การปฐมพยาบาลคนจมน้ำ
ลักษณะทั่วไป
จมน้ำ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและมีความรุนแรง มักจะทำให้ตายในเวลาเพียงไม่กี่นาที มักเกิดกับ เด็กเล็ก และคนที่ว่ายน้ำไม่เป็น อาจเกิดจากอุบัติเหตุ (เช่น ตกน้ำ เรือคว่ำ เรือชน) เมาเหล้า โรคลมชัก โรคหัวใจวาย หรืออื่น ๆคนที่จมน้ำมักจะตายเนื่องจากขาดอากาศหายใจ เพราะสำลักน้ำ บางคนอาจตายเนื่องจากภาวะ เกร็งของกล่องเสียง (laryngospasm) ทำให้หายใจไม่ได้ สาเหตุเหล่านี้มักจะทำให้คนที่จมน้ำ ตาย
ภายใน 5-10 นาที คนที่จมน้ำถึงแม้จะรอดมาได้ในระยะแรก แต่ก็อาจ จะตายเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนในภายหลังได้
เช่น ปอดอักเสบ การเปลี่ยนแปลงของระดับเกลือแร่ในร่างกาย ภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ภาวะปอดไม่ทำงาน (ปอดล้ม ปอดวาย) เป็นต้น ภาวะเหล่านี้มักเกิดขึ้นไม่ต่างกันมากนัก ทั้งในพวกที่จมน้ำจืด (แม่น้ำ ลำคลอง บ่อ สระน้ำ) และพวก ที่จมน้ำทะเล รวมทั้งอาการแสดงและการรักษาก็ไม่ต่างกันมาก
ข้อแตกต่าง คือ น้ำจืดจะมีความเข้มข้นน้อยกว่า เลือด(พลาสมา) ดังนั้น ถ้ามีน้ำอยู่ในปอดจำนวนมาก ก็จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดทันที ทำให้ปริมาตรของเลือดที่ไหลเวียนเพิ่มจากเดิม (hypervolemia)
มีผลทำให้ระดับเกลือแร่ (เช่น โซเดียม โพแทสเซียม) ในเลือดลดลง ซึ่งอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจวายได้ นอกจากนี้ ยังอาจเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (hemolysis) ได้อีกด้วย
ส่วนน้ำทะเลจะมีความเข้มข้นมากกว่าเลือด น้ำทะเลที่สำลักอยู่ในปอด จะดูดซึมน้ำเลือด (พลาสมา) จากกระแสเลือดเข้าไปในปอด ทำให้เกิดภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ระบบไหลเวียนมี ปริมาตรลดลง (hypovolemia) และระดับเกลือแร่ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจวาย
หรือเกิดภาวะช็อกได้ แต่อย่างไรก็ตาม คนที่จมน้ำมักตาย เนื่องจากขาดอากาศหายใจมากกว่า การเปลี่ยนแปลงของระดับเกลือแร่ และปริมาตรของเลือด
จมน้ำ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยและมีความรุนแรง มักจะทำให้ตายในเวลาเพียงไม่กี่นาที มักเกิดกับ เด็กเล็ก และคนที่ว่ายน้ำไม่เป็น อาจเกิดจากอุบัติเหตุ (เช่น ตกน้ำ เรือคว่ำ เรือชน) เมาเหล้า โรคลมชัก โรคหัวใจวาย หรืออื่น ๆคนที่จมน้ำมักจะตายเนื่องจากขาดอากาศหายใจ เพราะสำลักน้ำ บางคนอาจตายเนื่องจากภาวะ เกร็งของกล่องเสียง (laryngospasm) ทำให้หายใจไม่ได้ สาเหตุเหล่านี้มักจะทำให้คนที่จมน้ำ ตาย
ภายใน 5-10 นาที คนที่จมน้ำถึงแม้จะรอดมาได้ในระยะแรก แต่ก็อาจ จะตายเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนในภายหลังได้
เช่น ปอดอักเสบ การเปลี่ยนแปลงของระดับเกลือแร่ในร่างกาย ภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ภาวะปอดไม่ทำงาน (ปอดล้ม ปอดวาย) เป็นต้น ภาวะเหล่านี้มักเกิดขึ้นไม่ต่างกันมากนัก ทั้งในพวกที่จมน้ำจืด (แม่น้ำ ลำคลอง บ่อ สระน้ำ) และพวก ที่จมน้ำทะเล รวมทั้งอาการแสดงและการรักษาก็ไม่ต่างกันมาก
ข้อแตกต่าง คือ น้ำจืดจะมีความเข้มข้นน้อยกว่า เลือด(พลาสมา) ดังนั้น ถ้ามีน้ำอยู่ในปอดจำนวนมาก ก็จะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดทันที ทำให้ปริมาตรของเลือดที่ไหลเวียนเพิ่มจากเดิม (hypervolemia)
มีผลทำให้ระดับเกลือแร่ (เช่น โซเดียม โพแทสเซียม) ในเลือดลดลง ซึ่งอาจทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจวายได้ นอกจากนี้ ยังอาจเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (hemolysis) ได้อีกด้วย
ส่วนน้ำทะเลจะมีความเข้มข้นมากกว่าเลือด น้ำทะเลที่สำลักอยู่ในปอด จะดูดซึมน้ำเลือด (พลาสมา) จากกระแสเลือดเข้าไปในปอด ทำให้เกิดภาวะปอดบวมน้ำ (pulmonary edema) ระบบไหลเวียนมี ปริมาตรลดลง (hypovolemia) และระดับเกลือแร่ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจวาย
หรือเกิดภาวะช็อกได้ แต่อย่างไรก็ตาม คนที่จมน้ำมักตาย เนื่องจากขาดอากาศหายใจมากกว่า การเปลี่ยนแปลงของระดับเกลือแร่ และปริมาตรของเลือด
อาการ
คนที่จมน้ำมักจะมีอาการหมดสติ และหยุดหายใจ บางคนหัวใจอาจหยุดเต้น (คลำชีพจรไม่ได้)
ร่วมด้วย ถ้าไม่ถึงกับหมดสติ ก็อาจมีอาการปวดศรีษะ เจ็บหน้าอก อาเจียน กระวนกระวาย หรือ
ไอมีฟองเลือดเรื่อ ๆ (ซึ่งแสดงว่ามีภาวะปอดบวมน้ำ)
บางคนอาจตรวจพบภาวะหัวใจเต็นเร็วผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันเลือดต่ำ หรือภาวะช็อก
คนที่จมน้ำมักจะมีอาการหมดสติ และหยุดหายใจ บางคนหัวใจอาจหยุดเต้น (คลำชีพจรไม่ได้)
ร่วมด้วย ถ้าไม่ถึงกับหมดสติ ก็อาจมีอาการปวดศรีษะ เจ็บหน้าอก อาเจียน กระวนกระวาย หรือ
ไอมีฟองเลือดเรื่อ ๆ (ซึ่งแสดงว่ามีภาวะปอดบวมน้ำ)
บางคนอาจตรวจพบภาวะหัวใจเต็นเร็วผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันเลือดต่ำ หรือภาวะช็อก
การรักษา การปฐมพยาบาล
การช่วยเหลือคนที่จมน้ำอย่างถูกต้องก่อนส่งไปโรงพยาบาล มีผลต่อความเป็นความตายของผู้ป่วย
มาก ควรแนะนำวิธีปฐมพยาบาลดังนี้
1. ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ทำการเป่าปาก ช่วยหายใจทันที อย่ามัวเสียเวลาในการพยายามเอาน้ำออกจาก
ปอดของผู้ป่วย (เช่น การจับแบก พาดบ่า) หรือทำการผายปอดด้วยวิธีอื่น เพราะจะไม่ทันกาลและไม่ได้ผล ถ้าเป็นไปได้ ควรลงมือเป่าปาก ตั้งแต่ก่อนขึ้นฝั่ง เช่น หลังจากพาขึ้นบนเรือ หรือพาเข้าที่ตื้น ๆ ได้ แล้ว เมื่อขึ้นบนฝั่งแล้ว ให้ทำการผายปอดด้วยการเป่าปากต่อไป จนกว่าผู้ป่วยจะหายใจได้เอง หรือพา
ไปส่งถึงโรงพยาบาลแล้ว วิธีการเป่าปากโดยละเอียด ดูใน "โรคที่ 75 หมดสติ"
เมื่อเริ่มเป่าปากสักพัก ถ้าหากรู้สึกว่าลมเข้าปอดได้ไม่เต็มที่เนื่องจากมีน้ำอยู่เต็มท้อง อาจจับผู้ป่วยนอนคว่ำ แล้วใช้มือ 2 ข้าง วางอยู่ใต้ท้องผู้ป่วย ยกท้องผู้ป่วยขึ้นจะช่วยไล่น้ำออกจากท้องให้ไหลออกทางปากได้
แล้วจับผู้ป่วยพลิกหงาย และทำการเป่าปากต่อไป
2. ถ้าคลำชีพจรไม่ได้ หรือหัวใจหยุดเต้น ให้ทำการนวดหัวใจทันที
3. ถ้าผู้ป่วยยังหายใจได้เอง หรือช่วยเหลือจนหายใจได้แล้ว ควรจับผู้ป่วยนอนตะแคงข้าง และศีรษะ หงายไปข้างหลัง เพื่อให้น้ำไหลออกทางปาก ใช้ผ้าห่มคลุมผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความอบอุ่น อย่าให้ผู้ป่วยกินอาหารและดื่มน้ำทางปาก
4. ควรส่งผู้ป่วยที่จมน้ำไม่ว่าจะมีอาการหนักเบาเพียงใด ไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลทุกรายในรายที่หมดสติและหยุดหายใจ ควรผายปอด
ด้วยวิธีเป่าปากไปตลอดทาง อย่าเพิ่งรู้สึกหมดหวัง
แล้วหยุดให้การช่วยเหลือ (เคยพบว่า การเป่าปากนานเป็นชั่วโมง ๆ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยรอดและ หายขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าจมน้ำที่มีความเย็น อุณหภูมิต่ำกว่า 70 ํฟ. หรือ 21.1 ํ ซ.)
การช่วยเหลือคนที่จมน้ำอย่างถูกต้องก่อนส่งไปโรงพยาบาล มีผลต่อความเป็นความตายของผู้ป่วย
มาก ควรแนะนำวิธีปฐมพยาบาลดังนี้
1. ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ทำการเป่าปาก ช่วยหายใจทันที อย่ามัวเสียเวลาในการพยายามเอาน้ำออกจาก
ปอดของผู้ป่วย (เช่น การจับแบก พาดบ่า) หรือทำการผายปอดด้วยวิธีอื่น เพราะจะไม่ทันกาลและไม่ได้ผล ถ้าเป็นไปได้ ควรลงมือเป่าปาก ตั้งแต่ก่อนขึ้นฝั่ง เช่น หลังจากพาขึ้นบนเรือ หรือพาเข้าที่ตื้น ๆ ได้ แล้ว เมื่อขึ้นบนฝั่งแล้ว ให้ทำการผายปอดด้วยการเป่าปากต่อไป จนกว่าผู้ป่วยจะหายใจได้เอง หรือพา
ไปส่งถึงโรงพยาบาลแล้ว วิธีการเป่าปากโดยละเอียด ดูใน "โรคที่ 75 หมดสติ"
เมื่อเริ่มเป่าปากสักพัก ถ้าหากรู้สึกว่าลมเข้าปอดได้ไม่เต็มที่เนื่องจากมีน้ำอยู่เต็มท้อง อาจจับผู้ป่วยนอนคว่ำ แล้วใช้มือ 2 ข้าง วางอยู่ใต้ท้องผู้ป่วย ยกท้องผู้ป่วยขึ้นจะช่วยไล่น้ำออกจากท้องให้ไหลออกทางปากได้
แล้วจับผู้ป่วยพลิกหงาย และทำการเป่าปากต่อไป
2. ถ้าคลำชีพจรไม่ได้ หรือหัวใจหยุดเต้น ให้ทำการนวดหัวใจทันที
3. ถ้าผู้ป่วยยังหายใจได้เอง หรือช่วยเหลือจนหายใจได้แล้ว ควรจับผู้ป่วยนอนตะแคงข้าง และศีรษะ หงายไปข้างหลัง เพื่อให้น้ำไหลออกทางปาก ใช้ผ้าห่มคลุมผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความอบอุ่น อย่าให้ผู้ป่วยกินอาหารและดื่มน้ำทางปาก
4. ควรส่งผู้ป่วยที่จมน้ำไม่ว่าจะมีอาการหนักเบาเพียงใด ไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลทุกรายในรายที่หมดสติและหยุดหายใจ ควรผายปอด
ด้วยวิธีเป่าปากไปตลอดทาง อย่าเพิ่งรู้สึกหมดหวัง
แล้วหยุดให้การช่วยเหลือ (เคยพบว่า การเป่าปากนานเป็นชั่วโมง ๆ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยรอดและ หายขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าจมน้ำที่มีความเย็น อุณหภูมิต่ำกว่า 70 ํฟ. หรือ 21.1 ํ ซ.)
การรักษา
ควรรับผู้ป่วยไว้รักษาที่โรงพยาบาลทุกราย ไม่ว่าจะมีอาการหนักเบาเพียงใด เพื่อเฝ้าสังเกตอาการ และหาทางป้องกันและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
ควรเจาะเลือดตรวจระดับแก๊สในเลือด และตรวจหาความเข้มข้นของเกลือแร่ เอกซเรย์ดูว่า มีการ อักเสบของปอด หรือปอดแฟบหรือไม่ หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ
การรักษา ให้ออกซิเจน, ต่อเครื่องช่วยหายใจ ให้น้ำเกลือ พลาสมาหรือเลือด
ถ้ามีภาวะหัวใจวายก็จะให้ยาขับปัสสาวะและ ยารักษาโรคหัวใจ (เช่น ลาน็อกซิน)
ถ้ามีปอดอักเสบ จะให้ยาปฏิชีวนะ และสเตอรอยด์
ควรรับผู้ป่วยไว้รักษาที่โรงพยาบาลทุกราย ไม่ว่าจะมีอาการหนักเบาเพียงใด เพื่อเฝ้าสังเกตอาการ และหาทางป้องกันและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
ควรเจาะเลือดตรวจระดับแก๊สในเลือด และตรวจหาความเข้มข้นของเกลือแร่ เอกซเรย์ดูว่า มีการ อักเสบของปอด หรือปอดแฟบหรือไม่ หรือตรวจพิเศษอื่น ๆ
การรักษา ให้ออกซิเจน, ต่อเครื่องช่วยหายใจ ให้น้ำเกลือ พลาสมาหรือเลือด
ถ้ามีภาวะหัวใจวายก็จะให้ยาขับปัสสาวะและ ยารักษาโรคหัวใจ (เช่น ลาน็อกซิน)
ถ้ามีปอดอักเสบ จะให้ยาปฏิชีวนะ และสเตอรอยด์
ข้อแนะนำ
1. วิธีผายปอดแก่ผู้ป่วยจมน้ำที่แนะนำในปัจจุบัน คือ วิธีการเป่าปาก และให้ลงมือทำให้เร็วที่สุด อย่าเสียเวลาในการจับแบกพาดบ่าเพื่อเอาน้ำออกจากปอด ดังที่เคยแนะนำกันในสมัยก่อน ส่วนการผายปอดด้วยมือ เช่น วิธีของซิลเวสเตอร์ (Silvester method ) หรือวิธีของโฮลเกอร์นีลเซน (Holger Nielsen method) เป็นต้น ไม่แนะนำให้ทำ เพราะได้ผลน้อย
2. ผู้ป่วยที่จมน้ำทุกรายไม่ว่าจะหมดสติ หรือหยุดหายใจหรือไม่ก็ตาม ควรพักรักษาตัวใน
โรงพยาบาลอย่างน้อย 24-72 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวัง ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในเวลาต่อมา
1. วิธีผายปอดแก่ผู้ป่วยจมน้ำที่แนะนำในปัจจุบัน คือ วิธีการเป่าปาก และให้ลงมือทำให้เร็วที่สุด อย่าเสียเวลาในการจับแบกพาดบ่าเพื่อเอาน้ำออกจากปอด ดังที่เคยแนะนำกันในสมัยก่อน ส่วนการผายปอดด้วยมือ เช่น วิธีของซิลเวสเตอร์ (Silvester method ) หรือวิธีของโฮลเกอร์นีลเซน (Holger Nielsen method) เป็นต้น ไม่แนะนำให้ทำ เพราะได้ผลน้อย
2. ผู้ป่วยที่จมน้ำทุกรายไม่ว่าจะหมดสติ หรือหยุดหายใจหรือไม่ก็ตาม ควรพักรักษาตัวใน
โรงพยาบาลอย่างน้อย 24-72 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวัง ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในเวลาต่อมา
การป้องกันควรหาทางป้องกัน โดย
1. ระวังอย่าให้เด็กเล็กเล่นน้ำหรือเล่นในบริเวณ ใกล้กับน้ำตามลำพัง2. ควรส่งเสริมให้เด็กฝึกว่ายน้ำให้เป็น
3. เวลาลงเรือหรือออกทะเล ควรเตรียมชูชีพไว้ให้พร้อมเสมอ
4. คนที่เมาเหล้า หรือเป็นโรคลมชัก ห้ามลงเล่นน้ำ
1. ระวังอย่าให้เด็กเล็กเล่นน้ำหรือเล่นในบริเวณ ใกล้กับน้ำตามลำพัง2. ควรส่งเสริมให้เด็กฝึกว่ายน้ำให้เป็น
3. เวลาลงเรือหรือออกทะเล ควรเตรียมชูชีพไว้ให้พร้อมเสมอ
4. คนที่เมาเหล้า หรือเป็นโรคลมชัก ห้ามลงเล่นน้ำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น