วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

จำนำข้าว โบดำ-โบแดง โยงอนาคตรัฐบาล"ปู" วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เวลา 17:30:28 น.




จำนำข้าว โบดำ-โบแดง โยงอนาคตรัฐบาล"ปู"

วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เวลา 17:30:28 น.

วิเคราะห์


จุดเด่นของพรรคการเมืองอย่างไทยรักไทย พลังประชาชน หรือเพื่อไทย คือ ความกล้านำเสนอนโยบายที่เรียกว่า นโยบายเปลี่ยนระบบŽ

มิได้ เปลี่ยนระบบการปกครองŽ หากแต่เป็นการ เปลี่ยนระบบการบริหารงานการเมืองŽ

ย้อนกลับไปเมื่อครั้งเป็นรัฐบาลพรรคไทยรักไทย เมื่อครั้งที่

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

นโยบายกองทุนหมู่บ้าน นโยบายขายยางพารา นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ฯลฯ ที่ตั้งใจเปลี่ยนระบบการเงินของหมู่บ้าน ระบบการค้ายางพารา และระบบสาธารณสุข เป็นต้น

ณ เวลานั้น รัฐบาลไทยอยู่ภายใต้แนวคิด คิดใหม่ ทำใหม่Ž

เปรียบเทียบกับรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี นโยบายจำนำข้าว ซึ่งพรรคไทยรักไทยเคยคิดและดำเนินการมาระยะหนึ่ง ถูกนำมาดำเนินการต่อ

และกลายเป็นนโยบายที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางในขณะนี้

ประการแรก ถูกมองว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยนักวิชาการจากนิด้าและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์บางส่วน เห็นว่าการที่รัฐเข้ามารับซื้อจำนำข้าวในราคาสูง เป็นการแข่งขันกับเอกชนนั้น ถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ จึงยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัย

หากศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องไว้วินิจฉัย โอกาสที่นโยบายจำนำข้าวจะขยายกลายเป็นเรื่องการเมืองย่อมมีสูง

แต่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 9 ต่อ 0 ไม่รับคำร้อง โดยเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจไปยับยั้ง และผู้ร้องก็ไม่ใช่คู่กรณีที่จะมีสิทธิร้อง

ทำให้ประเด็นที่จะขยายเป็นการเมืองยุติลง

ประการที่สอง ถูกมองว่าไม่โปร่งใส ตรวจสอบไม่ได้ ข้อมูลไม่ชัดเจน และอาจจะนำไปสู่การทุจริต แม้ นายบุญทรง

เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะอธิบายหลายต่อหลายครั้ง โดยระบุว่าข้าวที่รัฐจำนำมานั้นสามารถขายได้แล้ว

ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีจำนวนประมาณ 8 ล้านตัน

รายได้จากการขายจะทยอยนำเงินกลับคืนสู่คลังได้เป็นระยะ สิ้นสุดปลายปี 2556 รวมทั้งสิ้นกว่า 2 แสนล้านบาท

หากแต่นายบุญทรงและกระทรวงพาณิชย์ก็ไม่สามารถ

เปิดเผยรายละเอียดได้มากไปกว่านี้

ลักษณะการค้าข้าวที่ปรากฏในปัจจุบัน คล้ายคลึงกับการตัดสินใจขายยางพาราล็อตใหญ่ในสมัย นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ตอนที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินการเมื่อสมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย

เป็นลักษณะของการพึ่งพาความสามารถในการบริหาร เพื่อแสวงหาเงินเข้ามาบริหารประเทศ ตามสไตล์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น

เช่นเดียวกับนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย

จุดสำเร็จของนโยบายคือ ความสามารถหมุนเงินจำนวนมหาศาลที่รัฐบาลนำออกไปรับจำนำข้าวกลับคืนมาสู่คลังได้ทันเวลาที่ต้องการใช้

และการควบคุมมิให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นขึ้่นมา

จึงไม่แปลกที่นายบุญทรง ซึ่งรับผิดชอบกระทรวงพาณิชย์ จะชี้

ให้สังคมวัดผลความสำเร็จของนโยบายที่จำนวนเงินซึ่งคืนกลับมาจากการขายข้าวให้ต่างประเทศ

จึงไม่แปลกที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์จะเอาใจใส่ต่อการเฝ้าระวังการทุจริตจากการจำนำข้าว โดยเบื้องต้นมอบหมายให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริตการจำนำข้าว

ทั้งนี้ เพราะนโยบายจำนำข้าวของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย กำลังเป็นนโยบายที่ชาวนาซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของประเทศโปรดปราน

ดูได้จากความเคลื่อนไหวของชาวนาเมื่อกลุ่มนักวิชาการยื่นให้

ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจล้มนโยบาย ซึ่งปรากฏว่ากลุ่มชาวนาออกมาคัดค้านนักวิชาการอย่างมีเอกภาพ

นี่ย่อมแสดงว่า นโยบายจำนำข้าวครั้งนี้ของรัฐบาล เป็นนโยบายที่ โดนใจŽ ชาวนาซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ

ดังนั้น หากรัฐบาลสามารถใช้ความสามารถเชิงบริหาร ยืดอายุ

นโยบายนี้ต่อไปได้เรื่อยๆ และป้องกันมิให้เกิดการทุจริตขึ้นได้

นโยบายจำนำข้าวจะกลายเป็นผลงานชิ้น โบแดงŽ ที่

ชาวนาพูดถึง เฉกเช่นนโยบายในสมัยพรรคไทยรักไทยเคยดำเนินการ

แต่หากรัฐบาลพลาดพลั้ง คือ ไม่สามารถหมุนเงินกลับคืนมาเข้าคลัง เพราะขายข้าวที่จำนำมาไม่ได้ หรือผิดพลาดจากการทุจริตอย่างมโหฬาร

ผลการดำเนินการก็จะกลายเป็นผลงานชิ้น โบดำŽ ซึ่งถูกฝ่ายตรงข้ามหยิบยกขึ้นมาโจมตีตลอดเวลา

ณ เวลานี้ นโยบายจำนำข้าว จึงกลายเป็นจุดพิสูจน์ความยั่งยืนของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยว่า จะทำสำเร็จหรือล้มเหลว ?

ณ เวลานี้ ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ไม่มีใครอยู่เหนือกว่าใคร

ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความสามารถในการบริหารงาน และการรักษาความสุจริตในโครงการ

ต้องเฝ้าจับตาดูว่า รัฐบาลจะทำสำเร็จหรือไม่?

ถ้าทำสำเร็จย่อมส่งผลต่อฐานคะแนนเสียงที่เพิ่มขึ้น และทำให้มีผู้เชื่อมั่นในฝีมือของรัฐบาลมากขึ้น

แต่หากรัฐบาลล้มเหลว ฐานคะแนนเสียงที่คาดก็คงไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ... และคงต้องล้มพับไป

ทุกจังหวะก้าวในยามนี้ คงต้องขึ้นอยู่กับความสามารถของรัฐบาล



หน้า 3,มติชนรายวัน ฉบับวันอาทิตยที่ 14 ตุลาคม 2555 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น