วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อย่าด่วนสรุป "ทหาร" เท่าที่ตาเห็น เมื่อ 23 พ.ย.56



อื้อฮือ...เป็นแค่ "ไอ้ขี้ข้าสวมหัวโขน" เคลื่อนไหวใต้ตีนทักษิณเขี่ยเท่านั้น ทำผยองจนขนหัวที่หยิกหยอยพะเยิบ สามหาวคำโต...
    "ศาลจะก้าวล่วงเข้าไปใช้อำนาจนี้แทน (รัฐสภา) ไม่ได้ มิเช่นนั้น ก็จะเป็นการยึดอำนาจของประชาชนไปใช้เช่นเดียวกับการรัฐประหาร"!
    คณะกรรมการยุทธศาสตร์และแกนนำพรรคเพื่อไทย โดยนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรค เขาออกแถลงการณ์ ๙ ข้อเมื่อวาน (๒๑ พ.ย.๕๖)
    ไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยกรณีที่มา ส.ว.ไปเมื่อวานซืน และเตรียมฟ้อง ๕ ตุลาการเสียงข้างมากที่วินิจฉัยว่า เนื้อหาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว.นั้น ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา ๖๘
    ในข้อที่ ๙ ข้อความที่ผมยกให้ดูข้างบน ไอ้ขี้ข้าขนหัวหยิกระบุเปรี้ยงลงไปเลยว่า ที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้น เท่ากับทำรัฐประหาร!
    ก็ทำความรู้จักตุลาการทั้ง ๙ ท่านกันไว้หน่อยว่าท่านไหน-เป็นท่านไหนบ้าง ๕ ตุลาการที่พรรครัฐบาลยิ่งลักษณ์เขาจะฟ้อง เพราะคำวินิจฉัยไม่สนองระบอบทักษิณประกอบด้วย
    นายจรูญ อินทจาร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ นายจรัญ ภักดีธนากุล นายนุรักษ์ มาประณีต นายสุพจน์ ไข่มุกด์ และนายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ ท่านนี้ มาแทนท่านวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ที่ลาออกไป
    เมื่อรู้จัก ๕ ท่านที่เป็นหนามในตาระบอบทักษิณแล้ว ก็ควรรู้จักอีก ๔ ท่านที่เป็นกุหลาบในแจกันระบอบทักษิณ วินิจฉัยแต่ละคดี ล้วน "ตรงใจ-ตรงประโยชน์" มาตลอด ประกอบด้วย
    ๑.นายชัช ชลวร ๒.นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ๓.นายบุญส่ง กุลบุปผา และครั้งนี้ เพิ่มอีก ๑ ท่าน คือ ๔.นายเฉลิมพล เอกอุรุ
    แต่ทั้ง ๙ ท่าน คือคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ การที่จะวินิจฉัยเหมือนกัน-ต่างกันอย่างไร และความเหมือน-ความต่างนั้น จะตรงใจเรา ไม่ตรงใจ ก็ตาม
    จงอย่าใช้ความตรงใจ-ไม่ตรงใจ ไปสรุปว่า ท่านวินิจฉัยเข้าข้างโน้น-ข้างนี้เลย เพราะเรื่องของกฎหมาย เหมือนกล้วยไม้ช่อหนึ่ง ย่อมให้สี ให้ความเล็ก-ใหญ่ ให้ความสมบูรณ์-ไม่สมบูรณ์ คละกันไป
    แต่เมื่อรวมอยู่ในช่อเดียวกัน ความเหมือน-ความต่างกัน มันกลายเป็นความงามที่ชวนค้นหา เป็นสินค้าที่คนไม่ต้องการ แต่ก็ยังมีคนที่ต้องการ
    นั่นคือความกว้างขวางในแง่กฎหมายบนฐานดุลยธรรมแห่งการวินิจฉัย เพราะเหตุนั้น จึงใช้ "เสียงข้างมาก" เป็นตัวชี้ขาด!
    แต่ถ้าแย้งว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าวินิจฉัยนั้น กว้างขวางบนฐานดุลยธรรมหรือไม่ เช่นที่ นายชัช ชลวร นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ตั้งแต่วินิจฉัยมา คดีในระบอบทักษิณ ไม่เคยวินิจฉัยว่ามีผิดตรงไหนเลย?
    ในประเด็นนี้ ตอบง่ายมาก ลอกกระทู้ใน "ลานธรรมจักร" มาตอบเลย
    "อัตตะนา ว กะตัง ปาปัง อัตตะนา สังกิลิสสติ
    อัตตะนา ว อะกะตัง ปาปัง อัตตะนา วิสุทธะติ
    สุทธิ อะสุทธิ ปัจจัตตัง นาญโญ อัญญัง วิโสธะเย
    ตนทำชั่วเอง ตนก็เศร้าหมองเอง
    ตนไม่ทำชั่ว ตนก็ผ่องใส
    ความบริสุทธิ์ ไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว
    คนอื่นจะยังคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้"
    แต่เท่าที่ฟังเสียงสะท้อนจากคนทั่วไปต่อคำวินิจฉัย บางคนสงสัยว่า ศาลได้แต่บอกนั่นผิด-นี่ถูก
    แต่ไม่เห็นศาลสั่งว่าผิดแล้วต้องให้ทำอย่างไร ถูกแล้วต้องทำอย่างไร เป็นคำวินิจฉัยลอยๆ ไม่มีบทให้ปฏิบัติ
    ตรงนี้ ถ้าเข้าใจบทบาทและกรอบหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญแล้วก็จะไม่สงสัย เพราะศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่เพียงวินิจฉัยข้อกฎหมายที่เข้าใจต่างกัน ตามที่รัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายบัญญัติเท่านั้น
    เขายื่นเรื่องมาให้ตีความว่า "แบบนี้-อย่างนี้ มันขัดหรือไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ" ก็วินิจฉัยแค่อะไรขัด อะไรไม่ขัดเท่านั้น
    นอกจากนั้น เป็นเรื่องนอกวงแขนศาลรัฐธรรมนูญ คนไม่ใช่แฟนทำแทนกันไม่ได้หรอก แนะนำว่าควรจะทำอย่างนั้น-อย่างนี้พอได้
    แต่จะให้ไปสั่งว่าที่ผิดนั้น ต้องลงโทษอย่างนั้น-อย่างนี้...ไม่ได้ ไม่ใช่หน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ!
    ถ้าเข้าข่ายผิดทางอาญา มีโทษทางอาญา เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว ก็ต้องไปยื่นให้ ป.ป.ช.ดำเนินการต่อ นำเรื่องฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป
    อย่างที่ศาลวินิจฉัยเรื่องที่มา ส.ว.นี้ ประธานรัฐสภา "สมศักดิ์-นิคม" ทุจริตในหน้าที่ตามกฎหมาย ป.ป.ช.แปลงสาร-สอดไส้ ต่างๆ นานา และนายนริศร ทองธิราช ส.ส.เพื่อไทย ที่ "กดบัตรลงคะแนนแทนกัน" ซึ่งก็เป็นการทุจริต มีโทษอาญา
    นั่นต้องยื่นให้ ป.ป.ช.ฟันต่อ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๑๖ วรรคห้า บอกว่า "คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ"
    หมายความว่า "ด้วยคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา" ไปยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช.ปุ๊บ ป.ป.ช.รับเรื่องแล้ว สามารถฟันปั๊บได้เลย ไม่ต้องรอสอบสวนทวนความอะไรอีก
    เพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมาให้เสร็จสรรพ "เป็นเด็ดขาด" แล้วว่า ใครผิด-ใครถูกตรงไหน ด้วยเรื่องอะไร ประเด็นไหน ตามมาตราไหน โละลงหม้อแกงได้เลย
    ทีนี้มาดูมุมรัฐบาลเพื่อไทยกันบ้าง ความไร้เดียงสา หรือเรียกชัดๆ ว่า การมีความโง่เง่าเป็นคุณสมบัติ มันก็ดีอย่างหนึ่ง คือไม่ทุกข์
    ไม่ทุกข์เพราะ "ไม่รู้สึก-รู้สา" คือไม่ประสากับอะไรเลย กูก็สนุกในตำแหน่งของกูไปเรื่อยๆ ขี้ข้าบริวารบอกให้ทำอย่างไหน-ก็ทำ บอกให้พูดอย่างไหน-ก็พูด
    มองเผินๆ เหมือน "ไอ้ฟัก-สมทรง" ในเรื่อง "คำพิพากษา" ของชาติ กอบจิตติ ความไม่รู้ประสา คือสุขในชีวิตเขา แต่มันเป็นทุกข์ ด้วยสมเพชของคนรู้ประสาทั้งหลาย
    แต่ถ้าสุขตามประสา จำกัดอยู่เฉพาะสมทรง คนภายนอกนำไปเป็นทุกข์ของตน นั่นเรียกว่าแส่ หรือเสือกเอาเรื่องชาวชาวบ้านไปสุมหัวเอง ก็...โสน้าน่า!
    แต่สำหรับ "สุขตามประสายิ่งลักษณ์" มันเป็นสุขบนตำแหน่งผู้นำบริหารประเทศ ผู้นำทหารในฐานะ รมว.กห. มันจึงเป็นสุขอยู่บนกองทุกข์ของชาวบ้าน คือของประชาชน
    เพราะเครื่องเล่น-เครื่องบำเรอความสุขของเธอแต่ละอย่างมันแพงชนิด "ขายบ้าน-ขายเมือง" กันเลยทีเดียว
    รถไฟขนผัก ก็ตั้ง ๒ ล้านล้าน
    เครื่องดันน้ำของเธอก็ตั้ง ๓.๕ แสนล้าน
    ขายข้าว-ขายแกงของเธอก็ตั้ง ๖-๗ แสนล้าน
    นอกจากเล่นขายข้าว-ขายแกงแล้ว ยังจะเล่น "รัฐสภาผัว-เมีย" เล่นฆ่าทหาร-โกงแผ่นดิน-กินประเทศ ไม่ต้องติดคุกอีก
    แล้วของเล่นเก่าๆ ที่ทิ้งขว้าง อย่างรถคันแรก บ้านหลังแรก ขนเงินแจกโจรเผาเมือง ดูซี...กองพะเนิน!
    เธอสนุก บนทุกข์ประชาชน บนความป่นปี้ประเทศชาติ เล่นขายข้าว-ขายแกง ตามประสาไร้เดียงสา ก็ว่าไปอย่าง แต่เล่นแบบยิ่งลักษณ์ มันเป็นการเล่น "ขายบ้าน-ขายเมือง"
    ถามว่า...แล้วเธอจะเป็นนายกฯ ไร้เดียวสา เล่นขายบ้าน-ขายเมืองไปอีกนานมั้ย?
    แล้วถามกันว่า...ทหารหายไปไหน ไม่เห็นหัว ไม่เห็นหน้า-เห็นตา มานานแล้ว?
    ก็อยากจะตอบเสียตอนนี้ แต่คิดอีกที...พรุ่งนี้ก็ได้ ประเด็นที่อยากให้เข้าใจกันไว้ พวกเราน่ะ...เอาแต่พูดกันว่า
    "เห็นถวายสัตย์และปฏิญาณตนทุกปี
    แต่ "เจ้าสาวหมาป่า" ก็ยังอยู่ได้-อยู่ดี ปฏิญาณตนนี้ มีความหมายอะไร?"
    ผมก็อยากตอบแทนสั้นๆ ตรงนี้ก่อนว่า พวกเราน่ะ...
    "เคยเห็น" ทหาร
    แต่ "ไม่รู้จักทหาร"!
    ฉะนั้น..."อย่าด่วนสรุป" เท่าที่ตาเห็นว่า...เช่นนั้น เป็นอันขาด!.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น