ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเหลือน้ำใช้ตามแผนเพียง28เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้ เฉพาะในส่วนของพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ท้ายเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ลงมา ได้กำหนดแผนการใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำต่างๆ เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2555/2556 ดังที่กล่าวมาข้างต้น ตามมาตรการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน คิดเป็นปริมาณน้ำรวมทั้งสิ้น 9,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งนำมาจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ รวมกันจำนวน 6,800 ล้านลูกบาศก์เมตร จากเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จำนวน 600 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อีกจำนวน 600 ล้านลูกบาศก์เมตร และผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองมาเสริมอีก 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งทั้งในเขตและนอกเขตชลประทานของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุด(ณ 22 ก.พ. 56) พบว่ามีการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งไปแล้วกว่า 9.93 ล้านไร่ เกินกว่าแผนที่ได้กำหนดไว้(แผนกำหนดไว้ 9.60 ล้านไร่) แยกเป็นพื้นที่ทำนาปรัง 9.55 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 104 ของแผน(แผนกำหนดไว้ 9.17 ล้านไร่) และพืชไร่-พืชผัก 0.38 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 88 ของแผน(แผนกำหนดไว้ 0.43 ล้านไร่)
ผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2555/2556 โดยการจัดสรรน้ำฤดูแล้งจะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - เมษายนของทุกปี เฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุด(27 ก.พ. 56) มีการใช้น้ำไปแล้ว 6,496 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 72 ของแผนการจัดสรรน้ำในฤดูแล้งทั้งหมดของลุ่มน้ำเจ้าพระยา คงเหลือปริมาณน้ำที่จะใช้ได้ตามแผนการจัดสรรน้ำอีก 2,504 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 28 ของแผนฯ ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำที่นำมาใช้การได้เหลืออยู่น้อยมาก หากเทียบกับระยะเวลาของฤดูแล้งที่เหลืออยู่อีกประมาณ 2 เดือน จึงขอให้เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ร่วมมือกันงดทำนาปรังครั้งที่ 2 อย่างเคร่งครัดด้วย เพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหาการขาดแคลนน้ำ และเพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด ใช้ได้ตามแผนที่วางไว้อย่างเพียงพอไม่ขาดแคลน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น