วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

รอยเตอร์แฉ “ออมสิน” ยอมรับ ไม่แน่ใจ “ธ.ก.ส. จะเอา 5 พันล้านบาทไปใช้อะไร” เหตุเงินกู้ไม่พอปลดหนี้จำนำข้าว โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 กุมภาพันธ์ 2557 12:57 น.


รอยเตอร์แฉ “ออมสิน” ยอมรับ ไม่แน่ใจ “ธ.ก.ส. จะเอา 5 พันล้านบาทไปใช้อะไร” เหตุเงินกู้ไม่พอปลดหนี้จำนำข้าว

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์17 กุมภาพันธ์ 2557 12:57 น.
รอยเตอร์แฉ “ออมสิน” ยอมรับ ไม่แน่ใจ “ธ.ก.ส. จะเอา 5 พันล้านบาทไปใช้อะไร” เหตุเงินกู้ไม่พอปลดหนี้จำนำข้าว
      
 รอยเตอร์/ASTVManager - เงินกู้อินเตอร์แบงก์จำนวนเงินราว 5 พันล้านบาทที่ธนาคารออมสินได้ปล่อยกู้ให้กับ ธ.ก.ส.ที่เป็นผู้จัดการโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลทำให้ลดแรงกดดันกับนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่ทว่าจำนวนเม็ดเงินที่รัฐบาลไทยต้องการจริงเพื่อไปจ่ายหนี้โครงการทั้งหมดมีมากถึง 1.3 แสนล้านบาทให้กับชาวนานับล้านคนที่ร่วมโครงการนี้ ซึ่งผู้อำนวยการธนาคารออมสินออกมายอมรับไม่ทราบจุดประสงค์ของทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส ไปใช้ทำอะไรเนื่องมาจากเป็นลักษณะการปล่อยกู้แบบระหว่างแบงก์ ด้านผู้ส่งออกคาดประมูลข้าว 2 ครั้งยังหาเงินได้ไม่ถึง 2 หมื่นล้าน
      
       ธนาคารออมสินได้แถลงในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (16 ก.พ.) ว่า ทางธนาคารได้ปล่อยกู้ในรูป “เงินกู้อินเตอร์แบงก์” จำนวน 5 พันล้านบาทให้แก่ ธ.ก.ส. แต่ทว่าไม่แน่ใจว่าเงินก้อนนี้จะถูกใช้เพื่อจ่ายคืนชาวนาหรือไม่ ซึ่งโครงการจำนำข้าวนี้ดำเนินการโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส) ที่ต้องจ่ายเงินอุดหนุนให้ชาวนาในอัตราที่สูงกว่าราคาข้าวตามท้องตลาดตามความเป็นจริง และเป็นผลให้ข้าวจากประเทศไทยไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้
      
       ดังนั้นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อที่จะขายข้าวในสต๊อกให้ได้มากที่สุดเพื่อหาเงินมาจ่ายคืนให้ชาวนาที่ร่วมโครงการ ซึ่งเป็นผลให้ชาวนาทั่วประเทศหลายหมื่นคนที่กำลังรอรับเงินต้องตบเท้าออกมาประท้วง และคณะกรรมการ ป.ป.ชได้กล่าวว่า ทางคณะอาจจะยื่นฟ้องข้อหาคอ์รัปชันในโครงการรับจำนำข้าวที่อื้อฉาวนี้
      
       “ธนาคารออมสินให้ดำเนินการปล่อยเงินกู้ระหว่างธนาคารต่อธนาคาร (อินเตอร์แบงก์) ให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จริง แต่ทางเราไม่ทราบเลยว่า ธ.ก.ส.จะนำเงินดังกล่าวไปใช้อะไร เพราะการให้กู้ในลักษณะดังกล่าวปกติเป็นไปเพื่อเสริมสภาพคล่องของธนาคารนั้นๆ” นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี ผู้อำนวยการธนาคารออมสินออกมาแถลงข่าวยอมรับกับนักข่าว พร้อมกับเสริมว่าการปล่อยกู้นั้นอาจทำให้ลูกค้าของธนาคารวิตกหากทางธนาคารได้ปล่อยเงินกู้เพื่ออุ้มโครงการรับจำนำข้าวของรัฐ
      
       อย่างไรก็ตาม ทั้งตัวแทนภาครัฐและ ธ.ก.ส.ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในเรื่องนี้
      
       นอกจากนี้ ชาวนาจำนวนหลายร้อยคนยังคงปักหลักเรียกร้องอยู่ที่หน้ากระทรวงพาณิชย์ในวันอาทิตย์ (16) ซึ่งการประท้วงของกลุ่มเกษตรกรนี้เพิ่มแรงกดดันให้กับยิ่งลักษณ์ที่ได้เผชิญหน้ากับการประท้วงทางการเมืองที่ยืดเยื้อมากว่า 3 เดือนใจกลางกรุงเทพฯ เพื่อต้องการให้เธอก้าวลงจากอำนาจ และล่าสุดสุเทพ เทือกสุบรรณ หัวหน้าจัดการประท้วงม็อบ กปปส.เผยว่า จะระดมผู้ชุมนุมจากทุกเวทีเข้าร่วมขบวนที่แยกปทุมวัน มุ่งหน้าทำเนียบรัฐบาล เพราะไม่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีสามารถเข้าปฎิบัติหน้าที่ในทำเนียบรัฐบาลได้ และไม่หวั่นหากจะถูกเจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการปราบปรามเพื่อสลายม็อบ
      
       ทางด้านคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ได้ให้สัมภาษณ์ในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าจะยื่นฟ้องยิ่งลักษณ์ภายในปลายเดือนกุมภาพันธ์ในความผิดจากโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งที่ผ่านมาทาง ป.ป.ช.ได้ยื่นฟ้องข้อหาคอร์รัปชันต่อผู้ต้องหา 15 คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อตกลงขายข้าวแบบจีทูจี ซึ่งเป็นผลให้จีนยกเลิกข้อตกลงที่จะซื้อข้าวจากไทยจำนวน 1.2 ล้านตัน
      
       ตามความเป็นจริงแล้วโครงการรับจำนำข้าวนั้นเป็นนโยบายหลักของยิ่งลักษณ์และพรรคเพื่อไทยที่ทำให้เธอก้าวขึ้นสู่อำนาจในฐานะผู้นำของประเทศได้ในในปี 2011 ที่ฐานเสียงในชนบทร่วมล้านเสียงต่างเทคะแนนให้
      
       และในสัปดาห์ที่ผ่านมารัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้เปิดเทนเดอร์ ออฟเฟอร์ให้มีการประมูลข้าวร่วม 400,000 ตันจากสต๊อก ซึ่งเป็นความพยายามล่าสุดในการหาเงินเพื่อจะจ่ายคืนให้ชาวนา มีผู้ส่งออกจำนวน 18 รายได้ยื่นซองประมูลเพื่อซื้อข้าวจำนวนสูงสุด 460,000 ตัน ทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ประกาศทันทีว่าพร้อมจะเปิดประมูลข้าวอีกล็อตจำนวน 500,000 ตันจากยุ้งฉางในสัปดาห์หน้าเนื่องจากมีผู้ให้การสนใจร่วมเข้าประมูลเป็นจำนวนมาก
      
       ในสัญญาณเศรษฐกิจต่อปัญหาจำนำข้าว ทางผู้ส่งออกไทยได้เปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า การขายข้าว 2 ครั้งของรัฐบาลรวมกันยังไม่สามารถที่จะหาเงินได้ถึง 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นแค่เศษเงินที่จะมาโปะหนี้ก้อน 1.3 แสนล้านบาทที่ต้องจ่ายให้ชาวนา
      
       โครงการแทรกแซงราคาข้าวนี้ได้ช่วยเติมเชื้อให้กับการประท้วงของกลุ่ม กปปส.ที่เริ่มจัดการชุมนุมตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ในขณะนี้กลุ่มผู้ประท้วงยังคงปิดบางส่วนของกรุงเทพฯไว้ ซึ่งผู้สนับสนุนการประท้วงส่วนใหญ่เป็นคนชนชั้นกลางของประเทศที่ต้องจ่ายภาษี และรู้สึกไม่พอใจที่เห็นเงินภาษีของพวกตนถูกใช้ไปเพื่ออุ้มโครงการจำนำข้าวที่มีแต่ขาดทุนและเต็มไปด้วยการฉ้อโกงที่ชาวนาตัวจริงไม่ได้รับการช่วยเหลือ
      
       ทางด้านกระทรวงพาณิชย์ได้เปิดเผยในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ทางกระทรวงไม่มีอำนาจที่จะต่ออายุโครงการจำนำข้าวออกไปหลังจากสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้เป็นเพราะรัฐบาลรักษาการมีอำนาจจำกัดในการสั่งการ
      
       และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี วราเทพ รัตนากร ได้ขอให้ผู้ประท้วงม็อบกปปส.เลิกหาประโยชน์จากการชุมนุมของชาวนาในกรุงเทพฯ และไม่ให้ขัดขวางอย่างที่ได้เคยประกาศไว้ พร้อมทั้งขอร้องให้โอกาสรัฐบาลหาทางแก้ไขจ่ายเงินคืนให้ชาวนาที่เดือดร้อน โดยวราเทพกล่าวหาว่าใครบางคนแสดงความคิดเห็นในลักษณะที่พยายามทำให้รัฐบาลมีปัญหา จ่ายเงินชาวนาไม่ได้ เพื่อให้มีชาวนาออกมาท้วงเงินจำนำข้าว เพื่อนำไปสู่ภาระของรัฐบาล และต้องแยกกันระหว่างปัญหาชาวนาที่ยังไม่ได้รับเงินค่าจำนำข้าว กับการตรวจสอบของคณะกรรมการปัองกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ร้องให้มีการตรวจสอบขั้นตอนไม่โปร่งใส
รอยเตอร์แฉ “ออมสิน” ยอมรับ ไม่แน่ใจ “ธ.ก.ส. จะเอา 5 พันล้านบาทไปใช้อะไร” เหตุเงินกู้ไม่พอปลดหนี้จำนำข้าว
      
รอยเตอร์แฉ “ออมสิน” ยอมรับ ไม่แน่ใจ “ธ.ก.ส. จะเอา 5 พันล้านบาทไปใช้อะไร” เหตุเงินกู้ไม่พอปลดหนี้จำนำข้าว
      
รอยเตอร์แฉ “ออมสิน” ยอมรับ ไม่แน่ใจ “ธ.ก.ส. จะเอา 5 พันล้านบาทไปใช้อะไร” เหตุเงินกู้ไม่พอปลดหนี้จำนำข้าว
       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น