พิทยา ว่องกุล
จินตนาการของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ รัฐตำรวจ และนักการเมืองพรรคเพื่อไทยที่เกรงกลัวการชุมนุมของประชาชน ภายใต้การนำขององค์การพิทักษ์สยาม ซึ่งคาดว่าจะมีผู้มาร่วมชุมนุมราว 5 แสนคน ท่ามกลางการขานรับและเคลื่อนไหวของประชาชนอย่างคึกคัก แม้แต่ในอีสานบางจังหวัดที่เป็นพื้นที่ของคนเสื้อแดง ก็ยังมีประชาชนบางส่วนที่จงรักภักดีพากันขยับตัว นี่เป็นเหตุนำไปสู่ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีสลายกำลัง หรือขัดขวางมิให้ประชาชนรวมตัวกันตามนัดหมาย ในวันที่ 24 พฤศจิกายนนี้ ณ ลานพระรูปทรงม้า อย่างครึกโครม
ทำไมรัฐบาลและฝ่ายตำรวจถึงตื่นตระหนกจนร่างระริก? ปัญหานี้จึงเป็นเป้าหมายที่จะต้องวิเคราะห์ให้ออก เพราะจะอธิบายให้เห็นชัดเจนว่า การที่ฝ่ายรัฐบาลประกาศระดมตำรวจทั่วประเทศราว 38,550 คน หรือ 1 กองพล เพื่อรับมือกับม็อบนั้น เป็นการแสดงพลังครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ตำรวจไทยอย่างน่าชื่นชม เพื่อใช้กับประชาชน 2 มือเปล่า อย่างไม่มีครั้งใดเคยกระทำมาก่อน และมีคำถามตามมาว่า รัฐบาลเตรียมรับมือกับม็อบ หรือขัดขวางการชุมนุมของประชาชนกันแน่ หลายฝ่ายสงสัยว่า การระดมตำรวจมากมายครั้งนี้เป็นการคุกคามและขัดขวางสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการชุมนุม และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้กระทำการละเมิดรัฐธรรมนูญ
มาตรา 63 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
ประเด็นแรกที่เป็นจุดเริ่มต้นการละเมิดรัฐธรรมนูญ สิ่งนั้นก็คือ การนัดชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามยังไม่ได้ก่อให้เกิด “สถานการณ์ฉุกเฉิน” อะไรเลย หากแต่เป็นจินตภาพของรัฐบาลที่คิดเอง กลัวเอง จึงประกาศกฎหมายความมั่นคงภายใน ขณะที่สถานการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง แต่กลับเป็นยุทธวิธีใช้กฎหมายความมั่นคงเพื่อขัดขวางการเข้าร่วมชุมนุม และแสดงแสนยานุภาพคุกคามผู้เข้าร่วมชุมนุมใช่หรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลต้องตอบให้ชัดเจน รวมไปถึงปัญหาที่ไม่มีสถานการณ์ฉุกเฉินใดๆ เกิดขึ้น ฝ่ายผู้ชุมนุมไม่มีอาวุธเช่นกรณีกลุ่มคนเสื้อแดงเผาเมือง และขนอุปกรณ์ก่อการร้ายไปกระทำการจริงๆ มีตำรวจตั้งด่านตรวจค้นอย่างละเอียดมาระหว่างเดินทางที่แสดงว่าสถานการณ์ฉุกเฉินจริง สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงแค่มีปัญหากระทบกระทั่งเล็กน้อย เมื่อตำรวจกีดขวางมิให้ประชาชนเข้าพื้นที่นัดหมาย ซึ่งปกติแล้วเป็นปัญหาเล็กน้อย เมื่อเจรจากันแล้วตำรวจก็เปิดทางให้ตามขนบการชุมนุมประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม เมื่อความขัดแย้งเกิดขึ้น ในที่สุดฝ่ายประชาชนได้เลิกไปก่อน สถานการณ์ฉุกเฉินจึงมิเกิดขึ้น รัฐบาลจะอธิบายปัญหานี้อย่างไร ถ้าประชาชนวิจารณ์ว่าเป็นการใช้ยุทธวิธีอิงกฎหมายเพื่อขัดขวางสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ
คณะรัฐมนตรีจะรับผิดชอบต่อการประกาศใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ที่ไม่มีเหตุเกิดขึ้นจริง และมีลักษณะปั้นน้ำเป็นตัวขึ้นเองอย่างไร? รวมถึงทำไมจึงใช้ พ.ร.บ.นี้ เป็นเหตุเพื่อนำไปสู่ผลในการขัดขวางหรือปฏิบัติการในเชิงยับยั้งสิทธิการชุมนุมของประชาชนที่ถูกต้องตามกฎหมาย
อย่าอ้างว่าตำรวจได้รับแจ้งข่าวจากตำรวจภูธรภาค 5 มีการขนอาวุธจากภาคเหนือเข้า กทม. ประสานทุกหน่วยสังกัด หวั่นจะนำมาก่อเหตุ ซึ่งหลักการของคนที่ไม่ปัญญาอ่อน จะรู้ว่าการชุมนุมคนมากๆ และมีตำรวจรายล้อมเป็นกองพล หากมีการก่อเหตุร้ายใดๆ ขึ้น ผู้รับกรรมแสนสาหัสจะเป็นประชาชนมือเปล่าที่ชุมนุมอยู่ ชีวิตจะเผชิญชะตากรรมย่อยยับทันที ปัญหานี้ ผู้นำการชุมนุมรู้ซึ้งเป็นอย่างดี จึงพยายามหลีกเลี่ยงมิให้มีการใช้ความรุนแรงใดๆ ภายใต้สถานการณ์ที่โอบล้อมด้วยกำลังอาวุธของรัฐ โดยเฉพาะก่อนหน้านี้ ทางฝ่ายรัฐบาลก็ปล่อยข่าวมือที่สามจะสร้างสถานการณ์ความรุนแรงขึ้น และมักจะเป็นเช่นนี้เสมอในประเทศที่ความขัดแย้งทางการเมืองที่อาจนำไปสู่การสูญเสียอำนาจ ทำให้รัฐบาลบางประเทศสร้างสถานการณ์ขึ้นมาเอง เพื่อเป็นข้ออ้างในการปราบปรามประชาชน
เมื่อข่าวนี้ออกมาจากการแถลงของโฆษก ศอ.รส.แล้ว ผลที่เกิดขึ้นทำให้ประชาชนกังขาต่อ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานองค์การพิทักษ์สยาม ซึ่งไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้านี้ได้ขึ้นเวทียืนยันว่าจะต่อสู้ต่อไป แม้ทราบข่าวว่าประชาชนที่ชุมนุมบริเวณสะพานมัฆวานฯ โดนแก๊สน้ำตา และได้รับบาดเจ็บกันแล้ว อีกทั้งการเดินทางเข้ามาร่วมชุมนุมถูกสกัดกั้นอย่างหนักจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ จนไม่อาจเข้ามาร่วมชุมนุมตามเวลาที่นัดไว้ นายทหารระดับเสนาธิการหรือจะวิเคราะห์ไม่ออก มันมีลางอะไรบ่งบอกและชี้สถานการณ์ให้ตัดสินขั้นประกาศเลิกการชุมนุมขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งเป็นโคลนนิงนักโทษชาย ทักษิณ ชินวัตร โดยให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า
“ผมเห็นว่าสู้ต่อไปคงไม่เกิดประโยชน์ เพราะตำรวจพยายามขัดขวาง และทางเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงไม่ทำตามข้อตกลงที่ทำกันไว้... หากให้ประชาชนชุมนุมต่อไปในค่ำคืนนี้ ก็อาจจะมีการเสียชีวิตได้ จึงไม่อยากเห็นภาพดังกล่าว...”
“ผมประกาศต่อหน้าชาวบ้าน พล.อ.บุญเลิศได้ตายไปแล้ว ผมจะไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง และไม่ได้ส่งไม้ต่อให้กับใคร ผมขอโทษที่ทำให้ทุกคนลำบาก โดยวันนี้ผมยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ไม่ได้แพ้เพราะยุทธวิธีไม่ดี แต่แพ้เพราะความชั่วร้ายของรัฐบาล...” แกนนำ อพส.กล่าวถึงนัยความพ่ายแพ้ และยอมรับอย่างชายชาติทหาร ท่ามกลางความไม่พอใจของประชาชนบางคน (ไทยโพสต์, 25 พ.ย.55)
นัยที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว แต่ผู้ร่วมชุมนุมไม่เข้าใจถ้อยคำสื่อสาร คือในการศึกใดๆ แม่ทัพต้องรับผิดชอบชีวิตพลทหาร ผู้นำมวลชนต้องรับผิดชอบต่อชีวิตประชาชน ไม่ใช่เป็นเช่นแกนนำคนเสื้อแดงที่ปลุกระดมให้มวลชนลุกขึ้นเผาบ้านเผาเมือง และไปตายเพื่อวัตถุประสงค์ของตัวเอง พล.อ.บุญเลิศเป็นผู้นำประเภทแรกๆ ดังที่กล่าวมานี้ จิตสำนึกเป็นตัววัดค่าผู้นำมากกว่าความพ่ายแพ้ เสธ.อ้ายไม่ได้พ่ายแพ้
ในมุมมองด้านการทหาร ประสบการณ์ที่ผ่านสนามรบและสนามปฏิวัติ คงช่วยให้ พล.อ.บุญเลิศเห็นว่า การเคลื่อนไหวทางการเมืองตามหลักประชาธิปไตยด้วยความสงบ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งมีฐานะเป็นฝ่ายกระทำ เล่นเกมแข็งกร้าวและรุนแรง และดูเสมือนว่าจะเล่นเกมรุนแรงขึ้น เมื่อประชาชนสามารถฝ่าเข้ามาประชุมได้เพิ่มมากขึ้น และประชาชนจะต้องเสี่ยงเผชิญหน้าอย่างรุนแรงกับกองพลตำรวจไทย ดังจะเห็นได้จาก
เวลา 09.32 น. ตำรวจตัดสินใจประกาศแจ้งเตือน จากนั้นได้ขว้างแก๊สน้ำตาขึ้นไปบนรถแกนนำของ อพส. รวมถึงขว้างใส่ผู้ชุมนุม ทำให้เกิดเหตุวุ่นวาย เสธ.อ้ายเรียกแกนนำ อพส.ประชุมด่วน หารือบนรถบัสหลังเกิดเหตุชุลมุนที่สะพานมัฆวานฯ ประเมินสถานการณ์...
13.53 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจยิงแก๊สน้ำตารอบที่ 2 ใส่กลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณสะพานมัฆวานฯ เสียงระเบิดดังสนั่น ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มยิงหนังสติ๊กและปาขวดใส่เจ้าหน้าที่
14.05 น. กลุ่มผู้ชุมนุมพยายามเปิดทางเข้าบริเวณแยกมิสกวัน และแยกสะพานมัฆวานฯ เจ้าหน้าที่ต้องใช้แก๊สน้ำตาระงับเหตุ และประกาศห้ามผู้ชุมนุมเข้าไปในสถานที่สำคัญ
15.15 น. สถานการณ์บริเวณแยกสะพานมัฆวานฯ เริ่มตึงเครียดอีกครั้ง หลังจากที่รถปราศรัยของผู้ชุมนุมเข้ามาใกล้แนวกั้นของตำรวจ เจ้าหน้าที่เคาะโล่เตือน ประกาศเตือนห้ามเข้ามา เพราะอาจเกิดมาตรการใช้แก๊สน้ำตาอีกครั้ง (ตัดตอนลำดับความรุนแรงจากข่าวไทยโพสต์, อ้างแล้ว)
ความถี่ของเหตุการณ์ที่ตกเป็นฝ่ายถูกกระทำของประชาชน บ่งบอกว่าผลต่อเนื่องที่จะตามมาคืออะไร? จะมีใครวางเกมอะไรตามมาหรือไม่ ต้องไปถามไอ้ปื๊ดของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีดู
แต่อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมของตำรวจบ่งถึงเจตนาเป็นอย่างดี ว่ามาดูแลความสงบเรียบร้อยหรือกระทำอย่างอื่น เพราะตามกฎการชุมนุม เป็นที่รู้ดีว่าหากประชาชนรวมกันนับแสน จุดนั้นทหาร-ตำรวจไม่สามารถควบคุมฝูงชนได้ ดังนั้นขั้นตอนก่อนรวมตัวเกิน 5 หมื่นถึงแสน จึงเป็นจุดอ่อนที่เปราะบางของขบวนการเคลื่อนไหวประชาชน
ความรุนแรงหรืออะไรๆ จะเกิดขึ้น ก็ตรงจุดเปราะบางนี่แหละ และในทางตรงกันข้าม จุดนี้ก็บ่งบอกถึงเจตนาของรัฐบาลจ้องที่จะละเมิดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญได้เช่นกัน ในบางสถานการณ์ยังเป็นช่องให้รัฐบาลล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ด้วยการใช้อำนาจรัฐปราบปราม
เหลือไว้แต่สัจธรรมที่ว่า ไม่มีการชุมนุมใดไม่เลิกรา และทิ้งบาดแผลความขัดแย้งครั้งสำคัญระหว่างผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ กับความเจ็บแค้นและไม่ไว้วางใจของประชาชนเอาไว้ เมื่อตำรวจกลายเป็นมะเขือเทศ ผลที่จะตามมาคงได้แก่ สังคมใดที่ประชาชนไม่ไว้วางใจตำรวจ สังคมนั้นไม่คำนึงถึงขื่อแป.
ทำไมรัฐบาลและฝ่ายตำรวจถึงตื่นตระหนกจนร่างระริก? ปัญหานี้จึงเป็นเป้าหมายที่จะต้องวิเคราะห์ให้ออก เพราะจะอธิบายให้เห็นชัดเจนว่า การที่ฝ่ายรัฐบาลประกาศระดมตำรวจทั่วประเทศราว 38,550 คน หรือ 1 กองพล เพื่อรับมือกับม็อบนั้น เป็นการแสดงพลังครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ตำรวจไทยอย่างน่าชื่นชม เพื่อใช้กับประชาชน 2 มือเปล่า อย่างไม่มีครั้งใดเคยกระทำมาก่อน และมีคำถามตามมาว่า รัฐบาลเตรียมรับมือกับม็อบ หรือขัดขวางการชุมนุมของประชาชนกันแน่ หลายฝ่ายสงสัยว่า การระดมตำรวจมากมายครั้งนี้เป็นการคุกคามและขัดขวางสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการชุมนุม และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้กระทำการละเมิดรัฐธรรมนูญ
มาตรา 63 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก
ประเด็นแรกที่เป็นจุดเริ่มต้นการละเมิดรัฐธรรมนูญ สิ่งนั้นก็คือ การนัดชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยามยังไม่ได้ก่อให้เกิด “สถานการณ์ฉุกเฉิน” อะไรเลย หากแต่เป็นจินตภาพของรัฐบาลที่คิดเอง กลัวเอง จึงประกาศกฎหมายความมั่นคงภายใน ขณะที่สถานการณ์มิได้เกิดขึ้นจริง แต่กลับเป็นยุทธวิธีใช้กฎหมายความมั่นคงเพื่อขัดขวางการเข้าร่วมชุมนุม และแสดงแสนยานุภาพคุกคามผู้เข้าร่วมชุมนุมใช่หรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลต้องตอบให้ชัดเจน รวมไปถึงปัญหาที่ไม่มีสถานการณ์ฉุกเฉินใดๆ เกิดขึ้น ฝ่ายผู้ชุมนุมไม่มีอาวุธเช่นกรณีกลุ่มคนเสื้อแดงเผาเมือง และขนอุปกรณ์ก่อการร้ายไปกระทำการจริงๆ มีตำรวจตั้งด่านตรวจค้นอย่างละเอียดมาระหว่างเดินทางที่แสดงว่าสถานการณ์ฉุกเฉินจริง สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงแค่มีปัญหากระทบกระทั่งเล็กน้อย เมื่อตำรวจกีดขวางมิให้ประชาชนเข้าพื้นที่นัดหมาย ซึ่งปกติแล้วเป็นปัญหาเล็กน้อย เมื่อเจรจากันแล้วตำรวจก็เปิดทางให้ตามขนบการชุมนุมประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม เมื่อความขัดแย้งเกิดขึ้น ในที่สุดฝ่ายประชาชนได้เลิกไปก่อน สถานการณ์ฉุกเฉินจึงมิเกิดขึ้น รัฐบาลจะอธิบายปัญหานี้อย่างไร ถ้าประชาชนวิจารณ์ว่าเป็นการใช้ยุทธวิธีอิงกฎหมายเพื่อขัดขวางสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญ
คณะรัฐมนตรีจะรับผิดชอบต่อการประกาศใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ที่ไม่มีเหตุเกิดขึ้นจริง และมีลักษณะปั้นน้ำเป็นตัวขึ้นเองอย่างไร? รวมถึงทำไมจึงใช้ พ.ร.บ.นี้ เป็นเหตุเพื่อนำไปสู่ผลในการขัดขวางหรือปฏิบัติการในเชิงยับยั้งสิทธิการชุมนุมของประชาชนที่ถูกต้องตามกฎหมาย
อย่าอ้างว่าตำรวจได้รับแจ้งข่าวจากตำรวจภูธรภาค 5 มีการขนอาวุธจากภาคเหนือเข้า กทม. ประสานทุกหน่วยสังกัด หวั่นจะนำมาก่อเหตุ ซึ่งหลักการของคนที่ไม่ปัญญาอ่อน จะรู้ว่าการชุมนุมคนมากๆ และมีตำรวจรายล้อมเป็นกองพล หากมีการก่อเหตุร้ายใดๆ ขึ้น ผู้รับกรรมแสนสาหัสจะเป็นประชาชนมือเปล่าที่ชุมนุมอยู่ ชีวิตจะเผชิญชะตากรรมย่อยยับทันที ปัญหานี้ ผู้นำการชุมนุมรู้ซึ้งเป็นอย่างดี จึงพยายามหลีกเลี่ยงมิให้มีการใช้ความรุนแรงใดๆ ภายใต้สถานการณ์ที่โอบล้อมด้วยกำลังอาวุธของรัฐ โดยเฉพาะก่อนหน้านี้ ทางฝ่ายรัฐบาลก็ปล่อยข่าวมือที่สามจะสร้างสถานการณ์ความรุนแรงขึ้น และมักจะเป็นเช่นนี้เสมอในประเทศที่ความขัดแย้งทางการเมืองที่อาจนำไปสู่การสูญเสียอำนาจ ทำให้รัฐบาลบางประเทศสร้างสถานการณ์ขึ้นมาเอง เพื่อเป็นข้ออ้างในการปราบปรามประชาชน
เมื่อข่าวนี้ออกมาจากการแถลงของโฆษก ศอ.รส.แล้ว ผลที่เกิดขึ้นทำให้ประชาชนกังขาต่อ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานองค์การพิทักษ์สยาม ซึ่งไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้านี้ได้ขึ้นเวทียืนยันว่าจะต่อสู้ต่อไป แม้ทราบข่าวว่าประชาชนที่ชุมนุมบริเวณสะพานมัฆวานฯ โดนแก๊สน้ำตา และได้รับบาดเจ็บกันแล้ว อีกทั้งการเดินทางเข้ามาร่วมชุมนุมถูกสกัดกั้นอย่างหนักจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ จนไม่อาจเข้ามาร่วมชุมนุมตามเวลาที่นัดไว้ นายทหารระดับเสนาธิการหรือจะวิเคราะห์ไม่ออก มันมีลางอะไรบ่งบอกและชี้สถานการณ์ให้ตัดสินขั้นประกาศเลิกการชุมนุมขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งเป็นโคลนนิงนักโทษชาย ทักษิณ ชินวัตร โดยให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า
“ผมเห็นว่าสู้ต่อไปคงไม่เกิดประโยชน์ เพราะตำรวจพยายามขัดขวาง และทางเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงไม่ทำตามข้อตกลงที่ทำกันไว้... หากให้ประชาชนชุมนุมต่อไปในค่ำคืนนี้ ก็อาจจะมีการเสียชีวิตได้ จึงไม่อยากเห็นภาพดังกล่าว...”
“ผมประกาศต่อหน้าชาวบ้าน พล.อ.บุญเลิศได้ตายไปแล้ว ผมจะไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง และไม่ได้ส่งไม้ต่อให้กับใคร ผมขอโทษที่ทำให้ทุกคนลำบาก โดยวันนี้ผมยอมรับความพ่ายแพ้ แต่ไม่ได้แพ้เพราะยุทธวิธีไม่ดี แต่แพ้เพราะความชั่วร้ายของรัฐบาล...” แกนนำ อพส.กล่าวถึงนัยความพ่ายแพ้ และยอมรับอย่างชายชาติทหาร ท่ามกลางความไม่พอใจของประชาชนบางคน (ไทยโพสต์, 25 พ.ย.55)
นัยที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว แต่ผู้ร่วมชุมนุมไม่เข้าใจถ้อยคำสื่อสาร คือในการศึกใดๆ แม่ทัพต้องรับผิดชอบชีวิตพลทหาร ผู้นำมวลชนต้องรับผิดชอบต่อชีวิตประชาชน ไม่ใช่เป็นเช่นแกนนำคนเสื้อแดงที่ปลุกระดมให้มวลชนลุกขึ้นเผาบ้านเผาเมือง และไปตายเพื่อวัตถุประสงค์ของตัวเอง พล.อ.บุญเลิศเป็นผู้นำประเภทแรกๆ ดังที่กล่าวมานี้ จิตสำนึกเป็นตัววัดค่าผู้นำมากกว่าความพ่ายแพ้ เสธ.อ้ายไม่ได้พ่ายแพ้
ในมุมมองด้านการทหาร ประสบการณ์ที่ผ่านสนามรบและสนามปฏิวัติ คงช่วยให้ พล.อ.บุญเลิศเห็นว่า การเคลื่อนไหวทางการเมืองตามหลักประชาธิปไตยด้วยความสงบ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งมีฐานะเป็นฝ่ายกระทำ เล่นเกมแข็งกร้าวและรุนแรง และดูเสมือนว่าจะเล่นเกมรุนแรงขึ้น เมื่อประชาชนสามารถฝ่าเข้ามาประชุมได้เพิ่มมากขึ้น และประชาชนจะต้องเสี่ยงเผชิญหน้าอย่างรุนแรงกับกองพลตำรวจไทย ดังจะเห็นได้จาก
เวลา 09.32 น. ตำรวจตัดสินใจประกาศแจ้งเตือน จากนั้นได้ขว้างแก๊สน้ำตาขึ้นไปบนรถแกนนำของ อพส. รวมถึงขว้างใส่ผู้ชุมนุม ทำให้เกิดเหตุวุ่นวาย เสธ.อ้ายเรียกแกนนำ อพส.ประชุมด่วน หารือบนรถบัสหลังเกิดเหตุชุลมุนที่สะพานมัฆวานฯ ประเมินสถานการณ์...
13.53 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจยิงแก๊สน้ำตารอบที่ 2 ใส่กลุ่มผู้ชุมนุมบริเวณสะพานมัฆวานฯ เสียงระเบิดดังสนั่น ขณะที่กลุ่มผู้ชุมนุมเริ่มยิงหนังสติ๊กและปาขวดใส่เจ้าหน้าที่
14.05 น. กลุ่มผู้ชุมนุมพยายามเปิดทางเข้าบริเวณแยกมิสกวัน และแยกสะพานมัฆวานฯ เจ้าหน้าที่ต้องใช้แก๊สน้ำตาระงับเหตุ และประกาศห้ามผู้ชุมนุมเข้าไปในสถานที่สำคัญ
15.15 น. สถานการณ์บริเวณแยกสะพานมัฆวานฯ เริ่มตึงเครียดอีกครั้ง หลังจากที่รถปราศรัยของผู้ชุมนุมเข้ามาใกล้แนวกั้นของตำรวจ เจ้าหน้าที่เคาะโล่เตือน ประกาศเตือนห้ามเข้ามา เพราะอาจเกิดมาตรการใช้แก๊สน้ำตาอีกครั้ง (ตัดตอนลำดับความรุนแรงจากข่าวไทยโพสต์, อ้างแล้ว)
ความถี่ของเหตุการณ์ที่ตกเป็นฝ่ายถูกกระทำของประชาชน บ่งบอกว่าผลต่อเนื่องที่จะตามมาคืออะไร? จะมีใครวางเกมอะไรตามมาหรือไม่ ต้องไปถามไอ้ปื๊ดของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีดู
แต่อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมของตำรวจบ่งถึงเจตนาเป็นอย่างดี ว่ามาดูแลความสงบเรียบร้อยหรือกระทำอย่างอื่น เพราะตามกฎการชุมนุม เป็นที่รู้ดีว่าหากประชาชนรวมกันนับแสน จุดนั้นทหาร-ตำรวจไม่สามารถควบคุมฝูงชนได้ ดังนั้นขั้นตอนก่อนรวมตัวเกิน 5 หมื่นถึงแสน จึงเป็นจุดอ่อนที่เปราะบางของขบวนการเคลื่อนไหวประชาชน
ความรุนแรงหรืออะไรๆ จะเกิดขึ้น ก็ตรงจุดเปราะบางนี่แหละ และในทางตรงกันข้าม จุดนี้ก็บ่งบอกถึงเจตนาของรัฐบาลจ้องที่จะละเมิดสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนตามรัฐธรรมนูญได้เช่นกัน ในบางสถานการณ์ยังเป็นช่องให้รัฐบาลล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ด้วยการใช้อำนาจรัฐปราบปราม
เหลือไว้แต่สัจธรรมที่ว่า ไม่มีการชุมนุมใดไม่เลิกรา และทิ้งบาดแผลความขัดแย้งครั้งสำคัญระหว่างผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ กับความเจ็บแค้นและไม่ไว้วางใจของประชาชนเอาไว้ เมื่อตำรวจกลายเป็นมะเขือเทศ ผลที่จะตามมาคงได้แก่ สังคมใดที่ประชาชนไม่ไว้วางใจตำรวจ สังคมนั้นไม่คำนึงถึงขื่อแป.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น