางแม่น้ำเจ้าพระยาอันกว้างใหญ่นั้นเสียเปล่า เพราะมันจะขับดันเฉพาะน้ำบนพื้นผิวเท่านั้น"[276]
สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จัดหน่วยปฏิบัติเฉพาะกิจศูนย์รักษาความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน และการจราจร กับศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยให้ เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ทั้งสองแห่งรวมทั้งจัดอบรมการขับเรือแก่ข้าราชตำรวจเพื่อจับโจรผู้ร้ายในสถานการณ์ปัจจุบัน[277]และให้บริการจับสัตว์ดุร้ายรวมถึงการอพยพคนการแจกสิ่งของต่าง ๆ ในพื้นที่ ๆ ประสบปัญหาอุทกภัย
การประปานครหลวงได้ดำเนินการผ่อนผันการชำระค่าประปาในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2554 โดยให้ชำระอย่างช้าภายในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 มิฉะนั้นจะดำเนินการตัดน้ำในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ในขณะที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคก็ดำเนินการผ่อนผันการชำระค่าไฟฟ้าเช่นเดียวกัน[278]
[แก้] ภาคเอกชน
อุทกภัยในครั้งนี้มีหน่วยงานของเอกชนอาทิ ปูนซิเมนต์ไทยได้จัดรถเพื่อรับส่งประชาชนที่ประสบอุทกภัย[279] เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้จัดถุงยังชีพเพื่อช่วยเหลือประชาชน[280] ขณะที่เซเว่น อีเลฟเว่นจัดอาหารเพื่อบริการประชาชนเช่นเดียวกัน[281]วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 บริษัท สิงห์ชัย อุตสาหกรรม จำกัด และเจ้าหน้าที่เทศบาลจังหวัดสมุทรสาครได้ร่วมมือกันเพื่อจัดทำโครงการคลองประดิษฐ์ขึ้น ใช้เงินลงทุนกว่า 3 ล้านบาท[282]
[แก้] ต่างประเทศ
วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ฮิลลารี คลินตันได้แถลงผ่านทางเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศสหรัฐ แสดงความเสียใจและห่วงใยต่อเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในนามของประธานาธิบดีและประชาชนชาวสหรัฐ[283]วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เรือบรรทุกเครื่องบิน ยูเอสเอส จอร์จ วอชิงตัน (CVN-73) เช่นเดียวกับเรือแห่งกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาอีกหลายลำถูกส่งมายังประเทศไทยเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการบรรเทาสาธารณภัย แต่ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่ารัฐบาลไทยได้ร้องขอความช่วยเหลือจากกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาไปยังรัฐบาลสหรัฐอเมริกาหรือไม่ จากท่าทีอันหลากหลายของรัฐบาลไทย จนถึงปัจจุบัน สหรัฐอเมริกายังไม่ได้รับการร้องขอความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการ[284]
วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 กวาน มู เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย มอบเครื่องสูบน้ำจำนวน 500 เครื่อง เรือติดรถยนต์ 685 ลำ ส่วนการสั่งซื้อเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมของรัฐบาลไทยนั้น เป็นการสั่งซื้อกับเอกชน ไม่ผ่านรัฐบาลจีน[285]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น