วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ปลอมเอกสารย้ายถวิล ‘ยิ่งลักษณ์’ส่อชะตาขาดศาลรธน.พิพากษา7พ.ค.ปปช.จ่อดาบสองโกงข้าว เมื่อ 7 พ.ค.57

ปลอมเอกสารย้ายถวิล ‘ยิ่งลักษณ์’ส่อชะตาขาดศาลรธน.พิพากษา7พ.ค.ปปช.จ่อดาบสองโกงข้าว


ปลอมเอกสารย้ายถวิล ‘ยิ่งลักษณ์’ส่อชะตาขาดศาลรธน.พิพากษา7พ.ค.ปปช.จ่อดาบสองโกงข้าว

 ชี้ชะตาประเทศ ศาลรัฐธรรมนูญนัดอ่านคำวินิจฉัยสถานะ “ยิ่งลักษณ์” วันพุธเที่ยง คดีโยก “ถวิล” มิชอบ จ่อซ้ำรอยชำเรารัฐธรรมนูญ มั่วนิ่มออกหนังสือโอนย้ายวันอาทิตย์ อึ้ง! ปูให้การโยนภาระให้รัฐมนตรีเป็นทิวแถว อ้างนายกฯ แค่ทำหน้าที่ตรายางไม่มีอำนาจตัดสินใจ “วิเชียร” รับหน้าตาเฉยสมัครใจย้ายตัวเอง “ธาริต” เชลียร์จนหยดสุดท้าย ออกแถลงการณ์ข่มขู่ สั่งห้ามตัดสินยกพวง “ป.ป.ช.” รอฟันดาบ 2 นัดชี้มูลจำนำข้าว 8 พ.ค. ทะแม่ง! “ยิ่งลักษณ์” บินประชุมเมียนมาร์ 10-11 พ.ค. เมื่อวันอังคาร นายจรูญ อินทจาร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ตศร.) รวม  9 คน ได้ออกนั่งบัลลังก์ไต่สวนพยาน 4 ปาก ตามคำร้องที่ประธานวุฒิสภาส่งความเห็นของนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหากับคณะ ขอให้วินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) ประกอบมาตรา 268 หรือไม่จากกรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยพยานทั้ง 4 ปาก คือ 1.นายไพบูลย์ 2.น.ส.ยิ่งลักษณ์ 3.พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และอดีตเลขาธิการ สมช. และ 4.นายถวิล ซึ่งทั้งหมดได้เดินทางมาให้ปากคำด้วยตัวเอง ทั้งนี้ นายบุญส่ง กุลบุปผา ตศร. ระบุว่า การไต่สวนได้กำหนดประเด็นพิจารณาไว้ 3 ประเด็น ประกอบด้วย  1.เมื่อยุบสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ปัญหาที่ต้องพิจารณานายกฯ พ้นจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 180 วรรคหนึ่ง (2) ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงแล้วหรือไม่ 2.การกระทำของนายกฯ เป็นการกระทำการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (2) (3) เป็นการทำให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกฯ ต้องสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคหนึ่งหรือไม่ และ 3.เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกฯ สิ้นสุดลง ตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) จะทำให้ความเป็นรัฐมนตรีของคณะรัฐมนตรีทั้งคณะต้องสิ้นสุดลงด้วยหรือไม่ทั้งนี้ นายไพบูลย์ได้ขึ้นเบิกความเป็นคนแรก โดยได้ยกคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่วินิจฉัยคดีนายถวิลใน 3 ประเด็นหลัก และได้สรุปว่า นายกฯ ได้ใช้สถานะเข้าไปแทรกแซงให้นายถวิลพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการ สมช. เพื่อเปิดช่องให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ อดีต ผบ.ตร. เครือญาติของนายกฯ ขึ้นเป็น ผบ.ตร. เป็นการกระทำการต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 มีผลให้ความเป็นรัฐมนตรีต้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7)นายไพบูลย์ยังชี้ว่า เมื่อตำแหน่งนายกฯ สิ้นสุดลง ก็ไม่สามารถอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ ตำแหน่งจึงว่างลง จึงต้องมีนายกฯ คนใหม่ทันที ซึ่งจากแนวปฏิบัติการที่ผ่านมา ไม่ควรเกิน 7 วัน และเมื่อนายกฯ ได้กระทำการต้องห้าม คณะรัฐมนตรีทั้งคณะที่มีส่วนร่วมในการอนุมัติก็ต้องพ้นจากตำแหน่งร่วมรับผิดชอบสิ้นสภาพลงไปด้วยจากนั้น ตศร.ได้เปิดโอกาสให้นายสมหมาย กู้ทรัพย์   ผู้รับมอบอำนาจจากนายกฯ ได้ซักค้าน ซึ่งก็ได้เน้นไปที่กรณีนายไพบูลย์ไปขึ้นเวทีการชุมนุมของ กปปส. และเทียบเคียงการโยกย้ายนายถวิลกับ พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา ในยุคนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกฯ หรือไม่ รวมถึงยังซักค้านในประเด็นเรื่องเครือญาติว่าตามกฎหมาย พล.ต.อ.เพรียวพันธ์เป็นเครือญาติหรือไม่โดยนายไพบูลย์ได้ตอบคำถามว่า การขึ้นเวที กปปส. เป็นการปราศรัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 45 ส่วนการโยกย้ายของนายถวิลและ พล.ท.สุรพล ก็มองว่าแตกต่างกัน ในขณะที่คำว่าเครือญาติ ตามนิตินัยและพฤตินัย คำว่าเครือญาติจะใช้กับคำว่าพฤตินัยชี้หย่ายังเป็นเครือญาติจากนั้น ตศร.ได้เริ่มซักถาม โดยนายบุญส่งถามว่า เข้าใจคำว่าแทรกแซงมากน้อยเพียงใด นายไพบูลย์ตอบว่า คำว่าแทรกแซงคือการเข้าไปเกี่ยวข้องในกระบวนการที่ไม่ถูกต้อง เป็นกระบวนการทำเพื่อให้เกิดประโยชน์กับตัวเองและผู้อื่น ในขณะที่นายจรูญระบุว่า อยากให้ช่วยอธิบายความหมายของคำว่าเครือญาติ มีเกี่ยวข้องกับนายกฯ อย่างไร นายไพบูลย์ตอบว่า ข้อเท็จจริงเป็นญาติผู้ใกล้ชิดในระดับที่มากกว่าความเป็นมิตรสหายคนรู้จักกันตามปกติ เพราะ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์เป็นพี่ชายของพี่สะใภ้ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ แม้จะอ้างว่าพี่ชายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และน้องสาวของ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ได้หย่าร้าง แต่ความเป็นเครือญาติยังคงอยู่นายสุพจน์ ไข่มุกด์ ตศร. ถามว่า นายกฯ ได้ประโยชน์อะไรจากการโยกย้ายนายถวิลเพื่อให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์เป็น ผบ.ตร. นายไพบูลย์ตอบว่า เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเครือญาติ เพราะ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ใกล้เกษียณอายุ ถ้าไม่รีบย้ายหรือเลื่อนตำแหน่งในเวลานั้นก็จะไม่ได้เลื่อนเพราะหมดอายุราชการ  ขณะที่นายจรัญ ภักดีธนากุล ตศร. ได้ซักถามในเรื่องเอกสารโยกย้ายนายถวิลที่ลงวันที่ 4 ก.ย. ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ แต่ในเอกสารระบุการให้ความเห็นชอบนั้น ระบุว่าให้ความเห็นชอบลงวันที่ 5 ก.ย. ซึ่งตรงกับวันจันทร์ พยานรู้เห็นเกี่ยวกับกระบวนการที่เอกสารคลาดเคลื่อนแบบนี้หรือไม่ นายไพบูลย์ตอบว่า ดูจากห้วงเวลาทราบว่าจะมีการประชุม ครม.เพื่ออนุมัติในวันที่ 6 ก.ย. ซึ่งวันที่ 4 ก.ย.ตรงกับวันอาทิตย์ เป็นการเร่งรัดแบบผิดสังเกต กระทำกันในวันอาทิตย์ และเร่งรัดเซ็นโดยอ้างว่ารัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ เห็นชอบแล้ว แต่เป็นการเห็นชอบโดยวันถัดไป ถือว่าเป็นการเร่งรัดอย่างผิดปกติต่อมานายจรัญยังได้ขอให้นายไพบูลย์ดูเอกสารที่ศาลได้เรียกมาจากทางสำนักนายกฯ โดยเป็นเอกสารจากหน่วยงานเดียวกัน เรื่องเดียวกัน แต่ลงวันที่ 5 ก.ย. โดยให้ตรวจดูเอกสาร 2 ฉบับเทียบกันว่าเป็นเอกสารคนละฉบับหรือฉบับเดียวกัน ทั้งๆ ที่เลขที่เดียวกัน เนื้อหาเหมือนกันหมด แต่เหตุใดจึงลงวันที่ 5 ก.ย. ซึ่งนายไพบูลย์ตอบว่า เอกสารเลขเดียวกัน แต่ลงวันที่คนละวัน คงต้องเป็นเอกสารที่ไม่ถูกต้อง มีประเด็นโต้แย้งกันว่าไปอนุมัติกันก่อน ส่วนตัวก็เพิ่งทราบว่ามีหนังสือ 2 ฉบับที่เนื้อหาเหมือนกันแต่ลงวันที่คนละฉบับ ในเวลาต่อมา น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้ขึ้นให้การ โดยได้อารัมภบทถึงความเป็นนายกฯ ที่ทำตามกฎหมาย และในการบริหารได้มอบอำนาจให้รองนายกฯ และรัฐมนตรีมีอำนาจเป็นเด็ดขาด โดยได้มอบให้ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ในฐานะรองนายกฯ ดูแล สมช. ส่วน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ รับผิดเห็นชอบ สตช. และสำนักเลขาธิการนั้น ได้มอบให้กับ น.ส.กฤษณา สิงหรักษ์ ดูแล และโอกาสนี้ขอปฏิเสธพฤติกรรมต่างๆ ที่ถูกกล่าวหาว่าเพราะได้มอบอำนาจให้กับคณะรัฐมนตรีในการกำกับ สั่งการ และมีความรับผิดชอบนั้น ในฐานะนายกฯ ไม่ได้ก้าวก่ายหรือใช้อำนาจบริหารเข้าไปแทรกแซงแต่อย่างใด“การมอบอำนาจนั้น คณะรัฐมนตรีต้องใช้ดุลพินิจในการพิจารณา รวมถึงการตัดสินใจในการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อประโยชน์สูงสุดโดยรวม ซึ่งไม่ได้มีพฤติกรรมการตามที่กล่าวหาว่าจะมีพฤติกรรมในการคาดเดาเหตุการณ์ล่วงหน้า หรือวางแผนเป็นระบบเป็นตอน ไม่ได้ทำในส่วนที่กฎหมายห้ามไว้แต่อย่างใด นอกจากนั้นการพิจารณาการบริหารราชการแผ่นดิน ต้องยึดประโยชน์สูงสุดของประชาชน รัฐสภา และประเทศ โดยไม่ได้คำนึงผลประโยชน์ของความเป็นเครือญาติ ดังนั้นในประเด็นที่ถูกกล่าวหาว่าก้าวก่ายไปยังเครือญาติ ก็ต้องขอกราบเรียนท่านตุลาการที่เคารพว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้หย่าขาดกับคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ เป็นทางการแล้ว ซึ่งในส่วนของการหย่าร้างนั้น ไม่มีส่วนเกี่ยวพันการพิจารณาเกี่ยวกับญาติแต่อย่างใด”น.ส.ยิ่งลักษณ์ระบนายกฯ แค่ตรายางต่อมานายไพบูลย์ได้ซักค้านว่า กรณีที่บันทึกถ้อยคำที่ว่า ความเป็นนายกฯ ไม่สามารถสิ้นสุดลงซ้ำ 2 อีก กรณีนี้อาจเปรียบได้กับคนที่ตายไปแล้วจะมาตายด้วยเหตุอื่นๆ อีกไม่ได้สิ่งที่ยกมานั้น จะเทียบเคียงกับคดีนี้ได้แบบไหน อย่างไร ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ตอบว่า ได้มีการยุบสภาไปแล้ว เป็นการคืนอำนาจของฝ่ายบริหาร ไม่มีสถานะนายกฯ ใน ครม.ปัจจุบันนายจรูญได้ซักถามถึงเหตุผลการโยกย้าย พล.ต.อ.วิเชียร จากเลขาธิการ สมช.ไปเป็นปลัดคมนาคม รวมถึงหลักเกณฑ์ในการตัดสินใจ ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ได้พยายามย้ำว่า เป็นดุลพินิจและความรับผิดชอบของรัฐมนตรีต่างๆ ที่ได้มอบอำนาจให้ ตนเองในฐานะประธานของ ครม. และผู้ลงนามในฐานะผู้เห็นชอบให้เสนอเข้า ครม.เท่านั้น ไม่มีอำนาจตัดสินใจใช้ดุลพินิจของนายกฯ แต่อย่างใด และ พล.ต.อ.วิเชียรก็มีความสมัครใจย้ายมาตำแหน่งนี้ด้วย ไม่มีการขู่เข็ญใดๆ ส่วนเรื่องของหนังสือลงวันที่ 4 ก.ย.นั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็ระบุว่าไม่ทราบ เป็นเรื่องของฝ่ายปฏิบัติด้านนายถวิลได้ชี้แจงตอกย้ำว่า มีการดำเนินการโยกย้ายอย่างเร่งรีบ ตั้งแต่การโยกย้ายตนเอง การเอา พล.ต.อ.วิเชียรเข้ามาแทน และการแต่งตั้ง พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ โดยทั้ง 3 ตำแหน่งใช้ระยะเวลาไม่ถึง 2 เดือน ถือว่าเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันมา นายจรูญได้ซักถามว่า ลักษณะเช่นนี้เป็นการแทรกแซงหรือไม่ อย่างไร ซึ่งนายถวิลกล่าวว่า ไม่ทราบว่าแทรกแซงก้าวก่ายหรือไม่ แต่เรียนสรุปว่า เห็นว่าทั้งสองเรื่องนี้เกี่ยวพันกัน และเป็นลักษณะแบ่งงานเป็นกระบวนการเดียวกัน ส่วนนายจรัญได้ซักถามถึง เอกสารลงวันที่ 4 ก.ย.2554 ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ โดยนายถวิลระบุว่า หนังสือจาก พล.ต.อ.โกวิทแจ้งว่า น.ส.กฤษณาเห็นชอบพร้อมรับโอนแล้ว แต่มีหนังสือลงวันที่ 5 ก.ย.2554 เห็นชอบการรับโอน คิดว่ามีการแก้ไขวันที่ เพราะหนังสือมีความลักลั่นพล.ต.อ.วิเชียรเบิกความถึงเรื่องการให้สัมภาษณ์เคล้าน้ำตาในการถูกโยกย้ายว่า เสียใจ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ที่ออกมาตำหนิรุนแรง จึงได้ปรึกษากับพล.ต.อ.โกวิทว่าคงไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ จึงได้รับการทาบทามจาก พล.ต.อ.โกวิทให้ย้ายไปอยู่ สมช. ซึ่งสมัครใจย้ายด้วยความเต็มใจ ไม่มีการบังคับขู่เข็ญ หรือต่อรองให้ผลประโยชน์ใดๆ ซึ่งนายกฯ เองไม่เคยตำหนิติฉิน ไม่เคยทาบทาม ไม่เคยเสนอเงื่อนไข ให้คำแนะนำแต่อย่างใด  และหลังจากไต่สวนพยานทั้ง 4 ปากเสร็จสิ้น นายจรูญได้สั่งพักการประชุม 10 นาที ก่อนออกนั่งบัลลังก์อีกครั้ง โดยระบุว่า ตศร.ได้ฟังคำชี้แจงและแก้ข้อกล่าวหาของทั้งฝ่ายผู้ร้องและผู้ถูกครบถ้วนแล้ว ศาลจึงนัดอ่านคำวินิจฉัยวันที่ 7 พ.ค. ในเวลา 12.00 น. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกฯ กล่าวว่า นายกฯ มั่นใจในการสู้คดี ทั้งนี้ ในการนัดอ่านคำวินิจฉัยของศาลในวันที่ 7 พ.ค. นายกฯ ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปรับฟังคำวินิจฉัยด้วยตัวเอง สามารถมอบหมายให้ใครไปแทนก็ได้ศอ.รส.ข่มขู่ศาลซ้ำต่อมาในเวลา 15.45 น. นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขานุการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ได้อ่านแถลงการณ์ ศอ.รส. ฉบับที่ 3 เรื่อง ข้อเรียกร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ และกลุ่มผู้สนับสนุนกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เพื่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบเรียบร้อย โดยพุ่งเป้าไปที่ศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัย น.ส.ยิ่งลักษณ์คดีนายถวิลเป็นหลัก โดยเฉพาะมีการนำข้อเสนอแนะของนายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ที่โจมตีศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องการไม่มีอำนาจพิจารณา เพราะยังไม่มีการตราพระราชบัญญัติ  รวมทั้งยังวิจารณ์คำวินิจฉัยของศาลในหลายคดีที่ผ่านมาว่าก้าวล่วงการใช้อำนาจอธิปไตยขององค์กรอื่น นายธาริตยังแถลงยกกรณีคำวินิจฉัยในคดีในนายสมัคร สุนทรเวช มาเทียบเคียงกับคดี น.ส.ยิ่งลักษณ์ด้วย ว่าควรเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ เพราะหากผลของคำวินิจฉัยแตกต่างกัน ก็จะทำให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ถึงการพิจารณาวินิจฉัยคดีที่ขาดมาตรฐาน และความน่าเชื่อถือตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้“ศอ.รส.ได้รับทราบข้อมูลด้านการข่าวว่ามีความพยายามของกลุ่มบุคคลที่สนับสนุนแนวทางทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง เรียกร้องให้การวินิจฉัยของศาลไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย แล้ววินิจฉัยให้เกินเลยไปที่จากรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ถึงขั้นยกเว้นใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา เช่น มาตรา 181 เป็นการปูทางสู่คำวินิจฉัยที่จะสร้างสุญญากาศทางการเมืองตามที่กลุ่ม กปปส.และกลุ่มเคลื่อนไหวบางกลุ่มต้องการเพื่อนำไปสู่การทูลเกล้าฯ ถวายขอพระราชทานนายกฯ และ ครม.ชุดใหม่ ซึ่งอ้างมาตรา 3 และมาตรา 7 ในขณะที่กลุ่ม นปช.และกลุ่มเคลื่อนไหวบางกลุ่มก็จะไม่ยอมรับการวินิจฉัย ซึ่งขณะนี้ได้ปรากฏเป็นข้อมูลและข้อเท็จจริงของการเผชิญหน้า และการท้าทายที่จะจัดการชุมนุมใหญ่ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย และจะนำไปสู่การปะทะกัน และก่อเหตุร้ายต่อกันและกันแล้ว” นายธาริตระบุนายธาริตยังโจมตีข้อเสนอทางออกประเทศไทยของนายอภิสิทธิ์ว่า เป็นข้อเสนอเพื่อปูทางหรือสนับสนุนให้ศาลรัฐธรรมนูญได้พิพากษางดใช้มาตรา 181 หรือพิพากษาให้นายกฯ และ ครม.พ้นไปโดยถือว่าเป็นกรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 181 ซึ่งความมุ่งหมายอันแท้จริงของนายอภิสิทธิ์ จึงมีอย่างเดียวคือโน้มน้าวชักจูงให้ประชาชนหลงเชื่อโดยเข้าใจผิดว่าสิ่งที่ศาลกำลังจะพิจารณาพิพากษาให้เกิดสุญญากาศนั้น เป็นความเหมาะสมที่พึงกระทำได้ ดังนั้นข้อเสนอของนายอภิสิทธิ์ที่เรียกว่าทางออกแท้จริงคือหนึ่งในกระบวนการทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง “ศอ.รส.ขอเรียกร้องศาลรัฐธรรมนูญด้วยความเคารพต่อองค์กร และเห็นถึงความสำคัญ ขอให้ศาลได้พิจารณาและวินิจฉัยคดีอย่างตรงไปตรงมา เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญโดยยึดถือจริยธรรมตามรัฐธรรมนูญ และคำถวายสัตย์ปฏิญาณ และขอให้กลุ่มบุคคลอันได้แก่นักวิชาการต่างๆ โดยเฉพาะนายอภิสิทธิ์  ที่สนับสนุนแนวทางทำให้เกิดสุญญากาศยุติบทบาทการแสดงความคิดเห็น” นายธาริตกล่าว และว่า การดำเนินการของ ศอ.รส.ครั้งนี้เป็นการป้องกัน ระงับ ยับยั้งและแก้ไขหรือบรรเทาเหตุการณ์ความไม่สงบที่จะเกิดขึ้น ซึ่งความเห็นและดำเนินการของ ศอ.รส.ครั้งนี้ไม่ได้ขอให้ฝ่ายทหารร่วมมีความเห็นและดำเนินการด้วยเพื่อแม้วฟุ้งมีแผนรับมือนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย กล่าวว่า พรรคได้เตรียมแผนรองรับคำวินิจฉัยไว้แล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่เชื่อว่าหากศาลตัดสินให้ ครม.สิ้นสภาพทั้งคณะ ย่อมนำมาสู่ความวุ่นวายแน่นอน เนื่องจากรัฐบาลสิ้นสภาพตั้งแต่วันที่ 9 ธ.ค.แล้ว แต่ต้องอยู่รักษาการตามมาตรา 181 จนกว่าจะมีรัฐบาลชุดใหม่นายสมคิด เชื้อคง อดีต ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ที่ประชุม ส.ส.เพื่อไทยได้ประเมินถึงคำตัดสินของศาลในวันที่ 7 พ.ค. ซึ่งทางที่เลวร้ายสุดคือ นายกฯ พ้นสภาพ คงไม่เลวร้ายขนาดให้ ครม.ทั้งคณะพ้นไปด้วย และยิ่งดูเรื่องที่ กกต.ยังไม่ยอมส่ง พ.ร.ฎ.เลือกตั้งเข้า ครม. ก็ดูเหมือนองค์กรอิสระเล่นดนตรีแม้จะคนละคีย์ แต่ก็เป็นเพลงเดียวกัน ซึ่งท่าทีประชาชนคงไม่ต้องให้ใครไปยุ หากเขารับไม่ได้คงออกมาเองโดยอัตโนมัติ เราไม่ยี่หระ ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร พร้อมสู้ทุกประตู นายธนาวุฒิ วิชัยดิษฐ โฆษก นปช. กล่าวว่า ไม่ว่าศาลจะตัดสินไปในทิศทางใด จะประเมินสถานการณ์เป็นวันต่อวัน ยิ่งศาลตัดสินเป็นลบ จะยิ่งเรียกแขกมากเท่านั้น โดยคนเสื้อแดงยังจัดชุมนุมในวันที่ 10 พ.ค.ที่ถนนอักษะ ย่านพุทธมณฑลเช่นเดิม ส่วนก่อนหน้านี้ก็มีแผนว่าในวันที่ 7-9 พ.ค.จะปราศรัยในจังหวัดต่างๆ ก็ต้องยกเลิก แต่จะจัดปราศรัยที่ชั้น 6 ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียลลาดพร้าว ในวันที่ 7 พ.ค.แทนนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวชื่นชมที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์เดินทางไปชี้แจงคดีโยกย้ายนายถวิลด้วยตัวเองว่า ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีว่า แต่เมื่อชี้แจงแล้วก็ขอให้ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลด้วยไม่ว่าผลคำวินิจฉัยจะออกมาในรูปแบบใดก็ตามนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษก กปปส. กล่าวเช่นกันว่า ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเคารพและยอมรับคำวินิจฉัยของศาล ซึ่งความวุ่นวายหากเกิดขึ้น ก็ไม่ได้มาจากคำวินิจฉัย แต่เกิดจากการที่รัฐบาลและคนในรัฐบาลไม่ยอมรับคำวินิจฉัย ซึ่งในวันที่ 7 พ.ค. กปปส.จะไม่เดินทางไปที่ศาล เพราะเราไม่ต้องการไปกดดันการทำหน้าที่  ซึ่งหากศาลวินิจฉัยไปในทิศทางที่ทุกฝ่ายยอมรับ เราก็ยังยืนยันในทิศทางการเคลื่อนไหวเดิม แต่หากรัฐบาลไม่ยอมรับ ก็อาจส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของ กปปส. นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่ประธานวุฒิสภา กล่าวระหว่างให้การต้อนรับคณะนักศึกษาแลกเปลี่ยนคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตอนหนึ่ง ว่าในหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยไม่ได้มีแค่การเลือกตั้งเท่านั้น สิ่งที่ควรจะให้ความสำคัญมากที่สุดคือประชาธิปไตยผ่านตัวแทนที่มีการตรวจสอบถ่วงดุล ส่วนแนวทางของการเสนอนายกฯ ตามมาตรา 7 ก็เป็นความคิดของคนคนหนึ่งในสังคม หากเกิดในกรณีเลือกตั้งไม่เกิดขึ้น แต่ตอนนี้เรื่องข้อถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องการเลือกตั้งยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าจะปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง หรือเลือกตั้งก่อนปฏิรูป ซึ่งหากการเลือกตั้งเกิดขึ้นแนวคิดของนายกฯ มาตรา 7 ก็อาจไม่เกิดขึ้น และอาจไม่ใช้คำตอบสุดท้าย วันเดียวกัน มีรายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในที่ 6 พ.ค. คณะทำงานชุดไต่สวนกรณีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์กรณีจำนำข้าวได้สรุปรายงานผลการไต่สวนให้ที่ประชุม ป.ป.ช.ในฐานะองค์คณะไต่สวนคดีดังกล่าวทราบแล้ว ซึ่งองค์คณะเห็นว่า สำนวนการไต่สวนสมบูรณ์แล้ว ทั้งในส่วนของข้อเท็จจริง คำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตลอดจนคำชี้แจงของพยานทั้ง 4 ปาก และเตรียมนำเข้าเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ในวันที่ 8  พ.ค. เพื่อพิจารณาลงมติชี้มูลต่อไป  นายภักดีหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ แถลงภายหลังการประชุม ครม.ว่า  สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์มีกำหนดเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 24 ระหว่างวันที่ 10-11 พ.ค. โดยกำหนดให้ประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 8 แผนงาน IMT-GT โดยครั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์จะทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม และนายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ และ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เป็นหัวหน้าคณะรัฐมนตรีไปประชุมด้วย.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น