เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย′นิรโทษ′ - วัดใจเพื่อไทย ในเกมได้-เสีย !?
วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เวลา 11:00:04 น
วิปรัฐบาลจัดคิวกฎหมายร้อน อย่างไม่หวั่นว่าอุณหภูมิสถานการณ์การเมืองจะร้อนแรง ตามคำขู่ฝ่ายต่อต้านที่เห็นว่าร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมเป็นกฎหมายฉบับเรียกแขกชั้่นดี
หากยืนยันเดินหน้าพิจารณา ในห้วงที่สังคมแตกแยก แบ่งฝักฝ่าย ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ดีสำหรับการกระพือความขัดแย้งให้ขยายวงยิ่งขึ้น
เบื้องต้นวิปเห็นพ้อง หยิบฉบับวรชัย เหมะ ที่ค้างอยู่ในระเบียบวาระมาตั้งแต่สมัยประชุมที่แล้ว ขึ้นมาพิจารณาเปิดซิง 7 สิงหาฯเป็นวาระแรกของการพิจารณากฎหมายในสมัยประชุมสภานี้
หากยืนยันเดินหน้าพิจารณา ในห้วงที่สังคมแตกแยก แบ่งฝักฝ่าย ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่ดีสำหรับการกระพือความขัดแย้งให้ขยายวงยิ่งขึ้น
เบื้องต้นวิปเห็นพ้อง หยิบฉบับวรชัย เหมะ ที่ค้างอยู่ในระเบียบวาระมาตั้งแต่สมัยประชุมที่แล้ว ขึ้นมาพิจารณาเปิดซิง 7 สิงหาฯเป็นวาระแรกของการพิจารณากฎหมายในสมัยประชุมสภานี้
ตามเสียงเรียกร้อง กดดัน ของส.ส.เพื่อไทยสายนปช.
การบรรจุกฏหมายดังกล่าว ให้สภาฯพิจารณาขั้นรับหลักการ ในวันที่ 7 สิงหาฯ โดยไม่หวั่นเกรงเสียงขู่ แสดงว่ารัฐบาลมั่นใจระดับหนึ่งว่า สถานการณ์ไม่น่าจะมีอะไรรุนแรง อยู่ในกรอบที่ควบคุม บริหารจัดการได้ ทั้งในสภาฯ และการชุมนุมของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายนี้นอกสภาฯ ที่ใครต่อใครมองว่าอาจเดือดกว่าเวทีนิติบัญญัติ
สำหรับกลุ่มที่ประกาศจองกฐิน ต่อต้านชัดเจน ตั้งแต่ยังไม่มีมติบรรจุเป็นวาระพิจารณาคือ กลุ่ม อพส. ที่มีการเปิดตัวคณะเสนาธิการร่วมต่อต้านรัฐบาลมาไม่กี่วันนี้ สมาชิกส่วนใหญ่เป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตา อยู่ในสังกัดกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลในชื่อกลุ่ม-เครือข่ายต่างๆ
ล่าสุดยังมี พรรคประชาธิปัตย์ ที่ประกาศระดมทุกกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ รวมตัวชุมนุมต่อต้าน!
ล่าสุดยังมี พรรคประชาธิปัตย์ ที่ประกาศระดมทุกกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ รวมตัวชุมนุมต่อต้าน!
ร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับวรชัย เหมะ และคณะส.ส.พรรคเพื่อไทย ยื่นต่อสภาฯ ที่วิปรัฐบาลมีมติ ให้พิจารณาวันที่ 7 สิงหาคมนี้ เนื้อหามีทั้งหมด 7 มาตรา
หลักการของร่างพ.ร.บ. คือ นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ระหว่างวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2554
ชื่อเต็มๆตามมาตรา 1 คือ "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ..."
ชื่อเต็มๆตามมาตรา 1 คือ "พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ..."
สาระสำคัญอยู่ที่ มาตรา 3 ที่ระบุ ให้บรรดาการกระทำใดๆ ของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการเมือง หรือบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมการชุมนุมทางการเมือง แต่กระทำการนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง โดยการกล่าวด้วยวาจาหรือโฆษณาด้วยวิธีการใด เพื่อเรียกร้องหรือให้มีการต่อต้านรัฐ การป้องกันตน การต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือการชุมนุม การประท้วงหรือการแสดงออกด้วยวิธีการใดๆ อันอาจเป็นการกระทบต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นเหตุการณ์สืบเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2554 ไม่เป็นความผิดต่อไปและให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
การกระทำในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการกระทำใดๆ ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในห้วงระยะเวลาดังกล่าว
มาตรา 4 เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว ถ้าผู้กระทำการตามมาตรา 3 วรรคหนึ่งยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาลหรืออยู่ในระหว่างการสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนผู้ซึ่งมีอำนาจสอบสวน หรือพนักงานอัยการระงับการสอบสวนหรือการฟ้องร้อง หากถูกฟ้องต่อศาลแล้วให้พนักงานอัยการ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้องหรือให้ถอนฟ้อง ถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีไม่ว่าจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นเอง ให้ศาลพิพากษายกฟ้องหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดี
ในกรณีที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษบุคคลใดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด ถ้าผู้นั้นอยู่ระหว่างการรับโทษให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงและปล่อยตัวผู้นั้น
ร่างฉบับวรชัย เหมะนี้ นักวิชาการหลายคนเห็นว่า มุ่งให้การช่วยเหลือกับประชาชนผู้ตกเป็นเหยื่อทางการเมือง มากกว่าฉบับอื่นๆ ที่มีสาระบางส่วนช่วยฝ่ายการเมือง ฝ่ายเจ้าหน้าที่ประจำ ระดับต่างๆตั้งแต่สั่งการ ยันผู้ปฎิบัติการณ์รุนแรง ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิต บาดเจ็บ ทรัพย์สินเสียหายจำนวนมาก จึงอยู่ในระดับที่พอรับได้
ร่างฉบับวรชัย เหมะนี้ นักวิชาการหลายคนเห็นว่า มุ่งให้การช่วยเหลือกับประชาชนผู้ตกเป็นเหยื่อทางการเมือง มากกว่าฉบับอื่นๆ ที่มีสาระบางส่วนช่วยฝ่ายการเมือง ฝ่ายเจ้าหน้าที่ประจำ ระดับต่างๆตั้งแต่สั่งการ ยันผู้ปฎิบัติการณ์รุนแรง ก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิต บาดเจ็บ ทรัพย์สินเสียหายจำนวนมาก จึงอยู่ในระดับที่พอรับได้
อย่างไรก็ตาม ถ้อยแถลงของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน ที่คัดค้านร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ก็คือหวั่นเกรงว่า พรรคเพื่อไทย จะฉวยโอกาสใช้เสียงข้างมากย้อนกลับไปเอาร่างฉบับอื่นๆที่เพื่อไทยได้ยื่นต่อสภาไว้แล้วมาใช้ เนื่องจากโดยทั่วไปแล้ว สภาฯมักโหวตให้นำกฎหมายที่มีหลักการเดียวกันมารวมพิจารณาเป็นฉบับเดียว
ในสายตาอภิสิทธิ์ หากยื่นฉบับอลงกรณ์ พลบุตร เข้าไปด้วยแล้วก็ยิ่งอันตราย อาจมีการสวมทับร่าง และอ้างทุกพรรคการเมืองเห็นชอบแล้ว หลักการอาจบิดเบี้ยวจากการมุ่งให้การช่วยเหลือประชาชนผู้ตกเป็นเหยื่อฝ่ายเดียว เป็นการบังหน้าเพื่อช่วยเหลือพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรด้วย
เพื่อไทยแก้เกม ส่งระดับเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯออกมายืนยัน 7 สิงหาคม พิจารณาเฉพาะร่างวรชัยฉบับเดียว!
แต่เรื่องจะให้ฝ่ายต่อต้านมั่นใจบอกได้คำเดียว ยาก!
ทุกเรื่องในสภาขึ้นอยู่กับสมาชิกเสียงส่วนใหญ่นั่นเป็นประเด็นหนึ่ง นอกจากนั้น ยังมีเหตุผลทางการเมืองลึกๆ ที่ได้แสดงเจตนาแท้จริง ยืนอยู่คนละฟากฝั่งกับฝ่ายรัฐบาลมาตลอดไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษมาแต่ไหนแต่ไร จวบวันนี้
กล่าวสำหรับเพื่อไทยนั้น มีความพยายามผลักดันกฎหมายนิรโทษมาหลายครั้งหลายหน ในชื่อหรือรูปแบบต่างๆ ซึ่ง รวมถึงฉบับสุดซอย เหมาเข่ง ล้างผิดให้กับทุกคนทุกฝ่ายไล่มาตั้งแต่บิ๊กเนม ยันชาวบ้านธรรมดา
กล่าวสำหรับเพื่อไทยนั้น มีความพยายามผลักดันกฎหมายนิรโทษมาหลายครั้งหลายหน ในชื่อหรือรูปแบบต่างๆ ซึ่ง รวมถึงฉบับสุดซอย เหมาเข่ง ล้างผิดให้กับทุกคนทุกฝ่ายไล่มาตั้งแต่บิ๊กเนม ยันชาวบ้านธรรมดา
แต่ในสถานการณ์ความขัดแย้งสูงเช่นนี้ ก็ผลักดันลำบาก แค่แหย่แต่ละฉบับ เช็กเรตติ้ง มวลชนกลุ่มต่อต้านก็ลุกขึ้นแสดงตัวว่า ยังอยู่พร้อมหน้า
เพื่อไทยจึงไม่กล้าขยับอะไรมากนัก หวั่นเกรงปัญหาขัดแย้งลุกลาม บานปลาย สั่นคลอนสถานภาพรัฐบาลในที่สุด
ครั้งนี้ก็เช่นกัน กว่าจะมีข้อยุติเบื้องต้นฉบับวรชัย เข้าสภา 7 สิงหาฯ ก็ผ่านการกลั่นกรอง ประเมินสถานการณ์มาไม่รู้กี่ยกต่อกี่ยก และก็ยังไม่แน่นักว่า 7 สิงหาจะมีการพิจารณาฉบับวรชัย เหมะ จริงหรือไม่
เพื่อไทยคงประเมินสถานการณ์ทุกระยะ รุกได้ก็รุก ไปไม่ไหว เช็กแล้วกระแสต้านแรงก็หยุด
แค่ฉบับวรชัยยังทุลักทุเล กล้าๆ กลัวๆ การจะสวมรวมร่าง ฉวยโอกาสดันนิรโทษล้างผิดสุดซอย ขณะที่ฝ่ายต่อต้านจับตามองแบบไม่มีกะพริบ เตรียมใช้ปลุกเป็นเงื่อนไขลุกฮือต่อต้านครั้งใหญ่
เพื่อไทยจึงไม่กล้าขยับอะไรมากนัก หวั่นเกรงปัญหาขัดแย้งลุกลาม บานปลาย สั่นคลอนสถานภาพรัฐบาลในที่สุด
ครั้งนี้ก็เช่นกัน กว่าจะมีข้อยุติเบื้องต้นฉบับวรชัย เข้าสภา 7 สิงหาฯ ก็ผ่านการกลั่นกรอง ประเมินสถานการณ์มาไม่รู้กี่ยกต่อกี่ยก และก็ยังไม่แน่นักว่า 7 สิงหาจะมีการพิจารณาฉบับวรชัย เหมะ จริงหรือไม่
เพื่อไทยคงประเมินสถานการณ์ทุกระยะ รุกได้ก็รุก ไปไม่ไหว เช็กแล้วกระแสต้านแรงก็หยุด
แค่ฉบับวรชัยยังทุลักทุเล กล้าๆ กลัวๆ การจะสวมรวมร่าง ฉวยโอกาสดันนิรโทษล้างผิดสุดซอย ขณะที่ฝ่ายต่อต้านจับตามองแบบไม่มีกะพริบ เตรียมใช้ปลุกเป็นเงื่อนไขลุกฮือต่อต้านครั้งใหญ่
แบบนี้รัฐบาลเพื่อไทย ไม่น่าจะกล้าเสี่ยง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น