วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556

ไขปมแก้รธน.ม.68 เมื่อ 1 เม.ย.56

ไขปมแก้รธน.ม.68


ว่าด้วยเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญหนึ่งในมาตราที่มีการถกเถียงกันมากที่สุดก็คือมาตรา 68 ซึ่งมีการแก้ไข ซึ่งในวันนี้เราจะได้มาขยายความให้กับคุณผู้ชมได้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง
มาตรา ๖๘ เดิมระบุว่า บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้
วรรคสอง ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
วรรคสามในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสองศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้
วรรคสี่ ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรคสาม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบในขณะที่กระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งดังกล่าว
สำหรับมาตรา 68 ที่แก้ไขใหม่ถูกระบุเอาไว้ดังต่อไปนี้ โดยเฉพาะเนื้อหาในวรรคสองที่มีการเปลี่ยนแปลงกรณีการยื่นคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญโดยตรงหรือต้องผ่านอัยการสูงสุด
มาตรา 68 วรรคหนึ่ง บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามหมวด 3 แห่งรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้อำนาจมาในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทาง ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้มิได้
วรรคสองในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่ออัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า การกระทำดังกล่าวขัดกับวรรคหนึ่ง ให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย สั่งการให้เลิกการกระทำการดังกล่าว แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกับการดำเนินคดีอาญา ต่อผู้กระทำการดังกล่าว
วรรคสามในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้
กล่าวโดยสรุปก็สามารถเปรียบเทียบได้ดังนี้
มาตรา 68 วรรค สองของเดิม ก็คือ ผู้ร้อง มีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว
ส่วนมาตรา 68 วรรคสอง ของใหม่ ก็คือ มีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่ออัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า การกระทำดังกล่าวขัดกับวรรคหนึ่ง ให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย สั่งการให้เลิกการกระทำการดังกล่าว
เข้าใจว่าสาเหตุที่มีการรวมร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 68 กับ 237 เอาไว้ด้วยกันก็เป็นผลมาจากโทษเรื่องของการยุบพรรคและตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคการเมืองดังนี้
มาตรา 237 เดิม เขียนเอาไว้ว่า
ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดกระทำการ ก่อ หรือสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลดังกล่าวตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
มาตรา 237 วรรคสอง ถ้าการกระทำของบุคคลตามวรรคหนึ่ง ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารของพรรคการเมืองผู้ใด มีส่วนรู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบถึงการกระทำนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ตามมาตรา ๖๘ และในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าวมีกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง
ส่วนมาตรา 237 ของใหม่ ให้มีการยกมาตรา 237 วรรค 2 เรื่องการระบุโทษของผู้กระทำความผิดเอาไว้ดังนี้
โดยระบุเอาไว้ในร่างแก้ไขมาตรา 5 ว่าให้การเพิกสอนสิทธิเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาของหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองเพราะเหตุให้มีคำวินิจฉัยยุบพรรคการเมืองตามมาตรา 68 หรือ 237 วรรคสอง เป็นอันสิ้นสุด และให้ถือว่าบุคคลผู้นั้นไม่เคยเป็นผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น