สรุปข่าววันที่ 24 ม.ค.2556 ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น.
การเมือง
12.08 น. "บิ๊กโอ๋" มั่นใจหลักฐานชี้แจงศาลโลกปมเขาพระวิหาร ลั่นทุกคนรักชาติและไม่อยากเสียดินแดน เผยยกหูถก “เตีย บันห์” ไม่มีปัญหาในหลักการย้ำไทย-เขมรต้องอยู่ร่วมกันจนโลกสลาย เพราะอีก 2 ปีจะเข้าสู่เออีซี จวกสื่ออย่าเสนอข่าวแง่ลบ ไม่ได้ทำให้ดีขึ้น
12.15 น. ไร้รอยต่อไม่เคลียร์ ประธาน กกต.กทม. ขอ พล.ต.อ.พงศพัศ ชี้แจงถึงวิธีการในการดำเนินการตามที่ได้หาเสียงเอาไว้ให้ชัดเจน ห่วงเข้าข่ายทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง กรณีหาเสียงเกินจริง
12.37 น. มาร์ค - สุเทพ ส่งทนายฟ้อง นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ อ้างทำผิด ม.157 และ ม.200 ยัดเยียดข้อ กล่าวหา คดีผู้เสียชีวิตจากเหตุสลายการชุมนุม
13.00 น. นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย สั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ทำความเข้าใจประชาชน กรณีรัฐบาลเตรียมออก พ.ร.บ.กู้เงิน 2.27 ล้านล้านบาท หวั่น โดนครหาดีแต่กู้
13.09 น. นายกรัฐมนตรี ท้า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ หากมีหลักฐานรัฐบาลมีประโยชน์ทับซ้อนทางทะเล รีบโชว์ จิกเจ็บอย่าทำแค่กล่าวหาลอยๆ
14.18 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ปัดส่งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เจรจาลับฝ่ายเขมร แจง เป็นการเจรจานอกรอบ เท่านั้น จัดหนัก นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ตกลงเป็น รมว.ต่างประเทศไทย หรือ โฆษกรัฐบาลกัมพูชา
15.42 น. "จุรินทร์" หวั่นปมพ.ร.ก.นิรโทษกรรม ก่อความแตกแยกอีกครั้งในบ้านเมือง พร้อมการต่อต้านของหลายฝ่าย เตือน "ยิ่งลักษณ์" คิดให้รอบคอบ และควรมีความชัดเจนต่อเรื่องนี้ อย่าลอยตัวเหนือปัญหา
16.57 น. "ชวนนท์" โฆษก ปชป. ยก 7 ข้อสวน "สุรพงษ์" อัดยับไม่ทำการบ้าน รับลูกเขมรดิสเครดิตฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองภายในประเทศ ยันรัฐบาล ปชป. ยกเลิกเอ็มโอยู44
17.18 น. กทม. สรุปยอดผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ผู้ว่าฯ ณ เดือน ธ.ค.55 มีจำนวน 4,333,157 คน จากประชากรทั้งหมด 5,673,560 คน พร้อมขอเชิญชวน ปชช. กทม.ออกไปใช้สิทธิ์โดยพร้อมเพรียง 3 มี.ค.นี้
เศรษฐกิจ
12.11 น. หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส เปิดเวทีประกวดจิตรกรรม ครั้งที่ 3 ภายใต้แนวคิด "โลกาภิวัตน์" เริ่มส่งผลงานได้ตั้งแต่วันที่ 25-29 มี.ค. ชิงเงินรางวัลกว่า 300,000 บาท หวังปูรากฐานจากศิลปะไปสู่ความมั่นคงของชาติต่อไปในอนาคต
13.29 น. นายกรัฐมนตรี รับปาก เร่งนัดถกเอกชนเยียวยาบาทแข็ง และค่าแรง 300 บาท แจง ใช้ประชานิยมกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ได้เอาไปแจกฟรีๆ
15.44 น. ธปท.เผย ได้ข้อสรุปประชุมร่วมนายกฯ–กิตติรัตน์ ให้แบงก์ชาติดูแลค่าเงินบาท รัฐบาลจ่อหามาตรการช่วยเหลือส่งออกที่เจ็บหนัก แจงประเมินแล้วไม่ใช่กระบวนการเก็งกำไรค่าบาท ขณะที่ ส.อ.ท.ร้อนรุ่ม ขอหารือ ธปท.ต้นสัปดาห์หน้า
ต่างประเทศ
15.00 น. เกาหลีเหนือเปิดเผยอย่างไม่ปิดบัง ว่ากำลังวางแผนใช้สหรัฐฯเป็นเป้า สำหรับทดลองนิวเคลียร์และขีปนาวุธพิสัยไกล เพื่อตอบโต้ที่สหรัฐฯคอยยุให้สหประชาชาติคว่ำบาตรเกาหลีเหนือ
15.37 น. พรรคการเมืองขวาจัดของประเทศอินเดีย แจกมีดแก่สตรีในรัฐทางตะวันตกของประเทศ เพื่อใช้สำหรับป้องกันตัวเวลาถูกทำร้าย หรือล่วงละเมิดทางเพศ
16.35 น. กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เตรียมยกเลิกกฎห้ามทหารหญิงออกรบในแนวหน้าแล้ว หลังจากถูกวิพากษ์วิจารณ์มาตลอดว่า เป็นกฎที่จำกัดความก้าวหน้าในอาชีพของทหารหญิง
17.10 น. เรือของเจ้าหน้าที่คุ้มกันชายฝั่งของญี่ปุ่น ใช้ปืนฉีดน้ำขับไล่เรือของไต้หวันหลายลำ ที่ลอยลำเข้าใกล้หมู่เกาะเซนกากุ โดยฝั่งไต้หวันอ้างต้องการนำเทวรูปมาประดิษฐานบนเกาะเพื่อสักการะ
12.08 น. "บิ๊กโอ๋" มั่นใจหลักฐานชี้แจงศาลโลกปมเขาพระวิหาร ลั่นทุกคนรักชาติและไม่อยากเสียดินแดน เผยยกหูถก “เตีย บันห์” ไม่มีปัญหาในหลักการย้ำไทย-เขมรต้องอยู่ร่วมกันจนโลกสลาย เพราะอีก 2 ปีจะเข้าสู่เออีซี จวกสื่ออย่าเสนอข่าวแง่ลบ ไม่ได้ทำให้ดีขึ้น
12.15 น. ไร้รอยต่อไม่เคลียร์ ประธาน กกต.กทม. ขอ พล.ต.อ.พงศพัศ ชี้แจงถึงวิธีการในการดำเนินการตามที่ได้หาเสียงเอาไว้ให้ชัดเจน ห่วงเข้าข่ายทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง กรณีหาเสียงเกินจริง
12.37 น. มาร์ค - สุเทพ ส่งทนายฟ้อง นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ อ้างทำผิด ม.157 และ ม.200 ยัดเยียดข้อ กล่าวหา คดีผู้เสียชีวิตจากเหตุสลายการชุมนุม
13.00 น. นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย สั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ทำความเข้าใจประชาชน กรณีรัฐบาลเตรียมออก พ.ร.บ.กู้เงิน 2.27 ล้านล้านบาท หวั่น โดนครหาดีแต่กู้
13.09 น. นายกรัฐมนตรี ท้า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ หากมีหลักฐานรัฐบาลมีประโยชน์ทับซ้อนทางทะเล รีบโชว์ จิกเจ็บอย่าทำแค่กล่าวหาลอยๆ
14.18 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ปัดส่งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เจรจาลับฝ่ายเขมร แจง เป็นการเจรจานอกรอบ เท่านั้น จัดหนัก นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ตกลงเป็น รมว.ต่างประเทศไทย หรือ โฆษกรัฐบาลกัมพูชา
15.42 น. "จุรินทร์" หวั่นปมพ.ร.ก.นิรโทษกรรม ก่อความแตกแยกอีกครั้งในบ้านเมือง พร้อมการต่อต้านของหลายฝ่าย เตือน "ยิ่งลักษณ์" คิดให้รอบคอบ และควรมีความชัดเจนต่อเรื่องนี้ อย่าลอยตัวเหนือปัญหา
16.57 น. "ชวนนท์" โฆษก ปชป. ยก 7 ข้อสวน "สุรพงษ์" อัดยับไม่ทำการบ้าน รับลูกเขมรดิสเครดิตฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองภายในประเทศ ยันรัฐบาล ปชป. ยกเลิกเอ็มโอยู44
17.18 น. กทม. สรุปยอดผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ผู้ว่าฯ ณ เดือน ธ.ค.55 มีจำนวน 4,333,157 คน จากประชากรทั้งหมด 5,673,560 คน พร้อมขอเชิญชวน ปชช. กทม.ออกไปใช้สิทธิ์โดยพร้อมเพรียง 3 มี.ค.นี้
เศรษฐกิจ
12.11 น. หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส เปิดเวทีประกวดจิตรกรรม ครั้งที่ 3 ภายใต้แนวคิด "โลกาภิวัตน์" เริ่มส่งผลงานได้ตั้งแต่วันที่ 25-29 มี.ค. ชิงเงินรางวัลกว่า 300,000 บาท หวังปูรากฐานจากศิลปะไปสู่ความมั่นคงของชาติต่อไปในอนาคต
13.29 น. นายกรัฐมนตรี รับปาก เร่งนัดถกเอกชนเยียวยาบาทแข็ง และค่าแรง 300 บาท แจง ใช้ประชานิยมกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ได้เอาไปแจกฟรีๆ
15.44 น. ธปท.เผย ได้ข้อสรุปประชุมร่วมนายกฯ–กิตติรัตน์ ให้แบงก์ชาติดูแลค่าเงินบาท รัฐบาลจ่อหามาตรการช่วยเหลือส่งออกที่เจ็บหนัก แจงประเมินแล้วไม่ใช่กระบวนการเก็งกำไรค่าบาท ขณะที่ ส.อ.ท.ร้อนรุ่ม ขอหารือ ธปท.ต้นสัปดาห์หน้า
ต่างประเทศ
15.00 น. เกาหลีเหนือเปิดเผยอย่างไม่ปิดบัง ว่ากำลังวางแผนใช้สหรัฐฯเป็นเป้า สำหรับทดลองนิวเคลียร์และขีปนาวุธพิสัยไกล เพื่อตอบโต้ที่สหรัฐฯคอยยุให้สหประชาชาติคว่ำบาตรเกาหลีเหนือ
15.37 น. พรรคการเมืองขวาจัดของประเทศอินเดีย แจกมีดแก่สตรีในรัฐทางตะวันตกของประเทศ เพื่อใช้สำหรับป้องกันตัวเวลาถูกทำร้าย หรือล่วงละเมิดทางเพศ
16.35 น. กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เตรียมยกเลิกกฎห้ามทหารหญิงออกรบในแนวหน้าแล้ว หลังจากถูกวิพากษ์วิจารณ์มาตลอดว่า เป็นกฎที่จำกัดความก้าวหน้าในอาชีพของทหารหญิง
17.10 น. เรือของเจ้าหน้าที่คุ้มกันชายฝั่งของญี่ปุ่น ใช้ปืนฉีดน้ำขับไล่เรือของไต้หวันหลายลำ ที่ลอยลำเข้าใกล้หมู่เกาะเซนกากุ โดยฝั่งไต้หวันอ้างต้องการนำเทวรูปมาประดิษฐานบนเกาะเพื่อสักการะ
เครือข่ายปฏิบัติการ
ต่อต้านการค้ามนุษย์ ระดมสมอง แก้ปัญหา "โรฮิงญา" เรียกร้องรัฐบาลไทย
ควรมีมาตรการกฎหมายจริงจัง และผลักดันให้ประเทศสมาชิกอาเซียน มาร่วมแก้ไข
วันที่ 23 ม.ค.2556 กลุ่มเครือข่ายปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ อาทิ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สภาทนายความ มูลนิธิกระจกเงา องค์การแรงงานข้ามชาติ มูลนิธิเพื่อนหญิง ฯลฯ และกลุ่มชาวโรฮิงญาในประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดเสวนาเรื่อง “โรฮิงญา หนีเสือปะจระเข้: อนาคตและทางออกสำหรับประเทศไทย” ที่ สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน ราชเทวี เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาชาวโรฮิงญาที่ลี้ภัยมาจากพม่ามายังประเทศไทยและป้องกันขบวนการค้ามนุษย์ เข้าไปแสวงหาผลประโยชน์
วันที่ 23 ม.ค.2556 กลุ่มเครือข่ายปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ อาทิ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สภาทนายความ มูลนิธิกระจกเงา องค์การแรงงานข้ามชาติ มูลนิธิเพื่อนหญิง ฯลฯ และกลุ่มชาวโรฮิงญาในประเทศไทย ได้ร่วมกันจัดเสวนาเรื่อง “โรฮิงญา หนีเสือปะจระเข้: อนาคตและทางออกสำหรับประเทศไทย” ที่ สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน ราชเทวี เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาชาวโรฮิงญาที่ลี้ภัยมาจากพม่ามายังประเทศไทยและป้องกันขบวนการค้ามนุษย์ เข้าไปแสวงหาผลประโยชน์
โดยที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นว่า ควรมีการเสนอมาตรการให้รัฐบาลไทยมีมาตรการใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
และแสวงหาความร่วมมือระหว่างประเทศ
โดยเฉพาะผลักดันให้เกิดกลไกระดับภูมิภาคอาเซียนในการให้ความช่วยเหลือ
ทั้งนี้ นายสุรพงษ์ กองจันทึก
ประธานคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านแห่งชาติ ผู้ไร้สัญชาติ แรงงานข้ามชาติ
และผู้พลัดถิ่น สภาทนายความ กล่าวว่า
รัฐบาลไทยควรเข้าช่วยเหลือชาวโรฮิงญาที่อยู่กระจัดกระจายหลบซ่อนตัวตามจุดต่างๆ
โดยเฉพาะในผืนป่าภาคใต้ของประเทศไทยที่มีจำนวนกว่า 1 หมื่นคน
พร้อมกันนี้ให้เร่งรัดแก้ปัญหาชาวโรฮิงญาให้ตรงจุด ตั้งแต่กลุ่มนายหน้าค้ามนุษย์ ที่มีนักการเมืองท้องถิ่นเข้าร่วมด้วย
ซึ่งควรจะมีการจัดล่ามที่พูดภาษาโรฮิงญาที่ถูกต้องและซื่อสัตย์ในการสื่อสารกับชาวโรฮิงญา
พร้อมเสนอให้ตั้งศูนย์ลี้ภัยชาวโรฮิงญา
ด้านนายอับดุล การัม ผู้ประสานงานสมาคมโรฮิงญาสากลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มีครอบครัวชาวโรฮิงญาไม่น้อยกว่า 7,000 คน ต้องลี้ภัยหนีตายมาหลบซ่อนตัวอยู่ในประเทศไทย เนื่องจากทนที่จะถูกเจ้าหน้าที่รัฐบาลพม่ารังแก ยืนยันว่า ครอบครัวชาวโรฮิงญาเหล่านี้ไม่คิดจะมาลี้ภัยในประเทศไทย แต่ต้องการเดินทางไปที่ประเทศมาเลเซียเท่านั้น แต่โชคร้ายเจอขบวนการค้ามนุษย์ซะก่อน
ด้านนายอับดุล การัม ผู้ประสานงานสมาคมโรฮิงญาสากลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มีครอบครัวชาวโรฮิงญาไม่น้อยกว่า 7,000 คน ต้องลี้ภัยหนีตายมาหลบซ่อนตัวอยู่ในประเทศไทย เนื่องจากทนที่จะถูกเจ้าหน้าที่รัฐบาลพม่ารังแก ยืนยันว่า ครอบครัวชาวโรฮิงญาเหล่านี้ไม่คิดจะมาลี้ภัยในประเทศไทย แต่ต้องการเดินทางไปที่ประเทศมาเลเซียเท่านั้น แต่โชคร้ายเจอขบวนการค้ามนุษย์ซะก่อน
ดังนั้น ตนอยากให้สำนักข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ
ยูเอ็นเอชซีอาร์ เข้ามาช่วยเหลือโดยด่วน เพราะปัญหาของชาวโรฮิงญา
ยังเกิดขึ้นในหลายประเทศ ไม่ใช่แค่เพียงประเทศไทยหรือประเทศพม่าเท่านั้น แต่องค์การสหประชาชาติเป็นองค์กรที่มีหน้าที่โดยตรงกลับไม่ได้เข้ามามีส่วนในการช่วยเหลือเลย
ส.อ.ท.สับรัฐเพิ่มค่าแรง 300 บาทไร้ประโยชน์
ยันต้องช่วยจ่ายส่วนต่างให้เอสเอ็มอีอยู่รอด เข้าถึงแหล่ง เงินทุนดอกเบี้ยต่ำ
เพื่อเสริมสภาพคล่องเพราะการขึ้นค่าแรง...
เมื่อวันที่ 23 ม.ค. ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการการแรงงานสภาผู้แทนราษฎร มีนายนิทัศน์ ศรีนนท์ ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทยเป็นประธาน เพื่อพิจารณามาตรการช่วยเหลือเยียวยาสถานประกอบการและกลุ่มผู้ใช้แรงงานซึ่งได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง 300 บาท โดยเชิญตัวแทนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมชี้แจง โดยนายมานะผล ภู่สมบูรณ์ ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อุตสาหกรรมการผลิต (เอสเอ็มไอ) ในฐานะรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ชี้แจงว่า การปรับค่าแรง 300 บาท นอกจากทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นแล้วยังไม่ช่วยให้ศักยภาพของแรงงานเพิ่มตามแต่อย่างใด โดยเฉพาะต่างจังหวัดที่ต้องแบกรับภาระมากกว่า กทม.และปริมณฑล เพราะหาบุคลากรที่มีความสามารถได้ยากถึงมีก็ต้องจ้างในราคาสูง ซึ่งเอสเอ็มอีไม่มีศักยภาพในการจ้างทำให้ขาดการพัฒนาในองค์รวม เมื่อต้นทุนเพิ่มขึ้นแต่ศักยภาพแรงงานไม่ได้เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความสามารถในการขายทันทีเพราะไม่อาจขายสินค้าในราคาเดิมได้ จำเป็นต้องขายในราคาสูงปรากฏว่าก็ขายไม่ได้
เมื่อวันที่ 23 ม.ค. ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการการแรงงานสภาผู้แทนราษฎร มีนายนิทัศน์ ศรีนนท์ ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทยเป็นประธาน เพื่อพิจารณามาตรการช่วยเหลือเยียวยาสถานประกอบการและกลุ่มผู้ใช้แรงงานซึ่งได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง 300 บาท โดยเชิญตัวแทนผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมชี้แจง โดยนายมานะผล ภู่สมบูรณ์ ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อุตสาหกรรมการผลิต (เอสเอ็มไอ) ในฐานะรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ชี้แจงว่า การปรับค่าแรง 300 บาท นอกจากทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นแล้วยังไม่ช่วยให้ศักยภาพของแรงงานเพิ่มตามแต่อย่างใด โดยเฉพาะต่างจังหวัดที่ต้องแบกรับภาระมากกว่า กทม.และปริมณฑล เพราะหาบุคลากรที่มีความสามารถได้ยากถึงมีก็ต้องจ้างในราคาสูง ซึ่งเอสเอ็มอีไม่มีศักยภาพในการจ้างทำให้ขาดการพัฒนาในองค์รวม เมื่อต้นทุนเพิ่มขึ้นแต่ศักยภาพแรงงานไม่ได้เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความสามารถในการขายทันทีเพราะไม่อาจขายสินค้าในราคาเดิมได้ จำเป็นต้องขายในราคาสูงปรากฏว่าก็ขายไม่ได้
นายมานะผล กล่าวต่อว่า
ถ้าใครแบกรับไม่ไหวก็ต้องหยุดการผลิตหรือไปรับซื้อสินค้ามาขายต่อแทน
ส่วนมาตรการเยียวยาที่จะช่วยได้จริง
คือรัฐบาลต้องเข้ามาช่วยในเรื่องส่วนต่างค่าแรงระหว่างอัตราเก่าและอัตราใหม่เป็นลำดับตั้งแต่ 75% แล้วค่อยลดลงเหลือ 25% เพื่อชะลอการขึ้นค่าแรงและให้ผู้ประกอบการได้ปรับตัว
แต่รัฐบาลไม่ตอบรับทั้งที่จะช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้ดีที่สุด แม้รัฐบาลจะมีมาตรการอื่นออกมาก็จริงแต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้มาก
การขึ้นค่าแรงจะไม่มีประโยชน์เลยถ้าค่าครองชีพยังสูงขึ้น
กลับกันหากรัฐบาลไม่ได้ประกาศแบบนั้นและให้เอกชนไปดำเนินการเองตามหลักดีมานด์-ซัพพลายเชื่อว่าปัญหาแบบนี้จะไม่เกิดขึ้น
ดังนั้นการแก้ปัญหาในตอนนี้รัฐบาลควรต้องทำตลาดสำหรับผู้มีรายได้น้อยให้
สามารถซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคได้ในราคาที่ถูกกว่าตลาดทั่วไปเหมือนในสาธารณรัฐประชาชนจีนแต่รัฐบาลก็ยังไม่ดำเนินการ
นางเพ็ญทิพย์ พรจะเด็ด
นายกสมาคมส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย (เอที เอสเอ็มอี)
กล่าวว่า สถานการณ์เวลานี้เหมือนกับน้ำท่วมทั่วประเทศ
แต่ความเสียหายต่างกันกล่าวคือค่าแรง 300 บาทเท่ากันก็จริง
แต่ภาคต่างจังหวัดต้องแบกภาระมากขึ้นโดยเฉพาะภาคการขนส่ง
อยากถามว่ารัฐบาลจะช่วยเหลืออย่างไร เอสเอ็มอีต้องการเดินไปอย่างมั่นคง
ไม่มีใครอยากล่มสลายใน 1 ปี
ถ้ายังไม่ได้รับการแก้ไขเอสเอ็มอีจะล้มหายตายจากมากกว่านี้
ดังนั้นรัฐบาลต้องกลับมาทบทวนและพิจารณาข้อเสนอของผู้ประกอบการ
ในเรื่องการตั้งกองทุนชดเชยค่าแรง
และการเปิดโอกาสให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ
เพื่อเสริมสภาพคล่องเพราะการขึ้นค่าแรงแบบก้าวกระโดดไม่เป็นไปตามกลไกทางเศรษฐกิจ.
"บิ๊กโอ๋"
มั่นใจหลักฐานชี้แจงศาลโลกปมเขาพระวิหาร ลั่นทุกคนรักชาติและไม่อยากเสียดินแดน
เผยยกหูถก “เตีย
บันห์” ไม่มีปัญหาในหลักการย้ำไทย-เขมรต้องอยู่ร่วมกันจนโลกสลาย
เพราะอีก 2 ปีจะเข้าสู่เออีซี
จวกสื่ออย่าเสนอข่าวแง่ลบ ไม่ได้ทำให้ดีขึ้น...
เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2556 พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึง กรณีกองทัพมีความเป็นห่วงในการตัดสินคดีเขาพระวิหารของศาลโลก จึงได้มีการเตรียมพร้อมดูแลอธิปไตยว่า ตนไม่เห็นห่วงอะไรเลย มีแต่เพียงผู้สื่อข่าวห่วง บริเวณปราสาทพระวิหารทหารไทยและกัมพูชายังพูดคุยกันรู้เรื่อง ปัญหาเล็กน้อยแก้ไขร่วมกันก็จบไม่ต้องถึงระดับข้างบน
ทั้งนี้ ขอร้องสื่อว่าอย่าไปเขียนว่าเป็นห่วง เพราะขณะนี้ยังไม่ได้มีอะไรเลย ที่มีความเป็นห่วงคือการเมืองไทยภายในประเทศที่ยังมีปัญหาอยู่ ต่างคนต่างแสดงความคิดเห็น ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่บริเวณปราสาทพระวิหารเขารู้เรื่องดี ไม่ต้องห่วง ส่วนจะมีการถอนทหารอย่างไรก็ต้องมีหารือร่วมกัน โดยมีหน่วยงานดูแลทุกอย่าง การที่มาพูดว่ามีความเป็นห่วงอย่างนั้นอย่างนี้มันเป็นปัญหาที่น่าเศร้าอยู่ตลอดเวลา โดยกองทัพดำเนินการตามคำสั่งรัฐบาล ที่ผ่านมารัฐบาลได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน กระทรวงกลาโหมไม่ได้ดำเนินการอะไรโดยพลการ เพราะมีการหารือกับทุกภาคส่วน รวมทั้งกระทรวงการต่างประเทศด้วย เรื่องนี้ต้องคุยกันให้รู้เรื่องว่าจะดำเนินการอย่างไร
ส่วนความเป็นห่วงในคำตัดสินของศาลโลกในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมนั้น มันต้องห่วงกันทุกคน ใครจะไม่ห่วง เขาห่วงกันทุกคน ไม่มีใครอยากให้แพ้คดี ความเป็นห่วงนั้นอยู่ในใจไม่แสดงออก ไม่เขียนมาให้มีปัญหาทำให้ทุกคนเห็นภาพลบมาโดยตลอดอยากให้ทุกคนคิดอยู่ในใจ และรู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไร ไม่ต้องบอกว่าหากมีการตัดสินว่าแพ้คดีแล้วจะต้องทำอย่างไร เป็นเรื่องที่ทหารทุกคนคุยกันอยู่ ซึ่งการพูดออกไปในสิ่งที่เป็นภาพลบของประเทศ ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น ถามสื่อว่าเขียนข่าวแบบนี้มีอะไรดีขึ้นหรือไม่ เขียนแต่แพ้คดี จึงขอร้องสื่อว่าอย่างเขียน ขอให้สู้กันหน่อย แพ้ค่อยว่ากันอีกที
อย่างไรก็ตาม มั่นใจในหลักฐานที่จะนำไปชี้แจงต่อศาลโลกอย่างแน่นอน เพราะการจะขึ้นชกต้องมั่นใจ แต่ถ้าจะขึ้นชกแล้วคิดว่าจะแพ้ ก็ขอให้โยนผ้าขาว การที่จะขึ้นชกแล้วจะกลัวแพ้ทำไม ทั้งนี้จะให้ พล.ท.ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ เจ้ากรมยุทธการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานเผยแพร่ข้อมูล และข้อเท็จจริงกับการต่อสู้คดีเขาพระวิหารของกระทรวงกลาโหม ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงรายละเอียดอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 ม.ค.นี้ ภายหลังการประชุมร่วมกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พร้อมยืนยันว่า ไม่มีรัฐบาลไหนไม่ห่วง เพราะห่วงกันหมดทุกคน จะบอกว่ารัฐบาลไม่ห่วงก็ไม่ได้ และผู้ปฏิบัติโดยตรงยิ่งจะต้องดำเนินการเต็มที่ตามขอบเขตของกฎหมาย ทุกคนมีความรักชาติและไม่อยากเสียดินแดน นอกจากนี้ ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับ พล.อ.เตีย บันห์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของกัมพูชา ซึ่งไม่มีปัญหาอะไรคุยกันง่าย โดยคุยกันในหลักการว่าไทยและกัมพูชาต้องอยู่ร่วมกันแบบนี้ แยกไม่ออกจนโลกสลาย และอีก 2 ปีจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2556 พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึง กรณีกองทัพมีความเป็นห่วงในการตัดสินคดีเขาพระวิหารของศาลโลก จึงได้มีการเตรียมพร้อมดูแลอธิปไตยว่า ตนไม่เห็นห่วงอะไรเลย มีแต่เพียงผู้สื่อข่าวห่วง บริเวณปราสาทพระวิหารทหารไทยและกัมพูชายังพูดคุยกันรู้เรื่อง ปัญหาเล็กน้อยแก้ไขร่วมกันก็จบไม่ต้องถึงระดับข้างบน
ทั้งนี้ ขอร้องสื่อว่าอย่าไปเขียนว่าเป็นห่วง เพราะขณะนี้ยังไม่ได้มีอะไรเลย ที่มีความเป็นห่วงคือการเมืองไทยภายในประเทศที่ยังมีปัญหาอยู่ ต่างคนต่างแสดงความคิดเห็น ทหารที่ปฏิบัติหน้าที่บริเวณปราสาทพระวิหารเขารู้เรื่องดี ไม่ต้องห่วง ส่วนจะมีการถอนทหารอย่างไรก็ต้องมีหารือร่วมกัน โดยมีหน่วยงานดูแลทุกอย่าง การที่มาพูดว่ามีความเป็นห่วงอย่างนั้นอย่างนี้มันเป็นปัญหาที่น่าเศร้าอยู่ตลอดเวลา โดยกองทัพดำเนินการตามคำสั่งรัฐบาล ที่ผ่านมารัฐบาลได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน กระทรวงกลาโหมไม่ได้ดำเนินการอะไรโดยพลการ เพราะมีการหารือกับทุกภาคส่วน รวมทั้งกระทรวงการต่างประเทศด้วย เรื่องนี้ต้องคุยกันให้รู้เรื่องว่าจะดำเนินการอย่างไร
ส่วนความเป็นห่วงในคำตัดสินของศาลโลกในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมนั้น มันต้องห่วงกันทุกคน ใครจะไม่ห่วง เขาห่วงกันทุกคน ไม่มีใครอยากให้แพ้คดี ความเป็นห่วงนั้นอยู่ในใจไม่แสดงออก ไม่เขียนมาให้มีปัญหาทำให้ทุกคนเห็นภาพลบมาโดยตลอดอยากให้ทุกคนคิดอยู่ในใจ และรู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไร ไม่ต้องบอกว่าหากมีการตัดสินว่าแพ้คดีแล้วจะต้องทำอย่างไร เป็นเรื่องที่ทหารทุกคนคุยกันอยู่ ซึ่งการพูดออกไปในสิ่งที่เป็นภาพลบของประเทศ ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น ถามสื่อว่าเขียนข่าวแบบนี้มีอะไรดีขึ้นหรือไม่ เขียนแต่แพ้คดี จึงขอร้องสื่อว่าอย่างเขียน ขอให้สู้กันหน่อย แพ้ค่อยว่ากันอีกที
อย่างไรก็ตาม มั่นใจในหลักฐานที่จะนำไปชี้แจงต่อศาลโลกอย่างแน่นอน เพราะการจะขึ้นชกต้องมั่นใจ แต่ถ้าจะขึ้นชกแล้วคิดว่าจะแพ้ ก็ขอให้โยนผ้าขาว การที่จะขึ้นชกแล้วจะกลัวแพ้ทำไม ทั้งนี้จะให้ พล.ท.ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ เจ้ากรมยุทธการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานเผยแพร่ข้อมูล และข้อเท็จจริงกับการต่อสู้คดีเขาพระวิหารของกระทรวงกลาโหม ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงรายละเอียดอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 ม.ค.นี้ ภายหลังการประชุมร่วมกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พร้อมยืนยันว่า ไม่มีรัฐบาลไหนไม่ห่วง เพราะห่วงกันหมดทุกคน จะบอกว่ารัฐบาลไม่ห่วงก็ไม่ได้ และผู้ปฏิบัติโดยตรงยิ่งจะต้องดำเนินการเต็มที่ตามขอบเขตของกฎหมาย ทุกคนมีความรักชาติและไม่อยากเสียดินแดน นอกจากนี้ ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับ พล.อ.เตีย บันห์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของกัมพูชา ซึ่งไม่มีปัญหาอะไรคุยกันง่าย โดยคุยกันในหลักการว่าไทยและกัมพูชาต้องอยู่ร่วมกันแบบนี้ แยกไม่ออกจนโลกสลาย และอีก 2 ปีจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
"เรารู้ว่าคนจะเป็นเพื่อนต้องทำอย่างไร
ลูกไปทะเลาะกันก็แก้ไขกันไป แต่ผู้ใหญ่เข้าใจดี ชายแดนมีปัญหาเล็กน้อย
เมื่อหารือกันก็จบ ปัญหาสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ อย่าทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่
เรื่องเขาพระวิหารเราจะทำให้ดีที่สุด ขอให้รอดูเหตุการณ์ แต่ไม่ได้รอดูเฉยๆ
เรื่องแบบนี้พูดทุกวันไม่ได้"
"สุขุมพันธุ์"
เตรียมยกเครื่องอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย กทม. หลังถูกปล่อยทิ้ง
ไม่มีการปรับปรุงมานาน หากได้กลับมาเป็นผู้ว่าฯ โยน พรรคตัดสินใจ
ร้องฝ่ายตรงข้ามหาเสียง ผิดกฎหมาย ชี้ไม่อยากมีเรื่องมีราว...
วันที่ 24 ม.ค. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์
บริพัตร ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. พรรคประชาธิปัตย์ และนายองอาจ คล้ามไพบูลย์
ผอ.การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมคณะ ส.ก., ส.ข.ของพรรค
ได้ลงพื้นที่ย่านตลาดสดยิ่งเจริญ เขตบางเขน กทม.
เพื่อหาเสียงในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. โดยมีพ่อค้า แม่ค้า
และประชาชนที่มาเดินตลาด ให้การต้อบรับพอสมควร โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้เข้าไปพูดคุยกับกลุ่มพ่อค้า
แม่ค้า รวมทั้งยังได้เข้าไปช่วยหั่นและตักไข่พะโล้ใส่ถุงเตรียมไว้ขายให้ลูกค้า
ที่ร้านขายข้าวแกงในตลาด
ซึ่งได้รับความสนใจจากกลุ่มสื่อมวลชนที่มารอทำข่าวและถ่ายภาพเป็นจำนวนมาก ก่อนที่
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ จะซื้อปลาส้ม 1 ถุง รวมทั้งแม่ค้าขายผลไม้ได้ปอกกล้วยส่งให้
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ รับประทานด้วย ต่อจากนั้น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์
ได้ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล (ลอตเตอรี่) หมายเลข 949116 ซึ่งเลขท้าย 16 เป็นเบอร์ของตนเอง
ทั้งนี้ นอกจากจะเดินเท้าขอคะแนนเสียงในตลาดยิ่งเจริญแล้ว
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ ยังเดินไปยังซอยหมู่บ้านคงไทยและชุมชนร่วมใจพัฒนาเหนือ เขตบางเขน
ด้วย
เมื่อไปถึงก็เข้าไปเยี่ยมเยียนชาวชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุเพลิงไหม้
จำนวน 14 หลังคาเรือน เมื่อวันที่ 8 ม.ค.ที่ผ่านมา
ซึ่ง ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ุ ได้กล่าวแสดงความเสียใจต่อชาวชุมชนดังกล่าว พร้อมให้เหตุผลว่าที่ไม่สามารถลงมาดูแลประชาชนได้ด้วยตนเองนั้น
เนื่องจากเช้าวันรุ่งขึ้นตนต้องไปรับทราบข้อกล่าวหาของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)
ในคดีขยายสัมปทานรถไฟฟ้าบีทีเอส เป็นเวลา 30 ปี
พร้อมยืนยันว่าตนไม่ได้ทอดทิ้งประชาชน
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า ตอนที่ตนป็นผู้ว่าฯ กทม. 4 ปีที่ผ่านมา
กทม.ไม่ได้มีการพัฒนาขีดความสามารถในการป้องกันและแก้ปัญหาอัคคีภัย
โดยเฉพาะการพัฒนาอุปกรณ์ในการดับไฟ เนื่องจากเราเป็นคดีความอยู่กับบริษัทเอกชน
สไตเออร์ คดีรถและเรือดับเพลิง กทม. จึงไม่สามารถหาอุปกรณ์ใหม่ที่มีประสิทธิภาพได้
ดังนั้น จึงได้สั่งการให้
กทม.วางแผนเพิ่มขีดความสามารถกับปัญหาอัคคีภัยที่เกิดขึ้น
เรามีรถดับเพลิงเพียงคันเดียวที่สามารถใช้กับอาคารสูงได้ จอดอยู่ที่สามเสน
ถ้าอัคคีภัยที่เป็นตึกสูงเกิดในช่วงจราจรติดขัด ก็คงช่วยไม่ได้
จึงได้สั่งการให้วางแผนเพิ่มความสามารถ รวมถึงอุปรณ์ให้มีความทันสมัยมากขึ้น
เพื่อรับมือกับอัคคีภัยบนอาคารสูงได้
"อีกเรื่องคือ สมัยผมเป็นผู้ว่าฯ กทม.
ได้สั่งการให้จัดซื้อเครื่องดับไฟที่ทุ่นน้ำ คือใช้น้ำน้อยในการดับไฟ
ใช้สำหรับในชุมชนที่เข้าถึงได้ยาก เนื่องจากถนนแคบ หรืออยู่ในชุมชนแออัด
คือให้ใช้เครื่องดับเพลิงแบบสะพายหลัง ซึ่งเราได้ทำไปบ้างแล้ว
คือได้จัดซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์บ้างแล้ว เป็นอุปรณ์ใช้ตัดเหล็ก คอนกรีต
เข้าไปดับเพลิงได้ และสิ่งที่กำลังจะทำหากได้เข้าไปเป็นผู้ว่าฯ กทม.อีกครั้งคือ
จัดซื้อเครื่องดับเพลิงแบบสะพายหลัง เพื่อเข้าไปดับเพลิงในชุมชนได้"
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวต่อว่า ขณะที่อีกเรื่องคือ กรณีสัญญาสไตเออร์
สมัย คุณสมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งความจริงบริษัทเอกชนรายนี้
มีสัญญาต้องจัดตั้งโรงเรียนพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ดับเพลิงให้ กทม.
แต่เมื่อสัญญามีปัญหา ตนจึงได้สั่งการให้กองป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม. ทำการจัดตั้งโรงเรียนฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ดับเพลิงของ
กทม.ขึ้น ไม่ต้องรอบริษัทเอกชนรายดังกล่าวแล้ว
นอกจากนั้น ที่ตนตั้งใจจะทำอีกอย่างคือ โครงการจำลองสถานการณ์
โดยเฉพาะให้เด็กและเยาวชนเข้าไปศึกษาว่าสถานการณ์จริงเวลาไฟไหม้ความรู้สึกเป็นเช่นไร
เวลาเกิดแผ่นดินไหวอะไรเกิดขึ้น เรื่องแบบนี้ต้องเดินหน้าต่อไป
ส่วนกรณีที่ กกต.ออกมาเตือนให้ผู้สมัครอย่าหาเสียงเกินจริง
เพราะอาจมีความผิดตามกฎหมายได้นั้น ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ุ กล่าวว่า เรื่องทุกเรื่องที่ผมหาเสียงสามารถทำได้จริง
เรื่องดับเพลิงทำได้ เพราะเป็นอำนาจหน้าที่ของ กทม.อยู่แล้ว และขอกราบเรียนพี่น้อง
กทม.ว่า รถดับเพลิงของ กทม.ทุกคัน ยันยันว่ามีน้ำเต็มทุกคัน
เนื่องจากถ้าวิ่งรถดับเพลิงโดยไม่มีน้ำเต็มคัน ที่สุดมันจะเกิดแรงเหวี่ยง รถมีสิทธิ์คว่ำได้
แต่ที่น้ำมันหมดเร็วเพราะเครื่องสูบน้ำสมัยเก่ามันเปลืองน้ำมาก
ต้องวิ่งกลับไปเอาน้ำ ถ้ากรณีไม่มีหัวแดง ฉะนั้น กรณีรถดับเพลิงไม่มีน้ำ
หรือน้ำไม่เต็มคัน เป็นไปไม่ได้ สิ่งที่เราอย่ากได้คือ
เครื่องสูบน้ำที่มีประสิทธิภาพ
พร้อมกันนี้ ต่อคำถามที่ว่าทางพรรคประชาธิปัตย์เองก็เตือนผู้สมัครหาเสียงให้ระวังผิดกฎหมาย
และหากพบว่าอีกฝ่ายมีการหาเสียงผิดกฎหมายให้แจ้งไปที่พรรคนั้น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์
กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของพรรค เป็นนโยบายของพรรค
ผมไม่ได้เป็นผู้ตัดสินใจเรื่องนี้ ไม่อยากเป็นเรื่องเป็นราวกับใคร แต่อยากชี้แจงว่าอะไรทำได้
อะไรทำไม่ได้ อย่างกรณีสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
ส่วนใหญ่เป็นโครงการของรัฐบาล แต่ที่ กทม.สามารถดำเนินการได้เลยคือ
สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่แยกเกียกกาย คือใช้งบประมาณ กทม.ก็ได้
งบประมาณรัฐบาลก็ได้ ไม่มีปัญหา แต่สะพานอื่นนั้นช่วงนี้อยู่ยังอยู่ในชวงทำประชาพิจารณ์อยู่.
มาร์ค - สุเทพ ส่งทนายฟ้อง นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ
อ้างทำผิด ม.157 และ ม.200 ยัดเยียดข้อกล่าวหา
คดีผู้เสียชีวิตจากเหตุสลายการชุมนุม...
วันนี้ (24 ม.ค.56) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะอดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีต ผอ.ศอฉ. กล่าวว่า วันนี้ (24 ม.ค.) ตนจะเดินทางไปยังศาลอาญา เพื่อยื่นฟ้องนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และพวกรวม 4 คน ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่และความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และกลั่นแกล้งยัดเยียดข้อกล่าวหา ตามมาตรา 200
เนื่องจากนายธาริตกับพวก ร่วมกันตั้งข้อกล่าวหา นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ในข้อหาก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล จากการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) เพื่อควบคุมความไม่สงบการชุมนุมทางการเมือง เมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค.2553 ซึ่งข้อกล่าวหาทั้งหมดไม่เป็นความจริง อย่างไรก็ตาม หลังจากยื่นฟ้องแล้ว ศาลได้รับสำนวนและนัดไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 29 เม.ย.นี้ เวลา 09.00 น.
วันนี้ (24 ม.ค.56) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะอดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีต ผอ.ศอฉ. กล่าวว่า วันนี้ (24 ม.ค.) ตนจะเดินทางไปยังศาลอาญา เพื่อยื่นฟ้องนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และพวกรวม 4 คน ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่และความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และกลั่นแกล้งยัดเยียดข้อกล่าวหา ตามมาตรา 200
เนื่องจากนายธาริตกับพวก ร่วมกันตั้งข้อกล่าวหา นายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ ในข้อหาก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล จากการประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) เพื่อควบคุมความไม่สงบการชุมนุมทางการเมือง เมื่อเดือน เม.ย.-พ.ค.2553 ซึ่งข้อกล่าวหาทั้งหมดไม่เป็นความจริง อย่างไรก็ตาม หลังจากยื่นฟ้องแล้ว ศาลได้รับสำนวนและนัดไต่สวนมูลฟ้องในวันที่ 29 เม.ย.นี้ เวลา 09.00 น.
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย สั่งผู้ว่าราชการจังหวัด
ทำความเข้าใจประชาชน กรณีรัฐบาลเตรียมออก พ.ร.บ.กู้เงิน 2.27 ล้านล้านบาท
หวั่น โดนครหาดีแต่กู้...
วันที่ 24 ม.ค.56 เวลา 09.30 น. ที่กระทรวงมหาดไทย นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่มอบนโยบายให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ 18 คน ให้ไปทำความเข้าใจกับประชาชน กรณีที่รัฐบาลเตรียม ออก พ.ร.บ.กู้เงิน เพื่อนำไปลงทุนในในโครงสร้างพื้นฐานจำนวน 2.27 ล้านล้านบาท ว่า ต้องการตอกย้ำและทำความเข้าใจกับ ผวจ.ใหม่ ให้ทำความเข้าใจกับประชาชน ถึงความจำเป็นต้องลงทุนปรับปรุงระบบคมนาคมขนส่ง การเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์ เพื่อรองรับยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศและยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคต โดยถือเป็นเรื่องใหม่ หากประชาชนไม่เข้าใจจะหาว่ารัฐบาลเอาเงินไปละลาย
ทั้งนี้รัฐบาลยืนยันว่า สามารถรักษาวินัยทางการคลัง ไม่ให้ปริมาณหนี้เกินร้อยละ 50 ของปริมาณหนี้สาธารณะ และมีแนวคิดให้ไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีความสามารถในการแข่งขันสูง ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานดี
ที่ผ่านมา เน้นการขนส่งทางรถยนต์ ทำให้ต้นทุนสูงจึงจะเปลี่ยนเป็นทางรางและทางน้ำ และให้มีจุดกระจายสินค้า ต้องวางยุทธศาสตร์เพื่อลดต้นทุน โดยใช้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท ที่จะทำให้ก้าวกระโดดออกไปข้างหน้าได้
นายจารุพงศ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการหาเสียงของผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ของพรรคเพื่อไทยว่า การกำหนดกลยุทธ์ในการหาเสียง มีการประชุมและปรับกลยุทธ์อยู่ตลอดเวลา กลยุทธ์ใหม่ๆ พรรคได้เตรียมไว้พร้อมแล้ว แต่ยังเปิดเผยไม่ได้ เพราะถ้าเปิดเผยจะไม่เป็นกลยุทธ์
อย่างไรก็ดี กลยุทธ์หลักของพรรค คือการทำความเข้าใจกับประชาชน เพื่อขอโอกาสให้ผู้สมัครของพรรค ซึ่งสามารถทำงานร่วมกับรัฐบาลได้เป็นอย่างดีมาช่วยพัฒนากรุงเทพฯ การพัฒนาเมืองหลวงในอนาคตไม่สามารถพัฒนาเฉพาะเมืองหลวงเพียงแห่งเดียว แต่ต้องพัฒนาในองค์รวมที่ครอบคลุมเมืองบริวารให้การพัฒนาเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการพัฒนาประเทศของรัฐบาล และเมื่อต้องเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หากพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทั้งนี้ ผู้ว่าฯกทม.คนที่ผ่านมา มีโอกาสทำงานมานานแล้ว เป็นมาสามปีแล้ว จึงขอโอกาสให้พรรคเพื่อไทย ได้มีโอกาสในเข้ามาทำงานบ้าง ส่วนกลยุทธ์ เรามีแน่นอน แต่บอกไม่ได้ เพราะถ้าบอกมันจะเป็นกลยุทธ์ได้อย่างไร
วันที่ 24 ม.ค.56 เวลา 09.30 น. ที่กระทรวงมหาดไทย นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่มอบนโยบายให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ 18 คน ให้ไปทำความเข้าใจกับประชาชน กรณีที่รัฐบาลเตรียม ออก พ.ร.บ.กู้เงิน เพื่อนำไปลงทุนในในโครงสร้างพื้นฐานจำนวน 2.27 ล้านล้านบาท ว่า ต้องการตอกย้ำและทำความเข้าใจกับ ผวจ.ใหม่ ให้ทำความเข้าใจกับประชาชน ถึงความจำเป็นต้องลงทุนปรับปรุงระบบคมนาคมขนส่ง การเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์ เพื่อรองรับยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศและยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอนาคต โดยถือเป็นเรื่องใหม่ หากประชาชนไม่เข้าใจจะหาว่ารัฐบาลเอาเงินไปละลาย
ทั้งนี้รัฐบาลยืนยันว่า สามารถรักษาวินัยทางการคลัง ไม่ให้ปริมาณหนี้เกินร้อยละ 50 ของปริมาณหนี้สาธารณะ และมีแนวคิดให้ไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีความสามารถในการแข่งขันสูง ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานดี
ที่ผ่านมา เน้นการขนส่งทางรถยนต์ ทำให้ต้นทุนสูงจึงจะเปลี่ยนเป็นทางรางและทางน้ำ และให้มีจุดกระจายสินค้า ต้องวางยุทธศาสตร์เพื่อลดต้นทุน โดยใช้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท ที่จะทำให้ก้าวกระโดดออกไปข้างหน้าได้
นายจารุพงศ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการหาเสียงของผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ของพรรคเพื่อไทยว่า การกำหนดกลยุทธ์ในการหาเสียง มีการประชุมและปรับกลยุทธ์อยู่ตลอดเวลา กลยุทธ์ใหม่ๆ พรรคได้เตรียมไว้พร้อมแล้ว แต่ยังเปิดเผยไม่ได้ เพราะถ้าเปิดเผยจะไม่เป็นกลยุทธ์
อย่างไรก็ดี กลยุทธ์หลักของพรรค คือการทำความเข้าใจกับประชาชน เพื่อขอโอกาสให้ผู้สมัครของพรรค ซึ่งสามารถทำงานร่วมกับรัฐบาลได้เป็นอย่างดีมาช่วยพัฒนากรุงเทพฯ การพัฒนาเมืองหลวงในอนาคตไม่สามารถพัฒนาเฉพาะเมืองหลวงเพียงแห่งเดียว แต่ต้องพัฒนาในองค์รวมที่ครอบคลุมเมืองบริวารให้การพัฒนาเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการพัฒนาประเทศของรัฐบาล และเมื่อต้องเข้าสู่ประชาคมอาเซียน หากพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ทั้งนี้ ผู้ว่าฯกทม.คนที่ผ่านมา มีโอกาสทำงานมานานแล้ว เป็นมาสามปีแล้ว จึงขอโอกาสให้พรรคเพื่อไทย ได้มีโอกาสในเข้ามาทำงานบ้าง ส่วนกลยุทธ์ เรามีแน่นอน แต่บอกไม่ได้ เพราะถ้าบอกมันจะเป็นกลยุทธ์ได้อย่างไร
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ปัดส่งนายสุเทพ
เทือกสุบรรณ เจรจาลับฝ่ายเขมร แจง เป็นการเจรจานอกรอบ เท่านั้น จัดหนัก นายสุรพงษ์
โตวิจักษ์ชัยกุล ตกลงเป็น รมว.ต่างประเทศไทย หรือ โฆษกรัฐบาลกัมพูชา...
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในรายการฟ้าวันใหม่ ทางบลู สกาย แชแนลถึงท่าทีของนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.การต่างประเทศ ที่เอาคำพูดของสมเด็จฮุน เซน นายกฯกัมพูชามาแถลงข่าวว่า รัฐมนตรีหรือรัฐบาลชุดนี้ รับลูกของฮุน เซน ถือเป็นเรื่องที่น่าหดหู่มาก ที่ รมว.การต่างประเทศของไทย อยู่ดีๆ มาทำหน้าที่เป็นโฆษกให้กับรัฐบาล ซึ่งเป็นคู่พิพาทของเรา ในคดีเกี่ยวกับดินแดนในศาลโลก แล้วก็เป็นโฆษกให้กับรัฐบาลเขา ในการโจมตีรัฐบาลไทย คือรัฐบาลที่แล้ว ซึ่งไม่น่าจะขาดสำนึกว่า หน้าที่ของตนเองคืออะไรขนาดนี้ เรื่องการเมืองภายในประเทศ แม้เราจะเห็นไม่ตรงกัน จะต่อสู้อะไรกันก็ว่ากันไป ซึ่งตนแม้จะทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน ก็ยังช่วยงานรัฐบาลนี้ หลายเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ของประเทศ แต่นี่กลับกลายเป็นว่า รัฐบาลมัวแต่ห่วงในเรื่องของประเด็นทางการเมือง อยากจะมีประเด็นในการที่จะมาโต้ตอบกล่าวหากันทางการเมือง มากกว่าสนใจงานสำคัญ ก็คือการปกป้องประโยชน์ของประเทศ
โต้ข้อกล่าวหา ถามจี้ใจดำใครกันแน่มีผลประโยชน์
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ที่สำคัญคือ แถลงการณ์ที่ว่านี้ ก็ไม่ได้มีอะไรเลย มีอย่างเดียวคือ กัมพูชา มีการลักไก่ ที่บอกว่ารัฐบาลประชาธิปัตย์ โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯขณะนั้น ไปพูดคุยกับเขากี่ครั้ง ซึ่งตนได้อธิบายหมดแล้ว 1.เป็นการเจรจานอกรอบ เพื่อที่จะต้องมาดูว่า ถ้าจะทำกรอบการเจรจาตามมาตรา 190 จะต้องทำอย่างไร นั่นคือ 2 ครั้งแรก แล้วพอต่อมา เราแขวน MOU ปี 44 ก็ไม่มีการดำเนินการเรื่องนี้อีก ไอ้ที่ไปใส่วันที่ หลังจากที่แขวน MOU 44 ที่อ้างว่า นายสุเทพ ไปคุนหมิงนั้น นายสุเทพ ไปงานอื่น เป็นงานการประชุมนานาชาติที่จีนจัด เข้าใจว่าทางกัมพูชา ก็มีคนไป แต่ไม่มีการพูดคุยกันเรื่องนี้ ซึ่งชัดเจนในข้อเท็จจริง พวกตนไม่ได้มีผลประโยชน์อะไรอยู่แล้ว แต่ รมว.ต่างประเทศมากกว่า ที่ต้องตอบว่า ตกลงรัฐบาลนี้ โดยนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และรัฐมนตรี หรือผู้ที่เกี่ยวข้องคนอื่นๆ ไปเจรจาเรื่องนี้หรือไม่ ตอบมาให้ชัดเจน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สมเด็จฮุน เซน มีผลประโยชน์ทางธุรกิจพลังงานหรือไม่ เพราะยืนยันว่าพวกตนไม่มีแน่นอน
ถามย้ำ เป็นโฆษกรัฐบาลกัมพูชา หรือ รมว.ต่างประเทศไทย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ที่สำคัญกว่านั้นคือว่า คิดได้อย่างไรในขณะนี้ ที่มาขยายความในข้อแถลงของกัมพูชา ในขณะที่เวลาเขาแถลงแล้วกระทบกับประเทศไทย เช่นกล่าวหาว่า ประเทศไทยไปรุกรานอธิปไตยเขา แต่กลับไม่ตอบโต้ แต่เวลาเขาด่ารัฐบาลไทย กลับเอามาขยายความ ก็เลยไม่รู้ว่าตกลงเป็นโฆษกรัฐบาลกัมพูชา หรือเป็น รมว.การต่างประเทศของไทย แล้วอย่างนี้จะให้คนมั่นใจได้ยังไงครับว่า ไปต่อสู้กับกัมพูชาในศาลแล้วจะอยู่ข้างไหน
ชี้ความต่างระหว่างตัวเองกับ"ทักษิณ-ฮุนเซน"
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่นายสุรพงษ์ ให้เจ้าหน้าที่สถานทูตไทยในกรุงพนมเปญ ถอดเทปคำพูดของนายกฯฮุน เซน แล้วนำมาแจกนักข่าว โดยเนื้อหาส่วนหนึ่งเหมือนบอกว่า นายอภิสิทธิ์ มอบให้นายสุเทพไปเจรจาลับในเรื่องมีผลประโยชน์เหมือนกัน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เมื่อตนมารับตำแหน่ง เรื่องนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่ทำค้างอยู่ แต่เราต้องทำตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ ฉะนั้นเจรจาเป็นทางการไม่ได้ ก็ให้ไปคุยกันนอกรอบว่า กรอบการเจรจามันควรจะเป็นอย่างไร เจรจาที่ผ่านมาถึงไหน ต่อมาเราเห็นว่าเสียเปรียบ จึงได้แขวน MOU 44 เรื่องก็หยุดแค่นั่น
กรณีที่นายสุเทพไปคุนหมิงนั้น เป็นงานอื่นที่ไม่เกี่ยว แต่มันไม่ได้เหมือนกับที่วิกิลีกส์ เขียนว่า กรณีพ.ต.ท.ทักษิณ นั้น มีผลประโยชน์อย่างไร และตัว พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้พูดเองว่าตัวเองทำธุรกิจด้านพลังงาน สนใจทำธุรกิจด้านนี้ มันต่างกันโดยสิ้นเชิง ถ้าตนจะไปเจรจาเรื่องนี้มันก็แปลก แต่ถ้าเป็นผู้เจรจา ก็จะเจรจาให้ประเทศไทยได้ประโยชน์ เพราะไม่ได้คำนึงถึงว่า บริษัทที่มาทำธุรกิจจะได้ประโยชน์อะไร อย่างไร นี่คือความแตกต่างระหว่างตนและพ.ต.ท.ทักษิณ และต่างกับสมเด็จฮุน เซน แล้วก็คงจะต่างจากคนในรัฐบาลนี้ด้วย
ตะเพิด"สุรพงษ์"ไปทำหน้าที่ตัวเองจะดีกว่า
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ส่วนตัวเห็นว่า รมว.ต่างประเทศนี้ มีงานอื่นที่ควรจะไปทำมากกว่านี้ นอกเหนือจากการสู้คดีเขาพระวิหาร ที่จะต้องไปทำอย่างจริงจัง แล้วไม่ใช่กลายเป็นว่ากัมพูชา พูดอะไรไปเออ ออ ห่อหมกกับเขาหมด แม้กระทั่งเขาบอกว่า ดินแดนของเราเป็นของเขา ก็ยังไปเออออ กับเขา แล้วจะไปชนะคดีได้อย่างไร ขอให้ไปตั้งหลักเสียใหม่ และขณะนี้มีงานต่างประเทศหลายเรื่อง ที่รัฐมนตรีจะต้องมีบทบาทสำคัญ แต่ไม่เห็นเดินหน้าทำเลย เช่น ขณะนี้อินโดนีเซีย เพิ่งออกประกาศห้าม ไทยส่งออกทุเรียนไปที่อินโดนีเซียแล้ว หรือ กรณีลำไยของไทย ที่ถูกอินโดนีเซีย จำกัดโควตา ทั้งที่อินโดฯเคยเป็นตลาดใหญ่ของไทย ทั้งที่ นายสุรพงษ์เป็น ส.ส.จากภาคเหนือ
หรือกรณีที่ประเทศไทย เสนอตัวที่จะเป็นเจ้าภาพงาน World Expo ปี 2020 ที่รัฐบาลที่แล้วเริ่มต้นไว้ ซึ่งสัปดาห์หน้ากรรมการที่จะคัดเลือกว่า จะให้ประเทศใดจะได้เป็นเจ้าภาพ เขาจะเดินทางมาประเทศไทย นายสุรพงษ์ ได้เตรียมหน่วยงานต่างๆ ดูแลเจรจาให้เกิดความประทับใจมากน้อยแค่ไหน ขอให้ไปทำหน้าที่ของตนเองดีกว่า เพราะคู่แข่งเรามีหลายชาติทั้งบราซิล รัสเซีย ดูไบ และตุรกี
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวในรายการฟ้าวันใหม่ ทางบลู สกาย แชแนลถึงท่าทีของนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.การต่างประเทศ ที่เอาคำพูดของสมเด็จฮุน เซน นายกฯกัมพูชามาแถลงข่าวว่า รัฐมนตรีหรือรัฐบาลชุดนี้ รับลูกของฮุน เซน ถือเป็นเรื่องที่น่าหดหู่มาก ที่ รมว.การต่างประเทศของไทย อยู่ดีๆ มาทำหน้าที่เป็นโฆษกให้กับรัฐบาล ซึ่งเป็นคู่พิพาทของเรา ในคดีเกี่ยวกับดินแดนในศาลโลก แล้วก็เป็นโฆษกให้กับรัฐบาลเขา ในการโจมตีรัฐบาลไทย คือรัฐบาลที่แล้ว ซึ่งไม่น่าจะขาดสำนึกว่า หน้าที่ของตนเองคืออะไรขนาดนี้ เรื่องการเมืองภายในประเทศ แม้เราจะเห็นไม่ตรงกัน จะต่อสู้อะไรกันก็ว่ากันไป ซึ่งตนแม้จะทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้าน ก็ยังช่วยงานรัฐบาลนี้ หลายเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ของประเทศ แต่นี่กลับกลายเป็นว่า รัฐบาลมัวแต่ห่วงในเรื่องของประเด็นทางการเมือง อยากจะมีประเด็นในการที่จะมาโต้ตอบกล่าวหากันทางการเมือง มากกว่าสนใจงานสำคัญ ก็คือการปกป้องประโยชน์ของประเทศ
โต้ข้อกล่าวหา ถามจี้ใจดำใครกันแน่มีผลประโยชน์
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ที่สำคัญคือ แถลงการณ์ที่ว่านี้ ก็ไม่ได้มีอะไรเลย มีอย่างเดียวคือ กัมพูชา มีการลักไก่ ที่บอกว่ารัฐบาลประชาธิปัตย์ โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯขณะนั้น ไปพูดคุยกับเขากี่ครั้ง ซึ่งตนได้อธิบายหมดแล้ว 1.เป็นการเจรจานอกรอบ เพื่อที่จะต้องมาดูว่า ถ้าจะทำกรอบการเจรจาตามมาตรา 190 จะต้องทำอย่างไร นั่นคือ 2 ครั้งแรก แล้วพอต่อมา เราแขวน MOU ปี 44 ก็ไม่มีการดำเนินการเรื่องนี้อีก ไอ้ที่ไปใส่วันที่ หลังจากที่แขวน MOU 44 ที่อ้างว่า นายสุเทพ ไปคุนหมิงนั้น นายสุเทพ ไปงานอื่น เป็นงานการประชุมนานาชาติที่จีนจัด เข้าใจว่าทางกัมพูชา ก็มีคนไป แต่ไม่มีการพูดคุยกันเรื่องนี้ ซึ่งชัดเจนในข้อเท็จจริง พวกตนไม่ได้มีผลประโยชน์อะไรอยู่แล้ว แต่ รมว.ต่างประเทศมากกว่า ที่ต้องตอบว่า ตกลงรัฐบาลนี้ โดยนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และรัฐมนตรี หรือผู้ที่เกี่ยวข้องคนอื่นๆ ไปเจรจาเรื่องนี้หรือไม่ ตอบมาให้ชัดเจน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สมเด็จฮุน เซน มีผลประโยชน์ทางธุรกิจพลังงานหรือไม่ เพราะยืนยันว่าพวกตนไม่มีแน่นอน
ถามย้ำ เป็นโฆษกรัฐบาลกัมพูชา หรือ รมว.ต่างประเทศไทย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ที่สำคัญกว่านั้นคือว่า คิดได้อย่างไรในขณะนี้ ที่มาขยายความในข้อแถลงของกัมพูชา ในขณะที่เวลาเขาแถลงแล้วกระทบกับประเทศไทย เช่นกล่าวหาว่า ประเทศไทยไปรุกรานอธิปไตยเขา แต่กลับไม่ตอบโต้ แต่เวลาเขาด่ารัฐบาลไทย กลับเอามาขยายความ ก็เลยไม่รู้ว่าตกลงเป็นโฆษกรัฐบาลกัมพูชา หรือเป็น รมว.การต่างประเทศของไทย แล้วอย่างนี้จะให้คนมั่นใจได้ยังไงครับว่า ไปต่อสู้กับกัมพูชาในศาลแล้วจะอยู่ข้างไหน
ชี้ความต่างระหว่างตัวเองกับ"ทักษิณ-ฮุนเซน"
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่นายสุรพงษ์ ให้เจ้าหน้าที่สถานทูตไทยในกรุงพนมเปญ ถอดเทปคำพูดของนายกฯฮุน เซน แล้วนำมาแจกนักข่าว โดยเนื้อหาส่วนหนึ่งเหมือนบอกว่า นายอภิสิทธิ์ มอบให้นายสุเทพไปเจรจาลับในเรื่องมีผลประโยชน์เหมือนกัน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เมื่อตนมารับตำแหน่ง เรื่องนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่ทำค้างอยู่ แต่เราต้องทำตามมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ ฉะนั้นเจรจาเป็นทางการไม่ได้ ก็ให้ไปคุยกันนอกรอบว่า กรอบการเจรจามันควรจะเป็นอย่างไร เจรจาที่ผ่านมาถึงไหน ต่อมาเราเห็นว่าเสียเปรียบ จึงได้แขวน MOU 44 เรื่องก็หยุดแค่นั่น
กรณีที่นายสุเทพไปคุนหมิงนั้น เป็นงานอื่นที่ไม่เกี่ยว แต่มันไม่ได้เหมือนกับที่วิกิลีกส์ เขียนว่า กรณีพ.ต.ท.ทักษิณ นั้น มีผลประโยชน์อย่างไร และตัว พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้พูดเองว่าตัวเองทำธุรกิจด้านพลังงาน สนใจทำธุรกิจด้านนี้ มันต่างกันโดยสิ้นเชิง ถ้าตนจะไปเจรจาเรื่องนี้มันก็แปลก แต่ถ้าเป็นผู้เจรจา ก็จะเจรจาให้ประเทศไทยได้ประโยชน์ เพราะไม่ได้คำนึงถึงว่า บริษัทที่มาทำธุรกิจจะได้ประโยชน์อะไร อย่างไร นี่คือความแตกต่างระหว่างตนและพ.ต.ท.ทักษิณ และต่างกับสมเด็จฮุน เซน แล้วก็คงจะต่างจากคนในรัฐบาลนี้ด้วย
ตะเพิด"สุรพงษ์"ไปทำหน้าที่ตัวเองจะดีกว่า
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ส่วนตัวเห็นว่า รมว.ต่างประเทศนี้ มีงานอื่นที่ควรจะไปทำมากกว่านี้ นอกเหนือจากการสู้คดีเขาพระวิหาร ที่จะต้องไปทำอย่างจริงจัง แล้วไม่ใช่กลายเป็นว่ากัมพูชา พูดอะไรไปเออ ออ ห่อหมกกับเขาหมด แม้กระทั่งเขาบอกว่า ดินแดนของเราเป็นของเขา ก็ยังไปเออออ กับเขา แล้วจะไปชนะคดีได้อย่างไร ขอให้ไปตั้งหลักเสียใหม่ และขณะนี้มีงานต่างประเทศหลายเรื่อง ที่รัฐมนตรีจะต้องมีบทบาทสำคัญ แต่ไม่เห็นเดินหน้าทำเลย เช่น ขณะนี้อินโดนีเซีย เพิ่งออกประกาศห้าม ไทยส่งออกทุเรียนไปที่อินโดนีเซียแล้ว หรือ กรณีลำไยของไทย ที่ถูกอินโดนีเซีย จำกัดโควตา ทั้งที่อินโดฯเคยเป็นตลาดใหญ่ของไทย ทั้งที่ นายสุรพงษ์เป็น ส.ส.จากภาคเหนือ
หรือกรณีที่ประเทศไทย เสนอตัวที่จะเป็นเจ้าภาพงาน World Expo ปี 2020 ที่รัฐบาลที่แล้วเริ่มต้นไว้ ซึ่งสัปดาห์หน้ากรรมการที่จะคัดเลือกว่า จะให้ประเทศใดจะได้เป็นเจ้าภาพ เขาจะเดินทางมาประเทศไทย นายสุรพงษ์ ได้เตรียมหน่วยงานต่างๆ ดูแลเจรจาให้เกิดความประทับใจมากน้อยแค่ไหน ขอให้ไปทำหน้าที่ของตนเองดีกว่า เพราะคู่แข่งเรามีหลายชาติทั้งบราซิล รัสเซีย ดูไบ และตุรกี
"เฉลิม" ยัน
"พงศพัศ" หาเสียงไม่ผิด ก.ม. แค่สะท้อนให้เห็นว่า
การทำงานต้องคู่ขนานไปกับรัฐบาล ฟันธงเข้าวินแน่ เย้ย "ชายหมู"
หาเสียงผิด เอาคะแนนกับเด็ก...
วันที่ 24 ม.ค. ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ กกต. ออกมาตักเตือนให้ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.หาเสียงภายใต้ขอบเขตของกฎหมายและอำนาจหน้าที่ของ กทม.ว่า เป็นเรื่องที่ทางพรรคเพื่อไทยก็ต้องระมัดระวัง แต่ยืนยันว่าการหาเสียงของ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครของพรรค ยังไม่มีส่วนใดที่เกินเลยขอบเขตของกฎหมาย แม้ว่าบางสิ่งที่ พล.ต.อ.พงศพัศ หาเสียงจะเป็นอำนาจของกระทรวงคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าเช่าแผงค้าตลาดนัดจตุจักร หรือการให้ประชาชนขึ้นรถโดยสารฟรี แต่ก็เป็นเรื่องนโยบาย ไม่ได้เป็นการหาเสียงโดยผิดกฎหมาย จึงได้เน้นมาโดยตลอดว่าหากอยากให้ กทม.ก้าวหน้าก็ต้องเลือกผู้ว่าฯ กทม. พรรคเดียวกับรัฐบาล เพราะ กทม. มีเงินรายได้กว่าห้าหมื่นล้าน รัฐบาลให้หมื่นเศษๆ ทำโครงการใหญ่ลำบาก เว้นเป็นเรื่องสัมปทาน ดังนั้นการจะให้นั่งเรือฟรี รถเมล์ฟรี สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งเป็นนโยบายของผู้ว่าฯ หาก พล.ต.อ.พงศพัศ ได้รับเลือกก็จะมาผลักดันผ่านรัฐบาลเพื่อขอเงินอุดหนุน ซึ่งมีการศึกษาแล้วว่าเป็นไปได้ ทั้งเรื่องงบประมาณว่าจะนำมาจากไหน และจะดำเนินการในส่วนใดบ้าง จึงไม่เข้าข่ายใช้อำนาจรัฐไปสนับสนุนการหาเสียงของ พล.ต.อ.พงศพัศ ที่จะทำให้ได้เปรียบคู่แข่งทางการเมืองจนเกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เพียงแต่ชี้ให้เห็นว่าการทำงานต้องคู่ขนานกัน ระหว่างท้องถิ่นและรัฐบาล
วันที่ 24 ม.ค. ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ กกต. ออกมาตักเตือนให้ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.หาเสียงภายใต้ขอบเขตของกฎหมายและอำนาจหน้าที่ของ กทม.ว่า เป็นเรื่องที่ทางพรรคเพื่อไทยก็ต้องระมัดระวัง แต่ยืนยันว่าการหาเสียงของ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครของพรรค ยังไม่มีส่วนใดที่เกินเลยขอบเขตของกฎหมาย แม้ว่าบางสิ่งที่ พล.ต.อ.พงศพัศ หาเสียงจะเป็นอำนาจของกระทรวงคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าเช่าแผงค้าตลาดนัดจตุจักร หรือการให้ประชาชนขึ้นรถโดยสารฟรี แต่ก็เป็นเรื่องนโยบาย ไม่ได้เป็นการหาเสียงโดยผิดกฎหมาย จึงได้เน้นมาโดยตลอดว่าหากอยากให้ กทม.ก้าวหน้าก็ต้องเลือกผู้ว่าฯ กทม. พรรคเดียวกับรัฐบาล เพราะ กทม. มีเงินรายได้กว่าห้าหมื่นล้าน รัฐบาลให้หมื่นเศษๆ ทำโครงการใหญ่ลำบาก เว้นเป็นเรื่องสัมปทาน ดังนั้นการจะให้นั่งเรือฟรี รถเมล์ฟรี สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งเป็นนโยบายของผู้ว่าฯ หาก พล.ต.อ.พงศพัศ ได้รับเลือกก็จะมาผลักดันผ่านรัฐบาลเพื่อขอเงินอุดหนุน ซึ่งมีการศึกษาแล้วว่าเป็นไปได้ ทั้งเรื่องงบประมาณว่าจะนำมาจากไหน และจะดำเนินการในส่วนใดบ้าง จึงไม่เข้าข่ายใช้อำนาจรัฐไปสนับสนุนการหาเสียงของ พล.ต.อ.พงศพัศ ที่จะทำให้ได้เปรียบคู่แข่งทางการเมืองจนเกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เพียงแต่ชี้ให้เห็นว่าการทำงานต้องคู่ขนานกัน ระหว่างท้องถิ่นและรัฐบาล
เมื่อถามว่าหากผู้ว่าฯ กทม.เป็นคนจากพรรคการเมืองอื่น
รัฐบาลจะให้การสนับสนุนในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ ร.ต.อ.เฉลิมตอบว่า ถ้า
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ุ บริพัตร ผู้สมัครพรรคประชาธิปัตย์ คิดเป็นให้เสนอมายังรัฐบาล
เพราะรัฐบาลก็จะให้การสนับสนุนเช่นเดียวกัน
ไม่จำเป็นต้องเป็นคนของพรรคเดียวกันเท่านั้นแล้วรัฐบาลจึงจะให้การสนับสนุน
แต่การหาเสียงก็ต้องให้ประชาชนเห็นถึงจุดแข็ง
เหมือนกับที่มีการหาเสียงว่าให้เลือกผู้ว่าฯ
กทม.คนละพรรคกับรัฐบาลเพื่อคานอำนาจนั้นก็ไม่มีทฤษฎีการเมืองใดรองรับ
"ผมไม่มีความกังวลว่าพรรคเพื่อไทยจะได้รับผลกระทบจนถูกยุบ หากมีการร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องการหาเสียงเกินขอบเขตของกฎหมาย เพราะหากถูกยุบก็ตั้งพรรคใหม่ได้ และพรุ่งนี้ในการปราศรัยผมก็จะหาเสียงตามเดิม คือ เน้นในเรื่องของการทำงานแบบไร้รอยต่อกับรัฐบาลต่อไป เพราะศึกษามาก่อนแล้วว่าไม่ผิดกฎหมาย และขอฟันธงว่า พล.ต.อ.พงศพัศ จะชนะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.อย่างแน่นอน สุดท้ายขอฝากไปยัง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ที่ไปหาเสียงกับเด็กด้วยว่า เด็กเขาไม่มีสิทธิลงคะแนน ควรปรับวิธีการหาเสียงใหม่" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว.
"ผมไม่มีความกังวลว่าพรรคเพื่อไทยจะได้รับผลกระทบจนถูกยุบ หากมีการร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องการหาเสียงเกินขอบเขตของกฎหมาย เพราะหากถูกยุบก็ตั้งพรรคใหม่ได้ และพรุ่งนี้ในการปราศรัยผมก็จะหาเสียงตามเดิม คือ เน้นในเรื่องของการทำงานแบบไร้รอยต่อกับรัฐบาลต่อไป เพราะศึกษามาก่อนแล้วว่าไม่ผิดกฎหมาย และขอฟันธงว่า พล.ต.อ.พงศพัศ จะชนะการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.อย่างแน่นอน สุดท้ายขอฝากไปยัง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ที่ไปหาเสียงกับเด็กด้วยว่า เด็กเขาไม่มีสิทธิลงคะแนน ควรปรับวิธีการหาเสียงใหม่" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว.
“จุรินทร์”
หวั่นปม พ.ร.ก.นิรโทษกรรม ก่อความแตกแยกอีกครั้งในบ้านเมือง
พร้อมการต่อต้านของหลายฝ่าย เตือน "ยิ่งลักษณ์" คิดให้รอบคอบ
และควรมีความชัดเจนต่อเรื่องนี้ อย่าลอยตัวเหนือปัญหา...
เมื่อวันที่ 24 ม.ค.2556 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวถึง กรณีกลุ่ม นปช.กดดันให้นายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภา ลาออกจากตำแหน่งภายหลัง คัดค้านการออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรม ว่า เป็นปัญหาภายในของกลุ่มเดียวกันที่อาจจะมีความคิดเห็นแตกต่างกัน หรืออาจเป็นการโยนหินถามทางก็ได้ เพราะเรื่องนี้มีการตั้งธงชัดเจนอยู่แล้วว่า ต้องทำนิรโทษกรรม ทั้งนี้ ขอย้ำว่าหากมีการออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรม จะทำให้เกิดความแตกแยกขึ้นมาได้อีกครั้งในอนาคต ซึ่งเราไม่อยากเห็นบ้านเมืองเข้าสู่ยุคแตกแยกโดยไม่จำเป็น แต่ทั้งหมดยังเป็นความพยายามต่อเนื่องตามลำดับที่จะนิรโทษกรรมรูปแบบใด รูปแบบหนึ่ง และคงยังไม่จบ เพราะเป็นเป้าหมายสำคัญที่มีความต้องการทำให้สำเร็จ
ขณะที่ต้องจับตา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องคิดให้รอบคอบว่า หากออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแล้วจะคุ้มหรือไม่ที่จะแลกกับความไม่สงบในบ้านเมือง และนายกรัฐมนตรีควรมีความชัดเจนต่อเรื่องนี้ แต่ส่วนใหญ่จะลอยตัวทุกปัญหา ดังนั้นต้องเปลี่ยนบุคลิกภาพการบริหารราชการแผ่นดิน อย่างไรก็ตามเชื่อว่า หากออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรม จะมีการต่อต้านจากหลายฝ่ายด้วย"ชวนนท์" โฆษก ปชป. ยก 7 ข้อสวน "สุรพงษ์" อัดยับไม่ทำการบ้าน รับลูกเขมรดิสเครดิตฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองภายในประเทศ ยันรัฐบาล ปชป. ยกเลิกเอ็มโอยู44...
ที่พรรคประชาธิปัตย์ วันที่ 24 ม.ค. นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.การต่างประเทศ นำแถลงการณ์ของกัมพูชามาเปิดเผยต่อสื่อมวลชน โดยกล่าวหารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ตามที่เป็นข่าวว่า ตนมีข้อสังเกตดังนี้คือ 1.ขอเตือนนายสุรพงษ์ถึงหลักการทำงานว่า ขอให้พึงสำนึกไว้เสมอว่าการเป็น รมว.การต่างประเทศของไทย ไม่ใช่เป็น รมว.การต่างประเทศของกัมพูชา การนำข้อมูลด้านเดียวของกัมพูชา มาแปลเป็นภาษาไทยเพื่อกล่าวหา และดิสเครดิตฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองภายในประเทศนั้น เป็นการแสดงให้เห็นชัดถึงการแยกแยะไม่ออกระหว่างผลประโยชน์ของชาติ และผลประโยชน์ของส่วนบุคคล และไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบนโยบายการต่างประเทศของชาติไทย 2.ตนยืนยันว่า รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ดำเนินการทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างเปิด เผยทุกประการ และไม่มีผลประโยชน์ซ่อนเร้น ตรงกันข้ามพรรคประชาธิปัตย์นั้น ต่อสู้เพื่อรักษาอธิปไตย และผลประโยชน์ของชาติ และแก้ไขปัญหาการที่รัฐบาลพรรคพลังประชาชนชุดก่อนยินยอมให้กัมพูชานั้นได้สิทธิ์ในการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว
ยันรัฐบาล ปชป. ยกเลิกเอ็มโอยู44
นายชวนนท์ กล่าวต่อว่า 3. ผลประโยชน์เรื่องแก๊สและน้ำมันในอ่าวไทย เป็นผลสืบเนื่องจากการที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่า บันทึกความเข้าใจปี 2544 (MOU 2544) นั้น มีความไม่ถูกต้อง ในเรื่องของหลักการการขีดเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเล ซึ่งไม่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ คือ เส้นเขตแดนทางทะเลของกัมพูชา เป็นเส้นที่ลากจากจุดแรกบนแผ่นดินของกัมพูชา บริเวณหลักเขตที่ 73 จ.ตราด และลากตรงมาทางทิศตะวันตกมุ่งสู่อ่าวไทย โดยผ่ากลางเกาะกูด ซึ่งเป็นพื้นแผ่นดินไทยชัดเจน จึงเป็นเส้นเขตแดนทางทะเลที่ไม่อาจรับฟังได้ด้วยเหตุผลทางกฎหมาย หรือหลักการใดๆ จึงเป็นเหตุให้รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้ตัดสินใจที่จะยกเลิก MOU ฉบับดังกล่าว เพื่อที่จะหากรอบการเจรจาฉบับใหม่ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมกับประเทศไทย และเพื่อให้การแบ่งปันผลประโยชน์นั้น เป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า 4. หลังจาก ครม. มีมติยกเลิก MOU 2544 แล้ว ก่อนที่จะมีการนำเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบนั้น กระทรวงการต่างประเทศจึงมีแนวคิดที่จะศึกษาหลักกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อกำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่าง 2 ชาติให้เป็นมาตรฐานสากลเพื่อที่จะได้นำเสนอสภา เพื่อให้ความเห็นชอบกรอบการเจรจาฉบับใหม่ไปในคราวเดียวกัน โดยก่อนที่จะสิ้นสุดอายุของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์นั้น กระทรวงการต่างประเทศยังดำเนินการในเรื่องนี้ ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันจึงควรจะได้สานต่อเพื่อกำหนดท่าทีเพื่อเป็นประโยชน์ของชาติ มากกว่าที่จะหันกลับไปหา MOU หรือข้อตกลงที่ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
อัดยับไม่ทำการบ้านตรวจข้อมูล
"5. หลังจากที่ได้มีการยกเลิก MOU นี้แล้ว กัมพูชาเองเป็นฝ่ายต้องการที่จะเจรจาเพื่อหาความตกลง และทางออก เพราะกัมพูชามีความต้องการที่จะเร่งรีบเพื่อพัฒนาแหล่งแก๊ส และน้ำมันในอ่าวไทยมาก จนเป็นเหตุให้ในการพบปะอย่างไม่เป็นทางการตามที่นายกฯ ฮุน เซน กล่าวอ้างนั้น ไม่ว่าจะเป็นวันที่ 27 มิ.ย. 2552 ที่ กัมพูชา ไม่ได้เป็นการพบปะหรือเจรจาลับแต่อย่างใด แต่เป็นการไปปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่ของรองนายกฯ และรมว.กลาโหมในขณะนั้น หรือแม้แต่การพบปะที่ ประเทศฮ่องกง เดิมรองนายกฯ สก อาน เชิญคุณสุเทพไปพบที่ประเทศสิงคโปร์ แต่ คุณสุเทพ ได้แจ้งว่าไม่สะดวกที่จะไปพบที่สิงคโปร์ เพราะมีภารกิจที่ฮ่องกง ทำให้รองนายกฯ สก อาน ได้ตัดสินใจที่จะเดินทางไปพบคุณสุเทพที่ฮ่องกง จึงอยากถามว่า ใครกันแน่ที่เป็นฝ่ายอยากขอพบ และเปิดการเจรจา หรือแม้แต่การพบกันที่คุนหมิง เมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2553 ก็เป็นสิ่งที่นายกฯ ฮุน เซน โกหก และน่าเสียใจที่ รมว.การต่างประเทศของไทย กลับไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริง แต่นำข้อความเท็จนั้นมาปรักปรำคนไทยด้วยกันเอง โดยในการเดินทางไปคุนหมิงดังกล่าว เป็นการไปประชุมพรรคการเมืองของทวีปเอเชีย โดยประเทศจีนเป็นเจ้าภาพและคุณสุเทพ เป็นผู้แทนจากพรรคประชาธิปัตย์ และนายสก อาน เป็นตัวแทนจากพรรครัฐบาลกัมพูชา ซึ่งการพบปะนั้นก็เกิดขึ้นโดยมิได้มีการนัดหมายล่วงหน้า แต่เมื่อไปพบกันที่นั่นก็มีการหารือกันอย่างไม่เป็นทางการ และไม่ได้มีการไปตกลงหรือเจรจาลับอะไรอย่างที่ฮุน เซน พยายามจะจินตนาการ" นายชวนนท์ กล่าว
ท้าฮุน เซน เปิดหลักฐานเจรจาลับ
นายชวนนท์ กล่าวอีกว่า 6. ตนยืนยันอีกครั้งว่า การดำเนินการใดๆ ในเรื่องของการเจรจาผลประโยชน์ในทะเลนั้น ไม่มีทางที่จะเป็นเรื่องลับหรือปิดบังประชาชนได้ เพราะพรรคเป็นผู้ยกเลิก MOU 44 และเป็นผู้ที่กำลังจะศึกษาถึงแนวทางการทำ MOU ฉบับใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศอย่างสูงสุด และการเจรจา ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหน อย่างไร สุดท้ายรายละเอียดก็ต้องถูกส่งกลับมายังรัฐบาล ก่อนจะเสนอให้กับรัฐสภาให้ความเห็นชอบ จึงไม่เข้าใจว่านายสุรพงษ์ แกล้งไม่เข้าใจในกระบวนการปกตินี้ได้อย่างไร ถึงได้ไปเห็นดีเห็นงามกับสิ่งที่ทางกัมพูชาพยายามใส่ร้ายประเทศไทย จนดูเหมือนทำหน้าที่เป็นโฆษกของประเทศกัมพูชา สาขาประเทศไทย 7. ทั้งหมดจึงเป็นการยืนยันความบริสุทธิ์ใจของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ในการดำเนินการทุกอย่างกับประเทศกัมพูชา และตนขอท้าว่า หากนายฮุน เซน มีหลักฐานว่ามีการเจรจาใดๆ ที่เป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน หรือเอาเรื่องส่วนตัวมาก่อนเรื่องของชาติ ก็ขอให้เปิดเผย แต่อย่าออกแถลงการณ์ไร้สาระให้ รมว.การต่างประเทศของไทยต้องเอาเวลาราชการ ภาษีของคนไทย ไปแปลคำพูดอย่างนี้ออกมาอีก หากมีเรื่องที่สามารถพิสูจน์ใดๆ ได้ก็ขอให้รีบดำเนินการ.
เมื่อวันที่ 24 ม.ค.2556 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) กล่าวถึง กรณีกลุ่ม นปช.กดดันให้นายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภา ลาออกจากตำแหน่งภายหลัง คัดค้านการออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรม ว่า เป็นปัญหาภายในของกลุ่มเดียวกันที่อาจจะมีความคิดเห็นแตกต่างกัน หรืออาจเป็นการโยนหินถามทางก็ได้ เพราะเรื่องนี้มีการตั้งธงชัดเจนอยู่แล้วว่า ต้องทำนิรโทษกรรม ทั้งนี้ ขอย้ำว่าหากมีการออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรม จะทำให้เกิดความแตกแยกขึ้นมาได้อีกครั้งในอนาคต ซึ่งเราไม่อยากเห็นบ้านเมืองเข้าสู่ยุคแตกแยกโดยไม่จำเป็น แต่ทั้งหมดยังเป็นความพยายามต่อเนื่องตามลำดับที่จะนิรโทษกรรมรูปแบบใด รูปแบบหนึ่ง และคงยังไม่จบ เพราะเป็นเป้าหมายสำคัญที่มีความต้องการทำให้สำเร็จ
ขณะที่ต้องจับตา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องคิดให้รอบคอบว่า หากออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแล้วจะคุ้มหรือไม่ที่จะแลกกับความไม่สงบในบ้านเมือง และนายกรัฐมนตรีควรมีความชัดเจนต่อเรื่องนี้ แต่ส่วนใหญ่จะลอยตัวทุกปัญหา ดังนั้นต้องเปลี่ยนบุคลิกภาพการบริหารราชการแผ่นดิน อย่างไรก็ตามเชื่อว่า หากออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรม จะมีการต่อต้านจากหลายฝ่ายด้วย"ชวนนท์" โฆษก ปชป. ยก 7 ข้อสวน "สุรพงษ์" อัดยับไม่ทำการบ้าน รับลูกเขมรดิสเครดิตฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองภายในประเทศ ยันรัฐบาล ปชป. ยกเลิกเอ็มโอยู44...
ที่พรรคประชาธิปัตย์ วันที่ 24 ม.ค. นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.การต่างประเทศ นำแถลงการณ์ของกัมพูชามาเปิดเผยต่อสื่อมวลชน โดยกล่าวหารัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ตามที่เป็นข่าวว่า ตนมีข้อสังเกตดังนี้คือ 1.ขอเตือนนายสุรพงษ์ถึงหลักการทำงานว่า ขอให้พึงสำนึกไว้เสมอว่าการเป็น รมว.การต่างประเทศของไทย ไม่ใช่เป็น รมว.การต่างประเทศของกัมพูชา การนำข้อมูลด้านเดียวของกัมพูชา มาแปลเป็นภาษาไทยเพื่อกล่าวหา และดิสเครดิตฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองภายในประเทศนั้น เป็นการแสดงให้เห็นชัดถึงการแยกแยะไม่ออกระหว่างผลประโยชน์ของชาติ และผลประโยชน์ของส่วนบุคคล และไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบนโยบายการต่างประเทศของชาติไทย 2.ตนยืนยันว่า รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ดำเนินการทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างเปิด เผยทุกประการ และไม่มีผลประโยชน์ซ่อนเร้น ตรงกันข้ามพรรคประชาธิปัตย์นั้น ต่อสู้เพื่อรักษาอธิปไตย และผลประโยชน์ของชาติ และแก้ไขปัญหาการที่รัฐบาลพรรคพลังประชาชนชุดก่อนยินยอมให้กัมพูชานั้นได้สิทธิ์ในการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว
ยันรัฐบาล ปชป. ยกเลิกเอ็มโอยู44
นายชวนนท์ กล่าวต่อว่า 3. ผลประโยชน์เรื่องแก๊สและน้ำมันในอ่าวไทย เป็นผลสืบเนื่องจากการที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่า บันทึกความเข้าใจปี 2544 (MOU 2544) นั้น มีความไม่ถูกต้อง ในเรื่องของหลักการการขีดเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเล ซึ่งไม่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ คือ เส้นเขตแดนทางทะเลของกัมพูชา เป็นเส้นที่ลากจากจุดแรกบนแผ่นดินของกัมพูชา บริเวณหลักเขตที่ 73 จ.ตราด และลากตรงมาทางทิศตะวันตกมุ่งสู่อ่าวไทย โดยผ่ากลางเกาะกูด ซึ่งเป็นพื้นแผ่นดินไทยชัดเจน จึงเป็นเส้นเขตแดนทางทะเลที่ไม่อาจรับฟังได้ด้วยเหตุผลทางกฎหมาย หรือหลักการใดๆ จึงเป็นเหตุให้รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้ตัดสินใจที่จะยกเลิก MOU ฉบับดังกล่าว เพื่อที่จะหากรอบการเจรจาฉบับใหม่ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมกับประเทศไทย และเพื่อให้การแบ่งปันผลประโยชน์นั้น เป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวอีกว่า 4. หลังจาก ครม. มีมติยกเลิก MOU 2544 แล้ว ก่อนที่จะมีการนำเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบนั้น กระทรวงการต่างประเทศจึงมีแนวคิดที่จะศึกษาหลักกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อกำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่าง 2 ชาติให้เป็นมาตรฐานสากลเพื่อที่จะได้นำเสนอสภา เพื่อให้ความเห็นชอบกรอบการเจรจาฉบับใหม่ไปในคราวเดียวกัน โดยก่อนที่จะสิ้นสุดอายุของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์นั้น กระทรวงการต่างประเทศยังดำเนินการในเรื่องนี้ ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันจึงควรจะได้สานต่อเพื่อกำหนดท่าทีเพื่อเป็นประโยชน์ของชาติ มากกว่าที่จะหันกลับไปหา MOU หรือข้อตกลงที่ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
อัดยับไม่ทำการบ้านตรวจข้อมูล
"5. หลังจากที่ได้มีการยกเลิก MOU นี้แล้ว กัมพูชาเองเป็นฝ่ายต้องการที่จะเจรจาเพื่อหาความตกลง และทางออก เพราะกัมพูชามีความต้องการที่จะเร่งรีบเพื่อพัฒนาแหล่งแก๊ส และน้ำมันในอ่าวไทยมาก จนเป็นเหตุให้ในการพบปะอย่างไม่เป็นทางการตามที่นายกฯ ฮุน เซน กล่าวอ้างนั้น ไม่ว่าจะเป็นวันที่ 27 มิ.ย. 2552 ที่ กัมพูชา ไม่ได้เป็นการพบปะหรือเจรจาลับแต่อย่างใด แต่เป็นการไปปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่ของรองนายกฯ และรมว.กลาโหมในขณะนั้น หรือแม้แต่การพบปะที่ ประเทศฮ่องกง เดิมรองนายกฯ สก อาน เชิญคุณสุเทพไปพบที่ประเทศสิงคโปร์ แต่ คุณสุเทพ ได้แจ้งว่าไม่สะดวกที่จะไปพบที่สิงคโปร์ เพราะมีภารกิจที่ฮ่องกง ทำให้รองนายกฯ สก อาน ได้ตัดสินใจที่จะเดินทางไปพบคุณสุเทพที่ฮ่องกง จึงอยากถามว่า ใครกันแน่ที่เป็นฝ่ายอยากขอพบ และเปิดการเจรจา หรือแม้แต่การพบกันที่คุนหมิง เมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2553 ก็เป็นสิ่งที่นายกฯ ฮุน เซน โกหก และน่าเสียใจที่ รมว.การต่างประเทศของไทย กลับไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริง แต่นำข้อความเท็จนั้นมาปรักปรำคนไทยด้วยกันเอง โดยในการเดินทางไปคุนหมิงดังกล่าว เป็นการไปประชุมพรรคการเมืองของทวีปเอเชีย โดยประเทศจีนเป็นเจ้าภาพและคุณสุเทพ เป็นผู้แทนจากพรรคประชาธิปัตย์ และนายสก อาน เป็นตัวแทนจากพรรครัฐบาลกัมพูชา ซึ่งการพบปะนั้นก็เกิดขึ้นโดยมิได้มีการนัดหมายล่วงหน้า แต่เมื่อไปพบกันที่นั่นก็มีการหารือกันอย่างไม่เป็นทางการ และไม่ได้มีการไปตกลงหรือเจรจาลับอะไรอย่างที่ฮุน เซน พยายามจะจินตนาการ" นายชวนนท์ กล่าว
ท้าฮุน เซน เปิดหลักฐานเจรจาลับ
นายชวนนท์ กล่าวอีกว่า 6. ตนยืนยันอีกครั้งว่า การดำเนินการใดๆ ในเรื่องของการเจรจาผลประโยชน์ในทะเลนั้น ไม่มีทางที่จะเป็นเรื่องลับหรือปิดบังประชาชนได้ เพราะพรรคเป็นผู้ยกเลิก MOU 44 และเป็นผู้ที่กำลังจะศึกษาถึงแนวทางการทำ MOU ฉบับใหม่ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศอย่างสูงสุด และการเจรจา ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหน อย่างไร สุดท้ายรายละเอียดก็ต้องถูกส่งกลับมายังรัฐบาล ก่อนจะเสนอให้กับรัฐสภาให้ความเห็นชอบ จึงไม่เข้าใจว่านายสุรพงษ์ แกล้งไม่เข้าใจในกระบวนการปกตินี้ได้อย่างไร ถึงได้ไปเห็นดีเห็นงามกับสิ่งที่ทางกัมพูชาพยายามใส่ร้ายประเทศไทย จนดูเหมือนทำหน้าที่เป็นโฆษกของประเทศกัมพูชา สาขาประเทศไทย 7. ทั้งหมดจึงเป็นการยืนยันความบริสุทธิ์ใจของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ในการดำเนินการทุกอย่างกับประเทศกัมพูชา และตนขอท้าว่า หากนายฮุน เซน มีหลักฐานว่ามีการเจรจาใดๆ ที่เป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน หรือเอาเรื่องส่วนตัวมาก่อนเรื่องของชาติ ก็ขอให้เปิดเผย แต่อย่าออกแถลงการณ์ไร้สาระให้ รมว.การต่างประเทศของไทยต้องเอาเวลาราชการ ภาษีของคนไทย ไปแปลคำพูดอย่างนี้ออกมาอีก หากมีเรื่องที่สามารถพิสูจน์ใดๆ ได้ก็ขอให้รีบดำเนินการ.
กทม. สรุปยอดผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ผู้ว่าฯ ณ
เดือน ธ.ค.55 มีจำนวน 4,333,157
คน จากประชากรทั้งหมด 5,673,560 คน
พร้อมขอเชิญชวน ปชช. กทม.ออกไปใช้สิทธิ์โดยพร้อมเพรียง 3 มี.ค.นี้...
วันที่ 24 ม.ค. ตามที่นางนินนาท ชลิตานนท์ ปลัดกรุงเทพมหานคร
ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร ได้ประกาศให้มีการจัดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในวันอาทิตย์ที่
3 มี.ค.2556 นั้น
กรุงเทพมหานครได้สรุปจำนวนประชากรในพื้นที่กรุงเทพฯ ณ เดือน ธ.ค.55 ปรากฏว่า มีประชากรทั้งหมด 5,673,560 คน แบ่งเป็น
ชาย 2,690,754 คน หญิง 2,982,806 คน
จำนวนบ้าน 2,522,075 หลังคาเรือน เป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งรวม
4,333,157 คน แบ่งเป็น ชาย 1,997,113 คน
หญิง 2,336,044 คน
สำหรับคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ต้องมีสัญชาติไทย หากเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 ม.ค. ของปีที่มีการเลือกตั้ง (เกิดก่อนวันที่ 3 ม.ค.2538) และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานครติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี เมื่อนับถึงวันเลือกตั้ง (ย้ายเข้ามาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครก่อนวันที่ 4 ม.ค.2555)
สำหรับคุณสมบัติผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ต้องมีสัญชาติไทย หากเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ในวันที่ 1 ม.ค. ของปีที่มีการเลือกตั้ง (เกิดก่อนวันที่ 3 ม.ค.2538) และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตกรุงเทพมหานครติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี เมื่อนับถึงวันเลือกตั้ง (ย้ายเข้ามาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครก่อนวันที่ 4 ม.ค.2555)
ทั้งนี้ กรุงเทพมหานคร
ขอเชิญชวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครทุกคน
ร่วมแรงร่วมใจแสดงพลังประชาธิปไตยในมือตนด้วยการออกไปใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ในวันที่ 3 มี.ค.2556 ณ หน่วยเลือกตั้งที่ตนมีชื่ออยู่โดยพร้อมเพรียงกัน
"เจะอามิง"
ชี้ไฟใต้ไม่มีแนวโน้มดีขึ้น สวนทางกับ "บิ๊กโอ๋"
เสียใจเหตุคนร้ายยิ่งครูเสียชีวิตต่อเนื่อง จวกรัฐบาลไม่ทำตาม 9 ข้อเสนอฝ่ายค้านที่เคยใช้ได้ผล โดยเฉพาะ ก.ม.ของ ศอ.บต.ไม่จำเป็นต้องตั้ง
ศปก.กปต.ให้ซ้ำซ้อน ทำเจ้าหน้าที่และประชาชนสับสน...
เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2556 นายเจะอามิง โตะตาหยง ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง และยังไม่มีแนวโน้มว่าสถานการณ์จะดีขึ้น อย่างที่ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้กล่าว ในโอกาสที่เดินทางมาติดตามการปฏิบัติงานของกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าแต่อย่างใด ส่วนเหตุคนร้ายยิงครูเสียชีวิตก็ยังคงเกิดขึ้น ซึ่งล่าสุดคนร้ายบุกยิงนายชลธี เจริญชล ครูโรงเรียนบ้านตันหยง อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เสียชีวิต กลางโรงอาหารภายในโรงเรียนช่วงพักกลางวัน ซึ่งรู้สึกเสียใจจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และทราบว่าพฤติกรรมของนายชลธี เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและเป็นคนดี มีน้ำใจ เข้ากับครู นักเรียนและผู้ปกครองได้เป็นอย่างดี โดยในช่วงพักกลางวันมักจะนำปิ่นโตมาจากบ้านเพื่อรับประทานอาหารร่วมกับนักเรียน จนทำให้นักเรียนมีความรักและศรัทธาเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ รัฐบาลไม่ยอมนำข้อเสนอการแก้ไขความสงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนที่ฝ่ายค้านได้เสนอต่อรัฐบาลไป 9 ข้อก่อนหน้านี้ มาใช้ในการแก้ปัญหา เพราะข้อเสนอเหล่านี้ล้วนเป็นที่สิ่งที่รัฐบาลสมัยพรรคประชาธิปัตย์ ได้ดำเนินการแก้ปัญหาในพื้นที่ และเห็นผลเป็นที่ประจักษ์ว่า สามารถลดการสร้างสถานการณ์ความไม่สงบได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกฎหมายของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ที่ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านได้ร่วมกันบัญญัติขึ้น เนื่องจากมีหลายข้อที่สอดคล้องกับแนวทางการแก้ปัญหาโดยคำนึงถึงวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของประชาชนในพื้นที่ จะทำให้เกิดการยอมรับแนวทางในการนำสันติสุขกลับคืนสู่พื้นที่ โดยไม่จำเป็นต้องตั้งศูนย์ปฏิบัติการคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และนโยบายแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปก.กปต.) เพื่อเข้ามาทำงานซ้ำซ้อน จนเกิดความสับสนทั้งกับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติและประชาชน
เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2556 นายเจะอามิง โตะตาหยง ส.ส.นราธิวาส พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง และยังไม่มีแนวโน้มว่าสถานการณ์จะดีขึ้น อย่างที่ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้กล่าว ในโอกาสที่เดินทางมาติดตามการปฏิบัติงานของกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าแต่อย่างใด ส่วนเหตุคนร้ายยิงครูเสียชีวิตก็ยังคงเกิดขึ้น ซึ่งล่าสุดคนร้ายบุกยิงนายชลธี เจริญชล ครูโรงเรียนบ้านตันหยง อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เสียชีวิต กลางโรงอาหารภายในโรงเรียนช่วงพักกลางวัน ซึ่งรู้สึกเสียใจจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และทราบว่าพฤติกรรมของนายชลธี เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและเป็นคนดี มีน้ำใจ เข้ากับครู นักเรียนและผู้ปกครองได้เป็นอย่างดี โดยในช่วงพักกลางวันมักจะนำปิ่นโตมาจากบ้านเพื่อรับประทานอาหารร่วมกับนักเรียน จนทำให้นักเรียนมีความรักและศรัทธาเป็นอย่างมาก
ทั้งนี้ รัฐบาลไม่ยอมนำข้อเสนอการแก้ไขความสงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนที่ฝ่ายค้านได้เสนอต่อรัฐบาลไป 9 ข้อก่อนหน้านี้ มาใช้ในการแก้ปัญหา เพราะข้อเสนอเหล่านี้ล้วนเป็นที่สิ่งที่รัฐบาลสมัยพรรคประชาธิปัตย์ ได้ดำเนินการแก้ปัญหาในพื้นที่ และเห็นผลเป็นที่ประจักษ์ว่า สามารถลดการสร้างสถานการณ์ความไม่สงบได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะกฎหมายของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ที่ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านได้ร่วมกันบัญญัติขึ้น เนื่องจากมีหลายข้อที่สอดคล้องกับแนวทางการแก้ปัญหาโดยคำนึงถึงวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของประชาชนในพื้นที่ จะทำให้เกิดการยอมรับแนวทางในการนำสันติสุขกลับคืนสู่พื้นที่ โดยไม่จำเป็นต้องตั้งศูนย์ปฏิบัติการคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ และนโยบายแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปก.กปต.) เพื่อเข้ามาทำงานซ้ำซ้อน จนเกิดความสับสนทั้งกับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติและประชาชน
"อุกฤษ
มงคลนาวิน" ประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ
(คอ.นธ.) ชงร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฯ มี 6 มาตรา เว้น
"แกนนำ-จนท.รัฐ" ไม่ได้รับประโยชน์ ด้านปชป.บอก
รับได้หากให้กับประชาชนเท่านั้น...
วันที่ 24 ม.ค. ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ นำเอกสาร การสร้างความสามัคคีของคนในชาติ รวมทั้ง ข้อเสนอเกี่ยวกับ การนิรโทษกรรม : จุดเริ่มต้นกระบวนการสร้างความสามัคคีของคนในชาติ และร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม แก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน ระหว่างวันที่ 19 กันยายน 2549 – 10 พฤษภาคม 2554 มามอบให้กับสื่อมวลชน
โดย ข้อเสนอดังกล่าวได้เสนอหน่วยงานและองค์กรของรัฐเพื่อให้สังคมไทยกลับสู่ความ สงบเรียบร้อย สามัคคี ให้ประเทศมั่นคงและเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยมีใจความสำคัญว่า 1.ศาลยุติธรรม ถือเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จึงควรพิจารณาและทบทวน แนวทางการบังคับใช้กฎหมาย การปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา โดยการใช้ดุลพินิจปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหา หรือจำเลยที่ถูกกล่าวหาว่า กระทำผิดในทางการเมือง ควรใช้กรอบของหลักของเมตตาธรรม
2.การที่ประชาชนกระทำผิดในการชุมนุม ทางการเมือง หรือแสดงออกทางการเมือง ตั้งแต่ 19 กันยายน 2549-10 พฤษภาคม 2554 เป็นผู้ที่มีความสุจริตทางการเมือง แสดงออกตามสิทธิในฐานะประชาชน เป็นการต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย หรือการเลือกตั้งส.ส.ตามวิถีทางระบอบประชาธิปไตย จึงเป็นความรับผิดชอบของ ส.ส.และ ส.ว. ต้องตรา กฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อสร้างความสามัคคี และความสมานฉันท์ของคนในชาติ และเพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเร็ว
ทั้งนี้ ขอบเขตการนิรโทษกรรม ต้องไม่รวมถึงผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการ ให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง ในห้วงเวลาดังกล่าว และไม่รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง กับการใช้อำนาจตามกฎหมาย ในการรักษาความสงบ หรือยุติเหตุการณ์ สำหรับร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม แก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน ระหว่างวันที่ 19 กันยายน 2549 – 30 พฤษภาคม 2554 ด้วย พ.ศ....ซึ่งมีทั้งหมด 6 มาตรา
โดยมีสาระสำคัญที่ มาตรา 3 ระบุว่าให้การทำใดๆ ของบุคคล ที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการฝ่าฝืนที่ห้ามการชุมนุม การกล่าววาจา หรือโฆษณาด้วยวิธีการใด เพื่อเรียกร้อง หรือให้มีการต่อต้านรัฐ การต่อสู้ขัดขืน การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือการประท้วงด้วยวิธีการใดๆ อันเป็นการกระทบต่อร่างกาย หรือทรัพย์สินของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากการชุมนุม หรือการแสดงออกทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 – 10 พฤษภาคม 2554 ไม่เป็นความผิดต่อไป และให้ผู้กระทำการนั้น พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง
การกระทำใน วรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการกระทำใดๆ ของบรรดาผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจหรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการ เมืองในห้วงเวลาดังกล่าว และไม่รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจตามกฎหมายในการ รักษาความสงบหรือยุติเหตุการณ์นั้น
ด้านนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 กล่าวว่า ยังไม่เห็นร่างกฎหมายฉบับนี้ ว่าจะมีใครเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ซึ่งการเสนอร่างกฎหมายต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญกำหนด โดยต้องให้ประชาชนเข้าชื่อ 15,000 คนเพื่อเสนอกฎหมาย หรือให้รัฐบาล หรือให้ ส.ส.และส.ว. เข้าชื่อเสนอ ซึ่งของนายอุกฤษ เป็นส่วนภาคประชาชน เมื่อจะเสนอ ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
เมื่อถามว่า ช่วงเวลานี้เหมาะสมที่จะพูดถึงการนิรโทษกรรมหรือไม่ นายเจริญ กล่าวว่า หากสังคมร่วมพิจารณาว่า เป็นทางออกและแนวทางที่จะไปสู่การพัฒนาประเทศ ถือว่า มีความเหมาะสม แต่ขณะนี้ภาคส่วนต่างๆ ในสังคมยังวิตกกังวลว่า การเสนอกฎหมายนิรโทษกรรม จะทำเพื่อประโยชน์ของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือไม่ ดังนั้น ต้องพิจารณาดูหลักการเหตุผล มากกว่าใช้ความรู้สึก แต่หากสังคมยังแบ่งฝ่ายเรื่องนี้ก็จะสำเร็จไม่ได้
นายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่าตนยังไม่เห็นร่าง พ.ร.บ.นี้ ซึ่งต้องดูในรายละเอียดว่า มีอะไรซ่อนเร้นหรือไม่ เพราะหากมีอะไรซ่อนเร้น ก็พอเดาออกได้ รวมทั้งดูว่า คำจำกัดความหมาย ความในเรื่องผู้สั่งการ หมายความแค่ไหน อย่างไรก็ตาม หากเป็นการนิรโทษกรรม เฉพาะผู้ชุมนุม ที่ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นั้นก็ยอมรับได้.
วันที่ 24 ม.ค. ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ นำเอกสาร การสร้างความสามัคคีของคนในชาติ รวมทั้ง ข้อเสนอเกี่ยวกับ การนิรโทษกรรม : จุดเริ่มต้นกระบวนการสร้างความสามัคคีของคนในชาติ และร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม แก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน ระหว่างวันที่ 19 กันยายน 2549 – 10 พฤษภาคม 2554 มามอบให้กับสื่อมวลชน
โดย ข้อเสนอดังกล่าวได้เสนอหน่วยงานและองค์กรของรัฐเพื่อให้สังคมไทยกลับสู่ความ สงบเรียบร้อย สามัคคี ให้ประเทศมั่นคงและเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยมีใจความสำคัญว่า 1.ศาลยุติธรรม ถือเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จึงควรพิจารณาและทบทวน แนวทางการบังคับใช้กฎหมาย การปล่อยตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา โดยการใช้ดุลพินิจปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหา หรือจำเลยที่ถูกกล่าวหาว่า กระทำผิดในทางการเมือง ควรใช้กรอบของหลักของเมตตาธรรม
2.การที่ประชาชนกระทำผิดในการชุมนุม ทางการเมือง หรือแสดงออกทางการเมือง ตั้งแต่ 19 กันยายน 2549-10 พฤษภาคม 2554 เป็นผู้ที่มีความสุจริตทางการเมือง แสดงออกตามสิทธิในฐานะประชาชน เป็นการต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย หรือการเลือกตั้งส.ส.ตามวิถีทางระบอบประชาธิปไตย จึงเป็นความรับผิดชอบของ ส.ส.และ ส.ว. ต้องตรา กฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อสร้างความสามัคคี และความสมานฉันท์ของคนในชาติ และเพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเร็ว
ทั้งนี้ ขอบเขตการนิรโทษกรรม ต้องไม่รวมถึงผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการ ให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง ในห้วงเวลาดังกล่าว และไม่รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง กับการใช้อำนาจตามกฎหมาย ในการรักษาความสงบ หรือยุติเหตุการณ์ สำหรับร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม แก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน ระหว่างวันที่ 19 กันยายน 2549 – 30 พฤษภาคม 2554 ด้วย พ.ศ....ซึ่งมีทั้งหมด 6 มาตรา
โดยมีสาระสำคัญที่ มาตรา 3 ระบุว่าให้การทำใดๆ ของบุคคล ที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการฝ่าฝืนที่ห้ามการชุมนุม การกล่าววาจา หรือโฆษณาด้วยวิธีการใด เพื่อเรียกร้อง หรือให้มีการต่อต้านรัฐ การต่อสู้ขัดขืน การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือการประท้วงด้วยวิธีการใดๆ อันเป็นการกระทบต่อร่างกาย หรือทรัพย์สินของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากการชุมนุม หรือการแสดงออกทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 – 10 พฤษภาคม 2554 ไม่เป็นความผิดต่อไป และให้ผู้กระทำการนั้น พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง
การกระทำใน วรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการกระทำใดๆ ของบรรดาผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจหรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการ เมืองในห้วงเวลาดังกล่าว และไม่รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจตามกฎหมายในการ รักษาความสงบหรือยุติเหตุการณ์นั้น
ด้านนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 กล่าวว่า ยังไม่เห็นร่างกฎหมายฉบับนี้ ว่าจะมีใครเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ ซึ่งการเสนอร่างกฎหมายต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญกำหนด โดยต้องให้ประชาชนเข้าชื่อ 15,000 คนเพื่อเสนอกฎหมาย หรือให้รัฐบาล หรือให้ ส.ส.และส.ว. เข้าชื่อเสนอ ซึ่งของนายอุกฤษ เป็นส่วนภาคประชาชน เมื่อจะเสนอ ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
เมื่อถามว่า ช่วงเวลานี้เหมาะสมที่จะพูดถึงการนิรโทษกรรมหรือไม่ นายเจริญ กล่าวว่า หากสังคมร่วมพิจารณาว่า เป็นทางออกและแนวทางที่จะไปสู่การพัฒนาประเทศ ถือว่า มีความเหมาะสม แต่ขณะนี้ภาคส่วนต่างๆ ในสังคมยังวิตกกังวลว่า การเสนอกฎหมายนิรโทษกรรม จะทำเพื่อประโยชน์ของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือไม่ ดังนั้น ต้องพิจารณาดูหลักการเหตุผล มากกว่าใช้ความรู้สึก แต่หากสังคมยังแบ่งฝ่ายเรื่องนี้ก็จะสำเร็จไม่ได้
นายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวว่าตนยังไม่เห็นร่าง พ.ร.บ.นี้ ซึ่งต้องดูในรายละเอียดว่า มีอะไรซ่อนเร้นหรือไม่ เพราะหากมีอะไรซ่อนเร้น ก็พอเดาออกได้ รวมทั้งดูว่า คำจำกัดความหมาย ความในเรื่องผู้สั่งการ หมายความแค่ไหน อย่างไรก็ตาม หากเป็นการนิรโทษกรรม เฉพาะผู้ชุมนุม ที่ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นั้นก็ยอมรับได้.
“วิรัตน์”
ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ดักคอ คอ.นธ. ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฯ
คลุมเครือ ทำให้มองได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของ ก.ม.ปรองดองที่แยกออกมาเขียนใหม่...
วันที่ 24 ม.ค. ที่รัฐสภา นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ และทีมกฎหมายของพรรค กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ที่มีนายอุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธาน เสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน ระหว่างวันที่ 19 กันยายน 2549-10 พฤษภาคม 2554 ว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวเขียนไม่ชัดเจนว่าใครเป็นผู้สั่งการในเหตุการณ์การชุมนุม การเขียนเช่นนี้เหมือนเขียนหลอกเอาไว้ เพราะอาจมีการอ้างว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ หรือแกนนำ นปช. ไม่ใช่คนสั่งการก็ได้ พรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่าประชาชนที่มาชุมนุมทางการเมืองโดยสุจริตใจ ไม่กระทำผิดกฎหมายสามารถได้รับการนิรโทษกรรม ใครกระทำความผิดก็ต้องได้รับการลงโทษ แต่คนที่เผาบ้านเผาเมืองหรือสั่งการใดๆ ต้องถูกดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม
ทั้งนี้จากการดูในรายละเอียดร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเขียนไว้อย่างคลุมเครือและหวาดเสียว สามารถตีความได้หลายทาง ทำให้มองได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายปรองดองที่แยกออกมาเพื่อเขียนขึ้นใหม่ เพราะหากพิจารณากฎหมายปรองดองก็จะถูกต่อต้าน และเมื่อร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฯ ของ คอ.นธ. เข้าสู่สภาฯ ก็จะมีร่างกฎหมายของ ส.ส. เสนอเข้ามาประกบและนำมาพิจารณาร่วมกัน หรือในชั้นกรรมาธิการอาจมีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำที่เอื้อประโยชน์ให้คนบางคน.
วันที่ 24 ม.ค. ที่รัฐสภา นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ และทีมกฎหมายของพรรค กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ที่มีนายอุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธาน เสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน ระหว่างวันที่ 19 กันยายน 2549-10 พฤษภาคม 2554 ว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวเขียนไม่ชัดเจนว่าใครเป็นผู้สั่งการในเหตุการณ์การชุมนุม การเขียนเช่นนี้เหมือนเขียนหลอกเอาไว้ เพราะอาจมีการอ้างว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ หรือแกนนำ นปช. ไม่ใช่คนสั่งการก็ได้ พรรคประชาธิปัตย์ยืนยันว่าประชาชนที่มาชุมนุมทางการเมืองโดยสุจริตใจ ไม่กระทำผิดกฎหมายสามารถได้รับการนิรโทษกรรม ใครกระทำความผิดก็ต้องได้รับการลงโทษ แต่คนที่เผาบ้านเผาเมืองหรือสั่งการใดๆ ต้องถูกดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม
ทั้งนี้จากการดูในรายละเอียดร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเขียนไว้อย่างคลุมเครือและหวาดเสียว สามารถตีความได้หลายทาง ทำให้มองได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายปรองดองที่แยกออกมาเพื่อเขียนขึ้นใหม่ เพราะหากพิจารณากฎหมายปรองดองก็จะถูกต่อต้าน และเมื่อร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฯ ของ คอ.นธ. เข้าสู่สภาฯ ก็จะมีร่างกฎหมายของ ส.ส. เสนอเข้ามาประกบและนำมาพิจารณาร่วมกัน หรือในชั้นกรรมาธิการอาจมีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำที่เอื้อประโยชน์ให้คนบางคน.
พงศ์เทพ” เสียใจ “ครูชลธี” โดนโจรใต้ยิงเสียชีวิต แจงเป็นมติครูที่ไม่ร้องขอชุดคุ้มครองภายในโรงเรียน
แต่จากนี้ หากมีการร้องขอพร้อมส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปทันที เตรียมเสนอ กพต.
พิจารณาปรับเบี้ยเสี่ยงภัย...
เมื่อเวลา 15.45 น. วันที่ 24 ม.ค. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์กรณีโจรใต้บุกยิงนายชลธี เจริญชล ครู คศ.2 โรงเรียนบ้านตันหยง ต.บาเระใต้ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เสียชีวิตคาโรงเรียนว่า นายชลธี เป็นครูจากสงขลา เป็นครูที่เข้มแข็งมาก เป็นที่น่าเสียดายที่ผ่านมาโรงเรียนดังกล่าวไม่ได้ขอให้มีชุดคุ้มครองภายในโรงเรียน เพียงแต่ร้องขอให้เจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยระหว่างเดินทาง เนื่องจากครูและนักเรียนเป็นชาวไทยมุสลิมทั้งหมด ซึ่งเขาได้หารือกันและลงมติว่าไม่จำเป็นต้องมีชุดคุ้มครอง อย่างไรก็ตาม ต่อจากนี้หากมีการร้องขอชุดคุ้มครองเราก็จะให้เจ้าหน้าที่เข้าไปทันที ที่ผ่านมาได้ปรับกำลังตามความเสี่ยงในแต่ละจุดอยู่แล้ว ส่วนที่มีโรงเรียนปิดการเรียนการสอนหลายแห่งหลังเกิดเหตุนั้น ตนเข้าใจและได้ประสานว่า จะมีมาตรการอะไรที่ทำให้เกิดความมั่นใจเพื่อให้เปิดการเรียนการสอนได้ตามปกติ
นายพงศ์เทพ กล่าวว่า สำหรับข้อเสนอของครูในพื้นที่ให้ปรับเบี้ยเสี่ยงภัยจาก 2,500 บาท เป็น 3,500 บาท และผู้ที่ยังไม่เคยได้รับเบี้ยนั้น จะเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) แล้วชี้แจงให้ทราบต่อไป อย่างไรก็ตาม การจะปรับเบี้ยเสี่ยงภัยจะต้องพิจารณาให้ทุกหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งตำรวจ ทหาร ดังนั้นการพิจารณาต้องรอบคอบ โดยจะพิจารณาร่วมกับ ศอ.บต. และสำนักงบประมาณ
เมื่อเวลา 15.45 น. วันที่ 24 ม.ค. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ศึกษาธิการ ให้สัมภาษณ์กรณีโจรใต้บุกยิงนายชลธี เจริญชล ครู คศ.2 โรงเรียนบ้านตันหยง ต.บาเระใต้ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เสียชีวิตคาโรงเรียนว่า นายชลธี เป็นครูจากสงขลา เป็นครูที่เข้มแข็งมาก เป็นที่น่าเสียดายที่ผ่านมาโรงเรียนดังกล่าวไม่ได้ขอให้มีชุดคุ้มครองภายในโรงเรียน เพียงแต่ร้องขอให้เจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยระหว่างเดินทาง เนื่องจากครูและนักเรียนเป็นชาวไทยมุสลิมทั้งหมด ซึ่งเขาได้หารือกันและลงมติว่าไม่จำเป็นต้องมีชุดคุ้มครอง อย่างไรก็ตาม ต่อจากนี้หากมีการร้องขอชุดคุ้มครองเราก็จะให้เจ้าหน้าที่เข้าไปทันที ที่ผ่านมาได้ปรับกำลังตามความเสี่ยงในแต่ละจุดอยู่แล้ว ส่วนที่มีโรงเรียนปิดการเรียนการสอนหลายแห่งหลังเกิดเหตุนั้น ตนเข้าใจและได้ประสานว่า จะมีมาตรการอะไรที่ทำให้เกิดความมั่นใจเพื่อให้เปิดการเรียนการสอนได้ตามปกติ
นายพงศ์เทพ กล่าวว่า สำหรับข้อเสนอของครูในพื้นที่ให้ปรับเบี้ยเสี่ยงภัยจาก 2,500 บาท เป็น 3,500 บาท และผู้ที่ยังไม่เคยได้รับเบี้ยนั้น จะเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) แล้วชี้แจงให้ทราบต่อไป อย่างไรก็ตาม การจะปรับเบี้ยเสี่ยงภัยจะต้องพิจารณาให้ทุกหน่วยงานในพื้นที่ ทั้งตำรวจ ทหาร ดังนั้นการพิจารณาต้องรอบคอบ โดยจะพิจารณาร่วมกับ ศอ.บต. และสำนักงบประมาณ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น