คลิปสนทนาฉาวที่ว่ากันว่าเป็นของเสียงพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตามคำยืนยันของพานทองแท้ ชินวัตร กับ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมช.กลาโหมนั้น น่าจะยังคงเป็นประเด็นต้องติดตามกันต่อไปอีกนาน ขณะที่ข้อเท็จจริงยังคลุมเครือ โดยเฉพาะกรณีการที่มีการพูดถึงกลอุบายในการเข้าไปยึดครองผลประโยชน์ในพม่า ซึ่งหลายฝ่ายเกรงว่าในระยะยาวจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี
ทั้งนี้ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีที่หลายฝ่ายแสดงความกังวลถึงผลกระทบความสัมพันธ์ระหว่างไทยและเมียนมาร์ หลังจากมีการเผยแพร่คลิปลับที่มีเนื้อหาพาดพิงถึงข้าราชการระดับสูง และฝ่ายบริหารบางคนของเมียนมาร์ กับโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ว่าไม่น่าจะส่งผลกระทบใดๆต่อโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย
นั่นก็คือท่าทีของผู้ใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ออกมาตอบโต้กระแสข่าวที่มีมาก่อนหน้าว่า พล.ร.อ.ญาน ทุน รองประธานาธิบดีพม่า แสดงความไม่พอใจกับเนื้อหาใจความ ที่ปรากฏผ่านคลิปเสียงสนทนาของบุคคลที่ถูกระบุว่าเกี่ยวโยงกับรัฐบาลไทย ถึงขั้นเอ่ยปากจะเป็นคนไปเชิญญี่ปุ่นมาลงทุนในโครงการทวายแทนฝ่ายไทย เพื่อไม่ให้ พ.ต.ท.ทักษิณเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการครั้งนี้ เพราะเห็นว่าการลงทุนกับนักการเมืองอาจเป็นช่องทางให้มีการทุจริตมากมาย
แต่ถ้าพิจารณาถึงข้อมูลที่ปรากฏขึ้นจริงในแผนการลงทุนร่วมระหว่างพม่าและญี่ปุ่นตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ก็ทำให้เรื่องนี้มีน้ำหนักมากขึ้น โดยเฉพาะการที่ญี่ปุ่นประกาศนโยบายเชิงรุกทางการทูต ด้วยการสนับสนุนพม่าให้เดินหน้าลงทุนก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมท่าเรือน้ำลึกติลาวาอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2555 ซึ่งในระหว่างการเยือนพม่าอย่างเป็นทางการของ นายกฯ ชินโซะ อาเบะ เมื่อพฤษภาคมที่ผ่านมา ทางผู้นำญี่ปุ่นก็แสดงไมตรีที่แนบแน่นต่อรัฐบาลพม่า ด้วยการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ จำนวน 498.5 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั่วประเทศ รวมถึงใช้ดำเนินโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา
ไม่เท่านั้นญี่ปุ่นยังมอบความช่วยเหลือคิดเป็นมูลค่า 23 ล้านดอลลาร์ หรือ 690 ล้านบาท สำหรับการจัดการน้ำในนครย่างกุ้ง และโครงการทุนการศึกษาสำหรับผู้บริหารวัยหนุ่มสาว ซึ่งกำลังทำหน้าที่ดูแลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ที่สำคัญผู้นำญี่ปุ่นยังยกเลิกหนี้ค้างชำระ จำนวน 1,740 ล้านดอลลาร์ หรือ ประมาณ 5.2 หมื่นล้านบาทให้กับพม่าเป็นพิเศษอีกด้วย
ประเด็นที่ต้องจับตาเพิ่มเติมเพื่อประเมินว่า คลิปเสียงฉาวจะกระทบต่อการลงทุนร่วมโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายหรือไม่ นั่นก็คือสถานะของ พล.ร.อ.ญาน ทุน และพล.อ.มิน ออง หล่าย เพราะฝ่ายหนึ่งมีข่าวว่าจะไปดึงญี่ปุ่นมาร่วมลงทุนแทนไทย แต่อีกฝ่ายถูกระบุว่ามีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับพ.ต.ท.ทักษิณ
ประเด็นที่ต้องจับตาเพิ่มเติมเพื่อประเมินว่า คลิปเสียงฉาวจะกระทบต่อการลงทุนร่วมโครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวายหรือไม่ นั่นก็คือสถานะของ พล.ร.อ.ญาน ทุน และพล.อ.มิน ออง หล่าย เพราะฝ่ายหนึ่งมีข่าวว่าจะไปดึงญี่ปุ่นมาร่วมลงทุนแทนไทย แต่อีกฝ่ายถูกระบุว่ามีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับพ.ต.ท.ทักษิณ
พล.ร.อ.ญาน ทุน เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารเรือ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกรัฐสภาสายทหารให้เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดีพม่า ถือเป็นนายทหารที่อุดมการณ์ชัดเจนในเรื่องการปฏิรูปการเมืองภายในพม่าให้เป็นประชาธิปไตย ซึ่งมีบุคลิกภาพประนีประนอม และใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ได้สาบานตนต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรทันที ว่า จะปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบด้วยความซื่อสัตย์
ขณะที่ พล.อ.มิน ออง หล่าย เป็นทหารที่ พล.อ.อาวุโส ตาน ฉ่วย อดีตผู้นำเผด็จการทหารของพม่า ไว้เนื้อเชื่อใจเท่า ๆ กับ พล.อ.เต็ง เส่ง จนปัจจุบัน พล.อ.มิน ออง หล่าย ก็ยังได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองพล.อ.อาวุโส ซึ่งถือเป็นตำแหน่งสูงสุดอันดับสองในกองทัพพม่าอีกด้วย และจากการที่รัฐธรรมนูญของพม่าได้ให้อำนาจกับผู้บัญชาการทหารสูงสุด ถึงขั้นสามารถเสนอแต่
ตั้งบุคคลผู้ทำหน้าที่ในหน่วยงานด้านความมั่นคงทั้งหมด ไม่นับรวมผู้ดำรงตำแหน่งในสภากลาโหม ที่สามารถประกาศภาวะฉุกเฉินได้ตลอดเวลา จึงทำให้ พล.อ.มิน ออง หล่าย เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดที่มีความสำคัญมาก เหมือนกับข้อมูลที่ปรากฏในคลิปฉาว
ส่วนพล.อ.เต็ง เส่ง ที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และมีจุดยืนในเรื่องการนำพม่าก้าวสู่ระบอบประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ กลับถูกกำหนดจากกฎหมายที่ออกโดยให้มีอำนาจเฉพาะการบริหารงานทั่ว ๆ ไปเท่านั้น ซึ่งก็เป็นไปตามโมเดลการปกครองที่พล.อ.อาวุโส ตาน ฉ่วย ได้วางไว้เพื่อทำให้ดุลอำนาจการปกครองประเทศ ยังคงอยู่ในมือของฝ่ายทหารเผด็จการ ต่างจากการสร้างภาพประชาธิปไตยที่รัฐบาลทหารพม่าพยายามทำให้โลกเชื่อ
ตั้งบุคคลผู้ทำหน้าที่ในหน่วยงานด้านความมั่นคงทั้งหมด ไม่นับรวมผู้ดำรงตำแหน่งในสภากลาโหม ที่สามารถประกาศภาวะฉุกเฉินได้ตลอดเวลา จึงทำให้ พล.อ.มิน ออง หล่าย เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดที่มีความสำคัญมาก เหมือนกับข้อมูลที่ปรากฏในคลิปฉาว
ส่วนพล.อ.เต็ง เส่ง ที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และมีจุดยืนในเรื่องการนำพม่าก้าวสู่ระบอบประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ กลับถูกกำหนดจากกฎหมายที่ออกโดยให้มีอำนาจเฉพาะการบริหารงานทั่ว ๆ ไปเท่านั้น ซึ่งก็เป็นไปตามโมเดลการปกครองที่พล.อ.อาวุโส ตาน ฉ่วย ได้วางไว้เพื่อทำให้ดุลอำนาจการปกครองประเทศ ยังคงอยู่ในมือของฝ่ายทหารเผด็จการ ต่างจากการสร้างภาพประชาธิปไตยที่รัฐบาลทหารพม่าพยายามทำให้โลกเชื่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น