วันเสาร์ ที่ 28 กันยายน 2556
ในวันที่ 28 กันยายน 2556 ถ้าไม่มีอะไรพลิกผันอย่างคาดไม่ถึง ก็จะเกิดปรากฏการณ์ที่สำคัญของการเมืองไทยคือ
1. ประธานรัฐสภานายสมศักดิ์ เกียรติสุรนันท์ เรียกประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาลงมติวาระ 3 ของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับที่มาของ สว. ในขณะที่ ศาลรรรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องไว้วินิจฉัย กรณีมีผู้ร้องว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว ขัดต่อบทบัญญติแห่งรัฐธรรมนูญ
2. สมาชิกรัฐสภามีมติ ผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว และประธานรัฐสภาจะต้องนำเสนอนายกรัฐมนตรี นำทูลเกล้าฯ เพื่อลงประปรมาภิไธย
3. นายกรัฐมนตรีจะต้องนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้า ภายใน 20 วันตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ทั้งนี้จากการให้ข่าวของนายสุรนันท์ เวชชาชีวะ ได้กล่าวว่าหากสภามีมติผ่านวาระ 3 นายกฯ ก็จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ทันที
2. สมาชิกรัฐสภามีมติ ผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว และประธานรัฐสภาจะต้องนำเสนอนายกรัฐมนตรี นำทูลเกล้าฯ เพื่อลงประปรมาภิไธย
3. นายกรัฐมนตรีจะต้องนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้า ภายใน 20 วันตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ทั้งนี้จากการให้ข่าวของนายสุรนันท์ เวชชาชีวะ ได้กล่าวว่าหากสภามีมติผ่านวาระ 3 นายกฯ ก็จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ทันที
จากเหตุการณ์เกิดขึ้นเป็นปัญหาระหว่างสถาบันหลักทั้งสามของระบอบประชาธิปไตย นั่นคือ ฝ่ายตุลาการ ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร อันที่จริงในกระบวนการประชาธิปไตย การที่มีสถาบันทั้งสามนี้ก็เพื่อให้เกิดการ สอดรัดขัดประสาน กันของทั้งสามสถาบันเพื่อให้เกิดความมั่นคงในระบอบประชาธิปไตย การสอดรัดขัดประสาน จะไม่มองว่าเป็นความขัดแย้ง แต่เป็นการที่แต่ละฝ่ายนำความสามารถที่ตนเองมีอยู่ออกมาวินิจฉัยปัญหาต่างๆ ที่เป็นปัญหาโดยรวมของประเทศที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารราชการแผ่นดิน การตราตัวบทกฎหมาย และการตัดสินอรรถคดี การดังกล่าวเปรียบเสมือนการสอดประสานของการจักสาน เพื่อให้เส้นตอกได้สอดขัดกันเกิดเป็นเครื่องใช้ที่สวยงามและมีประโยชน์
แต่การณ์ปัจจุบันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากมีการมุ่งสร้างความเชื่อให้เกิดแก่ประชาชนว่า การสอดรัดขัดประสาน ที่จะต้องมีการเห็นด้วยไม่เห็นด้วยในท่าทีของแต่ละฝ่ายนั้น เป็นการขัดแย้ง เป็นการกลั่นแกล้ง เป็นการก้าวก่าย หน้าที่กัน ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาข้อวินิจฉัย จึงเกิดภาวะที่จะเอาชนะ ภาวะที่ไม่ยอมรับการตัดสินใจของแต่ละฝ่าย ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า ในสถาบันหลักทั้งสามของระบอบประชาธิปไตยนั้น สองสถาบันอันได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ คือรัฐสภา และฝ่ายบริหาร คือรัฐบาล ล้วนแล้วแต่ถูกบงการโดยบุคคลท่านเดียวนั่นคืออดีตนายกฯ จากแดนไกลนั่นเอง
แต่การณ์ปัจจุบันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากมีการมุ่งสร้างความเชื่อให้เกิดแก่ประชาชนว่า การสอดรัดขัดประสาน ที่จะต้องมีการเห็นด้วยไม่เห็นด้วยในท่าทีของแต่ละฝ่ายนั้น เป็นการขัดแย้ง เป็นการกลั่นแกล้ง เป็นการก้าวก่าย หน้าที่กัน ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาข้อวินิจฉัย จึงเกิดภาวะที่จะเอาชนะ ภาวะที่ไม่ยอมรับการตัดสินใจของแต่ละฝ่าย ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีว่า ในสถาบันหลักทั้งสามของระบอบประชาธิปไตยนั้น สองสถาบันอันได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ คือรัฐสภา และฝ่ายบริหาร คือรัฐบาล ล้วนแล้วแต่ถูกบงการโดยบุคคลท่านเดียวนั่นคืออดีตนายกฯ จากแดนไกลนั่นเอง
ดังนั้น การเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติวาระ 3 ของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ นั่นเพราะจะทำให้เกิดกรอบเวลาในการทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธย โดยฝ่ายรัฐบาลจะอ้างเอากรอบเวลา 20 วันเป็นเหตุผลในการทูลเกล้าฯ ทั้งที่ยังมีความไม่ชัดเจนต่อการพิจารณาของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และหากนายกรัฐมนตรี ได้มีการนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขึ้นทูลเกล้าฯ ในขณะที่ศาลรัฐธรรมนูญยังอยู่ระหว่างการวินิจฉัย ก็จะเป็นประวั้ติศาสตร์การเมืองที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนว่า รัฐบาลได้ผลักภาระการวินิจฉัยความถูกต้องสมควรแก่การลงพระประมาภิไธย ให้อยู่ในพระราชวินิจฉัยขององค์พระประมุข
แม้นว่าความขัดแย้งดังกล่าวจะมีทางออกอันน้อยนิดคงเหลืออยู่นั่นคือการที่ สส. และ สว. จะลงชื่อเสนอประธานรัฐสภาให้นำเรื่องส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความไม่ถูกไม่ควรที่เกิดขึ้นในการประชุมรัฐสภาที่ผ่านมา และหากประธานรัฐสภาพิจารณาเห็นควรนำเสนอศาลรัฐธรรมนูญก็สามารถแจ้งนายกรัฐมนตรีชลอการทูลเกล้าไว้ได้
แม้นว่าความขัดแย้งดังกล่าวจะมีทางออกอันน้อยนิดคงเหลืออยู่นั่นคือการที่ สส. และ สว. จะลงชื่อเสนอประธานรัฐสภาให้นำเรื่องส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความไม่ถูกไม่ควรที่เกิดขึ้นในการประชุมรัฐสภาที่ผ่านมา และหากประธานรัฐสภาพิจารณาเห็นควรนำเสนอศาลรัฐธรรมนูญก็สามารถแจ้งนายกรัฐมนตรีชลอการทูลเกล้าไว้ได้
แต่เราท่านทั้งหลายล้วนเชื่อว่า ในอำนาจหลักทั้งสามของระบอบประชาธิปไตยนั้น สองอำนาจคือฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ล้วนแต่อยู่ในการสั่งการ บัญชาการของอดีตนายกฯ จากแดนไกลทั้งสิ้น ดังกล่าวแล้ว และในเมื่อประธานรัฐสภาได้เรียกประชุมเพื่อลงมติวาระ 3 แล้ว นั่นก็คือสัญญาณว่าคงไม่มีสิ่งใดมายับยั้งกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนี้ให้ชลอไว้ได้และเมื่อนั้น วาทะกรรมที่เคยกล่าวถึงเรื่อง ความไม่จงรักภักดี และผู้มีอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ จะกลับมาสร้างความขัดแย้งรุนแรงแก่ชาติบ้านเมืองอีกหรือไม่ ขึ้นอยู่กับหนึ่งสมองและสองมือของอดีตนายกรัฐมนตรีผู้กุมความขัดแย้งและความปรองดองของชาติไว้ว่าจะให้ออกมาในทิศทางใด ขึ้นอยู่กับเขาเท่านั้นว่าจะเปิดศึกหรือไม่อย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น