วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ก่อนนิรโทษกรรม ตอกย้ำความจริง ใครกันแน่คือผู้สั่งฆ่า เมื่อ 24 ก.ค.56


ก่อนนิรโทษกรรม ตอกย้ำความจริง ใครกันแน่คือผู้สั่งฆ่า
คอลัมน์ : เจาะข่าวร้อนล้วงข่าวลึก

หลังจากที่สำนักข่าวทีนิวส์ได้มีการนำเสนอเปิดใจของนายธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล อดีตผู้ต้องขังคดีอาญามาตรา 112 ที่ได้เล่าให้ฟังถึงชีวิตระหว่างการถูกคุมขังว่าถูกหมางเมินจากแกนนำนปช.ที่วันนี้ได้ดิบได้ดีมีตำแหน่งทางการเมือง
พร้อมกับการตั้งข้อสังเกตว่าที่แล้วๆมาอาจจะถูกหลอกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองมาโดยตลอด
ประเด็นดังกล่าวนี้เองที่ทำให้สำนักข่าวทีนิวส์ต้องนำมาขยายความลักษณะการตั้งคำถามว่า ความหมายที่แท้จริงของการถูกหลอกใช้และเป็นเหยื่อของแกนนำนปช.นั้นหมายความว่าอย่างไร ประเด็นที่ว่าการถูกหลอกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง สำนักข่าวทีนิวส์อยากตั้งข้อสังเกตถึงการออกมาเปิดเผยข้อมูลก่อนหน้านี้ของนายวิสา คัญทัพ และนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลที่พูดถึงการมีอยู่จริงของกองกำลังติดอาวุธ ในทำทองที่เข้าใจได้ว่าถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อนำเอามวลชนมาเป็นเยื่อการต่อสู้เพื่อสร้างเป็นเงื่อนไขทางการเมืองในเวลาต่อมา
เหตุการณ์ในส่วนนี้ตรงกับคำบอกเล่าของนายวิสา คัญทัพ แกนนำนปช. ที่อยู่ ณ จุดเกิดเหตุ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเหตุการณ์
จากเหตุการณ์ปะทะในช่วงเย็น 10 เมษายน 2553 ซึ่งในขณะนั้นนายวิสา คุมเวทีอยู่ที่สะพานผ่านฟ้าลีลา ได้เล่าผ่านบันทึกว่าผมและไพจิตร อักษรณรงค์ได้รับมอบหมายให้ดูแลเวทีปราศรัยที่ผ่านฟ้าลีลาศ ก่อนเกิดเหตุการณ์ 10 เมษายน เราคุมสถานการณ์ด้วยสันติวิธี ขณะเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์มาบินวนในช่วงบ่ายวันนั้น ผมประกาศให้คนออกมาจากเต็นท์ให้หมด มารวมกันหน้าเวที เพื่อให้เจ้าหน้าที่บนเครื่องบินที่บินสังเกตการณ์ได้เห็นว่ามีคนเสื้อแดงมากมาย ผมให้พี่น้องนั่งลง สงบนิ่ง ตั้งสติ ทำสมาธิ ยึดหลักการสันติอหิงสา ปล่อยให้ตำรวจทหารเข้ามาโดยไม่ขัดขวาง หากเขาจะมาจับแกนนำ ให้เปิดทางให้เขาเข้ามาจับบนเวที พวกเราพร้อม เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียใดๆกับพี่น้องประชาชน
หลังจากผมพูดจบลง ไมโครโฟนก็ถูกแย่งดึงโดยบางคนที่ปลุกเร้าเร่าร้อนระดมกำลังให้ออกไปปะทะเผชิญสกัดกั้นไม่ให้ตำรวจทหารผ่านเข้ามาตามด่านต่างๆ ผลักดันสถานการณ์ไปสู่ความรุนแรง ผมเดินลงจากเวที เพราะผมไม่อยู่ในฐานะที่ไปห้ามปรามแล้วเพื่อนๆจะฟัง และไม่มีประโยชน์อะไรที่จะพูดสวนทางกันให้สับสน ในใจคิดว่าหากมีการสูญเสียเลือดเนื้อและชีวิตอีก คงรับไม่ไหว ผมติดต่อไปหาก ณัฐวุฒิ ที่เวทีราชประสงค์ให้มาคุมสถานการณ์ที่นี่ด้วยตัวเองก่อนที่มันจะลุกลามบานปลาย แต่ไม่เป็นผล ที่สุดก็ปะทะกันรุนแรง
น่าสนใจว่า ใครเป็นผู้แย่งไมโครโฟนจากนายวิสา ที่กำลังใช้สื่อสารกับมวลชน เพื่อประคับประคองสถานการณ์ไม่ให้เกิดความสูญเสีย นั่นหมายความว่าผู้ที่แย่งไม่โครโฟนต้องการขัดขวางการควบคุมเหตุการณ์ของนายวิสา แสดงให้เห็นถึงเจตนาที่ต้องการสร้างสถานการณ์ไปสู่การใช้ความรุนแรง ถามว่าคนที่แย่งไมโครโฟนเป็นใคร ซึ่งนายวิสาควรจะให้คำตอบนี้กับสังคมด้วย
เพราะท้ายที่สุด เมื่อนายวิสาไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ เหตุการณ์ปะทะจึงมีความต่อเนื่อง มาถึงเวลาประมาณ 19.15 น.  ก็ได้เกิดการปะทะกันอย่างหนักหน่วงบริเวณ 4 แยกคอกวัว
และก็เป็นครั้งแรกที่สังคมไทยและทั่วโลก ได้ประจักษ์ถึงภาพของไอ้โม่งชุดดำที่แฝงตัวอยู่ทางฝั่งคนเสื้อแดง กลุ่มของไอ้โม่งชุดดำออกปฏิบัติการใช้อาวุธสงครามอย่างชำนาญ ทั้งทางภาคพื้น และการซุ่มยิงจากระยะไกล หรือที่เรียกว่าสไนเปอร์ ซึ่งล้วนเป็นการยืนยันว่า กลุ่มของไอ้โม่งชุดดำเหล่านี้ ได้รับการฝึกฝนในระดับมืออาชีพ
และก็เป็นทหารที่ประจำการอยู่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ที่ตกเป็นเป้าการโจมตีของกองกำลังติดอาวุธ ดั่งภาพที่เห็นอยู่นี้
ขณะที่การยิงสังหารเข้าที่ศีรษะของนายวสันต์ ภู่ทอง คนเสื้อแดงรายนี้ แม้จะมีความพยายามกล่าวหาว่า เป็นฝีมือของทหาร แต่จากการชันสูตรพลิกศพอย่างละเอียด ก็พบว่าเป็นการยิงมาจากฝั่งตรงกันข้ามที่ทหารปักหลักประจำการอยู่ จึงไม่สอดคล้องกับข้อกล่าวหาที่บอกว่าทหารเป็นฝ่ายยิง
ขณะที่ผลการชันสูตรพลิกศพก็พบว่าวิถีกระสุนพุ่งเข้าใส่ศีรษะด้านหน้าส่วนบน ทะลุออกด้านหลัง ซึ่งเป็นการยิงด้วยอาวุธปืนแรงดันและความเร็วสูง
นั่นจึงเท่ากับว่าทั้งทหารและกลุ่มผู้ชุมนุม ต่างตกเป็นเป้าหมายของกองกำลังติดอาวุธ ที่ต้องการยกระดับสถานการณ์ให้เกิดความวุ่นวายมากที่สุด
จากสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ณ เวลานั้น หากปล่อยให้กองกำลังติดอาวุธโจมตีคนเสื้อแดงและทหารต่อไป ความสูญเสียก็จะมากยิ่งขึ้น ทหารจึงมีความจำเป็นที่ต้องใช้อาวุธปืนจริงยิงตอบโต้กองกำลังติดอาวุธ เพื่อยับยั้งความสูญเสีย ซึ่งแน่นอนว่าการปฏิบัติการณ์ของทหารเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากกลุ่มกองกำลังติดอาวุธได้ใช้ร่างกายของผู้ชุมนุมคนเสื้อแดงเป็นเกราะกำบังการใช้อาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ในคืนนั้นนอกจากจะทำไปเพื่อระงับความสูญเสียแล้ว อีกด้านหนึ่งก็เพื่อป้องปรามและป้องกันอันตรายที่ย่างกายเข้ามาสู่ตัว
ดั่งภาพการยิงแล้วถอยของทหารกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นการยิงทีละนัด แล้วถอย เพื่อ ป้องปรามและป้องกันตัว เพราะถ้าเป็นการยิงเพื่อฆ่าหรือทำลาย จะต้องเป็นการยิงกราด หรือลั่นไกค้างเอาไว้เหตุการณ์ปะทะในคืนมิคสัญญี 10 เมษา ส่งผลให้ทหารและกลุ่มคนเสื้อแดงเสียชีวิต 26 ศพ และบาดเจ็บอีกกว่า 800 รายทั้งนี้ความสูญเสียในคืนมิคสัญญี อาจมากมายมหาศาลกว่านี้หลายเท่าตัว หากระเบิดซีโฟร์น้ำหนัก 1.5 ปอนด์ ที่คนร้ายนำไปวางไว้ที่ ฐานของเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเสาส่งไฟฟ้ามายังกรุงเทพมหานคร ระเบิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ และเสาไฟฟ้าโค่นล้มลง
ด้วยความต้องการของคนร้าย ที่จะให้กรุงเทพมหานครมืดดับสนิท ตามที่ได้มีการตั้งเวลาระเบิดเอาไว้ที่ 21.00น. หรือในระหว่างที่สถานการณ์บริเวณสี่แยกคอกวัวและอีกหลายจุดในกรุงเทพมหานคร กำลังโกลาหลอย่างถึงที่สุด
การหลอกใช้คนเสื้อแดงเป็นเหยื่อสอดคล้องกับการเปิดเผยในเชิงวิเคราะห์ของนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ว่ากองกำลังถูกจัดจัดตั้งมาจากฝ่ายของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล : วิเคราะห์สถานการณ์ ในวันคืนสุดท้ายก่อนการนองเลือดใหญ่ลงวันที่ 28 เมษายน 2553 เวลา 20.52 น.
“ขณะนี้การใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ของรัฐบาล และการตัดสินใจที่จะ "ชน" กับการสลายการชุมนุม ของทักษิณและแกนนำ นปช. รวมทั้งความเป็นไปได้ที่พวกเขาจะใช้ยุทธวิธี "คนชุดดำ" ที่เป็น "อาวุธลับ" ของพวกเขา แทบจะกล่าวได้เลยว่า ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้แน่นอนแล้ว
นายสมศักดิ์เริ่มวิเคราะห์ถึงการมีอยู่ของกองกำลังติดอาวุธว่าน่าจะอยู่ฝ่ายเดียวกันกับนปช.และพ.ต.ท.ทักษิณ เพราะต้องการใช้วิธีการต่อสู้ที่นายสมศักดิ์เรียกว่า “ชน” และเป็นการชนที่ไม่สนใจความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นนายสมศักดิ์บอกว่า “ซีกทักษิณและแกนนำฮาร์ดไลน์ นปช. โดยเฉพาะ จตุพรตัดสินใจ "ชน" เพราะสำหรับพวกเขาแล้ว การ "ชน" อย่างมาก ก็ "เสมอตัว" ไม่เสียมากกว่าที่เป็นอยู่ พวกเขาไม่ได้เอาเรื่องชีวิตคนที่อาจจะเสียเพิ่มขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญในการคำนวณอยู่แล้ว”จนในที่สุดนายสมศักดิ์ก็ยอมรับว่า คนชุดดำเป็นเครื่องมือของพ.ต.ท.ทักษิณและนปช.
“กำลัง "คนชุดดำ" เป็นของซีกทักษิณ-แกนนำฮาร์ดไลน์ นปช. ค่อนข้างแน่นอน ไม่เพียงดูจากการที่คนเหล่านี้ โจมตีเฉพาะทหารรัฐบาล”
“การโยนระเบิดสถานที่ต่างๆ คงเป็นฝีมือของคนกลุ่มนี้ เพื่อทำให้สถานการณ์เสียเสถียรภาพมากขึ้น การยิงผู้ชุมนุมสีลม ก็น่าจะเป็นฝีมือคนกลุ่มนี้ ไม่น่าจะใช่ฝีมือซีกรัฐบาล”
“ในแง่แกนนำ นปช.หลายคน ก็เช่นกัน การ "ชน" นั้น อย่างแย่สุดสำหรับพวกเขาก็ "เสมอตัว"
“ถึงตรงนี้จึงชัดยิ่งกว่าชัดว่าแผนร้ายของพ.ต.ท.ทักษิณ คือการตัดสินใจชนรัฐบาลด้วยกองกำลังติดอาวุธ เพื่อทำให้เกิดความสูญเสียขึ้น แม้วาการจัดการภายในของแกนนำนปช.นั้น จะมีบางส่วนที่เห็นต่างแต่ก็ไม่อาจต้านทานความดันทุรังของพ.ต.ท.ทักษิณและแกนนำฮาร์คอได้”
จากการลำดับข้อมูลให้คุณผู้ชมได้เห็นอีกครั้งว่าการออกมาเปิดใจของนายธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล อดีตผู้ต้องขังคดีอาญามาตรา 112 ว่าได้ตกเป็นเยื่อทางการเมืองของแกนนำคนเสื้อแดงนั้น คือการตกเป็นเหยื่อของแผนพาคนไปตายใช่หรือไม่
และในขณะเดียวกันมันก็จะทำให้ภาพของผู้สั่งการหรือผู้สั่งตายชัดเจนมากขึ้น และจะได้นำมาสู่การตอบคำถามว่าใครที่ควรหรือไม่ควรได้รับการนิรโทษกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น