วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557

"ปณิธาน"หนุน คสช.จัดระเบียบแรงงานต่างด้าว เมื่อ 18 มิ.ย.57



"ปณิธาน"หนุน คสช.จัดระเบียบแรงงานต่างด้าว
 
"ปณิธาน" หนุน คสช.พลิกวิกฤติเป็นโอกาส จัดระเบียบแรงงานต่างด้าว เชื่อทำได้สำเร็จ แนะแจงนานาชาติให้เข้าใจ ไม่ได้กวาดล้าง แต่นำเข้าระบบ
เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
กล่าวถึงกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)จัดระเบียบแรงงานต่างด้าวในประเทศว่า ถือเป็นโอกาสดีที่ คสช.จะทำให้เกิดความเรียบร้อย เพราะปัจจุบันมีแรงงานผิดกฎหมายอยู่ในประเทศไทย ประมาณ 3 ล้านคนเศษ โดยกลุ่มที่เข้ามานานแล้ว ประมาณ 200,000 คนนั้นไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่กลุ่มที่เฝ้าระวังเป็นแรงงานจากพม่า ลาว เวียดนาม ประมาณ 2 ล้านคน รวมทั้งกลุ่มโรฮิงญา ซึ่งเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างมีปัญหา

หากมีการเปิดให้ทยอยลงทะเบียนแสดงตัวตนเพื่อจดทะเบียนจัดระเบียบเข้าสู่ระบบปกติ

แรงงานเหล่านี้จะได้รับการคุ้มครองดูแลสิทธิขั้นพื้นฐานด้วย จะทำให้ภาพลักษณ์ของไทยในสายตาต่างชาติดีขึ้นในการดูแลแรงงาน ทั้งนี้จำเป็นต้องมีการสื่อสารกับต่างชาติ ทั้งประเทศต้นทางและนานาชาติเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน เพราะที่ผ่านมายังมีความเข้าใจผิด และเกิดการตื่นตระหนกอยู่ ซึ่งเชื่อว่า คสช.พยายามกระตุ้นให้เอกอัครราชทูตชี้แจงทำความเข้าใจกับชาวต่างชาติ โดยต้องสื่อสารให้ชัดเจนว่าไม่ใช่เป็นการกวาดล้างกดดันประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นการเอาเข้าระบบ



นายปณิธาน กล่าวอีกว่า เรื่องนี้แม้จะไม่ใช่เรื่องง่าย และต้องอาศัยความร่วมมือจากนายจ้างประเทศต้นทางในการระบุตัวตน

ซึ่งกระบวนการค่อนข้างจะซับซ้อน แต่เชื่อว่าน่าจะพลิกวิกฤติตรงนี้ให้เป็นโอกาส เอาแรงงานที่กลับไปแล้วกลับเข้าระบบอย่างถูกกฎหมาย และใช้โอกาสนี้ชี้แจงกับต่างประเทศด้วยว่าเรากำลังจัดระเบียบใหม่ ถือว่าถ้าทำได้จะเป็นโอกาสของประเทศไทยและทางทหารก็มีกำลังมาก สามารถจัดจุดตรวจ จุดลงทะเบียนได้ ซึ่งเชื่อว่าจะทำได้สำเร็จ อย่างไรก็ตามปัญหาที่เกิดขึ้นจากการลงทะเบียนแรงงานต่างด้าวคือเรื่องนายหน้า หรือมีเรื่องความไม่เข้าใจในการกรอกเอกสาร ซึ่งเคยเป็นช่องโหว่ในอดีตที่ต้องเร่งแก้ไข




อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวอีกว่า

นอกจากนี้ขอสนับสนุนนโยบายการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นของ คสช. แต่สิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปคือการป้องกันที่จะได้ผลระยะยาวมากกว่า ซึ่งการปราบปรามที่ผ่านมาอาจจะมีช่องว่าง โดยภาคเอกชนก็เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยที่จะต้องนำมาพิจารณาตามที่มีข้อเสนอให้มีกฎหมายที่ครอบคลุมไปถึงความสามารถในการตรวจสอบภาคเอกชนที่สงสัยว่าจ่ายเงินสินบนด้วย ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าขณะนี้ความต้องการของประชาชนคือการจัดระเบียบการเมือง และแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นทั้งของข้าราชการ และนักการเมือง.

ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น