พ.ร.บ.มั่นคงเอา(ม็อบ)อยู่จริงหรือ
พ.ร.บ.มั่นคงเอา(ม็อบ)อยู่จริงหรือ : บทบรรณาธิการประจำวันที่ 25 พ.ย.2555
ในที่สุดคณะรัฐมนตรีย่อยภายใต้ความรับผิดชอบของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอีก 8 คน มีมติให้ประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงเป็นเวลา 9 วัน ตั้งแต่วันที่ 22-30 พฤศจิกายน ในพื้นที่ 3 เขตของ กทม. ได้แก่ เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย และเขตดุสิต เพื่อดูแลความสงบในการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม ที่นัดหมายกันบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้าในวันที่ 24 พฤศจิกายน ตามข้อเสนอของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และสภาความมั่นคงแห่งชาติ ด้วยกำลังพลเจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 100 กองร้อย หรือประมาณ 1.5 หมื่นนาย
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงออกอากาศโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เน้นย้ำรัฐบาลยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การชุมนุมต้องเป็นไปอย่างสงบ สันติ ปราศจากอาวุธ และอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย พร้อมยกรายงานหน่วยงานความมั่นคงว่า การชุมนุมครั้งนี้ต้องการจะล้มล้างรัฐบาล โดยจะใช้ความรุนแรง บุกรุกสถานที่สำคัญ และสร้างความวุ่นวายกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ที่เป็นปกติของสาธารณชน เนื่องจากกลไกการรักษาความสงบเรียบร้อยของเจ้าหน้าที่ตามปกติไม่สามารถรองรับได้ จึงเป็นที่มาของการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง
เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายถึงการตื่นตัวของรัฐบาลในการนำ พ.ร.บ.ความมั่นคงมาใช้ ซึ่งปกติจะมีการประกาศก็เมื่อเกิดสถานการณ์ความรุนแรงแล้ว ไม่เช่นนั้นจะกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ และจากการประเมินผู้เข้าชุมนุมครั้งนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงวัย จึงไม่น่าจะมีความรุนแรงอะไร เพราะทุกฝ่ายได้เรียนรู้จากสถานการณ์ความรุนแรงช่วง 2 ปีให้หลังมา ทำให้ประเทศย่ำแย่มากน้อยแค่ไหน แต่ท่าทีของรัฐบาลที่แสดงออกมา พยายามประโคมข่าวป้ายสีกลุ่มผู้ชุมนุม ทั้งเรื่องมือที่สาม การซ่องสุมอาวุธสงคราม มีแดงเทียมป่วน การจับตัวผู้นำประเทศ จนนำไปสู่การสกัดกั้นผู้ร่วมชุมนุม โดยพยายามเปิดฉากใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมกลุ่มแรกในช่วงเช้าตรู่ ด้วยการใช้แก๊สน้ำตา จนนำไปสู่การปะทะ มีผู้บาดเจ็บทั้ง 2 ฝ่าย โดยละเลยขั้นตอนปฏิบัติ ทั้งเรื่องการเจรจาต่อรอง การใช้น้ำฉีด ซึ่งการกระทำที่เกินกว่าเหตุนี้เสมือนมีการตระเตรียมกันล่วงหน้า เพื่อหยุดยั้งการชุมนุมอย่างชัดเจน
ไม่ว่าม็อบแช่แข็งประเทศไทยจะมาจำนวน 5 หมื่นคน ตามที่มีการคาดการณ์กันไว้ หรือจะมามากกว่านั้น และถึงแม้จะมาน้อยก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เมื่อมีการประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคง ไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลจะจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นหรือการชุมนุม เพราะถือเป็นสิทธิอันชอบธรรมภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่หน่วยงานของรัฐต้องดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของทุกฝ่าย ไม่ใช่บิดเบือนกฎหมาย เปิดฉากยั่วยุสร้างสถานการณ์ความรุนแรงขึ้นมาเอง แล้วโยนบาปให้ผู้ชุมนุม เพราะแม้ม็อบองค์การพิทักษ์สยามจะถูกสลายลงไป แต่ก็ยังมีกลุ่มอื่นที่ไม่พอใจรัฐบาลยังอยู่ และพร้อมจะผุดการชุมนุมขึ้นมาเมื่อสบโอกาส
ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงออกอากาศโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เน้นย้ำรัฐบาลยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การชุมนุมต้องเป็นไปอย่างสงบ สันติ ปราศจากอาวุธ และอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย พร้อมยกรายงานหน่วยงานความมั่นคงว่า การชุมนุมครั้งนี้ต้องการจะล้มล้างรัฐบาล โดยจะใช้ความรุนแรง บุกรุกสถานที่สำคัญ และสร้างความวุ่นวายกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ที่เป็นปกติของสาธารณชน เนื่องจากกลไกการรักษาความสงบเรียบร้อยของเจ้าหน้าที่ตามปกติไม่สามารถรองรับได้ จึงเป็นที่มาของการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง
เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายถึงการตื่นตัวของรัฐบาลในการนำ พ.ร.บ.ความมั่นคงมาใช้ ซึ่งปกติจะมีการประกาศก็เมื่อเกิดสถานการณ์ความรุนแรงแล้ว ไม่เช่นนั้นจะกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ และจากการประเมินผู้เข้าชุมนุมครั้งนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงวัย จึงไม่น่าจะมีความรุนแรงอะไร เพราะทุกฝ่ายได้เรียนรู้จากสถานการณ์ความรุนแรงช่วง 2 ปีให้หลังมา ทำให้ประเทศย่ำแย่มากน้อยแค่ไหน แต่ท่าทีของรัฐบาลที่แสดงออกมา พยายามประโคมข่าวป้ายสีกลุ่มผู้ชุมนุม ทั้งเรื่องมือที่สาม การซ่องสุมอาวุธสงคราม มีแดงเทียมป่วน การจับตัวผู้นำประเทศ จนนำไปสู่การสกัดกั้นผู้ร่วมชุมนุม โดยพยายามเปิดฉากใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุมกลุ่มแรกในช่วงเช้าตรู่ ด้วยการใช้แก๊สน้ำตา จนนำไปสู่การปะทะ มีผู้บาดเจ็บทั้ง 2 ฝ่าย โดยละเลยขั้นตอนปฏิบัติ ทั้งเรื่องการเจรจาต่อรอง การใช้น้ำฉีด ซึ่งการกระทำที่เกินกว่าเหตุนี้เสมือนมีการตระเตรียมกันล่วงหน้า เพื่อหยุดยั้งการชุมนุมอย่างชัดเจน
ไม่ว่าม็อบแช่แข็งประเทศไทยจะมาจำนวน 5 หมื่นคน ตามที่มีการคาดการณ์กันไว้ หรือจะมามากกว่านั้น และถึงแม้จะมาน้อยก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เมื่อมีการประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคง ไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลจะจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นหรือการชุมนุม เพราะถือเป็นสิทธิอันชอบธรรมภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่หน่วยงานของรัฐต้องดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของทุกฝ่าย ไม่ใช่บิดเบือนกฎหมาย เปิดฉากยั่วยุสร้างสถานการณ์ความรุนแรงขึ้นมาเอง แล้วโยนบาปให้ผู้ชุมนุม เพราะแม้ม็อบองค์การพิทักษ์สยามจะถูกสลายลงไป แต่ก็ยังมีกลุ่มอื่นที่ไม่พอใจรัฐบาลยังอยู่ และพร้อมจะผุดการชุมนุมขึ้นมาเมื่อสบโอกาส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น