วันอาทิตย์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2557

เลือกเจรจาก่อนปะทะ อย่าซ้ำรอยต่างประเทศ29 March, 2014

เลือกเจรจาก่อนปะทะ อย่าซ้ำรอยต่างประเทศ29 March, 2014


ดูเหมือนว่าสถานการณ์การเมืองของกลุ่มคนที่เคลื่อนไหวอยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ทั้งฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ระบอบทักษิณ กับกลุ่มที่หนุนระบอบทักษิณ กลายเป็นประเด็นข่าวสำคัญ กลบสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในช่วงเว้นวรรคการพูดคุยเพื่อสันติภาพ เพราะทั้งรัฐไทยก็ยังอยู่ในสภาวะที่ไร้ระเบียบ รัฐบาลใหม่ยังไม่สามารถมีได้ ฝ่ายบีอาร์เอ็นที่ยังรวมตัวไม่ติด มาเลเซียในฐานะผู้อำนวยความสะดวกกำลังเจอกับปัญหาจากเที่ยวบินปริศนา ต่างไม่พร้อมที่จะมาตั้งโต๊ะต่อรองต่อเป้าหมายและผลประโยชน์แห่งกลุ่มพวกตน
    ทว่าสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงมีการก่อเหตุรายวัน ไม่ได้หยุดนิ่งลงไปเพราะถูกข่าวการเมืองใจกลางกรุงเทพมหานครกลบ แต่ยังมีความต่อเนื่องในการก่อเหตุของกลุ่มผู้ก่อความรุนแรง ที่ปรับเปลี่ยนวิธีการหลีกหนีการตรวจจับของเจ้าหน้าที่รัฐ ในขณะที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ยังคงปรับวิธีการทุกรูปแบบเพื่อควบคุมสถานการณ์ให้การก่อเหตุรุนแรงยุติลง เพื่อรักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่และ  เจ้าหน้าที่รัฐซึ่งปฏิบัติงานอยู่
    ล่าสุด เห็นโฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในออกมาเปิดเผยถึงการประชุมศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก หลังจากรับฟังบรรยายสรุปการลงนามข้อตกลงสันติภาพระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์กับแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโรวา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้ฝากให้ศึกษาเปรียบเทียบกรณีนี้เทียบเคียงกับกรณีจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย เพื่อนำเสนอฝ่ายบริหารใช้เป็นข้อมูลประกอบในการกำหนดเป็นแนวทาง และนโยบายในการปฏิบัติต่อไป
    โดยในขณะนี้อาจตั้งข้อสังเกตได้ว่า ประเทศฟิลิปปินส์ใช้เวลายุติความขัดแย้งที่ดำเนินการมาแล้วเกือบ 45 ปี และมีผู้ที่เสียชีวิตไป 1 แสน 2 หมื่นคน ด้วยการเริ่มต้นกระบวนการสันติภาพตั้งแต่ พ.ศ.2001 จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 13 ปี มีการจัดการเจรจา 43 ครั้ง หลังจากนี้จะออกมาเป็นกฎหมายรับรอง โดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติของประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาฟิลิปปินส์สามารถดำเนินการกับคู่ขัดแย้งกลุ่มใหญ่ที่สุดก่อน ยังไม่รวมกลุ่มย่อยที่แยกตัวออกไป หรือกลุ่มที่นิยมความรุนแรงอื่นๆ ในพื้นที่ตอนใต้ของประเทศ ในขณะที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยเพิ่งจะครบรอบ 1 ปี ตามกระบวนการพูดคุยสันติภาพ และมีการจัดการพูดคุยมาเพียง 3 ครั้งเท่านั้น
    หากพิเคราะห์ดูปัญหาในประเทศไทยขณะนี้ ไม่ได้มีแค่กลุ่มผู้ก่อความรุนแรง หรือกลุ่มบีอาร์เอ็น ที่เลือกใช้วิธีก่อความรุนแรง ก่อนเดินไปสู่การเจรจาเพื่อต่อรองให้ได้เป้าหมายที่ตัวเองต้องการ หากแต่ยังมีกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง และกลุ่มอุดมการณ์ต่างๆ ที่ออกมาเคลื่อนไหว พร้อมการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์การใช้อาวุธสงครามลอบทำร้าย เลยไปถึงการปะทะกันในการเคลื่อนไหวมวลชนของแต่ละฝ่ายหลายครั้ง และมีแนวโน้มที่การก่อเหตุในลักษณะดังกล่าวจะมีต่อไปเรื่อยๆ
    ตราบใดที่ผู้มีอำนาจไม่ถอดสลักหรือเลือกวิธีการเสียสละ หันหน้ามาพูดคุยเจรจา มุ่งสู่แนวทางการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โค่นทำลายระบอบทักษิณด้วยความเห็นชอบของทุกฝ่ายลงไป ความรุนแรง การสูญเสีย บาดเจ็บ ล้มตายก็ยังดำรงอยู่ต่อไป เมื่อหากรวมผู้เสียชีวิต ทั้งจังหวัดชายแดนภาคใต้ และในสถานการณ์การเมืองที่ขัดแย้งแบ่งแยกในช่วง 7 ปีที่ผ่านมามากมายหลายชีวิต ก็ไม่ควรจะให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มมากกว่าที่เป็นอยู่
    เราจึงเชื่อว่า การเปรียบเทียบสถานการณ์ความแตกแยกทางความคิด ความแตกต่างทางด้านอุดมการณ์ เชื้อชาติ ศาสนา ถึงแม้จะมีการต่อสู้ หรือใช้อาวุธมากมายแค่ไหน ในที่สุดก็จะหยุดที่การพูดคุยเจรจา หาทางออกอย่างสันติในที่สุด ซึ่งหากเห็นภาพที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียนแล้ว ก็ไม่จำเป็นที่ต้องเดินไปตามเส้นทางนั้น พร้อมเลือกที่จะเสียสละ และเริ่มต้นการพูดคุยกันหาทางออก เพื่อเรายังเชื่อว่าสังคมไทยไม่เหมือนสังคมในชาติอื่นๆ ตรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น