สรุปข่าววันที่ ๒๙
ม.ค.๕๖
สำนักข่าวแห่งชาติอิหร่าน
ประกาศความสำเร็จในการส่งลิงขึ้นสู่อวกาศ และสามารถนำกลับสู่โลกได้อย่างปลอดภัย
สำนักข่าว IRNA ของอิหร่าน รายงานอ้างแถลงการณ์กระทรวงกลาโหมว่า อิหร่านได้ส่งลิงเป็นๆขึ้นสู่อวกาศสำเร็จ ไม่กี่วันหลังการฉลองวันประสูติของพระศาสดาโมฮัมหมัดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่ไม่ได้ระบุวันที่แน่ชัด พร้อมกับโน้มน้าวว่าความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาขีปนาวุธและอวกาศอิหร่าน กำลังทำให้ชาติตะวันตกและอิสราเอลตกใจอย่างไรก็ตามไม่มีรายงานจากสำนักข่าวอิสระที่ยืนยันข่าวนี้
รายงานระบุว่า ลิงถูกส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวด โควอชการ์ ถึงระดับความสูงกว่า 120 กิโลเมตร ก่อนที่จรวดจะกลับคืนสู่พื้นโลกได้อย่างเรียบร้อยและลิงข้างในก็รอดปลอดภัยด้วย
ทั้งนี้อิหร่านเคยประกาศโครงการส่งลิงสู่อวกาศมาตั้งแต่ปี 2011 แต่มีรายงานว่าความพยายามดังกล่าวล้มเหลว ขณะที่ชาติมหาอำนาจมีความเป็นห่วงว่าเทคโนโลยีขีปนาวุธพิสัยไกล ซึ่งอิหร่านใช้ส่งดาวเทียมสู่วงโคจร อาจถูกนำมาใช้ในการยิงหัวรบนิวเคลียร์ แต่ทางรัฐบาลอิหร่านได้ปฏิเสธความคิดดังกล่าว และย้ำว่าโครงการนิวเคลียร์ของตนมีเป้าหมายเพื่อผลิตพลังงานในทางสันติเท่านั้น
สำนักข่าว IRNA ของอิหร่าน รายงานอ้างแถลงการณ์กระทรวงกลาโหมว่า อิหร่านได้ส่งลิงเป็นๆขึ้นสู่อวกาศสำเร็จ ไม่กี่วันหลังการฉลองวันประสูติของพระศาสดาโมฮัมหมัดเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่ไม่ได้ระบุวันที่แน่ชัด พร้อมกับโน้มน้าวว่าความก้าวหน้าของโครงการพัฒนาขีปนาวุธและอวกาศอิหร่าน กำลังทำให้ชาติตะวันตกและอิสราเอลตกใจอย่างไรก็ตามไม่มีรายงานจากสำนักข่าวอิสระที่ยืนยันข่าวนี้
รายงานระบุว่า ลิงถูกส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวด โควอชการ์ ถึงระดับความสูงกว่า 120 กิโลเมตร ก่อนที่จรวดจะกลับคืนสู่พื้นโลกได้อย่างเรียบร้อยและลิงข้างในก็รอดปลอดภัยด้วย
ทั้งนี้อิหร่านเคยประกาศโครงการส่งลิงสู่อวกาศมาตั้งแต่ปี 2011 แต่มีรายงานว่าความพยายามดังกล่าวล้มเหลว ขณะที่ชาติมหาอำนาจมีความเป็นห่วงว่าเทคโนโลยีขีปนาวุธพิสัยไกล ซึ่งอิหร่านใช้ส่งดาวเทียมสู่วงโคจร อาจถูกนำมาใช้ในการยิงหัวรบนิวเคลียร์ แต่ทางรัฐบาลอิหร่านได้ปฏิเสธความคิดดังกล่าว และย้ำว่าโครงการนิวเคลียร์ของตนมีเป้าหมายเพื่อผลิตพลังงานในทางสันติเท่านั้น
อองซาน ซูจี
ผู้นำฝ่ายค้านพม่าเดินทางถึงกรุงโซล ตามกำหนดเยือนเกาหลีใต้ 5 วัน
ท่ามกลางการต้อนรับของผู้สนับสนุนอย่างคึกคัก
กองทัพผู้สื่อข่าวแห่ไปทำข่าวและถ่ายภาพซูจีที่สนามบินอินชอนในกรุงโซล ขณะที่ผู้สนับสนุนชาวพม่าตั้งแถวรอต้อนรับอยู่ที่โรงแรมที่พัก มีการโบกธงและป้ายผ้าต้อนรับ หลายคนถึงกับหลั่งน้ำตาด้วยความปลาบปลื้ม
การเยือนเกาหลีใต้ครั้งนี้ ซูจีมีภารกิจสำคัญเพื่อเข้าพบหารือกับ ประธานาธิบดี ลี เมียง-บัก ผู้นำคนปัจจุบันของเกาหลีใต้ ที่กำลังจะหมดวาระลง และพบกับปาร์ค กึน-เฮ ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ซึ่งจะเข้ารับตำแหน่งในเดือนหน้า นอกจากนี้ซูจี ยังต้องเดินทางไปยังเมืองเปียงชาง เมืองตากอากาศบนภูเขา ทางตะวันออกเฉียงเหนือในฐานะแขกผู้มีเกียรติในพิธีเปิดกีฬาพิเศษโอลิมปิกฤดูหนาว ซึ่งเกาหลีใต้ได้เป็นเจ้าภาพเป็นครั้งแรก รวมถึงเดินทางไปยังเมืองกวางจู เพื่อรับรางวัลด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับการเรียกร้องประชาธิปไตยต่อต้านระบอบเผด็จการทหารพม่าเมื่อปี 1980 ซึ่งเธอได้รับรางวัลนี้ตั้งแต่ปี 2004 แต่ไม่สามารถมารับรางวัลได้เพราะถูกสั่งกักบริเวณภายในที่พัก
การเยือนครั้งนี้มีขึ้น ขณะที่พม่าได้รับข่าวดี 2 ต่อคือ การบรรลุข้อตกลงกับเจ้าหนี้กลุ่มประเทศปารีสคลับ ให้ยกเลิกหนี้สินที่ค้างชำระลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง เกือบ 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.8 แสนล้านบาท โดยจะแบ่งเป็น 2 ระยะ ส่วนหนี้ที่เหลือจะปรับกำหนดเวลาชำระหนี้คืนใหม่เป็นภายใน 15 ปี โดยประเทศที่ยกหนี้ให้มากที่สุดคือ ญี่ปุ่นยกหนี้กว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือ นอร์เวย์ยกหนี้ให้ 534 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ข่าวดีอีกอย่างคือ พม่าได้เงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ JBIC เพื่อนำไปชำระหนี้ค้างเก่าของธนาคารโลก และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย มูลค่าประมาณ 960 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะเปิดทางให้พม่าสามารถกู้ยืมเงินก้อนใหม่ เพื่อใช้ในโครงการเศรษฐกิจและสังคม
กองทัพผู้สื่อข่าวแห่ไปทำข่าวและถ่ายภาพซูจีที่สนามบินอินชอนในกรุงโซล ขณะที่ผู้สนับสนุนชาวพม่าตั้งแถวรอต้อนรับอยู่ที่โรงแรมที่พัก มีการโบกธงและป้ายผ้าต้อนรับ หลายคนถึงกับหลั่งน้ำตาด้วยความปลาบปลื้ม
การเยือนเกาหลีใต้ครั้งนี้ ซูจีมีภารกิจสำคัญเพื่อเข้าพบหารือกับ ประธานาธิบดี ลี เมียง-บัก ผู้นำคนปัจจุบันของเกาหลีใต้ ที่กำลังจะหมดวาระลง และพบกับปาร์ค กึน-เฮ ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่ซึ่งจะเข้ารับตำแหน่งในเดือนหน้า นอกจากนี้ซูจี ยังต้องเดินทางไปยังเมืองเปียงชาง เมืองตากอากาศบนภูเขา ทางตะวันออกเฉียงเหนือในฐานะแขกผู้มีเกียรติในพิธีเปิดกีฬาพิเศษโอลิมปิกฤดูหนาว ซึ่งเกาหลีใต้ได้เป็นเจ้าภาพเป็นครั้งแรก รวมถึงเดินทางไปยังเมืองกวางจู เพื่อรับรางวัลด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับการเรียกร้องประชาธิปไตยต่อต้านระบอบเผด็จการทหารพม่าเมื่อปี 1980 ซึ่งเธอได้รับรางวัลนี้ตั้งแต่ปี 2004 แต่ไม่สามารถมารับรางวัลได้เพราะถูกสั่งกักบริเวณภายในที่พัก
การเยือนครั้งนี้มีขึ้น ขณะที่พม่าได้รับข่าวดี 2 ต่อคือ การบรรลุข้อตกลงกับเจ้าหนี้กลุ่มประเทศปารีสคลับ ให้ยกเลิกหนี้สินที่ค้างชำระลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง เกือบ 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.8 แสนล้านบาท โดยจะแบ่งเป็น 2 ระยะ ส่วนหนี้ที่เหลือจะปรับกำหนดเวลาชำระหนี้คืนใหม่เป็นภายใน 15 ปี โดยประเทศที่ยกหนี้ให้มากที่สุดคือ ญี่ปุ่นยกหนี้กว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือ นอร์เวย์ยกหนี้ให้ 534 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ข่าวดีอีกอย่างคือ พม่าได้เงินกู้จากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ JBIC เพื่อนำไปชำระหนี้ค้างเก่าของธนาคารโลก และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย มูลค่าประมาณ 960 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะเปิดทางให้พม่าสามารถกู้ยืมเงินก้อนใหม่ เพื่อใช้ในโครงการเศรษฐกิจและสังคม
กลุ่มแนวร่วม 29 มกรา ปลดปล่อยนักโทษการเมืองกว่าพันคน
รวมตัวที่ลานพระบรมรูปทรงม้าก่อนเดินขบวนมุ่งหน้าไปที่ทำเนียบรัฐบาล
เรียกร้องให้นิรโทษกรรมนักโทษการเมืองทั้งหมด
โดยกลุ่มแนวร่วมดังกล่าวจำนวนกว่า 1,000 คน
ได้มารวมตัวกันที่ลานพระบรมรูปทรงม้า โดยพร้อมใจกันใส่เสื้อแดง ถือป้ายประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลปลอดปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมด
เพื่อคืนอำนาจให้กับประชาชน
โดยกลุ่มแกนนำได้อยู่บนรถบรรทุกขยายเสียงคอยควบคุมสถานการณ์ให้กลุ่มผู้ชุมนุมอยู่ในความสงบ
ก่อนที่จะตั้งขบวนเดินไปยังทำเนียบรัฐบาล
ท่ามกลางการคุมเข้มดูแลความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
เพื่อยื่นข้อเรียกร้องให้กับนายกรัฐมนตรีในการนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง
เพราะเห็นว่าแม้นักโทษการเมืองเหล่านี้จะไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำ
แต่ทุกคนก็ใช้ชีวิตแบบคนปกติไม่ได้ เนื่องจากถูกตราหน้าว่าเป็นคนขี้คุก ดังนั้น
เพื่อเป็นการแสดงความจริงใจของรัฐบาล และเข้าสู่กระบวนการปรองดอง
จึงควรพิจารณานิรโทษกรรมนักโทษการเมืองทั้งหมด
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
ยืนยันไม่คัดค้านการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่ควรครอบคลุมเฉพาะช่วงประกาศ
พ.ร.ก.ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ บอกว่า ฝ่ายค้านยังคงยืนยันว่าไม่เห็นด้วยกับการออก
พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ทุกฝ่ายควรเดินไปในจุดเดียวกัน เพื่อหาทางออกที่ดีที่สุดของประเทศ
ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ไม่ขัดข้องกับการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่จะต้องครอบคลุมเฉพาะช่วงที่มีการประกาศใช้
พ.ร.ก.ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะเป็นช่วงสถานการณ์บ้านเมืองที่ไม่มั่นคง
แต่หากรัฐบาลไม่ทำเช่นนั้นก็แสดงว่ารัฐบาลต้องการต่อรองซึ่งจะย้อนกลับไปเหมือน
พ.ร.บ.ปรองดอง ที่ยังค้างอยู่ในสภาฯ และไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ ดังนั้น
รัฐบาลต้องตั้งหลักและเริ่มจากจุดร่วมไม่ใช่เริ่มจากจุดแตกหักที่สำคัญต้องเปิดใจกว้างรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายและพร้อมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมขณะเดียวกันพ.ต.ท.ทักษิณต้องเริ่มจากการเดินทางกลับมารับโทษซึ่งเชื่อว่าทุกอย่างจะเดินหน้าต่อไปได้
ผู้บริหารสำนักข่าว ASTV เข้าให้ปากคำเพิ่มเติมกับพนักงานสอบสวน
สน.ชนะสงคราม เชื่อตำรวจเกี่ยวข้องกับคดียิงรถข่าว ASTV เพราะวันเกิดเหตุมีสิ่งผิดปกติหลายอย่าง
นายปานเทพ
วงศ์พัวพัน ผู้บริหารสำนักข่าว ASTV
ให้ปากคำเพิ่มเติมกับพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม
หลังเมื่อคืนนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จำลองเหตุการณ์เหมือนจริง
เพื่อตรวจหาวิถีกระสุน และเส้นทางหลบหนีของคนร้าย
โดยนายปานเทพ
เชื่อว่าคนร้ายต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอิทธิพล และไม่น่าใช่ฝีมือของทหาร
แต่เป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องมากว่า
เพราะในวันเกิดเหตุมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในพื้นที่หลายอย่าง เช่น
เจ้าหน้าที่ตำรวจงปิดสถานบริการในพื้นที่ก่อนเวลากำหนด และ
ไล่ประชาชนที่เข้าไปพักผ่อนในสวนสันติฯ ออกนอกพื้นที่ตั้งแต่เวลา 01.00 น.ซึ่งปกติเหตุการณ์แบบนี้ไม่เคยเกิดขึ้น
ส่วนกรณีที่หลายคนมองว่า น่าจะมีสาเหตุมาจากการนำเสนอข่าวบางข่าวนั้น นายปานเทพ
กล่าวว่า เป็นไปได้ทุกสาเหตุ ซึ่งตรงนี้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน
ไม่สามารถคาดเดาได้ นอกจากนี้ยังคาดว่า
คนร้ายอาจจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มอันธพานบางกลุ่ม หรือ เกี่ยวข้องกับนักการเมือง
แต่ไม่สามารถระบุได้
กกต.กทม.เตรียมประกาศคุณสมบัติผู้สมัครผู้ว่าฯ
กทม.วันที่ 1 ก.พ.นี้ ขณะที่ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย
เตรียมทำหนังสือขออนุญาตหาเสียงในสถานที่เปิดของ กทม.
นายทวีศักดิ์
ตู้จินดา ประธาน กกต.กทม.เปิดเผยว่า ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ จะสามารถประกาศคุณสมบัติผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ได้ทั้ง 25
คน โดยจาการตรวจสอบเบื้องต้นยังไม่พบใครขาดคุณสมบัติ แม้ยังไม่พบการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
แต่เริ่มมีการร้องเรียนเข้าไปยังกรุงเทพมหานคร จำนวนมาก
กรณีมีการแอบแฝงนำป้ายโฆษณาไปแขวนไว้บนป้ายหาเสียงเลือกตั้งของผู้สมัคร ซึ่ง
กทม.ได้สั่งไปยังสำนักงานเขตทั้ง 50 แห่ง ให้ดูแลในจุดนี้แล้ว
และหลังคว้าคะแนนนิยมจากหลายโพลล์ล่าสุด พรรคเพื่อไทยเตรียมเปิดนโยบายหาเสียงผู้ว่าฯ กทม.อย่างเป็นทางการ ในเฟสแรกจาก 4 เฟสใหญ่ในวันพรุ่งนี้ ขณะที่เจ้าตัวเตรียมทำหนังสือถึงปลัดกรุงเทพมหานคร ขออนุญาตหาเสียงในสถานที่เปิดของ กทม. หลังถูกห้ามหาเสียงในศูนย์บริการสาธารณสุข 4 ดินแดง วานนี้
และหลังคว้าคะแนนนิยมจากหลายโพลล์ล่าสุด พรรคเพื่อไทยเตรียมเปิดนโยบายหาเสียงผู้ว่าฯ กทม.อย่างเป็นทางการ ในเฟสแรกจาก 4 เฟสใหญ่ในวันพรุ่งนี้ ขณะที่เจ้าตัวเตรียมทำหนังสือถึงปลัดกรุงเทพมหานคร ขออนุญาตหาเสียงในสถานที่เปิดของ กทม. หลังถูกห้ามหาเสียงในศูนย์บริการสาธารณสุข 4 ดินแดง วานนี้
ความเป็นชุมชนเมือง
ในกรุงเทพมหานคร มีการแบ่งประเภทตามสภาพของแต่ละชุมชน
ซึ่งพบว่าเฉพาะชุมชนที่จดทะเบียนตามระเบียบของกทม.มีเพียง2,054ชุมชนมากที่สุดคือชุมชนแออัด
โดยข้อมูลจากสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร ระบุว่า การขอจดทะเบียนของชุมชนจะทำให้ชุมชนแต่ละแห่งได้รับงบประมาณสนับสนุน และในจำนวน 2 พัน 54 ชุมชนนี้ แบ่งชุมชนออกเป็น 5 ประเภทด้วยกัน คือ เคหะชุมชน 121 ชุมชน, หมู่บ้านจัดสรร 418 ชุมชน, ชุมชนชานเมือง 432 ชุมชน, ชุมชนเมือง 299 ชุมชน, และชุมชนแออัด 784 ชุมชน รวมประชากรทั้งหมดมีประมาณกว่า 760,000 คน ใน 150,000 กว่าหลังคาเรือน ขณะที่ประชากรในกทม.มีมากกว่า 5 ล้านคน นั่นหมายความว่ายังมีชุมชนอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้ขอจดทะเบียน โดยเฉพาะชุมชนแออัดที่หลายแห่งมีปัญหาในเรื่องของการบุกรุกที่เอกชน การบุกรุกที่ของทางการ ซึ่งคาดว่าชุมชนแออัดเหล่านี้น่าจะมีมากกว่าที่ขอจดทะเบียนเอาไว้
และในชุมชนแออัดก็มีการแบ่งปัญหาออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน คือ ปัญหาสุขภาพอนามัย เป็นแหล่งที่เพาะเชื้อโรคต่างๆ และกระจายเชื้อโรคได้ง่าย , ปัญหาความไม่ปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย บ้านทรุดโทรมและเกิดอัคคีภัย , ปัญหาอาชญากรรม เนื่องจากผู้อยู่อาศัยเป็นผู้ที่อพยพโยกย้ายมาจากแหล่งต่างๆ มีอาชีพไม่แน่นอน เมื่อเกิดตกงาน ก็อาจประกอบอาชีพในทางผิดกฎหมายได้ และปัญหาสุดท้ายคือ ปัญหาด้านศีลธรรม เช่น พ่อแม่ หรือผู้ใหญ่ทะเลาะกัน หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เด็ก ๆ ในบ้าน หรือสมาชิกในชุมชน พบเห็นจนรู้สึกว่าเป็นสิ่งปกติธรรมดา ที่ตนก็อาจปฏิบัติได้ นำไปสู่ปัญหาทางด้านศีลธรรมและความประพฤติผิดได้ต่อไป
โดยข้อมูลจากสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร ระบุว่า การขอจดทะเบียนของชุมชนจะทำให้ชุมชนแต่ละแห่งได้รับงบประมาณสนับสนุน และในจำนวน 2 พัน 54 ชุมชนนี้ แบ่งชุมชนออกเป็น 5 ประเภทด้วยกัน คือ เคหะชุมชน 121 ชุมชน, หมู่บ้านจัดสรร 418 ชุมชน, ชุมชนชานเมือง 432 ชุมชน, ชุมชนเมือง 299 ชุมชน, และชุมชนแออัด 784 ชุมชน รวมประชากรทั้งหมดมีประมาณกว่า 760,000 คน ใน 150,000 กว่าหลังคาเรือน ขณะที่ประชากรในกทม.มีมากกว่า 5 ล้านคน นั่นหมายความว่ายังมีชุมชนอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้ขอจดทะเบียน โดยเฉพาะชุมชนแออัดที่หลายแห่งมีปัญหาในเรื่องของการบุกรุกที่เอกชน การบุกรุกที่ของทางการ ซึ่งคาดว่าชุมชนแออัดเหล่านี้น่าจะมีมากกว่าที่ขอจดทะเบียนเอาไว้
และในชุมชนแออัดก็มีการแบ่งปัญหาออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน คือ ปัญหาสุขภาพอนามัย เป็นแหล่งที่เพาะเชื้อโรคต่างๆ และกระจายเชื้อโรคได้ง่าย , ปัญหาความไม่ปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย บ้านทรุดโทรมและเกิดอัคคีภัย , ปัญหาอาชญากรรม เนื่องจากผู้อยู่อาศัยเป็นผู้ที่อพยพโยกย้ายมาจากแหล่งต่างๆ มีอาชีพไม่แน่นอน เมื่อเกิดตกงาน ก็อาจประกอบอาชีพในทางผิดกฎหมายได้ และปัญหาสุดท้ายคือ ปัญหาด้านศีลธรรม เช่น พ่อแม่ หรือผู้ใหญ่ทะเลาะกัน หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เด็ก ๆ ในบ้าน หรือสมาชิกในชุมชน พบเห็นจนรู้สึกว่าเป็นสิ่งปกติธรรมดา ที่ตนก็อาจปฏิบัติได้ นำไปสู่ปัญหาทางด้านศีลธรรมและความประพฤติผิดได้ต่อไป
สหภาพพนักงานรัฐวิสาหกิจการท่าเรือแห่งประเทศไทย
ชุมนุมขับไล่ผู้อำนวยการท่าเรือฯ ออกจากตำแหน่ง
อ้างบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพและขัดเเย้งเรื่องการจ่ายค่าล่วงเวลาจนเกิดการฟ้องร้องกว่าพันคดี
นายจเร หมีดนุ
ประธานสหภาพพนักงานรัฐวิหกิจการท่าเรือแห่งประเทศไทย นำพนักงานการท่าเรือฯ กว่า 200 คน
ชุมนุมหน้าสำนักงานใหญ่การท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อขับไล่ นายวิโรจน์
จงชาณสิทธิโธ ผู้อำนวยการการท่าเรือฯ ออกจากตำแหน่ง โดยให้เหตุผลว่า
บริหารงานไม่มีประสิทธิภาพ สร้างความแตกแยก และทำลายขวัญกำลังใจพนักงาน
โดยเฉพาะในเรื่องการจ่ายค่าล่วงเวลาจนนำไปสู่การฟ้องร้อง
ซึ่งแทนที่จะเข้ามาไกล่เกลี่ยแต่กลับตั้งทนายความสู้คดี ซึ่งถือเป็นการทำผิด
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
โดยทางสหภาพฯ ได้ยื่นหนังสือถึงประธานบอร์ดการท่าเรือฯ
เพื่อให้ปลดนายวิโรจน์ออกจากตำแหน่งภายในวันนี้ มิเช่นนั้นจะยกระดับการชุมนุม
แต่ยืนยันจะไม่หยุดงาน หรือ ปิดท่าเรือ
ล่าสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เข้ามาไกล่เกลี่ยเรื่องนี้
โดยนัดทั้ง 2 ฝ่ายไปหาข้อยุติกัน
ในวันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์นี้ ที่กระทรวงคมนาคม
คนร้ายดักซุ่มยิงสองสามีภรรยานักการภารโรงโรงเรียนบ้านโต๊ะเด็ง
และนักการภารโรงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโต๊ะเด็ง กระสุนพรุนไปทั้งร่าง
ดับคาที่ 2 ศพ พร้อมเชิดปืน และรถจักรยายนต์ ของผู้ตายหลบหนีไป
โดยเหตุเกิดบนถนนเลียบทางรถไฟในหมู่บ้านไอบาตู
หมู่ 4 ต.โต๊ะเด็ง
อ.สุไหงปาดี ที่เกิดเหตุ พบศพนายดนัย ผุดผ่อง อายุ 45 ปี
ซึ่งเป็นนักการภารโรง โรงเรียนบ้านโต๊ะเด็ง
มีบาดแผลถูกยิงด้วยกระสุนปืนลูกซองพรุนไปทั้งร่าง ข้างกันพบศพ นางสุภาวดี ผุดผ่อง
อายุ 39 ปี
เป็นนักการภารโรงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโต๊ะเด็ง ภรรยา
มีบาดแผลถูกยิงด้วยกระสุนปืนขนาดเดียวกันพรุนไปทั้งร่างเช่นกัน
และที่บริเวณใต้โคนต้นไม้รกทึบ เจ้าหน้าที่พบปลอกกระสุนปืนลูกซอง จำนวน 3 ปลอกตกอยู่ จึงเก็บรวบรวมไว้เป็นหลักฐาน
จากการสอบสวนทราบว่า
ขณะสองสามีภรรยากำลังเดินทางกลับจากตลาดสุไหงปาดีเพื่อกลับบ้านพัก
เมื่อถึงจุดเกิดเหตุได้มีคนร้ายไม่ทราบจำนวนดักซุ่มอยู่ในป่ารกทึบริมทาง
และใช้อาวุธปืนลูกซองยิงใส่นายดนัย และภรรยา จำนวน 3 นัดซ้อน จนทั้งคู่เสียชีวิต
และก่อนหลบหนีคนร้ายได้เดินออกมาจากป่าทำการค้นตัวผู้ตาย พบอาวุธปืนพกสั้นขนาด 9
ม.ม.ที่เหน็บอยู่ที่เอวของนายดนัย หลบหนีไป พร้อมกับรถ จักรยานยนต์
ฮอนด้า เวฟ สีแดงขาว ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน ไปด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น