วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ทหารเรือ!!! โดนกระชับพื้นที่? วันที่ 08 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 เวลา 20:19:55 น.







เมื่อเอ่ยถึงหน่วยงานในสังกัด กองทัพเรือที่ชื่อ"กองเรือทุ่นระเบิด" หลายคนอาจจะนึกกลัว และไม่อยากเข้าใกล้เนื่องจากชื่อที่บ่งบอกว่าอยู่กับ "ระเบิด" ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายแต่ใครจะรู้ว่าแท้จริงแล้วภายใน ที่ทำการของ "กองเรือทุ่นระเบิด" ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด



เพราะตั้งแต่ที่ทีมข่าวมติชนก้าวเข้าไปสัมผัสก็ได้การต้อนรับจากน.อ.เชษฐา ใจเปี่ยม รองผู้บัญชาการกองเรือทุ่นระเบิด , น.ต.เอกลักษณ์ ปานสอบ ผู้บังคับการเรือหลวงถลางและคณะ เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันยังให้ความรู้และประวัติความเป็นมาของกองเรือทุ่นระเบิด พร้อมพาชมอุปกรณ์ที่เคยใช้ในราชการแต่ปลดระวางแล้วตามจุดต่างๆที่เรียกว่า  Outdoor Museum จากนั้นทางคณะรองผู้บัญชาการฯ ก็พาทีมข่าวเข้าไปเที่ยวชมทุกซอกทุกมุมบน"เรือหลวงถลาง" ที่กำลังลอยลำอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา




สำหรับเรือลำนี้ถือเป็นเรือสำคัญ ในการลาดตระเวนและเป็นเรือรบลำเดียวที่ใช้บัญชาการสนันสนุนการต่อต้านทุ่นระเบิด โดย น.ต.เอกลักษณ์ ได้เล่าให้ทีมข่าวฟังเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของ เรือหลวงถลาง สังกัดหมวดเรือที่ 3กองเรือทุ่นระเบิด ว่าถูกออกแบบโดยบริษัท FERROSTAAL A-G MSSEN  ประเทศเยอรมนี ให้มีความกว้าง10เมตร ยาว 55.7 เมตร กินน้ำลึก 3.1 เมตร ระวางขับน้ำสูงสุด 1,100 ตันความเร็วสูงสุด 12 นอต ระยะปฏิบัติการที่ความเร็วมัธยัสถ์ 10 นอต และต่อขึ้นที่บริษัทอู่กรุงเทพจำกัด วางกระดูกงูเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2522 ทำพิธีปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 17มีนาคม 2523 ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2523



       


ส่วนสมรรถนะอื่น อาทิ ด้านอาวุธนั้นก็มีอาวุธปืนประจำเรือทั้งหมด 7 กระบอก แบ่งเป็นปืนกล 40 มิลลิเมตร โบฟอร์ส แท่นเดี่ยว 1 แท่น ตั้งอยู่บนหัวเรือเด่นเป็นสง่า, ปืนกล .50 นิ้ว จำนวน 4 กระบอก บริเวณดาดฟ้าเรือ นิ้ว ปืนกลขนาด 20 มิลลิเมตรแท่นเดี่ยว จำนวน 2 แท่น  พร้อมกันนี้ยังมีอุปกรณ์กวาดทุ่นระเบิดเป็นเครื่องกวาดเสียงA.MK.4พร้อมสายกวาด จำนวน 4 ชุดรางปล่อยทุ่นระเบิด MK.6/MK.18 จำนวน 4ลูก อีกด้วย


    

เมื่อเที่ยวชมบนหัวเรือ และดาดฟ้าเรือเพื่อทดลองการใช้อาวุธประจำเรือแล้วทางคณะกองเรือทุ่นระเบิด ยังใจดี!! เปิดห้องควบคุมหรือที่ทหารเรือรู้จักกันในนาม  “สะพานเดินเรือ” ให้ทีมข่าวได้เข้าไปชม  ซึ่งเมื่อเดินเข้าไปภายใน สะพานเดินเรือ ก็ต้องอัศจรรย์ใจกับเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการควบุคมเพราะมีทั้งแบบใช้พลังการคน กับใช้พลังงานไฟฟ้า อาทิ ผงา , สั่งจักร , เรดาร์ , โทรศัพท์ระหว่างห้องยุทธการ,เครื่องจับโซน่า และแผนที่เพื่อดูร่องน้ำ พร้อมกันนี้ยังสาธิตการใช้สัญลักษณ์ธงสื่อสารระหว่างเรือว่ามีลักษณะอย่างไร

    



และหลังจากเดินชมเรือรบที่ไม่คิดว่าจะใหญ่ขนาดนี้จนเหนื่อยทีมข่าวก็ขอแวะพักรับประทานอาหารเติมพลังที่สโมรกองเรือทุ่นระเบิดกันเสียหน่อยไม่ว่าจะเป็นทะเลป่วน,ทอดมันปลากราย,ปลาหมึกแดดเดียวและปูนิ่มผัดผงกะหรี่ซึ่งต้องบอกว่ากับข้าวแต่ละจานอร่อยไม่น้อยหน้ากัน



หากใครสนใจอยากเข้าไปเที่ยวชมเรือหลวงถลางอย่างที่ทีมข่าวเข้าไปก็สามารถขับรถไปได้เลย เพราะที่ตั้งของกองเรือทุ่นระเบิดอยู่แค่ พระสมุทรเจดีย์นี้เอง หรือจะติดต่อเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะก็ทำได้ ที่เบอร์ 02 –475 – 6517  ทุกวัน ตั้งแต่ 9.00 – 16.00น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น