วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556

1 ปีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แก้ปัญหาปากท้องถูกมองว่าล้มเหลว ??เมื่อ 24 ก.ย.56



1 ปีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แก้ปัญหาปากท้องถูกมองว่าล้มเหลว ??
ยังอยู่กับประเด็นใหญ่สำหรับวันนี้ที่จะมีการแถลงผลงานครบ 1 ปีรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ และถือเป็นแสดงผลการดำเนินนโยบายครั้งแรกของรัฐบาลอย่างเป็นทางการ ผ่านที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร  ที่คนไทยทั้งประเทศจะได้ร่วมกันรับฟังและพิจารณาว่ารัฐบาลได้ทำงานคุ้มค่างบประมาณหลายล้านล้านบาทหรือไม่
 
ซึ่งถ้าพิจารณาจากข้ออ้างของ นายธีรัตน์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ว่ารัฐบาลพร้อมจะรายงานผลงานของรัฐบาลในรอบ 1 ปี  ตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน 2555 แล้ว ก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องน่าเสียดายที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร กลับไม่นำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณา ทั้ง ๆ ที่ในรอบ 1 ปี รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ มีนโยบายสำคัญ ๆ หลายด้านที่เกี่ยวข้องกับการใช้งบประมาณ  ซึ่งเป็นเงินภาษีของคนไทยทั้งประเทศและยังขัดต่อเจตนารมย์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 75 กำหนดให้รัฐบาลแสดงต่อผลการบริหารราชแผ่นดินเป็นประจำทุกปี
 
ไม่ว่าข้ออ้างที่นำมาซึ่งสาเหตุของความล่าช้าในการแถลงผลงานครบ 1 ปีรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์จะเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อก็คือ แต่ละนโยบายที่ออกมาได้สร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติได้มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะกับผลงานตามนโยบายจำนำข้าว 2554/55 ที่มีข้อสรุปเบื้องต้นว่า กลับประสบภาวะการขาดทุนอย่างต่ำ 1.37 แสนล้านบาท 
 
เพราะจากการตรวจสอบของเครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย พบว่าในรอบ 1 ปีของการบริหารประเทศ หรือตั้งแต่เดือนก.ย.54 – ต.ค. 55  ครม.ยิ่งลักษณ์มีการประชุมทั้งสิ้น 64 ครั้ง  หรือคิดเป็น 13% ของวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีทั้งหมด พบว่า สัดส่วนที่ครม.อนุมัติมากที่สุดคือ นโยบายด้านการเร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ ที่มีสัดส่วนผลงานถึง 100 % ก็พอจะเห็นภาพในวงกว้างว่า 1 ปี รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ให้ความสำคัญกับนโยบายการสร้างภาพลักษณ์มากที่สุด ขณะที่ปัญหาปากท้องประชาชนคนไทยนับวันกลับจะยิ่งบั่นทอนความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลและตัวผู้นำประเทศมากขึ้น
ส่วนนโยบายเพิ่มรายได้และลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนผ่านโครงการต่างๆ ของ รัฐบาลในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา  ไม่ว่าจะเป็น ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน,โครงการร้านธงฟ้า ราคาประหยัด, โครงการร้านถูกใจ เป็นต้น  ผลสำรวจชี้ว่า 53.3% ระบุว่า เหมือนเดิม ไม่ได้ช่วยอะไรเลย ขณะที่ 27.9% เห็นว่า ช่วยเพิ่มรายได้และหรือลด ค่าใช้จ่าย และ 18.8% เห็นว่า ไม่เพียงไม่ช่วย แต่ชีวิตความเป็นอยู่กลับแย่ลง
 
งไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติมว่าในความรู้สึกของประชาชน เห็นว่าการดำเนินนโยบายในขวบปีแรกของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ตอบโจทย์ความต้องการคนไทยหรือไม่  ในขณะที่ภาวะค่าครองชีพถือเป็นปัญหาหนักหน่วงสำหรับผู้มีรายได้น้อย แม้ว่ารัฐบาลจะเดินหน้าใช้นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท แต่นโยบายผิดพลาด กลับไปผลักดันให้ราคาสินค้าพุ่งสูงขึ้นแซงหน้ารายได้ประชากรเรียบร้อยไปแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น