วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เปิดชื่อ 18 “ส.ส.เสื้อแดง” โหวตหนุน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับ สุดซอยวันที่ 1 พฤศจิกายน 56


เปิดชื่อ 18 “ส.ส.เสื้อแดง” โหวตหนุน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับ สุดซอย


npc
 หลังการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับเหมาเข่ง-สุดซอย วาระสองและวาระสาม เริ่มต้นขึ้น ในวันที่ 31 ตุลาคม 2556 เสร็จสิ้นในช่วงตี 4 ของวันที่ 1 พฤศจิกายน ใช้เวลากว่า 18 ชั่วโมง
ก่อนที่สภาจะผ่าน 2 วาระรวด ด้วยมติ 310 ต่อ 0 เสียง
หลายฝ่ายจับตามองการทำหน้าที่ของ “ส.ส.เสื้อแดง” ว่าจะลงมติสนับสนุนร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม หรือไม่ ซึ่งปรากฏว่ามีเพียง 4 คน ที่ขอ “งดออกเสียง” ประกอบด้วย “ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ “วรชัย เหมะ” ส.ส.สมุทรปราการ “เหวง โตจิราการ” ส.ส.บัญชีรายชื่อ “ขัตติยา สวัสดิผล” ส.ส.บัญชีรายชื่อ
ทว่า “ส.ส.เสื้อแดง” ไม่ได้มีเพียง 4 คน หลายคนจึงอดสงสัยไม่ได้ว่ามี “ส.ส.เสื้อแดง” คนไหน ลงมติสนับสนุน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม กันบ้าง
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org จึงรวบรวมมานำเสนอ
1.นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ซึ่ง “ก่อแก้ว” ได้ระบุในเฟสบุ๊คส่วนตัวบางตอนว่า “ที่พวกเรามีมุมมองที่ต่างกันมาก ในที่สุดผมกดโหวตเห็นด้วย ผมได้นั่งไตร่ตรองประเด็นนี้มาทั้งวัน ชั่งน้ำหนักทุกด้าน ก่อนที่จะได้ข้อสรุปในใจตอนประมาณตี 3 ว่าผมจะทำตามมติพรรคเพื่อไทย ถึงแม้ในใจผมเองก็เจ็บปวดมากจากการกระทำของนายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ ที่โดนยัดข้อหาฉกรรจ์และติดคุกนานกว่า 9 เดือน แต่ที่ผมเลือกโหวตเห็นด้วย”
“ผมเคารพหลักการประชาธิปไตยเสียงข้างมาก ตอนที่สวมบทบาทแกนนำ นปช. ผมไม่เคยแตกแถว ทุกครั้งที่ นปช.ประชุมและมีมติอะไรออกมา ถึงแม้ผมจะไม่ค่อยเห็นด้วยในบางครั้ง แต่ผมจะปฏิบัติตามทุกครั้งไป และผมเชื่อว่าผมไม่เคยทำอะไรที่ทำให้ องค์กร นปช.เสียหายเลยตั้งแต่เข้าร่วมต่อสู้มาในปี 2550 ตั้งแต่เป็น ส.ส. ผมยังเป็นกรรมาธิการ และ เป็นวิปรัฐบาลด้วย ทุกครั้งที่มีการประชุม ไม่ว่าในวงใด พวกเราใช้เสียงข้างมากเป็นตัวชี้ ครั้งใดที่ที่ประชุม เสียงส่วนใหญ่เกิดมีความเห็นต่างจากผม ผมก็ต้องยอมรับ"
“ในกรณีนี้ ผมทำหน้าที่โหวตในฐานะ ส.ส. ถึงแม้ผมไม่เห็นด้วยในมาตรานี้ แต่ในเมื่อพรรคมีมติเสียงข้างมากมาแล้วว่าเห็นด้วยตามร่างของกรรมาธิการ จึงคิดว่าควรมีวินัยและเดินตามมติพรรค มิฉะนั้นผมอาจจะกลายเป็นเหมือน ส.ส.บางพรรคที่ชอบตีรวนในสภา ไม่เคารพต่อเสียงข้างมาก จนก่อเหตุวุ่นวายหลายครั้ง ทำให้ภาพลักษณ์สภาเสื่อมเสีย ซึ่งผมมองว่าไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง ดังนั้นผมต้องไม่เหมือนพวกเขา ผมต้องเคารพกติกาเป็นหลัก”
“สำหรับพี่น้องเสื้อแดงที่โกรธเคืองผมในเรื่องที่ผมกดโหวตเห็นด้วยครั้งนี้ อย่าได้เกรงใจ ต่อว่า ดุด่า ได้เลย เต็มที่ครับ ผมขอน้อมรับ และขอโทษด้วยที่ผมอาจจะคิดต่างกับพวกเราหลายคนในกรณีนี้ จึงขอสารภาพมาอย่างตรงไปตรงมาครับ”
2.นายมานิตย์ สังข์พุ่ม ส.ส.สุรินทร์
3.นางจารุพรรณ กุลดิลก ส.ส.บัญชีรายชื่อ
4.นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
5.นายชินวัฒน์ หาบุญพาด ส.ส.บัญชีรายชื่อ
6.จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ส.ส.สุรินทร์
7.นายประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย ส.ส.สมุทรปราการ
8.นายพายัพ ปั้นเกตุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
9.นางเยาวนิตย์ เพียงเกษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ภรรยาของนายอดิศร เพียงเกษ
10.นางระพีพรรณ พงษ์เรืองรอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ภรรยาของนายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แกนนำนปช.
11.นายสงวน พงษ์มณี ส.ส.ลำพูน
12.นางอุดมรัตน์ อาภรณ์รัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ภรรยาของนายไวพจน์ อาภรณ์รัตน์ แกนนำนปช.
13.นายสัมภาษณ์ อัตถาวงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พี่ชายของนายสุพร อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และแกนนำนปช.
14.นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส.บัญชีรายชื่อ
15.นายหนูแดง วรรณกางซ้าย ส.ส.บุรีรัมย์
16.นายอภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ
17.นางอรุณลักษณ์ กิจเลิศไพโรจน์ ส.ส.สมุทรปราการ ภรรยาของนายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ เจ้าของห้างอิมพิเรียลลาดพร้าว ซึ่งเป็นที่ตั้งของนปช.
18.นางเอมอร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด ภรรยาของนายนิสิต สินธุไพร แกนนำนปช.
ทั้งหมดคือ 18 “ส.ส.เสื้อแดง” ที่ลงมติสนับสนุนพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับเหมาเข่ง-สุดซอย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น