ไร้ข้อสรุปBRNต่อรอง5ข้อเสนอ
จบข่าวเจรจาปาหี่ ยังไร้ข้อสรุป ฝ่ายไทยจี้ให้ลดความรุนแรงลง แต่ "บีอาร์เอ็น" ต่อรองให้ทำตามข้อเสนอ 5 ข้อก่อน "ภราดร" อ่อนหัด ถาม "ตอยิบ" คุมได้จริงหรือ ได้รับคำตอบเดิมเป็นตัวจริง ขอดู พ.ค.อีก 1 เดือน นัดถกอีกรอบ 13 มิ.ย. "บิ๊กตู่" โยนรัฐบาลรับผิดชอบ ด้าน ปชป.จวกรัฐบาลเข้าทางกลุ่มแบ่งแยกดินแดน แนะให้ "ฮัสซัน ตอยิบ" แสดงความจริงใจสั่งหยุดยิง 1-2 เดือน หากทำไม่ได้ต้องทบทวนใหม่
เมื่อวันจันทร์ ตัวแทนรัฐบาลไทยกับตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็น หรือขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี ได้เปิดเวทีพูดคุยเพื่อสันติภาพรอบที่ 2 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย แม้ว่ากลุ่มบีอาร์เอ็นจะออกแถลงการณ์เผยแพร่ผ่านทางคลิปยูทูบ โดยยื่นข้อเสนอ 5 ข้อเพื่อเรียกร้องการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
ช่วงเช้า คณะพูดคุยฝ่ายไทยได้ประชุมร่วมกันที่ห้องประชุมในโรงแรมเจดับบลิว แมริออต กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งใช้เป็นที่พัก โดย พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะหัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติภาพฝ่ายไทย เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหม, พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.), พล.อ.สำเร็จ ศรีหร่าย ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม, พล.ต.ท.สฤษฎ์ชัย เอนกเวียง ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล (ผบช.ส.), พล.ต.นักรบ บุญบัวทอง รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 (รอง ผอ.ศปป.5) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.), นายอภินันท์ ซื่อฐานุวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส, นายศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ และนายอาซิส เบ็ญหาวัน ประธานสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ พล.ต.ชรินทร์ อมรแก้ว เสนาธิการกองทัพภาคที่ 4
จากนั้น พล.ท.ภราดรเปิดเผยว่า การพูดคุยในวันนี้ยังคงเน้นประเด็นหลัก คือ การลดเหตุความรุนแรงในพื้นที่ โดยจะให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และจะหยิบยกประเด็นที่แกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็นนำเสนอข้อเสนอ 5 ข้อผ่านทางเว็บไซต์ยูทูบ มาสอบถามด้วยว่ามีเป้าหมายอะไร ยอมรับว่าผู้ที่นำเสนอข้อเสนอดังกล่าวเป็นผู้ที่ไทยได้ร่วมพูดคุยด้วย และการลงข้อความผ่านสังคมออนไลน์เช่นนี้ ไทยต้องขอรับฟังเหตุผล และสอบถามข้อเท็จจริงจากที่ประชุมในวันนี้ก่อน ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะเกิดจากความเห็นต่างในกลุ่มบีอาร์เอ็นด้วยกันเอง
"ไทยจะสะท้อนให้กลุ่มบีอาร์เอ็นทราบ ถึงความไม่พอใจของประชาชนจากข้อเสนอดังกล่าว และจะชี้ให้เห็นว่าอาจเป็นอุปสรรคในการพูดคุยในอนาคต ที่อาจก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน หากเป็นข้อเสนอจากกลุ่มบีอาร์เอ็นจริง ทางไทยก็มีแผนที่จะดำเนินการอยู่แล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ จนกว่าจะได้รับทราบข้อเท็จจริงจากปากกลุ่มบีอาร์เอ็น ดังนั้น เห็นว่าสิ่งที่ดีที่สุดคือ ทั้ง 2 ฝ่ายต้องทำความเข้าใจในข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และพยายามสร้างบรรยากาศในการพูดคุยที่ดีต่อไป"
เลขาธิการ สมช.ระบุว่า สำหรับข้อเสนอด้านการอำนวยความยุติธรรมนั้น เราได้หยิบยกหลักเกณฑ์และข้อมูลต่างๆ มาพิจารณาในวันนี้ด้วย ซึ่งไทยยังคงยึดหลักตามกฎหมาย ส่วนการเลือกตั้งในมาเลเซีย ไม่ว่าใครจะได้เป็นรัฐบาลก็จะไม่ส่งผลให้เกิดการล้มโต๊ะการพูดคุย ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้รับทราบถึงข้อเสนอของกลุ่มบีอาร์เอ็นแล้ว แต่ไม่ได้กำชับอะไรเป็นพิเศษ และยังคงมั่นใจว่า การพูดคุยทำความเข้าใจจะเป็นช่องทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหา
สำหรับการพูดคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็น เริ่มขึ้นในเวลา 11.00 น. โดยฝ่ายมาเลเซียได้ส่งรถมารับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยไปยังสถานที่ที่ใช้พูดคุย ซึ่งไม่มีการเปิดเผย แต่คาดว่าจะเป็นสถานที่เดิมที่ใช้หารือกันครั้งที่ผ่านมา
ภายหลังการพูดคุยเสร็จสิ้น พล.ท.ภราดรได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ว่า การพูดคุยฝ่ายเรามี 9 คน และฝ่ายนั้นนำโดยนายฮัสซัน ตอยิบ โดยเพิ่มกลุ่มกองกำลังเยาวชนมา 1 คน เป็น 7 คน โดยใช้เวลานานพอสมควร ตั้งแต่ 11.00-21.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น ระหว่างการพูดคุยมีความตึงเครียดบ้าง แต่พอการพูดคุยจบลงต่างฝ่ายก็ยิ้มแย้มให้กัน
"การพูดคุยเราได้หยิบยก 5 ข้อที่เขาเสนอผ่านยูทูบ โดยฝ่ายนั้นยอมรับว่าเป็นข้อเสนอของเขาจริง ฝ่ายเราในทางปฏิบัติทำได้เพียงรับทราบ และต้องกลับมาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากข้อเสนอฝ่ายเขาเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย และยังมีความขัดแย้งอยู่ เช่น การให้โอไอซีเข้ามา ซึ่งจะทำให้ลดบทบาทมาเลเซีย ขณะเดียวกันยังเสนอให้มาเลเซียเข้ามาเป็นตัวกลาง เป็นต้น"
พล.ท.ภราดรกล่าวว่า ฝ่ายเราได้สอบถามเรื่องการลดความรุนแรงในพื้นที่ เขาก็ยังยืนว่าเป็นตัวจริง และยืนยันว่าได้สื่อไปยังฝ่ายปฏิบัติการแล้ว แน่นอนว่าจากข้อเรียกร้องอยากให้เราแสดงออกมา เขาพร้อมตอบสนอง โดยเขาระบุว่า ข้อเรียกร้องของเขามาจากประชาชนในพื้นที่ ตรงนี้เราต้องสืบสภาพก่อน ส่วนการลดความรุนแรง เราต้องจับตาดูนับตั้งแต่วันนี้จนถึงการพูดคุยครั้งหน้า โดยมีการนัดหมายพูดคุยครั้งต่อไปในวันที่ 13 มิ.ย. แต่ในพื้นที่ก็ยังต้องระวังโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างไรก็ตามแม้จะมีข้อเรียกร้อง แต่การพูดคุยก็ต้องทำควบคู่กันไป
ขณะที่ น.ส.วาสนา นาน่วม ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์ ได้โพสต์ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า "การพูดคุยระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยกับ BRN นาน 8 ชม. จบลงแล้วเมื่อราว 2 ทุ่ม Hassan Taib BRN ยันต้องการเสนอ 5 ข้อจริง พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาฯ สมช. เผยยันยังไม่รับข้อเสนอ 5 ข้อ แค่รับฟัง ถกเครียดกับ 7 BRN ยังไม่ได้ข้อสรุป แค่รับฟัง เหตุผลของข้อเสนอ 5 ข้อ เผยถาม 'ฮัสซัน ตอยิบ' คุมได้จริงหรือไม่ บอกขอดู พ.ค.ทั้งเดือนไม่คุย นัดอีกที 13 มิ.ย. ทีมรัฐไทยเสนอให้ BRN ลดความรุนแรง แต่ BRN ต่อรองให้ทำตามข้อเสนอ 5 ข้อก่อน ไทยบอกยังรับไม่ได้ ขอกลับไปปรึกษาก่อน ...สรุปวันนี้ยังตกลงอะไรกันไม่ได้ และไทยก็ยังไม่ยอมรับข้อเสนอใดๆ"
ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปก.กปต.) กล่าวถึงกรณีนายฮัสซัน ตอยิบ ตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็นได้ยื่นเงื่อนไข 5 ข้อว่า ตนอ่านแล้ว และคณะตัวแทนเจรจาฝ่ายไทยได้โทรศัพท์คุยกับตน โดยตนถามเขาว่าคิดอย่างไร โดยให้ลองกลับไปคิดดูก่อน แต่หากจะไปทำอะไรต้องมาเข้าที่ ศปก.กปต.ก่อน คณะตัวแทนเจรจาอย่าเพิ่งไปตัดสินใจ โดยตนได้แนะนำไปว่า ควรจะบอกคู่เจรจาว่าลำพังคณะผู้เจรจาฝ่ายไทยยากต่อการตัดสินใจ แต่หากถึงเวลาประชุม ศปก.กปต. ตนมีคำตอบอยู่ในใจแล้วว่าคิดอย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ยูทูบก่อน เหมือนตัวแทนจากบีอาร์เอ็นไม่ให้เกียรติฝ่ายรัฐ ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า แล้วแต่มุมมอง มุมมองหนึ่งอาจมองได้ว่าเขาคิดอย่างนี้จริงๆ เขาอาจคิดว่าเผื่อฟลุกจะได้ อย่าไปมองเรื่องให้เกียรติหรือไม่ให้เกียรติ เดี๋ยวไม่จบ ทั้งนี้ นายกฯ ไม่เคยให้อำนาจคณะตัวแทนเจรจาฝ่ายไทยมีอำนาจตัดสินใจได้ นายกฯ ไม่เคยพูด เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ หากไปพูดคุยแล้วจะต้องมาเข้า ศปก.กปต. แล้วสุดท้ายจะต้องหารือกับเหล่าทัพ เพราะคณะที่มาเลเซียนั้น ศอ.บต.และ สมช.ก็ขึ้นตรงนายกฯ การจะไปตัดสินใจอะไรใหญ่ๆ แบบนี้ไม่มีใครเขาทำ
รองนายกฯ ยืนยันว่า การพูดคุยกับตัวแทนบีอาร์เอ็นจะยังคุยต่อ ไม่เห็นมีอะไรเสีย ถ้ามาถามตนจะบอกให้คุยไป อะไรที่เราเห็นว่าเราจะได้ประโยชน์ถือว่าตกลง ส่วน 5 ข้อนั้นไม่ใช่เงื่อนไข เป็นเพียงข้อเสนอ หากเราคิดอย่างไรก็ต้องมาหารือกัน อย่าทำเรื่องเล็กเป็นเรื่องใหญ่ ส่วนข้อเสนอให้ปล่อยตัวนักโทษคดีความมั่นคง ตนให้นโยบายไปแล้ว หากใครเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมไม่ต้องไปเข้าเว็บไซต์ยูทูบ แต่มาหา ร.ต.อ.เฉลิม เตรียมไว้แล้ว ต้องมาพิจารณากันเป็นเรื่องๆ ไป อยู่ๆ ไปเลิกโดยไม่ตรวจสอบ ไม่ดูหลักกฎหมาย คนยกเลิกก็ติดคุก
เมื่อถามว่า การที่ตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็นระบุในเงื่อนไขว่า ไทยเป็น "นักล่าอาณานิคมสยาม” ตรงนี้ถือเป็นการใช้คำที่รุนแรงหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า มีแต่เราเสียดินแดน จะไปไล่ล่ามาที่ไหน เราเสียทั้งเสียมเรียบ, พระตะบอง, ไทรบุรี เรามีแต่เสีย ใครอ่านเขาก็ไม่เชื่อ
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ให้สัมภาษณ์กรณีแกนนำบีอาร์เอ็นยื่นข้อเสนอ 5 ข้อในการเจรจาว่า ไม่อยากให้มองกันมากนัก เพราะเป็นเรื่องการขับเคลื่อนของแต่ละฝ่ายที่ต้องทำกันไป ตนไม่อยากตอบคำถามเรื่องเหล่านี้ เพราะเป็นเรื่องของคณะทำงานเจรจา และอยู่ในกรอบที่กำหนดไว้ ส่วนตนทำงานในฐานะเป็นรอง ผอ.รมน. การทำงานมีหลายระดับ ทั้งระดับนโยบาย ฝ่ายปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติ หากสื่อมาถามเป็นเรื่องๆ ต่างฝ่ายต่างตอบจะทำให้การแก้ปัญหายากขึ้น
"การแก้ปัญหามีหลายอย่างต้องช่วยกัน ใครจะเสนออะไรก็ได้ ขึ้นอยู่ที่เราจะทำหรือไม่ ขอให้เข้าช่องทางที่ถูกต้อง คณะทำงานที่ไปพูดคุยบอกแล้วว่าจะอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ ส่วนการตัดสินใจเป็นหน้าที่ของรัฐบาล เราในฐานะฝ่ายความมั่นคงมีหน้าที่รักษาพื้นที่ให้ปลอดภัย ซึ่งพยายามทำให้ดีที่สุดแล้วแต่ยังไม่สำเร็จ การพูดคุยอย่างเดียวคงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แต่เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาและท้ายที่สุดอาจจะดีก็ได้"
เมื่อถามว่า ข้อเสนอทั้ง 5 ข้อของบีอาร์เอ็นรับได้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ ย้อนถามว่า รับได้หรือไม่ ถ้าหากรับไม่ได้ก็ไม่ได้ ก็ถือว่าจบ จะเอาอย่างไรต้องนำมาเข้าที่ประชุมในกรอบของรัฐบาล เพราะการทำงานเป็นระบบ คนที่ตัดสินใจคือรัฐบาล โดยมีนายกฯ เป็นหัวหน้า ซึ่งมี ศอ.บต., กอ.รมน.และกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ โดยรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบและตัดสินใจ ไม่ใช่ตน แม้ว่าตนจะสามารถตัดสินใจได้ โดยบอกว่าไม่เห็นด้วย แต่ถ้าส่วนใหญ่เห็นด้วย ตนก็เป็นแค่เสียงหนึ่งเท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งคงไม่ใช่ เพราะทุกอย่างต้องมีความเป็นเอกภาพ สิ่งที่สำคัญคือ ต้องระมัดระวังไม่ให้ใครเข้ามาแทรกแซง เพราะเป็นปัญหาภายในประเทศเรา เพราะคนที่ทำความผิดเป็นคนไทยทั้งนั้น ซึ่งเราไม่ยอมรับสถานะใดๆ ทั้งสิ้น เพราะถือว่าเขาเป็นโจรที่ทำผิดกฎหมาย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนรู้สึกหนักใจ เพราะการแสดงออกของกลุ่มบีอาร์เอ็นจะทำให้รัฐบาลอยู่ในฐานะที่ลำบาก คือ 1.มีการใช้ภาษาเหมือนกับรัฐบาลเป็นฝ่ายที่ทำผิด ซึ่งไม่เหมาะสม ตนไม่เข้าใจว่าทำไมในการลงนามพูดคุย ไม่กำหนดให้ชัดว่าแต่ละฝ่ายต้องปฏิบัติอย่างไร 2.ข้อเรียกร้องที่จะดึงมาเลเซียจากการเป็นผู้อำนวยความสะดวก มาเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย และดึงองค์การระหว่างประเทศมาเป็นคนกลางด้วยนั้น จะทำให้เป็นปัญหาลุกลามมากยิ่งขึ้น 3.จะมีการใช้สถานการณ์ในพื้นที่มาเป็นเครื่องมือกดดันรัฐบาลมากขึ้น ดังนั้น รัฐบาลต้องกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนว่าจะรับมืออย่างไร โดยต้องกำหนดกฎกติกาให้ชัด ไม่ใช่ปล่อยให้กลุ่มบีอาร์เอ็นรุกคืบ เพิ่มข้อเรียกร้องเรื่อยๆ ในขณะที่รัฐบาลปฏิบัติลำบากในแง่เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ และกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนด้วย
"ทุกฝ่ายก็แสดงความห่วงใยและเตือนมาแล้วว่า สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่จะเข้าทางบีอาร์เอ็นที่ใช้วิธีการเดินคู่ขนาน ด้านหนึ่งเจรจาแต่อีกด้านก็จะเคลื่อนไหวในพื้นที่ แต่รัฐบาลยังขาดการกำหนดแนวทางที่รอบคอบและชัดเจนแต่ต้น ทั้งนี้ บีอาร์เอ็นพยายามที่จะยกระดับของปัญหาขึ้นไปสู่เวทีนานาชาติ โดยดำเนินการทั้งกดดันในพื้นที่ หวังให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น ทำให้รัฐบาลไทยปฏิบัติยาก หากตอบโต้แรงก็จะเป็นเหยื่อการยั่วยุ แต่ถ้าไม่ทำอะไรเลยก็กระทบความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งทั้งหมดนำไปสู่การกดดันในเรื่องการเจรจามากขึ้น เพราะหากบีอาร์เอ็นมีความจริงใจจริงก็ต้องคุยภายใน ไม่ใช่ลากคนนอกคนอื่นเข้ามา รัฐบาลต้องตั้งหลักใหม่ ไม่เช่นนั้นปัญหาจะลุกลามบานปลายไปใหญ่" นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายถาวร เสนเนียม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ในรายการเจาะลึกทั่วไทย อินไซด์ไทยแลนด์ ทางสปริงนิวส์ ว่า ตนไม่คัดค้านการพูดคุยกับบีอาร์เอ็น แต่ต้องทำความเข้าใจกับข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ด้วย และรัฐบาลต้องกำชับเจ้าหน้าที่ในการพัฒนาให้เป็นที่พอใจประชาชน การอำนวยความยุติธรรมต้องมีอย่างต่อเนื่อง และต้องหาผู้รับผิดชอบในการพัฒนา ขับเคลื่อนให้เป็นไปตามนโยบายให้ประชาชนอยู่ดีกินดี เพราะขณะนี้มีเพียง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ที่ดูแลเท่านั้น ซึ่งตนก็ชื่นชมที่ ร.ต.อ.เฉลิมได้ลงไปในพื้นที่
"ขณะที่ทุกคนมองว่านายฮัสซัน ตอยิบ แกนนำบีอาร์เอ็น ไม่มีอำนาจสั่งการมายังกองกำลังสำรอง รัฐบาลจึงต้องทบทวนโดยขอให้นายฮัสซัน ตอยิบ แสดงความจริงใจหยุดยิง 1-2 เดือน ใน จ.ยะลา, ปัตตานี, สงขลา จังหวัดละ 1 อำเภอ ว่าสามารถสั่งให้ยุติการโจมตีได้หรือไม่ หากทำไม่ได้ต้องกลับมาทบทวนใหม่ โดยมองภายในให้มากสุดว่าเรามีจุดบกพร่องตรงไหน ซึ่ง พล.ท.สกล ชื่นตระกูล แม่ทัพภาคที่ 4 ก็มองว่าเรื่องนี้เป็นกลลวงของฝ่ายตรงข้าม เพราะเมื่อประชาชนเกิดความหวาดกลัว รัฐบาลเริ่มอ่อนเพลีย ก็จะดึงองค์การระหว่างประเทศเข้ามาเจรจาว่าในพื้นที่ควรปกครองรูปแบบใด" นายถาวรกล่าว
นายสุนัย ผาสุก ที่ปรึกษาองค์กรฮิวแมนไรต์วอตช์ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า เป็นการตรึงจังหวะเสนอเงื่อนไขย้อนเกล็ดฝ่ายไทย ว่าการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธเพื่อให้เกิดสันติภาพ จึงเลือกวันที่ 28 เม.ย. เป็นวันที่จับอาวุธต่อสู้กับรัฐไทย และการที่เลือกนายฮัสซัน ตอยิบ เพราะเป็นคนที่คุยกับรัฐไทยตั้งแต่แรก และคนที่มาเจรจาก็ถูกสันติบาลลากมาทั้งสิ้น เพื่อทำกรอบเจรจาให้กร้าวขึ้น และหาทางลงจากหลังเสือ จึงทำข้อเสนอให้ดูยุ่งยาก ส่วนที่มีการยกบทบาทมาเลเซียนั้น ถือเป็นการตอกลิ่มและเสี้ยมให้ชนกัน เพราะเราไม่ไว้วางใจมาเลเซียแต่แรก ขณะที่มาเลเซียก็ค่อนข้างจะระมัดระวังตัว
"ส่วนที่ว่าบีอาร์เอ็นไม่ใช่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนนั้น ถือเป็นการยกระดับของกลุ่มว่าไม่ใช่กลุ่มกระจ้อยร่อย แต่อย่างน้อยเราต้องวางรากฐาน แต่ดูเหมือนคนที่วางรากฐานก็จะถอนรากฐาน อย่างไรก็ตาม เราคงต้องเริ่มตั้งแต่การเริ่มวางกรอบทีโออาร์ใหม่ ที่ลงนามไว้เมื่อเดือน ก.พ.ถือว่าเจ๊งไปเลย และความสนใจมาเลเซียก็มุ่งไปที่การเลือกตั้ง หากชนะก็หืดขึ้นคอ" นายสุนัยกล่าว.
ช่วงเช้า คณะพูดคุยฝ่ายไทยได้ประชุมร่วมกันที่ห้องประชุมในโรงแรมเจดับบลิว แมริออต กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งใช้เป็นที่พัก โดย พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะหัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติภาพฝ่ายไทย เป็นประธานการประชุม พร้อมด้วย พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหม, พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.), พล.อ.สำเร็จ ศรีหร่าย ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม, พล.ต.ท.สฤษฎ์ชัย เอนกเวียง ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล (ผบช.ส.), พล.ต.นักรบ บุญบัวทอง รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 (รอง ผอ.ศปป.5) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.), นายอภินันท์ ซื่อฐานุวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส, นายศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ และนายอาซิส เบ็ญหาวัน ประธานสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ พล.ต.ชรินทร์ อมรแก้ว เสนาธิการกองทัพภาคที่ 4
จากนั้น พล.ท.ภราดรเปิดเผยว่า การพูดคุยในวันนี้ยังคงเน้นประเด็นหลัก คือ การลดเหตุความรุนแรงในพื้นที่ โดยจะให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และจะหยิบยกประเด็นที่แกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็นนำเสนอข้อเสนอ 5 ข้อผ่านทางเว็บไซต์ยูทูบ มาสอบถามด้วยว่ามีเป้าหมายอะไร ยอมรับว่าผู้ที่นำเสนอข้อเสนอดังกล่าวเป็นผู้ที่ไทยได้ร่วมพูดคุยด้วย และการลงข้อความผ่านสังคมออนไลน์เช่นนี้ ไทยต้องขอรับฟังเหตุผล และสอบถามข้อเท็จจริงจากที่ประชุมในวันนี้ก่อน ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะเกิดจากความเห็นต่างในกลุ่มบีอาร์เอ็นด้วยกันเอง
"ไทยจะสะท้อนให้กลุ่มบีอาร์เอ็นทราบ ถึงความไม่พอใจของประชาชนจากข้อเสนอดังกล่าว และจะชี้ให้เห็นว่าอาจเป็นอุปสรรคในการพูดคุยในอนาคต ที่อาจก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน หากเป็นข้อเสนอจากกลุ่มบีอาร์เอ็นจริง ทางไทยก็มีแผนที่จะดำเนินการอยู่แล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ จนกว่าจะได้รับทราบข้อเท็จจริงจากปากกลุ่มบีอาร์เอ็น ดังนั้น เห็นว่าสิ่งที่ดีที่สุดคือ ทั้ง 2 ฝ่ายต้องทำความเข้าใจในข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และพยายามสร้างบรรยากาศในการพูดคุยที่ดีต่อไป"
เลขาธิการ สมช.ระบุว่า สำหรับข้อเสนอด้านการอำนวยความยุติธรรมนั้น เราได้หยิบยกหลักเกณฑ์และข้อมูลต่างๆ มาพิจารณาในวันนี้ด้วย ซึ่งไทยยังคงยึดหลักตามกฎหมาย ส่วนการเลือกตั้งในมาเลเซีย ไม่ว่าใครจะได้เป็นรัฐบาลก็จะไม่ส่งผลให้เกิดการล้มโต๊ะการพูดคุย ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้รับทราบถึงข้อเสนอของกลุ่มบีอาร์เอ็นแล้ว แต่ไม่ได้กำชับอะไรเป็นพิเศษ และยังคงมั่นใจว่า การพูดคุยทำความเข้าใจจะเป็นช่องทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหา
สำหรับการพูดคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็น เริ่มขึ้นในเวลา 11.00 น. โดยฝ่ายมาเลเซียได้ส่งรถมารับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยไปยังสถานที่ที่ใช้พูดคุย ซึ่งไม่มีการเปิดเผย แต่คาดว่าจะเป็นสถานที่เดิมที่ใช้หารือกันครั้งที่ผ่านมา
ภายหลังการพูดคุยเสร็จสิ้น พล.ท.ภราดรได้ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ว่า การพูดคุยฝ่ายเรามี 9 คน และฝ่ายนั้นนำโดยนายฮัสซัน ตอยิบ โดยเพิ่มกลุ่มกองกำลังเยาวชนมา 1 คน เป็น 7 คน โดยใช้เวลานานพอสมควร ตั้งแต่ 11.00-21.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น ระหว่างการพูดคุยมีความตึงเครียดบ้าง แต่พอการพูดคุยจบลงต่างฝ่ายก็ยิ้มแย้มให้กัน
"การพูดคุยเราได้หยิบยก 5 ข้อที่เขาเสนอผ่านยูทูบ โดยฝ่ายนั้นยอมรับว่าเป็นข้อเสนอของเขาจริง ฝ่ายเราในทางปฏิบัติทำได้เพียงรับทราบ และต้องกลับมาหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากข้อเสนอฝ่ายเขาเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย และยังมีความขัดแย้งอยู่ เช่น การให้โอไอซีเข้ามา ซึ่งจะทำให้ลดบทบาทมาเลเซีย ขณะเดียวกันยังเสนอให้มาเลเซียเข้ามาเป็นตัวกลาง เป็นต้น"
พล.ท.ภราดรกล่าวว่า ฝ่ายเราได้สอบถามเรื่องการลดความรุนแรงในพื้นที่ เขาก็ยังยืนว่าเป็นตัวจริง และยืนยันว่าได้สื่อไปยังฝ่ายปฏิบัติการแล้ว แน่นอนว่าจากข้อเรียกร้องอยากให้เราแสดงออกมา เขาพร้อมตอบสนอง โดยเขาระบุว่า ข้อเรียกร้องของเขามาจากประชาชนในพื้นที่ ตรงนี้เราต้องสืบสภาพก่อน ส่วนการลดความรุนแรง เราต้องจับตาดูนับตั้งแต่วันนี้จนถึงการพูดคุยครั้งหน้า โดยมีการนัดหมายพูดคุยครั้งต่อไปในวันที่ 13 มิ.ย. แต่ในพื้นที่ก็ยังต้องระวังโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างไรก็ตามแม้จะมีข้อเรียกร้อง แต่การพูดคุยก็ต้องทำควบคู่กันไป
ขณะที่ น.ส.วาสนา นาน่วม ผู้สื่อข่าวบางกอกโพสต์ ได้โพสต์ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า "การพูดคุยระหว่างตัวแทนรัฐบาลไทยกับ BRN นาน 8 ชม. จบลงแล้วเมื่อราว 2 ทุ่ม Hassan Taib BRN ยันต้องการเสนอ 5 ข้อจริง พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาฯ สมช. เผยยันยังไม่รับข้อเสนอ 5 ข้อ แค่รับฟัง ถกเครียดกับ 7 BRN ยังไม่ได้ข้อสรุป แค่รับฟัง เหตุผลของข้อเสนอ 5 ข้อ เผยถาม 'ฮัสซัน ตอยิบ' คุมได้จริงหรือไม่ บอกขอดู พ.ค.ทั้งเดือนไม่คุย นัดอีกที 13 มิ.ย. ทีมรัฐไทยเสนอให้ BRN ลดความรุนแรง แต่ BRN ต่อรองให้ทำตามข้อเสนอ 5 ข้อก่อน ไทยบอกยังรับไม่ได้ ขอกลับไปปรึกษาก่อน ...สรุปวันนี้ยังตกลงอะไรกันไม่ได้ และไทยก็ยังไม่ยอมรับข้อเสนอใดๆ"
ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปก.กปต.) กล่าวถึงกรณีนายฮัสซัน ตอยิบ ตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็นได้ยื่นเงื่อนไข 5 ข้อว่า ตนอ่านแล้ว และคณะตัวแทนเจรจาฝ่ายไทยได้โทรศัพท์คุยกับตน โดยตนถามเขาว่าคิดอย่างไร โดยให้ลองกลับไปคิดดูก่อน แต่หากจะไปทำอะไรต้องมาเข้าที่ ศปก.กปต.ก่อน คณะตัวแทนเจรจาอย่าเพิ่งไปตัดสินใจ โดยตนได้แนะนำไปว่า ควรจะบอกคู่เจรจาว่าลำพังคณะผู้เจรจาฝ่ายไทยยากต่อการตัดสินใจ แต่หากถึงเวลาประชุม ศปก.กปต. ตนมีคำตอบอยู่ในใจแล้วว่าคิดอย่างไร
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ยูทูบก่อน เหมือนตัวแทนจากบีอาร์เอ็นไม่ให้เกียรติฝ่ายรัฐ ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า แล้วแต่มุมมอง มุมมองหนึ่งอาจมองได้ว่าเขาคิดอย่างนี้จริงๆ เขาอาจคิดว่าเผื่อฟลุกจะได้ อย่าไปมองเรื่องให้เกียรติหรือไม่ให้เกียรติ เดี๋ยวไม่จบ ทั้งนี้ นายกฯ ไม่เคยให้อำนาจคณะตัวแทนเจรจาฝ่ายไทยมีอำนาจตัดสินใจได้ นายกฯ ไม่เคยพูด เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ หากไปพูดคุยแล้วจะต้องมาเข้า ศปก.กปต. แล้วสุดท้ายจะต้องหารือกับเหล่าทัพ เพราะคณะที่มาเลเซียนั้น ศอ.บต.และ สมช.ก็ขึ้นตรงนายกฯ การจะไปตัดสินใจอะไรใหญ่ๆ แบบนี้ไม่มีใครเขาทำ
รองนายกฯ ยืนยันว่า การพูดคุยกับตัวแทนบีอาร์เอ็นจะยังคุยต่อ ไม่เห็นมีอะไรเสีย ถ้ามาถามตนจะบอกให้คุยไป อะไรที่เราเห็นว่าเราจะได้ประโยชน์ถือว่าตกลง ส่วน 5 ข้อนั้นไม่ใช่เงื่อนไข เป็นเพียงข้อเสนอ หากเราคิดอย่างไรก็ต้องมาหารือกัน อย่าทำเรื่องเล็กเป็นเรื่องใหญ่ ส่วนข้อเสนอให้ปล่อยตัวนักโทษคดีความมั่นคง ตนให้นโยบายไปแล้ว หากใครเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมไม่ต้องไปเข้าเว็บไซต์ยูทูบ แต่มาหา ร.ต.อ.เฉลิม เตรียมไว้แล้ว ต้องมาพิจารณากันเป็นเรื่องๆ ไป อยู่ๆ ไปเลิกโดยไม่ตรวจสอบ ไม่ดูหลักกฎหมาย คนยกเลิกก็ติดคุก
เมื่อถามว่า การที่ตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็นระบุในเงื่อนไขว่า ไทยเป็น "นักล่าอาณานิคมสยาม” ตรงนี้ถือเป็นการใช้คำที่รุนแรงหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวว่า มีแต่เราเสียดินแดน จะไปไล่ล่ามาที่ไหน เราเสียทั้งเสียมเรียบ, พระตะบอง, ไทรบุรี เรามีแต่เสีย ใครอ่านเขาก็ไม่เชื่อ
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ให้สัมภาษณ์กรณีแกนนำบีอาร์เอ็นยื่นข้อเสนอ 5 ข้อในการเจรจาว่า ไม่อยากให้มองกันมากนัก เพราะเป็นเรื่องการขับเคลื่อนของแต่ละฝ่ายที่ต้องทำกันไป ตนไม่อยากตอบคำถามเรื่องเหล่านี้ เพราะเป็นเรื่องของคณะทำงานเจรจา และอยู่ในกรอบที่กำหนดไว้ ส่วนตนทำงานในฐานะเป็นรอง ผอ.รมน. การทำงานมีหลายระดับ ทั้งระดับนโยบาย ฝ่ายปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติ หากสื่อมาถามเป็นเรื่องๆ ต่างฝ่ายต่างตอบจะทำให้การแก้ปัญหายากขึ้น
"การแก้ปัญหามีหลายอย่างต้องช่วยกัน ใครจะเสนออะไรก็ได้ ขึ้นอยู่ที่เราจะทำหรือไม่ ขอให้เข้าช่องทางที่ถูกต้อง คณะทำงานที่ไปพูดคุยบอกแล้วว่าจะอยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ ส่วนการตัดสินใจเป็นหน้าที่ของรัฐบาล เราในฐานะฝ่ายความมั่นคงมีหน้าที่รักษาพื้นที่ให้ปลอดภัย ซึ่งพยายามทำให้ดีที่สุดแล้วแต่ยังไม่สำเร็จ การพูดคุยอย่างเดียวคงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ แต่เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาและท้ายที่สุดอาจจะดีก็ได้"
เมื่อถามว่า ข้อเสนอทั้ง 5 ข้อของบีอาร์เอ็นรับได้หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ ย้อนถามว่า รับได้หรือไม่ ถ้าหากรับไม่ได้ก็ไม่ได้ ก็ถือว่าจบ จะเอาอย่างไรต้องนำมาเข้าที่ประชุมในกรอบของรัฐบาล เพราะการทำงานเป็นระบบ คนที่ตัดสินใจคือรัฐบาล โดยมีนายกฯ เป็นหัวหน้า ซึ่งมี ศอ.บต., กอ.รมน.และกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ โดยรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบและตัดสินใจ ไม่ใช่ตน แม้ว่าตนจะสามารถตัดสินใจได้ โดยบอกว่าไม่เห็นด้วย แต่ถ้าส่วนใหญ่เห็นด้วย ตนก็เป็นแค่เสียงหนึ่งเท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งคงไม่ใช่ เพราะทุกอย่างต้องมีความเป็นเอกภาพ สิ่งที่สำคัญคือ ต้องระมัดระวังไม่ให้ใครเข้ามาแทรกแซง เพราะเป็นปัญหาภายในประเทศเรา เพราะคนที่ทำความผิดเป็นคนไทยทั้งนั้น ซึ่งเราไม่ยอมรับสถานะใดๆ ทั้งสิ้น เพราะถือว่าเขาเป็นโจรที่ทำผิดกฎหมาย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนรู้สึกหนักใจ เพราะการแสดงออกของกลุ่มบีอาร์เอ็นจะทำให้รัฐบาลอยู่ในฐานะที่ลำบาก คือ 1.มีการใช้ภาษาเหมือนกับรัฐบาลเป็นฝ่ายที่ทำผิด ซึ่งไม่เหมาะสม ตนไม่เข้าใจว่าทำไมในการลงนามพูดคุย ไม่กำหนดให้ชัดว่าแต่ละฝ่ายต้องปฏิบัติอย่างไร 2.ข้อเรียกร้องที่จะดึงมาเลเซียจากการเป็นผู้อำนวยความสะดวก มาเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย และดึงองค์การระหว่างประเทศมาเป็นคนกลางด้วยนั้น จะทำให้เป็นปัญหาลุกลามมากยิ่งขึ้น 3.จะมีการใช้สถานการณ์ในพื้นที่มาเป็นเครื่องมือกดดันรัฐบาลมากขึ้น ดังนั้น รัฐบาลต้องกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนว่าจะรับมืออย่างไร โดยต้องกำหนดกฎกติกาให้ชัด ไม่ใช่ปล่อยให้กลุ่มบีอาร์เอ็นรุกคืบ เพิ่มข้อเรียกร้องเรื่อยๆ ในขณะที่รัฐบาลปฏิบัติลำบากในแง่เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ และกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนด้วย
"ทุกฝ่ายก็แสดงความห่วงใยและเตือนมาแล้วว่า สิ่งที่รัฐบาลกำลังทำอยู่จะเข้าทางบีอาร์เอ็นที่ใช้วิธีการเดินคู่ขนาน ด้านหนึ่งเจรจาแต่อีกด้านก็จะเคลื่อนไหวในพื้นที่ แต่รัฐบาลยังขาดการกำหนดแนวทางที่รอบคอบและชัดเจนแต่ต้น ทั้งนี้ บีอาร์เอ็นพยายามที่จะยกระดับของปัญหาขึ้นไปสู่เวทีนานาชาติ โดยดำเนินการทั้งกดดันในพื้นที่ หวังให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น ทำให้รัฐบาลไทยปฏิบัติยาก หากตอบโต้แรงก็จะเป็นเหยื่อการยั่วยุ แต่ถ้าไม่ทำอะไรเลยก็กระทบความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งทั้งหมดนำไปสู่การกดดันในเรื่องการเจรจามากขึ้น เพราะหากบีอาร์เอ็นมีความจริงใจจริงก็ต้องคุยภายใน ไม่ใช่ลากคนนอกคนอื่นเข้ามา รัฐบาลต้องตั้งหลักใหม่ ไม่เช่นนั้นปัญหาจะลุกลามบานปลายไปใหญ่" นายอภิสิทธิ์กล่าว
นายถาวร เสนเนียม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ในรายการเจาะลึกทั่วไทย อินไซด์ไทยแลนด์ ทางสปริงนิวส์ ว่า ตนไม่คัดค้านการพูดคุยกับบีอาร์เอ็น แต่ต้องทำความเข้าใจกับข้าราชการที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ด้วย และรัฐบาลต้องกำชับเจ้าหน้าที่ในการพัฒนาให้เป็นที่พอใจประชาชน การอำนวยความยุติธรรมต้องมีอย่างต่อเนื่อง และต้องหาผู้รับผิดชอบในการพัฒนา ขับเคลื่อนให้เป็นไปตามนโยบายให้ประชาชนอยู่ดีกินดี เพราะขณะนี้มีเพียง ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ที่ดูแลเท่านั้น ซึ่งตนก็ชื่นชมที่ ร.ต.อ.เฉลิมได้ลงไปในพื้นที่
"ขณะที่ทุกคนมองว่านายฮัสซัน ตอยิบ แกนนำบีอาร์เอ็น ไม่มีอำนาจสั่งการมายังกองกำลังสำรอง รัฐบาลจึงต้องทบทวนโดยขอให้นายฮัสซัน ตอยิบ แสดงความจริงใจหยุดยิง 1-2 เดือน ใน จ.ยะลา, ปัตตานี, สงขลา จังหวัดละ 1 อำเภอ ว่าสามารถสั่งให้ยุติการโจมตีได้หรือไม่ หากทำไม่ได้ต้องกลับมาทบทวนใหม่ โดยมองภายในให้มากสุดว่าเรามีจุดบกพร่องตรงไหน ซึ่ง พล.ท.สกล ชื่นตระกูล แม่ทัพภาคที่ 4 ก็มองว่าเรื่องนี้เป็นกลลวงของฝ่ายตรงข้าม เพราะเมื่อประชาชนเกิดความหวาดกลัว รัฐบาลเริ่มอ่อนเพลีย ก็จะดึงองค์การระหว่างประเทศเข้ามาเจรจาว่าในพื้นที่ควรปกครองรูปแบบใด" นายถาวรกล่าว
นายสุนัย ผาสุก ที่ปรึกษาองค์กรฮิวแมนไรต์วอตช์ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า เป็นการตรึงจังหวะเสนอเงื่อนไขย้อนเกล็ดฝ่ายไทย ว่าการต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธเพื่อให้เกิดสันติภาพ จึงเลือกวันที่ 28 เม.ย. เป็นวันที่จับอาวุธต่อสู้กับรัฐไทย และการที่เลือกนายฮัสซัน ตอยิบ เพราะเป็นคนที่คุยกับรัฐไทยตั้งแต่แรก และคนที่มาเจรจาก็ถูกสันติบาลลากมาทั้งสิ้น เพื่อทำกรอบเจรจาให้กร้าวขึ้น และหาทางลงจากหลังเสือ จึงทำข้อเสนอให้ดูยุ่งยาก ส่วนที่มีการยกบทบาทมาเลเซียนั้น ถือเป็นการตอกลิ่มและเสี้ยมให้ชนกัน เพราะเราไม่ไว้วางใจมาเลเซียแต่แรก ขณะที่มาเลเซียก็ค่อนข้างจะระมัดระวังตัว
"ส่วนที่ว่าบีอาร์เอ็นไม่ใช่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนนั้น ถือเป็นการยกระดับของกลุ่มว่าไม่ใช่กลุ่มกระจ้อยร่อย แต่อย่างน้อยเราต้องวางรากฐาน แต่ดูเหมือนคนที่วางรากฐานก็จะถอนรากฐาน อย่างไรก็ตาม เราคงต้องเริ่มตั้งแต่การเริ่มวางกรอบทีโออาร์ใหม่ ที่ลงนามไว้เมื่อเดือน ก.พ.ถือว่าเจ๊งไปเลย และความสนใจมาเลเซียก็มุ่งไปที่การเลือกตั้ง หากชนะก็หืดขึ้นคอ" นายสุนัยกล่าว.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น