รัฐบาลงานเข้าส่อเค้า'ปู'เอาไม่อยู่
รัฐบาลงานเข้าส่อเค้า'ปู'เอาไม่อยู่ : ขยายปมร้อนโดยสมถวิล เทพสวัสดิ์
“ท่านทั้งหลาย ตอนนี้ก็เปรียบเสมือนช่างทำรองเท้า และกำลังจะตัดรองเท้าให้ท่านรัฐมนตรีเดินอย่างสง่างาม แต่อย่ามาใช้วิธีการตัดเท้าให้เข้ากับรองเท้าที่ได้เตรียมทำไว้แล้ว เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นก็อาจจะบาดเจ็บ เดินเข้าไม่ถูก ต้องเข้าโรงพยาบาลผ่าตัด ช่วยตัดรองเท้าให้เข้ากับท่านดีกว่า”
นี่เป็นคำเปรียบเปรยของ "วิชา มหาคุณ" กรรมการป้องกันและปราบการการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่เปรียบเทียบมติของ ป.ป.ช. และมติของ "คณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน" (อ.ก.พ.) กระทรวงมหาดไทย ที่ชี้โทษทางวินัย "ไล่ออก" ยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ในฐานะปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เมื่อครั้งเป็น "รองปลัดกระทรวงมหาดไทย รักษาการปลัดกระทรวงมหาดไทย" เมื่อปี 2545 กรณีที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์
คำเปรียบเปรยของ "วิชา" ประโยคนี้อาจยังไม่กินใจเท่ากับประโยคต่อมาที่ว่า "คนอย่างคุณยงยุทธที่ร่ำเรียนด้านรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คงไม่ได้สอนให้ใช้วิธีการบิดเบือนเป็นแน่ และในวันที่ 23 ตุลาคมนี้ จะครบรอบวันปิยมหาราช ซึ่งเป็นองค์ให้กำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หวังว่าคงไม่มีใครจะทำให้พระนามท่านเสียหาย"
ประโยคนี้ถือว่า "วิชา" ต้องการสื่อไปถึง "ยงยุทธ" โดยตรง หลังจากออกมาปฏิเสธว่า "ที่ผ่านมาไม่ได้ทำผิด ทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย"
จากนี้ไปให้จับตาดูว่าคดีของ "ยงยุทธ" จะเป็นกรณีตัวอย่างที่สร้างปัญหาความยุ่งยากให้แก่ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" หากยังฝืนยืนยันจะ "อุ้ม" ให้ "ยงยุทธ" อยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีต่อไปโดยไม่สนใจกระแสสังคม
ที่สำคัญกรณีของ "ยงยุทธ" จะเป็นบรรทัดฐานของคดีที่มีลักษณะคล้ายกันต่อไปในอนาคต
และเรื่องของ "ยงยุทธ" นอกจากกระตุกให้สังคมหันมาจับตาการตัดสินใจของ "นายกฯ ปู" ว่าจะให้ "ยงยุทธ" อยู่ในตำแหน่งต่อไปแล้ว ยังจะสร้างแรงกระเพื่อมให้เกิดขึ้นในพรรคเพื่อไทยอีกด้วย
อย่าลืมว่า "ยงยุทธ" แม้จะมีตำแหน่ง "หัวหน้าพรรคเพื่อไทย" แต่ถือว่า "ขาลอย" ไม่มีกลุ่มก๊วนในพรรค อยู่ได้เพราะเรื่องของ "บุญคุณต้องทดแทน" เท่านั้น
ปัญหาบ้านเมืองในขณะนี้ต้องการคนทำงานเป็น "มืออาชีพ" ไม่ใช่ทำงานตามคำสั่งไปวันๆ เหมือนข้าราชการที่รับงานนโยบายจากนักการเมืองมาทำ และที่สำคัญกลุ่มก๊วนต่างๆ ในพรรคเพื่อไทยก็เริ่มมีการเคลื่อนไหวกันบ้างแล้วก่อนจะมีการปรับคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
เพราะอดีตที่ผ่านมาการแต่งตั้ง "รัฐมนตรี" ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่ละคนสังคมล้วนตั้งคำถามถึง "ความสามารถและความเหมาะสม" เพราะบางคนมี "คดีความ" รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ยังยืนยันที่จะตั้งขึ้นมาทำงาน แม้ว่าทาง "ผู้ตรวจการแผ่นดิน" จะท้วงติงบางคน แต่ก็ไม่เป็นผลยังคงนั่งอยู่ในตำแหน่งถึงปัจจุบัน
นอกจากกรณี "รัฐมนตรี" สร้างปัญหาให้แก่รัฐบาลยิ่งลักษณ์แล้ว ปัญหาการเมืองดูแล้วเริ่มส่อเค้าความวุ่นวายจะตามมา หลังจาก "ประธานคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล ศึกษาการแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291" มีความเห็นจะเดินหน้าลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวาระ 3
ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีกลุ่มก๊วนต่างๆ พากันออกมาคัดค้านการลงมติ ถึงขั้นไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความเกี่ยวกับเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากเรื่องนี้ "ฝ่ายรัฐบาล" ตัดสินใจเดินหน้า เชื่อว่า "เงื่อนไข" การเคลื่อนไหวทางการเมืองจะสร้างแรงกระเพื่อมให้การบริหารงานของรัฐบาลมีอุปสรรคมากขึ้น
ขณะที่การแถลงผลงานของรัฐบาลต่อสภาผู้แทนราษฎรยังไม่กำหนดวันชัดเจนว่าจะเป็นวันไหน คาดว่าเพื่อรอดูท่าทีของฝ่ายค้านเกี่ยวกับการยื่นอภิปราย จึงเป็นการรอดูท่าทีกันอยู่
แต่เชื่อว่าจนถึงขณะนี้ฝ่ายค้าน "เก็บข้อมูล" ในการเตรียมยื่นอภิปรายได้หลายเรื่อง เพียงแต่รอดูจังหวะเพลี่ยงพล้ำก่อนจะซ้ำด้วยการอภิปรายเพื่อหวังผลทางการเมือง
เพราะจนถึงขณะนี้รัฐบาลมีข่าวกระหน่ำซ้ำเติมมาเป็นระยะ ส่วนใหญ่เข้าทำนอง "สนิมเกิดแต่เนื้อในตน" ตั้งแต่ข่าวโยกย้ายข้าราชการ "กระทรวงยุติธรรม" โดยเฉพาะกรณีการโยกย้าย "พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ" เลขาธิการ ป.ป.ท. ที่มีขึ้นหลังจากไปตรวจจับโครงการทุจริตหลายแห่ง แต่ที่เป็นข่าวใหญ่คือการทุจริตงบภัยพิบัติในพื้นที่ภาคอีสาน, การจับกุมการนำเข้ารถหรู ซึ่งแต่ละคดีมีลักษณะลูบหน้าปะจมูกเกี่ยวโยงกับคนของรัฐบาลแทบทั้งสิ้น
หรือแม้กระทั่งนโยบายรัฐบาลที่ไม่ประสบความสำเร็จ เช่น โครงการรับจำนำข้าว, ปัญหาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ, ปัญหาสินค้าราคาแพง, เรื่องการบิดเบือนตัวเลขส่งออก จนนำมาซึ่งวลี ไวท์ลาย หรือ "โกหกสีขาว" ที่อาจจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ
ดังนั้น ต้องจับตา "ศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล" เชื่อว่าบรรยากาศในสภาจะดุเดือดไม่แพ้การเมืองนอกสภาแน่นอน
นับจากนี้ไป มีปัญหาให้รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขหลายเรื่อง แต่ถ้า "นายกฯ ยิ่งลักษณ์" ยังฝืนเดินหน้าโดยไม่ดูตาม้าตาเรือ ทำนองรู้ว่าเป็นเนื้อร้ายแต่ยังเก็บรักษาไว้ไม่ตัดทิ้ง กว่าจะตัดสินใจก็อาจสายเกินแก้
แม้จะช่วยกันแก้ไขสุดท้ายอาจจะประคองรัฐบาลไว้ไม่อยู่ก็เป็นได้ !
นี่เป็นคำเปรียบเปรยของ "วิชา มหาคุณ" กรรมการป้องกันและปราบการการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่เปรียบเทียบมติของ ป.ป.ช. และมติของ "คณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน" (อ.ก.พ.) กระทรวงมหาดไทย ที่ชี้โทษทางวินัย "ไล่ออก" ยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ในฐานะปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เมื่อครั้งเป็น "รองปลัดกระทรวงมหาดไทย รักษาการปลัดกระทรวงมหาดไทย" เมื่อปี 2545 กรณีที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์
คำเปรียบเปรยของ "วิชา" ประโยคนี้อาจยังไม่กินใจเท่ากับประโยคต่อมาที่ว่า "คนอย่างคุณยงยุทธที่ร่ำเรียนด้านรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คงไม่ได้สอนให้ใช้วิธีการบิดเบือนเป็นแน่ และในวันที่ 23 ตุลาคมนี้ จะครบรอบวันปิยมหาราช ซึ่งเป็นองค์ให้กำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หวังว่าคงไม่มีใครจะทำให้พระนามท่านเสียหาย"
ประโยคนี้ถือว่า "วิชา" ต้องการสื่อไปถึง "ยงยุทธ" โดยตรง หลังจากออกมาปฏิเสธว่า "ที่ผ่านมาไม่ได้ทำผิด ทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย"
จากนี้ไปให้จับตาดูว่าคดีของ "ยงยุทธ" จะเป็นกรณีตัวอย่างที่สร้างปัญหาความยุ่งยากให้แก่ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" หากยังฝืนยืนยันจะ "อุ้ม" ให้ "ยงยุทธ" อยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีต่อไปโดยไม่สนใจกระแสสังคม
ที่สำคัญกรณีของ "ยงยุทธ" จะเป็นบรรทัดฐานของคดีที่มีลักษณะคล้ายกันต่อไปในอนาคต
และเรื่องของ "ยงยุทธ" นอกจากกระตุกให้สังคมหันมาจับตาการตัดสินใจของ "นายกฯ ปู" ว่าจะให้ "ยงยุทธ" อยู่ในตำแหน่งต่อไปแล้ว ยังจะสร้างแรงกระเพื่อมให้เกิดขึ้นในพรรคเพื่อไทยอีกด้วย
อย่าลืมว่า "ยงยุทธ" แม้จะมีตำแหน่ง "หัวหน้าพรรคเพื่อไทย" แต่ถือว่า "ขาลอย" ไม่มีกลุ่มก๊วนในพรรค อยู่ได้เพราะเรื่องของ "บุญคุณต้องทดแทน" เท่านั้น
ปัญหาบ้านเมืองในขณะนี้ต้องการคนทำงานเป็น "มืออาชีพ" ไม่ใช่ทำงานตามคำสั่งไปวันๆ เหมือนข้าราชการที่รับงานนโยบายจากนักการเมืองมาทำ และที่สำคัญกลุ่มก๊วนต่างๆ ในพรรคเพื่อไทยก็เริ่มมีการเคลื่อนไหวกันบ้างแล้วก่อนจะมีการปรับคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
เพราะอดีตที่ผ่านมาการแต่งตั้ง "รัฐมนตรี" ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่ละคนสังคมล้วนตั้งคำถามถึง "ความสามารถและความเหมาะสม" เพราะบางคนมี "คดีความ" รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ยังยืนยันที่จะตั้งขึ้นมาทำงาน แม้ว่าทาง "ผู้ตรวจการแผ่นดิน" จะท้วงติงบางคน แต่ก็ไม่เป็นผลยังคงนั่งอยู่ในตำแหน่งถึงปัจจุบัน
นอกจากกรณี "รัฐมนตรี" สร้างปัญหาให้แก่รัฐบาลยิ่งลักษณ์แล้ว ปัญหาการเมืองดูแล้วเริ่มส่อเค้าความวุ่นวายจะตามมา หลังจาก "ประธานคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล ศึกษาการแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291" มีความเห็นจะเดินหน้าลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวาระ 3
ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีกลุ่มก๊วนต่างๆ พากันออกมาคัดค้านการลงมติ ถึงขั้นไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญตีความเกี่ยวกับเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากเรื่องนี้ "ฝ่ายรัฐบาล" ตัดสินใจเดินหน้า เชื่อว่า "เงื่อนไข" การเคลื่อนไหวทางการเมืองจะสร้างแรงกระเพื่อมให้การบริหารงานของรัฐบาลมีอุปสรรคมากขึ้น
ขณะที่การแถลงผลงานของรัฐบาลต่อสภาผู้แทนราษฎรยังไม่กำหนดวันชัดเจนว่าจะเป็นวันไหน คาดว่าเพื่อรอดูท่าทีของฝ่ายค้านเกี่ยวกับการยื่นอภิปราย จึงเป็นการรอดูท่าทีกันอยู่
แต่เชื่อว่าจนถึงขณะนี้ฝ่ายค้าน "เก็บข้อมูล" ในการเตรียมยื่นอภิปรายได้หลายเรื่อง เพียงแต่รอดูจังหวะเพลี่ยงพล้ำก่อนจะซ้ำด้วยการอภิปรายเพื่อหวังผลทางการเมือง
เพราะจนถึงขณะนี้รัฐบาลมีข่าวกระหน่ำซ้ำเติมมาเป็นระยะ ส่วนใหญ่เข้าทำนอง "สนิมเกิดแต่เนื้อในตน" ตั้งแต่ข่าวโยกย้ายข้าราชการ "กระทรวงยุติธรรม" โดยเฉพาะกรณีการโยกย้าย "พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ" เลขาธิการ ป.ป.ท. ที่มีขึ้นหลังจากไปตรวจจับโครงการทุจริตหลายแห่ง แต่ที่เป็นข่าวใหญ่คือการทุจริตงบภัยพิบัติในพื้นที่ภาคอีสาน, การจับกุมการนำเข้ารถหรู ซึ่งแต่ละคดีมีลักษณะลูบหน้าปะจมูกเกี่ยวโยงกับคนของรัฐบาลแทบทั้งสิ้น
หรือแม้กระทั่งนโยบายรัฐบาลที่ไม่ประสบความสำเร็จ เช่น โครงการรับจำนำข้าว, ปัญหาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ, ปัญหาสินค้าราคาแพง, เรื่องการบิดเบือนตัวเลขส่งออก จนนำมาซึ่งวลี ไวท์ลาย หรือ "โกหกสีขาว" ที่อาจจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ
ดังนั้น ต้องจับตา "ศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล" เชื่อว่าบรรยากาศในสภาจะดุเดือดไม่แพ้การเมืองนอกสภาแน่นอน
นับจากนี้ไป มีปัญหาให้รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขหลายเรื่อง แต่ถ้า "นายกฯ ยิ่งลักษณ์" ยังฝืนเดินหน้าโดยไม่ดูตาม้าตาเรือ ทำนองรู้ว่าเป็นเนื้อร้ายแต่ยังเก็บรักษาไว้ไม่ตัดทิ้ง กว่าจะตัดสินใจก็อาจสายเกินแก้
แม้จะช่วยกันแก้ไขสุดท้ายอาจจะประคองรัฐบาลไว้ไม่อยู่ก็เป็นได้ !
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น