เมื่อได้หลักฐานชุดสืบสวนจึงควบคุมตัว นพ.วิสุทธิ์ มาสอบปากคำ แต่นพ.วิสุทธิ์ กลับปฏิเสธที่จะตอบทุกคำถาม ต่อมามีการรวบรวมพยานหลักฐานสรุปสำนวนการสอบสวนส่งต่อให้อัยการ แต่ก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่น่าเชื่อขึ้น เมื่อพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง นพ.วิสุทธิ์
โดย นายเสริมเกียรติ วรดิษฐ์ อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 4 (ในขณะนั้น) อ้างเหตุผลว่าคดีไม่มีประจักษ์พยาน และไม่มีศพผู้ตาย จึงทำให้นายโชติ วัฒนเชษฐ์ บิดาของ พญ.ผัสพร เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นพ.วิสุทธิ์ เอง ในความผิดฐานฆ่า พญ.ผัสพร ภรรยาตนเองโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ซ่อนเร้น ทำลายศพ กักขังหน่วงเหนี่ยว ปลอมเอกสาร ซึ่งศาลเห็นคว่าดีมีมูลและมีคำสั่งประทับรับฟ้องทั้งหมด
และในวันที่ 7 มีนาคม 2546 ทางศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ประหารชีวิต นพ.วิสุทธิ์ แม้คดีไม่มีประจักษ์พยานเห็นในขณะลงมือฆ่า
แต่พยานแวดล้อมกรณีรวมทั้งหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ มีความสอดคล้องเชื่อมโยงเป็นขั้นเป็นตอนมีน้ำหนักให้ศาลเชื่อโดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้ฆ่าผู้ตายจริงต่อมาศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2548 ยืนตามศาลชั้นต้น และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาเป็นที่สิ้นสุดในวันที่ 26 กรกฏาคม 2550 ยืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ให้ประหารชีวิต นพ.วิสุทธิ์ สถานเดียว
หลังจากถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต หนทางสุดท้ายของ นพ.วิสุทธิ์
คือการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ในการยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ และเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2550 ซึ่งพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับ นพ.วิสุทธิ์ ก็ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานอภัยโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิตในครั้งนี้ด้วย ก่อนที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษเรื่อยมาพร้อมทั้งเป็นนักโทษชั้นดี ที่ปฏิบัติตัวเป็นประโยชน์ จนเหลือโทษแค่ 3 ปี 2 เดือน และได้รับการพักโทษออกมาใช้ชีวิตข้างนอกเรือนจำในที่สุด
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น