เริ่มแล้วค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท แรงงานต่างด้าวทะลักไทย
วันพุธ ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556
เริ่มแล้วการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งส่งผลให้แรงงานต่างด้าวเริ่มหลั่งไหลทะลักเข้าไทยมากขึ้น
จากการปรับขึ้นค่าแรงครั้งนี้ส่งผลให้แรงงานต่างชาติหลั่งไหลเข้าไทยมากขึ้น โดยนายสมบัติ จึงตระกูล อุปนายกสมาคมผู้ประกอบการค้าชายแดนและการท่องเที่ยวไทย กัมพูชา จ.จันทบุรี เปิดเผยว่า ตั้งแต่เวลา 07.00 น.ที่ผ่านมา ชาวกัมพูชาจำนวนมากต่างเดินทางผ่านจุดผ่านแดนแล้วหกว่า 4,000 คน มากสุดอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งส่วนใหญ่จะมุ่งหน้าสู่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี, จ.อยุธยา, จ.ฉะเชิงเทรา,จ.ชลบุรี และอีกหลายจังหวัดที่มีนิคมอุตสาหกรรม เพื่อเริ่มต้นทำงานในโรงงานต่างๆ ด้วยค่าแรงวันละ 300 บาท
ขณะที่ผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางในจังหวัดจันทบุรีจำนวนมาก ได้หันมาใช้วิธีจ้างแรงงานต่างด้าวแรงงานต่างด้าวเฉพาะผู้มีหนังสือผ่านแดนอยู่ในไทยในระยะสั้น และปรับขึ้นค่าแรงจากวันละ 150 บาท เป็น 200 บาทเท่านั้น เพราะแรงงานที่อยู่ได้ระยะยาวซึ่งต้องจ่ายค่าแรงวันละ 300 บาท สูงเกินกว่าจะจ้างไหว ด้านผู้ประกอบการที่จ้างแรงงานต่างด้าวในจังหวัดระนองจำนวนมากเริ่มทยอยปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทแล้ว
ขณะที่หอการค้าจังหวัดระนองคาดการณ์ว่า ในปีนี้จะมีแรงงานพม่าจะไหลทะลักเข้าไทยอีกนับล้านคน เนื่องจากปัจจุบันค่าจ้างแรงงานในพม่าตกเพียงวันละ 30 บาท หรือเดือนละ 900 บาท เท่านั้น ซึ่งต่างกับค่าแรงขั้นต่ำของไทยถึง 10 เท่าตัว จากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของไทย
ขณะที่นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า แรงงานทั่วประเทศ จะต้องได้รับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทต่อวัน โดยมีผลตั้งแต่วานนี้ ซึ่งถือเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานเพื่อที่จะก้าวเข้าสู่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558 ซึ่งกระทรวงจะติดตามอย่างใกล้ชิดว่า มีผู้ประกอบการรายใดไม่ให้ความร่วมมือ หรือหลีกเลี่ยงในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้หรือไม่ หากพบจะทำหนังสือเตือนไปยังผู้ประกอบการ เพื่อให้ปฏิบัติตามกฎหมายต่อไป
ด้านนาย นิทัศน์ ศรีนนท์ ประธานคณะกรรมาธิการแรงงานสภาผู้แทนราษฎร บอกว่า ยังเชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาทได้ เช่นเดียวกับที่นำร่องไปแล้ว 7 จังหวัดใน 7 จังหวัดก่อนหน้านี้ เพราะจากการติดตามเรื่องนี้มาตลอดพบว่า ทางผู้ประกอบการเองก็อยากจะให้ความร่วมมือ เพียงแต่ไม่สามารถที่จะแบกรับภาระนี้ไว้ได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องหาทางเยียวยาแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนการเยียวยานั้นอาจจะต้องเป็นมาตรการด้านอื่นๆที่ไม่ใช่ในรูปของเงินชดเชย เพื่อให้ทุกฝ่ายอยู่ได้ สำหรับการประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศครั้งนี้ คาดว่ามีแรงงานอย่างน้อย 3 ล้านคนได้รับอานิสงส์จากนโยบาย
จากการปรับขึ้นค่าแรงครั้งนี้ส่งผลให้แรงงานต่างชาติหลั่งไหลเข้าไทยมากขึ้น โดยนายสมบัติ จึงตระกูล อุปนายกสมาคมผู้ประกอบการค้าชายแดนและการท่องเที่ยวไทย กัมพูชา จ.จันทบุรี เปิดเผยว่า ตั้งแต่เวลา 07.00 น.ที่ผ่านมา ชาวกัมพูชาจำนวนมากต่างเดินทางผ่านจุดผ่านแดนแล้วหกว่า 4,000 คน มากสุดอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งส่วนใหญ่จะมุ่งหน้าสู่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี, จ.อยุธยา, จ.ฉะเชิงเทรา,จ.ชลบุรี และอีกหลายจังหวัดที่มีนิคมอุตสาหกรรม เพื่อเริ่มต้นทำงานในโรงงานต่างๆ ด้วยค่าแรงวันละ 300 บาท
ขณะที่ผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางในจังหวัดจันทบุรีจำนวนมาก ได้หันมาใช้วิธีจ้างแรงงานต่างด้าวแรงงานต่างด้าวเฉพาะผู้มีหนังสือผ่านแดนอยู่ในไทยในระยะสั้น และปรับขึ้นค่าแรงจากวันละ 150 บาท เป็น 200 บาทเท่านั้น เพราะแรงงานที่อยู่ได้ระยะยาวซึ่งต้องจ่ายค่าแรงวันละ 300 บาท สูงเกินกว่าจะจ้างไหว ด้านผู้ประกอบการที่จ้างแรงงานต่างด้าวในจังหวัดระนองจำนวนมากเริ่มทยอยปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาทแล้ว
ขณะที่หอการค้าจังหวัดระนองคาดการณ์ว่า ในปีนี้จะมีแรงงานพม่าจะไหลทะลักเข้าไทยอีกนับล้านคน เนื่องจากปัจจุบันค่าจ้างแรงงานในพม่าตกเพียงวันละ 30 บาท หรือเดือนละ 900 บาท เท่านั้น ซึ่งต่างกับค่าแรงขั้นต่ำของไทยถึง 10 เท่าตัว จากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของไทย
ขณะที่นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ยืนยันว่า แรงงานทั่วประเทศ จะต้องได้รับการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทต่อวัน โดยมีผลตั้งแต่วานนี้ ซึ่งถือเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานเพื่อที่จะก้าวเข้าสู่การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558 ซึ่งกระทรวงจะติดตามอย่างใกล้ชิดว่า มีผู้ประกอบการรายใดไม่ให้ความร่วมมือ หรือหลีกเลี่ยงในการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้หรือไม่ หากพบจะทำหนังสือเตือนไปยังผู้ประกอบการ เพื่อให้ปฏิบัติตามกฎหมายต่อไป
ด้านนาย นิทัศน์ ศรีนนท์ ประธานคณะกรรมาธิการแรงงานสภาผู้แทนราษฎร บอกว่า ยังเชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาทได้ เช่นเดียวกับที่นำร่องไปแล้ว 7 จังหวัดใน 7 จังหวัดก่อนหน้านี้ เพราะจากการติดตามเรื่องนี้มาตลอดพบว่า ทางผู้ประกอบการเองก็อยากจะให้ความร่วมมือ เพียงแต่ไม่สามารถที่จะแบกรับภาระนี้ไว้ได้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องหาทางเยียวยาแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนการเยียวยานั้นอาจจะต้องเป็นมาตรการด้านอื่นๆที่ไม่ใช่ในรูปของเงินชดเชย เพื่อให้ทุกฝ่ายอยู่ได้ สำหรับการประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศครั้งนี้ คาดว่ามีแรงงานอย่างน้อย 3 ล้านคนได้รับอานิสงส์จากนโยบาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น