วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ทั่วโลกระดมบริจาคหนูน้อยดาวน์ซินโดรม พ่อแม่ออสซี่ทิ้งให้ผู้อุ้มบุญในไทย เมื่อ 2 ส.ค.57



ทั่วโลกระดมบริจาคหนูน้อยดาวน์ซินโดรม พ่อแม่ออสซี่ทิ้งให้ผู้อุ้มบุญในไทย
 
ทั่วโลกระดมบริจาคหนูน้อยดาวน์ซินโดรม พ่อแม่ออสซี่ทิ้งให้ผู้อุ้มบุญในไทย

 วันที่ 2 ส.ค. บีบีซีรายงานว่า คนใจบุญทั่วโลกร่วมบริจาคเงินให้กับน้องแกมมี่ ทารกเพศชายชาวออสเตรเลีย วัย 6 เดือน

 หลังจากพ่อแม่ซึ่งเป็นชาวออสเตรเลียทิ้งให้อยู่กับนางภัทรมน จันทร์บัว หญิงชาวไทยวัย 21 ปีผู้รับอุ้มบุญเด็ก เนื่องจากไม่ต้องการลูกที่ป่วยเป็นดาวน์ ซินโดรม โดยล่าสุดมียอดเงินช่วยเหลือมากกว่า 140,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 4,400,000 บาทแล้ว

 นางภัทรมนระบุสาเหตุของการรับจ้างอุ้มบุญว่า เนื่องจากประสบปัญหาหนี้สินมากกว่า 3 แสนบาท

 ประกอบกับมีเอเย่นต์มาติดต่อให้อุ้มท้องแทนผู้อื่น พร้อมทั้งเสนอค่าจ้างเป็นจำนวน 15,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 480,000 บาท รวมถึงไม่ทราบว่าพ่อแม่ที่แท้จริงของน้องแกมมี่เป็นใคร จึงปรึกษากับสามี ซึ่งอนุญาตเพราะไม่มีความรู้เรื่องอุ้มบุญ และเข้าใจเพียงว่าเป็นการตั้งท้องโดยไม่ต้องมีเพศสัมพันธ์กับชายอื่น โดยตกลงค่าจ้างที่ 3.5 แสนบาท จากนั้นเอเย่นต์ได้พามาตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ และนำเด็กที่ผสมเทียมระหว่างเชื้ออสุจิของชายชาวออสเตรเลียกับไข่ของสาวชาว จีน ฉีดฝังเข้าไปที่มดลูก

 นางภัทรมนกล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อรับอุ้มบุญเข้าเดือนที่ 3 จึงเดินทางไปตรวจผลเลือด ซึ่งออกมาเป็นบวกจนผิดปกติ 

และพบว่าเป็นลูกแฝดชาย-หญิง ทางเอเย่นต์จึงติดต่อมาและให้ค่าจ้างเพิ่มอีก 5 หมื่นบาท อย่างไรก็ตาม มาทราบความผิดปกติของน้องแกมมี่ในเดือนที่ 4 ซึ่งเอาน้ำคร่ำไปตรวจและพบว่าเด็กคนหนึ่งเป็นดาวน์ ซินโดรม แต่ทั้งหมอและเอเย่นต์ไม่บอกเรื่องนี้ แต่กลับให้ไปทำแท้ง แต่ตนแต่ปฏิเสธเนื่องจากขัดต่อหลักคำสอนของพุทธศาสนา กระทั่งเด็กคลอด เอเย่นต์เอาเด็กผู้หญิงที่ไม่เป็นดาวน์ซินโดรมไปทันที ทิ้งน้องแกมมี่ไว้ให้เลี้ยง โดยที่เอเย่นต์ไม่ยอมจ่ายเงินที่เหลืออีก 7 หมื่นบาท

 นอกจากนั้น นางภัทรมน เปิดเผยว่า น้องแกมมี่เป็นโรคหัวใจมาแต่กำหนด และจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน

 พร้อมยืนยันว่าแม้เด็กที่เกิดมาไม่มีเลือดเนื้อของตนเลย แต่ก็รู้สึกรัก เพราะอุ้มท้องมาตลอด 9 เดือน และคลอดออกมาเอง ก่อนเตือนผู้ที่คิดจะทำธุรกิจประเภทนี้ว่า อย่าเห็นแก่เงินค่าจ้าง เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้น ไม่เพียงเด็กที่เกิดมาจะกลายเป็นภาระสังคมแล้ว ยังเป็นภาระของแม่อุ้มบุญที่ไม่ต้องการมีลูกอีกด้วย โดยย้ำว่าการเป็นแม่ต้องเป็นโดยสัญชาตญาณ ไม่ใช่เพียงแค่รับจ้างอุ้มบุญเท่านั้น

 ในวันเดียวกัน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศออสเตรเลียให้สัมภาษณ์เอเอฟพีถึงประเด็นนี้ว่า

ทางรัฐบาลออสเตรเลียวิตกต่อประเด็นนี้และจะปรึกษากับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยถึง ประเด็นการอุ้มบุญ ขณะที่เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขของไทยระบุว่า การอุ้มบุญในไทยทำได้ภายใต้กฎหมายกำหนด แต่การจ่ายเงินในกรณีนี้เป็นเรื่องผิดกฎหมาย ทั้งนี้ การจ้างอุ้มบุญข้ามประเทศถือเป็นกิจการที่ผิดกฏหมายในนิวเซาธ์เวลส์และ ควีนส์แลนด์ นางราเชล คุนด์ ผู้บริหารกลุ่มอุ้มบุญออสเตรเลีย ยอมรับว่าเป็นเรื่องสะเทือนใจที่สุด แต่หวังว่าจะกลายเป็นผลดีที่ช่วยผลักดันให้มีการออกระเบียบควบคุมการจ้าง อุ้มบุญให้รัดกุมกว่าเดิม มากกว่าที่จะเป็นการต่อต้านธุรกิจ
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ข่าวสด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น