ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่คนดังกล่าว ได้เป็นผู้ดูนายนายโธมัส ดันแคน ชายไลบีเรียสัญชาติอเมริกัน ผู้เสียชีวิตจากโรคอีโบลา
ที่เป็นผู้ป่วยรายแรกซึ่งถูกวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสอันตรายดังกล่าวขณะอยู่ในสหรัฐ ภายหลังเดินทางกลับมาจากประเทศไลบีเรีย ขณะที่ความพยายามในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคไวรัสอีโบลานั้นนางเวโรนิกา สกอร์ทโซวา รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขรัสเซีย เปิดเผยว่า รัสเซียประสบความสำเร็จในการสร้างวัคซีน 3 ชนิด เพื่อป้องกันไวรัสอีโบลา คาดว่าจะพร้อมทดสอบในอีก 6 เดือนข้างหน้า ขณะที่องค์การอนามัยโลก (ฮู) ระบุยอดผู้เสียชีวิตมีมากกว่า 4,033 ราย จากจำนวนผู้ติดเชื้อ 8,399 คนใน 7 ประเทศ
นางสกอร์ทโซวา ระบุอีกว่า วัคซีนชนิดหนึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอด จากวัคซีนที่ผลิตโดยบริษัทกลาโซสมิธไคลน์ของอังกฤษ
และสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกา อีกชนิดผลิตขึ้นจากการกระตุ้นไวรัสเพาะเลี้ยงที่ทําให้หมดฤทธิ์ จากการส่งทีมนักวิทยาศาสตร์ไปยังกินี เพื่อร่วมหาทางรับมือกับไวรัสมรณะ เมื่อเดือนส.ค.ที่ผ่านมา แม้รัสเซียจะไม่มีรายงานการติดเชื้อในประเทศ แต่ทางการได้ประกาศใช้มาตรการคัดกรองผู้โดยสารในสนามบินทั่วประเทศทั้ง 71 แห่ง
วันเดียวกัน สนามบินนานาชาติจอห์น เอฟ. เคเนดี้ (เจเอฟเค) ของสหรัฐ เริ่มใช้มาตรการคัดกรองผู้โดยสาร
เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายไวรัสอีโบลาเข้าสู่ประเทศ โดยจะเน้นตรวจสอบผู้โดยสาร จากประเทศกลุ่มเสี่ยงในแอฟริกาตะวันตก ที่สนามบินหลักอีก 4 แห่ง ได้แก่ สนามบินนูอาร์ก ลิเบอร์ตี รัฐนิวเจอร์ซีย์, สนามบินโอแฮร์ นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์, สนามบินวอชิงตัน ดัลเลส รัฐเวอร์จิเนีย และสนามบินฮาร์ทฟิลด์-แจ๊กสัน นครแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย โดยจะใช้มาตรการคุมเข้มในสัปดาห์หน้า
นอกจากนี้ เปรูและอุรุกวัยได้แถลงคุมเข้มสนามบินเช่นกัน ส่วนเม็กซิโกและนิคารากัว เร่งปรับนโยบายควบคุมผู้ลี้ภัย
ด้านนางคริสทีน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กล่าวเรียกร้องว่า อย่าละทิ้งแอฟริกาเพราะหวั่นกลัวการลุกลามของอีโบลา เพราะทั้งเซียร์ราลีโอน กินี และไลบีเรีย ต่างได้รับผลกระทบอย่างสาหัส ไม่เพียงแค่ความสูญเสียของประชาชน แต่ยังเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น