วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

2 มาตรฐาน??? จำนำข้าว แทรกแซงราคายางพารา!!!เมื่อ 27 ส.ค.56



2 มาตรฐาน??? จำนำข้าว แทรกแซงราคายางพารา!!!
ว่าด้วยสถานการณ์ราคายางพาราตกต่ำถูกนำไปเปรียบเทียบกับโครงการรับจำนำข้าวที่รัฐบาลได้ทุ่มเทเงินงบประมาณอย่างมหาศาล และไม่ได้สนใจกลไกของราคาตลาดโลกตามที่มักจะมีการกล่าวอ้างเลยแม้แต่น้อย
โดยที่ผ่านมามีการใช้งเนในโครงการรับจำนำข้าวไปแล้วเกือบ 7 แสนล้านบาท ขณะที่การแทรกแซงราคายางพาราได้ใช้เงินไปแค่เพียงกว่า 2.2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น
ล่าสุด ในการกำหนดกรอบวงเงินโครงการรับจำนำข้าวฤดูกาลที่ 3 หรือ 2556/2557นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช. ) เปิดเผยว่า มติที่ประชุมเห็นชอบกรอบเพดานราคารับจำนำข้าวเปลือกปีฤดูกาลผลิตนาปี 2556/2557 และข้าวเปลือกนาปรัง 2557 โดยโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี รับจำนำราคาตันละ 15,000 บาท          
ส่วนราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 2557 กำหนดราคารับจำนำตันละ 13,000 บาท
โดยใช้วงเงินรับจำนำทั้งปีในกรอบ 2.7 แสนล้านบาท ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 26 สิงหาคม ก่อนที่จะเริ่มเปิดรับจำนำในวันที่ 1 ตุลาคมนี้
ก่อนหน้านี้นายบุญไทย แก้วขันตี รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยถึงการใช้เงินในโครงการรับจำนำข้าวช่วง 2 ปีที่ผ่านมาว่า มีการใช้เงินจริง 6.66 แสนล้านบาท โดยปี 54/55 ใช้ไป 3.27 แสนล้านบาท  และปี55/56  3.39 แสนล้านบาท
ซึ่งเกินกว่ากรอบวงเงินที่ตั้งไว้ 5 แสนล้านบาท
เท่ากับว่าหากในที่สุดครม.อนุมัติหรอบวงเงินรับจำนำข้าวอีก 2.7 แสนล้านบาทก็จะทำให้โครงการรับจำนำข้าว ใช้เงินไปทั้งสิ้นถึง 9.36 แสนล้านบาทเลยทีเดียว
ขณะที่การใช้งบประมาณแทรกแซงราคายางพาราอยู่ที่ 2.2หมื่นล้านบาทเท่านั้น
ที่น่าสนใจก็คือที่ผ่านมาเวลาที่รัฐบาลหรือตัวของนายกรัฐมนตรีพูดถึงกรอบการแก้ไขปัญหาเรื่องข้าวและยางพารา ก็มักจะอ้างถึงระบบกลไกราคาตลาดโลก แต่ทว่าวิธีการแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะกรณีของการแทรกแซงราคากลับแตกต่างกันสิ้นเชิง
20 มิถุนายน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการกำหนดราคารับจำนำข้าวว่า การรักษาสมดุลเรื่องวินัยการเงินการคลัง การดูในเรื่องที่สะท้อนต้นทุนของชาวนาจริงต่อรอบการผลิต ต่อประเภทพันธุ์ข้าว และสะท้อนในเรื่องของราคาตลาดโลก โดยองค์ประกอบทั้งหมดต้องรับเรื่องราวรายละเอียดทั้งหมดให้คณะกรรมการนำไปพิจารณาเพราะทุกอย่างเราสามารถที่จะพูดคุยกัน และทุกอย่างต้องยืดหยุ่นไปตามกลไก
ในขณะเดียวกันเมื่อประสบกับปัญหาราคายางพาราตกต่ำ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็อ้างถึงเรื่องกลไกราคาตลาดโลกเหมือนกันว่า เป็นราคาที่เราต้องอิงตามราคากลไกตลาดโลก ซึ่งต้องวิเคราะห์ต้นทุนต่างๆที่อย่างน้อยชาวสวนยางจะไม่ขาดทุน และส่วนหนึ่งมีรายได้พออยู่ได้ ขณะเดียวกันก็ต้องกราบขอความเห็นใจว่า เราไม่สามารถผลักราคาให้เท่าราคาตลาดโลกได้ เพราะปริมาณยางพาราของเราเมื่อเทียบกับประเทศอื่นแล้วก็ยังน้อยอยู่ เราก็ต้องไปอิงตามกลไกจริง แต่อย่างไรก็ตาม เราเข้าใจปัญหาต่างๆก็คงที่จะเร่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ศึกษาผลกระทบและทางออกที่พี่น้องประชาชนพอใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น