ยืมมือทหารดัน2ก.พ. ปูขอแรงบิ๊กกองทัพส่งหน่วยสนับสนุน/กกต.พลิ้วเปลี่ยนท่าที
ยืมมือทหารจัดเลือกตั้ง "ปู" ถกวงเล็กก่อนหารือสภากลาโหมให้ "ธงทอง" ยันกับ ผบ.สส.-ผบ.เหล่าทัพ กฎหมายไม่เปิดช่องให้เลื่อนเลือกตั้ง ใช้ทหาร 2 กองร้อยคุมสนามไทย-ญี่ปุ่น 23 ก.พ.นี้ และประจำทุกหน่วยเลือกตั้ง รุดเคลียร์ 5 เสือ กกต.หนุนงบประมาณให้
ด้าน กกต.ปัดเสนอทางออกด้านกฎหมายพร้อมเลือกตั้ง แต่ห่วงเป็นวันมหาโกลาหลผวาฉีกบัตรหากตำรวจจับจลาจลแน่ แนะฝ่ายการเมืองหารือกันเอง "มาร์ค" ส่งลูกพรรคเดินสายพบทุกพรรคการเมือง วอนให้เสียสละเลื่อนเลือกตั้งก่อน แต่เพื่อแม้วอ้างกฎหมายเลื่อนไม่ได้ นิด้าโพลชี้ควรปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง
เมื่อเช้าวันศุกร์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม พร้อมคณะ อาทิ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รักษาการ รมว.มหาดไทย, นายพีรพันธุ์ พาลุสุข รักษาการ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เดินทางโดยเครื่องบินของกองทัพบก จาก จ.ร้อยเอ็ด มาถึงกองการบินกรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) ดอนเมือง และเดินทางต่อมายังสโมสรทหารบก ถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อเป็นประธานการประชุมสภากลาโหม ในเวลา 09.30 น. โดยวันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์มีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส
มีรายงานว่า ก่อนการประชุม น.ส.ยิ่งลักษณ์, นายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการ ครม., นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี, พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการ สมช. ได้ยกคณะมาหารือวงเล็กกับ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม, พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผบ.สส. และ ผบ.เหล่าทัพ ได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการเลือกตั้ง กำหนดการเลือกตั้งตามพระราชกฤษฎีกา โดยนายธงทองชี้แจงข้อกฎหมายว่า กฎหมายไม่เปิดช่องให้เลื่อนวันเลือกตั้งออกไปได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องจัดการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.2557 นี้ โดยขอการสนับสนุนจากทหารในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย และเป็นผู้สังเกตการณ์เพื่อให้เกิดความโปร่งใส
แหล่งข่าวระบุว่า เบื้องต้น กกต.ได้ทำหนังสือมาที่กระทรวงกลาโหม เพื่อขอสนับสนุนทหารในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย ที่อาคารกีฬาเวศน์ 2 สนามไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง ในวันรับสมัคร ตั้งแต่วันที่ 23 ธ.ค.นี้ ทั้งหมด 2 กองร้อย ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้ขอกำลังจากกองร้อยรักษาความสงบเรียบร้อย 2 กองร้อย ตามที่ได้ขอการสนับสนุนมา อีกทั้งมีแนวคิดที่จะขอกำลังทหารประจำทุกหน่วยเลือกตั้ง โดยอยู่บริเวณนอกคูหา เพื่อสังเกตการณ์หน่วยละ 1 นาย ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ 1 นาย ทำหน้าที่เป็นผู้สังเกตการณ์ให้การเลือกตั้งโปร่งใส
ต่อมาช่วงบ่าย ที่สำนักงาน กกต. น.ส.ยิ่งลักษณ์ พร้อมด้วยนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รักษาการ รมว.การต่างประเทศ, นายชัยเกษม นิติสิริ รักษาการ รมว.ยุติธรรม, พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม, พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร., พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น., พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ เลขาธิการ ป.ป.ส. เข้าหารือกับนายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. พร้อมด้วยนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง นายธีรวัฒน์ ธีรโรจน์วิทย์ กกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ, นายบุญส่ง น้อยโสภณ กกต.ด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย และนายประวิช รัตนเพียร กกต.ด้านกิจการการมีส่วนร่วม ร่วมด้วยนายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. และผู้บริหารสำนักงาน กกต.
"ปู" หนุนงบ กกต.เลือกตั้ง
หลังการหารือร่วมกันกว่า 2 ชั่วโมง จากนั้นเวลา 15.30 น. กกต.ทั้ง 5 คนร่วมกันแถลงข่าว โดยนายธีรวัฒน์กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีและคณะมาเยี่ยมและพูดคุยกับ กกต.ทั้ง 5 คน โดยทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่าการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 2 ก.พ.2557 เป็นการเลือกตั้งครั้งสำคัญ มีความเป็นห่วงในสถานการณ์ว่าจะดำเนินการเลือกตั้งอย่างไรให้บริสุทธิ์และยุติธรรม สิ่งสำคัญที่นายกฯ เป็นห่วงว่าการดำเนินการของ กกต.จะมีงบประมาณเพียงพอหรือไม่ โดยพร้อมที่จะให้การสนับสนุนโดยดูแลเรื่องการรักษาความปลอดภัย การอำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่จะเดินทางมาใช้สิทธิเลือกตั้ง ทั้งนี้ นายกฯ ก็รับความกังวลใจของเรา และพยายามดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้เกิดการรอมชอม การเมืองเดินไปด้วยความสมานฉันท์
นายธีรวัฒน์กล่าวว่า เรื่องของกฎหมายที่เป็นทางออก กกต.เราสงวนท่าที เพราะคิดว่าสถานะของกกต.ต้องเป็นกลาง ตรงนี้ไม่ใช่หน้าที่ในการให้ความเห็น เพียงแต่บอกว่าทำอย่างไรจะทำให้การเมืองเกิดความสมานฉันท์กลับเข้าสู่ระบบ ไม่ให้การเลือกตั้งเป็นวันมหาโกลาหล ก่อให้เกิดความยุ่งยากตามมามากมาย การให้ความเห็นทางกฎหมายเพื่อให้ไปสอดคล้องกับความคิดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะไม่ทำเด็ดขาดเพราะไม่ใช่หน้าที่
"หน้าที่ของ กกต.คือการจัดการเลือกตั้งตามกฎหมาย เมื่อมีกฎหมายกำหนดมาว่าจะต้องมีการเลือกตั้ง เราต้องทำต้องเดินหน้า แต่จะห้ามไม่ให้ กกต.ห่วงใยสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในวันเลือกตั้ง ผมคิดว่าพวกเรามีจิตวิญญาณและความรู้สึก และห่วงใย จึงยืนยันว่าเป็นห่วงมาก" นายธีรวัฒน์กล่าว
นายสมชัยกล่าวว่า วันนี้มี ผบ.ตร.และปลัดกระทรวงกลาโหม ผบช.น.มาด้วย ดังนั้นส่วนต่างๆ เหล่านี้จะเป็นกลไกช่วยอำนวยความสะดวกให้การเลือกตั้งสงบเรียบร้อย ซึ่ง ผบ.ตร. ปลัดกระทรวงกลาโหม รับปากว่าหากมีอะไรที่ กกต.ขอความช่วยเหลือก็ยินดีสนับสนุนเต็มที่
เมื่อถามถึงข่าวที่ว่า กกต.เสียงแตก บางคนอยากให้มีการเลือกตั้ง แต่บางคนไม่อยากให้มีเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ.57 นายสมชัยกล่าวว่า ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง การเลือกตั้งต้องดำเนินการต่อไป กกต.จะจัดการเลือกตั้งอย่างเต็มที่ ไม่มีเสียงแตก พร้อมดำเนินการตามปฏิทินตามขั้นตอนทั้งหมด และไม่ได้เสนอเป็นคนกลางในการพูดคุยทั้ง 2 ฝ่าย เราแค่เสนอไปว่าวันนี้ กกต.พร้อมจัดการเลือกตั้ง แต่วันนี้คนไม่พร้อมคือประชาชน เรารู้สึกว่าบรรยากาศหรืออารมณ์ประชาชนไม่พร้อมที่จะให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น ซึ่งไม่ได้เก็บในใจ แต่ได้สะท้อนออกมา ดังนั้นฝ่ายการเมือง หรือฝ่ายที่มีบทบาทจัดการให้เกิดความสงบต้องคำนึงถึงและทำให้เกิดความเรียบร้อย
กกต.ผวาฉีกบัตร
กกต.ผวาฉีกบัตร
ด้านนายชัยเกษมกล่าวว่า ยังคงมีการเลือกตั้งเหมือนเดิม ทั้งวันเปิดรับสมัครในวันที่ 23 ธ.ค.56 และวันลงคะแนนในวันที่ 2 ก.พ.57 โดย กกต.รับปากว่าจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด เพราะตามกฎหมายไม่สามารถเลื่อนวันเลือกตั้งได้ หากมีการเลื่อนก็เลื่อนได้ในกรอบระยะเวลา 60 วัน ซึ่งจะเลื่อนได้เพียง 1-2 วันจากกำหนดเดิมในวันที่ 2 ก.พ.57 ส่วนที่ กกต.แสดงความเป็นห่วงว่าจะเกิดความขัดแย้งในการเลือกตั้งนั้น รัฐบาลได้ยืนยันว่าจะจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ทหารลงไปดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ให้
ผู้สื่อข่าวถามว่า มั่นใจหรือไม่ว่าสถานการณ์ในวันเลือกตั้งจะสงบเรียบร้อย นายชัยเกษมกล่าวว่า เรื่องที่เกิดขึ้นไม่ได้อยู่ที่รัฐบาล ต้องถามนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ว่าจะทำอะไรที่ผิดกฎหมายหรือไม่ ถ้าทำก็จะมีโทษทางกฎหมายทันที
มีรายงานข่าวแจ้งว่า ในการหารือระหว่าง กกต. กับคณะของนายกฯ ทาง กกต.ก็ได้แสดงความห่วงใยว่า นอกจากวันสมัครรับเลือกตั้ง อาจจะมีการไปปิดล้อมสถานที่รับสมัครของกลุ่มมวลชนแล้ว ในวันเลือกตั้งถ้าฉีกบัตรเลือกตั้งจำนวนมากจะทำอย่างไร โดยมีการยกตัวอย่างว่า หากมีการฉีกบัตรเลือกตั้ง 5 พันใบ ตำรวจจะจับหรือไม่ ถ้าจับก็จะเกิดเป็นจลาจลทันที หรือถ้าไม่จับ ตอนบ่ายก็จะมีการฉีกเป็น 5 แสนใบ เพราะจะมีการเผยแพร่ระบาดกันในโซเชียลมีเดีย ตรงนี้ตำรวจเตรียมรับมืออย่างไร แล้วถ้าที่สุด กกต.ไม่สามารถประกาศผลการเลือกตั้งได้สัก 50 เขต เกิดเหตุการณ์อย่างนี้ จะแก้ไขอย่างไร
ทั้งนี้ ผบ.ตร.หรือปลัดกลาโหมไม่ได้ตอบอะไร แต่มีนายตำรวจนายหนึ่งที่ร่วมคณะนายกฯ มาด้วยกล่าวว่า คงต้องดูสถานการณ์ตอนนั้น ทำให้ กกต.ระบุว่า มันเป็นเหตุการณ์ที่รัฐบาลต้องคิดและหาทางรับมือให้ได้ก่อน ไม่ใช่ปล่อยให้สถานการณ์เกิดขึ้นแล้วค่อยมาหาทางออก กกต.ก็ได้ยืนยันว่าเมื่ออาสาเข้ามาแล้วก็จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด และจะไม่ลาออกจากตำแหน่งตามที่มีกระแสเรียกร้อง เพื่อเป็นหนทางหนึ่งให้การเลือกตั้งเลื่อนออกไป
นอกจากนี้ นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. เป็นประธานประชุมชี้แจงสื่อมวลชน เพื่อเตรียมพร้อมการรับสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อวันที่ 23 ธันวาคมนี้ โดยมีสื่อมวลชนจากทุกแขนงเข้าร่วมหารือ เรื่องการจัดสถานที่รับสมัครและขั้นตอนต่างๆ ทั้งนี้ กกต.ไม่ได้เลื่อนวันเลือกตั้ง และพร้อมที่จะทำตามที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะการเลือกตั้งและการรับสมัคร อย่างไรก็ตาม กกต.มีแผนสำรองเตรียมสถานที่อื่นไว้แล้ว หากมีผู้ชุมนุมมาปิดล้อมสถานที่รับสมัครที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้
ส่วนความเคลื่อนไหวของพรรคการเมือง นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคได้มอบหมายให้นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรค ปชป. เดินทางยังพรรคเพื่อไทย, ให้นายจุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรค พร้อมด้วยทีมโฆษกพรรค เดินทางไปยังพรรคชาติไทยพัฒนา, ให้นายศิริโชค โสภา รองเลขาธิการพรรค ไปพรรคภูมิใจไทย และให้นายเทพไท เสนพงศ์ รองเลขาธิการพรรค ไปพรรคพลังชล ในเวลา 13.00 น. เพื่อยื่นจดหมายขอให้พรรคการเมืองและนักการเมืองเสียสละเลื่อนการเลือกตั้งออกไปก่อน เพื่อให้ประเทศมีทางออกและเห็นแก่ส่วนรวม ก่อนประโยชน์ของพรรคการเมืองและนักเลือกตั้ง
"ไม่มีใครปฏิเสธการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่มีใครปฏิเสธว่าบรรยากาศขณะนี้ไม่สามารถนำสู่ความเรียบร้อยในการเลือกตั้งได้ ขณะนี้ข้อกล่าวหาว่านักการเมืองเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม จะดังกึกก้องในหัวใจประชาชน ดังนั้นเราจึงไม่ควรยืนขวางการปฏิรูปประเทศ" นายชวนนท์กล่าว
21 ก.พ.ปชป.บอยคอต
นายจุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การประชุมพรรคในวันที่ 21 ธ.ค. เพื่อลงมติว่าพรรคจะส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 ว่า เมื่อมีมติพรรคออกมาทุกคนก็ต้องยอมรับ การตัดสินใจที่จะออกมาคงไม่ได้ถูกใจคนทุกกลุ่ม เพราะมีสองกลุ่ม คือกลุ่มที่อยากให้ลงเลือกตั้งกับกลุ่มที่ไม่อยากให้ลงเลือกตั้ง มันได้หนึ่งก็เสียหนึ่ง แต่การตัดสินใจไม่ว่าออกมาแบบไหน จะต้องอธิบายได้ อย่างที่เคยบอก เลี้ยวซ้ายก็ตาย เลี้ยวขวาก็พิการ การตัดสินใจจะเป็นอย่างไร ก็ต้องเป็นเอกภาพทั้งพรรค และยอมรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับการตัดสินใจครั้งนี้ ต้องมีคำตอบชี้แจงประชาชน โดยอยู่บนพื้นฐานประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง
มีรายงานงานว่า ในที่ผลการประชุมอดีต ส.ส.ภาค กทม. เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมส่วนใหญ่กว่า 20 คน เห็นพ้องกันว่าจะไม่ลงเลือกตั้ง อดีต ส.ส.อีกหลายคนที่ประกาศตัวในที่ประชุมว่า หากพรรคมีมติให้ลงสมัครก็ขอเว้นวรรคในการเลือกตั้ง อาทิ นายสามารถ มะลูลีม, นายธนา ชีรวินิจ, นายชื่นชอบ คงอุดม, นางอรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ เป็นต้น ส่วนนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน อดีตเลขาธิการพรรค ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว "เฉลิมชัย ศรีอ่อน" เป็นรูปธงไตรรงค์ และมีข้อความเป็นอักษรไทยสีทองว่า "ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง"
ขณะที่อดีต ส.ส.ภาคใต้ก็ได้มีการหารือเช่นกัน โดยเสียงส่วนใหญ่จะไม่ส่งผู้สมัครลง ซึ่งสอดคล้องกับกรณีนายเชน เทือกสุบรรณ พร้อมกับกลุ่มอดีต ส.ส.สุราษฎร์ธานี ประกาศไม่ลงเลือกตั้ง นอกจากนี้ กรณีที่พรรคได้มอบหมายให้ประธานสาขาพรรคทั้ง 180 สาขา ไปสำรวจความเห็นของสมาชิกและส่งกลับมาให้ทางพรรค ส่วนใหญ่เห็นสมควรว่าไม่ต้องการให้พรรคส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง
ที่พรรคเพื่อไทย แกนนำพรรค ปชป. นำโดย นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรค ปชป.เดินทางมายื่นหนังสือถึงหัวหน้าพรรคเพื่อไทยขอให้พิจารณาเลื่อนวันเลือกตั้งออกไป มีนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ลงมารับหนังสือ โดยนายองอาจกล่าวว่า สถานการณ์การเมืองขณะนี้มีความขัดแย้งอย่างรุนแรง เห็นว่าวันเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57 อาจสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งเพิ่มเติม อีกทั้ง กกต.บอกว่าหากพรรคการเมืองเห็นพ้องต้องกันก็สามารถเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปได้ อยากให้พรรคการเมืองได้พูดคุยกันเพื่อหาทางออกร่วมกัน การเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.นั้น ไม่สามารถให้คำตอบกับประเทศเพื่อออกจากความขัดแย้งในขณะนี้ได้
นายพร้อมพงศ์กล่าวต่อว่า ตั้งแต่ช่วงเช้าแกนนำและทีมกฎหมายของพรรคได้หารือกัน ยืนยันว่าไม่มีกฎหมายรองรับให้สามารถเลื่อนการเลือกตั้งออกไปได้ ขอให้เข้าใจพรรคเพื่อไทยด้วย หากมีการเลื่อนการเลือกตั้งออกไป เท่ากับว่าประเทศไม่มีนิติรัฐ นิติธรรม จนอาจเกิดลัทธิเอาอย่าง พรรคเพื่อไทยพร้อมรับฟัง แต่เมื่อไม่มีข้อกฎหมายรองรับ ก็ไม่สามารถดำเนินการได้ สำหรับการประชุมของพรรค ปชป.ในวันที่ 21 ธ.ค. อยากให้ช่วยหาทางออกให้กับประเทศด้วยการส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ซึ่งจะทำให้แก้วิกฤติความขัดแย้งในขณะนี้ได้ จากนั้นจะปฏิรูปกันอย่างไรก็สามารถทำได้โดยผ่านรัฐสภา ก่อนการเลือกตั้งก็ให้ทุกพรรคการเมืองทำสัตยาบันร่วมกัน เมื่อใครชนะการเลือกตั้ง ก็ให้เป็นไปตามสัตยาบัน อาจจะเป็นรัฐบาล 2 ปี เพื่อทำการปฏิรูปแล้วก็ยุบสภา
พท.อ้างกฎหมายไม่เลื่อน
โฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าวถึงกรณี กกต.เสนอเลื่อนการเลือกตั้ง โดยให้รัฐบาลกับ กปปส.ไปคุยกันเองว่า ได้ตรวจสอบฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย พบว่าไม่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายให้เลื่อนการเลือกตั้ง เพราะมาตรา 108 รัฐธรรมนูญระบุชัดเจนว่า พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ภายใน 45-60 วัน นับตั้งแต่วันยุบสภา และมาตรา 6 ระบุว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด บทบัญญัติใดๆ จะขัดแย้งไม่ได้ วันนี้ กกต.ทำอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.การเลือกตั้ง กกต.อย่าไปหลงประเด็นในสิ่งที่นายสุเทพข่มขู่
นายพร้อมพงศ์กล่าวว่า ขณะนี้แกนนำพรรคคนสำคัญหลายคนได้ยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งอย่างเป็นทางการต่อพรรคเรียบร้อยแล้ว อาทิ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, นายนพดล ปัทมะ โดยอยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร โดยเฉพาะเรื่องการไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งล่าสุด และความถูกต้องทางเอกสาร คาดว่าการจะจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครแล้วเสร็จภายในวันที่ 22 ธ.ค.
นายไพจิต ศรีวรขาน อดีต ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัคร ส.ส.อีสาน มีอดีต ส.ส.ภาคอีสานหลายคนแสดงความเป็นห่วงว่าจะไม่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น เพราะเป็นห่วงการเคลื่อนไหวของกลุ่ม กปปส. ที่มีนัยทางการเมืองว่าอาจจะเกิดความวุ่นวายจนไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ แต่ผู้ใหญ่ในพรรคได้ให้คำยืนยันว่า จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นแน่นอน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ผู้สมัครหลายคนยังไม่กล้าเตรียมตัวลงสมัครพร้อมแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ ได้แต่เตรียมความพร้อมไว้ระดับหนึ่งเท่านั้น
ที่พรรคภูมิใจไทย นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เปิดแถลงข่าวว่า พรรคภูมิใจไทยในฐานะที่เป็นพรรคสายกลางไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งของใคร ขอเสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการเชิญหัวหน้าพรรคการเมือง หรือตัวแทนพรรคการเมือง กกต. มาร่วมประชุมหาทางออกให้กับประเทศเพื่อไม่ให้ประเทศเข้าสู่ภาวะวิกฤติ ในวันที่ 21 ธ.ค.นี้ เวลา 13.00 น. ที่ห้องกมลมาศ โรงแรมเดอะสุโกศล (สยามซิตี) โดยได้ออกจดหมายเชิญไปแล้ว
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่าพรรคภูมิใจไทยต้องการเลื่อนการเลือกตั้งนั้น นายอนุทินยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง เพราะเป้าหมายของพรรคต้องการให้ทุกภาคส่วนมีการตกลงร่วมกัน คือหากมีการเลือกตั้ง เมื่อผลออกมาเป็นเช่นไร ก็อยากให้ทุกฝ่ายยอมรับการตัดสินที่ออกมา และปฏิบัติตามกรอบ กติกา ที่รัฐธรรมนูญวางไว้ แต่ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง พรรคภูมิใจไทยก็พร้อมที่จะเข้าสู่การเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.2557
โพลปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง
นายวิชัย อัศรัสกร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ในฐานะโฆษก 7 องค์กรภาคเอกชน เปิดเผยว่า ตามที่เครือข่าย 7 องค์กรภาคเอกชน ได้เสนอตัวทำหน้าที่เป็นเวทีกลางเพื่อระดมความคิดเห็นจากนักวิชาการ ผู้รู้และสื่อมวลชน ให้ร่วมกระบวนการในการหาจุดร่วมเพื่อลดความขัดแย้งทางการเมืองของทุกภาคส่วน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง 7 องค์กรภาคธุรกิจ จึงได้กำหนดจัดให้มีเวทีกลางดังกล่าวเป็นครั้งที่ 2 ในวันที่ 23 ธ.ค.นี้ เวลา 09.00 น. ณ ห้อง Meeting Room 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน อันจะนำมาสู่ทางออกของประเทศต่อไป
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ทุกภาคส่วนต้องมีมาตรการให้ประชาชนเกิดความมั่นใจก่อนการเลือกตั้ง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประเทศ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูปในหลายมิติ โดยเฉพาะปัญหาการคอร์รัปชัน ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญ และเป็นสาเหตุหลักของความล้มเหลวของไทยในช่วงที่ผ่านมา และหากปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะกลายเป็นต้นเหตุของการล่มสลายในอนาคต ดังนั้นผู้รับผิดชอบในการบริหารประเทศต้องจัดให้มีมาตรการกำจัดคอร์รัปชันอย่างเป็นรูปธรรมให้แล้วเสร็จก่อนการเลือกตั้ง
นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “คนไทยกับการเลือกตั้งใหญ่ 2 ก.พ.57” ระหว่างวันที่ 17-19 ธันวาคม 2556 จากประชาชนทั่วทุกภูมิภาค 1,254 หน่วยตัวอย่าง โดยเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อระดับความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.57 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 28.79 ระบุว่าจะมีความบริสุทธิ์ยุติธรรมในระดับน้อย รองลงมา ร้อยละ 28.63 ระบุว่ามีความบริสุทธิ์ยุติธรรมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 21.13 ระบุว่า จะมีความบริสุทธิ์ยุติธรรมในระดับน้อยที่สุด, ร้อยละ 8.29 ระบุว่ามีความบริสุทธิ์ยุติธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด และร้อยละ 13.16 ไม่แน่ใจ/ไม่ระบุ
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.34 ระบุว่าการดำเนินการเลือกตั้งจะไม่ราบรื่น ขณะที่ประชาชนร้อยละ 32.70 ระบุว่าการดำเนินการเลือกตั้งจะเป็นไปอย่างราบรื่น และร้อยละ 11.96 ไม่แน่ใจ/ไม่ระบุ ประชาชนร้อยละ 47.21 ระบุว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะวุ่นวายเหมือนเดิม รองลงมาร้อยละ 21.85 ระบุว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะวุ่นวายมากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 20.33 ระบุว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะดีขึ้น และร้อยละ 10.61 ไม่แน่ใจ/ไม่ระบุ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นระหว่าง “การเลือกตั้ง” กับ “การปฏิรูปประเทศไทย” ว่าควรทำสิ่งใดก่อน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 46.33 ระบุว่าควรมีการปฏิรูปประเทศไทยก่อนการเลือกตั้ง รองลงมาร้อยละ 36.28 ระบุว่าควรเลือกตั้งก่อนการปฏิรูปประเทศไทย ขณะที่ร้อยละ 4.31 ระบุว่าอื่นๆ ควรทำควบคู่ไปพร้อม ๆ กัน แล้วแต่เสียงส่วนใหญ่ และร้อยละ 13.08 ไม่แน่ใจ/ไม่ระบุ.
ส่วนความเคลื่อนไหวของพรรคการเมือง นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคได้มอบหมายให้นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรค ปชป. เดินทางยังพรรคเพื่อไทย, ให้นายจุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรค พร้อมด้วยทีมโฆษกพรรค เดินทางไปยังพรรคชาติไทยพัฒนา, ให้นายศิริโชค โสภา รองเลขาธิการพรรค ไปพรรคภูมิใจไทย และให้นายเทพไท เสนพงศ์ รองเลขาธิการพรรค ไปพรรคพลังชล ในเวลา 13.00 น. เพื่อยื่นจดหมายขอให้พรรคการเมืองและนักการเมืองเสียสละเลื่อนการเลือกตั้งออกไปก่อน เพื่อให้ประเทศมีทางออกและเห็นแก่ส่วนรวม ก่อนประโยชน์ของพรรคการเมืองและนักเลือกตั้ง
"ไม่มีใครปฏิเสธการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่มีใครปฏิเสธว่าบรรยากาศขณะนี้ไม่สามารถนำสู่ความเรียบร้อยในการเลือกตั้งได้ ขณะนี้ข้อกล่าวหาว่านักการเมืองเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม จะดังกึกก้องในหัวใจประชาชน ดังนั้นเราจึงไม่ควรยืนขวางการปฏิรูปประเทศ" นายชวนนท์กล่าว
21 ก.พ.ปชป.บอยคอต
นายจุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การประชุมพรรคในวันที่ 21 ธ.ค. เพื่อลงมติว่าพรรคจะส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 ว่า เมื่อมีมติพรรคออกมาทุกคนก็ต้องยอมรับ การตัดสินใจที่จะออกมาคงไม่ได้ถูกใจคนทุกกลุ่ม เพราะมีสองกลุ่ม คือกลุ่มที่อยากให้ลงเลือกตั้งกับกลุ่มที่ไม่อยากให้ลงเลือกตั้ง มันได้หนึ่งก็เสียหนึ่ง แต่การตัดสินใจไม่ว่าออกมาแบบไหน จะต้องอธิบายได้ อย่างที่เคยบอก เลี้ยวซ้ายก็ตาย เลี้ยวขวาก็พิการ การตัดสินใจจะเป็นอย่างไร ก็ต้องเป็นเอกภาพทั้งพรรค และยอมรับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับการตัดสินใจครั้งนี้ ต้องมีคำตอบชี้แจงประชาชน โดยอยู่บนพื้นฐานประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง
มีรายงานงานว่า ในที่ผลการประชุมอดีต ส.ส.ภาค กทม. เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมส่วนใหญ่กว่า 20 คน เห็นพ้องกันว่าจะไม่ลงเลือกตั้ง อดีต ส.ส.อีกหลายคนที่ประกาศตัวในที่ประชุมว่า หากพรรคมีมติให้ลงสมัครก็ขอเว้นวรรคในการเลือกตั้ง อาทิ นายสามารถ มะลูลีม, นายธนา ชีรวินิจ, นายชื่นชอบ คงอุดม, นางอรอนงค์ กาญจนชูศักดิ์ เป็นต้น ส่วนนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน อดีตเลขาธิการพรรค ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว "เฉลิมชัย ศรีอ่อน" เป็นรูปธงไตรรงค์ และมีข้อความเป็นอักษรไทยสีทองว่า "ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง"
ขณะที่อดีต ส.ส.ภาคใต้ก็ได้มีการหารือเช่นกัน โดยเสียงส่วนใหญ่จะไม่ส่งผู้สมัครลง ซึ่งสอดคล้องกับกรณีนายเชน เทือกสุบรรณ พร้อมกับกลุ่มอดีต ส.ส.สุราษฎร์ธานี ประกาศไม่ลงเลือกตั้ง นอกจากนี้ กรณีที่พรรคได้มอบหมายให้ประธานสาขาพรรคทั้ง 180 สาขา ไปสำรวจความเห็นของสมาชิกและส่งกลับมาให้ทางพรรค ส่วนใหญ่เห็นสมควรว่าไม่ต้องการให้พรรคส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง
ที่พรรคเพื่อไทย แกนนำพรรค ปชป. นำโดย นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรค ปชป.เดินทางมายื่นหนังสือถึงหัวหน้าพรรคเพื่อไทยขอให้พิจารณาเลื่อนวันเลือกตั้งออกไป มีนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ลงมารับหนังสือ โดยนายองอาจกล่าวว่า สถานการณ์การเมืองขณะนี้มีความขัดแย้งอย่างรุนแรง เห็นว่าวันเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57 อาจสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งเพิ่มเติม อีกทั้ง กกต.บอกว่าหากพรรคการเมืองเห็นพ้องต้องกันก็สามารถเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปได้ อยากให้พรรคการเมืองได้พูดคุยกันเพื่อหาทางออกร่วมกัน การเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.นั้น ไม่สามารถให้คำตอบกับประเทศเพื่อออกจากความขัดแย้งในขณะนี้ได้
นายพร้อมพงศ์กล่าวต่อว่า ตั้งแต่ช่วงเช้าแกนนำและทีมกฎหมายของพรรคได้หารือกัน ยืนยันว่าไม่มีกฎหมายรองรับให้สามารถเลื่อนการเลือกตั้งออกไปได้ ขอให้เข้าใจพรรคเพื่อไทยด้วย หากมีการเลื่อนการเลือกตั้งออกไป เท่ากับว่าประเทศไม่มีนิติรัฐ นิติธรรม จนอาจเกิดลัทธิเอาอย่าง พรรคเพื่อไทยพร้อมรับฟัง แต่เมื่อไม่มีข้อกฎหมายรองรับ ก็ไม่สามารถดำเนินการได้ สำหรับการประชุมของพรรค ปชป.ในวันที่ 21 ธ.ค. อยากให้ช่วยหาทางออกให้กับประเทศด้วยการส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ซึ่งจะทำให้แก้วิกฤติความขัดแย้งในขณะนี้ได้ จากนั้นจะปฏิรูปกันอย่างไรก็สามารถทำได้โดยผ่านรัฐสภา ก่อนการเลือกตั้งก็ให้ทุกพรรคการเมืองทำสัตยาบันร่วมกัน เมื่อใครชนะการเลือกตั้ง ก็ให้เป็นไปตามสัตยาบัน อาจจะเป็นรัฐบาล 2 ปี เพื่อทำการปฏิรูปแล้วก็ยุบสภา
พท.อ้างกฎหมายไม่เลื่อน
โฆษกพรรคเพื่อไทยกล่าวถึงกรณี กกต.เสนอเลื่อนการเลือกตั้ง โดยให้รัฐบาลกับ กปปส.ไปคุยกันเองว่า ได้ตรวจสอบฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย พบว่าไม่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายให้เลื่อนการเลือกตั้ง เพราะมาตรา 108 รัฐธรรมนูญระบุชัดเจนว่า พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ภายใน 45-60 วัน นับตั้งแต่วันยุบสภา และมาตรา 6 ระบุว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด บทบัญญัติใดๆ จะขัดแย้งไม่ได้ วันนี้ กกต.ทำอย่างอื่นไม่ได้ นอกจากจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและ พ.ร.บ.การเลือกตั้ง กกต.อย่าไปหลงประเด็นในสิ่งที่นายสุเทพข่มขู่
นายพร้อมพงศ์กล่าวว่า ขณะนี้แกนนำพรรคคนสำคัญหลายคนได้ยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งอย่างเป็นทางการต่อพรรคเรียบร้อยแล้ว อาทิ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, นายนพดล ปัทมะ โดยอยู่ระหว่างการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร โดยเฉพาะเรื่องการไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งล่าสุด และความถูกต้องทางเอกสาร คาดว่าการจะจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครแล้วเสร็จภายในวันที่ 22 ธ.ค.
นายไพจิต ศรีวรขาน อดีต ส.ส.นครพนม พรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัคร ส.ส.อีสาน มีอดีต ส.ส.ภาคอีสานหลายคนแสดงความเป็นห่วงว่าจะไม่มีการเลือกตั้งเกิดขึ้น เพราะเป็นห่วงการเคลื่อนไหวของกลุ่ม กปปส. ที่มีนัยทางการเมืองว่าอาจจะเกิดความวุ่นวายจนไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ แต่ผู้ใหญ่ในพรรคได้ให้คำยืนยันว่า จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นแน่นอน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ผู้สมัครหลายคนยังไม่กล้าเตรียมตัวลงสมัครพร้อมแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ ได้แต่เตรียมความพร้อมไว้ระดับหนึ่งเท่านั้น
ที่พรรคภูมิใจไทย นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย เปิดแถลงข่าวว่า พรรคภูมิใจไทยในฐานะที่เป็นพรรคสายกลางไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งของใคร ขอเสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการเชิญหัวหน้าพรรคการเมือง หรือตัวแทนพรรคการเมือง กกต. มาร่วมประชุมหาทางออกให้กับประเทศเพื่อไม่ให้ประเทศเข้าสู่ภาวะวิกฤติ ในวันที่ 21 ธ.ค.นี้ เวลา 13.00 น. ที่ห้องกมลมาศ โรงแรมเดอะสุโกศล (สยามซิตี) โดยได้ออกจดหมายเชิญไปแล้ว
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่าพรรคภูมิใจไทยต้องการเลื่อนการเลือกตั้งนั้น นายอนุทินยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง เพราะเป้าหมายของพรรคต้องการให้ทุกภาคส่วนมีการตกลงร่วมกัน คือหากมีการเลือกตั้ง เมื่อผลออกมาเป็นเช่นไร ก็อยากให้ทุกฝ่ายยอมรับการตัดสินที่ออกมา และปฏิบัติตามกรอบ กติกา ที่รัฐธรรมนูญวางไว้ แต่ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง พรรคภูมิใจไทยก็พร้อมที่จะเข้าสู่การเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.2557
โพลปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง
นายวิชัย อัศรัสกร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ในฐานะโฆษก 7 องค์กรภาคเอกชน เปิดเผยว่า ตามที่เครือข่าย 7 องค์กรภาคเอกชน ได้เสนอตัวทำหน้าที่เป็นเวทีกลางเพื่อระดมความคิดเห็นจากนักวิชาการ ผู้รู้และสื่อมวลชน ให้ร่วมกระบวนการในการหาจุดร่วมเพื่อลดความขัดแย้งทางการเมืองของทุกภาคส่วน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง 7 องค์กรภาคธุรกิจ จึงได้กำหนดจัดให้มีเวทีกลางดังกล่าวเป็นครั้งที่ 2 ในวันที่ 23 ธ.ค.นี้ เวลา 09.00 น. ณ ห้อง Meeting Room 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน อันจะนำมาสู่ทางออกของประเทศต่อไป
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ทุกภาคส่วนต้องมีมาตรการให้ประชาชนเกิดความมั่นใจก่อนการเลือกตั้ง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประเทศ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูปในหลายมิติ โดยเฉพาะปัญหาการคอร์รัปชัน ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญ และเป็นสาเหตุหลักของความล้มเหลวของไทยในช่วงที่ผ่านมา และหากปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะกลายเป็นต้นเหตุของการล่มสลายในอนาคต ดังนั้นผู้รับผิดชอบในการบริหารประเทศต้องจัดให้มีมาตรการกำจัดคอร์รัปชันอย่างเป็นรูปธรรมให้แล้วเสร็จก่อนการเลือกตั้ง
นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “คนไทยกับการเลือกตั้งใหญ่ 2 ก.พ.57” ระหว่างวันที่ 17-19 ธันวาคม 2556 จากประชาชนทั่วทุกภูมิภาค 1,254 หน่วยตัวอย่าง โดยเมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อระดับความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.57 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 28.79 ระบุว่าจะมีความบริสุทธิ์ยุติธรรมในระดับน้อย รองลงมา ร้อยละ 28.63 ระบุว่ามีความบริสุทธิ์ยุติธรรมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 21.13 ระบุว่า จะมีความบริสุทธิ์ยุติธรรมในระดับน้อยที่สุด, ร้อยละ 8.29 ระบุว่ามีความบริสุทธิ์ยุติธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด และร้อยละ 13.16 ไม่แน่ใจ/ไม่ระบุ
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.34 ระบุว่าการดำเนินการเลือกตั้งจะไม่ราบรื่น ขณะที่ประชาชนร้อยละ 32.70 ระบุว่าการดำเนินการเลือกตั้งจะเป็นไปอย่างราบรื่น และร้อยละ 11.96 ไม่แน่ใจ/ไม่ระบุ ประชาชนร้อยละ 47.21 ระบุว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะวุ่นวายเหมือนเดิม รองลงมาร้อยละ 21.85 ระบุว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะวุ่นวายมากขึ้น ขณะที่ร้อยละ 20.33 ระบุว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะดีขึ้น และร้อยละ 10.61 ไม่แน่ใจ/ไม่ระบุ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นระหว่าง “การเลือกตั้ง” กับ “การปฏิรูปประเทศไทย” ว่าควรทำสิ่งใดก่อน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 46.33 ระบุว่าควรมีการปฏิรูปประเทศไทยก่อนการเลือกตั้ง รองลงมาร้อยละ 36.28 ระบุว่าควรเลือกตั้งก่อนการปฏิรูปประเทศไทย ขณะที่ร้อยละ 4.31 ระบุว่าอื่นๆ ควรทำควบคู่ไปพร้อม ๆ กัน แล้วแต่เสียงส่วนใหญ่ และร้อยละ 13.08 ไม่แน่ใจ/ไม่ระบุ.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น