วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

ดูกันชัด ๆ!! ร่าง พ.ร.บ.ฉาวกู้ 2.2 ล้านล้านมีแค่ 4 หน้า บัญชีแนบท้ายสุดประหยัดกระดาษ 2 หน้า เมื่อ 26 มี.ค.56



ดูกันชัด ๆ!! ร่าง พ.ร.บ.ฉาวกู้ 2.2 ล้านล้านมีแค่ 4 หน้า บัญชีแนบท้ายสุดประหยัดกระดาษ 2 หน้า
Tag : พ.ร.บ. กู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท คลัง กิตติรัตน์ ยิ่งลักษณ์ / 26-03-13 17:01   อ่าน : 261คอลัมน์ : การเมือง / นักการเมือง
ดูกันจะ ๆ ชัด ๆ กับร่าง พ.ร.บ.กู้ฉาว 2.2 ล้านล้านของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ สุดประหยัดกระดาษมีแค่ 4 หน้า แถมบัญชีแนบท้ายให้อีก 2 แผ่น
วันนี้( 26 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สภาผู้แทนราษฎรจะมีการพิจารณา ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ  พ.ศ... หรือร่างพ.ร.บ.กู้เงิน  2 ล้านล้านบาท ระหว่างวันที่ 28-29 มีนาคม โดยจะใช้วิธีเรียกประชุมสภาฯนัดพิเศษ
สำหรับสาระสำคัญของ ร่างพ.ร.บ.กู้เงินมีเนื้อหา 4 หน้า 2 หมวด รวม 19  มาตรา โดยมีหลักการและเหตุผล เพื่อให้มีกฎหมายว่าด้วยการให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงการพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศมีมูลค่ารวมกันไม่เกิน 2 ล้านล้านบาทเพราะประเทศไทยมีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและการเพิ่มขึ้นของประชากรที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนทั้งในประเทศและระหว่างประเทศโดยเฉพาะการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
มีมาตราที่สำคัญได้แก่หมวด 1 การกู้เงินและบริหารจัดการเงินกู้ มาตรา  5 ให้กระทรวงการคลัง มีอำนาจกู้เงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศ เพื่อนำไปใช้จ่ายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ ตามยุทธศาสตร์และแผนงาน และภายในวงเงินที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายพ.ร.บ.นี้ โดยวงเงินกู้รวมกันไม่เกิน 2 ล้านล้านบาท ภายในกำหนดเวลาไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2563 มาตรา 6 บัญญัติให้ไม่ต้องนำเงินที่กู้ส่งคลังตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง มาตรา 9 ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ดังกล่าว โดยดำเนินการกู้เงินรายใหม่เพื่อชำระหนี้เดิม แปลงหนี้ ชำระหนี้ก่อนถึงกำหนดชำระ ขยายหรือย่นระยะเวลาการชำระหนี้ ต่ออายุ ซื้อคืน หรือไถ่ถอนตราสารหนี้ของรัฐบาล หรือทำธุรกรรมทางการเงินอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้
ขณะที่มาตรา 10 กำหนดว่าการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ตาม มาตรา 5 จะกระทำได้ เฉพาะเพื่อเป็นการประหยัด ลดความเสี่ยงในอัตราแลกเปลี่ยน หรือกระจายภาระการชำระหนี้โดยจะกู้เป็นสกุลเงินแตกต่างจากหนี้เดิมก็ได้ แต่ทั้งนี้ไม่ให้นับรวมเข้าไปวงเงิน 2 ล้านล้านบาท และต้องไม่เกินจำนวนเงินกู้ที่ยังค้างชำระ อย่างไรก็ตามหากหนี้เงินกู้ที่จะทำการปรับโครงสร้างหนี้มีจำนวนเงินมาก และกระทรวงการคลังเห็นว่าไม่สมควรกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ในคราวเดียวกัน อาจทยอยกู้เงินเป็นการล่วงหน้าได้ไม่เกิน 12 เดือน ก่อนถึงกำหนดวันชำระหนี้ได้ โดยมาตรา 11 กำหนดให้กองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ ทำหน้าที่บริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนมาตรา 12 กำหนดให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ทำหน้าที่บริหารและจัดการการกู้เงิน การเบิกจ่าย การชำระหนี้ที่เกี่ยวกับการกู้เงิน
สำหรับหมวด 2 การเสนอและการบริหารจัดการโครงการ มาตรา 14 ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการจัดทำรายละเอียดของโครงการ เสนอให้ครม.อนุมัติ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และกระทรวงการคลังก่อน มาตรา 18 กำหนดให้กระทรวงเจ้าสังกัดของโครงการ ต้องจัดให้มีระบบการติดตามและประเมินผลโครงการและแผนงาน และรายงานผลต่อกระทรวงการคลังด้วย และมาตรา 19 กำหนดว่าให้ครม.ต้องรายงานผลการกู้เงินและการดำเนินงาน ต่อสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาเพื่อทราบภายใน 120 วัน นับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ

ส่วน บัญชีท้าย ร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ....
1.ยุทธศาสตร์ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า วงเงิน354,560.73 ล้านบาท ประกอบด้วย
1.1 แผนงานพัฒนาและปรับปรุงโครงข่ายทางรถไฟที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เป็นโครงข่ายการขนส่งหลักของประเทศ โดยพัฒนาทางคู่ในเส้นทางต่างๆ ได้แก่ ลพบุรี-แพร่ (เด่นชัย) , สระบุรี (มาบกะเบา)- นครราชสีมา (ชุมทางถนนจิระ)- หนองคาย, นครราชสีมา (ชุมทางถนนจิระ)- อุบลราชธานี , นครปฐม-หัวหิน-สุราษฎร์ธานี-สงขลา (ปาดังเบซาร์) และทางคู่ในเส้นทางอื่นที่เชื่อมโยงกับโครงข่ายการขนส่งหลัก รวมถึงการปรับปรุงระบบเครื่องมือ อุปกรณ์ และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของการเดินรถไฟ
1.2 แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการขนส่งสินค้าทางลำน้ำ และชายฝั่ง โดยพํฒนาท่าเรือลำน้ำ และท่าเรือชายฝั่งทะเลยทั้งด้านอ่าวไทย และทะเลอันดามัน เพื่อประโยชน์แก่การขนส่งสินค้า ทั้งภายในและระหว่างประเทศ
1.3 แผนงานพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเพื่อเชื่อมโยงกับฐานการผลิตและฐานการส่งออกที่สำคัญของประเทศโดยการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกที่จะเชื่อมโยงกับเส้นทางรถไฟการพัฒนาเส้นทางรถไฟเชื่อมโยงท่าเรือและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นเพื่อการขนส่ง
2.ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งไปสู่ศูนนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศและเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านวงเงินดำเนินการ 1,042,376.74 ล้านบาท

ประกอบด้วย
2.1 แผนงานพัฒนาประตูการค้าหลักและประตูการค้าชายแดน โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ประตูการค้าหลัก และประตูการค้าชายแดน ปรับปรุงด่านพรมแดนการก่อสร้างศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเพื่อเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายระหว่างการขนส่งระหว่างประเทศกับการขนส่งภายในประเทศรวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพระบบถนนในโครงข่ายการเดินทางและขนส่งทางถนนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านและรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
2.2 แผนงานพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อภูมิภาคโดย

(1)พัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงในเส้นทางหลัก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่ , กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา-หนองคาย, กรุงเทพมหานคร-หัวหิน-สงขลา (ปาดังเบซาร์) และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ฉะเชิงเทรา-พัทยา-ระยอง
ยุทธศาสตร์และแผนงานเพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายและการบริหารจัดการการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าให้เกิดบริการที่สะดวกและปลอดภัยในพื้นที่ชนบทพื้นที่เมืองและระหว่างประเทศกระจายความเจริญไปสู่เมืองต่างๆ ในภูมิภาค และสนับสนุนการขยายฐานเศรษฐกิจตามแนวโครงข่ายเส้นทางรถไฟ รวมทั้งพัฒนาเส้นทางรถไฟสายใหม่เพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ แพร่ (เด่นชัย) - เชียงราย (เชียงของ) และสายขอนแก่น (บ้านไผ่) - มุกดาหาร - นครพนม
(2) พัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเชื่อมโยงกับพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เพื่อสร้างโอกาสำหรับการปรับโครงสร้างของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคของประเทศ
3.ยุทธศาสตร์พัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่งเพื่อยกระดับความคล่องตัววงเงินดำเนินการ 593,801.52 ล้านบาท
3.1 แผนงานพัฒนาระบบขนส่งในเขตเมือง โดยขยายโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง ให้มีความครอบคลุมพื้นที่บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อให้เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทางของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตลอดจนพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อการเดินทางและระบบบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความสะดวกและคล่องตัวในการเดินทางของประชาชน
3.2แผนงานพัฒนาระบบขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจหลักภายในประเทศพัฒนาและบูรณะโครงข่ายถนนเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในพื้นที่ปริมณฑลและเมืองใหญ่ในภูมิภาคขยายช่องจราจรและเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวงสายหลัก รวมทั้งพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงพื้นที่เกษตร อุตสาหกรรม และแหล่งท่องเที่ยว
ข.เแผนงานการส่งเสริมหรือสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศตามยุทธศาสตร์ตาม(1)(2)และ (3) เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ วงเงินดำเนินการ 9,261.01 ล้านบาท
(1) เตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการการบริหารโครงการ การติดตาม การประเมินผล และการรายงานโครงการ
(2) บริหารความเสี่ยงด้านการเงินอันเนื่องมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม อันมีผลทำให้ต้นทุนในการดำเนินโครงการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
(3) รองรับการดำเนินการกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นรีบด่วน

วงเงินดำเนินการทั้งสิ้นรวม 2,000,000 ล้าน
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากเอกสารด้านล่างนี้





 


 
 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น