เหตุขัดแย้งภายใน'เสธ.อ้าย'พ่าย
เหตุขัดแย้งภายใน คือความปราชัยของ'เสธ.อ้าย'
17.40 น. วันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ขึ้นกล่าวเพียงสั้นๆ บนเวทีว่า "อยากจะกล่าวว่า เสียใจ และพล.อ.บุญเลิศ มันได้ตายไปแล้ว"
ท่ามกลางความสับสนของมวลชนจำนวนมากว่า เหตุใดการชุมนุมของ "องค์การพิทักษ์สยาม" (อพส.) และภาคีเครือข่าย จึงยุติลงอย่างฉับพลันทันที
ว่ากันตรงไปตรงมา ความล้มเหลวในการชุมนุมครั้งนี้ ปัจจัยหลักมาจาก "เหตุภายใน" มากกว่าเหตุปัจจัยภายนอก
ก่อนอื่นต้องส่องกล้องเข้าไปดูภายในขบวนการ "วันพิพากษา ขับไล่รัฐบาลเผด็จการตระกูลชิน" ซึ่งมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ "ทหารแก่" กับ "นักเคลื่อนไหวภาคประชาชน"
จุดเริ่มต้นขององค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) มีแกนนำหลัก 4 คนคือ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการองค์การพิทักษ์สยาม
สมพจน์ ปิยะอุย อดีตเจ้าของ นสพ.ชาวไทย และเป็นนายทุน "ขบวนการ 26 มีนาคม 2520" โดยการนำของ พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ
เมื่อ 35 ปีที่แล้ว "เสธ.อ้าย" เป็นนายทหารยศพันตรี นำกำลังทหารจากกองพลที่ 9 เข้ามายึดอำนาจแต่ไม่สำเร็จ และทั้งคู่โคจรมาพบกันอีกครั้งในนามองค์การพิทักษ์สยาม
นายทหารอีกสองคน คือ พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ อดีตรอง ผบ.ทหารสูงสุด เพื่อนเตรียมทหารรุ่น 1 รุ่นเดียวกับ "เสธ.อ้าย" และ "เสธ.ต๋อย" พล.อ.ณัฐชัย เพิ่มทรัพย์ อดีตหัวหน้าฝ่ายเสนาธิการประจำ ผบ.ทหารสูงสุด เป็นเตรียมทหารรุ่น 6 รุ่นเดียวกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
ผู้ที่จุดประกายให้ "เสธ.อ้าย" จัดตั้งองค์การพิทักษ์สยาม ได้แก่ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสี และ บวร ยสินทร แกนนำเครือข่ายพลเมืองปกป้องสถาบัน
ต่อมา พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา และ "ติ๊งต่าง" กาญจนี วัลยะเสวี แกนนำกลุ่มสยามสามัคคี ได้ประสานให้ "เสธ.อ้าย" เป็นผู้นำจัดการชุมนุมมวลชนในนามองค์การพิทักษ์สยาม
จึงเกิดการชุมนุม "รวมพลคนทนไม่ไหว" ที่สนามม้านางเลิ้ง เมื่อ 28 ตุลาคม 2555
แต่การชุมนุมครั้งแรกก็มีร่องรอยของความขัดแย้ง เมื่อแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ประกาศไม่เข้าร่วมด้วย เพราะมองว่า กลุ่มที่อยู่เบื้องหลังการชุมนุมคือพรรคประชาธิปัตย์
บังเอิญว่า การรวมพลคนทนไม่ไหวมีผู้เข้าร่วมหลายหมื่นคน จึงทำให้แกนนำองค์การพิทักษ์และเครือข่ายที่เข้าร่วมเกิดความคึกคักอย่างมาก
ถนนทุกสายมุ่งสู่สนามม้านางเลิ้ง ต้องพูดอย่างนี้ เพราะบรรดา "นักเคลื่อนไหว" ที่มีชื่อเสียงจากเวทีพันธมิตรโค่นล้มระบอบทักษิณ ปี 2549 ต่างตบเท้าเข้าไปรายงานตัวต่อ "เสธ.อ้าย" กันเป็นทิวแถว
ในที่สุด องค์การพิทักษ์สยาม จึงขยาย "ภาคีเครือข่าย" ออกไปจนทำให้เกิด "วอร์รูม 30 อรหันต์" ที่มีตัวแทนมาจากหลายองค์กร อาทิ สมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย นำโดย สมบูรณ์ ทองบุราณ และไทกร พลสุวรรณ
เครือข่ายช่องทีนิวส์ สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม เจ้าของสำนักนำทีมนักกิจกรรมมวลชน อาสาประสานงานมวลชนต่างจังหวัด และกลุ่มรากหญ้าในเมือง
อีกส่วนหนึ่งมาจากปีกแนวร่วมพันธมิตรเก่า ที่เปิดหน้าให้เห็นคือ พิเชฏฐ พัฒนโชติ อดีต ส.ว.นครราชสีมา กิมอัง พงษ์นารายณ์ แกนนำชาวนาภาคกลาง และสุนทร รักษ์รงค์ อดีตแกนนำพันธมิตร 16 จังหวัดภาคใต้
ท่ามกลางความสับสนของมวลชนจำนวนมากว่า เหตุใดการชุมนุมของ "องค์การพิทักษ์สยาม" (อพส.) และภาคีเครือข่าย จึงยุติลงอย่างฉับพลันทันที
ว่ากันตรงไปตรงมา ความล้มเหลวในการชุมนุมครั้งนี้ ปัจจัยหลักมาจาก "เหตุภายใน" มากกว่าเหตุปัจจัยภายนอก
ก่อนอื่นต้องส่องกล้องเข้าไปดูภายในขบวนการ "วันพิพากษา ขับไล่รัฐบาลเผด็จการตระกูลชิน" ซึ่งมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ "ทหารแก่" กับ "นักเคลื่อนไหวภาคประชาชน"
จุดเริ่มต้นขององค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) มีแกนนำหลัก 4 คนคือ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการองค์การพิทักษ์สยาม
สมพจน์ ปิยะอุย อดีตเจ้าของ นสพ.ชาวไทย และเป็นนายทุน "ขบวนการ 26 มีนาคม 2520" โดยการนำของ พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ
เมื่อ 35 ปีที่แล้ว "เสธ.อ้าย" เป็นนายทหารยศพันตรี นำกำลังทหารจากกองพลที่ 9 เข้ามายึดอำนาจแต่ไม่สำเร็จ และทั้งคู่โคจรมาพบกันอีกครั้งในนามองค์การพิทักษ์สยาม
นายทหารอีกสองคน คือ พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ อดีตรอง ผบ.ทหารสูงสุด เพื่อนเตรียมทหารรุ่น 1 รุ่นเดียวกับ "เสธ.อ้าย" และ "เสธ.ต๋อย" พล.อ.ณัฐชัย เพิ่มทรัพย์ อดีตหัวหน้าฝ่ายเสนาธิการประจำ ผบ.ทหารสูงสุด เป็นเตรียมทหารรุ่น 6 รุ่นเดียวกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ
ผู้ที่จุดประกายให้ "เสธ.อ้าย" จัดตั้งองค์การพิทักษ์สยาม ได้แก่ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มเสื้อหลากสี และ บวร ยสินทร แกนนำเครือข่ายพลเมืองปกป้องสถาบัน
ต่อมา พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ส.ว.สรรหา และ "ติ๊งต่าง" กาญจนี วัลยะเสวี แกนนำกลุ่มสยามสามัคคี ได้ประสานให้ "เสธ.อ้าย" เป็นผู้นำจัดการชุมนุมมวลชนในนามองค์การพิทักษ์สยาม
จึงเกิดการชุมนุม "รวมพลคนทนไม่ไหว" ที่สนามม้านางเลิ้ง เมื่อ 28 ตุลาคม 2555
แต่การชุมนุมครั้งแรกก็มีร่องรอยของความขัดแย้ง เมื่อแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ประกาศไม่เข้าร่วมด้วย เพราะมองว่า กลุ่มที่อยู่เบื้องหลังการชุมนุมคือพรรคประชาธิปัตย์
บังเอิญว่า การรวมพลคนทนไม่ไหวมีผู้เข้าร่วมหลายหมื่นคน จึงทำให้แกนนำองค์การพิทักษ์และเครือข่ายที่เข้าร่วมเกิดความคึกคักอย่างมาก
ถนนทุกสายมุ่งสู่สนามม้านางเลิ้ง ต้องพูดอย่างนี้ เพราะบรรดา "นักเคลื่อนไหว" ที่มีชื่อเสียงจากเวทีพันธมิตรโค่นล้มระบอบทักษิณ ปี 2549 ต่างตบเท้าเข้าไปรายงานตัวต่อ "เสธ.อ้าย" กันเป็นทิวแถว
ในที่สุด องค์การพิทักษ์สยาม จึงขยาย "ภาคีเครือข่าย" ออกไปจนทำให้เกิด "วอร์รูม 30 อรหันต์" ที่มีตัวแทนมาจากหลายองค์กร อาทิ สมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย นำโดย สมบูรณ์ ทองบุราณ และไทกร พลสุวรรณ
เครือข่ายช่องทีนิวส์ สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม เจ้าของสำนักนำทีมนักกิจกรรมมวลชน อาสาประสานงานมวลชนต่างจังหวัด และกลุ่มรากหญ้าในเมือง
อีกส่วนหนึ่งมาจากปีกแนวร่วมพันธมิตรเก่า ที่เปิดหน้าให้เห็นคือ พิเชฏฐ พัฒนโชติ อดีต ส.ว.นครราชสีมา กิมอัง พงษ์นารายณ์ แกนนำชาวนาภาคกลาง และสุนทร รักษ์รงค์ อดีตแกนนำพันธมิตร 16 จังหวัดภาคใต้
อันที่จริงมี "แนวร่วมเสื้อเหลือง" คนดังอีกนับสิบที่แอบเข้าไปนั่งอยู่ใน "วอร์รูม 30 อรหันต์" แต่พวกเขาไม่ยอมเปิดเผยตัว ยกเว้น น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ และธัญญา ชุนชฎาธาร อดีตกบฏ 14 ตุลา
การออกแบบการชุมนุม 24 พฤศจิกายนนั้น มีผู้เสนอความเห็นมากมาย แต่สุดท้ายก็ขึ้นกับการตัดสินใจของ "เสธ.อ้าย" คนเดียว เพราะเป็น "ผู้กุมยุทธปัจจัย" ในการขับเคลื่อนครั้งนี้
ด้วยเหตุนี้ บรรดา "จอมยุทธ์งานมวลชน" ทั้งหลาย จึงพุ่งตรงเข้าหา "เสธ.อ้าย" เพื่ออาสาทำงานใหญ่ แต่บ่อยครั้งที่ไม่ประสานกัน และแย่งชิงการนำ จึงทำให้ "คำขวัญ" และ "ยุทธวิธี" ในการต่อสู้ไม่เป็นเอกภาพ
ในที่สุด การชุมนุมวันพิพากษาก็มาถึง อำนาจการนำทุกอย่างก็รวมศูนย์อยู่ฝ่ายทหาร ที่มี พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์, พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์, พล.อ.ณัฐชัย เพิ่มทรัพย์, พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ, พล.ท.บุญยัง บูชา และ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ
ปัญหาการปะทะกันที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ในตอนเช้า สะท้อนปัญหาการจัดหน่วยรักษาความปลอดภัย หรือ "การ์ด" ที่ได้แบ่งความรับผิดชอบระหว่างฝ่ายทหารแก่ กับฝ่ายนักเคลื่อนไหวมวลชน โดยระบุไว้ต้องใช้การ์ด 2,000 คน แบ่งเป็นฝ่ายทหาร 1,500 คน และฝ่ายนักเคลื่อนไหว 500 คน
ไม่ทราบว่าอะไรเกิดขึ้น เมื่อเกิดเหตุเผชิญหน้ากลับไม่มีการ์ด โดยเฉพาะ "การ์ดบุก" และมีแต่ "การ์ดรับ" จึงทำให้การขยายพื้นที่การชุมนุมกระทำการไม่สำเร็จ
"การ์ดบุก" หายไปไหน? ทั้งที่มีการพูดคุยกันแล้วเรื่องจะมีการจัดหาคน เพื่อจัดวางกำลังไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว แต่เมื่อถึงเวลาจริง กลับไม่มีการ์ดมาดูแลมวลชนมากเท่าที่วางแผนกันไว้
จุดเปลี่ยนของม็อบ เสธ.อ้าย อยู่ในช่วงบ่าย เมื่อ "สมณะโพธิรักษ์" เข้าไปดูแลและคอยเจรจากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมด้วย ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์ และ "เสธ.จ๊อด" กิตติชัย ใสสะอาด อดีตการ์ดพันธมิตร แต่มีการปะทะ และตำรวจโยนแก๊สน้ำตาใส่ จนทำให้ สมณะโพธิรักษ์ ได้รับผลกระทบจากแก๊สน้ำตาเช่นกัน
ในที่สุด "พ่อท่าน" สมณะโพธิรักษ์ เป็นศูนย์กลาง ที่ให้ความคิดชี้นำทุกอย่าง และสมาชิกกองทัพธรรม จึงเปิดใจคุยกับ "เสธ.อ้าย" อันเป็นที่มาของการยุติการชุมนุมครั้งนี้
การออกแบบการชุมนุม 24 พฤศจิกายนนั้น มีผู้เสนอความเห็นมากมาย แต่สุดท้ายก็ขึ้นกับการตัดสินใจของ "เสธ.อ้าย" คนเดียว เพราะเป็น "ผู้กุมยุทธปัจจัย" ในการขับเคลื่อนครั้งนี้
ด้วยเหตุนี้ บรรดา "จอมยุทธ์งานมวลชน" ทั้งหลาย จึงพุ่งตรงเข้าหา "เสธ.อ้าย" เพื่ออาสาทำงานใหญ่ แต่บ่อยครั้งที่ไม่ประสานกัน และแย่งชิงการนำ จึงทำให้ "คำขวัญ" และ "ยุทธวิธี" ในการต่อสู้ไม่เป็นเอกภาพ
ในที่สุด การชุมนุมวันพิพากษาก็มาถึง อำนาจการนำทุกอย่างก็รวมศูนย์อยู่ฝ่ายทหาร ที่มี พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์, พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์, พล.อ.ณัฐชัย เพิ่มทรัพย์, พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ, พล.ท.บุญยัง บูชา และ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ
ปัญหาการปะทะกันที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ในตอนเช้า สะท้อนปัญหาการจัดหน่วยรักษาความปลอดภัย หรือ "การ์ด" ที่ได้แบ่งความรับผิดชอบระหว่างฝ่ายทหารแก่ กับฝ่ายนักเคลื่อนไหวมวลชน โดยระบุไว้ต้องใช้การ์ด 2,000 คน แบ่งเป็นฝ่ายทหาร 1,500 คน และฝ่ายนักเคลื่อนไหว 500 คน
ไม่ทราบว่าอะไรเกิดขึ้น เมื่อเกิดเหตุเผชิญหน้ากลับไม่มีการ์ด โดยเฉพาะ "การ์ดบุก" และมีแต่ "การ์ดรับ" จึงทำให้การขยายพื้นที่การชุมนุมกระทำการไม่สำเร็จ
"การ์ดบุก" หายไปไหน? ทั้งที่มีการพูดคุยกันแล้วเรื่องจะมีการจัดหาคน เพื่อจัดวางกำลังไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว แต่เมื่อถึงเวลาจริง กลับไม่มีการ์ดมาดูแลมวลชนมากเท่าที่วางแผนกันไว้
จุดเปลี่ยนของม็อบ เสธ.อ้าย อยู่ในช่วงบ่าย เมื่อ "สมณะโพธิรักษ์" เข้าไปดูแลและคอยเจรจากับเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมด้วย ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์ และ "เสธ.จ๊อด" กิตติชัย ใสสะอาด อดีตการ์ดพันธมิตร แต่มีการปะทะ และตำรวจโยนแก๊สน้ำตาใส่ จนทำให้ สมณะโพธิรักษ์ ได้รับผลกระทบจากแก๊สน้ำตาเช่นกัน
ในที่สุด "พ่อท่าน" สมณะโพธิรักษ์ เป็นศูนย์กลาง ที่ให้ความคิดชี้นำทุกอย่าง และสมาชิกกองทัพธรรม จึงเปิดใจคุยกับ "เสธ.อ้าย" อันเป็นที่มาของการยุติการชุมนุมครั้งนี้
.....................
(หมายเหตุ : เหตุขัดแย้งภายใน คือความปราชัยของ'เสธ.อ้าย')
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น