วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แดง-พท.ว่าไง?...สหรัฐฯส่อแบนเลือกตั้งเขมร เมื่อ 15 ก.ค.56


แดง-พท.ว่าไง?...สหรัฐฯส่อแบนเลือกตั้งเขมร
ในวันที่ 28 กรกฎกาคมที่จะถึงนี้ประเทศกัมพูชากำลังจะมีการเลือกตั้งใหญ่อีกครั้ง ขณะที่หลายฝ่ายมองว่าพรรคประชาชนกัมพูชา หรือซีพีพี ของสมเด็จ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรี จะสามารถคว้าชัยชนะแบบถล่มทลายตามเดิม
แต่ทว่าภายใต้บรรยากาศการหาเสียงที่กำลังดำเนินไปกลับปรากฏความเคลื่อนไหวของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาที่ปฏิเสธจะส่งผู้แทนเข้าไปสังเกตการณ์พร้อมกับประกาศว่าจะยุติการให้ความช่วยเหลือทางด้านงบประมาณกับกัมพูชาหากการเลือกตั้งเกิดการทุจริตเหมือนทุกๆครั้ง และรัฐบาลใช้อำนาจกีดกันการแข่งขั้นของพรรคฝ่ายค้าน

บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลอเมริกาตัดความช่วยเหลือกัมพูชา ถ้าสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาไม่ทำให้การเลือกตั้งในวันที่ 28 ก.ค.นี้มีความบริสุทธิ์และยุติธรรม หลังจากสมเด็จฮุนเซน ซึ่งบริหารประเทศกัมพูชามาเป็นเวลานานถึง 28 ปี และประกาศอยู่ในอำนาจต่อไปอีก 10 ปี  เคยถูกกล่าวหาปิดปากฝ่ายตรงข้าม เพื่อกำจัดโอกาสที่จะพ่ายแพ้  ขณะที่ นายสมรังสี ผู้นำฝ่ายค้านกัมพูชา ที่ลี้ภัยอยู่ในฝรั่งเศสและจะต้องโทษจำคุก หากเขาเดินทางกลับกัมพูชาตามแผน

นายสตีฟ ชาบอต  ส.ส.สหรัฐจากพรรครีพับลิกัน ซึ่งเป็นประธานคณะอนุกรรมาธิการความสัมพันธ์ต่างประเทศฝ่ายเอเชียตะวันออกของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ กล่าวว่า เขาไม่สงสัยเลยว่า สมเด็จฮุนเซนจะชนะการเลือกตั้งได้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกสมัย ด้วยวิธีการยุยงปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรงทางการเมือง และการทุจริต รวมทั้งการเล่นพรรคเล่นพวก

อย่างไรก็ตาม นายชาบอต กล่าวชื่นชมการตัดสินใจของประธานาธิบดีบารัค โอบามา  ผู้นำสหรัฐและบรรดาผู้นำรัฐบาลประเทศตะวันตกที่ไม่ส่งคณะผู้สังเกตการณ์ไปยังกัมพูชา ซึ่งจะทำให้การเลือกตั้งในวันที่ 28 ก.ค.กลายเป็นการเลือกตั้งที่มีความชอบธรรม

นอกจากนี้ นายชาบอตกล่าวต่อไปว่า นโยบายของสหรัฐที่มีต่อกัมพูชาจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง และรัฐบาลต้องดำเนินมาตรการที่แข็งกร้าวมากขึ้นต่อผู้นำเผด็จการที่ปกครองประเทศยาวนานที่สุดในเอเชีย นายชาบอตบอกด้วยว่า เขาได้เสนอร่างกฎหมายเพื่อตัดความช่วยเหลือต่อกัมพูชา หากการเลือกตั้งไม่ยุติธรรม

เช่นเดียวกับมาร์โก รูบิโอ และลินด์ซีย์ เกรแฮม สองวุฒิสมาชิกคนดังของพรรครีพับลิกัน  เสนอร่างกฎหมายตัดความช่วยเหลือกัมพูชา ทั้งนี้ความช่วยเหลือของสหรัฐที่มอบให้แก่กัมพูชา มากกว่าร้อยละ 85 อยู่ในรูปของการช่วยพัฒนา หรือด้านอนามัย รวมทั้งการต่อสู้โรคเอดส์ ไข้มาลาเรีย และโรคอื่น ๆ  อนึ่ง เมื่อเดือนที่แล้วเคยมีการเรียกร้องให้ตัดความช่วยเหลือกัมพูชา หากทุจริตเลือกตั้ง

ด้านกัมพูชากลับไม่สนใจเสียงเรียกร้องของสมาชิกสภาสหรัฐ โดยนายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศ กล่าวว่าไม่ว่าสหรัฐจะช่วยเหลือหรือไม่ ก็เป็นเรื่องของสหรัฐ กัมพูชาเป็นประเทศที่มีอธิปไตย และการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของกัมพูชาอยู่ในมือของชาวกัมพูชา

จากท่าทีของสหรัฐอเมริกาสะท้อนให้เห็นถึงการเป็นประเทศประชาธิปไตยจอมปลอมของกัมพูชา ที่นำเอาการเลือกตั้งมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อต่อยอดอำนาจไปเรื่อยๆอย่างไม่รู้จักจบจักสิ้นของสมเด็จ ฮุนเซน

ขณะที่การใช้วิธีการกำจัดคู่แข่งอย่างนายสมรังสีด้วยการขับออกนอกประเทศ ก็เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าประเทศกัมพูชาภายใต้การปกครองของฮุนเซน ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยแม้จะมีการเลือกตั้ง

นายกรัฐมนตรีฮุนเซน เคยออกโรงกล่าวเตือนอย่างตรงไปตรงมาว่า ถ้าหาก “พรรคกู้ชาติกัมพูชา” ที่เป็นฝ่ายค้านได้คะแนนเสียงเป็นกอบเป็นกำในการเลือกตั้งรัฐสภาที่กำลังจะจัดขึ้นในเร็วๆ นี้แล้ว ก็จะทำให้เกิด “ความปั่นป่วนวุ่นวาย” ขึ้นมา รวมทั้งนโยบายต่างๆ ที่พรรคนี้เสนอก็บ่งชี้ให้เห็นว่าต้องการหวนกลับไปสู่ยุคสมัยเขมรแดง พร้อมกันนั้น รัฐบาลยังได้เร่งรัดออกกฎหมายซึ่งจะเปิดทางให้กล่าวโทษฟ้องร้องใครก็ตามที่กล้าท้าทายแสดงความข้องใจว่าอาชญากรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างที่เขมรแดงปกครองประเทศนั้นเป็นเรื่องจริงหรือไม่ โดยเห็นได้อย่างชัดเจนว่ากฎหมายใหม่นี้ช่างเหมาะเจาะสอดคล้องกับข้อความต่อต้านพรรคกู้ชาติกัมพูชา ซึ่งรัฐบาลพยายามโหมประโคมอย่างพอดิบพอดีทีเดียว

นอกจากนี้เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. ที่ผ่านมา รัฐบาลกัมพูชาออกแถลงการณ์แสดงความผิดหวัง ต่อแถลงการณ์ของรัฐบาลสหรัฐฯ เมื่อ 8 มิ.ย. ที่ผ่านมา ที่แสดงความกังวลเกี่ยวกับการถอดถอนสมาชิกภาพ ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ (ส.ส.) ฝ่ายค้าน จึงประสงค์สร้างความเข้าใจให้ตรงกันว่าทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมาย และรัฐธรรมนูญของประเทศ ด้วยความยุติธรรมและเท่าเทียม ปราศจากการโอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใด                

ทั้งนี้ คำชี้แจงดังกล่าวของรัฐบาลกัมพูชา มีขึ้นภายหลัง อดีตสมาชิกพรรคฝ่ายค้านเก่า 2 พรรค พรรคประกอบด้วย พรรคสมรังสีและพรรคสิทธิมนุษยชน ตกลงยุบรวมกันเพื่อตั้งเป็นพรรคกู้ชาติกัมพูชา โดยมีนายสม รังสี ผู้ลี้ภัยในต่างแดนนานถึง 12 ปี เพื่อหนีโทษจำคุก เป็นหัวหน้าพรรค แต่สุดท้ายถูกริบสถานภาพความเป็น ส.ส. เพราะขัดต่อกฎระเบียบของรัฐสภา

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานจากกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ว่า ผู้สนับสนุนหลายพันคนจากหลายพรรคการเมือง ทะลักออกสู่ถนนในกรุงพนมเปญ เมืองหลวงกัมพูชา ในการรณรงค์หาเสียงที่เต็มไปด้วยสีสัน ขบวนรถทั้งรถยนต์และจักรยานยนต์ ติดแผ่นป้ายหาเสียงของผู้สมัคร ก็ตระเวนไปทั่วเมืองหลวง การหาเสียง ซึ่งจัดขึ้นหนึ่งเดือนก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 28 ก.ค. เป็นการเริ่มต้นฤดูการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการในกัมพูชา ขณะเดียวกัน บรรดาพรรคการเมืองน้อยใหญ่ทั้งหมด ก็มีอิสรเสรีในการไปเคาะประตูบ้านหาเสียงกับผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง และจัดการชุมนุมเพื่อปราศรัยหาเสียงในที่สาธารณะ

นักวิเคราะห์ กล่าวว่า แทบไม่มีโอกาสเลยที่จะสูญเสียที่นั่งสำหรับสมเด็จฮุน เซน และพรรคประชาชนกัมพูชา หรือซีพีพี ของเขา ซึ่งชนะการเลือกตั้ง 2 ครั้งล่าสุดอย่างถล่มทลาย แม้ว่าจะมีข้อกล่าวหาว่าโกง และทำผิดกฎหมายเลือกตั้งอย่างแพร่หลายก็ตาม สมเด็จฮุน เซน และบรรดาแกนนำพรรคซีพีพีคนอื่น ๆ ก็เริ่มต้นการรณรงค์หาเสียงอย่างคึกคัก         

เฮง สัมริน ประธานกิตติมศักดิ์ของพรรคซีพีพี กล่าวต่อกลุ่มผู้สนับสนุนว่า “การตัดสินใจที่ถูกต้องเท่านั้น จะนำมาความสำเร็จมาให้ แต่การตัดสินใจที่ผิดพลาดจะทำให้ประเทศถอยหลังลงคลอง และเกิดอันตรายใหญ่หลวงต่อประเทศ”

พิจารณาจากสภาพการณ์ตามนี้ก็แสดงให้เห็นแล้วหรือไม่ว่าประเทศกัมพูชาภายใต้การบริหารของนายกรัฐมนตรีฮุนเซน ที่บรรดาแกนนำคนเสื้อแดงและพ.ต.ท.ทักษิณต่างยกย่องว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของประชาธิปไตย และพากันสนับสนุนยกย่องมาโดยตลอดนั้น แท้ที่จริงก็เป็นเพียงเผด็จการซ่อนรูปของประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้งเท่านั้น

สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา แถลงผ่านรายการวิทยุแห่งชาติ ว่าจะอยู่ในตำแหน่งอีกอย่างน้อย 1 ทศวรรษ โดยผู้นำกัมพูชาที่ครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 2528 บอกด้วยว่าจะลาออกเมื่ออายุ 74 ปี ลดลงจากเดิมที่บอกว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีจนอายุ 90 ปี

          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น