วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2556

"กรณ์ จาติกวณิช" 7 คำท้า ฉะ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน เมื่อ 29 มี.ค.56



"กรณ์ จาติกวณิช" 7 คำท้า ฉะ พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน
 
วัน ที่ 28 มีนาคม   เวลา 18.17  น. นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ ปชป. อภิปรายว่า เรื่องที่มีความสำคัญคือรัฐบาลมีความจำเป็นต้องกู้ถึง 2 ล้านล้านบาทหรือไม่ ฝ่ายค้านไม่ได้ต้องการสร้างเงื่อนไข ไม่ต้องการถ่วงความเจริญ หากพูดถึงหลักการแล้วฝ่ายค้านไม่สามารถเห็นด้วย คือ

1.ไม่เห็นว่ามีความจำเป็นต้องการอาศัยการกู้เงินทั้งหมด เพราะสามารถให้สัปทานแก่เอกชนได้
2. ทำไมต้องกู้นอกระบบงบประมาณ ทั้งที่สามารถกู้ในระบบได้ 3.พ.ร.บ. ฉบับนี้เสียงต่อการขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจสะดุดการทำงานของรัฐบาลเอง
นอกจากนี้ยังไม่เห็นด้วยในการออก พ.ร.บ.ฉบับนี้หลายประเด็น เช่น ที่มาของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ รัฐบาลอาจความจำเป็นในการกู้เพื่อพัฒนาระบบการขนส่ง แต่ไม่ได้มอบถึงประเด็นอื่นๆ เช่น สาธารณสุข การศึกษา ด้านความมั่นคงแห่งรัฐ แต่รัฐบาลมองแต่ด้านคมนาคม ไม่มีการมองถึงการพัฒนาคน ส่วนความมั่งคงทางการคลังนั้น รัฐบาลกำลังลดความน่าเชื่อถือของประเทศโดยการกู้เงิน 2 ล้านล้าน เรื่องดังกล่าวใครจะได้ประโยชน์ซึ่งคิดว่าไม่ใช่ประชาชนแน่นอน สุดท้ายแล้วรัฐบาลจะทำได้จริงหรือไม่ เรามีหนี้กองอยู่บนตักแน่นอน หากรัฐบาลไม่มีความพร้อม ก็จะเป็นภาระของประชาชน
นายกรณ์ กล่าวว่า  เห็นบทเรียนมาแล้วการที่รัฐบาลออก พ.ร.ก.กู้เงิน3.5 แสนล้านบาท จึงไม่สามารถให้ความมั่นใจได้ว่ารัฐบาลจะขับเคลื่อนไปได้ ส่วนผลกระทบทางการคลัง ต้องถามว่าจำเป็นหรือไม่ต้องกู้ทั้ง 2 ล้านล้าน เป็นเรื่องที่ไม่มีความจำเป็น ส่วนกรณีที่ประเทศไทยสามารถรับภาระได้หรือไม่นั้น รัฐบาลไม่ได้พูดว่าแหล่งรายได้จะมาจากที่ใด ซึ่งต้องรอดูกันต่อไป เพราะตัวภาษีมูลค้าเพิ่มแม้จะขยายตัวอยู่ก็ตาม เมื่อเป็นเช่นนั้นต้องพูดความจริงให้ประชาชนเข้าใจ ซึ่งเจ้าใจว่าต้องมาจากภาษีของประชาชน รัฐบาลมีแนวคิดในการปรับภาษีหรือไม่ เรายังไม่สามรถตอบได้ว่า
หนี้สาธารณจะต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์อย่างที่รัฐบาลกล่าวอ้างจริงหรือไม่ การกู้เงินดังกล่าวไม่ได้มีผลทางเศรษฐกิจโดยรวม เพราะรัฐบาลระบุว่าจะกู้ในประเทศ เรื่องนี้จะเป็นการแย้งชิงระหว่างรัฐกับเอกชน วันนี้ประชาชนมีความสับสนกับแนวคิดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เช่น การคืนเงินต้น 50 ปี ซึ่งดอกเบี้ยต้องเพิ่มขึ้นอย่างมาก ใน 50 ปี ดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นด้วย ทุก 1 เปอร์เซ็นต์ของดอกเบี้ย สุดท้ายเราไม่สารมารถรับภาระหนี้ได้หรือไม่ เช่นเมื่อมีการขาดทุนใครจะรับผิดชอบ ตราบใดที่ยังไม่มีคำตอบก็ไม่สามารถเห็นด้วยได้ หากรัฐบาลยังดื้อโดยใช้เสียงข้างมาก คิดว่ารัฐบาลไม่สารมารถอ้างเสียงข้างมากได้ เพราะเคยประกาศไว้ว่าต้องการล้างหนี้ให้ประชาชน แต่ที่เห็นอย่างเป็นการใช้หนี้
นายกรณ์ กล่าวว่า ขอท้ารัฐบาล 7 ข้อประกอบด้วย
1.หากมีความจริงใจขอให้ทำตามที่ผู้นำฝ่ายค้านขอไว้ โดยเอาเอกสารประกอบ พ.ร.บ. มาเป็นบัญชีแนบท้าย
2. หากมีโครงการใดก็แล้วแต่ที่หากล้าช้า ขอให้หมดสัญญาจาก พ.ร.บ. ฉบับนี้ไปเลย
3. โครงการใดที่จะยกเลิก ต้องไม่โอนเงินเพื่อกู้เด็จขาด
4. ป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดการทุจริต และต้องมีการทำอย่างเปิดเผย
5. ต้องการเห็นบทบาทภาคีการต่อต้านคอร์รัปชั่น โดยเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาตรวจสอบ หากมีกรณีใดที่พบว่าไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ขอให้โครงการนั้นหมดสิทธิ์ไปเลย
6.ขอให้รัฐมนตรีตรีที่เกี่ยวข้องดูแลการขาดดุลทางการทางงบประมาณ
7.นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังต้องดู GDP อย่างที่กล่าวอ้างไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น