แฉชัดๆ!!?? ตั้งเกณฑ์ลดสิทธิ์จำนำข้าวหวังล้มจำนำทุกเมล็ด???- "ตัวแทนชาวนา"ฉะไม่จริงใจ
หลังรัฐบาลได้มีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ ด้วยการจำกัดจำเขี่ยข้าวที่เข้าร่วมโครงการฯ แล้วกลับมาล้มโครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ด???
หลังรัฐบาลได้มีการปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์ ด้วยการจำกัดจำเขี่ยข้าวที่เข้าร่วมโครงการฯ แล้วกลับมาล้มโครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ด สะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลจงใจเปลี่ยนหลักเกณฑ์เพื่อพยามหาทางออกให้กับความล้มเหลว และเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ดที่สูงถึงตันละ 1.5 หมื่นบาท หลังจากที่ได้คะแนนเสียงจนได้รับเลือกตั้งมาแล้ว ซึ่งการปรับเกณฑ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อชาวนาที่ปลูกข้าวไปแล้ว แต่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการได้จำนวนมาก
เมื่อวานนี้สำนักข่าวทีนิวส์ได้มีโอกาสได้พูดคุยกับนายประสิทธิ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนา ซึ่งชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลไม่มีความจริงใจกับชาวนาอย่างแท้จริง โดยนายกสมาคมชาวนาระบุว่า ช่วงหาเสียงรัฐบาลได้มีการเรียกตัวแทนชาวนามาพูดคุยถึงการทำโครงการรับจำนำข้าว ที่จะให้ราคาสูงถึงตันละ 1.5 หมื่นบาท แต่เมื่อได้รับการเลือกตั้งเป็นรัฐบาลแล้ว กลับไม่มีการพูดคุยกับชาวนาก่อนจะมีปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์จำกัดพันธุ์ข้าว
นายประสิทธิ ระบุว่า ปัจจุบันมีชาวนาที่ปลูกข้าวซึ่งไม่สามารถนำมาเข้าโครงการรับจำนำข้าวได้ในรอบสองที่เพิ่งประกาศหลักเกณฑ์ใหม่นี้จำนวนมาก โดยที่ภาระต่างๆที่ชาวนาใช้จ่ายในการปลูกข้าวยังไม่มีผู้รับผิดชอบ แม้กระทั้งข้าวที่อายุต่ำกว่า 110 วัน ซึ่งขณะนี้ฝากไว้ที่โรงสี ก็ยังไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรหลังจากนี้
ทั้งนี้ข้าวเหล่านี้ รัฐบาลอ้างว่าเป็นข้าวที่ไม่ได้คุณภาพ แต่ในจำนวนพันธ์ข้าวเหล่านั้นบางพันธ์เป็นข้าวพื้นเมืองของไทย ทำให้มีเกิดข้อสังเกตว่า การที่รัฐบาลตั้งเงื่อนไงกีดกันไม่ให้เข้าพื้นเมืองเข้าโครงการรับจำนำ จะเป็นการกีดกันการพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่มีความเหมาะสมกับบางพื้นที่เพราะสามารถทนโรค ทนต่อสภาพภูมิอากาศตามพื้นที่ที่เหมาะสม การกีดกันพันธ์พื้นเมือง เท่ากับส่งเสริมพันธุ์ข้าวที่มีการพัฒนาพันธุ์ของกลุ่มทุนการเกษตร ซึ่งพันธุ์ข้าวเหล่านี้ มีต้นทุนค่อนข้างสูงเพราะต้องใช้ปุ๋ยและยา หรือสารเคมีจำนวนมาก การดำเนินการอาจเอื้อต่อ ทุนการเกษตรรายใหญ่เป็นต้น
สิ่งที่เกิดขึ้นรัฐบาลกำลังล้มเลิกโครงการรับจำนำทุกเม็ด พยายามกีดกัน จำกัดชาวนาไม่ให้รับประโยชน์จากโครงการ แต่ในส่วนข้าวที่รับจำนำข้าวไปแล้ว ซึ่งการระบายข้าว ซึ่งเป็นถือกลไกสำคัญของระบบการเงินที่ใช้ในการหมุนเวียนโครงการรับจำนำข้าว ยังคงคลุมเครือมาโดยตลอด จนขณะนี้รัฐบาลยังไม่เคยแสดงข้อมูลที่แท้จริงออกมาว่ามีการดำเนินการอย่างไร และที่สำคัญรัฐบาล มีการยืนยันวงเงินที่จะใช้ในโครงการรับจำนำข้าวไว้เพียง 5 แสนล้านบาท ฉะนั้นภาระการหาเงินมาหมุนเวียนในโครงการจึงเป็นหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ที่ต้องขายข้าวเพื่อนำเงินกลับมาหมุนเวียนในโครงการให้ได้ ควบคู่กับ การลดปริมาณข้าวที่จะเข้าโครงการลงควบคู่กันไป
ดังนั้นประเด็นที่ปลัดกระทรวงพาณิชย์เคยโยนหินถามทางไว้เพื่อจะลดวงเงิน 15,000 บาทลงสำหรับข้าวขาวเหลือ 13,000 บาท แต่ภายหลังต้องกลับลำ เพราะกระแสคัดค้านเพียงชั่วข้ามคืน อาจไม่ใช่ประเด็นที่หายไปจากความคิดรัฐบาล เพราะหากมีตั้งเงื่อนไขบีบชาวนาให้ลดจำนวนลงได้แล้ว การลดราคาจำนำลงก็อาจจะเกิดขึ้นอีกครั้ง อยู่ที่ว่า รัฐบาลจะหยิบขึ้นมาใช้เมื่อไรเท่านั้น ...คงต้องจับตาดูกันต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น