วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เตือนอย่าตื่นทองในใบยูคาลิปตัส ชี้ต้องปลูกในแหล่งมีทอง รากถึงดูดขึ้นมาได้ เมื่อ 20 ส.ค.57



เตือนอย่าตื่นทองในใบยูคาลิปตัส ชี้ต้องปลูกในแหล่งมีทอง รากถึงดูดขึ้นมาได้
 
 กรณีที่เฟซบุ๊ก ของศูนย์วิจัยป่าไม้ ได้เผยแพร่ งานวิจัยของ ดร.เมล ลินเทิร์น นักวิจัยด้านธรณีเคมี

จากองค์การวิจัยทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมเครือจักรภพ ที่ระบุว่า สามารถค้นพบอนุภาคทองคำในใบและเปลือกไม้ยูคาลิปตัสที่ขึ้นในเขตคัลกูร์ลี ในรัฐเวสเทิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ปริมาณการพบอนุภาคทองคำต่อใบยังน้อย ในหนึ่งใบ จะพบปริมาณเพียง 1 ใน 5 ของเส้นผ่าศูนย์กลางเส้นผมคนเรา ประมาณว่า ต้องใช้ใบอยูคา อย่างน้อย 500 ใบ ถึงจะได้แหวนแต่งงา1 วง อย่างไรก็ตามอนุภาคทองคำที่พบไม่สามารมารถมองเห็นด้วยตาเปล่า แต่จะเห็นได้ด้วยการเอกซเรย์คุณภาพสูง


ดร. เมล ลินเทิร์น อธิบายต่ออีกว่า ที่เป็นเช่นนี้เพราะ รากยูคาลิปตัสสามารถหยั่งลึกได้ถึง 40 เมตร และ มีการดูดซึมน้ำที่มีอนุภาคทองคำประปนอยู่ขึ้นมา
แล้วค่อยมาสะสมที่ใบเพื่อรอการปลดปล่อย เนื่องจากเป็นโลหะที่เป็นพิษต่อต้นยูคาลิปตัส เช่นเดียวกับโลหะอื่น ๆและ การพบครั้งนี้ เชื่อว่าจะเป็นวิธีใหม่ในการค้นหาตำแหน่งแหล่งแร่โลหะ ต่าง ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และลดต้นทุนต้นทุนในการค้นหาแหล่งแร่โลหะนั้น

วันที่ 20 สิงหาคม นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.)
ให้สัมภาษณ์ว่า ไม่อยากให้คนไทยแตกตื่นกับเรื่องนี้จนเกินเหตุ เพราะ โดยหลักการแล้ว ไม่คิดว่างานวิจัยในพื้นที่ของประเทศออสเตรเลียจะนำมาใช้ประโยชน์ในประเทศไทยได้ เพราะสิ่งแวดล้อมต่างกันเกือบทุกด้าน ทั้งเรื่องธาตุอาหารในดิน ชนิดพันธุ์ของยูคาลิปตัสที่ปลูก อากาศ และน้ำ


โดยพื้นที่ใด ที่มีแร่ธาตุอะไรในพื้นที่นั้นมาก รากของต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในพื้นที่ก็จะมีโอกาสดูดแร่ธาตุนั้นๆขึ้นไป เช่น 
พื้นที่ใดมีธาตุมีธาตุซิลิก้ามาก โอกาสที่ต้นไม้จะดูดธาตุซิลิก้าเข้าไปก็มีมากเช่นเดียวกัน แต่ก็ไม่ได้ดูดเข้าไป 100% ที่สำคัญคือ งานวิจัยชิ้นนี้ คงต้องมีการวิจัยต่อยอดเพิ่มขึ้นอีกมาก


"ผมไม่อยากให้ส่งสัญญาณแบบผิดๆของเรื่องนี้ไปยังเกษตรกรและประชาชน สำคัญเรื่องนี้ผิดจนไปส่งผลกับเกษตรกรและสิ่งแวดล้อมในประเทศ โดยแห่กันไปปลูกยูคาร์ลิปตัสเพื่อจะสะกัดเอาทองคำมาขาย สร้างวิมานในอากาศ ให้มีสติกับการรับฟังข่าวสารด้วย"

นายณรงค์ มหรรณพ ผู้อำนวยการสำนักวิจัย กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า
โดยธรรมชาติแล้ว ยูคาลิปตัสเป็นพืชที่มีรากยาวมาก เป็นไปได้ว่า รากนั้นจะชอนไชไปดูดเอ่อนุภาคทองคำขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตาม การจะดูดอนุภาคทองคำมาเก็บเอาไว้ที่ต้น ต้องหมายความในบริเวณที่มีต้นยูคาลิปตัสต้องเป็นแหล่งที่มีแร่ทองคำอยู่ด้วย เพราะถ้าไม่มีก็ไม่รู้จะไปดูดทองคำมาจากไหน ดังนั้น จึงไม่ควรแตกตื่นกับข่าวนี้มากเกินไป

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์มติชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น