วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วันอังคาร ที่ 30 ตุลาคม 2555 5สาเหตุที่เฮอริเคนแซนดี้เพิ่มระดับเป็น"ซูปเปอร์สตอร์ม"



5 เหตุผลที่พายุเฮอริเคนแซนดี้เพิ่มความรุนแรงเป็นซูปเปอร์สตอร์ม
พายุเฮอริเคนแซนดี้ อาจเป็นพายุครั้งประวัติศาสตร์ของอเมริกาที่สร้างความเสียหายรุนแรง และวงกว้างเมื่อมันพัฒนาเป็นซูเปอร์สตอร์ม /และ สาเหตุ ที่ทำให้เฮอริเคนแซนดี้ถูกคาดหมายว่าจะกลายเป็นซุปเปอร์สตอร์ม ตามการอธิบายของดร.วัฒนา กันบัว ผอ.ศูนย์อุตินิยมวิทยาทางทะเล มีสาเหตุ5 ประการ ดังนี้ครับ
 1. เป็นพายุเฮอริเคนที่เกิดบริเวณขอบเขตด้านเหนือสุดของโซนพายุ
พายุเฮอริเคนแซนดี้เคลื่อนตัวอย่างช้าๆไปในทิศเหนือ-ตะวันออกเฉียงเหนือแต่ถูกคาดหมายว่ามันอาจจะเปลี่ยนทิศไปในทิศเหนือ-ตะวันตกในช่วงวันอาทิตย์และวันจันทร์นี้ และจะอาจกลายเป็นพายุชนิดที่เรียกว่าพายุหมุนนอกเขตร้อน ซึ่งความแตกต่างของพายุหมุนชนิดนี้กับพายุหมุนในเขตร้อนก็คือ พายุหมุนในเขตร้อนนั้นจะได้รับพลังงานจากความร้อนในทะเล แต่พายุหมุนนอกเขตร้อนจะถูกขับเคลื่อนโดยพลังงานที่เกิดจากความแตกต่างกันอย่างรุนแรงของอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศ
ถึงแม้ว่าปัจจุบันแซนดี้จะยังคงถูกนับเป็นเฮอริเคนอยู่ แต่เราก็ไม่ควรปักใจเชื่อนักเกี่ยวกับชนิดและทางเดินของมัน (จากแบบจำลองปัจจุบันบอกว่ามันจะขึ้นฝั่งที่ New Jersey หรือ Delaware ในเช้าวันอังคาร) ด้วยขนาดอันใหญ่โตของมันจะสร้างความเสียหายเป็นแนวกว้างในบริเวณภาคตะวันออกของสหรัฐอเมริกาไม่เพียงเฉพาะบริเวณที่ถูกพายุปะทะเข้าโดยตรงเท่านั้น เพราะจากรายงานของ National Hurricane Center ระบุไว้ว่าแรงลมที่เกิดจากพายุนั้นสามารถรู้สึกได้แม้ในที่ที่ห่างไกลถึง 500 ไมล์จากศูนย์กลางพายุ ซึ่งตอนนี้พายุลูกนี้ก็ได้เริ่มก่อให้เกิดน้ำท่วมเล็กๆในบางพื้นที่ของ North Carolina แล้ว และได้มีการเร่งอพยพในพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบ
 2. เป็นพายุที่เกิดในช่วงต้นฤดูหนาว
พายุแซนดี้ถูกคาดหมายว่าจะรวมตัวเข้ากับระบบลมหนาวที่มาจากทางทิศตะวันตก ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นจริง แซนดี้จะกลายเป็นซุปเปอร์สตอร์มที่ทรงพลังอย่างยิ่งและลมจากระบบลมหนาวดังกล่าวจะเป็นตัวการดึงให้พายุแซนดี้วกกลับเข้าสู่แผ่นดินใหญ่ของสหรัฐอเมริกา
 3. อากาศหนาวเย็นจากขั้วโลกเหนือที่เคลื่อนลงมา
นอกจากนั้นอากาศหนาวเย็นจากแคนาดาก็ถูกคาดว่าจะเข้ามาปะทะกับพายุแซนดี้และระบบลมหนาวจากทางตะวันตก ก่อให้เกิดเป็นเมกกะสตอร์มที่จะเข้าถล่มบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอเมริกาเป็นเวลาหลายวันและพายุจะเคลื่อนลึกเข้ามาในแผ่นดินอเมริกามากกว่าที่คาดไว้ตอนแรก เหตุการณ์อาจเลวร้ายจนถึงขั้นที่ว่ามีปริมาณน้ำฝนสูงเกือบ 1 ฟุต ลมกรรโชกแรงและมีหิมะเกิดขึ้นหนากว่า 2 ฟุต
 4. การสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลจะทำให้สภาพน้ำท่วมเลวร้ายลงไปอีก
ยิ่งไปกว่านั้นมีความเป็นไปได้ว่าอันตรายที่จะเกิดจากคลื่นพายุซัดฝั่งหรือสตอร์มเสิร์จอาจมากกว่าที่คาด เพราะช่วงเวลาที่พายุเข้าคือช่วงที่พระจันทร์กำลังจะเต็มดวงซึ่งหมายถึงว่าระดับน้ำขึ้นสูงสุดนั้นจะสูงกว่าปกติ และง่ายสำหรับลมพายุที่จะพัดเอาน้ำขึ้นมาท่วมในบริเวณพื้นที่ที่เป็นที่ต่ำ พอบวกเข้ากับปริมาณน้ำฝนจำนวนมากที่ตกลงมาจึงยิ่งเป็นเรื่องยากต่อการจัดการป้องกันน้ำท่วมที่จะเกิดขึ้น เพราะคลื่นพายุซัดฝั่งนั้นสามารถทำให้เกิดการยกตัวของระดับน้ำได้ตั้งแต่ 2 ถึง 11 ฟุตตลอดแนวชายฝั่งด้านตะวะนออกเฉียงเหนือของสหรัฐเลยทีเดียว
 5. หิมะและแรงลมพายุสร้างความเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง
พายุที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้ประชาชนจำนวนหลายแสนคนในภาคตะวันออกของสหรัฐไม่มีไฟฟ้าใช้ซึ่งบางครั้งกินเวลาหลายวันเลยทีเดียว ลมพายุที่รุนแรงนั้นสามารถก่อให้เกิดไฟฟ้าดับเป็นวงกว้างได้ด้วยสาเหตุหลักๆสองประการ คือจากแรงลมพายุที่แรงถึง 74 ไมล์ต่อชั่วโมง ทำให้กิ่งก้านของต้นไม้ หรือบางครั้ง-ต้นไม้ทั้งต้นหักลงมาทับเสาไฟหรือสายไฟ สาเหตุอีกอย่างคือ หิมะที่ตกหนักมาเกาะตามกิ่งหรือต้นไม้ต่างๆ ก่อให้เกิดน้ำหนักมหาศาลทำให้เกิดการโค่นล้มลงมาใส่สายไฟหรือเสาไฟได้ ซึ่งก็ได้มีการเตรียมการด้วยการเพิ่มจำนวนคนทำงานในส่วนนี้และมีการพยายามริดกิ่งไม้ต่างๆตามแนวสายไฟเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดจากสาเหตุข้างต้น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น