สถานการณ์พิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา ด้วยการเดิมพันพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร บนเขาพระวิหาร หลังจากที่ฝ่ายกัมพูชายื่นคำร้องให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาเมื่อปี 2505 และทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องไปแถลงผิดคดีด้วยวาจาที่ศาลโลกในช่วงเดือนเมษายนนี้ และก็คาดว่าศาลน่าจะมีคำพิพากษาในช่วงปลายปี
เมื่อวันที่ (25 ม.ค.) สถานการณ์พิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา ด้วยการเดิมพันพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร บนเขาพระวิหาร หลังจากที่ฝ่ายกัมพูชายื่นคำร้องให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาเมื่อปี 2505 และทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องไปแถลงผิดคดีด้วยวาจาที่ศาลโลกในช่วงเดือนเมษายนนี้ และก็คาดว่าศาลน่าจะมีคำพิพากษาในช่วงปลายปี
คดีปราสาทเขาพระวิหาร เป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราชอาณาจักรไทย ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 จากปัญหาการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร เกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ
ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2502
คดีนี้ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ท่ามกลางความไม่พอใจของฝ่ายไทย ซึ่งเห็นว่าศาลโลกตัดสินคดีนี้อย่างไม่ยุติธรรม เนื่องจากศาลโลกยึดติดอยู่บนแผนที่ฉบับเดียว โดยที่ศาลโลกมิได้มีการตรวจสอบสถานที่อย่างจริงจังตามข้อตกลงไทย-ฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม การตัดสินคดีครั้งนี้ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องอาณาเขตทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ในบริเวณดังกล่าวให้หมดไป และยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังต่อมาจนถึงปัจจุบัน
วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 หลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว 20 กว่าวัน รัฐบาลไทยโดย นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลกโดยอ้างว่าคำพิพากษานั้นขัดต่อกฎหมายและความยุติธรรม นอกจากนี้ ยังสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคตด้วย
โดยมีคำประท้วงดังนี้
ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติที่จะอ้างถึงคดีเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ซึ่งได้นำขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยคำร้องเริ่มคดีฝ่ายเดียวของกัมพูชา เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1959 (พ.ศ. 2502) และซึ่งศาลได้พิพากษา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) ยอมรับนับถืออธิปไตยของกัมพูชาเหนือซากของปราสาทพระวิหาร
ในแถลงการณ์เป็นทางการลงวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประกาศต่อประชาชนแสดงความไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลที่กล่าวข้างต้น โดยมีเหตุผลว่า ตามความเห็นของรัฐบาล คำพิพากษาขัดต่อข้อกำหนดอันชัดแจ้งของบทที่เกี่ยวเนื่องของสนธิสัญญา ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) และ ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) และขัดต่อหลักกฎหมาย และความยุติธรรม แต่อย่างไรก็ดีรัฐบาลก็ยังแถลงว่าในฐานะที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะปฏิบัติตามพันธกรณีที่ตนมีอยู่ตามคำพิพากษาดังกล่าว เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ตามข้อ 94 ของกฎบัตร
ข้าพเจ้าใคร่จะแจ้งให้ท่านทราบว่า ในการตัดสินใจที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารนั้น รัฐบาล ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรารถนาที่จะตั้งข้อสงวนอันชัดแจ้งเกี่ยวกับสิทธิใด ๆ ที่ประเทศไทยมีหรืออาจมีในอนาคต เพื่อเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมา โดยอาศัยกระบวนการกฎหมายที่มีอยู่หรือที่จะพึงนำมาใช้ได้ในภายหลัง และตั้งข้อประท้วงต่อคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา” ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงรู้สึกเป็นเกียรติที่จะแจ้งข้อความข้างต้นให้ท่านทราบ พร้อมกับขอให้ท่านแจ้งข้อความในหนังสือฉบับนี้ให้สมาชิกทั้งปวงขององค์การนี้ทราบทั่วกันด้วย
โดยหลังจากที่ศาลโลกมีคำพิพากษาดังกล่าว ก็เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ อันควรที่ต้องนำมาพิจารณาดังต่อไปนี้
ดร.ถนัด คอมันตร์ รมต.ต่างประเทศกล่าวว่า
...ไม่เคยเห็นการวินิจฉัยกฎหมายระหว่างประเทศที่หละหลวม เช่นคำพิพากษานี้...
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ทนายฝ่ายไทย ระบุว่า
...คำพิพากษาศาลโลกผิดพลาดอย่างยิ่ง...แม้อีกร้อยสองร้อยปี คำพิพากษาของศาลโลกครั้งนี้จะไม่ทำให้นักกฎหมายคนใดในอนาคตเห็นด้วยเลย...
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีไทยในสมัยนั้น
...เราคืนให้เฉพาะพื้นที่รองรับตัวปราสาทเขาพระวิหารเท่านั้น ส่วนเขมรจะขึ้นหรือเข้ามาทางไหนเราไม่รับรู้ เป็นเรื่องของเขมรเอง...
พลเอก ถนอม กิตติขจร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
...ด้วยเลือดและน้ำตา...สักวันหนึ่งเราจะต้องเอาเขาพระวิหารคืนมาให้จงได้...
พลเอก ประภาส จารุเสถียร รมต.มหาดไทย
...มันไม่ใช่เป็นเรื่องให้ไม่ให้ เป็นเรื่องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาล...
หรือแม้กระทั่งผู้พิพากษาของศาลโลกซึ่งเป็นผู้พิจารณาคดีดังกล่าว ก็แสดงออกถึงความแตกต่างของคำพิพากษาอย่างน่าสนใจดังต่อไปนี้
ผู้พิพากษา 3 คน ที่ตัดสินให้ไทยชนะ
ลูซิโอ มอเรโน กินตานา ผู้พิพากษาชาวอาร์เจนตินา
...สันปันน้ำไม่ใช่นามธรรมที่คิดขึ้นด้วยสติปัญญา สันปันน้ำเป็นผลอันเกิดขึ้นจากลักษณะของพื้นภูมิประเทศ และย่อมเป็นลักษณะของภูมิประเทศอยู่เสมอ สันเขา แนวชะง่อนผา หรือส่วนสูงของพื้นดินเหล่านี้ย่อมจะประกอบกันเป็นเส้นสันปันน้ำธรรมชาติ...
เซอร์เพอร์ซี สเปนเดอร์ ผู้พิพากษาชาวออสเตรเลีย
...ข้าพเจ้าคิดว่าฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ของตนเองเป็นสำคัญ...
เซอร์ เวลลิงตันคู ผู้พิพากษ
...การยอมรับโดยการนิ่งเฉยหลักกฎหมายโรมันที่ว่า ใครที่นิ่งจะถูกถือว่ายินยอม ถ้าเขาสามารถพูดได้นั้น ตามความเห็นของข้าพเจ้านำมาใช้ในคดีนี้มิได้...
ส่วนผู้พิพากษาที่ตัดสินให้กัมพูชาชนะ อาทิ
โบดาน วินิอาร์สกิ ประธานการพิจารณาคดีเขาพระวิหารชาวโปแลนด์
...เห็นได้ชัดเจนว่าอารยะธรรมตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา แม้กระทั่งแผนที่ของกัมพูชาอีกด้วย…
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น