กมธ.ทหารฯ ถกปัญหาภาคใต้ ชี้ต้องมีนโยบายต่อเนื่องแม้เปลี่ยนรัฐบาล แนะสานแนวทางอื่นควบด้านความมั่นคง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมาธิการทหาร (กมธ.) สภาผู้แทนราษฎรที่มีพล.อ.สมชาย วิษณุวงศ์ ส.ส.กาญจนบุรี พรรคเพื่อไทย เป็นประธาน มีการพิจารณากรณีปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยเชิญ ส.ส.ภาคใต้ทุกพรรคการเมือง รวมถึง พล.ท.พงศ์เอก อภิรักษ์โยธิน ส.ว.พะเยา ในฐานะเลขากมธ.การทหาร วุฒิสภา เข้าร่วมหารือ ทั้งนี้นายณรงค์ ดูดิง ส.ส.ยะลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ปัญหาภาคใต้เปรียบเสมือนอาหารข้าวยำ เพราะทุกอย่างปนกัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ ทั้งการก่ออาชญากรรมส่วนตัว การแบ่งแยกดินแดน การขัดแย้งผลประโยชน์ในพื้นที่ ฯลฯ ซึ่งระยะเวลาที่เกิดขึ้นนั้นมีมานานแล้ว เรื่องนี้นักการเมืองในพื้นที่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด ผู้ที่เกี่ยวข้องจึงต้องร่วมกันแยกแยะลักษณะการก่อเหตุโดยมุ่งเน้นไปที่การข่าว เพื่อที่จะหาผู้กระทำและแยกแยะปัญหาได้ถูกวิธี
ขณะที่นายเจะอามิง โตะตาหยง ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เมื่อรัฐต้องทำงานในพื้นที่ก็จะต้องลบข้อกล่าวหาให้ได้ว่ารัฐไม่ได้เป็นผู้กระทำเหตุเสียเอง เพื่อให้ชาวบ้านมีทัศนคติที่ดี และในฐานะที่ตนเป็นคนในพื้นที่มองว่านโยบายจากฝ่ายการเมืองยังไม่ตรงกันนัก กล่าวคือเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล นโยบายก็จะหยุดชะงัก แทนที่จะทำอย่างต่อเนื่อง เหตุนี้ต้องหาวิธีการรวมกันเพื่อที่จะมีแนวทางทำงานที่ไม่ว่าจะเปลี่ยนรัฐบาลแต่ยังสามารถขับเคลื่อนต่อไปได้ นอกจากนี้ตนเห็นว่าควรสร้างแรงจูงใจและขวัญกำลังใจกับเจ้าหน้าที่ ให้เทียบเท่าประชาชนที่ชุมนุมทางการเมืองที่มีเงินชดเชยหากเสียชีวิตถึง7.5ล้านบาท
ส่วนนายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะที่ปรึกษากรรมาธิการ กล่าวว่า แม้มิติด้านความมั่นคงจะเป็นหนทางหนึ่งก็จริง แต่การแก้ปัญหาต้องมองถึงมิติด้านอื่นๆด้วย อาทิ ด้านเศรษฐกิจที่มีข้อมูลชี้ว่าแม้สถานการณ์ความไม่สงบไม่แน่นอน แต่จำนวนเงินที่มีการซื้อขายในชายแดนไทย-มาเลเซีย ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก ในระดับ6-7แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งแสดงว่าประชาชนของทั้ง2ประเทศยังซื้อขาย แลกเปลี่ยนและมีความเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจกันอยู่ เหตุนี้นโยบายที่จะออกมาจากรัฐควรต้องมีความถ่วงดุลในด้านต่างๆให้ดี อย่ามองแค่เรื่องการเมือง การทหารอย่างเดียว เปรียบเสมือนการให้อาหารต้นไม้ที่เน้นไปที่สารใดสารหนึ่งแทนที่จะทำให้เติบโตก็อาจตายได้
ด้านพล.ท.พงศ์เอก ตัวแทนจากวุฒิสภา กล่าวว่า ข้อสรุปที่กมธ.กับฝั่ง ส.ว.มีความคล้ายคลึงกัน จึงเห็นด้วยหากจะใช้แนวทางเช่นนี้แก้ไขปัญหา ทั้งนี้กมธ.ในส่วนวุฒิสภา แบ่งประเด็นการแก้ปัญหา อาทิ ด้านงบประมาณ ที่ควรจะลงไปในส่วนไหนอย่างไร ให้เกิดความเหมาะสม สมดุล ด้านวิธีคิดในการแก้ปัญหา ที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ด้านรูปแบบการปกครองพิเศษ ที่ให้คนในพื้นที่ปกครองตัวเอง อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้งท้องถิ่นที่มีอยู่ผลที่ออกมาก็ชี้ชัดอยู่แล้วว่ามักเป็นคนในพื้นที่เองที่ได้รับตำแหน่งบริหารไป ทั้งนี้ต้องนำมาพิจารณาด้วยว่าในหลักการการเมืองนำการทหารนั้นควรมีการออกแบบมาตรการอย่างไรให้เกิดความเหมาะสม สมดุลกับด้านอื่นๆ
ส.ว.สรรหา ชี้กระทรวงการต่างประเทศระบุนิยาม “สันปันน้ำ” ในเอกสารชี้แจงคดีพระวิหารคลาดเคลื่อน ชี้เขตแดนจากช่องบกถึงช่องสะงำไม่จำเป็นต้องทำหลักเขตแดน กังขานำเรื่องนี้มาพูดเหมือนไม่ยืนยันในเส้นเขตแดนเดิมของไทย พยายามยกระดับแผนที่เขมร หวั่นกระทบเส้นเขตแดนทั้งหมด 195 กม.
วันนี้ (31 ม.ค.) นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก “คำนูณ สิทธิสมาน” ระบุว่า เหมือนกระเหี้ยนกระหือรือที่จะสละแผ่นดินของเราเสียจริงๆ ถ้าไม่พูดแบบนี้ก็ไม่รู้จะพูดอะไรที่สุภาพกว่านี้ได้ เพราะในเอกสาร "50 ปี 50 ประเด็นถามตอบกรณีปราสาทพระวิหาร" ตลอด 50 ข้อ 47 หน้า มีอยู่ตอนเดียวที่แทรกบทนิยามศัพท์เข้าไป คือตอนท้ายข้อ 8 ตอนต้นของหน้า 10 แต่เป็นนิยามศัพท์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง จะมีผลกระทบต่อปัญหาเขตแดนไทย-กัมพูชาในอนาคต ไม่เฉพาะแต่บริเวณปราสาทพระวิหารเท่านั้น แต่รวมตลอดแนว 195 กิโลเมตรจากช่องบก อุบลราชธานี ถึงหลักเขตที่ 1 ช่องสะงำ ศรีษะเกษ ที่ไม่เคยมีหลักเขตแดนมาตลอดกว่า 100 ปี
เป็นนิยามศัพท์ของคำ "สันปันน้ำ" ที่ระบุไว้ว่า... "สันปันน้ำ คือ แนวสันต่อเนื่องในภูมิประเทศ เมื่อฝนตกจะแบ่งน้ำเป็นสองส่วน ซึ่งอาจไม่ใช่สันเขาหรือขอบหน้าผาก็ได้ โดยปกติต้องใช้เครื่องมือทางเทคนิคในการพิสูจน์หาสันปันน้ำ ทั้งนี้ ตรงบริเวณปราสาทพระวิหาร จนถึงบัดนี้ยังไม่เคยมีการสำรวจหาสันปันน้ำในภูมิประเทศจริง"
นิยามศัพท์นี้ และคำตอบต่อปัญหาที่ว่าทำไมเขตแดน 195 กิโลเมตรนี้ไม่มีหลักเขตแดน เพราะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศสเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมี เพราะสันปันน้ำเป็นหน้าผาชัดเจน "ไม่ต้องทำ" หลักเขตแดน (มุมมอง ศ.สมปอง สุจริตกุล และภาคประชาชน) หรือว่า "ยังไม่ได้ทำ" หลักเขตแดน (มุมมองกระทรวงการต่างประเทศ) ไม่มีความจำเป็นจะต้องบรรจุเข้ามาในเอกสารฉบับนี้เลย บรรจุเข้ามาทำไม เพื่อวัตถุประสงค์ใด จิตใจของคนบรรจุข้อความนี้เข้ามาคิดอะไรอยู่ เพราะเท่ากับเป็นการไม่ยืนยันในเส้นเขตแดนเดิมของประเทศไทยในส่วน 195 กิโลเมตรจากช่องบกถึงช่องสะงำ เท่ากับยอมเจรจาใหม่หมดในส่วนนี้ ต่างกับกัมพูชาที่เขายืนยันเส้นเขตแดนตามแผนที่ระวางดงรักมาตลอด
“การบอกว่า "ยังไม่เคยมีการสำรวจหาสันปันน้ำในภูมิประเทศจริง" คิดในด้านกลับก็คือการยกระดับราคาแผนที่ระวางดงรักของกัมพูชา” นายคำนูณ ระบุ
ก่อนหน้านี้ นายคำนูณได้เขียนบทความ “50 ปี 50 ประเด็น 50 วิธี‘รักชาติ’แบบเนียน ๆ ของ กต.ไทย !” ลงในเว็บไซต์เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ และจะตีพิมพ์ใน นสพ.ASTVผู้จัดการรายวัน กล่าวโดยสรุปว่า ราชอาณาจักรไทยไทยต้องปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหารภาค 2 ปลายปี 2556 นี้อีกครั้ง หลังจากเจ็บปวดมาแล้วเมื่อ 50 ปีก่อน โดยไม่มีเงื่อนไข โดยไม่มีข้อแม้ และโดยไม่ต้องรับฟังเสียงของประชาชน แม้ว่าจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดนอย่างเป็นทางการเพิ่มถึง 50 % และ 66.66 %
ทั้งนี้ นายคำนูณได้ตั้งข้อสังเกต 3 ประการ ได้แก่ ในจำนวน 50 ประเด็น ไม่มีสักประเด็นเดียวที่กระทรวงการต่างประเทศจะให้ข้อมูลถึงเหตุที่ประเทศต่าง ๆ จะรับเขตอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ประการต่อมา แม้มีการพูดถึงจะอ้างถึงหนังสือลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2505 จากพ.อ.ถนัด คอมันตร์ถึงเลขาธิการสหประชาชาติแจ้งมติคณะรัฐมนตรี 3 กรกฎาคม 2505 ถึงการไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารภาคแรก 15 มิถุนายน 2505 และขอตั้งข้อสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะมีหรือพึงมีในอนาคตเพื่อเรียกคืนปราสาทพระวิหาร แต่ก็กลับกล่าวถึงว่าเป็นหนังสือที่ขัดกับธรรมนูญศาลข้อ 60 เป็นไปไม่ได้ และถ้าจะพอเป็นไปได้บ้างตามข้อ 61 ก็ขาดอายุเสียแล้วตั้งแต่ปี 2515
นอกจากนี้ การที่กระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยว่า คดีปราสาทพระวิหารภาค 2 นี้ไม่ใช่คดีใหม่ แต่เป็นคดีเก่า เป็นการขอตีความตามคดีเก่าตามธรรมนูญศาลข้อ 60 วรรคสอง ทั้งๆ ที่แม้แต่ในทฤษฎีกฎหมายระหว่างประเทศ ที่กระทรวงการต่างประเทศยึดถือว่าประเทศไทยยังคงผูกพันอยู่กับเขตอำนาจศาลแม้จะขาด
วันนี้ (31 ม.ค.) นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก “คำนูณ สิทธิสมาน” ระบุว่า เหมือนกระเหี้ยนกระหือรือที่จะสละแผ่นดินของเราเสียจริงๆ ถ้าไม่พูดแบบนี้ก็ไม่รู้จะพูดอะไรที่สุภาพกว่านี้ได้ เพราะในเอกสาร "50 ปี 50 ประเด็นถามตอบกรณีปราสาทพระวิหาร" ตลอด 50 ข้อ 47 หน้า มีอยู่ตอนเดียวที่แทรกบทนิยามศัพท์เข้าไป คือตอนท้ายข้อ 8 ตอนต้นของหน้า 10 แต่เป็นนิยามศัพท์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง จะมีผลกระทบต่อปัญหาเขตแดนไทย-กัมพูชาในอนาคต ไม่เฉพาะแต่บริเวณปราสาทพระวิหารเท่านั้น แต่รวมตลอดแนว 195 กิโลเมตรจากช่องบก อุบลราชธานี ถึงหลักเขตที่ 1 ช่องสะงำ ศรีษะเกษ ที่ไม่เคยมีหลักเขตแดนมาตลอดกว่า 100 ปี
เป็นนิยามศัพท์ของคำ "สันปันน้ำ" ที่ระบุไว้ว่า... "สันปันน้ำ คือ แนวสันต่อเนื่องในภูมิประเทศ เมื่อฝนตกจะแบ่งน้ำเป็นสองส่วน ซึ่งอาจไม่ใช่สันเขาหรือขอบหน้าผาก็ได้ โดยปกติต้องใช้เครื่องมือทางเทคนิคในการพิสูจน์หาสันปันน้ำ ทั้งนี้ ตรงบริเวณปราสาทพระวิหาร จนถึงบัดนี้ยังไม่เคยมีการสำรวจหาสันปันน้ำในภูมิประเทศจริง"
นิยามศัพท์นี้ และคำตอบต่อปัญหาที่ว่าทำไมเขตแดน 195 กิโลเมตรนี้ไม่มีหลักเขตแดน เพราะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศสเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมี เพราะสันปันน้ำเป็นหน้าผาชัดเจน "ไม่ต้องทำ" หลักเขตแดน (มุมมอง ศ.สมปอง สุจริตกุล และภาคประชาชน) หรือว่า "ยังไม่ได้ทำ" หลักเขตแดน (มุมมองกระทรวงการต่างประเทศ) ไม่มีความจำเป็นจะต้องบรรจุเข้ามาในเอกสารฉบับนี้เลย บรรจุเข้ามาทำไม เพื่อวัตถุประสงค์ใด จิตใจของคนบรรจุข้อความนี้เข้ามาคิดอะไรอยู่ เพราะเท่ากับเป็นการไม่ยืนยันในเส้นเขตแดนเดิมของประเทศไทยในส่วน 195 กิโลเมตรจากช่องบกถึงช่องสะงำ เท่ากับยอมเจรจาใหม่หมดในส่วนนี้ ต่างกับกัมพูชาที่เขายืนยันเส้นเขตแดนตามแผนที่ระวางดงรักมาตลอด
“การบอกว่า "ยังไม่เคยมีการสำรวจหาสันปันน้ำในภูมิประเทศจริง" คิดในด้านกลับก็คือการยกระดับราคาแผนที่ระวางดงรักของกัมพูชา” นายคำนูณ ระบุ
ก่อนหน้านี้ นายคำนูณได้เขียนบทความ “50 ปี 50 ประเด็น 50 วิธี‘รักชาติ’แบบเนียน ๆ ของ กต.ไทย !” ลงในเว็บไซต์เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ และจะตีพิมพ์ใน นสพ.ASTVผู้จัดการรายวัน กล่าวโดยสรุปว่า ราชอาณาจักรไทยไทยต้องปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหารภาค 2 ปลายปี 2556 นี้อีกครั้ง หลังจากเจ็บปวดมาแล้วเมื่อ 50 ปีก่อน โดยไม่มีเงื่อนไข โดยไม่มีข้อแม้ และโดยไม่ต้องรับฟังเสียงของประชาชน แม้ว่าจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดนอย่างเป็นทางการเพิ่มถึง 50 % และ 66.66 %
ทั้งนี้ นายคำนูณได้ตั้งข้อสังเกต 3 ประการ ได้แก่ ในจำนวน 50 ประเด็น ไม่มีสักประเด็นเดียวที่กระทรวงการต่างประเทศจะให้ข้อมูลถึงเหตุที่ประเทศต่าง ๆ จะรับเขตอำนาจศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ประการต่อมา แม้มีการพูดถึงจะอ้างถึงหนังสือลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2505 จากพ.อ.ถนัด คอมันตร์ถึงเลขาธิการสหประชาชาติแจ้งมติคณะรัฐมนตรี 3 กรกฎาคม 2505 ถึงการไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารภาคแรก 15 มิถุนายน 2505 และขอตั้งข้อสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะมีหรือพึงมีในอนาคตเพื่อเรียกคืนปราสาทพระวิหาร แต่ก็กลับกล่าวถึงว่าเป็นหนังสือที่ขัดกับธรรมนูญศาลข้อ 60 เป็นไปไม่ได้ และถ้าจะพอเป็นไปได้บ้างตามข้อ 61 ก็ขาดอายุเสียแล้วตั้งแต่ปี 2515
นอกจากนี้ การที่กระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยว่า คดีปราสาทพระวิหารภาค 2 นี้ไม่ใช่คดีใหม่ แต่เป็นคดีเก่า เป็นการขอตีความตามคดีเก่าตามธรรมนูญศาลข้อ 60 วรรคสอง ทั้งๆ ที่แม้แต่ในทฤษฎีกฎหมายระหว่างประเทศ ที่กระทรวงการต่างประเทศยึดถือว่าประเทศไทยยังคงผูกพันอยู่กับเขตอำนาจศาลแม้จะขาด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น