4 มิ.ย.57 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการชื่อดัง ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊คส่วนตัว ดร.เสรี วงษ์มณฑา
ถึงการที่ประเทศต่างๆ ตำหนิการทำรัฐประหารของไทยเรา และยังมีคนไทยจำนวนหนึ่งที่ต่อต้านรัฐประหารอยู่ ซึ่ง คสช.จะต้องให้ข้อมูลที่ชี้ ให้เห็นว่า ทำไมทหารจะต้องทำการรัฐประหาร โดยจะต้องมีการวางแผนการประชาสัมพันธ์ข้อมูลด้วยวิธการต่างๆ เน้นให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ใช้ทั้งสื่อมวลชน social media และการจัด event เช่น การสัมมนา การอภิปราย การทำ road show การ lobby
ด้านสื่อมวลชนนั้น จะต้องใช้ทั้ง ข่าว บทความ สารคดี รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ ในการนำเสนอข้อมูลที่ชี้ให้เห็นความจำเป็นในการทำรัฐประหาร และ scoop พิเศษ ทางด้าน social media ต้องใช้ทุก platforms ทั้ง web site , Facebook , Fan page , twitter และ blog เนื้อหาที่จะทำให้คนเข้าใจความจำเป็นที่จะต้องทำรัฐประหารมีมากมาย คอรัปชั่นการทำผิดกฎหมาย การทำขัดรัฐธรรมนูญ การครอบงำข้าราชการ ทำลายระบบคุณธรรม การครอบงำสื่อมวลชน ทำลายระบบตรวจสอบ การบิดเบือนกฎหมาย รังแกฝ่ายตรงกันข้าม การแก้รัฐธรรมนูญ มีความพยายามออกกฎหมายล้างผิด ความเป็นเผด็จการทางรัฐสภา การเป็นระบอบทุนนิยมสามานย์ที่ใช้เงินซื้อผู้คนให้ช่วยทำผิดกฎหมายและโกงชาติ การยื้ออยู่ในอำนาจทั้งที่หมดความชอบธรรมแล้ว ความไม่มีอำนาจเต็มในการแก้ไขปัญหาให้ประชาชนแต่ไม่ยอมที่จะลงจากอำนาจ การใช้ความรุนแรง การสะสมอาวุธสงคราม
การให้ข้อมูลเหล่านี้ต้องเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จะต้องใช้ความถี่ในการที่จะทำให้คนเปลี่ยนทัศนคติ และจะต้องทำต่อเนื่องจนกว่าจะเกิดผลสัมฤทธิ์ และควรจะมีมืออาชีพทางด้านการประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่เป็น strategist วางยุทธศาสตร์ในการดำเนินการดังกล่าว
เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เขาใช้มืออาชีพ เราจะสู้กับเขาด้วยมือสมัครเล่นคงไม่ได้ ที่สำคัญอย่าติด "กับดักปรองดอง" ที่จะมีคนสร้างวาทกรรมว่า "ถ้าจะปรองดิงต้องไม่มีการนำเอาความผิดของระบอบทักษิณมาพูด" เพราะถ้าหากติดกับดักนี้แล้วไม่มีการพูดถึง ปัญหาของประเทศที่เกิดจากระบอบทักษิณ จนหมดหนทางแก้ เราก็ไม่สามารถที่จะให้เหตุผลอันสมควรที่จะ justify การทรัฐประหารครั้งนี้ เรื่องนี้ต้องรีบทำและทำอย่างจริงจังและเข้มข้น จึงจะทำความเข้าใจกับคนที่ต่อต้านรัฐประหารได้ อย่าลืมเรื่อง "ความถี่" นะ ไม่ใช่ว่าทุกเรื่องพูดครั้งเดียวแล้วเลิก เพราะคนเรามีพฤติกรรมในการเสพข่าวสารต่างกัน จึงต้องใช้หลากหลายสื่อ หลากหลายรูปแบบ หลากหลายช่วงเวลา
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น