จ่อทุ่ม2พันล้าน ซื้อบินไร้คนขับ! สอดแนมโจรใต้
31 October 2555 - 00:00
กองทัพบกจับมือ “วช.” ร่วมวิจัยพัฒนาอาวุธ เชื่อจะเป็นประโยชน์ในอนาคต และประหยัดงบประมาณ ไม่ต้องจัดซื้อจัดจ้าง แต่จ่อทุ่ม 2 พันล้านซื้อมินิยูเอวีหรืออากาศยานไร้คนขับ เล็งไว้ใช้สอดแนมช่วยดับไฟใต้ “มาร์ค” งงรัฐบาลยังหารัฐมนตรีดูแลชายแดนใต้ไม่ได้ จี้นายกฯ กำกับด้วยตัวเอง ขณะที่ในพื้นที่ชาวบ้านถูกโจรยิงตายรายวัน
เมื่อวันอังคาร ที่กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร เสนาธิการทหารบก ได้เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางด้านวิชาการ (MOU) ระหว่างกองทัพบกกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาทางการทหารที่จำเป็นต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรือวิชาเฉพาะ ซึ่งบันทึกข้อตกลงนี้ จะมีระยะเวลาความร่วมมือ 3 ปี
พล.อ.อุดมเดชกล่าวว่า เป็นความร่วมมือที่ดี ถือเป็นก้าวแรกของกองทัพบก โดยสำนักงานวิจัยและพัฒนาทางทหาร กองทัพบกถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยที่เราไม่ต้องไปจัดซื้อจัดจ้าง ถือเป็นการประหยัดงบประมาณ และตรงต่อตามความต้องการของเรา สำหรับการประชุมวิจัยและพัฒนา ในส่วนกองทัพบกจะมาดูในแต่ละปีว่ามีความต้องการในอุปกรณ์ใดๆ บ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า บางโครงการ คนในกองทัพพยายามสนับสนุนการจัดซื้อจากต่างประเทศมากกว่า พล.อ.อุดมเดชกล่าวว่า ขณะนี้มีการคิดและวิจัยสิ่งต่างๆ เหล่านี้ออกมาเข้ามาสู่กระบวนการ และหากสิ่งไหนที่ดีก็จะเข้ามาสู่กระบวนการผลิต และในกรอบงบประมาณแต่ละปีมีงบประมาณตามที่กำหนดไว้ บางอย่างต้องใช้งบประมาณมากยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่าง 2 หน่วยงานในวันนี้สามารถเกื้อกูล งบประมาณในส่วนที่วิจัยก็จะได้ประโยชน์ยิ่งขึ้น
“ส่วนจะนำงานวิจัยที่ได้นำไปใช้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ เรานำสิ่งที่ลำดับไว้ว่ามีความสำคัญและมีความจำเป็นมาดู เพื่อเข้าสู่คณะกรรมการอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งน่าจะได้ผลในเร็ววันนี้ ส่วนความร่วมมือในการสร้างหุ่นยนต์กู้ภัยในการเก็บกู้ระเบิดมาใช้ในพื้นที่ภาคใต้นั้น ตอนนี้ทหารในพื้นที่ก็ทำอยู่ และอยู่ระหว่างการทดสอบในพื้นที่จริง เมื่อทดสอบแล้วก็จะมาดูว่าจะต้องเพิ่มเติมตรงส่วนไหนบ้าง”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา ในการประชุมคณะกรรมการวิจัยกองทัพบก ที่มี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธาน ได้สั่งชะลอโครงการวิจัยพัฒนามินิยูเอวีของกองทัพบก จำนวน 6 ระบบ งบประมาณ 60 ล้านบาท ในปี 2557-2559 ออกไปก่อน โดยอนุมัติงบประมาณ 10 ล้านบาท ให้จัดทำ 1 ระบบ แต่จะให้มีการจัดซื้อมินิยูเอวี (อากาศยานไร้คนขับ) ยี่ห้อราเวน จากประเทศอิสราเอล จำนวน 120 ระบบ ระบบละ 16 ล้านบาท รวม 1,920 ล้านบาท
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีการดูแลความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล หลังจากปรับ ครม. ที่ยังไม่มีการมอบหมายงานดังกล่าวว่า ตนหนักใจ หลังจากฟังคำให้สัมภาษณ์ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพราะยังสับสนอยู่ ซึ่งในการที่ใช้คำว่าไม่น่าเป็นห่วง เพราะว่าคล้ายๆ กับเป็นคนเดิมๆ ก็ทำอยู่ ซึ่งทำให้รู้สึกงง เพราะวันที่ไปหารือที่ทำเนียบรัฐบาล ก็ถามชัดว่าตกลงแล้วมีใครบ้าง ก็ได้รับคำตอบว่าหัวหน้าทีมคือพล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ซึ่งทั้งสองคนไม่อยู่แล้ว และคนเหลือคนเดียวคือ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง แต่ก็ออกมาบอกว่าไม่เอาแล้ว ซึ่งตนก็ได้บอกนายกรัฐมนตรีไปแล้วว่าต้องดูเอง แล้วก็มีรองนายกฯ หรือมีรัฐมนตรีที่ไปลงพื้นที่ประจำ
เมื่อถามว่า หากเป็น พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ดูแลเรื่องนี้ได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ได้ แต่ต้องให้มีความสมดุลกัน เพราะการทำงานในพื้นที่มีเจ้าหน้าที่เยอะ ทั้งฝ่ายทหาร ฝ่ายตำรวจ และฝ่ายปกครอง ซึ่งหลายครั้งหน่วยงานเหล่านี้จะเห็นไม่ตรงกัน ซึ่งหากมอบหมายให้รัฐมนตรีกลาโหมไปดูภาพรวม ก็อาจจะเอนเอียงว่าฟังทหารมากกว่าฟังตำรวจหรือไม่ แต่หากให้คนที่อยู่มหาดไทยดูแล ก็อาจจะฟังฝ่ายปกครองมากไป ถ้าไปเอาคนคุมตำรวจ ก็อาจจะฟังตำรวจมากไป แต่หากนายกฯ ดูแลเอง ทุกหน่วยก็จะมีความรู้สึกว่าสามารถที่จะเสนอมุมมองขึ้นมาได้
“ถ้ารัฐเป็นอย่างนี้ ผมว่าคนในพื้นที่ก็คงลำบาก และต้องพยายามที่จะหาแนวทางที่จะช่วยตัวเอง หรือพึ่งพาองค์กรอื่นบ้าง แต่ก็ไม่เป็นผลดี อย่างไรก็ตาม ผมก็ยืนยันว่าการปรับครม. ทำให้การแก้ปัญหาตรงนี้ไม่ต่อเนื่อง แล้วการขาดคนที่รับผิดชอบชัดเจนนั้นไม่เป็นผลดีแน่นอน”
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า จะไปหนักใจทำไม เขายังไม่ได้มอบหมายมา นายกฯ ยังไม่ได้หารือ มีแต่การสั่งการ แต่สำหรับตนในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย มองว่ามาตรา 21 พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ คิดว่าน่าจะดีขึ้น แต่ก็ต้องระมัดระวังผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพราะผู้ที่ได้รับผลกระทบจะมีความเสียหาย ทั้งญาติพี่น้อง แต่ต้องแยกเป็นกรณีไป เอาเป็นว่าหากตนมีโอกาสเกี่ยวข้อง ตอนนี้ไม่อยากแสดงความคิดเห็น
ที่จังหวัดปัตตานี ช่วงเช้าวันอังคาร ขณะที่นายหะมะ สอและนายก อบต.สะกำ อ.มายอ ขึ้นรถกระบะ 4 ประตูสีบรอนซ์ ที่จอดหน้าบ้านบนถนนในหมู่บ้านเพื่อจะไปทำงาน เป็นจังหวะที่คนร้ายประมาณ 4-5 คน ใช้รถยนต์กระบะสีฟ้า อีซูซุ รุ่นเก่า ขับมาจอดด้านหน้า จากนั้นคนร้ายใช้อาวุธปืนลูกซองอาก้า และ 9 มม.กระหน่ำยิง แต่นายก อบต.เอนที่นั่งให้ราบ ทำให้กระสุนถูกบริเวณแขนซ้าย จากนั้นคนร้ายได้กลับรถหวังจะมาจอดยิงซ้ำ แต่นายหะมะได้หลบเข้าไปในบ้านเพื่อนบ้านก่อน ส่วนคนร้ายหลบหนีไป
ส่วนอีกเหตุการณ์ เวลาไล่เลี่ยกัน ขณะที่นายมะหามะ มะแซ อายุ 47 ปี ครูสอนศาสนาโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ อ.เมือง ฯ จ.ยะลา ขับรถยนต์ส่วนตัวกระบะตอนครึ่ง อีซูซุ สีน้ำเงินทะเบียน บง 1280 ปัตตานี ออกจากบ้านในหมู่บ้านโสร่ง เพื่อจะไปสอนหนังสือ พอมาถึงบริเวณเนินปากทางขึ้นบนถนนสาย 410 ปัตตานี- ยะลา ได้ถูกคนร้ายไม่ทราบจำนวนใช้รถยนต์กระบะเป็นพาหนะจอดดักด้านหน้า และคนร้ายใช้อาวุธปืน เอ็ม 16 ยิงไป 5 นัด ถูกรถกระจกรถด้านหน้าแตกและถูกนายมะหามะที่บริเวณใบหน้าและลำตัว เสียชีวิตคาที่ ส่วนคนร้ายหลบหนีไป
ทั้งนี้ เบื้องต้นเจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่าทั้งสองเหตุการณ์เกิดจากการสร้างสถานการณ์ของกลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้.
เมื่อวันอังคาร ที่กองบัญชาการกองทัพบก พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร เสนาธิการทหารบก ได้เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางด้านวิชาการ (MOU) ระหว่างกองทัพบกกับสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาทางการทหารที่จำเป็นต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรือวิชาเฉพาะ ซึ่งบันทึกข้อตกลงนี้ จะมีระยะเวลาความร่วมมือ 3 ปี
พล.อ.อุดมเดชกล่าวว่า เป็นความร่วมมือที่ดี ถือเป็นก้าวแรกของกองทัพบก โดยสำนักงานวิจัยและพัฒนาทางทหาร กองทัพบกถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง โดยที่เราไม่ต้องไปจัดซื้อจัดจ้าง ถือเป็นการประหยัดงบประมาณ และตรงต่อตามความต้องการของเรา สำหรับการประชุมวิจัยและพัฒนา ในส่วนกองทัพบกจะมาดูในแต่ละปีว่ามีความต้องการในอุปกรณ์ใดๆ บ้าง
ผู้สื่อข่าวถามว่า บางโครงการ คนในกองทัพพยายามสนับสนุนการจัดซื้อจากต่างประเทศมากกว่า พล.อ.อุดมเดชกล่าวว่า ขณะนี้มีการคิดและวิจัยสิ่งต่างๆ เหล่านี้ออกมาเข้ามาสู่กระบวนการ และหากสิ่งไหนที่ดีก็จะเข้ามาสู่กระบวนการผลิต และในกรอบงบประมาณแต่ละปีมีงบประมาณตามที่กำหนดไว้ บางอย่างต้องใช้งบประมาณมากยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่าง 2 หน่วยงานในวันนี้สามารถเกื้อกูล งบประมาณในส่วนที่วิจัยก็จะได้ประโยชน์ยิ่งขึ้น
“ส่วนจะนำงานวิจัยที่ได้นำไปใช้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือไม่นั้น ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ เรานำสิ่งที่ลำดับไว้ว่ามีความสำคัญและมีความจำเป็นมาดู เพื่อเข้าสู่คณะกรรมการอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งน่าจะได้ผลในเร็ววันนี้ ส่วนความร่วมมือในการสร้างหุ่นยนต์กู้ภัยในการเก็บกู้ระเบิดมาใช้ในพื้นที่ภาคใต้นั้น ตอนนี้ทหารในพื้นที่ก็ทำอยู่ และอยู่ระหว่างการทดสอบในพื้นที่จริง เมื่อทดสอบแล้วก็จะมาดูว่าจะต้องเพิ่มเติมตรงส่วนไหนบ้าง”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา ในการประชุมคณะกรรมการวิจัยกองทัพบก ที่มี พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธาน ได้สั่งชะลอโครงการวิจัยพัฒนามินิยูเอวีของกองทัพบก จำนวน 6 ระบบ งบประมาณ 60 ล้านบาท ในปี 2557-2559 ออกไปก่อน โดยอนุมัติงบประมาณ 10 ล้านบาท ให้จัดทำ 1 ระบบ แต่จะให้มีการจัดซื้อมินิยูเอวี (อากาศยานไร้คนขับ) ยี่ห้อราเวน จากประเทศอิสราเอล จำนวน 120 ระบบ ระบบละ 16 ล้านบาท รวม 1,920 ล้านบาท
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีการดูแลความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของรัฐบาล หลังจากปรับ ครม. ที่ยังไม่มีการมอบหมายงานดังกล่าวว่า ตนหนักใจ หลังจากฟังคำให้สัมภาษณ์ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพราะยังสับสนอยู่ ซึ่งในการที่ใช้คำว่าไม่น่าเป็นห่วง เพราะว่าคล้ายๆ กับเป็นคนเดิมๆ ก็ทำอยู่ ซึ่งทำให้รู้สึกงง เพราะวันที่ไปหารือที่ทำเนียบรัฐบาล ก็ถามชัดว่าตกลงแล้วมีใครบ้าง ก็ได้รับคำตอบว่าหัวหน้าทีมคือพล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ ซึ่งทั้งสองคนไม่อยู่แล้ว และคนเหลือคนเดียวคือ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง แต่ก็ออกมาบอกว่าไม่เอาแล้ว ซึ่งตนก็ได้บอกนายกรัฐมนตรีไปแล้วว่าต้องดูเอง แล้วก็มีรองนายกฯ หรือมีรัฐมนตรีที่ไปลงพื้นที่ประจำ
เมื่อถามว่า หากเป็น พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ดูแลเรื่องนี้ได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ได้ แต่ต้องให้มีความสมดุลกัน เพราะการทำงานในพื้นที่มีเจ้าหน้าที่เยอะ ทั้งฝ่ายทหาร ฝ่ายตำรวจ และฝ่ายปกครอง ซึ่งหลายครั้งหน่วยงานเหล่านี้จะเห็นไม่ตรงกัน ซึ่งหากมอบหมายให้รัฐมนตรีกลาโหมไปดูภาพรวม ก็อาจจะเอนเอียงว่าฟังทหารมากกว่าฟังตำรวจหรือไม่ แต่หากให้คนที่อยู่มหาดไทยดูแล ก็อาจจะฟังฝ่ายปกครองมากไป ถ้าไปเอาคนคุมตำรวจ ก็อาจจะฟังตำรวจมากไป แต่หากนายกฯ ดูแลเอง ทุกหน่วยก็จะมีความรู้สึกว่าสามารถที่จะเสนอมุมมองขึ้นมาได้
“ถ้ารัฐเป็นอย่างนี้ ผมว่าคนในพื้นที่ก็คงลำบาก และต้องพยายามที่จะหาแนวทางที่จะช่วยตัวเอง หรือพึ่งพาองค์กรอื่นบ้าง แต่ก็ไม่เป็นผลดี อย่างไรก็ตาม ผมก็ยืนยันว่าการปรับครม. ทำให้การแก้ปัญหาตรงนี้ไม่ต่อเนื่อง แล้วการขาดคนที่รับผิดชอบชัดเจนนั้นไม่เป็นผลดีแน่นอน”
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า จะไปหนักใจทำไม เขายังไม่ได้มอบหมายมา นายกฯ ยังไม่ได้หารือ มีแต่การสั่งการ แต่สำหรับตนในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย มองว่ามาตรา 21 พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ คิดว่าน่าจะดีขึ้น แต่ก็ต้องระมัดระวังผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพราะผู้ที่ได้รับผลกระทบจะมีความเสียหาย ทั้งญาติพี่น้อง แต่ต้องแยกเป็นกรณีไป เอาเป็นว่าหากตนมีโอกาสเกี่ยวข้อง ตอนนี้ไม่อยากแสดงความคิดเห็น
ที่จังหวัดปัตตานี ช่วงเช้าวันอังคาร ขณะที่นายหะมะ สอและนายก อบต.สะกำ อ.มายอ ขึ้นรถกระบะ 4 ประตูสีบรอนซ์ ที่จอดหน้าบ้านบนถนนในหมู่บ้านเพื่อจะไปทำงาน เป็นจังหวะที่คนร้ายประมาณ 4-5 คน ใช้รถยนต์กระบะสีฟ้า อีซูซุ รุ่นเก่า ขับมาจอดด้านหน้า จากนั้นคนร้ายใช้อาวุธปืนลูกซองอาก้า และ 9 มม.กระหน่ำยิง แต่นายก อบต.เอนที่นั่งให้ราบ ทำให้กระสุนถูกบริเวณแขนซ้าย จากนั้นคนร้ายได้กลับรถหวังจะมาจอดยิงซ้ำ แต่นายหะมะได้หลบเข้าไปในบ้านเพื่อนบ้านก่อน ส่วนคนร้ายหลบหนีไป
ส่วนอีกเหตุการณ์ เวลาไล่เลี่ยกัน ขณะที่นายมะหามะ มะแซ อายุ 47 ปี ครูสอนศาสนาโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ อ.เมือง ฯ จ.ยะลา ขับรถยนต์ส่วนตัวกระบะตอนครึ่ง อีซูซุ สีน้ำเงินทะเบียน บง 1280 ปัตตานี ออกจากบ้านในหมู่บ้านโสร่ง เพื่อจะไปสอนหนังสือ พอมาถึงบริเวณเนินปากทางขึ้นบนถนนสาย 410 ปัตตานี- ยะลา ได้ถูกคนร้ายไม่ทราบจำนวนใช้รถยนต์กระบะเป็นพาหนะจอดดักด้านหน้า และคนร้ายใช้อาวุธปืน เอ็ม 16 ยิงไป 5 นัด ถูกรถกระจกรถด้านหน้าแตกและถูกนายมะหามะที่บริเวณใบหน้าและลำตัว เสียชีวิตคาที่ ส่วนคนร้ายหลบหนีไป
ทั้งนี้ เบื้องต้นเจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่าทั้งสองเหตุการณ์เกิดจากการสร้างสถานการณ์ของกลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น