วันอาทิตย์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556
เรื่องเล่าเช้านี้ 1 เมษายน 2556 : ไฟไหม้ กองสืบสวน สระบุรี
เรื่องเล่าเช้านี้ 1 เมษายน 2556 : ไฟไหม้ กองสืบสวน สระบุรี
ตะลึง พบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ร้ายแรงกว่า"ซารส์" สังเวยไปแล้ว 11 ราย "ฮู"หวั่นระบาดทั่วโลก วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 17:00:55 น.
ตะลึง พบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ร้ายแรงกว่า"ซารส์" สังเวยไปแล้ว 11 ราย "ฮู"หวั่นระบาดทั่วโลก
วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 17:00:55 น.
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 31 มี.ค.ว่า ผู้เชี่ยวชาญได้ระบุว่า ขณะนี้มีการค้นพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ที่ร้ายแรงกว่าโรคซาร์ส ที่เคยระบาดอย่างรุนแรงเมื่อปี 2003 โดยมีต้นกำเนิดในภูมิภาคตะวันออกกลาง และส่งผลให้มีชาวอังกฤษเสียชีวิตไปแล้ว 2 ราย ในสภาพที่รุนแรงกว่าเชื้อโรคซาร์ส โดยเชื้่อดังกล่าวจะโจมตีระบบทางเดินหายใจ และแพร่ลามกระทบอวัยวะภายในต่าง ๆ ทำลายเซลล์และภูมิคุ้มกันต่างๆ และส่งผลให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
รายงานระบุว่า จากการเปิดเผยขององค์การอนามัยโลกระบุว่า เชื้อดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 11 ราย โดยหากไวรัสสายพันธุ์นี้ เกิดการกลายพันธ์ต่อเนื่อง อาจส่งผลกระทบเกิดภาวะระบาดจากคนสู่คนได้อย่างรุนแรง โดยไวรัสนี้ร้ายแรงกว่าซาร์สเพราะสามารถติดเชื้อในเซลล์หลายประเภทในร่างกายมนุษย์ และจะฆ่าเซลล์เหล่านี้อย่างรวดเร็ว ขณะที่เชื้อไวรัสซาร์สจะทำลายเพียงบางเซลล์เท่านั้น
ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกได้อยู่ในสถานะ"เฝ้าระวัง"และได้เตือนภัยเชื้่อไวรัสนี้ตั้งแต่เดือนก.ย.ปีที่แล้ว โดยการระบาดส่วนใหญ่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง และล่าสุด ยังมีชายสูงวัยตะวันกลางอายุ 73 ปี เสียชีวิตเพราะไวรัสนี้ด้วย หลังจากส่งถูกตัวเข้าโรงพยาบาลในเมืองมิวนิคของเยอรมันเมื่อสัปดาห์ก่อน และเสียชีวิตเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ส่วนรายแรกที่ติดเชื้อ เชื่อว่าเป็นชาวกาตาร์ ที่เดินทางไปซาอุดิอาระเบีย และในปี 2012 ปรากฎว่า มีชาวซาอุฯติดเชื้อและเสียชีวิตเพราะไวรัสสายพันธุ์อันตรายนี้
ระทึก ชาวมะกันนับร้อย"แห่ไปตรวจเชื้อเอดส์ หลังรับบริการจากหมอฟันอันตรายเสี่ยงแพร่เชื้่อ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 19:00:38 น
ระทึก ชาวมะกันนับร้อย"แห่ไปตรวจเชื้อเอดส์ หลังรับบริการจากหมอฟันอันตรายเสี่ยงแพร่เชื้่อ
วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 19:00:38 น
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 31 มี.ค.ว่า ชาวเมืองทุลซ่า ในรัฐโอคลาโฮม่า ของสหรัฐ จำนวนกว่า 200 ราย ซึ่งเป็นคนไข้ของสถานบริการโรคฟันแห่งหนึ่ง ต่างรุดเดินทางไปตรวจว่า พวกเขาติดเชื้อเอดส์หรือไม่ ภายหลังมีการเปิดเผยว่า คลีนิกสาธารณสุขด้านทำฟันของนายแพทย์สก๊อต ฮาร์ริงตัน มีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อเอดส์ให้แก่ผู้ให้บริการของคลีนิก ตลอดช่วง 6 ปีที่ผ่านมา หรือคิดเป็นจำนวน 7,000 กว่าราย จากพฤติกรรมเสี่ยงใช้เข็มฉีดยาใช้แล้ว และเครื่องมือแพทย์ที่สกปรก
โดยก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสหรัฐพบว่า สถานบริการทำฟันของนายแพทย์ดังกล่าวมีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อเอดส์ต่อคนไข้ โดยพบมอร์ฟีนหมดอายุและสกปรก เครื่องมือแพทย์ที่เปื้อนฝุ่น ที่นำมาใช้กับผู้ป่วยที่มีโรคติดเชื้อ ทำให้คนไข้กว่าเจ็ดพันคนเสี่ยงที่จะเป็นโรคตับเอกสาร หรือไวรัสที่สามารถกลายเป็นเอดส์ได้ และสาธารณสุขได้เริ่มส่งจดหมายให้แก่อดีตคนไข้ของสถานทำฟันแห่งนี้ เตือนว่าพวกเขาอาจภัยเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพจากการรักษาฟันที่สถานทำฟันดังกล่าว
ตีความ...′เงินกู้2ล้านล.′ ขวากหนาม′รบ.ปู′ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 15:46:23 น.
ตีความ...′เงินกู้2ล้านล.′ ขวากหนาม′รบ.ปู′
วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 15:46:23 น.
หมายเหตุ - มุมมองภายหลังร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ.... วงเงินกู้กว่า 2 ล้านล้านบาท ผ่านหลักการในวาระที่ 1 ซึ่งฝ่ายค้านเตรียมยื่นเรื่องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความหลังจากที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่านความเห็นชอบของสภาแล้ว
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นักกฎหมายอิสระ
จากกรณีล่าสุดที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ได้อ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 โดยนำรายชื่อ ส.ว. 43 คน และ ส.ส. 33 คน รวม 76 คน ร่วมกันเสนอความเห็นต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ให้ส่งความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (ซึ่งเป็นร่างกฎหมายคนละฉบับกับกรณีการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท แต่มีความเกี่ยวเนื่องกัน) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 169, มาตรา 75 วรรค 1, มาตรา 78 วรรค 4 และ 5, มาตรา 84 วรรค 11, มาตรา 87 วรรค 1 2 และ 3 หรือไม่นั้น
ข้อสังเกตเบื้องต้น 1.กลุ่ม 76 ส.ส. ส.ว.มีสิทธิเสนอความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาได้หรือไม่
หากพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 แล้ว เห็นว่าการเสนอความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายต่อประธานรัฐสภาเพื่อจะส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้นั้น จะต้องเป็นกรณีของ "ร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯทรงลงพระปรมาภิไธย..." ดังนั้น สำหรับกรณีร่าง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐนั้น เมื่อได้ผ่านการเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว จึงสามารถเสนอความเห็นเพื่อส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้ และถือเป็นกรณีที่กลุ่ม 76 ส.ส. ส.ว.ได้ทำหน้าที่ตรวจสอบอย่างเต็มที่
สำหรับร่างกฎหมายอีกฉบับที่กำลังอยู่ในความสนใจของสังคมคือร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (วงเงิน 2 ล้านล้านบาท) อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภาและการใช้เงินดังกล่าวย่อมต้องอาศัยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐด้วยนั้น ตราบใดที่รัฐสภายังไม่ได้เห็นชอบร่างกฎหมายดังกล่าวสิทธิในการเสนอความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมไม่เกิดขึ้น
ข้อน่าสนใจก็คือ หากมีผู้เร่งเสนอความเห็นไปก่อน จะเกิดปัญหาตามมาว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะมีแนวปฏิบัติอย่างไร ข้อน่ากังวลก็คือ หากศาล ′รับเอกสาร′ ความเห็นไว้ แต่ยังไม่มีคำสั่งรับหรือไม่รับคำร้อง และศาลรอจนรัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างกฎหมาย จากนั้นศาลจึงสั่งว่า ′รับคำร้อง′ หากศาลปฏิบัติเช่นนี้ จะเกิดสิ่งที่น่ากังวลในทางรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ ศาลอาจลดทอนความสำคัญของการเจรจาในฝ่ายนิติบัญญัติ โดยทำให้ ส.ส. ส.ว.วางคำร้องไว้ล่วงหน้าและอาจทำให้ความพยายามในการพิจารณาแก้ไขร่างกฎหมายร่วมกันของรัฐสภามีความสำคัญน้อยลง ถือเป็นการบั่นทอนคุณค่าของฝ่ายนิติบัญญัติไปโดยปริยาย
ดังนั้น หากมี ส.ส. หรือ ส.ว.รายใดเร่งเสนอความเห็นกรณีการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทก่อนจะมีการพิจารณาเสร็จสิ้นนั้น ประธานรัฐสภาย่อมไม่อาจส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ และหากส่งไปศาลก็ควรมีคำสั่งไม่รับคำร้องในชั้นนี้
2.ศาลรัฐธรรมนูญสามารถนำ "แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ" มาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างพระราชบัญญัติได้หรือไม่ ในกรณีร่าง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐนั้น กลุ่ม 76 ส.ส. ส.ว.เห็นว่ามีบางมาตราที่ขัดแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ในหมวด "แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ" ดังนั้นศาลรัฐธรรมนูญจึงควรวินิจฉัยว่ามีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ดี นักนิติศาสตร์หลายคนมีความเห็นตรงกันว่า บทบัญญัติในหมวด "แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ" เป็นเพียง "เจตจำนงให้รัฐดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน" โดยบทบัญญัติเหล่านี้จะมีข้อความในเชิงนโยบายที่มีความหมายกว้างและเป็นการทั่วไป เช่น การใช้ถ้อยคำว่า "รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" หรือ "สนับสนุนให้มีการใช้หลักคุณธรรม จริยธรรม และหลักธรรมาภิบาล ควบคู่กับการประกอบกิจการ" หรือ "ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม" ไม่อาจชี้ได้ชัดในทางกฎหมายว่าสิ่งใดขัดแย้งต่อข้อความเหล่านี้หรือไม่
ดังนั้น การจะพิจารณาว่าสิ่งใดขัดแย้งต่อ "แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ" หรือไม่นั้น จึงต้องอาศัยกลไกการตรวจสอบทางการเมืองเป็นการเฉพาะ กล่าวคือ รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรีต้องจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา และชี้แจงให้ชัดแจ้งว่าจะดำเนินการใด ในระยะเวลาใด เพื่อบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และต้องจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินการ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคเสนอต่อรัฐสภาปีละหนึ่งครั้ง
น่าสังเกตว่า เคยมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันบางท่านที่เคยเขียนคำวินิจฉัยส่วนตนในทำนองที่เข้าใจได้ว่าศาลสามารถนำบทบัญญัติในหมวด "แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ" มาเป็นประเด็นวินิจฉัยคดีได้ หากศาลทำเช่นนั้นจริง จะทำให้ศาลมีอำนาจมหาศาลสามารถยกบทบัญญัติที่มีความกว้างและเป็นการทั่วไปมาวินิจฉัยได้จนรัฐสภาไม่อาจคาดการณ์ได้เลยว่าจะ ′เดาใจ′ ศาลอย่างไร ว่ากฎหมายฉบับใดจะดีพอในสายตาของศาลหรือไม่ อันอาจจะทำให้เกิดการขยายอำนาจตุลาการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยในที่สุด
นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้มีการปรับแก้ภาษาบางช่วงบางตอนของหมวดดังกล่าวให้เป็นภาษาที่มีลักษณะบังคับและมีเนื้อหาเจาะจง เช่น รัฐธรรมนูญ มาตรา 84 (11) (ซึ่งกลุ่ม ส.ส. และ ส.ว.ได้ยกขึ้นอ้างในกรณีด้วย) ที่บัญญัติว่า
"การดำเนินการใดที่เป็นเหตุให้โครงสร้างหรือโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน หรือเพื่อความมั่นคงของรัฐตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน หรือทำให้รัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ด จะกระทำมิได้"
ภาษาลักษณะบังคับเจาะจงเช่นนี้ ไม่ปรากฏมาก่อนในหมวด "แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ" ของรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา และย่อมทำให้เกิดความสับสนว่า ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้หรือไม่ แต่ในหลักการแล้วภาษาลักษณะบังคับเจาะจงเช่นนี้ ย่อมเข้าใจได้ว่ามุ่งหมายให้รัฐสภาตรวจสอบการตรากฎหมายและนโยบายของคณะรัฐมนตรีให้ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น แต่มิได้มุ่งหมายให้ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้แต่อย่างใด
3.ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลได้มากน้อยเพียงใด
อีกประเด็นสำคัญที่กลุ่ม 76 ส.ส. ส.ว.ได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐได้ตราขึ้นโดยถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 หรือไม่นั้น นับว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจและถกเถียงได้ โดยในทางหนึ่งอาจมีผู้มองว่า มาตรา 169 เป็นบทบัญญัติที่วางเงื่อนไขเกี่ยวกับการตรากฎหมายการเงินการคลังอย่างเฉพาะเจาะจง ต่างจาก "แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ" ซึ่งศาลย่อมสามารถนำมาพิจารณาเกี่ยวกับร่างกฎหมายใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินแผ่นดิน และย่อมเป็นการดีที่กลุ่ม 76 ส.ส. ส.ว.ได้พยายามตรวจสอบเพื่อให้เกิดความรอบคอบในการตรากฎหมาย
ในอีกทางหนึ่ง อาจมีผู้มองว่าร่างกฎหมายดังกล่าวมิได้มีสาระเป็นการจ่ายเงินแผ่นดิน เพียงแต่มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจ่ายเงินแผ่นดิน จึงมิได้เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขในการตรากฎหมาย หากแต่เป็นเรื่องการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ดังนั้น หากจะมีประเด็นกฎหมายต้องวินิจฉัย ก็ย่อมไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ แต่อาจเป็นกรณีเขตอำนาจของศาลหรือองค์กรอิสระอื่นที่มีอำนาจตรวจสอบว่าการจ่ายเงินแผ่นดินนั้นชอบด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่มีการทุจริตหรือไม่
ฉันใดก็ฉันนั้น หากในอนาคตจะมีการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับกรณีร่างกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ศาลย่อมต้องพิจารณาอย่างระมัดระวัง และพึงระลึกว่า คำว่า "วินัยการเงินการคลัง" หรือคำอื่นๆ ที่มีความหมายกว้างและทั่วไปนั้น อาจมิได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลที่จะรับพิจารณาได้เสมอไป
แน่นอนว่าการตรวจสอบประเด็นเหล่านี้ล้วนสำคัญยิ่ง แต่ที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันก็คือ การที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพึงระวังไม่ขยายอำนาจของตนจนไปกระทบดุลพินิจทางการเมืองของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ตลอดจนไม่ไปก้าวก่ายกระบวนการตรวจสอบของศาลอื่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นด้วย มิเช่นนั้นศาลรัฐธรรมนูญก็จะตอกย้ำความเป็น "องค์กรภิรัฐธรรมนูญ" ที่ยกตนให้อยู่เหนือหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจอันเป็นหัวใจของรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะนำความเสื่อมกลับมาสู่ศาลรัฐธรรมนูญเองในที่สุด
นักกฎหมายอิสระ
จากกรณีล่าสุดที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ได้อ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 โดยนำรายชื่อ ส.ว. 43 คน และ ส.ส. 33 คน รวม 76 คน ร่วมกันเสนอความเห็นต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ให้ส่งความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (ซึ่งเป็นร่างกฎหมายคนละฉบับกับกรณีการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท แต่มีความเกี่ยวเนื่องกัน) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 169, มาตรา 75 วรรค 1, มาตรา 78 วรรค 4 และ 5, มาตรา 84 วรรค 11, มาตรา 87 วรรค 1 2 และ 3 หรือไม่นั้น
ข้อสังเกตเบื้องต้น 1.กลุ่ม 76 ส.ส. ส.ว.มีสิทธิเสนอความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาได้หรือไม่
หากพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 154 แล้ว เห็นว่าการเสนอความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายต่อประธานรัฐสภาเพื่อจะส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญได้นั้น จะต้องเป็นกรณีของ "ร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯทรงลงพระปรมาภิไธย..." ดังนั้น สำหรับกรณีร่าง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐนั้น เมื่อได้ผ่านการเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว จึงสามารถเสนอความเห็นเพื่อส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้ และถือเป็นกรณีที่กลุ่ม 76 ส.ส. ส.ว.ได้ทำหน้าที่ตรวจสอบอย่างเต็มที่
สำหรับร่างกฎหมายอีกฉบับที่กำลังอยู่ในความสนใจของสังคมคือร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (วงเงิน 2 ล้านล้านบาท) อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภาและการใช้เงินดังกล่าวย่อมต้องอาศัยการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐด้วยนั้น ตราบใดที่รัฐสภายังไม่ได้เห็นชอบร่างกฎหมายดังกล่าวสิทธิในการเสนอความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมไม่เกิดขึ้น
ข้อน่าสนใจก็คือ หากมีผู้เร่งเสนอความเห็นไปก่อน จะเกิดปัญหาตามมาว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะมีแนวปฏิบัติอย่างไร ข้อน่ากังวลก็คือ หากศาล ′รับเอกสาร′ ความเห็นไว้ แต่ยังไม่มีคำสั่งรับหรือไม่รับคำร้อง และศาลรอจนรัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างกฎหมาย จากนั้นศาลจึงสั่งว่า ′รับคำร้อง′ หากศาลปฏิบัติเช่นนี้ จะเกิดสิ่งที่น่ากังวลในทางรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ ศาลอาจลดทอนความสำคัญของการเจรจาในฝ่ายนิติบัญญัติ โดยทำให้ ส.ส. ส.ว.วางคำร้องไว้ล่วงหน้าและอาจทำให้ความพยายามในการพิจารณาแก้ไขร่างกฎหมายร่วมกันของรัฐสภามีความสำคัญน้อยลง ถือเป็นการบั่นทอนคุณค่าของฝ่ายนิติบัญญัติไปโดยปริยาย
ดังนั้น หากมี ส.ส. หรือ ส.ว.รายใดเร่งเสนอความเห็นกรณีการกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทก่อนจะมีการพิจารณาเสร็จสิ้นนั้น ประธานรัฐสภาย่อมไม่อาจส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ และหากส่งไปศาลก็ควรมีคำสั่งไม่รับคำร้องในชั้นนี้
2.ศาลรัฐธรรมนูญสามารถนำ "แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ" มาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างพระราชบัญญัติได้หรือไม่ ในกรณีร่าง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐนั้น กลุ่ม 76 ส.ส. ส.ว.เห็นว่ามีบางมาตราที่ขัดแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ในหมวด "แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ" ดังนั้นศาลรัฐธรรมนูญจึงควรวินิจฉัยว่ามีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ดี นักนิติศาสตร์หลายคนมีความเห็นตรงกันว่า บทบัญญัติในหมวด "แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ" เป็นเพียง "เจตจำนงให้รัฐดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน" โดยบทบัญญัติเหล่านี้จะมีข้อความในเชิงนโยบายที่มีความหมายกว้างและเป็นการทั่วไป เช่น การใช้ถ้อยคำว่า "รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" หรือ "สนับสนุนให้มีการใช้หลักคุณธรรม จริยธรรม และหลักธรรมาภิบาล ควบคู่กับการประกอบกิจการ" หรือ "ดำเนินการให้มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม" ไม่อาจชี้ได้ชัดในทางกฎหมายว่าสิ่งใดขัดแย้งต่อข้อความเหล่านี้หรือไม่
ดังนั้น การจะพิจารณาว่าสิ่งใดขัดแย้งต่อ "แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ" หรือไม่นั้น จึงต้องอาศัยกลไกการตรวจสอบทางการเมืองเป็นการเฉพาะ กล่าวคือ รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรีต้องจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน มีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา และชี้แจงให้ชัดแจ้งว่าจะดำเนินการใด ในระยะเวลาใด เพื่อบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และต้องจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินการ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคเสนอต่อรัฐสภาปีละหนึ่งครั้ง
น่าสังเกตว่า เคยมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันบางท่านที่เคยเขียนคำวินิจฉัยส่วนตนในทำนองที่เข้าใจได้ว่าศาลสามารถนำบทบัญญัติในหมวด "แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ" มาเป็นประเด็นวินิจฉัยคดีได้ หากศาลทำเช่นนั้นจริง จะทำให้ศาลมีอำนาจมหาศาลสามารถยกบทบัญญัติที่มีความกว้างและเป็นการทั่วไปมาวินิจฉัยได้จนรัฐสภาไม่อาจคาดการณ์ได้เลยว่าจะ ′เดาใจ′ ศาลอย่างไร ว่ากฎหมายฉบับใดจะดีพอในสายตาของศาลหรือไม่ อันอาจจะทำให้เกิดการขยายอำนาจตุลาการที่ไม่เป็นประชาธิปไตยในที่สุด
นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้มีการปรับแก้ภาษาบางช่วงบางตอนของหมวดดังกล่าวให้เป็นภาษาที่มีลักษณะบังคับและมีเนื้อหาเจาะจง เช่น รัฐธรรมนูญ มาตรา 84 (11) (ซึ่งกลุ่ม ส.ส. และ ส.ว.ได้ยกขึ้นอ้างในกรณีด้วย) ที่บัญญัติว่า
"การดำเนินการใดที่เป็นเหตุให้โครงสร้างหรือโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน หรือเพื่อความมั่นคงของรัฐตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน หรือทำให้รัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ด จะกระทำมิได้"
ภาษาลักษณะบังคับเจาะจงเช่นนี้ ไม่ปรากฏมาก่อนในหมวด "แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ" ของรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา และย่อมทำให้เกิดความสับสนว่า ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้หรือไม่ แต่ในหลักการแล้วภาษาลักษณะบังคับเจาะจงเช่นนี้ ย่อมเข้าใจได้ว่ามุ่งหมายให้รัฐสภาตรวจสอบการตรากฎหมายและนโยบายของคณะรัฐมนตรีให้ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น แต่มิได้มุ่งหมายให้ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้แต่อย่างใด
3.ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลได้มากน้อยเพียงใด
อีกประเด็นสำคัญที่กลุ่ม 76 ส.ส. ส.ว.ได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐได้ตราขึ้นโดยถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 169 หรือไม่นั้น นับว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจและถกเถียงได้ โดยในทางหนึ่งอาจมีผู้มองว่า มาตรา 169 เป็นบทบัญญัติที่วางเงื่อนไขเกี่ยวกับการตรากฎหมายการเงินการคลังอย่างเฉพาะเจาะจง ต่างจาก "แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ" ซึ่งศาลย่อมสามารถนำมาพิจารณาเกี่ยวกับร่างกฎหมายใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินแผ่นดิน และย่อมเป็นการดีที่กลุ่ม 76 ส.ส. ส.ว.ได้พยายามตรวจสอบเพื่อให้เกิดความรอบคอบในการตรากฎหมาย
ในอีกทางหนึ่ง อาจมีผู้มองว่าร่างกฎหมายดังกล่าวมิได้มีสาระเป็นการจ่ายเงินแผ่นดิน เพียงแต่มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจ่ายเงินแผ่นดิน จึงมิได้เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขในการตรากฎหมาย หากแต่เป็นเรื่องการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ดังนั้น หากจะมีประเด็นกฎหมายต้องวินิจฉัย ก็ย่อมไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ แต่อาจเป็นกรณีเขตอำนาจของศาลหรือองค์กรอิสระอื่นที่มีอำนาจตรวจสอบว่าการจ่ายเงินแผ่นดินนั้นชอบด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่มีการทุจริตหรือไม่
ฉันใดก็ฉันนั้น หากในอนาคตจะมีการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับกรณีร่างกฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ศาลย่อมต้องพิจารณาอย่างระมัดระวัง และพึงระลึกว่า คำว่า "วินัยการเงินการคลัง" หรือคำอื่นๆ ที่มีความหมายกว้างและทั่วไปนั้น อาจมิได้อยู่ในเขตอำนาจของศาลที่จะรับพิจารณาได้เสมอไป
แน่นอนว่าการตรวจสอบประเด็นเหล่านี้ล้วนสำคัญยิ่ง แต่ที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันก็คือ การที่ศาลรัฐธรรมนูญต้องพึงระวังไม่ขยายอำนาจของตนจนไปกระทบดุลพินิจทางการเมืองของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ตลอดจนไม่ไปก้าวก่ายกระบวนการตรวจสอบของศาลอื่น หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นด้วย มิเช่นนั้นศาลรัฐธรรมนูญก็จะตอกย้ำความเป็น "องค์กรภิรัฐธรรมนูญ" ที่ยกตนให้อยู่เหนือหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจอันเป็นหัวใจของรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะนำความเสื่อมกลับมาสู่ศาลรัฐธรรมนูญเองในที่สุด
วราเทพ รัตนากรรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ต้องยืนยันอีกครั้งว่า พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน เพราะรัฐบาลได้ดำเนินการตามแนวทางที่กฎหมายกำหนดทุกอย่าง ส่วนที่มีผู้จะไปยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ก็เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ เชื่อมั่นว่าศาลรัฐธรรมนูญคงจะได้พิจารณาอย่างตรงไปตรงมากับการวินิจฉัยในเรื่องนี้ สำหรับประเด็นเกี่ยวกับการออก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน โดยไม่ใช้เงินในงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ประชาชนสงสัย ก็ต้องขอชี้แจงว่า หากเกิดความผันผวนทางการเมืองก็อาจทำให้การนำเงินไปใช้สะดุดลงได้ และงบประมาณรายจ่ายประจำปียังต้องมีการลงทุนในด้านอื่นๆ อีก เช่น การศึกษา การพัฒนาคน ดังนั้น การออก พ.ร.บ.กู้เงินจะสามารถช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน และมั่นใจได้ว่าโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะได้ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าการออกพระราชบัญญัตินี้เป็นการตีเช็คเปล่า คงต้องยืนยันว่าไม่ได้เป็นการตีเช็คเปล่า เพราะที่ผ่านมาการออกพระราชกำหนดแต่ละครั้ง มีเพียงเอกสารที่เรียกว่าเป็นมาตราและไม่มีโครงการรายละเอียดใดๆ ให้สภาพิจารณาเลย การที่รัฐบาลเลือกที่จะออกมาเป็นพระราชบัญญัติ เพราะรัฐบาลเห็นปัญหาแล้วว่าสภานี้รับไม่ได้กับการที่จะไปขออนุมัติขอเงินกู้ เพราะฉะนั้นรัฐบาลจึงเลือกที่จะออกมาเป็นพระราชบัญญัติ เพื่อที่จะให้สภาได้พิจารณาในรายละเอียด และมีการแปรญัตติได้ก่อนที่จะให้ความเห็นชอบได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วน การที่รัฐบาลทำบัญชีแนบท้ายเข้าไปนั้นเป็นหลักประกันว่าการจะแก้ไขใดๆ โดยรัฐบาลหรือฝ่ายบริหารนี้ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้เรากำหนดยุทธศาสตร์ว่าแผนงานที่จะดำเนินการ คือเรื่องของการคมนาคมขนส่ง และการคมนาคมขนส่งระบุชัดเจนว่ามีเรื่องอะไรบ้าง ดังนั้นในอนาคตใครก็ตามเข้ามาเป็นรัฐบาลแล้วเปลี่ยนแปลงตามอำเภอใจ เลือกโครงการนี้เข้า โครงการนั้นออก คิดว่าประชาชนหรือว่าสภาที่มีเอกสารโครงการทั้งหมดก็คงไม่ยอมปล่อยให้ไปดำเนินการอย่างไรตามใจชอบอย่างแน่นอน
สำหรับขั้นตอนภายหลังจาก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทผ่านวาระแรกไปแล้ว ในชั้นกรรมาธิการการแปรญัตติก็สามารถดำเนินการได้ตามปกติเหมือนกับกฎหมายอื่นๆ ทั่วไป แต่ทั้งนี้จะต้องเสนอความเห็นกับสภาผู้แทนราษฎรว่ามีเหตุและมีผลอย่างไรในการแปรญัตติ ถ้าสภาผู้แทนราษฎรเสียงข้างมากเห็นด้วย เป็นไปตามข้อเสนอของผู้แปรญัตตินั้น แต่ถ้าไม่เห็นด้วย กลับไปเป็นตามร่างเดิม ส่วนประเด็นเรื่องความโปร่งใสของการเบิกจ่ายเงินในโครงการ 2 ล้านล้านบาทนั้น รัฐบาลได้คำนึงถึงเรื่องนี้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการประกาศราคากลาง อีกทั้งนายกรัฐมนตรีได้ย้ำในความโปร่งใสอย่างต่อเนื่อง จะมีการวัดผลของโครงการ โดยแต่ละหน่วยงานจะต้องเสนอเรื่องเสนอโครงการต่างๆ และเมื่อสิ้นปีงบประมาณจะต้องรายงานผลต่อสภาทุกปี ทำให้มีการตรวจสอบต่อเนื่อง นอกจากนี้ จะมีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยเฉพาะกรรมาธิการสามารถเรียกตรวจสอบได้ทุกคณะอยู่แล้ว ส่วนหลายฝ่ายเกรงว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวจะสร้างหนี้ให้ประชาชนในอีก 50 ปีนั้น อยากให้ดูทั้ง 2 ด้าน โดยเฉพาะระบบการขนส่งถือว่าเป็นทรัพย์สินที่จะสร้างรายได้ด้วย รัฐบาลไม่ได้กู้เงินมาแจก แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วทรัพย์สินจะอยู่กับประเทศเป็นร้อยๆ ปี สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการสร้างประโยชน์ให้กับประเทศเป็นอย่างมาก
ต้องยืนยันอีกครั้งว่า พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน เพราะรัฐบาลได้ดำเนินการตามแนวทางที่กฎหมายกำหนดทุกอย่าง ส่วนที่มีผู้จะไปยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ก็เป็นสิทธิที่สามารถทำได้ เชื่อมั่นว่าศาลรัฐธรรมนูญคงจะได้พิจารณาอย่างตรงไปตรงมากับการวินิจฉัยในเรื่องนี้ สำหรับประเด็นเกี่ยวกับการออก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน โดยไม่ใช้เงินในงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ประชาชนสงสัย ก็ต้องขอชี้แจงว่า หากเกิดความผันผวนทางการเมืองก็อาจทำให้การนำเงินไปใช้สะดุดลงได้ และงบประมาณรายจ่ายประจำปียังต้องมีการลงทุนในด้านอื่นๆ อีก เช่น การศึกษา การพัฒนาคน ดังนั้น การออก พ.ร.บ.กู้เงินจะสามารถช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน และมั่นใจได้ว่าโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะได้ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง
ส่วนที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าการออกพระราชบัญญัตินี้เป็นการตีเช็คเปล่า คงต้องยืนยันว่าไม่ได้เป็นการตีเช็คเปล่า เพราะที่ผ่านมาการออกพระราชกำหนดแต่ละครั้ง มีเพียงเอกสารที่เรียกว่าเป็นมาตราและไม่มีโครงการรายละเอียดใดๆ ให้สภาพิจารณาเลย การที่รัฐบาลเลือกที่จะออกมาเป็นพระราชบัญญัติ เพราะรัฐบาลเห็นปัญหาแล้วว่าสภานี้รับไม่ได้กับการที่จะไปขออนุมัติขอเงินกู้ เพราะฉะนั้นรัฐบาลจึงเลือกที่จะออกมาเป็นพระราชบัญญัติ เพื่อที่จะให้สภาได้พิจารณาในรายละเอียด และมีการแปรญัตติได้ก่อนที่จะให้ความเห็นชอบได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วน การที่รัฐบาลทำบัญชีแนบท้ายเข้าไปนั้นเป็นหลักประกันว่าการจะแก้ไขใดๆ โดยรัฐบาลหรือฝ่ายบริหารนี้ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้เรากำหนดยุทธศาสตร์ว่าแผนงานที่จะดำเนินการ คือเรื่องของการคมนาคมขนส่ง และการคมนาคมขนส่งระบุชัดเจนว่ามีเรื่องอะไรบ้าง ดังนั้นในอนาคตใครก็ตามเข้ามาเป็นรัฐบาลแล้วเปลี่ยนแปลงตามอำเภอใจ เลือกโครงการนี้เข้า โครงการนั้นออก คิดว่าประชาชนหรือว่าสภาที่มีเอกสารโครงการทั้งหมดก็คงไม่ยอมปล่อยให้ไปดำเนินการอย่างไรตามใจชอบอย่างแน่นอน
สำหรับขั้นตอนภายหลังจาก พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทผ่านวาระแรกไปแล้ว ในชั้นกรรมาธิการการแปรญัตติก็สามารถดำเนินการได้ตามปกติเหมือนกับกฎหมายอื่นๆ ทั่วไป แต่ทั้งนี้จะต้องเสนอความเห็นกับสภาผู้แทนราษฎรว่ามีเหตุและมีผลอย่างไรในการแปรญัตติ ถ้าสภาผู้แทนราษฎรเสียงข้างมากเห็นด้วย เป็นไปตามข้อเสนอของผู้แปรญัตตินั้น แต่ถ้าไม่เห็นด้วย กลับไปเป็นตามร่างเดิม ส่วนประเด็นเรื่องความโปร่งใสของการเบิกจ่ายเงินในโครงการ 2 ล้านล้านบาทนั้น รัฐบาลได้คำนึงถึงเรื่องนี้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการประกาศราคากลาง อีกทั้งนายกรัฐมนตรีได้ย้ำในความโปร่งใสอย่างต่อเนื่อง จะมีการวัดผลของโครงการ โดยแต่ละหน่วยงานจะต้องเสนอเรื่องเสนอโครงการต่างๆ และเมื่อสิ้นปีงบประมาณจะต้องรายงานผลต่อสภาทุกปี ทำให้มีการตรวจสอบต่อเนื่อง นอกจากนี้ จะมีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยเฉพาะกรรมาธิการสามารถเรียกตรวจสอบได้ทุกคณะอยู่แล้ว ส่วนหลายฝ่ายเกรงว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวจะสร้างหนี้ให้ประชาชนในอีก 50 ปีนั้น อยากให้ดูทั้ง 2 ด้าน โดยเฉพาะระบบการขนส่งถือว่าเป็นทรัพย์สินที่จะสร้างรายได้ด้วย รัฐบาลไม่ได้กู้เงินมาแจก แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วทรัพย์สินจะอยู่กับประเทศเป็นร้อยๆ ปี สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการสร้างประโยชน์ให้กับประเทศเป็นอย่างมาก
(ที่มา:มติชนรายวัน 31 มีนาคม 2556)
"สุริยะใส" จ่อชงป.ป.ช. เอาผิดครม.-ส.ส.โหวตหนุนร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน ยันขัดรธน. วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 17:23:00 น.
"สุริยะใส" จ่อชงป.ป.ช. เอาผิดครม.-ส.ส.โหวตหนุนร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้าน ยันขัดรธน.
วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 17:23:00 น.
วันที่ 31 มี.ค. นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน ระบุถึงร่างพ.ร.บ.เงินกู้ 2 ล้านล้านว่า เป็นร่างที่จงใจละเมิดรัฐธรรมนูญ ซึ่งในสัปดาห์นี้ กลุ่มกรีนจะร่วมกับหลายองค์ก ยื่นเรื่องให้ผู้ตรววจการแผ่นดิน เพื่อพิจารณานำเรื่องส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว และอาจจะยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อไต่สวนเอาผิดกับคณะรัฐมนตรี (ครม.) และ ส.ส.ทั้ง 284 คน ที่ยกมือสนับสนุนผ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ ทั้งๆ ที่รู้ว่าร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ขัดรัฐธรรมนูญ
นอกจากนี้ กลุ่มกรีนเตรียมทำสมุดปกดำ เปิดโปงวาระซ่อนเร้นเงินกู้ 2 ล้านล้าน กับแผนกินรวบประเทศไทย เพื่อแจกจ่ายประชาชนให้รู้เท่าทันในวงกว้าง พร้อมกับทำจดหมายเปิดผนึกถึงภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่นประเทศไทย เพื่อขอทราบจุดยืนที่ชัดเจน ต่อประเด็นการทุจริตคอร์รัปชั่น หรือมีมาตรการตรวจสอบและป้องกันเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทอย่างไร ซึ่งการบอกว่าจะไม่มีการทุจริตในโครงการต่างๆ แม้เป็นเรื่องที่ดูดี แต่ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย
หนุ่มวัย 18 ปี หวังข่มขืนสาวรุ่นพี่แต่ไม่สำเร็จ ตัดสินใจกดหัวจมน้ำดับ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 19:49:49 น.
หนุ่มวัย 18 ปี หวังข่มขืนสาวรุ่นพี่แต่ไม่สำเร็จ ตัดสินใจกดหัวจมน้ำดับ
วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 19:49:49 น.
วันที่ 31 มี.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.ต.ท.วสันต์ ปทุมภักดิ์ พงส.ผนพ.สภ.เสลภูมิ ได้รับแจ้งว่ามีเหตุหญิงสาวถูกฆ่าตกรรม บริเวณร่องน้ำข้างถนนสายเสลภูมิ-โพนทอง ใกล้ปากทางเข้าบ้านหนองสิม ต.นาแซง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด จึงไปตรวจที่เกิดเหตุพร้อมด้วยพ.ต.อ.สามารถ แก้วเนตร ผกก.สภ.เสลภูมิ พ.ต.ท.ภูมิวิทย์ เวชกามา รอง ผกก.ป.สภ.เสลภูมิ พ.ต.ท.ธีรเชษฐ์ กำทรัพย์ หน.พงส.สภ.เสลภูมิ พร้อมด้วยกำลังชุดสืบสวน และหน่วยกู้ชีพ ที่บริเวณร่องน้ำข้างถนนพบร่างนางฉวี มุงโพธิ์ อายุ 38 ปี บ้านเลขที่ 13 หมู่ที่ 3 ต.นาแซง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด นอนเสียชีวิตในสภาพสวมเสื้อยืดแขนสั้นลายดอก ผ้าถุงมีสายรัดคล้ายกระโปรง เสียชีวิตจมอยู่ในโคลน ลำคอมีรอยข่วน เบ้าตาช้ำ ไม่พบร่องรอยถูกข่มขืน คาดเสียชีวิตมาแล้วประมาณ 4 ชั่วโมง นอกจากนี้ ใกล้ที่เกิดเหตุพบรอยลากจากศาลาถึงที่เกิดเหตุ เจ้าหน้าที่จึงบันทึกไว้เป็นหลักฐานและติดตามหาข้อมูล
ต่อมาพบผู้ต้องสงสัย เนื่องจากมีผู้แจ้งว่าที่จักรยานยนต์มีรอยเปื้อนโคลน ทราบชื่อผู้ต้องสงสัยต่อมาคือ นายเอ (สงวนนามสกุล) อายุ 18 ปี ชาวต.โนนชัยศรี อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด จากการสอบสวนผู้ต้องหาให้การรับสารภาพว่า ก่อนเกิดเหตุตนและผู้ตายได้ดื่มสุราด้วยกันในหมู่บ้าน กระทั่งดึกผู้ตายจึงขอตัวกลับบ้านตนจึงไปส่งโดยขี่จักรยานยนต์คนละคัน พอมาถึงที่เกิดเหตุเป็นศาลาจึงบอกให้ผู้ตายหยุดนั่งคุยกันก่อน คุยไปคุยมาถูกคอกันตนจึงเข้าโอบกอดด้วยอารมณ์เปลี่ยว แต่ผู้ตายขัดขืนทำให้ตนโมโห ก่อนจะใช้กำลังปล้ำแล้วลากลงจากศาลาหวังจะข่มขืนแต่ผู้ตายไม่ยอม จึงตัดสินใจกดหัวลงน้ำจนแน่นิ่ง ก่อนหนีไป เจ้าหน้าที่จึงควบคุมตัวไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพ และดำเนินคดีในข้อหาฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาต่อไป |
พี่สาววัย 14 ช่วยน้องวัย 9 ขวบจมน้ำดับทั้งคู่ เมื่อ 31 มี.ค.56
พี่สาววัย 14 ช่วยน้องวัย 9 ขวบจมน้ำดับทั้งคู่ | |||
| |||
ไฟไหม้รถตู้หวิดย่างสด4ชีวิต เมื่อ 31 มี.ค.56
ไฟไหม้รถตู้หวิดย่างสด4ชีวิต | |||
| |||
มติ'ปชป.'ไม่รับร่างแก้ไขรธน.ทั้ง3ฉบับเมื่อ 31 มี.ค.56
มติ'ปชป.'ไม่รับร่างแก้ไขรธน.ทั้ง3ฉบับ | |||
| |||
พ่อตากระหน่ำยิงลูกเขยกับพ่อดับคาโรงพัก-หลังถูกตามมาชกขณะแจ้งความคดีทำร้ายร่างกาย เมื่อ 31 มี.ค.56
พ่อตากระหน่ำยิงลูกเขยกับพ่อดับคาโรงพัก-หลังถูกตามมาชกขณะแจ้งความคดีทำร้ายร่างกาย | |||
| |||
หนุ่มเครียดหึงหวงเมียสาว-เมาไปปรึกษาแม่โดนด่าซ้ำ-จ้วงแทงแม่แท้ๆ ดับสยอง เมื่อ 31 มี.ค.56
หนุ่มเครียดหึงหวงเมียสาว-เมาไปปรึกษาแม่โดนด่าซ้ำ-จ้วงแทงแม่แท้ๆ ดับสยอง | |||
| |||
อดีตผู้เข้าประกวด มิสทีนไทยแลนด์ 2008 ขับ ซีอาร์วี ชนเสาไฟฟ้าดับ เมื่อ 31 มี.ค.56
อดีตผู้เข้าประกวด มิสทีนไทยแลนด์ 2008 ขับ ซีอาร์วี ชนเสาไฟฟ้าดับ | |||
| |||
"ปึ้ง" เตรียมถ้อยแถลงคดี "พระวิหาร" แจง ครม.รับทราบ ช่อง 11 ยิงสด เมื่อ 31 มี.ค.56
"ปึ้ง" เตรียมถ้อยแถลงคดี "พระวิหาร" แจง ครม.รับทราบ ช่อง 11 ยิงสด | |||
| |||
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์แนวหน้า |
เอาแน่"บีอีซีแอล"ขึ้นค่าทางด่วน ยื่นเรื่องกทพ. ดีเดย์ขยับ1ก.ย. เสนอปรับตั้งแต่ 5,10,15 บาท เมื่อ 31 มี.ค.56
เอาแน่"บีอีซีแอล"ขึ้นค่าทางด่วน ยื่นเรื่องกทพ. ดีเดย์ขยับ1ก.ย. เสนอปรับตั้งแต่ 5,10,15 บาท | |||
| |||
ออสเตรเลียคว่ำบาตรโสมแดงก่อสงคราม เมื่อ 31 มี.ค.56
ออสเตรเลียคว่ำบาตรโสมแดงก่อสงคราม | |||
|
“ปู”เซ็งโฟส”เฟสบุ๊ค”แจงสร้างรถไฟความเร็วสูงกันผักเน่า ดูถูกเกษตรกร เมื่อ 31 มี.ค.56
“ปู”เซ็งโฟส”เฟสบุ๊ค”แจงสร้างรถไฟความเร็วสูงกันผักเน่า ดูถูกเกษตรกร | |||
| |||
มะกันแห่ตรวจหวั่นติดเอดส์จากคลินิกศัลยกรรม เมื่อ 31 มี.ค.56
มะกันแห่ตรวจหวั่นติดเอดส์จากคลินิกศัลยกรรม | |||
| |||
วอนช่วย2หนูน้อยโรคดักแด้ เมื่อ 31 มี.ค.56
วอนช่วย2หนูน้อยโรคดักแด้ | |||
| |||
แม่น้ำชีแห้งขอด รพ.ระวังเตือนโรคตาแดงระบาด เมื่อ 31 มี.ค.56
แม่น้ำชีแห้งขอด รพ.ระวังเตือนโรคตาแดงระบาด | |||
| |||
จับได้แล้ว "ไอ้บอย มหาภัย" ข่มขืนชิงทรัพย์นศ.สาวเชียงใหม่ - ยิงอดีตนายอำเภอ เมื่อ 31 มี.ค.56
จับได้แล้ว "ไอ้บอย มหาภัย" ข่มขืนชิงทรัพย์นศ.สาวเชียงใหม่ - ยิงอดีตนายอำเภอ | |||
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)