สภาพิจารณาร่างพรบ.เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท
บรรยากาศศึกอภิปรายร่างพระราชบัญญัติการให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทที่เปิดฉากเป็นวันแรก และก็เป็นวันแรกที่มีการอภิปรายต่อสู้กันระหว่างฝ่ายค้านกับรัฐบาลอย่างดุเดือด
สาเหตุประการสำคัญที่ทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจในการกู้เงินก็คือรายละเอียดของร่างพระราชบัญญัติที่เป็นเอกสารแค่เพียง 6 หน้า แบ่งเป็นรายละเอียด 19 มาตรา 4 หน้า และบัญชีแนบท้ายเพียง 2 หน้า
โดยเฉพาะรายละเอียดหยาบๆในบัญชีแนบท้าย ที่เขียนเอาไว้แบบกว้างๆดังนี้
ก. ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ
๑. ยุทธศาสตร์ปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าทางถนนสู่การขนส่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า
วงเงินดำเนินการ ๓๕๔,๕๖๐.๗๓ ล้านบาท
วงเงินดำเนินการ ๓๕๔,๕๖๐.๗๓ ล้านบาท
๒. ยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศ และเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
วงเงินดำเนินการ ๑,๐๔๒,๓๗๖.๗๔ ล้านบาท
๓. ยุทธศาสตร์พัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่งเพื่อยกระดับความคล่องตัว
วงเงินดำเนินการ ๕๙๓,๘๐๑.๕๒ ล้านบาท
วงเงินดำเนินการ ๕๙๓,๘๐๑.๕๒ ล้านบาท
ข. แผนงานการส่งเสริมหรือสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งของประเทศตามยุทธศาสตร์ ตาม (๑) (๒) และ (๓)
วงเงินดำเนินการ ๙,๒๖๑.๐๑ ล้านบาท
วงเงินดำเนินการ ๙,๒๖๑.๐๑ ล้านบาท
รวมวงเงินดำเนินการทั้งสิ้น ๒,๐๐๐,๐๐๐ ล้านบาท
จากปริมาณอันมหาศาลของมูลค่าเงินกู้2ล้านล้านบาท จนไม่สามารถจะจินตนาการได้ว่าหากนำเอาธนบัตร 1,000บาทมานับจะออกมาเป็นอย่างไร
2 ล้านล้าน = แบงค์พันเรียงเต็ม 16,038 ไร่ ใหญ่กว่า สนามบินดอนเมือง เกือบ 4 เท่า โดยสนามบินดอนเมืองมีขนาด 3,881 ไร่
2 ล้านล้าน = แบงค์พันเรียงเต็ม 16,038 ไร่ ใหญ่กว่า สนามบินดอนเมือง เกือบ 4 เท่า โดยสนามบินดอนเมืองมีขนาด 3,881 ไร่
2 ล้านล้าน = แบงค์พันหนัก 2.44 ล้านกิโลกรัม หรือ 2,437 ตัน = รถทัวร์ 2 ชั้น 40 ที่นั่ง 152 คัน คันละ 16 ตัน
2 ล้านล้าน = แบงค์พัน เรียงต่อกันในแนวยาว วัดได้ 3.56 แสนกิโลเมตร = ระยะทางจากเหนือสุดของประเทศ จาก อ.แม่สาย จ.เชียงราย ไปใต้สุดของประเทศที่ อ.เบตง จ.ยะลา ที่มีระยะทาง 1,620 กิโลเมตร 220 เที่ยว
2 ล้านล้าน = แบงค์พันเรียงต่อกันรอบโลกที่มีความยาวประมาณ 4 หมื่นกิโลเมตร จะสามารถพันรอบโลกได้เกือบ 9 รอบ
นอกจากแนวโน้มของความไม่โปร่งใสแล้ว เรื่องการออกพระราชบัญญัติก็อาจขัดกับรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติในหลายมาตรา ซึ่งในวันนี้คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยก็ได้ยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐสภาพิจารณาถอนร่างดังกล่าวออกจากการพิจารณาของสภา
ตัวแทนคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)นำโดยนายสุริยันต์ ทองหนูเอียด เลขาธิการ ครป.เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึงนายสมศักดิ์ เกียรติ์สุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร์ เพื่อขอให้ถอนญัตติร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ 2 ล้านล้านบาท ออกจากการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรเนื่องจาก
1.ร่างดังกล่าวเกี่ยวกับอนาคตของประเทศ แต่ประชาชนไม่มีโอกาสรับรู้ข้อมูล และไม่มีส่วนร่วมแสดงความเห็น แต่ต้องแบกภาระหนี้สินที่รัฐก่อขึ้นถึง 50 ปี ที่ไม่สอดคล้องหลักประชาธิปไตย และเป็นการตัดตอนกระบวนการตรวจสอบ ทำลายหลักนิติธรรมส่อให้เห็นเจตนาทุจริตคอรัปชั่น
2.เปรียบเหมือการขอทำสัญญากู้เงินล่วงหน้าโดยไม่ให้รายละเอียดและเป็นการก่อหนี้โดยไม่เกิดประโยชน์กับประเทศ ซึ่งอาจขัด พ.ร.บ งบประมาณ และทำลายกรอบวินัยการเงินการคลัง
3.ร่างกฎหมายนี้ไม่มีรายละเอียด ประชาชนไม่มีส่วนร่วม จึงเป็นพฤติกรรมที่ขาดความโปร่งใส ไม่เป็นไปตามนโยบายรัฐ และขัดรัฐธรรมนูญหลายมาตรา อาทิ มาตรา78และ169
และ 4.ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเสนอร่างพ.ร.บ.นี้ เพราะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม สามารถทำได้ตามแผนของงบประมาณปกติอยู่แล้ว ขอเรียกร้องให้นายกฯและประธานสภาถอนร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวจากการพิจารณา
ทั้งนี้ นายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกของประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นตัวแทนรับหนังสือจากกลุ่ม ครป. พร้อมแถลงชี้แจง ประธานสภาไม่มีสิทธิถอนร่างนี้ เพราะร่างดังกล่าวก็ได้ยื่นตามระเบียบขั้นตอน ส่วนการจะถอนร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวได้นั้น เป็นอำนาจผู้ที่เสนอร่าง
ในขณะที่กลุ่ม 40 ส.ว.และส.ส.จำนวนหนึ่งที่อยู่ระหว่างตัดสินใจยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความร่างพรบ.เงินกู้ 2ล้านล้านบาท ก็ปรากฏว่าในวันนี้ ก็ได้ยื่นเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยร่างพ.ร.บ.ร่วมทุนฯแล้ว
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้ยื่นรายชื่อสมาชิกรัฐสภา จำนวน 76 คน แบ่งเป็น ส.ว.42 คน และ ส.ส.ปชป.35 คน ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา เพื่อให้ส่งความเห็นต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยตามมาตรา 154 วรรคหนึ่ง (1) ตามรัฐธรรมนูญ 2550 ว่าร่าง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือ พ.ร.บ.ร่วมทุน มีข้อความขัดแย้งรัฐธรรมนูญ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติต่อรัฐธรรมนูญดังนี้
1.มาตรา 28 ของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวฯ กำหนดให้หากโครงการใดต้องมีการจ่ายงบประมาณของแผ่นดิน หรืองบประมาณของหน่วยงานเจ้าของโครงการ หรือจะต้องมีการก่อหนี้ โดยการกู้ หรือการค้ำประกันโดยกระทรวงการคลัง เพื่อใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ เมื่อคณะกรรมการเห็นชอบหลักการของโครงการแล้วให้เสนอโครงการต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการ และวงเงินงบประมาณรายจ่ายหรือวงเงินที่จะใช้ในการก่อหนี้ของโครงการ โดยให้ถือว่า การอนุมัติคณะรัฐมนตรีเป็นการอนุมัติตามกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณ กฎหมายว่าด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี ซึ่งเห็นว่าการบัญญัติกฎหมายในลักษณะนี้จะขัดหลักการที่รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 169 ที่บัญญัติว่า การจ่ายเงินแผ่นดิน จะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินงบประมาณ หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนรัฐบาลจะจ่ายไปก่อนได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีที่กฎหมายบัญญัติ
2.ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ได้มีผลให้ยกเลิก พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินงานกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ทั้งฉบับ โดยเฉพาะมาตรา 15 ที่บัญญัติว่าวิธีการคัดเลือกของคณะกรรมการซึ่งจะต้องใช้วิธีประมูลได้ถูกยกเลิกไปด้วย ทั้งที่เป็นสาระสำคัญของกฎหมายเพื่อให้การดำเนินการด้วยความโปร่งใสตรวจสอบได้ การยกเลิกนี้ พ.ร.บ.ดังกล่าว จะทำให้การคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมโครงการขาดความโปร่งใส ขัดต่อการบริหารบ้านเมือง
3.ร่างพ.ร.บ.ทั้งฉบับมีระบุเพียงให้รับฟังความเห็นสาธารณะชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขัดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 87 (1) (2) และ (3)
4.ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ในมาตรา 4 ที่ระบุว่า การร่วมลงทันกับภาคเอกชนไม่ว่าโดยวิธีใด หรือมอบให้เอกชนลงทุนแต่ฝ่ายเดียว โดยวิธีการอนุญาตหรือให้สิทธิไม่ว่าลักษณะใด โดยไม่ได้จำกัดว่าหากกรณีเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ รัฐต้องเป็นเจ้าของไม่น้อยกว่าร้อยละ 51
ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ นอกจากขัดรัฐธรรมนูญแล้วยังเปิดช่องให้ใช้เงินของรัฐร่วมธุรกิจกับเอกชนอย่างง่ายดาย โดยใช้วิธีคัดเลือกที่สามารถหลีกเลี่ยงไม่ต้องใช้วิธีประมูลแต่ละโครงการหลายแสนล้านบาทเพื่อเป็นการอนุมัติโครงการรองรับการใช้ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท อีกทั้งจะปิดช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ แต่จะก่อให้เกิดการหาประโยชน์ของนักการเมือง และผลักภาระให้ประชาชนต้องเสี่ยงกับภาระหนี้สาธารณะ
ดังนั้น จึงเห็นว่า พ.ร.บ.ร่วมทุน ในมาตรา 28, 38 และหมวดที่ 3 มาตรา 19, 20, 21 และ 22 ตราขึ้น โดยไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 75 วรรคแรก ประกอบมาตรา 78 (4) (5) มาตรา 84 (11) มาตรา 87 (1) (2) และ (3) และมาตรา 169
ทั้งนี้นายไพบูลย์ เชื่อว่า นายสมศักดิ์ จะเร่งส่งหนังสือดังกล่าวให้แก่ศาลรัฐธรรมนูญ หลังจากที่มีการตรวจสอบตามขั้นตอนแล้วเสร็จแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น