วันพฤหัสบดีที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เล็กในใหญ่-ใหญ่ในเล็กของ คสช.เมื่อ 1 ส.ค.57

เล็กในใหญ่-ใหญ่ในเล็กของ คสช.


อืมมมมม...นานๆ จะได้เห็น "ทหารจับทหาร" รายนี้เสธ.อะไรล่ะ...เสธ.เจมส์ นัยว่า อ้าง คสช.เก็บค่าคุ้มครองผู้ค้าขายย่านพัฒน์พงศ์! 
    นี่ก็เป็นแค่ ๑ ใน ๑๐๐ ใน ๑,๐๐๐ ของมาเฟียสี ไม่ว่าสีเขียว สีกากี สีขาว สีเทา ที่มีคู่ชาติชั่วกัลปาวสาน
    เพราะพวกนี้ เหมือนเส้นขนกับเห็บเหา มีสิ่งหนึ่ง อีกสิ่งหนึ่งต้องมี ถ้าไม่ใช่มาเฟียสี มาเฟียเสื้อนอก (นักการเมือง) ก็เป็นนักเลงถิ่น 
    แต่ก็อีกนั่นแหละ เหนือมาเฟียถิ่น มาเฟียเสื้อนอก มันก็ต้องมี "มาเฟียสี" ในแต่ละท้องที่ เป็นบารมีคุ้มกันอีกที!
    สรุปแล้ว การจัดระเบียบสังคมของ คสช.ปราบนักเลง-มาเฟีย-อิทธิพลถิ่น ที่หากินผิดกฎหมายในรูปแบบต่างๆ เช่น...
    เรียกค่าคุ้มครองบ้าง ค้าของผิดกฎหมายบ้าง คุมบ่อน-คุมซ่อง-คุมถนน-คุมคิวรถ-คุมสถานบริการบ้าง รับจ้างฆ่าบ้าง ออกเงินกู้รีดดอกแพงๆ บ้าง บุกรุกที่ดินของรัฐบ้าง ทวงหนี้-เคลียร์คดีค้างใจบ้าง
    ก็คงปราบได้ในลักษณะ "ดายหญ้าหน้าดิน"
    พักเดียว...เดี๋ยวมันก็แทงยอดขึ้นมาอีก!
    แต่ก่อนแทงยอด คสช.ลองไปดูที่ภูเก็ตหน่อยซิ เห็นเขาว่า การไปจัดระเบียบพวกบุกรุก "อุทยานแห่งชาติสิรินาถ" นั้น 
    มีคนแอบอ้างชื่อ คสช.เรียกบางรายมา "จัดระเบียบ" กันเป็นการส่วนตัวด้วย ซึ่งเสียชื่อ-เสียหายมาก!
    จากผลสำรวจเมื่อปี ๕๓ นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากรสมัยนั้น บอกว่า...
    "คนไทยมีประมาณ ๖๖ ล้านคน เป็นแรงงานในระบบ ๓๘ ล้านคน ส่วนที่เหลือ ๒๘ ล้านคน เป็นเด็ก คนชรา พระภิกษุ และผู้ช่วยครัวเรือน
    ทั้งหมดนั้น จำนวนผู้ที่มายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับกรมสรรพากร (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90, 91) ไม่ได้ลดลง 
    ตรงกันข้าม ตัวเลขกลับเพิ่มขึ้นทุกปี จาก ๘ ล้านคน เป็น ๙ ล้านคน และปัจจุบัน ๑๑.๗ ล้านคน
    แต่ในบรรดาคนที่มายื่นแบบ ภ.ง.ด.90, 91 จำนวน ๑๑.๗ ล้านคนนั้น มีผู้ที่เสียภาษีจริงๆ แค่ ๒ ล้านคน 
    อีกประมาณ ๙ ล้านคน เข้ามายื่นภาษีอยู่ในระบบแล้ว เมื่อหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ เหลือเงินได้สุทธิไม่ถึง ๑๕๐,๐๐๐ บาท/ปี จึงหลุดออกไปอยู่นอกฐานภาษี
    กลุ่มผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ๒ ล้านคนนั้น มีผู้ที่มีรายได้เกินกว่า ๔ ล้านบาท/ปี เสียภาษีในอัตราสูงสุดที่ ๓๗% ของรายได้สุทธิ อยู่ประมาณ ๓๐,๐๐๐ คน ซึ่งจ่ายภาษีคิดเป็นสัดส่วนถึง ๕๐% ของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บได้ 
    อย่างในปีงบประมาณ ๒๕๕๔ กรมสรรพากรเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ๒๓๖,๓๓๙ ล้านบาท มีผู้มีรายได้สูงประมาณ ๓๐,๐๐๐ คนนี้ จ่ายภาษีประมาณ ๑๒๐,๐๐๐ ล้านบาท 
    เฉลี่ยจ่ายภาษีคนละ ๔ ล้านบาท/ปี! 
    ผู้เสียภาษีที่เหลืออีกประมาณเกือบ ๒ ล้านคน จ่ายภาษีได้ประมาณ ๑๒๐,๐๐๐ ล้านบาท 
    เฉลี่ยต่อหัวจ่ายภาษีคนละประมาณ ๖๐,๐๐๐ บาท/ปี!
    ดังนั้น ประเทศไทยมีบุคคลธรรมดาที่จ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพียงแค่ ๒ ล้านคนเท่านั้น ทั้งๆ ที่มีมนุษย์เงินเดือน ๑๑.๗ ล้านคน
    ครับ...ในจำนวน ๒ ล้าน หรือ ๑๑.๗ ล้านนี้ เชื่อได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า ไม่มีมาเฟีย "ทุกประเภท" นำเงินโจร-เงินคอร์รัปชัน ไปคำนวณเพื่อ "จ่ายภาษี" แน่นอน 
    พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ครับ....! 
    ในฐานะผู้นำ คสช.ท่านคิดในประเด็นนี้ว่าอย่างไร?
    คนไทยทั้งประเทศ ๖๖ ล้านคน เสียภาษีเลี้ยงดูประเทศแค่ ๒ ล้าน และ ๒ ล้านคนนั้น จะเป็นประเภท "มนุษย์เงินเดือน"
    ทำงานงกๆ แต่ละวันสายตัวแทบขาด เดือนๆ จะกินก็แทบชักหน้าไม่ชนหลัง แต่ยังต้องเสียภาษีไปเลี้ยงรัฐ
    ในขณะที่คนรวย คนเลี่ยงภาษี คนโกง คนหากินผิดกฎหมาย รวมแล้วหลายสิบล้านคน
    ไม่เสียภาษีเลยซักบาท.....
    นอกจากไม่เสียแล้ว ยังมีอภิสิทธิ์ ใช้ประโยชน์บนความเป็น "ระบบรัฐ" และตักตวงความร่ำรวยจากทรัพยากรแผ่นดิน ชนิดที่คน ๒ ล้านคนที่เสียภาษี ไม่มีโอกาสได้แอ้ม-ได้แอะกับเขา!
    และจากตัวอย่างปี ๕๔ สรรพากรรีดเลือดกับปูได้ ๒๓๖,๓๓๙ ล้านบาท มีผมรวมอยู่ด้วย เมื่อคิดในมุมกลับ....
    พวกตัวเงิน-ตัวทอง ที่กัดกินและสูบเลือดจากสังคมและประเทศชาติไปอ้วนพี เลือดฝาดสมบูรณ์ทั่วร่าง ได้มากมายกว่าเป็นร้อย-เป็นพันเท่า
    ส่วนนี้...ไม่เป็นล้านล้านบาทหรือ?
    แต่พวกนี้ ไม่ยักเป็นจำเลยรัฐ ตรงกันข้าม "คนเสียภาษี" กลับเป็นจำเลยรัฐตลอดกาล
    เช่นนี่ไง ปีนี้ สรรพากรเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้า ในขณะที่รัฐบาลต้องใช้เงินบริหารประเทศสูงขึ้น คือรายจ่ายมากกว่ารายรับ 
    ผล...สรรพากรต้อง "ตรวจค้นภาษี" เอากับคนที่อยู่ในระบบหนักขึ้น!
    ว่าไปแล้ว คนในระบบภาษีทั้งส่วนบุคคลและนิติบุคคล มัน "หมูในเล้า" ดิ้นไปทางไหนไม่รอดหรอก ก็อยากบอกว่า อย่าเอาแต่จ้องตบกระบาล-จกกระเป๋าหมูในเล้าอยู่เลย 
    ด้วยเศรษฐกิจที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ตอนเอาหัวพุง-หัวมันไปหมดแล้ว ตอนนี้...มันเหลือแต่ซากแล้ว!
    ลองไปคิดซิว่า ทำยังไงจะให้พวกที่รวย แต่ดันอยู่นอกระบบภาษี ให้มาจ่ายภาษีบ้าง และทำยังไง จะพิสูจน์ให้สังคมเชื่อในคำว่า "เงินหลวง...ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้"
    แล้วไปยึดเอาที่มันโกง-มันกิน-มันคอร์รัปชัน-มันเบียดบังเอาไปจากรัฐคืนมาบ้าง?
    เอาที่ชัดๆ.....
    โกงจำนำข้าวเห็นคาตา-คาปาก เงินรัฐคือเงินประชาชน ฉิบหายเฉพาะหน้ากว่า ๕ แสนล้านบาท
    แต่ไม่ได้ยินว่า ด้วยอำนาจสิทธิ์ขาด คสช. จะอายัดเงินใครที่ส่อว่าร่วมโกงในโครงการไว้ตรวจสอบเลย?
    หรือนักการเมืองที่ตรวจสอบแล้ว บัญชีทรัพย์สินที่แจ้ง กับทรัพย์สินเงินทองที่มีอยู่จริงไม่ตรงกัน ก็ไม่เห็นยึดใครไว้ตรวจสอบก่อนเลย 
    และพวกที่มีคดี "ออกหมายจับ" แต่หลบหนี ควรต้อง "ยึด-อายัดทรัพย์" ไว้ก่อน แต่ก็ไม่เห็นมีมาตรการอะไรในส่วนนี้? 
    ไอ้วิธีการ รอให้ถลกตูดและเคลื่อนย้ายทรัพย์สมบัติไปไหนต่อไหนเรียบร้อยก่อน แล้วค่อยขอหมายจับตามหลังนั่นน่ะ เลิกซะทีเถอะ
    แบบนี้...มันยี่เกชัดๆ!
    อย่างการตรวจโกดังข้าว เห็นชัดๆ คาตา "ตีโป่งข้างใน" แล้วสุมกระสอบข้าวพรางตาว่ามีข้าวครบไว้ข้างนอก
    พฤติกรรมเป็นรูปแบบเดียวกันเกือบทุกโกดัง มันชัดเจนว่าเจตนา-จงใจโกงและปกปิด รัฐบาล-ข้าราชการ-เจ้าหน้าที่-เจ้าของโกดัง แก๊งเดียวกันเป็นขบวนการ
    แบบนี้...ต้องยึด-อายัดทรัพย์ ทันที!
    รู้นี่...ตามระเบียบ-ระบบ โกดังนี้ของใคร อ.ต.ก.หรือ อคส.และเอกชนรายไหนเป็นผู้ให้เช่าโกดัง เซอร์เวเยอร์รายไหนเป็นผู้ตรวจสอบ แต่ละประตูโกดัง ใส่กุญแจตั้ง ๓-๔ ดอก 
    ใครบ้างมีอำนาจ และใครบ้างเซ็นใบรับรองความเรียบร้อยไว้แต่ละโกดัง ต้องลากคอมาให้หมด
    ผู้ว่ง-ผู้ว่าฯ นายตำรวจ ที่ยิ่งลักษณ์ส่งไปตรวจคราวนั้น แต่รายงาน...ข้าวอยู่ดี มีครบครับทั่น นั่นน่ะ
    ต้องถลกหนังเลย! 
    ทำมองข้าม-มองไม่เห็น สุดท้ายก็จะเป็นแบบ "ดายหญ้ามาเฟีย" พอ คสช.จางอำนาจไป ฝนอำนาจการเมืองใหม่พรำ
    ไอ้พวกเสี้ยนแผ่นดิน มีชีวิตอยู่ด้วยการสมคบโกงกิน มันก็จะเป็นหญ้าแทงยอดขึ้นมาพรึ่ดอีก!
    ทุกวันนี้ ที่เห็นเงียบ...เงียบไม่ได้หมายความว่าสงบ
    มันเงียบ "รอจังหวะ" น่ะ....!
    พวกนี้มันรู้ มันชำนาญจะตายไป มันรู้ว่ารัฐบาลทหารอยู่ไม่นาน ทหารก็ต้องกินข้าว จะขึงตึงได้ก็ไม่นาน เดี๋ยวก็เมื่อย
    เมื่อยเมื่อไหร่ ฝนการเมืองใหม่มาวันไหน....
    จัญไรก็สมสู่เหมือนเดิม!
    ก็อย่างที่พูดกัน ถ้าใครบอกว่าประเทศไทยจน นั่นหมายความว่า ประเทศค่อนโลก "เป็นยาจก"
    แต่ที่หนี้สาธารณะท่วม เงินคงคลังแห้งขอด ไม่ใช่ประเทศเราไม่มีรายได้ มันมี..แต่มีเข้ามาไม่ทันให้พวกมันโกง-กิน ขนาดต้องกู้เอาเงินในอนาคตมาให้พวกมันโกง เห็นมั้ยล่ะ
    ประเทศในสภาพ "คนรัฐ-คนหลวง" คอร์รัปชันเป็นอาชีพ 
    "คนราษฎร์" ทั้งคนร่ำรวย คนหากินนอกกฎหมาย ตลอดถึงมาเฟียทั้งหลาย ก็ไม่เสียภาษี
    ถ้า คสช.ไม่จัดระเบียบเรื่องนี้ อาจเสียที-เสียเที่ยวเปล่า.     

พลิก ใช้ กม.ล้อม ทักษิณให้ตรึงกับที่ เบรกเกมโลกล้อมประเทศ !? โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 สิงหาคม 2557 06:47 น.

พลิก ใช้ กม.ล้อม ทักษิณให้ตรึงกับที่ เบรกเกมโลกล้อมประเทศ !?

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์1 สิงหาคม 2557 06:47 น.

ผ่าประเด็นร้อน 
       
       คำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ กล่าวในรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" เมื่อหลายวันก่อนในทำนองว่า "ใครที่กระทำความผิดจริง ก็ต้องถูกลงโทษ ถ้าไม่ให้ถูกลงโทษก็ต้องหนีไป จะอยู่ในประเทศไทยไม่ได้ ถ้ากลับมาอยู่ที่ประเทศไทย ต้องถูกติดตามจับกุมดำเนินคดี" แม้ว่าจะเป็น “ตรรกะแปลกๆ”แต่ก็พอทำให้พอมองเห็นแนวทางในการดำเนินการกับกลุ่มที่เคลื่อนไหวทางการเมืองในอนาคตได้เป็นอย่างดี 
       
       เพราะตามหลักการก็คือ " หากทำผิด มีการพิจารณาตามกระบวนการยุติธรรมปกติ และศาลพิสูจน์แล้วว่าผิด ถ้าอยู่ในประเทศไทยก็ต้องถูกดำเนินคดี หากหลบหนีอยู่ในต่างประเทศ ก็ต้องตามจับกุมมาดำเนินคดีให้ได้ ไม่ใช่ปล่อยให้หนีออกไป "
       
        หลักการมันต้องเป็นแบบนี้ไม่ใช่หรือ !!
       
       อย่างไรก็ดีถ้าไม่สงสัย ปล่อยให้ผ่านไป ก็มาพิจารณาในอีกแง่มุมหนึ่ง พิจารณากันแบบแยกเรื่องออกมาต่างหาก แยกกรณีของ ทักษิณ ชินวัตร ออกมาต่างหาก แม้ว่าจากคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าถ้าไม่อยากให้ถูกดำเนินคดีก็ต้องหลบหนีอยู่ต่างประเทศตลอดไป รวมไปถึงกรณีของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีน้องสาวของเขา ที่กำลังถูกดำเนินคดีความผิดหลายคดี ซึ่งหลายคดีหากในอนาคตมีการพิสูจน์ว่ามีความผิดจริงก็จะเสี่ยงต่อการติดคุกและห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมืองตลอดชีวิต ตามกรอบของรัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่กำลังจะมีขึ้นราวปีหน้า (2558) ที่ห้ามใครก็ตามที่เคยมีประวัติในคดีทุจริต ลงสมัครรับเลือกตั้งและดำรงตำแหน่งทางการเมืองดังกล่าว
       
       เวลานี้ ยิ่งลักษณ์ ได้ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ชี้มูลความผิด ฐานปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว จนสร้างความเสียหายกับรัฐหลายแสนล้านบาท และส่งเรื่องให้วุฒิสภาถอดถอนออกจากตำแหน่งทางการเมือง แม้ว่าเวลานี้จะไม่มีวุฒิสภา แต่ก็กำลังจะมีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เกิดขึ้นมาแทน และหากรับช่วงมาพิจารณาต่อจนสำเร็จ มันก็มีผลต่ออนาคตทางการเมือง หากออกมาในทางบวกถอดถอนไม่ได้ ก็โชคดีไปเปลาะหนึ่ง แต่ถ้าออกมาในทางลบ มันก็มีผลกระทบต่ออนาคตทางการเมืองนั่นแหละ
       
       นั่นเป็นเพียงคดีแรก ยังมีอีกหลายคดีตามมาเป็นหางว่าว จาก ปปช.เพราะยังมีอีกคดีที่เป็นคดีอาญาในความผิดตามมาตรา 157 ล่าสุด ปปช.ได้ส่งสำนวนไปถึงอัยการสูงสุดเพื่อพิจารณาสั่งฟ้องไปแล้ว นี่ก็หากพลาดท่าก็หมายถึงคุก แม้ว่าจะยังมีเวลาอีกนานนับปี แต่เป็นใครหากโดนแบบนี้มันก็ต้องเสียวเป็นธรรมดา ยัง ยังไม่พอ เพิ่งจะโดนคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)แจ้งข้อหาใช้ตำแหน่งหน้าที่หาเสียงโดยมิชอบ หลังมีการยุบสภาระหว่างการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา ซึ่งคดีนี้ยังต้องรอการชี้ขาดจาก กกต.อีกครั้งหนึ่งและยังมีเวลาอีกนาน แต่ก็นั่นแหละเมื่อเป็นมติเอกฉันท์มันก็พอเห็นแนวโน้มกันบ้างละ
       
       อย่างไรก็ดีเวลานี้เธอได้รับอนุญาตจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เดินทางออกนอกประเทศ และมีกำหนดกลับมาภายในวันที่ 10 สิงหาคมที่จะถึงนี้ แต่ก็มีรายงานว่ากำลังยื่นเรื่องเพื่อขยายเวลาเดินทางกลับออกไปอีกระยะหนึ่ง
       
       การเดินทางออกนอกประเทศของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในช่วงที่ผ่านมาด้วยเหตุผลว่าไปท่องเที่ยวในประเทศแถบยุโรป และอเมริการวมไปถึงถือโอกาสไปเยี่ยมเยียนและร่วมฉลองวันเกิดครบรอบ 65 ปีของ พี่ชายคือ ทักษิณ ชินวัตร ที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทำให้หลายคนเฝ้ามองกันว่านี่คือการหลบหนีออกนอกประเทศหรือไม่ แต่ถึงอย่างไรยังไม่ถึงกำหนดกลับมาจึงยังพิสูจน์อะไรไม่ได้ เพียงแต่ว่าได้ข่าวว่า ยิ่งลักษณ์ “กำลังหาโรงเรียนนานาชาติ”ที่อังกฤษ มันอาจเป็นสัญญาณอะไรบางอย่างนำร่องเอาไว้ก่อนหรือไม่ 
       
       ขณะเดียวกันเมื่อหักมุมกลับมาที่ ทักษิณ ชินวัตร อีกที ก็เริ่มได้เห็นปรากฏการณ์บางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแบบตรงกันข้าม ที่เห็นได้ชัดก็คือท่าทีจากมิตรที่สนิทชิดเชื้อ อย่าง ฮุนเซน ผู้นำกัมพูชา ที่ล่าสุดส่ง รองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.เตียบัญ นำคณะใหญ่มาเยี่ยมเยียนคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยในจำนวนนั้นยังหอบเอาลูกชายหัวแก้วหัวแหวนทายาทอำนาจคนต่อไป อย่าง พล.ท.ฮุน มาเน็ต มากันแบบสมเกียรติ ขณะเดียวกันก็ได้รับการต้อนรับอย่างสมเกียรติยิ่งใหญ่ ให้เกียรติไม่ต่างกับการต้อนรับระดับผู้นำประเทศ
       
       แต่ที่ไม่ธรรมดาก็คือ คำให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.เตียบัญ ก่อนเดินทางกลับไปว่า “เราจะไม่ยอมให้มีการใช้กัมพูชาเป็นฐานในการต่อต้าน คสช.อย่างเด็ดขาด” และหากย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ฮุนเซน ก็เคยกล่าวยืนยันมาแล้วครั้งหนึ่ง โดยคราวนั้นยังได้ฝากคำพูดไปไกลทำนองว่า “หวังว่า ทักษิณ ชินวัตร คงเข้าใจดี” 
       
       นอกจากนี้เมื่อพิจารณาจากท่าทีของประเทศมหาอำนาจอื่นๆ อย่างสหรัฐอเมริกา และสภาพยุโรป ระยะหลังเริ่มเปลี่ยนไป ลดความแข็งกร้าวต่อ คสช.ลง อาจเป็นเพราะมีการเคลียร์ชี้แจงกันเป็นระยะ อีกทั้งยังไม่ได้คุกคามผลประโยชน์ของประเทศเหล่านั้น ตรงกันข้ามยังไฟเขียวอำนวยความสะดวกในการการค้าการลงทุนได้อย่างราบรื่น จนแทบไม่มีปัญหา ทุกอย่างเริ่มเข้ารูปเข้ารอย
       
       แต่กลายเป็นว่า ลักษณะความเคลื่อนไหวดังกล่าวน่าจะมีผลกระทบ ต่อ ทักษิณ ชินวัตรและเครือข่ายโดยตรง กลายป็นว่า ที่เคยใช้ยุทธวิธี“โลกล้อมประเทศไทย” กำลังจะบล็อกเขาให้อยู่นิ่งๆ อยู่ข้างนอก เพราะหากย้อนกลับไปพิจารณาคำพูดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาหัวหน้า คสช.ที่บอกว่า อยากให้ “คนแดนไกล” กลับมาสู้คดีแล้วจะรับรองความยุติธรรม รวมไปถึงคำพูดที่ว่า “ถ้าไม่อยากให้ถูกลงโทษก็ให้หนีไป จะอยู่ในประเทศไม่ได้” 
       
       และหากคนแดนไกลที่ว่าหมายถึงเขาคนนั้น เขาคงเข้ามาไม่ได้ !! 

สัญญาณถอดถอนไม่ชัด คสช.ทราบแล้วเปลี่ยน โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 สิงหาคม 2557 06:47 น.

สัญญาณถอดถอนไม่ชัด คสช.ทราบแล้วเปลี่ยน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์1 สิงหาคม 2557 06:47 น.

รายงานการเมือง
       
       พอเกิดประเด็นคลุมเครือเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 คนที่ชี้ขาดก็ต้องเป็นผู้ทำให้กำเนิด และผู้ทำคลอดนั่นคือ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ของ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะเบอร์หนึ่ง กับ “ 2 ช่างตัดแต่งรธน.” อย่างนายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษาคสช. ฝ่ายกฎหมาย ในฐานะหัวหน้าทีมยกร่าง กับนายพรเพชร วิชิตชลชัย ที่ปรึกษาหัวหน้าคสช. จะต้องมาอธิบายกันให้ชัดเจน
       
       สำหรับปมเรื่องการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้ว่า ตกลงสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีอำนาจถอดถอนบุคคลที่ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดมาหรือไม่
       
       นาทีนี้ยังเถียงกันเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งยืนยันหนักแน่นว่า ในเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ถูกคสช. ฉีกทิ้งไปแล้ว หลังจากเข้าควบคุมอำนาจการบริหารประเทศเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ทำให้บทบัญญัติเรื่องการถอดถอนบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไปหายวับไปด้วย
       
       ซึ่ง “มิสเตอร์ไวรัช” นายนิคม ไวรัชยพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ผู้ถูก ป.ป.ช.ฟันฉับที่คอ กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มาส.ว.มิชอบ เป็นหนึ่งในคนที่ให้ทรรศนะสนับสนุนความคิดนี้ทันทีว่า ถือเป็นการยกประโยชน์ให้จำเลย หรือ เปรียบง่ายๆ เหมือนกับการนิรโทษกรรมไปโดยอัตโนมัตินั่นเอง
       
       แน่นอนว่า หากใช้บรรทัดฐาน “มิสเตอร์ไวรัช” จะทำให้บุคคลที่ถูกป.ป.ช.ชี้มูลความผิดในคดีถอดถอนจำนวนไม่น้อย หลุดจากร่างแหบ่วงกรรมที่กระทำเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็น อดีตประธานวุฒิสภาชาวฉะเชิงเทราผู้นี้เอง “ค้อนปลอม” นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และ 36 ส.ว. ที่ร่วมกันกระทำชำเรารัฐธรรมนูญโดยมิชอบก่อนหน้านี้ ไม่เว้นแม้แต่เบี้ยตัวใหญ่อย่าง “ปูกรรเชียง” น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกเชือดคอกรณีละเลยเพิกเฉยไม่ระงับยับยั้งการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวจนก่อให้เกิดความเสียหาย
       
       เหล่านี้จะออกไปเอ่อระเหยลอยชายกันหมด สิ่งที่ป.ป.ช.ไปแสวงหาข้อเท็จจริง ไต่สวนพยานบุคคล หาหลักฐาน กันมาร่วมแรมปีจะหายวับเข้ากลีบเมฆ ที่ลงเรี่ยวลงแรงเท่ากับเหนื่อยฟรี
       
       ทว่า การตีความแบบ “มิสเตอร์ไวรัช” ก็ดูจะหัวหมอ และออกไปในแนวศรีธนญชัยมากเกินไป เพราะในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 ได้ระบุไว้ชัดแจ้งแดงแจ๋ว่า ให้สนช. ทำหน้าที่ส.ส. และส.ว. ฉะนั้น อำนาจที่ส.ว.เคยมี ย่อมอยู่ในเงื้อมือของสนช. ทั้งหมด ไม่เว้นแม้แต่การถอดถอน
       
       ขณะเดียวกัน ในมาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 ยังระบุให้ยึดประเพณีการปกครองในอดีต เหมือนกับที่ นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตส.ว.สรรหา ออกมายืนยันนอนยันว่า ทำได้แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะเมื่อปี 2549 สนช.ยุคที่มี “ปรมาจารย์กฎหมาย” นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ก็เคยลงมติถอดถอนนายจรัล ดิษฐาอภิชัย ออกจากตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มาแล้ว หลังจากมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมหลายอย่าง เมื่อเป็นเช่นนั้นจึงสามารถยึดเอาหลักดังกล่าวได้เลย
       
       ขณะที่ ป.ป.ช. ผู้เป็นต้นธารเรื่องนี้ เอากันจริงๆ ตามเนื้อผ้าก็ไม่ได้มีอำนาจตัดสินใจถึงขนาดจะชี้นิ้วบอกสนช.ว่า ต้องถอดถอนหรือไม่ จึงโยนให้ 220 อรหันต์แห่งรัฐสภา ตัดสินใจกันเอาเองว่า จะเอาอย่างไร?
       
       ว่ากันตามสิ่งที่เห็นและเป็นอยู่ แม้ สนช.จะมีอำนาจหน้าที่โดยตรง แต่เป็นที่รู้กันว่า สนช.กำเนิดจาก คสช.ที่มี “บิ๊กตู่” เป็นกัปตันทีม ดังนั้น เรื่องนี้คนที่มีอำนาจตัดสินใจก็คือ คสช.ว่า ตกลงจะไฟเขียวลุยถอดถอน หรือ เบรกเอาไว้ก่อนเพื่อผลักภาระให้ส.ว.ชุดใหม่ที่เข้ามาทำหน้าที่หลังจากมีการเลือกตั้งกันใหม่แล้ว
       
       หลังจากนี้เลยต้องรอดูสัญญาณจาก คสช.ว่า จะเอาอย่างไรกับเรื่องดังกล่าว เพราะการเลือกแนวทางใด แนวทางหนึ่ง ย่อมมีผลกระทบตามมามากมายแบบสุดๆ ไปทางใดทางหนึ่งเหมือนกัน เพราะหากเรื่องกดไฟเขียวให้สนช. เดินเครื่องถอดถอนได้เลย นั่นเท่ากับว่า “ปูกรรเชียง” และองคาพยพ ที่มีคดีถอดถอนค้ำคออยู่ในป.ป.ช. มีโอกาสตายหมู่ และตายสนิทจากการเมืองไปอีกหลายปีแน่ เนื่องจากในรัฐธรรมนูญมาตรา 35 กำหนดไว้ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2558 ไปยกร่างเพื่อป้องกันนักการเมืองที่ต้องมลทินคดีทุจริตคอรัปชั่นไม่ให้กลับมาวนเวียนในสังเวียนการเมืองอีกเด็ดขาด
       
       งานนี้ “ปูกรรเชียง” และองคาพยพ หมดโอกาสลอยนวลแน่ หรือจะเรียกว่า เป็นโศกนาฏกรรมหมู่ทางการเมืองก็ได้ เพราะสนช.ล้วนเป็นผลไม้ที่เกิดจากต้นไม้คสช. คะแนนเสียงถอดถอนที่ต่อให้ใช้เยอะเพียงใดก็พอที่จะส่งบุคคลเหล่านี้กลับไปเลี้ยงลูกเลี้ยงหลานได้อยู่แล้ว ไม่ได้ยากเย็นแสนเข็ญเหมือนกับระบบปกติ ยกเว้น จะมีสัญญาณคุณขอมาเท่านั้น จึงจะรอดคมมีด
       
       แต่หากละไว้ แล้วค่อยชำระกันใหม่เมื่อมี ส.ว. โอกาสที่บุคคลเหล่านี้จะลอยนวลต่อในแวดวงการเมืองก็ยังมีสูง เพราะบรรดานักการเมืองมักจะไม่เข่นฆ่ากันด้วยวิธีการแบบนี้ ซึ่งหากกดปุ่มเลือกแนวทางนี้ ก็ไม่ต่างจากการปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ หรือหากจะมองในฝั่งแนวต้านระบอบทักษิณ คงส่ายหน้า เพราะสิ่งที่ทำกันมา เสียของ สูญเปล่า สุดท้ายเชื่อร้ายของระบอบทุนสามานย์ก็ยังฝังแน่นในรากเหง้าการเมืองไทย เข้าอีหรอบ ปฏิรูปได้ แต่กำจัดระบอบทักษิณซึ่งเป็นต้นเหตุไม่ได้
       
       คราวนี้จึงถึงคราววัดใจ “คสช.” ว่า จะเคาะโต๊ะเลือกอย่างไหน
       
       อย่างไรก็ดี นอกจาก คสช.ต้องเด็ดเดี่ยวในการล้างบางเหล่านักการเมืองขี้ฉ้อที่ถูกป.ป.ช.ชี้มูลคดีถอดถอนแล้ว ยังต้องกล้าตัดสินใจไฟเขียวให้ ป.ป.ช. เดินหน้าพิจารณาคดีถอดถอนที่ยังไม่ได้ชี้มูลที่มีอยู่จำนวนมากอีกด้วย
       
       หลัง “ทีมงานสนามบินน้ำ” ชักออกลูกใจเสาะไม่กล้าวู่วามผลีผลามฟันฉับ กลับจำต้องชะลอไว้ก่อน เพราะกลัวจะโดนติฉินนินทาว่า น่าเกลียด ไม่ชอบธรรม หรือเล่นทีเผลอ แต่หากมีสัญญาณทางโล่งมาให้ รับรองเครื่องฉลุย
       
       ซึ่งการตัดสินใจเลือกทางนี้ แม้จะดูโหดร้าย และฮาร์ดคอร์เกินไป แต่ก็สอดคล้องกับปรัชญาการปฏิรูปประเทศของคสช. ที่กำลังเดินหน้าปฏิรูปยกเครื่องประเทศไทยแบบขนานใหญ่ โดยเฉพาะการขจัดปัญหาคอรัปชั่นให้หมดไปจากประเทศไทย และนักการเมืองกังฉินที่เกาะกินบ้านเมืองมาช้านาน จึงถือเป็นจังหวะดีมิใช่น้อย
       
       หมดเวลายำเกรงคนชั่ว เกรงใจคนเลว คิดจะปฏิรูปประเทศต้องทำแบบสุดซอย ทะลุซอย ไม่ให้การเข้าควบคุมอำนาจเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม สูญเปล่า เสียของ บทเรียนในอดีตมีให้เห็นสารพัดหากเดินแบบกั๊กๆ ไม่เต็มเท้า สุดท้ายจากหวังดีกลายเป็นประสงค์ร้ายต่อประเทศ
       
       ถึงคราวพิสูจน์ขนาดหัวใจของผู้มีอำนาจรัฏฐาธิปัตย์กันแล้ว!!

นี่มันความฝันชัดๆ! 7 บริษัทใจดีที่ใครๆก็อยากเข้าไปทำ เมื่อ 1 ส.ค.57



นี่มันความฝันชัดๆ! 7 บริษัทใจดีที่ใครๆก็อยากเข้าไปทำ
 
เพื่อนๆหลายคนคงกำลังหางานอยู่ใช่ไหมครับ?  วันนี้เหมียวจะพาไปรู้จักกับบริษัทสุดใจกว้าง ที่ดูแลพนักงานดุจญาติมิตร ให้เพื่อนๆประกอบการตัดสินใจสมัครงานกัน(แต่ต้องเก๋าพอตัวนะ) จะมีที่ไหนบ้างไปดูกันเล้ย…

1.Google
เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ Google ครองอับดับ 1 บริษัทใน “100 Best Companies to Work For” ตลอดสามปีที่ผ่านมา จากสาขามากมายทั่วโลก พร้อมอิสระในการทำงาน
เท่านั้นไม่พอที่ สำนักงานใหญ่ของ Google ยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกทั่ง ยิม ลานโบว์ลิ่ง ห้องเกม และสนามบาส ไว้คอยบริการพนักงานอีกด้วย!

2.Cisco
เป็นอีกบริษัทที่มนุษย์ใสใจสุขภาพเหมาะไปทำ เพราะ ห้องฟิตเนสของบริษัทนั้นไม่ธรรมดาอย่างยิ่ง มีทั้ง ห้องปฐมพยาบาล ห้องยา ห้องฝังเข็ม และห้องกายภาพบำบัด ในที่เดียว!

3.Yahoo
หากหลงไหลในสกีแล้ว การได้ทำงานที่บริษัทแห่งนี้ย่อมเป็นสวรรค์ย่อมๆเลยล่ะ เพราะ Yahoo จะมอบส่วนลดรีสอร์ทสกีให้กับพนักงานทุกคน รวมไปถึงส่วนลดในพิพิธพันธ์ ต่างๆอีก

4. WWF
(ไม่ใช่มวยปล้ำนะ) World Wildlife Fund มีแคมเปญพิเศษสำหรับพนักงานที่เรียกกันว่า ” Panda Fridays ” โดยจะอนุญาติให้ลูกจ้างสามารถทำ OT วันอื่นๆเพื่อหยุดในวันศุกร์ได้ด้วย!

5. Chesapeake Energy
เหมาะแกคนที่รักในการปีนเขาอย่างยิ่ง เพราะที่ Chesapeake Energy แห่งนี้มี กำแพงสำหรับปีนป่าย ไว้ให้นักปีนเขาได้ปีนเล่นกันอย่างสนุกสนาม คลายเครียดกับการทำงาน

6. Southwest Airlines
พนักงานจะได้สิทธิพิเศษบินฟรีทุกเที่ยว! และยังสามารถพกเพื่อน หรือคนในครอบครัวร่วมทางไปด้วย และยังได้ส่วนลดในการเดินทางสายการบินอื่นๆอีก

7.Epic Systems
มอบสิทธิพิเศษให้พนักงานที่ทำงานมากกว่า 5 ปี ได้พักร้อน 1 เดือนเต็มๆ!(แถมยังได้ตังค์ด้วยนะ) ยิ่งกว่านั้นหากพนักงานท่องเที่ยวในประเทศที่ไม่เคยไปมาก่อนแล้วเงินไม่พอ ทางบริษัทยินดีจ่ายเพิ่มให้อีกด้วย!

ที่มา : catdumb

บิ๊กกพฐ. เผยเตรียมทบทวนมาตรการดูแลนักเรียนใหม่ - ป้องกันทะเลาะรุนแรง เมื่อ 1 ส.ค.57



บิ๊กกพฐ. เผยเตรียมทบทวนมาตรการดูแลนักเรียนใหม่ - ป้องกันทะเลาะรุนแรง
 
บิ๊กกพฐ. เผยเตรียมทบทวนมาตรการดูแลนักเรียนใหม่ - ป้องกันทะเลาะรุนแรงซ้ำรอยคลิปรับน้องฉาว
 เมื่อวันที่ 31 ก.ค. ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)

เผยหลังจากดูคลิปที่เผยแพร่ในโลกออนไลน์ ซึ่งระบุว่าเป็นเหตุการณ์รับน้องในโรงเรียนแห่งหนึ่งว่า เข้าใจว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่การทะเลาะวิวาททั่วไป แต่เป็นการร่วมกลุ่มกันของเด็ก เพื่อลงโทษเด็กอีกคนอย่างเป็นระบบ จึงรู้สึกเป็นกังวลว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจะบานปลาย หากเป็นการทะเลาะวิวาทโดยมีคู่กรณีแค่ 1-2 คน ก็สามารถสะสางปัญหาได้ แต่พฤติกรรมของเด็กกลุ่มนี้แสดงให้เห็นว่ามีการวางแผนเตรียมการมาก่อน เหตุการณ์ลักษณะนี้จึงอาจเกิดขึ้นกับเด็กคนอื่นได้อีก และส่งผลกระทบในวงกว้าง

 "ปัญหาการทะเลาะวิวาทในกลุ่มนักเรียนเป็นเรื่องที่ให้ความสำคัญมาโดยตลอดจึงจะทบทวนและจัดระบบการดูแลปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสพฐ.อีกครั้ง โดยจะเรียกประชุมผู้เกี่ยวข้องในสัปดาห์หน้าเพื่อหารือและกำหนดมาตรการดูแลนักเรียนที่ชัดเจน ซึ่งอาจจะนำแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ในเรื่องการแก้ปัญหานักเรียนและนักศึกษาอาชีวศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาทมาเป็นต้นแบบ และปรับใช้ให้เหมาะสมกับปัญหาของนักเรียนในสังกัด สพฐ.ต่อไป" เลขาธิการ กพฐ.กล่าว

 รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับคลิปเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในโรงเรียนชื่อดังแห่งหนึ่งในพื้นที่กทม. 


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์ข่าวสด

ใครเป็นใคร ? ใน สนช. 200 คน ตรวจสอบได้ที่นี่ !!!เมื่อ 1 ส.ค.57



ใครเป็นใคร ? ใน สนช. 200 คน ตรวจสอบได้ที่นี่ !!!
 
 วันนี้ เวลา 21.30 น. ได้มีการ ประกาศแต่งตั้ง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 200 คน จากการตรวจสอบ สถานะและตำแหน่งของผู้ได้รับการแต่งตั้ง (เบื้องต้น) มีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้


1. นายกรรณภว์ ธนพรรคภวิน ที่ปรึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน

2. พลเรือโท กฤษฎา เจริญพานิช หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร

3. พลตรี กลชัย สุวรรณบูรณ์ อดีต ส.ว.ชุมพร

4. นายกล้านรงค์ จันทิก อดีตกรรมการป้องกันและปรามปรามการทุจริตแห่งชาติ

5. นางกอบกาญจน์ สุริยสัตย์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ประเทศไทย จำกัด

6. พลโท กัมปนาท รุดดิษฐ์ รองเสธ.ทบ. ผอ.ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป

7. นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ ที่ปรึกษาสำนักงานศาลปกครอง

8. พลเรือเอก กําธร พุ่มหิรัญ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ

9. นายกิตติ วะสีนนท์ อดีตเอกอัครราชทูต ประจำกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร

10. พลโท กิตติ อินทสร ผช.เสธ.ทบ.ฝ่ายข่าว

11. นายกิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น

12. พลเอก กิตติพงษ์ เกษโกวิท อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม

13. นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ รองประธานเครือข่ายชาวนาไทย

14. พลตรี กู้เกียรติ ศรีนาคา ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๒ รักษาพระองค์

15. พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ

16. พลเอก คณิต สาพิทักษ์ อดีตประธานที่ปรึกษากลาโหม

17. พลอากาศโท จอม รุ่งสว่าง รองเสธ.ทอ. บอร์ดบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด

18. พลเรือเอก จักรชัย ภู่เจริญยศ รองผู้บัญชาการทหารเรือ

19. พลตํารวจโท จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้ช่วย ผบ.ตร.

20. พลตรี จารึก อารีราชการัณย์ รองประธานและเลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย

21. พลเอก จิรพงศ์ วรรณรัตน์ อดีตที่ปรึกษากองทัพบก

22. พลเอก จีระศักดิ์ ชมประสพ อดีตแม่ทัพภาคที่ 2

23. พลเอก จิระเดช โมกขะสมิต ประธานที่ปรึกษากองทัพบก

24. นายแพทย์เจตน์ ศิรธรานนท์ อดีตส.ว.สรรหา

25. พลโท ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข รองเสนาธิการทหารบก ในฐานะรองผู้อำนวยการส่วนงานรักษาความสงบเรียบร้อย

26. นายเฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

27. พลโท เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ

28. พลอากาศเอก ชนะ อยู่สถาพร อดีตที่ปรึกษาพิเศษกองทัพอากาศ

29. พลอากาศเอก ชนัท รัตนอุบล ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ

30. พลเอก ชยุติ สุวรรณมาศ ที่ปรึกษาพิเศษกองบัญชาการกองทัพไทย

31. พลตํารวจเอก ชัชวาล สุขสมจิตร์ อธิบดีกรมสืบสวนคดีพิเศษ

32. นายชัชวาล อภิบาลศรี อดีตสนช.2549 อดีต ส.ว.แต่งตั้ง

33. พลตรี ชัยยุทธ พร้อมสุข ผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า

34. พลเรือเอก ชัยวัฒน์ เอี่ยมสมุทร ประธานที่ปรึกษากองทัพเรือ

35. พลโท ชาญชัย ภู่ทอง แม่ทัพภาคที่ 2

36. นายชาญวิทย์ วสยางกูร อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร

37. พลโท ชาตอุดม ติตถะสิริ ประธานโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก     รองเสนาธิการ ทหารบก

38. พลอากาศเอก ชาลี จันทร์เรือง อดีต ส.ว.สรรหา

39. พลเรือเอก ชุมนุม อาจวงษ์ หัวหน้าคณะเตรียมการปฏิรูป คสช.

40. พลเรือโท ชุมพล วงศ์เวคิน ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ ๒

41. นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

42. นายณรงค์ชัย อัครเศรณี อดีต รมว.พาณิชย์ อดีต ส.ว.แต่งตั้ง ประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม เอ็มเอฟซี จำกัด(มหาชน) และที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติและหนึ่งในคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)

43. พลอากาศเอก ณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน)

44. นายดิสทัต โหตระกิตย์ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา รักษาราชการแทนเลขาธิการ

45. พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง เสนาธิการทหารอากาศ

46. นายตวง อันทะไชย อดีต ส.ว.สรรหา

47. พลเอก ไตรรัตน์ รังคะรัตน ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชาการกองทัพไทย

48. พลอากาศโท ถาวร มณีพฤกษ์ รองเสนาธิการทหารอากาศ

49. พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด

50. พลอากาศเอก ทรงธรรม โชคคณาพิทักษ์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม
51. คุณหญิงทรงสุดา ยอดมณี นายกสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา บุตรสาวจอมพลถนอม กิตติขจร

52. พลเอก ทวีป เนตรนิยม ปลัดบัญชีทหาร


53. พลเรือเอก ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์ เสนาธิการทหารเรือ

54. นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน ประธานสภาคณาจารย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ นิด้า

55. พลอากาศเอก ธงชัย แฉล้มเขตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ

56. พลเรือโท ธราธร ขจิตสุวรรณ ผู้บัญชาการกองทัพเรือภาค 3

57. พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร อดีตแม่ทัพภาค 2

58. นายธานี อ่อนละเอียด อดีต ส.ว.สรรหา

59. พลโท ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ เจ้ากรมยุทธการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย

60. นายธํารง ทัศนาญชลี ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 11

61. พลโท ธีรชัย นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย(ผบ.กกล.รส.)

62. พลเอก ธีระวัฒน์ บุญยะประดับ อดีต รอง ผบ.ทบ.

63. พลเอก ธีรเดช มีเพียร อดีตประธานวุฒิสภา

64. พลเอก นพดล อินทปัญญา ที่ปรึกษาคสช. อดีตเลขานุการ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ สมัยดำรงตำแหน่ง รมว.กลาโหม

65. พลเรือเอก นพดล โชคระดา อดีตรองเสนาธิการทหาร

66. นายนรนิติ เศรษฐบุตร อดีตอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

67. นายนิพนธ์ นราพิทักษ์กุล ประธาน กกต.ปัตตานี อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี

68. นางนิพัทธา อมรรัตนเมธา อดีต ส.ว. ปทุมธานี อดีต ผวจ.ปทุมธานี

69. พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก ประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม

70. นายนิรวัชช์ ปุณณกันต์ อดีตที่ปรึกษาด้านกฎหมาย มท.

71. พลโท นิวัติ ศรีเพ็ญ ผู้ช่วยเจ้ากรมพระธรรมนูญ

72. นางนิสดารก์ เวชยานนท์ คณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

73. นายนิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

74. นายบุญชัย โชควัฒนา กรรมการอำนวยการบริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด

75. นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย (TMB) ประธานสมาคมธนาคารไทย

76. พลอากาศเอก บุญยฤทธิ์ เกิดสุข รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

77. พลเอก บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ อดีต ผบ.สส. หนึ่งในสมาชิกคมช. (2549)

78. พลตํารวจโทบุญเรือง ผลพานิชย์ อดีต ผู้ช่วย ผบ.ตร. (นรต.25 เพื่อนร่วมรุ่น พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ น้องชาย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธานที่ปรึกษาคสช.)

79. นายประดิษฐ์ วรรณรัตน์ อธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

80. นายประมุท สูตะบุตร อดีตผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย

81. นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ เป็นประธานกรรมการบริหาร บมจ.ธนาคารกรุงไทย (KTB) อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.

82. พลโท ปรีชา จันทร์โอชา แม่ทัพภาคที่ 3 และน้องชาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.

83. นายปรีชา วัชราภัย อดีตเลขาธิการ กพ.

84. พันตํารวจโท พงษ์ชัย วราชิต ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จำกัด
85. ร้อยตํารวจตรี พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีอาญา
86. นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย

87. พลตํารวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. และน้องชาย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ

88. คุณพรทิพย์ จาละ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

89. นายพรเพชร วิชิตชลชัย อดีตผู้ตรวจการแผ่นดิน อดีตสนช. ที่ปรึกษาหัวหน้าคสช.

90. นายพรศักดิ์ เจียรณัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ

91. พลเรือเอก พลวัฒน์ สิโรดม ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ

92. พลเรือเอก พิจารณ์ ธีรเนตร ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ

93. พลตํารวจเอก พิชิต ควรเดชะคุปต์ อดีตผู้ช่วย ผบ.ตร. อดีต ส.ว.กทม. และอดีต ส.ว.สรรหา

94. พลเอก พิรุณ แผ้วพลสง อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

95. พลโท พิสิทธิ์ สิทธิสาร แม่ทัพน้อยที่ 1

96. นายพีระศักดิ์ พอจิต อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดอุตรดิตถ์

97. นางพิไลพรรณ สมบัติศิริ อดีต ส.ว.สรรหา เจ้าของโรงแรมปาร์คนายเลิศ

98. พลอากาศเอก เพิ่มเกียรติ ลวณะมาลย์ รองผู้บัญชาการทหารอากาศ

99. พลเอก ไพชยนต์ ค้าทันเจริญ รอง ปลัดกระทรวงกลาโหม

100. พลอากาศเอก ไพศาล สีตบุตร ผู้ช่วยผบ.ทอ. พี่ชายพลเอกอุดมเดช สีตบุตร รอง ผบ.ทบ.

101. พลตรี ไพโรจน์ ทองมาเอง ผบ.พล.ร.9 

102. พลเอก ไพโรจน์ พานิชสมัย อดีต รอง ผบ.สส.

103.นายภัทรศักดิ์ วรรณแสง เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม

104.นายภาณุ อุทัยรัตน์  เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้

105. พลโท ภาณุวัชร นาควงษม์ ผู้ช่วย เสธ.ทบ.

106. นายภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

107. นายมณเฑียร บุญตัน นายกสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย อดีต ส.ว.สรรหา

108.  นายมนตรี ศรีเอี่ยมสะอาด ผู้พิพากษาศาลฎีกา

109.  นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย

110. พลเอก มารุต ปัชโชตะสิงห์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองบัญชากองทัพไทย

111. พลเอก ยอดยุทธ บุญญาธิการ ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานบอร์ดรฟม.

112. นายยุทธนา ทัพเจริญ อดีตผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)

113. พลเรือเอก ยุทธนา ฟักผลงาม อดีตรองผบ.สส.

114.  พลเอก ยุวนัฏ สุริยกุล ณ อยุธยา อดีตผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ทบ. 

115. นายรัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

116.  พลเอก เลิศฤทธิ์ เวชสวรรค์ อดีต ส.ว.สรรหา

117.  พลเอก วรพงษ์ สง่าเนตร รอง ผบ.สส.

118. พลโท วลิต โรจนภักดี แม่ทัพภาคที่ 4 (ตท.15) - อดีต ผบ.พล.ร.2 รอ (บูรพาพยัคฆ์)

119.  พลตํารวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

120.  นายวันชัย ศารทูลทัต อดีตอธิบดีกรมเจ้าท่าและปลัดกระทรวงคมนาคม

121. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ (ครูหยุย)  อดีตสมาชิกวุฒิสภา 2 สมัย (ส.ว.แต่งตั้ง และ ส.ว.กทม.) และสนช. (2549)

122.  พลเรือเอก วัลลภ เกิดผล อดีต รองผบ.สส. (ตท.10)

123. พลเอก วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา อดีตประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก

124. พลเอก วิชิต ศรีประเสริฐ หัวหน้าคณะฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา ทบ.

125.  นายวิทยา ฉายสุวรรณ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

126. นายวิทวัส บุญญสถิตย์ อดีต ส.ว.สรรหา อดีต สสร.ปี 50 

127 . พลตํารวจโท วิบูลย์ บางท่าไม้ อดีต ผบช.สตม.

128. พลเอก วิลาศ อรุณศรี ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก

129.  พลเรือโท วีระพันธ์ สุขก้อน ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ ๑

130. นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ

131.  พลโท วีรัณ ฉันทศาสตร์โกศล ผบ.หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ

132. นายวุฒิชัย กปิลกาญจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

133.  นายวุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง

134 . นายศรีศักดิ์ ว่องส่งสาร อดีตรองผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน)

135. นายศักดิ์ชัย ธนบุญชัย อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) 2549 และ อดีต ส.ว.สรรหา อดีตผู้บริหารเป๊ปซี่

136. นายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ ประธานกรรมการ บริษัท แนเชอรัล พาร์ค จำกัด (มหาชน) อดีตเอกอัครราชทูต

137. นายศิระชัย โชติรัตน์ อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

138. พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล เสนาธิการทหาร 

139. นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์

140. พลอากาศเอก ศิวเกียรติ์ ชเยมะ รอง เสธ.ทอ.

141. พลเรือเอก ศิษฐวัชร วงษ์สุวรรณ อดีตส.ว.สรรหา

142. พลโท ศุภกร สงวนชาติศรไกร ผู้ช่วย ส.ว. ฝ่ายส่งกำลังบำรุง

143. พลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์ อดีตรองผบ.สส. ที่ปรึกษารองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช.

144.  พลเอก สกล ชื่นตระกูล ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการส่วนหน้า คสช.

145. นายสถิตย์ สวินทร อดีตอธิบดีกรมป่าไม้

146. พลเรือโท สนธยา น้อยฉายา ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน

147. นายสนิท อักษรแก้ว ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

148. นายสม จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พี่ชายนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษา คสช.

149. นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

150.นายสมชาย แสวงการ อดีต ส.ว.สรรหา 

151. นายสมพล เกียรติไพบูลย์ อดีตประธานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)

152. นายสมบูรณ์ งามลักษณ์ อดีต ส.ว.สรรหา

153. นายสมพร เทพสิทธา อดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

154.. นายสมพล พันธุ์มณี อดีตเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549-50

155. พลตํารวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง รองผบ.ตร

156. นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ

157 . พลเอก สมหมาย เกาฏีระ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (ตท.15)

158 . พลเอก สมเจตน์ บุญถนอม อดีต ส.ว.สรรหา

159. พลตรี สมโภชน์ วังแก้ว ผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ ๒ รักษาพระองค์

160. นายสรณ บุญใบชัยพฤกษ์ รองศาสตราจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

161. พลอากาศเอก สฤษดิ์พงษ์ โกมุทานนท์ รองผู้บัญชาการทหารอากาศ

162. พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร ที่ปรึกษาพิเศษ ทบ.

163. นายสาธิต ชาญเชาวน์กุล อดีตเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

164. นายสีมา สีมานันท์ อดีตเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

165. พลโท สุชาติ หนองบัว ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายกำลังพล

166. พลอากาศเอก สุทธิพันธ์ กฤษณคุปต์ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพอากาศ

167. นายสุธรรม พันธุศักดิ์ อดีต ส.ว.สรรหา

168. นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

169. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธานกรรมการ กกอ.

170. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย อดีต รองประธานวุฒิสภา

171. พลโท สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รองเสนาธิการทหารบก

172. พลเอก สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์ รองเสนาธิการทหาร

173. พลเอก สุรวัช บุตรวงษ์ หัวหน้าศูนย์ประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้าน ศปก.ทบ.

174. พลเรือเอก สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ อดีต ผบ.ทร.

175. นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์ กรรมการบริหารบริษัทคอลเกต ปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย)

176. พลโท สุวโรจน์ ทิพย์มงคล หัวหน้านายทหารประสานงานการพัฒนาระบบราชการ ส่วนประสานงานการพัฒนาระบบราชการกลาโหม

177. นางสุวิมล ภูมิสิงหราช อดีตเลขาธิการวุฒิสภา

178. นางเสาวณี สุวรรณชีพ อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย

179. พลเอก โสภณ ศีลพิพัฒน์ อดีต ส.ว.สรรหา

180. พลเอก อกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ประสานงานชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน กองทัพบก อดีตหัวหน้าผู้ประสานงานชายแดนไทย-มาเลเซีย และอดีตผู้ขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพกับกลุ่มขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี(บีอาร์เอ็น) และกลุ่มพูโล

181. พลเอก องอาจ พงษ์ศักดิ์ อดีต ส.ว.กาญจนบุรี

182. พลอากาศเอก อดิศักดิ์ กลั่นเสนาะ ประธานที่ปรึกษากองทัพอากาศ

183. พลโท อดุลยเดช อินทะพงษ์ เจ้ากรมการเงินกลาโหม

184. พลโท อนันตพร กาญจนรัตน์ ปลัดบัญชีกองทัพบก

185. นายอนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ อดีตอธิบดีกรมที่ดิน

186. นายอนุศาสน์ สุวรรณมงคล อดีต ส.ว.ปัตตานี และอดีตส.ว.สรรหา และกรรมการผู้จัดการ โรงแรม ซี.เอส. ปัตตานี

187. พลเรือเอก อมรเทพ ณ บางช้าง รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด (เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานคณะที่ปรึกษา ทร. เคยถูก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เอ่ยถึงในคลิป "ถั่งเช่า")

188. นางสาวอรจิต สิงคาลวณิช อดีตอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

189 . พลเอก อักษรา เกิดผล เสนาธิการทหารบก

190. พลอากาศเอก อาคม กาญจนหิรัญ อดีต ส.ว.สรรหา

191. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

192. พลอากาศเอก อานนท์ จารยะพันธุ์ หน.ฝสธ.ประจำ ผบ.ทอ.

193 . นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรี ประธานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย อดีตสมาชิกวุฒิสภาแต่งตั้ง (ปี 2539)

194 . นายอําพน กิตติอําพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี

195 . พลโท อําพล ชูประทุม รอง.เสธ.ทบ.

196 . พลตรี อินทรัตน์ ยอดบางเตย นายกสมาคมยกน้ำหนักแห่งประเทศไทย อดีต ส.ว.เชียงใหม่

197 . พลอากาศเอก อิทธพร ศุภวงศ์ อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ

198 . นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานสภาหอการค้าไทย

199 . พลเอก อู้ด เบื้องบน อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม นายทหารคนสนิท พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

200. พลตํารวจเอก เอก อังสนานนท์ รอง ผบ.ตร.
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์มติชน