สรุปข่าวเด่นในรอบสัปดาห์ 16-21 ธ.ค.2556
1. “สุเทพ” นัดชุมนุมใหญ่ไล่ “ยิ่งลักษณ์” พ้นนายกฯ 22 ธ.ค. ด้านเจ้าตัว ยันไม่ลาออก-ชวนทุกพรรคลงสัตยาบันปฏิรูปหลังเลือกตั้ง! | ||||||||||
ปรากฏว่า เริ่มมีกระแสกดดันจากหลายภาคส่วนให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ลาออก เช่น กลุ่มนายทหารนอกประจำการที่ภักดีต่อสถาบัน และยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ได้แก่ พล.อ.อ.กันต์ พิมานทิพย์ อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ ,พล.อ.วิมล วงศ์วานิช อดีตผู้บัญชาการทหารบก ,พล.ร.อ.วิเชษฐ การุณยวนิช อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 15 ธ.ค.ว่า การที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยได้ออกมาประกาศไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ส่งผลให้มีการลุกฮือออกมาต่อต้านรัฐบาลเป็นจำนวนหลายล้านคน และนับวันสถานการณ์ยิ่งล่อแหลมมากขึ้น จึงเรียกร้องให้นายกฯ และ ครม.รักษาการลาออก เพื่อให้ภาคเอกชน ข้าราชการ นักวิชาการ และประชาชน จัดการปฏิรูปประเทศอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อนำประเทศก้าวพ้นวิกฤต โดยที่ทหารไม่จำเป็นต้องปฏิวัติ แต่จำเป็นต้องประกาศจุดยืนว่าอยู่เคียงข้างประชาชน และต้องปฏิบัติการโดยด่วนก่อนที่สถานการณ์จะไปสู่การนองเลือด ทั้งนี้ นอกจากออกแถลงการณ์ดังกล่าวแล้ว อดีตนายทหารชั้นผู้ใหญ่เหล่านี้ยังมีการทำหนังสือถึงปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทุกเหล่าทัพ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เรียกร้องให้ผู้บัญชาการเหล่าทัพปฏิบัติการเพื่อให้การปฏิรูปประเทศโดยประชาชนเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อยด้วย ด้าน พ.อ.ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม เผยว่า พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้รับหนังสือดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และว่า อุดมการณ์ของกระทรวงจะต้องพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ การปฏิบัติใดๆ ก็ตาม จะคิดและปฏิบัติในกรอบของรัฐธรรมนูญเท่านั้น ขณะที่เครือข่ายปฏิรูปฯ 5 องค์กร ประกอบด้วย เครือข่ายคนรักสุขภาพ ,เครือข่ายคนรุ่นใหม่หัวใจพลเมือง ,เครือข่ายสุขภาพแห่งชาติ ,เครือข่ายคนรักประเทศไทย และเครือข่ายสมัชชาปฏิรูปประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ขอให้นายกฯ ตัดสินใจถอยเพื่อประเทศ โดยให้นายกฯ และ ครม.หยุดรักษาการทันที เพื่อเปิดช่องให้มีการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ และมีคนนอกเข้ามาเป็นคนกลางในการปฏิรูปกฎเกณฑ์กติกาต่างๆ ที่สำคัญในเวลาไม่เกิน 1-2 ปี เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปประเทศไทยอย่างแท้จริง และขอให้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 7 เพื่อให้มีนายกฯ และ ครม.ที่เป็นที่ยอมรับของประชาชนทุกภาคส่วน ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาการนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงหลังเป็นประธานประชุม ครม.เมื่อวันที่ 17 ธ.ค.โดยยังคงยืนยันไม่ลาออกจากนายกรัฐมนตรีรักษาการ ด้วยการอ้างว่า ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ถือเป็นความรับผิดชอบของนายกฯ ที่ต้องบริหารประเทศจนกว่าจะมีรัฐบาลชุดใหม่ “ต้องเรียนว่ามาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา หากจะขอไปก็ขอไปโดยกระบวนการของการเลือกตั้ง...” ขณะที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ปราศรัยบนเวทีที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. โดยนัดชุมนุมใหญ่ขับไล่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ออกจากตำแหน่งนายกฯ ในวันที่ 22 ธ.ค. นอกจากนี้ยังได้นำมวลชนเดินรณรงค์ทั่วกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 19-20 ธ.ค.เพื่อเชิญชวนพี่น้องชาวกรุงเทพฯ ออกมาไล่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และได้เชิญทูตานุทูตประเทศต่างๆ มาสังเกตการณ์การชุมนุมของ กปปส.เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ด้วย ด้านนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย แกนนำ กปปส. ปราศรัยถึงการชุมนุมใหญ่ในวันที่ 22 ธ.ค.ว่า จะมีการชุมนุมในพื้นที่ถนนบางรัก สีลม หัวลำโพง แยกเจริญผล อุรุพงษ์ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ราชปรารภ ทองหล่อ คลองเตย โดยมีเวทีใหญ่ 5 เวที คือ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ,หอศิลป์ กทม.แยกปทุมวัน ,แยกราชประสงค์ ,แยกอโศก และสวนลุมพินี นอกจากนี้จะมีเวทีย่อยอีก 10 เวที “จะเริ่มเดินตั้งแต่ 13.00น. รับสัญญาณถ่ายทอดสดจากเวทีราชดำเนินเวลา 18.00น.(นายสุเทพจะอ่านแถลงการณ์หลังเคารพธงชาติ) อย่างไรก็ตามในการชุมนุมครั้งนี้ใช้พื้นที่ทั้งหมด 6.2 แสน ตร.กม. ถ้าจะจุ 3 คนต่อ 1 ตร.กม. รวมแล้วจุคนได้ 1.8 ล้านคน ,จุ 4 คนต่อ 1 ตร.กม. ได้ 2.4 ล้านคน แต่เชื่อว่าในวันจริง จุถึง 5 คนแน่นอน” ส่วนความเคลื่อนไหวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ พยายามไม่อยู่ใน กทม.ด้วยการไปปฏิบัติภารกิจที่ภาคอีสาน หลังจากสัปดาห์ก่อนตระเวนไปภาคเหนือ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อตระเวณไปภาคอีสาน เช่น จ.สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ยโสธร ฯลฯ แม้จะมีประชาชนส่วนหนึ่งมามอบดอกไม้ให้กำลังใจ แต่ก็มีประชาชนบางส่วนมาเป่านกหวีดขับไล่ น.ส.ยิ่งลักษณ์เช่นกัน ล่าสุด เมื่อวานนี้(21 ธ.ค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้แถลงการณ์ผ่านทีวีพูลว่า รัฐบาลพร้อมสนับสนุนให้เกิดการปฏิรูปที่สร้างสรรค์ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั้งประเทศอย่างแท้จริง และว่า กระบวนการปฏิรูปประเทศสามารถทำคู่ขนานไปกับการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.2557 ได้ โดยเสนอให้พรรคการเมืองทุกพรรคที่ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งครั้งนี้ พร้อมทั้งองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้สัตยาบันว่า หลังมีสภาและ ครม.ชุดใหม่แล้ว จะมีการจัดตั้งสภาปฏิรูปประเทศไทยทันที โดยสภาปฏิรูปฯ ควรมีวาระการทำงานไม่เกิน 2 ปี และมีหน้าที่เสนอกลไกเพื่อปฏิรูปประเทศไทยในระยะยาว ด้านนายอิสสระ สมชัย แกนนำ กปปส. ปราศรัยบนเวทีที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยว่า วันที่ 22 ธ.ค.จะมีการชุมนุมทั่ว กทม. โดยช่วงเช้าจะมีผู้ชุมนุมบางส่วนไปที่บ้านพักของนายกรัฐมนตรี ส่วนช่วงดึกเวลาประมาณ 24.00น. จะมีการเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปยังสนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่นดินแดง (ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ซึ่งเป็นสถานที่รับสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อที่จะมีการเปิดรับสมัครวันแรกในวันที่ 23 ธ.ค. โดยต้องการไปแสดงเจตจำนงว่าไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. ขณะที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ย้ำเหตุที่ต้องชุมนุมใหญ่ไล่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ว่า เพราะรัฐบาลยิ่งลักษณ์หมดความชอบธรรมที่จะเป็นรัฐบาลต่อไปแล้ว หลังออกมาประกาศไม่เคารพ ไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และการพยายามออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ศาลพิพากษาแล้วลงโทษจำคุก 2 ปี พร้อมลงโทษยึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านบาท เพราะใช้อำนาจหน้าที่หาเงินมาโดยมิชอบ นายสุเทพ ยังนัดหมายมวลชนด้วยว่า หลังชุมนุมใหญ่ในวันที่ 22 ธ.ค.แล้ว เตรียมตัวไปยืนประท้วง ยืนคัดค้าน ยืนยันความเห็นที่หน้าศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ว่า ต้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง 2. ปชป. บอยคอตไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง เหตุ รบ.ทำ ปท.วิกฤต ปชช.หมดศรัทธาการเลือกตั้ง ถึงเวลาต้องปฏิรูป! | ||||||||||
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้คัดเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งมีการแก้ไขให้เพิ่มจากเดิม 19 คน เป็น 35 คน โดยนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรค เสนอชื่อนายอภิสิทธิ์เป็นหัวหน้าพรรค โดยไม่มีคู่แข่ง แต่ตามข้อบังคับพรรค ต้องมีการลงคะแนน ซึ่งผลการคัดเลือก ปรากฏว่า นายอภิสิทธิ์ได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคสมัยที่ 3 ด้วยคะแนน 98.006% จากผู้มีสิทธิ 328 คน จากนั้นนายอภิสิทธิ์ ได้ขอบคุณที่ประชุม พร้อมแจ้งว่า มีสมาชิกขอสละสิทธิไม่รับตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค ประกอบด้วย นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู อดีตรองหัวหน้าพรรคภาคเหนือ ,นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรองหัวหน้าพรรคภาค กทม. ,นายศุภชัย ศรีหล้า อดีตรองเลขาธิการพรรค และนายวีระชัย วีระเมธีกุล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ ต่อมานายอภิสิทธิ์ได้เสนอรายชื่อบุคคลเป็นรองหัวหน้าพรรค ตามโควหน้าหัวหน้าพรรค 5 คน ประกอบด้วย นายเกียรติ สิทธีอมร ,นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ,นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ,ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร และนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน จากนั้นที่ประชุมได้เลือกรองหัวหน้าพรรครายภาค ผลปรากฏว่า รองหัวหน้าพรรคภาคกลาง นายสาธิต ปิตุเตชะ ได้รับเลือกด้วยคะแนน 63.14% ขณะที่นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้ 30.938% ,รองหัวหน้าพรรคภาค กทม. นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ได้รับเลือกด้วยคะแนน 55.48% ขณะที่นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ได้ 36.24% ,รองหัวหน้าพรรคภาคใต้ นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ได้รับเลือกด้วยคะแนน 56.732% ขณะที่นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ได้ 37.55% ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ ได้เสนอชื่อนายจุติ ไกรฤกษ์ อดีตรองหัวหน้าพรรค เป็นเลขาธิการพรรค ,น.ส.ผ่องศรี ธาราภูมิ อดีตกรรมการบริหารพรรค เป็นนายทะเบียนพรรค ,นางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ อดีต ส.ส.กาญจนบุรี เป็นเหรัญญิกพรรค และเสนอนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เป็นโฆษกพรรคสมัยที่ 2 สำหรับผลการเลือกรองเลขาธิการพรรค 5 คน ได้แก่ นายกนก วงษ์ตระหง่าน ,นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ ,นายนราพัฒน์ แก้วทอง ,นายเทพไท เสนพงศ์ และนายศิริโชค โสภา นอกจากนี้ยังมีการเลือกกรรมบริหารสัดส่วนสาขาพรรค 5 คน ,กรรมการบริหารสัดส่วนผู้บริหารท้องถิ่น 3 คน และกรรมการบริหารพรรค(ทั่วไป) 7 คน ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ชุดใหม่ ได้ประชุมเพื่อลงมติว่าจะส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.2557 หรือไม่เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. ผลปรากฏว่า ที่ประชุมมีมติไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง เนื่องจากเห็นว่าการเมืองของประเทศอยู่ในภาวะล้มเหลวมาไม่ต่ำกว่า 8-9 ปี เพราะระบอบประชาธิปไตยถูกบิดเบือนโดยบุคคลบางกลุ่ม ขณะที่รัฐบาลนี้เป็นผู้ทำให้บ้านเมืองวิกฤตด้วยการผ่านกฎหมายนิรโทษกรรมล้างความผิดให้คนทุจริตคอร์รัปชั่น และใช้อำนาจกอบโกยผลประโยชน์ให้ตัวเอง แม้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วก็ยังไม่ยอมรับอำนาจศาล ทำให้วันนี้ประชาชนขาดความศรัทธาทั้งในระบบพรรคการเมืองและระบบเลือกตั้ง หากบ้านเมืองไม่มีการปฏิรูป จะสุ่มเสี่ยงต่อความรุนแรง ความสูญเสีย และการทุจริตก็จะดำรงต่อไปอย่างต่อเนื่อง พรรคจึงต้องการหยุดภาวะการเมืองที่ล้มเหลวนี้ด้วยทางออกที่แก้ปัญหาได้จริง คือเดินเข้าสู่การเป็นพรรคการเมืองเคียงคู่กับการปฏิรูปประเทศ โดยไม่ขัดขวางการเลือกตั้ง ไม่มีจุดยืนสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนอกรัฐธรรมนูญ แต่พรรคพร้อมที่จะบอกว่าเส้นทางปฏิรูปประเทศ พรรคจะทำงานกับประชาชนตามขั้นตอนคือ ให้ข้อเท็จจริงระดมสมองว่าประเทศต้องปฏิรูปอย่างไร จากนั้นขัดเกลาเป็นนโยบายเพื่อให้ประชาชนใช้พรรคเป็นเครื่องมือเป็นตัวแทนในการปฏิรูปอย่างแท้จริง 3. ดีเอสไอ เหลิงอำนาจออกหมายเรียก-อายัดบัญชีแกนนำยันผู้สนับสนุนการชุมนุม อ้างร่วมกันกบฏ ด้านวุฒิฯ ซัด ส่อขัดคำวินิจฉัยศาล รธน.! | ||||||||||
ซึ่งภายหลัง ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติ 6 ต่อ 3 เห็นว่าการชุมนุมของ กปปส.เป็นการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ทางการเมือง โดยมีเหตุผลมาจากความไม่ไว้วางใจในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล ถือเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญและเป็นการเรียกร้องและแสดงพลังด้วยการสนับสนุนของประชาชนจำนวนมาก ประกอบกับสถานการณ์ได้พัฒนาไปสู่การยุบสภาและเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งแล้ว จึงยังไม่มีมูลตามคำร้อง จึงมีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัย นอกจากนี้ ส.ส.พรรคเพื่อไทยยังได้ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ด้วย โดยอ้างว่าการชุมนุมของกลุ่มนายสุเทพจะมีการขัดขวางการเลือกตั้งและประกาศให้เลื่อนวันเลือกตั้งออกไป ซึ่งถือเป็นการเตะถ่วงและก้าวล่วงพระราชอำนาจ ไม่เท่านั้น ส.ส.พรรคเพื่อไทย ยังเข้าแจ้งความต่อตำรวจกองปราบฯ เพื่อให้ดำเนินคดีนายสุเทพ ฐานหมิ่นเบื้องสูง รวมทั้งไปยื่นหนังสือต่อนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) กล่าวหาว่านายสุเทพก้าวล่วงพระราชอำนาจด้วย ทั้งนี้ วันเดียวกัน(16 ธ.ค.) นายธาริต เผยว่า ได้เตรียมข้อมูลเพื่อเสนอให้คณะกรรมการคดีพิเศษพิจารณารับคดีนายสุเทพเป็นคดีพิเศษในวันที่ 17 ธ.ค. และว่า การชุมนุมของกลุ่มนายสุเทพในพื้นที่ กทม.และต่างจังหวัดตั้งแต่เดือน ต.ค.เป็นต้นมา มีคดีที่เกี่ยวข้อง 60 คดี วันต่อมา(17 ธ.ค.) คณะกรรมการคดีพิเศษก็มีมติรับคดีนายสุเทพไว้เป็นคดีพิเศษตามที่นายธาริตเสนอ โดยให้เหตุผลว่า คดีนี้มีความยุ่งยากซับซ้อน จึงต้องใช้ พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมย้ำว่า ดีเอสไอสามารถดำเนินคดีได้ทั้งหมด ทั้งกลุ่มท่อน้ำเลี้ยงสนับสนุน โดยจะประชุมพนักงานสอบสวนในวันที่ 18 ธ.ค.ซึ่งจะพิจารณาออกหมายเรียกแกนนำ 20 คน พร้อมอายัดบัญชีทุกธนาคารของนายสุเทพและแกนนำ หลังประชุมพนักงานสอบสวนเป็นครั้งแรกในวันที่ 18 ธ.ค. นายธาริต แถลงว่า ที่ประชุมมีมติให้ดำเนินการเร่งด่วนทันทีโดยออกหมายเรียกแกนนำผู้ชุมนุม 17 คนให้มารับทราบข้อกล่าวหาร่วมกันเป็นกบฏในวันที่ 26 ธ.ค. หากไม่มาจะขอศาลอนุมัติหมายจับ พร้อมกันนี้ได้มีคำสั่งอายัดบัญชีทุกประเภท ทุกธนาคารของแกนนำผู้ชุมนุม 18 คน รวมทั้งบัญชีรับบริจาคอีก 2 บัญชี เพื่อจะได้รู้ว่าท่อน้ำเลี้ยงที่ผ่านบัญชีมีใครบ้าง พร้อมให้ธนาคารส่งข้อมูลย้อนหลัง 6 เดือนให้ดีเอสไอด่วนที่สุด ไม่เท่านั้น ยังจะออกหมายเรียกเจ้าของยานพาหนะ บริษัท ร้านค้า ที่ให้การสนับสนุนการชุมนุมมาสอบสวนด้วย ด้านนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการป้องกันการทุจริต และตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ วุฒิสภา (เป็น 1 ในผู้ที่ถูกดีเอสไอออกหมายเรียก) ได้เรียกประชุมคณะอนุกรรมาธิการฯ ก่อนมีความเห็นว่า การรับคดีการชุมนุมของนายสุเทพเป็นคดีพิเศษของดีเอสไอมีลักษณะเร่งรีบ และขัดแย้งกับคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยแล้วว่าเป็นเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ และว่า นายธาริตเร่งรัดแต่งตั้งคณะพนักงานสอบสวนขึ้นภายในวันเดียวกัน โดยตั้งตัวเองเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน ทั้งที่นายธาริตเป็นคู่กรณีฟ้องร้องนายสุเทพหลายคดี จึงไม่มีความเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีนี้ พร้อมชี้ว่า การที่พนักงานสอบสวนสั่งอายัดบัญชีโดยที่ยังไม่ได้ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม น่าจะขัดต่อกฎหมาย “คณะอนุกรรมาธิการเห็นว่า นายธาริตมีการดำเนินการที่อาจไม่เป็นไปตามกฎหมาย ขัดต่อหลักธรรมาภิบาล จึงมีมติเสนอให้คณะกรรมาธิการออกหนังสือเรียกตาม พ.ร.บ.คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ.2554 เพื่อให้นายธาริตมาชี้แจงต่อคณะอนุกรรมาธิการในวันที่ 26 ธ.ค. พร้อมขอรายงานการประชุมคณะกรรมการสอบสวนคดีพิเศษ รวมทั้งคำสั่งแต่งตั้งคณะพนักงานสอบสวนและคำสั่งอายัดบัญชีแกนนำทั้ง 18 คนด้วย” วันเดียวกัน(19 ธ.ค.) นายธาริต ได้ออกมาขู่แกนนำผู้ชุมนุมอีกว่า วันที่ 23 ธ.ค.จะประชุมพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีแกนนำเพิ่มเติมอีกกว่า 30 ราย ส่วนใหญ่เป็นแกนนำที่ขึ้นเวทีปราศรัย ซึ่งมีทั้งนักวิชาการ และอดีต ส.ส. อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า ยังไม่ทันถึงวันที่ 23 ธ.ค. ปรากฏว่า นายธาริตได้ประชุมพนักงานสอบสวนอีกในวันที่ 20 ธ.ค. ก่อนมีมติออกหมายเรียกแกนนำอีก 20 คน ให้มารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 2 และ 3 ม.ค. พร้อมย้ำ จะประชุมพนักงานสอบสวนคดีพิเศษอีกครั้งในวันที่ 23 ธ.ค. ทั้งนี้ ดีเอสไอเริ่มใช้วิธีข่มขู่คุกคามมากขึ้น โดย น.ส.อัญชลี ไพรีรัก แนวร่วม กปปส. ได้ออกมาแฉว่า ดีเอสไอได้ส่งเจ้าหน้าที่ 10 คนไปข่มขู่บิดาตน ซึ่งอายุ 88 ปีแล้ว อยู่บ้านคนเดียวเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. ให้เซ็นเอกสารก่อนนำเอกสารกลับไปด้วย ดังนั้นหลังจากนี้จะฟ้องดำเนินคดีดีเอสไออย่างเป็นรูปธรรม
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น